พ ศ 2504 ผู้ใหญ่ลีตีกลองเพราะ-ประวัติศาสตร์นอกตำรา EP4

หลายคนคงเคยฟังเพลงผู้ใหญ่ลี และเชื่อว่าน่าจะร้องจนจบได้ เพลงนี้ขับร้องโดย “ศักดิ์ศรี ศรีอักษร” และโด่งดังมากในช่วงปี พ.ศ. 2504 ที่ว่า

พอศอสองพันห้าร้อยสี่ ผู้ใหญ่ลีตีกลองประชุม
ชาวบ้านต่างมาชุมนุม มาประชุมที่บ้านผู้ใหญ่ลี
ต่อไปนี้ผู้ใหญ่ลีจะขอกล่าว ถึงเรื่องราวที่ได้ประชุมมา
ทางการเขาสั่งมาว่า ทางการเขาสั่งมาว่า
ให้ชาวนาเลี้ยงเป็ดและสุกร

 

แต่รู้กันหรือไม่ว่า แท้จริงแล้ว เพลงผู้ใหญ่ลีมีที่ผิดอยู่(อย่างน้อย)สามที่

๑) “พอศอสองพันห้าร้อยสี่ ผู้ใหญ่ลีตีกลองประชุม” ที่จริงแล้วต้องเป็น “ตีกะลอ” ซึ่งมาจากคำว่า “เกราะ” ที่แปลว่า “เครื่องสัญญาณทำด้วยไม้ ใช้ตีหรือสั่นให้ดัง” ซึ่งผู้ใหญ่บ้านใช้ตีเพื่อเรียกลูกบ้านให้มารวมตัวกัน

๒) “ฝ่ายตาสีหัวคลอน ถามว่าสุกรนั้นคืออะไร” ที่จริงแล้ว “ตาสีหัวคลอน” ต้องเป็น “ตาสีหัวงอน” หมายถึง คนที่มีศีรษะงอน คือศีรษะเรียวยาวและช้อยหรือโง้งขึ้นบน เป็นการล้อเลียนคนที่มีรูปหัวแปลกๆ

๓) “สุกรนั้นไซร้คือหมาน้อยธรรมดา” “หมาน้อย” ในที่จริงแล้วคือ “ม้าน้อย” ที่ออกเสียงเลียนแบบคนอิสานว่า “ม่าน้อย” ซึ่งแปลว่า หมา เพราะการกินหมาไม่เป็นที่ยอมรับ จึงเลี่ยงคำ ขณะที่ “ม้าใหญ่” ก็คือม้าปกติ

 

ที่น่าสนใจกว่านั้นก็คือ ทำไมผู้ใหญ่ลีตีกลองในปี พ.ศ.2504? และปีนี้ พ.ศ.2554 ครบ 50 ปีพอดี นับตั้งแต่ผู้ใหญ่ลีตีกลองประชุม

ก่อนจะตอบคำถาม ขอท้าวความเล็กน้อยว่า สืบเนื่องมาจาก 15 กุมภาพันธ์ 2493 ประเทศไทยเริ่มตั้ง “สภาเศรษฐกิจแห่งชาติ” หรือ “สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศณษฐกิจและสังคมแห่งชาติ” (สภาพัฒน์ ในปัจจุบัน) และเริ่มทำหน้าที่ในฐานะหน่วยงานวางแผนจากส่วนกลางเมื่อปี พ.ศ.2502 ตามข้อเสนอแนะของธนาคารโลก ในรายงานที่มีชื่อว่า “A Public Development Plan for Thailand” และถือว่าประสบความสำเร็จ เพราะในแผนฯ 1 นั้น เศรษฐกิจขยายตัวถึงร้อยละ 8 ต่อปี จากที่ตั้งเป้าไว้ร้อยละ 5.5 ต่อปี
 

ภาพผู้ใหญ่ลีจาก Facebook

พ.ศ.2504 ผู้ใหญ่ลี ตีกลองประชุม... - GuideUbon ไกด์อุบล | Facebook

ปี พ.ศ.2504 จึงเป็นครั้งแรกที่ประเทศไทยเริ่มดำเนิน “แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ระยะที่ 1 ฉบับที่ 1” ในยุคของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ โดยเพลงได้สะท้อนให้เห็นถึงการสื่อสารระหว่างข้าราชการกับชาวบ้าน ที่ไม่คุ้นชินกับการใช้ภาษาราชการที่สื่อสารโดยตรงมาจากส่วนกลาง เพราะในยุคนั้น ชาวบ้านหรือแม้แต่ผู้นำท้องถิ่นเองมักเป้นคนที่คุ้นเคยกันในท้องถิ่น มากกว่าที่จะถูกแต่งตั้งมาจากส่วนกลาง จึงไม่ได้มีความรู้มาก [แต่ก็รู้จักท้องถิ่นดี และเข้ากับชาวบ้านด้วยกันได้ง่าย] เลยอาจจะตอบคำถามและนำแนวทางที่มาจากส่วนกลางไปใช้แบบผิดๆ ถูกๆ

ในช่วงก่อนหน้านี้ไม่นาน โฆษณาของธนาคารแห่งหนึ่งก็ได้เอาเพลงผู้ใหญ่ลีมาแปลง โดยคล้ายๆ กับว่าเป็นการเสียดสีนโยบายสนับสนุนผลิตภัณฑ์หมู่บ้าน ในความหมายเดียวกับการเสียดสีของผู้ใหญ่ลีแบบเก่า ก็คือประเด็นว่า “ถ้าไร้ปัญญา ทุนที่ได้มาก็ไม่เหลือ” [โฆษณานี้ถูกต่อต้านอยู่พอสมควร]

เนื้อหาจาก        
https://setthasat.com/2011/09/22/chief-lee/



 

ที่มารูปภาพจาก โมษณาผู้ใหญ่ลี ธนาคารกรุงไทย

50 ปี จาก “พ.ศ.2504 ผู้ใหญ่ลีตีกลองประชุม” … ทำไม? | [เสด-ถะ-สาด].com




Create Date : 13 กรกฎาคม 2565
Last Update : 24 กรกฎาคม 2565 13:31:04 น.
Counter : 740 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

สมาชิกหมายเลข 6567373
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed

 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



https://phiphathnrakseng.wixsite.com/phiphatmemeuniverse
All Blog