ประวัติศาสตร์นอกตำรา EP 14 ความเป็นมาของการตัดต่อ


----------------------------------------------------------
การตัดต่อที่รวมทั้งเทคนิคต่างๆ และศิลปะของภาพเคลื่อนไหว ไม่ว่าจะเป็นการตัดต่อภาพยนตร์ การตัดต่อรายการโทรทัศน์ หรือแม้ในยุคปัจจุบันคือการตัดต่อวิดีโอเพื่อใช้ในโลกโซเชียลมีเดีย ที่ใครๆก้สามารถทำได้โดยใช้มือถือเพียงเครื่องเดียว ความทันสมัยของเทคโนโลยีที่เอื้ออำนวย และให้เราสามารถเรียนรู้ได้ง่ายขึ้น แต่การตัดต่อนั้นมีมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 19
First Cuts
2 ประเภทของการตัดต่อ – การตัดต่อในยุคแรกๆที่บรรจุอยู่ในการเรียนการสอนมีอยู่ 2 แบบ
REPRISE หรือที่รู้จักกันคือตัดต่อในกล้อง (In Camera Edit) วิธีการคือหยุดกล้องเมื่อคุณต้องการหยุดshot ก และ shot ข เริ่มต้น
ABOUTAGE หรือการต่อสอง Shot เข้าด้วยกัน เป็นการตัดที่แผ่นฟิล์มในจุดที่ต้องการตัด แล้วใช้เทปในการต่อกับ Shot ต่อไป
นักตัดต่อภาพยนตร์ในยุคหนังเงียบ
Edwin S. Porter
Porter ได้ค้นพบว่า ความหมายไม่ได้มาจาก แต่ละ Shot ของเขาเพียงอย่างเดียวในภาพยนตร์ของเขาในเรื่อง “The Life of and American Fireman (1902)” และตัวเค้าได้ค้นพบการตัดต่อแบบคู่ขนาน (Parallel Editing) ในภาพยนตร์เรื่อง “The Great Train Robbery (1903)”
Georges Méliès
Méliès เป็นนักมายากลมาก่อน เขาได้เพิ่ม Shot มากกว่า 1 Shot ในภาพยนตร์เรื่อง Cinderella ในปี1899 และเขายังได้ค้นพบการทำเทคนิคพิเศษ (Special Effects) ในกล้องอีกด้วย
การปฏิวัติ
Lev Kolshov
Kolshov ได้สร้างโรงเรียนสอนภาพยนตร์แห่งแรกของโลกและเริ่มทดลองภาพยนตร์ด้วยการนำภาพที่มีความแตกต่าง (Juxtaposition) มาเรียงกัน และมีการขนานนามการทดลองนี้ว่า The Kulshov Experimentการทดลองนี้ค้นพบว่า การเรียบเรียงของภาพมีผลต่อการตีความหมายของคนดู
Sergie Esisenstein
ต่อยอดการทดลองของ Kulshov ด้วยความคิดของเขาเองแล้วสร้างเป็นไวยากรณ์ของภาพยนตร์ (Film Grammar) ความคิดของเขารวมไปถึงมอนทาจ (Montage) ทั้ง 5 แบบ ประกอบด้วยการตัดต่อตามบีทของเพลง (Metric) การตัดต่อตามบีทของ action (Rhythmic) การตัดต่อด้วย Tone ของภาพรวมไปถึงเรื่องของแสงและเงา (Tonal) การตัดต่อที่รวมทั้งสามอย่างที่กล่าวก่อนหน้านี้เป็น Sequenceใหญ่ๆ (Over-Tonal) และการตัดต่อที่คำนึงถึง concepts และ ideas ที่ซ่อนอยู่ในภาพ (Intellectual Montage)ในภายหลังการตัดต่อมอนทาจทั้ง 5 แบบ เป็นต้นแบบของวิธีการตัดต่อมอนทาจ
V.I. Pudovkin
ค้นคว้าความคิดของ Kulshov และพัฒนาด้วยการตีความหมายใหม่ในรูปแบบเขาเองPudovkin ต่อยอดความคิดของ Kulshov โดยที่เจาะจงในเรื่องการตัดต่อเชิงโครงสร้าง ซึ่งมีความเป็นหลักการที่พูดถึงการตัดต่อว่าเป็นการเรียบเรียงเพื่อสร้างเรื่องราว
Battleship Potemkin เป็นงานชิ้นเอกของ Sergei Eisenstein ที่เปลี่ยนการตัดต่อของโลกโดยสิ้นเชิง ในภาพยนตร์เรื่องนี้เขาได้ใช้วิธีการตัดต่อแบบมอนทาจได้ดีที่สุดใน Sequence “The Odessa Steps” จนกระเมื่อนำไปฉายในต่างประเทศทำให้เกิดความขัดแย้งกันต่อตำรวจ เนื่องจากคนดูคิดว่าเป็นภาพข่าวจริงๆที่เกิดขึ้น
การเคลื่อนไหวของกลุ่มต่อต้านการตัดต่อ (Anti-Cut Movement)
EBB&FLOW ในประวัติศาสตร์ของการตัดต่อมักจะมีกลุ่มเคลื่อนไหวที่สนับสนุนการตัดต่อที่มีจังหวะช้า และกลุ่มเคลื่อนไหวที่สนับสนุนการตัดต่อเร็วๆ
Adrei Tarkovsky ไม่เห็นด้วยกับความคิดและการทดลองของ Sergei Eisenstein เขาเชื่อว่าภาพยนตร์ถูกปั้นด้วยแนวคิดหลักเชิงอภิปรัชญา การถ่ายต่อเนื่องยาวๆของความสวยงาม เขารู้สึกว่าการตัดต่อไม่สามารถกำหนดจังหวะได้
Alfred Hitchcock ต้องการทดลองว่าภาพยนตร์สามารถจบได้ภายในการถ่ายเพียงครั้งเดียวหรือไม่ จึงเป็นที่มีของภาพยนตร์เรื่อง “Rope” (1948) แต่ด้วยข้อจำกัดในทางเทคนิคจึงทำให้ต้องต่อภาพยนตร์ถึง 10คัดโดยใช้เทคนิคซ่อนคัด
การทดลองในยุค 60
Free Love and Editing นักตัดต่อเริ่มทดลองและได้รับอิทธิพลจาก French New Wave
Breathless ภาพยนตร์สร้างโดย Jean-Luc Godard ในปี 1960 เขาได้ใช้วิธีการ Jump Cut เพื่อให้การเล่าเรื่องดำเนินไปข้างหน้า ซึ่งในขณะนั้นเป็นสิ่งที่ขัดแย้งกับวิธีการการตัดต่อปกติที่กำลังได้รับความนิยม
Bonnie & Clyde ได้แรงบันดาลใจมาจาก French New Wave โดยเป็นการตัดต่อแบบรวดเร็ว Dede Allen เคยได้ใช้ความคิดของ New Wave นี้เพื่อสะท้อนถึงการเล่าเรื่องผ่านการตัดต่อ
และในสมัยนี้
หลังจาก Ruckus ในยุค 80 และ MTV MTV ไม่ได้แค่มาฆ่าดาราทางวิทยุ มันได้เปลี่ยนจังหวะของการตัดต่อให้เร็วขึ้นไปอีก ความคิดและเทคนิคใหม่ๆในการตัดต่อยังมีการค้นคว้าในขณะที่เทคโนโลยียังมีการเปลี่ยนแปลง
Avatar & 3D เป็นเพราะว่าข้อจำกัดของเทคโนโลยี ภาพยนตร์เรื่อง Avatar ได้มีการตัดต่อสามครั้ง ครั้งแรกสำหรับการสื่อสารตัวละคร ครั้งสองสำหรับการวาง Frame และครั้งสุดท้ายสำหรับทำ 3D
Cutting Rhythms
Keren Peariman นักศิลปะและนักเต้นกลายมาเป็นนักตัดต่อ และจบดร.ด้าน Editing Rhythms เธอพัฒนาทฤษฎีเกี่ยวกับเวลาและจังหวะของการตัดต่อที่รวมกับความคิดเกี่ยวกับ Trajectory Phrasing ซึ่งเป็นแนวความคิดเกี่ยวกับ การค้นหาการสลับสับเปลี่ยนพลังงาน (Energy) ในจังหวะของการตัด
ในทุกวันนี้ยังมีการทดลองการตัดต่อ และพัฒนาเทคนิคสมัยใหม่ให้เห็นอยู่ในโลกโซเชียลของเราอย่างไม่มีที่สิ้นสุด แต่สุดท้ายแล้วก็อยู่ที่คนดูว่าพวกเขาจะเลือกดูวิดีโอของเราจนจบหรือไม่
----------------------------------------------------------
ที่มาของเนื้อหาบทความ www.artoftheguillotine.com
และ
https://blog.tigernoystudio.com/2017/09/blog-post_7.html
----------------------------------------------------------
social media for contact
Facebook Phiphat rakseng
instragram Phiphat Rakseng
twitter Phiphat Rakseng
youtube Phiphat clip
Tiktok Phiphat Rakseng
Line id phiphatloolipop23451
Discord phiphat rakseng
instragram Phiphat Money
----------------------------------------------------------
May be an image of 1 person, screen and text
 



Create Date : 25 มีนาคม 2566
Last Update : 25 มีนาคม 2566 20:57:35 น.
Counter : 315 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สมาชิกหมายเลข 6567373
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed

 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



https://phiphathnrakseng.wixsite.com/phiphatmemeuniverse
All Blog