ดูจิตติดเกิด-ดับ จนพลาดจากความเป็นจริง
นักศึกษาธรรมะที่คิดว่าตนเองได้ปฏิบัติธรรมตามพระโอวาทของพระพุทธองค์แล้ว ควรต้องระมัดระวังศึกษาเรื่องจิต ให้รู้จักสภาพธรรมของจิตตามความเป็นจริง เมื่อขาดความรอบคอบ มักเกิดความเข้าใจในเรื่องจิตผิดไปจากความเป็นจริง ย่อมทำให้การปฏิบัติธรรมนำไปสู่ความหลุดพ้นนั้น ผิดไปจากความเป็นจริงตามไปด้วย
แต่ส่วนใหญ่กลับไม่เห็นความสำคัญ เพราะได้ปักใจเชื่อตามๆกันมา ตามตำราที่ว่าไว้เสียแล้วว่า "จิตผู้รู้" เป็นเรื่องเหลวไหล เป็นสิ่งที่ต้องเกิดๆ-ดับๆ เป็นกองทุกข์อยู่ตลอดเวลา ที่ได้ผัสสะกับอารมณ์กิเลสความรู้สึกนึกคิดทั้งหลาย ความเข้าใจตามนั้น ต้องถือว่า "ผิด" ไปจากความเป็นจริง เพราะเห็นแต่การเปลี่ยนแปลง ปรวนแปร ที่เกิดปรากฎขึ้นและดับหายไปจาก "จิตผู้รู้" อย่างรวดเร็ว ทำให้คิดไปว่านั่นเป็นสภาพธรรมของ "จิตผู้รู้" แท้ที่จริงสภาพธรรมที่เปลี่ยนแปลง ปรวนแปร ไปอย่างรวดเร็วมากนั้น มีพระพุทธพจน์รับรองไว้อย่างชัดเจน ดังนี้ "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้แต่อย่างเดียว ที่เปลี่ยนแปลงได้รวดเร็วเหมือนจิต ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้จะเปรียบเทียบให้เห็นว่า จิตเปลี่ยนแปลงได้รวดเร็วเพียงใดนั้น ก็กระทำไม่ได้ง่าย ฯ" พระบาลีจากพระสูตรนี้ รจนาไว้ชัดๆว่า "ฯ ยาว ลหุปริวตฺตํ จิตฺตนฺติ ฯ" จิตเปลี่ยนแปลงรวดเร็วมาก พระบาลีพูดถึงจิตในแบบลักษณะ คือ จิตฺตนฺติ จิตย่อมรู้ชัดว่า ลหุปริวตฺตํ เปลี่ยนแปลงรวดเร็วมาก จิตเปลี่ยนแปลงรวดเร็วมาก จนดูเหมือนกับจิตมีการเกิดๆ-ดับๆนั้น เป็น "จิตสังขาร" หรือ "สังขารจิต" คือจิตได้ยึดถือเอาสิ่งที่ถูกรู้นั้นเป็นของตนหรือเป็นตน ด้วยลืมหันกลับมามองดูตนเอง "จิตผู้รู้" ที่ยืนสภาพรู้ อยู่ทุกขั้นตอนของการเปลี่ยนแปลงแปรปรวนนั้น เหตุเพราะ "จิตผู้รู้" ขาดสติไม่สงบนิ่งพอ จึงรู้เห็นได้ไม่ทัน ถึงการเปลี่ยนแปลงแปรปรวนนั้น จนเกิดเป็นความเข้าใจผิดๆ ของนักปฏิบัติธรรมมือใหม่ หรือนักตำรานิยมทั้งหลายแทบทุกคน ตอนหนึ่งในพระธรรมเทศนาของ หลวงปู่สิม พุทธาจาโร กล่าวไว้ว่า "ดวงจิตดวงใจผู้รู้อันนี้ก็มีอยู่ภายใน แต่มีสังขารจิต คือจิตที่มันคิดอยู่ภายในนี้ แล้วมันก็แส่ส่ายออกไปภายนอก นั่นแหละคือ สังขารจิต" เรื่องนี้เป็นแค่เรื่องพื้นๆ อันเป็นรากฐาน และเป็นสาระสำคัญยิ่ง ที่ทำให้เกิดผลของปฏิบัติตามมาในกาลข้างหน้า ควรมีเข้าใจให้ถูกต้องดีเสียก่อน ไม่ต้องไปสนใจอะไรที่ลึกซึ้งไปกว่านี้ เพราะพื้นฐานอันนี้ คือรากฐานที่สำคัญยิ่ง ที่จะเกิดขึ้น ในอนาคตของการ "ปฏิบัติธรรมกรรมฐานภาวนา" ขอให้พิจารณา คำว่า "เกิด" กับคำว่า "ดับ" และคำว่า "เปลี่ยนแปลง" ซึ่งนักตำรานิยมยังสับสนกันอยู่เป็นจำนวนมาก จิตที่เปลี่ยนแปลงไปตามเหตุปัจจัย หรือแปรปรวนไปตามอารมณ์ ที่มาเกิดขึ้นที่จิต ตั้งอยู่ที่จิต และดับไปจากจิต คนส่วนใหญ่ก็มักเข้าใจไปว่า "จิต" เกิดๆ ดับๆ ส่วนอาการของจิตที่เกิดปรากฏขึ้นที่จิต ตั้งอยู่ที่จิต แล้วดับหายไปจากจิต ก็ยัดมันว่าเป็นจิตดวงใหม่ที่เกิดดับ-เกิดดับ ตลอดเวลาที่อารมณ์มาเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับหายไปซะงั้น คำว่า "เกิด" ชัดเจนในความหมาย คือ สิ่งที่ไม่มีอยู่ก่อนเกิดขึ้นมา เรียกว่า "เกิด" เช่น นาย ก.ไม่เคยมีมาก่อน แต่แม่นาย ก.ได้คลอดลูกออกมา จึงเรียกว่า "มีลูกเกิดขึ้นมา" เพราะนาย ก.ไม่เคยมีอยู่ก่อน ได้มีขึ้นในภายหลัง (อย่าพูดถึงตอนอยู่ในท้องนะ) ส่วนระหว่างที่ดำเนินชีวิตไปนั้น คือ การเจริญเติบโต เรียกว่า ได้มีการเปลี่ยนแปลงไป ตามวัย ตามปัจจัย ที่เกิดขึ้น พอถึงคราวอันควร นาย ก.นั้นต้องจากไป "ความตาย" ได้มาเยือน เรียกว่า "ดับ" ความหมายชัดเจนในตัว คือ สิ่งที่มีอยู่ก่อนนั้นดับหายไป ส่วนในระหว่าง "เกิด-ดับ" นั้น มักต้องมีความเปลี่ยนแปลงแฝงอยู่ในนั้นด้วยเป็นธรรมดา ฉะนั้น ควรทำความเข้าใจให้ชัดเจนดีเสียก่อน การศึกษาปฏิบัติธรรมจะได้ดำเนินไปแบบถูกฝาถูกตัว ถ้าเข้าใจเรื่อง "จิต" แบบผิดๆตั้งแต่ต้นมือแล้ว การศึกษาปฏิบัติธรรม ย่อมผิดตามไปด้วยตลอดแนวเช่นกัน ส่วนการเปลี่ยนแปลง แปรปรวน ที่เกิดขึ้นตั้งอยู่หรือดับไปนั้น ต้องถือว่าเป็นสาระสำคัญยิ่ง คือ "จิตผู้รู้" ที่มีอยู่ก่อนแล้ว ได้มีการเปลี่ยนแปลง แปรสภาพไปตามเหตุปัจจัย ที่มากระทบ หรือเข้าไปยึดถือเหตุปัจจัยนั้น "จิตผู้รู้" ย่อมต้องหลงไหลไปตามความยึดมั่นในปัจจัยที่มากระทบ หรือ ยึดเข้ามาครอบครอง และได้ปรุงแต่งด้วยเหตุปัจจัยนั้น และยึดมาเป็นของๆตน จึงเกิด "วิญญาณ" รู้แจ้งในอารมณ์นั้นๆ ที่จิตปรุงแต่งยึดมั่นอยู่ เมื่อสิ่งที่ถูกปรุงแต่งอยู่นั้น "เกิด-ดับ" ไป วิญญาณที่แจ้งในอารมณนั้นๆ ก็เกิด-ดับตามไปด้วย เพราะความโง่เขลาเบาปัญญา (อวิชชา) ตรงนี้เป็นจุดที่นักธรรมะมักสับสนกันมาก ด้วยลืมพิจารณาไปว่า ตนเองย่อมรู้เห็นถึง ความเปลี่ยนแปลง แปรปรวน ที่เกิด-ดับไปนั้น ตลอดสายของการเกิด-ดับ ที่เปลี่ยนแปลง แปรปรวนไป ตัวอย่างเช่น น้ำที่เดิมนั้นสะอาดหมดจดใสบริสุทธิ์ ต้องแปรเปลี่ยนไป ด้วยมีสิ่งแปลกปลอมต่างๆ มาผสมคลุกเคล้าลงไป เมื่อนำเอาสภาพน้ำนั้นไปกลั่นมาใหม่ น้ำไม่ได้เกิดมาใหม่ ก็เป็นสภาพของมันอยู่ก่อน และก็ไม่ใช่ดับเช่นกัน ที่ดับไป คือสภาพน้ำก่อนหน้าที่น้ำได้ถูกผสมปนเปไปด้วยสิ่งแปลกปลอม เมื่อถูกผสมใหม่ก็แปรเปลี่ยนไปอีก ไม่ใช้คำว่าน้ำใหม่ แต่เป็นสิ่งแปลกปลอมที่มาผสมใหม่ เพราะมันถูกผสมของมันอยู่อย่างนั้นมาช้านาน ที่อุปมามานั้น ต้องการเพียงสื่อให้เข้าใจคำว่า "เกิด-ดับ" กับ "เปลี่ยนแปลงแปรปรวน" ว่ามันเป็นคนละเรื่องที่เนื่องด้วยกันเป็นธรรมดา เพียงเท่านี้ก็เป็นเรื่องที่ต้องทำความเข้าใจจนเหนื่อยแล้ว แต่ก็เป็นเรื่องที่ควรต้องทำความเข้าใจ เรื่อง "เกิด-ดับ" กับ "เปลี่ยนแปลง" เสียให้ถูกต้องก่อน ส่วนเรื่อง "วิญญาณ" ถ้ายังสนใจ กระซิบมาได้ จะช่วยสงเคราะห์ให้ในโอกาสต่อไป ขอฝากพระธรรมเทศนาของหลวงปู่สิม พุทธจาโร ไว้ "ดวงสตินี้ก็ยังให้จิตในที่รู้อยู่นี้แหละ ตั่งมั่นสงบระงับ ไม่แส่ส่ายไปกับสังขารวิญญาณกริยาอาการของจิต" เจริญในธรรมทุกๆท่าน ธรรมภูต จิตไม่เกิดดับ เพราะจิตไม่ใช่ขันธ์ ๕ จิตจึงไม่ใช่กองทุกข์
โดยทั่วๆไปแล้ว เมื่อได้ยินได้ฟังมาจากตำรานิยมที่สอนกันว่า "จิตเกิดดับ" ก็เชื่อว่า "จิตเกิดดับ"ตามๆกันไป โดยไม่เคยพิจารณาให้ถ่องแท้ว่า ขัดกับหลักกาลามสูตรหรือไม่ ทั้งๆที่เรื่องแบบนี้ โดยความเป็นจริงเราสามารถพิสูจน์ได้ด้วยตนเอง โดยไม่ยากเย็นอะไรเลย
ตามที่พูดกันว่า "จิต" เกิดดับเร็วมาก ชั่วลัดนิ้วมือเดียว เกิดๆดับๆเป็นแสนโกฏิครั้ง ใครเป็นผู้นับล่ะ? จึงพูดออกมาได้ว่าเกิดๆดับๆถึงแสนโกฏิครั้ง? ถ้าไม่มีผู้นับ หรือ มีสิ่งที่ยืนตัวรู้อยู่ตลอดระยะเวลาของการเกิดๆดับๆนั้น ก็แสดงว่าสอนแบบเดาสวดกันเอาเองตามมติชอบใจของตน ไม่ใช่หลักของพระพุทธศาสนาแน่นอน เพราะพระพุทธศาสนา เป็นศาสนาที่เต็มไปด้วยเหตุ และผลที่สามารถตริตรองตามและปฏิบัติให้รู้เห็นตามความเป็นจริงได้ พระพุทธองค์จึงทรงได้ชื่อว่าเป็น "ศาสดาเอกของโลก" พระพุทธองค์ไม่ได้ทรงได้มาแบบฟลุ๊กๆ หรือเดาๆเอาเท่านั้น ตำราที่มีขึ้นมาในภายหลัง มักกล่าวไว้ว่า "จิต" เกิดๆดับๆตลอดเวลารวดเร็วมาก ส่วนพระพุทธพจน์นั้น มักกล่าวว่า "จิต" มีการเปลี่ยนแปลง แส่ส่าย กวัดแกว่ง ซัดส่าย ฯลฯ ไปตามอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดตลอดเวลาอย่างรวดเร็วมากเช่นกัน ไม่ใช่ "จิต" เกิดๆดับๆ ที่เกิดๆดับๆ คือเงาของจิต หรือ อาการของจิต (จิตสังขาร) ที่เป็นไปตามอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดต่างๆที่เปลี่ยนไป เมื่อเรารู้อยู่อย่างนี้แล้ว เราควรหาธรรมที่เป็นเครื่องแก้ มาเพื่อพิจารณาให้รู้เห็นตามความเป็นจริง โดยนำเอาธรรมเครื่องแก้ "ร้อนเอาเย็นเข้าแก้ เร็วเอาช้าเข้าแก้ มืดเอาสว่างเข้าแก้ เกียจคร้านเอาความเพียรพยายามเข้าแก้ ฯลฯ" การนำเอาธรรมมาเป็นเครื่องแก้กันนั้น เพื่อพิสูจน์ให้รู้เห็นตามความเป็นจริง ไม่ใช่เชื่อโดยขาดการพิสูจน์ให้เห็นจริง มีพระพุทธพจน์รับรอง และพ่อแม่ครูบาอาจารย์หลายท่านได้สอนอย่างแยบคายไว้ว่า ธรรมอันเป็นเครื่องแก้ "จิต" ที่กลับกลอก ดิ้นรน เปลี่ยนแปลง แส่ส่ายออกไปหากิเลสตลอดระยะเวลาอย่างรวดเร็ว นั่นก็คือ การลงมือปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนา (สัมมาสมาธิ) ที่เรียกว่ากายคตานุสสติกรรมฐาน หรือพิจารณากายในกาย (อานาปานสติ) เป็นภายใน ดังใน มหาสติปัฏฐานสูตร ที่พระองค์ทรงตรัสไว้ว่า "ดูกรภิกษุทั้งหลาย หนทางนี้เป็นที่ไปอันเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของเหล่าสัตว์ เพื่อล่วงความโศกและปริเทวะ เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุธรรมที่ถูกต้อง เพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน หนทางนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔ ประการ ๔ ประการ เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายอยู่อย่างไรเล่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกสั้น เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้าสั้น ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้ตลอดกองลมหายใจทั้งปวงหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้ตลอดกองลมหายใจทั้งปวงหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจเข้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย นายช่างกลึงหรือลูกมือของนายช่างกลึงผู้ขยัน เมื่อชักเชือกกลึงยาว ก็รู้ชัดว่า เราชักยาว เมื่อชักเชือกกลึงสั้น ก็รู้ชัดว่า เราชักสั้น แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกสั้น เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้าสั้น ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดกองลมทั้งปวงหายใจเข้า" พระพุทธพจน์ทรงแสดงธรรมอันเป็นเครื่องแก้จิตของตน ที่มีความกลับกลอก แส่ส่ายดิ้นรน กวัดแกว่ง เปลี่ยนแปลง ฯลฯ ออกไปหากิเลสอย่างรวดเร็วนั้น ด้วยอานาปานสติกรรมฐาน การกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก พระบาลีกล่าวไว้ว่า รู้ชัดว่า ทุกลมหายใจเข้าออก ไม่ว่าสั้น ยาว หยาบ ละเอียด กำหนดรู้ตลอดกองลมหายใจทั้งปวงหายใจเข้า-ออก มีตรงไหนครับที่พระองค์ทรงตัดว่าจิตเกิดๆดับๆ มีแต่พระองค์ทรงกล่าวไว้ว่า "รู้ชัดว่า" การรู้ชัดว่านั้น ต้องรู้อยู่ตลอดระยะเวลาของกองลมหายใจทั้งปวง หายใจเข้า-ออก ถ้าจิตเกิดๆดับๆ ตลอดระยะเวลาแล้ว พระพุทธองค์จะทรงตรัสว่า "รู้ชัดว่า" ได้หรือ? อย่าเชื่ออะไร โดยขาดการพิจารณาตริตรองตาม และไม่ได้ลงมือปฏิบัติให้รู้เห็นตามความเป็นจริง ควรจะนำมาสมาทาน เพื่อพิสูจน์ให้เห็นชัดก่อน (รู้ชัดว่า) จึงค่อยเชื่อก็ยังไม่สาย แม้ในกาลามสูตร พระพุทธองค์ท่านเองก็ตรัสไว้อย่างชัดเจนแล้วว่า อย่าเพิ่งเชื่อ ให้ฟังด้วยดี แล้วนำมาสมาทานดูว่า เกิดประโยชน์เป็นจริงตามนั้นมั้ย? ถ้าไม่เป็นไปตามความเป็นจริงแล้ว ผู้รู้ติเตียน คำสอนเหล่านั้น ควรปัดทิ้งเสียอย่าเชื่อ ในปัจจุบันนี้ มีการสอนกันแบบเดาสวด อวดภูมิรู้ตนเอง เอาสีข้างเข้าถูว่า "จิตเป็นกองทุกข์" "จิตเป็นสิ่งเหลวไหล ไร้สาระ บังคับบัญชาไม่ได้ เป็นอนัตตา" ซึ่งขัดแย้งกับความเป็นจริงที่เป็นอยู่ และพระพุทธพจน์ที่ทรงสั่งสอนไว้ดีแล้วอย่างยิ่ง ถ้าจิตเป็นตัวทุกข์ จิตเป็นสิ่งเหลวไหล ไร้สาระ บังคับบัญชาไม่ได้เสียแล้ว เรายังจะฝึกฝนอบรมจิตไปทำไมให้เสียเวลาไปเปล่า แล้วจะฝึกฝนอบรมจิตให้รู้จักวิธีประคองจิต รักษาจิต ชำระจิต โน้มน้อมจิต ตั้งจิตไว้ชอบ ฯลฯ เพื่ออะไร? จิตไม่ใช่ตัวทุกข์ ถ้าจิตเป็นตัวทุกข์เสียเองแล้ว จิตจะเป็นสุขอย่างยิ่งได้อย่างไร จิตไม่ใช่ขันธ์ ๕ และ ขันธ์ ๕ (อาการของจิต) ก็ไม่ใช่จิต เมื่อไม่มีจิตก็ไม่มีขันธ์ ๕ จะมีขันธ์ ๕ โดยไม่มีจิตก็ไม่ได้เช่นกัน เพราะขันธ์ ๕ เป็นเพียงอาการของจิต ขันธ์ ๕ เกิดขึ้นได้ต้องอาศัยจิต จึงปรากฏออกมาได้ เหมือนร่างกายที่ไม่มีจิตครอง(คนตาย) ย่อมรู้อะไรไม่ได้นั่นเอง ด้วยเหตุนี้ พระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ จึงทรงสั่งสอนให้ฝึกฝนอบรมจิต ดังพระบาลีว่า อธิจิตฺเต จ อาโยโค เอตํ พุทฺธานสาสนํ การทำให้ "จิต" มีธรรมอันยิ่ง(อธิจิต) เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย และมีพระพุทธพจน์กล่าวไว้ว่า อธิจิตตสิกขาเป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุข อันเกิดแต่วิเวกอยู่ บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิต ณ ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกและวิจารสงบไป มีปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่ เพราะปีติสิ้นไป จึงมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ นี้ชื่อว่า อธิจิตตสิกขา และมีพระพุทธพจน์กล่าวไว้ว่า สัมมาสมาธิเป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุข อันเกิดแต่วิเวกอยู่ บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิต ณ ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกและวิจารสงบไป มีปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่ เพราะปีติสิ้นไป จึงมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ นี้ชื่อว่า สัมมาสมาธิ จากพระพุทธพจน์ เราจะเห็นได้ว่า การศึกษาอธิจิตตสิกขา ก็คือแบบแผนของการปฏิบัติสัมมาสมาธิดีๆ นี่เอง แสดงว่าจิตที่ได้รับการอบรมปฏิบัติสัมมาสมาธินั้น เป็นการอบรมจิตให้มีธรรมอันยิ่ง(อธิจิต) นั่นเอง เมื่อจิตมีธรรมอันยิ่ง จิตย่อมเป็นสัมมาทิฐิ คือจิตก็จะรู้เห็นตามความเป็นจริงว่า ที่จิตเป็นทุกข์ เหตุเพราะจิตชอบแส่ส่าย เปลี่ยนแปลง กวัดแกว่ง ซัดส่ายดิ้นรนส่งออกไป(สมุทัย) รับอุปกิเลสที่เป็น แขก จรเข้ามา แล้วยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นของๆตน ผลจึงเป็นทุกข์ เมื่อรู้เห็นตามความเป็นจริงอย่างนี้แล้ว ย่อมต้องละเหตุแห่งทุกข์นั้นเสีย คือสละคืนปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่นออกไปจากจิต อาการแส่ส่าย เปลี่ยนแปลง กวัดแกว่ง ซัดส่าย ฯลฯ ที่ชอบส่งออกไปของจิตก็จะดับลงไป(นิโรธ) ด้วยเช่นกัน ซึ่งมีทางเดียวเท่านั้นคือต้องปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนา (มรรค) จิตจึงจะมีกำลังมากพอในการสละปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่น ในรูปและนาม (อารมณ์ความรู้สึกนึกคิดทั้งหลาย) ออกไปได้ตามความเป็นจริง (สัมมาทิฐิ)..... เจริญในธรรมทุกๆท่าน ธรรมภูต ดูจิตกันยังไง? เห็นไปได้ว่าจิตเกิดดับ
เป็นที่ทราบดีกันอยู่แล้วว่า ทุกวันนี้มีการสอนให้ดูจิตที่เกิด-ดับอยู่ตลอดเวลา
ซึ่งถ้าเราฟังโดยไม่เพ่งพิจารณาให้ดีแล้วเราอาจจะถูกชักจูงให้เห็นด้วย หรือคล้อยตาม และเชื่อไปตามนั้นได้โดยง่ายๆ ทั้งๆสิ่งที่เราฟังมานั้นเป็นสิ่งที่ไม่มีเหตุผลเลยและเป็นการขาดเหตุผลอย่างยิ่ง ไม่ใช่เกิดจากการรู้เห็นตามความเป็นจริงจากการปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนาเลย โดยความเป็นจริงแล้ว ผู้ที่เห็นอาการของจิต(จิตสังขาร)ที่เกิด-ดับนั้น จะเป็นใครอื่นไปไม่ได้เลย นอกจากจิตของตน หรือจิตของเรา ใช่มั้ยครับ??? เมื่อถูกถามว่าเราในที่นี่คือใคร??? คำตอบที่ได้นั้น มักเป็นคำตอบที่หาเหตุผลไม่ได้เลย เช่น เราก็คือเรา เราคือผู้รู้ ถึงผู้รู้หรือเรา ก็ไม่เที่ยง สุดท้ายจิตผู้รู้หรือเราก็ต้องถูกทำลายทิ้งอยู่ดี ...ฯลฯ... เป็นคำตอบที่ขาดเหตุผลอย่างยิ่ง พาให้ออกห่างจากความเป็นจริงไปอีกไกลโข ถ้าจิตผู้รู้หรือเรา ถูกทำลายทิ้ง เมื่อบรรลุมรรคผลที่เกิดขึ้นกับตน จะรู้ได้อย่างไร??? ขัดกับพระพุทธวจนะที่กล่าวไว้ว่า จิตของเราสิ้นการปรุงแต่ง บรรลุพระนิพพานเพราะสิ้นตัณหา ด้วยมีการสอนว่าอารมณ์เกิด จิตจึงจะเกิด เมื่ออารมณ์ดับ จิตก็ดับตามไปด้วย ถ้าเราพิจารณาด้วยจิตใจที่เป็นธรรมไม่เอนเอียง และเทียบเคียงกับพระพุทธพจน์แล้ว จะเห็นได้ว่าเป็นการขาดหลักเหตุผลตามความเป็นจริงเอามากๆ นั่นเอง เพราะการถ่ายทอดกรรมหรือการบันทึกกรรมนั้นจะมีขึ้นไม่ได้ถ้าจิตเกิดดับ ในเมื่อจิตคือธาตุรู้ มีธรรมชาติ รู้ รับ จำ คิดนึก ย่อมต้องยืนตัวรู้ในเรื่องราวทั้งหลายที่เกิดขึ้นที่จิต และดับไปจากจิต เมื่ออารมณ์ความรู้สึกนึกคิดอบ่างหนึ่งอย่างใดเกิดขึ้นที่จิต จิตก็รู้ ดับไปจากจิต จิตก็รู้ หมายความว่าอารมณ์รู้สึกนึกคิดเป็นสิ่งที่ถูกจิตรู้ และจิตยึดถืออารมณ์เหล่านั้นเข้ามา ปรุงแต่งจิตให้เสียคุณภาพไปใช่มั้ย? ...ใช่ เมื่ออารมณ์เป็นสิ่งที่ปรุงแต่งจิตให้เสียคุณภาพไปตามอารมณ์นั้นๆ แสดงว่าจะต้องมีจิตยืนตัวรู้อยู่ก่อนแล้วใช่มั้ย? ...ใช่ เปรียบจิตคือบ้าน มีช่องทางในการรับอารมณ์ความรู้สึกนึกคิด อยู่ ๖ ช่องทาง อารมณ์ความรู้สึกนึกคิดทั้งหลายที่เข้ามาในช่องทางเหล่านั้น คือสิ่งที่มาปรุงแต่งบ้าน(จิต) เมื่อไม่มีบ้านและช่องทางรับอารมณ์อยู่ก่อนแล้ว จะมีเครื่องปรุงแต่งบ้านเกิดขึ้นได้อย่างไร??? ฉะนั้นพอสรุปได้ว่า...จะต้องมีจิตยืนตัวรู้อยู่ก่อนจึงจะมีเจตสิกเกิดขึ้นมาในภายหลัง ดังมีพระพุทธวจนะ...(พระบาลีมหาสติปัฏฐานสูตร)....กล่าวไว้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่อย่างไรเล่า? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ จิตมีราคะ ก็รู้ว่าจิตมีราคะ......(ราคะเกิด) หรือจิตปราศจากราคะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากราคะ .....(ราคะดับ) จิตมีโทสะ ก็รู้ว่าจิตมีโทสะ....(โทสะเกิด) หรือจิตปราศจากโทสะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากโทสะ....(โทสะดับ) จิตมีโมหะ ก็รู้ว่าจิตมีโมหะ....(โมหะเกิด) หรือจิตปราศจากโมหะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากโมหะ .(โมหะดับ) ^ ^ ตามพระพุทธวจนะดังกล่าว ก็เป็นที่ชัดเจนอยู่แล้วว่า อารมณ์หรือเจตสิก...เกิดขึ้นที่จิต จิตก็รู้... และอารมณ์หรือเจตสิก...ดับไปจากจิต จิตก็รู้ จิตมีราคะ โทสะ โมหะ จิตก็รู้ จิตปราศจาก ราคะ โทสะ โมหะ จิตก็รู้อีกเช่นกัน เราจึงสามารถพูดได้เต็มปากว่า ก็รู้ ถ้าจิตเกิด-ดับตามที่สอนให้เชื่อตามๆกันมานั้น เราจะชำระจิตให้บริสุทธิ์หมดจดจากเครื่องเศร้าหมองได้อย่างไรเล่า? เมื่อกำลังฝึกฝนอบรมชำระจิตขณะภาวนาอยู่ และจิตยังเกิดดับอยู่ตลอดเวลา เราไม่มีทางที่จะชำระให้บริสุทธิ์หมดจดจากเครื่องเศร้าหมองได้หรอกครับ เดี๋ยวเกิด เดี๋ยวดับ ซึ่งเป็นเรื่องที่ขาดเหตุผลเอาอย่างมากๆ ยังมีการสอนอีกว่าระหว่างที่จิตเกิด-ดับอยู่นั้น มีการถ่ายทอดกรรมให้แก่กันอีกด้วย ซึ่งไม่มีทางเป็นไปได้เลยครับ ขณะที่จิตดวงใหม่เกิดขึ้นนั้น จิตดวงเก่าได้ดับไปแล้ว ขณะจิตดวงเก่าที่กำลังจะดับไป จิตดวงใหม่ก็ยังไม่อาจเกิดขึ้นมาเลย เพราะจิตดวงใหม่จะเกิดขึ้นมาได้นั้น ต่อเมื่อจิตดวงเก่าต้องดับไป จะมีจิตสองดวงเกิดขึ้นพร้อมกันในขณะเดียวกันไม่ได้ ฉะนั้นเอาช่วงเวลาตรงไหนมาถ่ายทอดกรรมให้กันหละครับ ความหมายคำว่า เกิด นั้นหมายถึงว่า สิ่งนั้นไม่เคยมีอยู่ก่อน แล้ว เกิด มีขึ้นมา เราจึงเรียกว่าสิ่งนั้น เกิด ส่วนความหมายคำว่า ดับ นั้นหมายถึงว่า สิ่งที่มีอยู่ก่อนแล้ว ดับหายไป ยังมีพระพุทธพจน์ที่กล่าวไว้ ในมหาสติปัฏฐานสูตร กล่าวไว้ชัดๆ ว่า จิตไม่ได้เกิดดับ ที่เกิดและดับไปนั้น คือนิวรณ์ทั้งหลาย ดังนี้ [๒๙๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ อย่างไรเล่า? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือนิวรณ์ ๕ ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคือนิวรณ์ ๕ อย่างไรเล่า? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อกามฉันท์ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกุจจ วิจิกิจฉา มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า กามฉันท์มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา หรือ เมื่อกามฉันท์ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกุจจ วิจิกิจฉา ไม่มีอยู่ ณ ภายใน จิตย่อมรู้ชัดว่า กามฉันท์ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา อนึ่ง กามฉันท์ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกุจจ วิจิกิจฉา ที่ยังไม่เกิด จะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย กามฉันท์ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกุจจ วิจิกิจฉา ที่เกิดขึ้นแล้ว จะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย กามฉันท์ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกุจจ วิจิกิจฉา ที่ละได้แล้ว จะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย ^ ^ พระพุทธวจนะกล่าวไว้ชัดๆ โดยไม่ต้องตีความให้เกิดความเสียหายแด่พระพุทธวจนะเลย อะไรที่เกิดขึ้นหรือมีอยู่ ณ.ภายในจิต จิตก็รู้ชัดๆว่า เกิดขึ้นหรือมีอยู่ อะไรที่ดับไปหรือไม่มีอยู่ ณ.ภายในจิต จิตก็รู้ชัดๆว่า ดับไปหรือไม่มีอยู่ อะไรที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใด ณ.ภายในจิต จิตย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย อะไรที่เกิดขึ้นแล้วจะละเสียได้ด้วยประการใด ณ.ภายในจิต จิตย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย อะไรที่ละได้แล้วจะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ณ.ภายในจิต ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย การที่จะเชื่ออะไรตามๆ กันมานั้น ควรพิจารณาให้รอบคอบตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้น ณ.ภายในจิตของตน โดยเฉพาะผู้ที่คุยอวดว่าตนเองเป็นนักปฏิบัติกรรมฐานภาวนามาด้วยแล้ว และยังเห็นว่าจิตเกิดดับ ซึ่งเป็นการกล่าวขัดแย้งกับพระพุทธพจน์ ที่มีมาในมหาสติปัฏฐานสูตร เป็นคำพูดที่ไม่น่าเชื่อถือว่าได้ผ่านการปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนามาจริง เพราะขณะที่ลงมือปฏิบัติภาวนาอยู่นั้น จิตย่อมรู้อยู่เห็นอยู่ตลอดสายของการปฏิบัติภาวนาอยู่ว่า นิวรณ์ใดบ้างที่เกิดขึ้น(มีอยู่) ณ.ภายในจิต หรือนิวรณ์ใดบ้างที่ดับไป(ไม่มีอยู่) ณ.ภายในจิต แม้ขณะปฏิบัติอยู่นั้น ถีนมิทธะครอบงำ ก็รู้ชัดว่าถีนมิทธะครอบงำอยู่....... เจริญในธรรมทุกๆท่าน ธรรมภูต การสอนดูจิตที่เข้าใจผิดไปจากความเป็นจริงว่าจิตเกิดดับ
ปัจจุบันยังมีความเข้าใจเรื่องจิตผิดไปจากความเป็นจริง ดังได้เคยกล่าวมาแล้วนั้น เมื่อเริ่มต้นด้วยความเข้าใจจิตผิดไปจากความเป็นจริงแล้ว ย่อมศึกษาพระพุทธศาสนาผิดไปจากความเป็นจริงเช่นกัน
สืบเนื่องมาจากการศึกษาธรรมมาจากตำรับตำรา ซึ่งท่านที่เขียนไว้ให้ศึกษา ท่านผู้ที่เขียนล้วนพูดถึงจิตสังขาร(จิต+อารมณ์)ทั้งนั้น คือ จิตที่ได้ผสมปรุงแต่งไปกับอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดเข้าไปแล้วทั้งสิ้น และจิตก็จะแสดงอาการของจิตที่เนื่องด้วยอารมณ์นั้นออกมาให้ปรากฏ ให้เห็นถึงความรัก ชอบ ชังต่อสายตาประชาชนและธารกำนันทั่วไป ซึ่งจิตสังขาร (จิต+อารมณ์) เหล่านี้ ล้วนต้องเกิดดับไปตามอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดที่เข้ามาปรุงแต่งจิตในขณะนั้นๆ ซึ่งเกิดขึ้นที่จิต และดับไปจากจิต ถ้าผู้ศึกษาได้ลงมือปฏิบัติสัมมาสมาธิ ที่พระพุทธองค์ทรงวางหลักไว้ใน อริยมรรคมีองค์ ๘ มาแล้วอย่างจริงจัง ตามรอยพระบาทของพระบรมครูแล้ว จะไม่สงสัยในอาการของจิต (จิตสังขาร) ที่เกิดดับไปตามอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดต่างๆเหล่านั้นเลย ย่อมจะรู้เห็นตามความเป็นจริงได้ไม่ยากว่า ตัวจิตซึ่งเป็นธาตุรู้ ไม่เคยเกิดดับหรือดับตายหายสูญไปไหนเลย จิตรู้อยู่ตลอดเวลาในขณะปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนา พุทโธ ซึ่งมีบ้างที่จิตเผลอสติไปในบางครั้งบางคราว ทำให้จิตของผู้ปฏิบัติอยู่นั้น รู้เห็นไปว่าที่เกิดดับหรือดับตายหายสูญไปนั้น ล้วนเป็นจิตสังขารคืออาการของจิตที่เกิดขึ้นและแสดงตอบต่ออารมณ์ความนึกคิดทั้งหลายเหล่านั้น ในขณะที่เผลอสติไป และอาการของจิตก็เกิดดับหรือดับตายหายสูญไปกับอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดเหล่านั้น ที่เวียนตายเวียนเกิดเข้ามาที่จิตของตนอยู่ตลอดเวลาในขณะที่จิตเผลอสติหรือขาดสติอยู่นั่นเอง ส่วนผู้ที่ศึกษาปริยัติธรรมมา โดยที่ไม่เคยลงมือปฏิบัติสัมมาสมาธิอย่างจริงจังมาก่อนเลยนั้น เพียงใช้แต่ความรู้ความเข้าใจ และ ความรู้สึกนึกคิดที่ตกผลึกแล้ว และเชื่อตามๆกันมา โดยที่ไม่เคยพิจารณาว่าสิ่งที่ตนเองได้เรียนรู้มานั้น ขาดหลักเหตุขาดผลที่น่าเชื่อถือได้ และพิจารณาให้เห็นตามความเป็นจริงด้วยไม่ได้ เพราะไม่สามารถที่จะชี้แจงให้เห็นความจริง ที่เป็นเหตุเป็นผลให้พิจารณาตริตรองตามได้ ตามที่มีสอนกันอยู่ในปัจจุบันว่า อารมณ์เกิด จิตจึงเกิด อารมณ์ดับ จิตจึงดับตามอารมณ์เหล่านั้น และสรุปว่าจิตเกิดดับตามอารมณ์ ต้องมีอารมณ์ก่อนจึงมีจิต ซึ่งไม่เป็นความจริงเลย เราลองมาพิจารณาประโยคข้างต้นนี้ ด้วยใจที่เป็นธรรม บนหลักเหตุผล อย่าปล่อยให้ความเชื่อที่เคยเชื่อตามๆกันมาครอบงำเอาเสียก่อนแล้ว เราจะเห็นได้ว่า ประโยคข้างต้นดังกล่าวมานั้น เป็นสิ่งที่ขาดเหตุขาดผลอย่างยิ่งยวด ไม่น่าเชื่อถือเอาเสียเลย เราทุกคนย่อมรู้ดีอยู่แล้วว่า รูปวัตถุสิ่งของต่างๆที่เกิดขึ้นมาในโลกนั้น ล้วนเป็นสิ่งที่จะก่อให้เกิดอารมณ์ความรู้สึกนึกคิด(กิเลส)ขึ้นมาได้ เป็นของที่มีอยู่ก่อน คู่กับโลก เพียงแต่รูปวัตถุสิ่งของต่างๆเหล่านั้น จะเป็นอารมณ์ความรู้สึกนึกคิด(กิเลส)ขึ้นมาได้นั้น ต้องมีผู้เข้าไปยึดมั่นถือมั่นในวัตถุสิ่งของเหล่านั้น เกิดมีขึ้นมาเสียก่อนใช่หรือไม่? จึงจะเรียกว่าเป็นอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้นของคนๆนั้น (ผู้ที่เข้าไปยึดมั่น)ใช่หรือไม่? ถ้าไม่มีผู้เข้าไปยึดมั่นถือมั่นในวัตถุสิ่งของต่างๆเหล่านั้นแล้ว เราจะเรียกว่าเป็นอารมณ์เกิดได้หรือไม่? ย่อมไม่ได้แน่นอน เพราะไม่มีผู้เข้าไปยึดมั่นถือมั่นในรูปวัตถุสิ่งของต่างๆเหล่านั้น อารมณ์จะเกิดขึ้นได้อย่างไร? เราจะเรียกว่าอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดเกิดขึ้นมาได้นั้น จะต้องมีผู้ที่เข้าไปยึดมั่นถือมั่นในวัตถุสิ่งของต่างๆเหล่านั้นก่อน และแสดงอาการของจิตออกมาเช่น รัก ชอบ ชังให้เกิดขึ้นมา จึงเรียกว่าเกิดอารมณ์ความรู้สึกนึกคิด รัก ชอบ ชังต่อวัตถุสิ่งของต่างๆเหล่านั้นใช่หรือไม่? ถ้าไม่มีจิตผู้รู้อยู่ก่อนแล้ว จะมีผู้ที่เข้าไปยึดมั่นถือมั่นต่อวัตถุสิ่งของต่างๆเหล่านั้นขึ้นมาได้อย่างไร ก็จะเป็นได้เพียงแค่รูปวัตถุสิ่งของต่างๆที่มีอยู่ประจำโลกเท่านั้น จะเป็นอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดของใครไปไม่ได้เลย เพราะขาดผู้ที่เข้าไปยึดมั่นถือมั่นในรูปวัตถุสิ่งของต่างๆเหล่านั้น เหตุผลเพียงพื้นๆแบบนี้ ย่อมเกิดมีขึ้นได้ในผู้ที่ลงมือปฏิบัติสัมมาสมาธิอย่างจริงจังมาก่อน และเข้าใจเรื่องจิตได้ถูกต้อง จะละเอียดลึกซึ้งขึ้นไปเรื่อยๆตามภูมิธรรมภูมิจิตของผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบในสมาธิกรรมฐานภาวนาเหล่านั้น สรุปง่ายๆแต่ไม่ลัดสั้น ต้องมีผู้รู้อยู่ก่อน จึงมีสิ่งที่ให้ถูกรู้เกิดขึ้นมาได้ เมื่ออารมณ์เกิด อาการของจิตจึงเกิดให้เห็นนั่นเอง แต่ผู้รู้ยืนรู้อยู่ก่อนแล้ว มีพระพุทธพจน์รับรองเรื่องจิตไม่เกิดดับไปตามอารมณ์ความรู้สึกนึกคิด ที่กล่าวไว้ในมหาสติปัฏฐานสูตรดังนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ อย่างไรเล่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือ นิวรณ์ ๕ ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือ นิวรณ์ ๕ อย่างไรเล่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อกามฉันท์ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ วิจิกิจฉา มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า กามฉันท์ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ วิจิกิจฉา มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา หรือเมื่อกามฉันท์ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ วิจิกิจฉา ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า กามฉันท์ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ วิจิกิจฉา ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา อนึ่ง กามฉันท์พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ วิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย กามฉันท์ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ วิจิกิจฉา ที่เกิดขึ้นแล้ว จะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย กามฉันท์ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ วิจิกิจฉา ที่ละได้แล้ว จะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย อีกอย่างหนึ่งฯลฯ เมื่อเราลองมาพิจารณาตามพระพุทธพจน์ ในบทนิวรณ์บรรพะนี้ ด้วยใจที่เป็นธรรม ไม่ถูกสิ่งใดๆครอบงำด้วยความเชื่อที่มีตามๆกันมาแล้ว เราย่อมเห็นได้ชัดเจนว่าอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดที่เกี่ยวกับนิวรณ์ทั้ง ๕ นั้น ล้วนเกิดขึ้นที่จิต และดับไปจากจิตใช่หรือไม่? เนื่องจากพระพุทธพจน์ได้กล่าวไว้ชัดเจนว่า ย่อมรู้ชัดว่า ก็แสดงว่าอะไรเกิดขึ้นที่จิต จิตก็รู้ชัดว่าอะไรเกิดขึ้นที่จิต อะไรดับไปจากจิต จิตก็รู้ชัดว่าอะไรดับไปจากจิตใช่หรือไม่? ถ้าจิตเกิดๆดับๆอยู่นั้น จะใช้คำว่า "รู้ชัด ไม่ได้ พระพุทธพจน์ยังเน้นย้ำให้เห็นว่าอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดนั้นมีเกิดขึ้นมาในภายหลัง ไม่ใช่เกิดขึ้นมาก่อนจิตเลย ดังนี้ อนึ่ง กามฉันท์ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ วิจิกิจฉา ที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อม "รู้ชัด" ประการนั้นด้วย ถ้าจิตผู้รู้เกิดๆดับๆไปตามอารมณ์ความรู้สึกนึกคิด ที่เป็นเครื่องเศร้าหมองของจิต ที่เกิดขึ้นดับไป แบบที่ยังมีการสอนกันอยู่นั้น เราจะชำระจิตให้บริสุทธิ์หมดจดจากอารมณ์ความรู้สึกนึกคิด ที่เป็นเครื่องเครื่องเศร้าของจิตได้อย่างไร? ในเมื่อมีพระพุทธพจน์รับรองไว้ชัดเจน ในโอวาทพระปาฏิโมกข์ หรือที่เราเรียกว่าหัวใจพระพุทธศาสนานั้นว่า ๑ ละชั่ว ๒ ทำดี ในสองข้อต้นนี้มีสอนกันในทุกๆศาสนาที่มีในโลก ส่วนข้อที่ ๓ การชำระจิตให้บริสุทธิ์หมดจดจากอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดที่เป็นเครื่องเศร้าหมองทั้งหลายนั้น จะมีเฉพาะในพระพุทธศาสนาเท่านั้น โปรดจดจำไว้ให้ขึ้นใจ เพราะเป็นหลักใหญ่สำคัญที่มีพระพุทธพจน์รองรองไว้ว่า อธิจิตฺเต จอาโยโค เอตํ พุทฺธานสาสนํ เจริญในธรรมทุกๆท่าน ธรรมภูต เมื่อจิตเกิด-ดับ การดูจิตจะเป็นไปตามความเป็นจริงได้อย่างไร???
เป็นที่ทราบดีกันอยู่แล้วว่า ทุกวันนี้มีการสอนให้ดูจิตที่เกิด-ดับอยู่ตลอดเวลา
ซึ่งถ้าเราฟังโดยไม่เพ่งพินิจพิจารณาให้ดีแล้ว เราอาจจะถูกชักจูง ให้หลงเห็นด้วย หรือคล้อยตาม และเชื่อไปตามนั้นได้โดยง่าย ทั้งๆที่สิ่งที่เราฟังมานั้น เป็นสิ่งที่ไม่มีเหตุผลและขัดกับหลักเหตุผลอย่างยิ่ง ไม่ใช่คำสอนที่เกิดจากการรู้เห็นตามความเป็นจริง จากการปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนาเลย โดยความเป็นจริงแล้ว เรา-ผู้ที่เห็นอาการของจิต(จิตสังขาร)ที่เกิด-ดับไปนั้น เป็นใครอื่นที่เป็นผู้รู้เห็นไปไม่ได้เลย นอกจากจิตของตนใช่หรือไม่? เมื่อต้องถูกถามว่า เราในที่นี้คือใคร ? คำตอบที่ได้นั้น มักเป็นคำตอบที่หาเหตุผลเอาไม่ได้เลย เช่น "เราก็คือเรา เราคือผู้รู้ ถึงผู้รู้หรือเราก็ไม่เที่ยง เป็นสมมุติ สุดท้ายจิตผู้รู้ หรือ เราผู้รู้อยู่เห็นอยู่ ก็ต้องถูกทำลายทิ้งอยู่ดี...ฯลฯ" ทั้งๆที่คำตอบที่ตอบกันออกมานั้น เป็นสิ่งที่ขาดเหตุผล พากันออกห่างจากความเป็นจริงไปอีกไกลโข ถ้าจิตผู้รู้หรือเรานั้นถูกทำลายทิ้งจริง เมื่อบรรลุมรรคผลที่เกิดขึ้นกับตน เราจะรู้ได้อย่างไร? ในเมื่อถูกทำลายทิ้งไปแล้ว แล้วใครล่ะ? เป็นผู้ทำลายจิตผู้รู้หรือเรานั้นทิ้งไป มีพระพุทธวจนะได้ทรงตรัสไว้ว่า จิตของเราสิ้นการปรุงแต่ง บรรลุพระนิพพานเพราะสิ้นตัณหา พระพุทธพจน์ชัดเจนในตัว โดยไม่ต้องตีความใดๆเลย แต่ด้วยมีการสอนว่า อารมณ์เกิด จิตจึงจะเกิด เมื่ออารมณ์ดับ จิตก็ดับตามไปด้วย ถ้าเราพิจารณาด้วยจิตใจที่เป็นธรรมไม่เอนเอียง และเทียบเคียงกับพระพุทธพจน์แล้ว จะเห็นได้ว่าเป็นคำสอนที่ขาดหลักเหตุผลตามความเป็นจริงเอามากๆ เพราะการถ่ายทอดกรรมหรือกรรมที่ได้กระทำไปแล้วนั้น จะไม่สามารถบันทึกลงได้เลย เมื่อจิตยังเกิดๆดับๆตลอดเวลาเช่นนั้น ในเมื่อจิตคือธาตุรู้ มีธรรมชาติ รู้ จำ คิด นึก ย่อมต้องยืนตัวรู้ในเรื่องราวต่างๆ ที่ปรากฏเกิดขึ้น และดับไปจากจิตของตน เมื่อมีอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดอะไร เกิดขึ้นที่จิต จิตก็รู้ชัด ดับไปจากจิต จิตก็รู้ชัด หมายความว่าอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดเป็นสิ่งที่ถูกจิตรู้ ว่าเกิดขึ้นแล้วดับไป แสดงว่าจิตเป็นผู้ยึดถือเอาอารมณ์กิเลสเข้ามาปรุงแต่งจิตให้เสียคุณภาพไปใช่หรือไม่? ขอตอบว่า...ใช่ เมื่ออารมณ์เป็นสิ่งที่ปรุงแต่งจิตให้เสียคุณภาพไปตามอารมณ์นั้นๆ แสดงว่าจะต้องมีจิตผู้รู้ยืนตัวรู้อยู่ก่อนแล้วนั่นเอง เปรียบจิตคือบ้าน มีช่องทางในการรับอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดอยู่ ๖ ช่องทาง อารมณ์ความรู้สึกนึกคิดทั้งหลายที่เข้ามาทางช่องทางเหล่านั้น คือ สิ่งที่เข้ามาปรุงแต่งบ้าน(จิต) เมื่อไม่มีบ้านและช่องทางรับอารมณ์ อยู่ก่อนแล้ว จะมีเครื่องปรุงแต่งบ้าน เกิดขึ้นได้อย่างไร? ฉะนั้นพอสรุปได้ว่า จะต้องมีจิตผู้รู้ ยืนตัวรู้อยู่ก่อน จึงจะมีเจตสิกเกิดขึ้นมาในภายหลังได้ ดังมีพระพุทธวจนะ...(พระบาลีมหาสติปัฏฐานสูตร)....กล่าวไว้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่อย่างไรเล่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ จิตมีราคะ ก็รู้ชัดว่า จิตมีราคะ ......(ราคะเกิด) หรือจิตปราศจากราคะ ก็รู้ชัดว่า จิตปราศจากราคะ .....(ราคะดับ) จิตมีโทสะ ก็รู้ชัดว่า จิตมีโทสะ ....(โทสะเกิด) หรือจิตปราศจากโทสะ ก็รู้ชัดว่า จิตปราศจากโทสะ ....(โทสะดับ) จิตมีโมหะ ก็รู้ชัดว่า จิตมีโมหะ ....(โมหะเกิด) หรือจิตปราศจากโมหะ ก็รู้ชัดว่า จิตปราศจากโมหะ .(โมหะดับ) ^ ^ ตามพระพุทธวจนะดังกล่าว ก็เป็นที่ชัดเจนอยู่แล้วว่า อารมณ์หรือเจตสิก(เจตนาปรุงแต่ง)...เกิดขึ้นที่จิต จิตก็รู้ชัด... และอารมณ์หรือเจตสิก(เจตนาปรุงแต่ง)...ดับไปจากจิต จิตก็รู้ชัด จิตมีราคะ โทสะ โมหะ จิตก็รู้ชัด จิตปราศจาก ราคะ โทสะ โมหะ จิตก็รู้ชัดอีกเช่นกัน เราจึงสามารถพูดได้เต็มปากว่า ก็รู้ชัด ถ้าจิตเกิด-ดับ ตามที่สอนให้เชื่อตามๆกันมานั้น เราจะชำระจิตให้บริสุทธิ์หมดจดจากเครื่องเศร้าหมองได้อย่างไรเล่า? เมื่อกำลังฝึกฝนอบรมชำระจิตขณะภาวนาอยู่ เมื่อจิตยังต้องเกิดดับอยู่ตลอดเวลา เราไม่มีทางที่จะชำระให้บริสุทธิ์หมดจดจากเครื่องเศร้าหมองไปได้เลย เดี๋ยวเกิด เดี๋ยวดับ ซึ่งเป็นเรื่องที่ขาดเหตุผลเอาอย่างมากๆ ยังมีการสอนอีกว่าระหว่างที่จิตเกิด-ดับอยู่นั้น มีการถ่ายทอดกรรมให้แก่กันอีกด้วย ซึ่งไม่มีทางที่จะเป็นไปได้เลยด้วยซ้ำ ขณะที่จิตดวงใหม่เกิดขึ้นมานั้น จิตดวงเก่าได้ดับหายไปแล้ว ขณะจิตดวงเก่าที่กำลังจะดับไป จิตดวงใหม่ก็ยังไม่อาจเกิดขึ้นมาเลย เพราะจิตดวงใหม่จะเกิดขึ้นมาได้นั้น ต่อเมื่อจิตดวงเก่าต้องดับหายไปก่อน จะมีจิตสองดวงเกิดขึ้นพร้อมกันในขณะเดียวกันไม่ได้ ฉะนั้นเอาช่วงเวลาตรงไหนมาถ่ายทอดกรรมให้กันได้ล่ะ เมื่อพิจารณาตามเหตุผล ความหมายคำว่า เกิดนั้น หมายถึงว่า สิ่งนั้นไม่เคยมีอยู่ก่อนหน้านั้น แล้ว เกิด มีขึ้นมา เราเรียกว่าสิ่งนั้น เกิด ความหมายคำว่า ดับ นั้นหมายถึงว่า สิ่งที่มีอยู่ก่อนนั้น ดับหายไป ยังมีพระพุทธพจน์ที่ทรงตรัสรับรองไว้ ในมหาสติปัฏฐานสูตร ไว้ชัดๆ ว่าจิตไม่ได้เกิดดับ ที่เกิดและดับไปนั้น คือนิวรณ์ที่เป็นแขกจรทั้งหลาย ดังนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ อย่างไรเล่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือ นิวรณ์ ๕ ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคือนิวรณ์ ๕ อย่างไรเล่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อกามฉันท์ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกุจจ วิจิกิจฉา มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า กามฉันท์ ฯลฯ มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา หรือ เมื่อกามฉันท์ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกุจจ วิจิกิจฉา ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า กามฉันท์ ฯลฯ ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา อนึ่ง กามฉันท์ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกุจจ วิจิกิจฉา ที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย กามฉันท์ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกุจจ วิจิกิจฉา ที่เกิดขึ้นแล้วจะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย กามฉันท์ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกุจจ วิจิกิจฉา ที่ละได้แล้วจะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย ^ ^ พระพุทธวจนะกล่าวไว้ชัดๆ โดยไม่ต้องตีความให้เกิดความเสียหายแก่พระพุทธวจนะเลย อะไรที่ที่เกิดขึ้นหรือมีอยู่ ณ.ภายในจิต จิตย่อมรู้ชัดๆว่า เกิดขึ้นหรือมีอยู่ อะไรที่ดับไปหรือไม่มีอยู่ ณ.ภายในจิต จิตย่อมรู้ชัดๆว่า ดับไปหรือไม่มีอยู่ อะไรที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใด ณ.ภายในจิต จิตย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย อะไรที่เกิดขึ้นแล้วจะละเสียได้ด้วยประการใด ณ.ภายในจิต จิตย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย อะไรที่ละได้แล้วจะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ณ.ภายในจิต ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย การที่จะเชื่ออะไรตามๆกันมานั้น ควรนำหลักของกามาลสูตร ขึ้นมาพิจารณาให้รอบคอบตามความเป็นจริง ที่เกิดขึ้น ณ.ภายในจิตของตน โดยเฉพาะผู้ที่คุยอวดอ้างว่า ตนเองเป็นนักปฏิบัติกรรมฐานภาวนามาด้วยแล้ว แต่ยังเห็นว่าจิตเกิดดับอยู่ อันเป็นการกล่าวขัดแย้งกับพระพุทธพจน์ ที่มีมาในมหาสติปัฏฐานสูตร เป็นคำพูดที่ไม่น่าเชื่อถือ เป็นการอวดอ้างเสียมากกว่า ว่าตนเองได้ผ่านการปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนามาจริง เพราะขณะที่ลงมือปฏิบัติภาวนาอยู่นั้น จิตย่อมรู้อยู่เห็นอยู่ ตลอดสายของการปฏิบัติธรรม สมาธิกรรมฐานภาวนาอยู่นั้นว่า นิวรณ์ตัวใดบ้างที่เป็นแขกจรมาเกิดขึ้น (มีอยู่) ณ.ภายในจิต หรือนิวรณ์ใดบ้างที่เป็นแขกจรดับไป (ไม่มีอยู่) ณ.ภายในจิต แม้ขณะปฏิบัติธรรม สมาธิกรรมฐานภาวนาอยู่นั้น มีถีนมิทธะเป็นแขกจรเข้ามาครอบงำจิตอยู่ จิตย่อมรู้ชัดว่าถีนมิทธะกำลังครอบงำจิตของตนอยู่....... เจริญในธรรมทุกๆท่าน ธรรมภูต |
ในความฝันของใครสักคน
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() หน้าแรก Blog ธรรมภูต - พระภัทรสิทธิ์ Group Blog All Blog |
||
Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved. |