เพชรโฮป ตำนานและคำสาป เรื่องลึกลับ EP 4
เพชรโฮป (อังกฤษ: Hope Diamond) เป็นเพชรขนาดใหญ่ หนัก 45.52 กะรัต (9.10 กรัม) สีน้ำเงินเข้ม ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาสมิธโซเนียนในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. เพชรโฮปมองด้วยตาเปล่าเห็นเป็นสีน้ำเงินเพราะมีธาตุโบรอนปริมาณเล็กน้อยอยู่ในโครงสร้างผลึก แต่จะเรืองแสงสีแดงเมื่ออาบแสงอัลตราไวโอเล็ตเพชรดังกล่าวจัดเป็นเพชรประเภท 2 บี และดังกระฉ่อนเพราะเล่าว่าเป็นเพชรต้องคำสาป มันมีประวัติศาสตร์บันทึกยาวนานโดยมีช่องว่างอยู่บ้างเมื่อมันได้เปลี่ยนมือหลายครั้งระหว่างทางจากอินเดียไปฝรั่งเศส ไปอังกฤษและสหรัฐอเมริกา เพชรโฮปได้รับการอธิบายว่าเป็น "เพชรที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลก" และเป็นงานศิลปะที่มีผู้เข้าชมมากที่สุดเป็นอันดับสองของโลก รองจากภาพโมนาลิซา


คุณสมบัติของเพชร
  • น้ำหนัก เดือนธันวาคม ค.ศ. 1988 ห้องทดสอบพลอยของสถาบันอัญมณีวิทยาแห่งอเมริกาพิจารณาว่า เพชรนี้หนัก 45.52 กะรัต (9.10 กรัม)
  • ขนาดและรูปทรง เพชรนี้ได้รับการเปรียบเทียบขนาดและรูปทรงกับไข่นกพิราบ, ลูกวอลนัต, "ฮอสเชสนัต (horse chestnut) ขนาดดี"ที่มี "ทรงลูกแพร์" มิติในแง่ความยาว ความกว้างและความลึกเป็น 25.60 มม. × 21.78 มม. × 12.00 มม. (1 นิ้ว × 7/8 นิ้ว × 15/32 นิ้ว)
  • สี ถูกอธิบายว่ามี "สีน้ำเงินออกเทาเข้มสวยงาม" (fancy dark greyish-blue) เช่นเดียวกับมี "สีน้ำเงินเข้ม" หรือสี "น้ำเงินเหล็กกล้า" (steely-blue) ตามที่ผู้เชี่ยวชาญเพชรสี สตีเฟน โฮเฟอร์ ชี้ เพชรสีน้ำเงินคล้ายกับโฮปสามารถแสดงโดยการวัดปริมาณสีให้ผลว่าสีเทากว่าไพลินสีน้ำเงิน (คือ มีความอิ่มตัวสีน้อยกว่า) ใน ค.ศ. 1996 ห้องทดสอบพลอยของสถาบันอัญมณีวิทยาแห่งอเมริกาตรวจสอบเพชร และ โดยใช้ระบบการวัดของตน จัดว่ามันเป็น สีน้ำเงินออกเทาเข้มสวยงาม โดยการมองเห็น ตัวดัดแปรสีเทา (มาสก์) นั้นเข้มมาก (สีคราม) เสียจนมันเกิดปรากฏการณ์ "เปื้อนหมึก" (inky) ปรากฏเป็นสีน้ำเงินออกดำในหลอดความร้อนภาพถ่ายปัจจุบันของเพชรโฮปซึ่งอาศัยแหล่งแสงความเข้มสูงนั้นมีแนวโน้มจะทำให้ความสุกใสของอัญมณีมีมากที่สุด
  • ปลดปล่อยแสงเปล่งสีแดง เพชรนี้แสดงประเภทการเปล่งแสงแรงและสีเข้มผิดปกติ หลังอาบแสงอัลตราไวโอเล็ตคลื่นสั้น เพชรจะเรืองแสงสีแดงโชติช่วง (ปรากฏการณ์เปล่งแสงในความมืด) ซึ่งยังคงอยู่ขณะหนึ่งหลังปิดแหล่งแสง และคุณภาพแปลกอันนี้อาจช่วยโหมกระพือ "ชื่อเสียงการต้องสาปของมัน" แสงเปล่งสีแดงนั้นช่วยให้นักวิทยาศาสตร์ "พิมพ์ลายนิ้วมือ" เพชรสีน้ำเงิน ทำให้พวกเขา "แยกแยะของจริงออกจากของทำเลียนแบบ"แสงเปล่งสีแดงนั้นชี้ว่า มีของผสมโบรอนและไนโตรเจนแตกต่างกันอยู่ภายใต้เพชร
  • องค์ประกอบทางเคมี ใน ค.ศ. 2010 เพชรถูกนำออกจากชั้นแสดงเพื่อวัดองค์ประกอบทางเคมีอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ หลังจากเจาะรูลึกหนึ่งนาโนเมตรแล้ว ผลขั้นต้นพบโบรอน ไฮโดรเจนและอาจมีไนโตรเจน ความเข้มข้นของโบรอนนั้นอยู่ในช่วงตั้งแต่ศูนย์ถึงแปดส่วนในล้านส่วน ตามข้อมูลของภัณฑารักษ์สมิธโซเนียน ดร. เจ็ฟฟรี โพสต์ ธาตุโบรอนอาจเป็นเหตุให้เพชรมีสีน้ำเงินหลังการทดสอบโดยใช้แสดงอินฟราเรดตรวจพบสเปกตรัมเคมีของเพชร
 

ประวัติความเป็นมาเกี่ยวกับเพชรที่มีชื่อว่า “เพชรโฮป (Hope Diamond)” เริ่มขึ้นเมื่อ พ่อค้าชาวฝรั่งเศส ชื่อ จอง แบปทิส ทาเวอร์เนีย (Jean Baptiste Tavernier) ได้ซื้อเพชรดิบน้ำหนัก 112 3/16 กะรัต จากเหมืองคอลเลอ (Kollur) เมืองกอลคอนดา (Golconda) ประเทศอินเดีย แล้วนำมาถวายพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ในปี ค.ศ. 1668 พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ได้มีบัญชาให้ช่างเพชรแห่งราชสำนักเจียระไนเพชรเม็ดนี้ขึ้น เป็นเพชรเม็ดที่รู้จักกันในชื่อว่า “Blue Diamond of the Crown” หรือ “French Blue” ซึ่งนำไปตกแต่งบนสายสะพายเครื่องอิสริยาภรณ์ของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 พื่อใช้สวมใส่ในงานพิธีการต่างๆ ต่อมาเพชรเม็ดนี้ได้ตกทอดมาสู่ พระนางแมรี่ อังตัวเนตต์ (Marrie Antoinette) ซึ่งภายหลังจากเกิดการปฏิวัติครั้งใหญ่ เพชรเม็ดนี้ได้สูญหายไป

จนกระทั่ง ปี ค.ศ. 1830 เฮนรี่ ฟิลิป โฮป (Henry Philip Hope) ได้ซื้อเพชรเม็ดนี้ไว้ และหลังจากนั้นเขาก็ได้เสียชีวิตลงในปี ค.ศ. 1839 ทำให้เพชรแห่งความหวังตกทอดไปสู่ญาติพี่น้องตระกูลโฮป ในปี ค.ศ.1906 เพชรเม็ดดังกล่าวได้ผ่านจากมือของบุคคลผู้เป็นสมาชิกในครอบครัวของโฮป ไปอยู่ในมือของจาคส์ เซลอท ซึ่งเป็นตัวแทนจำหน่ายเพชรชาวเปอร์เซีย ซึ่งต่อมาเขาได้กระทำอัตตวินิบาตกรรม เจ้าของคนถัดมาคือ เจ้าชายคานิตอฟกีแห่งรัสเซีย ทรงซื้อเพชรเม็ดนี้ไว้ และมอบให้แก่นางสนมชาวฝรั่งเศส เพื่อใส่ไปแสดงละครที่ฟัวเยร์เบอร์เกร์ แต่ขณะที่เธอกำลังแสดงอยู่นั้นเจ้าชายก็ทรงปลิดชีพเธอด้วยอาวุธปืน และอีกสองวันต่อมาพระองค์ก็ถูกปลงพระชนม์โดยผู้ปฏิวัติชาวรัสเซีย

 

เจ้าของคนต่อมาเป็นชาวอียิปต์ที่ต้องจมน้ำตายทั้งครอบครัว เมื่อเกิดอุบัติเหตุเรือสำราญชนกันที่สิงคโปร์ นายหน้าคนต่อมาได้นำเพชรเม็ดนี้ไปขายให้กับสุลต่านแห่งตุรกี และนายหน้าคนดังกล่าวก็ต้องตายพร้อมภรรยาและลูกจากอุบัติเหตุรถยนต์ตกหน้าผา และสุลต่านแห่งตุรกีทรงมอบเพชรเม็ดนั้นให้แก่พระสนม แต่ตอนที่ถูกทหารของพระองค์กระทำรัฐประหารนั้นเอง กระสุนปืนได้พลาดไปถูกหล่อนจนถึงแก่ความตาย ส่วนสุลต่านถูกเนรเทศและขันทีผู้มีหน้าที่ดูแลรักษาเพชรเม็ดดังกล่าวก็ถูกจับแขวนคอ

จากนั้นบริษัทคาร์เทียร์เป็นผู้รับซื้อเพชรโฮปเม็ดนั้นไว้ แล้วนำไปขายต่อให้กับ ครอบครัวแมคลีน (McLean) อาถรรพ์ที่เกิดกับพวกเขาก็คือบุตรชายวัยแปดขวบของพวกเขาเสียชีวิตจากอุบัติเหตุรถชน บุตรสาวและหลานสาวของพวกเขา ก็ตายเนื่องจากใช้ยาบาบิตูเรตเกินขนาด ส่วน เอ็ดเวิร์ด แมคลีน มีอาการคลุ้มคลั่ง วิกลจริต และเสียชีวิตในโรงพยาบาลโรคจิตแห่งหนึ่ง

ในที่สุด แฮรี่ วินสตัน (Harry Winston) ซึ่งเป็นพ่อค้าเพชรชาวนิวยอร์ก ได้ซื้อเพชรโฮป และมอบให้แก่สถาบัน สมิธโซเนียน (Smithsonian Institute) ในกรุงวอชิงตัน ดีซี ซึ่งดูเหมือนคำสาปแช่งจะยุติลงเพียงแค่นั้น อย่างไรก็ตาม ในท่ามกลางจดหมายจำนวนนับพันๆ ฉบับที่ส่งมาขอบคุณในการบริจาคของเขาครั้งนั้น

ข้อมูลเพชรโฮป (Hope Diamond)

  • น้ำหนัก 45.52 กะรัต
  • ขนาด ยาว 25.60 mm, กว้าง 21.78 mm, ลึก 12.00 mm
  • การเจียระไน รูปหมอน เหลี่ยมเกสร ขอบเจียระไน และมีเหลี่ยมแทรกที่ส่วนฐานเพชร
  • ความใสสะอาด VS1. มีร่องรอยการเจริญเติบโต ของผลึก
  • สี น้ำเงินแกมเทา (Fancy dark grayish-blue )

อ้างอิงข้อมูลจาก สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)

และ

https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%8A%E0%B8%A3%E0%B9%82%E0%B8%AE%E0%B8%9B

 

รูปเพชรโฮป

Hope Diamond.jpg

 

เปิดตำนาน “เพชรโฮป” อัญมณีสีน้ำเงินต้องสาป ที่เชื่อว่าจะนำเรื่องร้ายๆ  มาให้กับเจ้าของ | CatDumb | เว็บไซต์ไวรัล จับทุกกระแสบนโลกออนไลน์  มาย่อยให้คุณเข้าใจง่ายๆ พร้อมคอนเทนต์พิเศษบ้างเป็นบางเวลา




Create Date : 13 มิถุนายน 2565
Last Update : 10 กรกฎาคม 2565 10:26:34 น.
Counter : 572 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

สมาชิกหมายเลข 6567373
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed

 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



https://phiphathnrakseng.wixsite.com/phiphatmemeuniverse
All Blog