ดูจิตติดที่รู้เฉยๆ เพราะคิดเองเออเอง เป็นวิปัสสนาจอมปลอม เมื่อพูดถึงการดูจิตในปัจจุบันที่เกิดขึ้นมา อันเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายมากในหมู่ชาวพุทธรุ่นใหม่ โดยเฉพาะคนเมืองที่นิยมความสะดวกสบาย ง่ายๆ ลั้ดสั้น ไม่ต้อง ไม่ตั้ง ไม่ต้องเสียเวลานั่งปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนาเพียรพยายามใดๆ ทั้งสิ้นเพื่อให้เข้าถึงมรรคผลนิพพาน สอนกันเพียงแค่ให้ตามรู้ตามเห็นอารมณ์ที่เกิดขึ้น เฝ้าดูเฉยๆ โดยไม่ต้องแทรกแซง แล้วปล่อยให้เผลอไป เมื่อสะดุ้งตกใจว่าเผลอไปนั่นแหละ สติตัวจริงจึงจะเกิดขึ้นมาเอง และให้จดจำอารมณ์เหล่านั้นอย่างแม่นยำ จนกลายเป็นถิรสัญญา ก็เพียงพอในการที่จิตจะเป็นสัมมาสมาธิได้ โดยไม่ต้องมีพื้นฐานของการปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนาให้จิตสงบตั้งมั่นชอบ(สัมมาสมาธิ) มาก่อนเลย ...(เป็นคำสอนที่ผิดเพี้ยน ไม่ตรงตามพระพุทธพจน์และพ่อแม่ครูบาอาจารย์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบเลย)... และอาจารย์ผู้สอนบางท่าน ยังมีการแอบอ้างเอาพระพุทธพจน์ในพระไตรปิฎกและคำสอนของพ่อแม่ครูบาอาจารย์ ในส่วนของผลที่ได้รับจากการปฏิบัติทางจิต และถูกกับจริตของตนมาแอบอ้างเท่านั้น โดยนำเอาส่วนของผล มาสอนให้ผู้ฟังหลงเชื่อ โดยไม่พูดถึงส่วนที่ต้องอาศัยความเพียรพยายามเป็นอย่างมากในการปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนาจนสำเร็จผลนั้นขึ้นมา เพียงเพื่อให้เห็นว่าการปฏิบัตินั้น เป็นเรื่องของความสะดวกง่ายๆ สบายๆ ลัดสั้น ส่วนความเพียรเพ่งพยายามที่เกิดขึ้นในการปฏิบัตินั้น กลับสอนว่าเป็นเรื่องของอัตตกิลมถานุโยคไปซะอย่างนั้นเอง ส่วนผู้ฟังก็ศรัทธาเชื่อถือเพียงภาพลักษณ์ที่ถูกจัดสร้างขึ้นมาให้ดูน่าเชื่อถือ โดยไม่เคยนำคำสอนที่ได้ยินได้ฟังมานั้น เอามาเปรียบเทียบ เทียบเคียงกับพระพุทธพจน์และคำสอนของพ่อแม่ครูบาอาจารย์ในฝ่ายปฏิบัติเลย ความเพียรพยายามในการลงมือปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนานุโยค เพื่อให้เข้าถึงสภาวะธรรมที่แท้จริงของจิต ที่ใช้ในการดูจิตในจิตให้รู้เห็นตามความเป็นจริงอย่างถูกต้องนั้น ต้องอาศัยองค์ธรรมมากมายหลายอย่างในการประกอบให้จิต สงบระงับ สงบตั้งมั่น สงบสละคืนจากอาสวะกิเลสทั้งหลาย องค์ธรรมที่ประกอบกันขึ้นมา เพื่อให้เกิดวิชชาและวิมุตติเป็นผลานิสงส์นั้น ต้องอาศัยความเพียรพยายามเป็นอย่างมากในการดับอวิชชา ตัณหา และอุปาทานทั้งหลายให้หมดสิ้นไป เป็นผู้มีกายคงที่ มีจิตคงที่ ไม่หวั่นไหว มั่นคงดี ณ.ภายใน จิตหลุดพ้นดีแล้ว ดังปรากฏในกุณฑลิยสูตร ที่กล่าวไว้ว่า : ธรรมเหล่าไหนที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังวิชชาและวิมุติให้บริบูรณ์? โพชฌงค์ ๗ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังวิชชาและวิมุติให้บริบูรณ์. ธรรมเหล่าไหนที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วย่อมยังโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์? สติปัฏฐาน ๔ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์. ธรรมเหล่าไหนที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์? สุจริต ๓ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์. ธรรมเหล่าไหนที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังสุจริต ๓ ให้บริบูรณ์? อินทรีย์สังวรอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังสุจริต ๓ ให้บริบูรณ์ อินทรีย์สังวรอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างไร ย่อมยังสุจริต ๓ ให้บริบูรณ์? ดูกรกุณฑลิยะ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปที่ชอบใจด้วยจักษุแล้ว ฯลฯ ฟังเสียงด้วยหู ฯลฯ ดมกลิ่นด้วยจมูก ฯลฯ ลิ้มรสด้วยลิ้น ฯลฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ฯลฯ รู้ธรรมารมณ์ที่ชอบใจ ด้วยใจแล้ว ย่อมไม่ยินดี ไม่ขึ้งเคียด ไม่ยังความกำหนัดให้เกิด และกายของเธอก็คงที่ จิตก็คงที่ มั่นคงดีในภายใน หลุดพ้นดีแล้ว อนึ่ง เธอเห็นรูปที่ไม่ชอบใจด้วยจักษุแล้ว ฯลฯ ฟังเสียงด้วยหู ฯลฯ ดมกลิ่นด้วยจมูก ฯลฯ ลิ้มรสด้วยลิ้น ฯลฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ฯลฯ รู้ธรรมารมณ์ที่ชอบใจ ด้วยใจแล้ว ก็ไม่เก้อ ไม่มีจิตตั้งอยู่ด้วยอำนาจกิเลส ไม่เสียใจ มีจิตไม่พยาบาท และกายของเธอก็คงที่ จิตก็คงที่ มั่นคงดี ในภายใน หลุดพ้นดีแล้ว. ^ ^ เมื่อพิจารณาพระพุทธพจน์ที่พระองค์ได้ทรงตรัสไว้ดีแล้ว เราจะพบว่า ขั้นตอนในการเข้าถึงวิชชาและวิมุตติจิตหลุดพ้นเป็นผลานิสงส์นั้น ต้องผ่านขั้นตอนการปฏิบัติฝึกฝนอบรมกาย อบรมจิต(ความเพียร) ให้กายคงที่ ให้จิตคงที่ตั้งมั่นไม่หวั่นไหว ไม่มีจิตตั้งอยู่ด้วยอำนาจกิเลส ไปตามอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดใดๆเลย แต่ในปัจจุบันกลับมีอาจารย์ผู้สอนให้ดูเหมือนว่า มรรคผลนิพพานเป็นเรื่องสะดวกง่ายๆ สบายๆ ลัดสั้น ไม่ต้องเพียรพยายามใดๆ ทั้งสิ้น เป็นวิปัสสนาโดยไม่ต้องปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนา(สัมมาสมาธิ) ไม่งั้นจะกลายเป็นเรื่องของตัณหาอุปาทาน(ความทะยานอยาก)ไปหมด จนผู้ฟังหลงเชื่อตามคำสอนที่มักง่าย สบายๆ ลัดสั้นนั้น ซึ่งเป็นการกล่าวตู่พระพุทธพจน์ที่ทรงตรัสไว้ดีแล้วว่า "บุคคลจะล่วงทุกข์ได้เพราะความเพียร(ทำให้บ่อยๆ ทำให้มาก)" และโดยมากมักเข้าใจไปตามอาจารย์ผู้สอนว่า อินทรีย์สังวรและสุจริต ๓ ที่จะยังให้สติปัฏฐานให้บริบูรณ์ได้นั้น ผู้ปฏิบัติภาวนาเพียงแค่ตามรู้ตามเห็นอารมณ์ที่เกิดขึ้น โดยไม่ต้อง ไม่ตั้ง ไม่ต้องเพียรพยายามใดๆทั้งสิ้น ในการฝึกฝนอบรมจิตให้รู้จักวิธีการปล่อยวางอารมณ์ออกไปจากจิต ให้รู้เพียงเฉยๆก็พอแล้วไม่ต้องแทรกแซงใดๆทั้งสิ้น แค่นี้ก็เป็นวิปัสสนาแล้ว โดยไม่ต้องลงมือปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนา(สัมมาสมาธิ) ก็เป็นการสังวรอินทรีย์ได้แล้ว ความจริงเป็นการรู้ว่าเพียงรู้เฉยๆ ที่ตนเองคิดเองเออเองขึ้นมาหลอกตนเองให้เข้าใจว่าเป็นเช่นนั้น โดยไม่เคยผ่านการฝึกฝนอบรมจิตให้ปฏิบัติอานาปานสติสมาธิกรรมฐานภาวนามาก่อนเลย ก็หลงเข้าใจผิดว่าตนเองยังสุจริต ๓ให้บริบูรณ์ได้แล้ว และเข้าสู่สติปัฏฐานให้บริบูรณ์ด้วย ซึ่งเป็นไปไม่ได้เลย สำหรับผู้ที่ยังไม่เคยลงมือปฏิบัติอานาปานสติสมาธิกรรมฐานภาวนามาจนสำเร็จ จะยังให้อินทรีย์สังวรและสุจริต ๓ นั้นบริบูรณ์ได้นั้น เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ยากมาก เพราะในขั้นตอนของอินทรีย์สังวร พระองค์ทรงกล่าวไว้ชัดเจนแล้วว่า "เธอเห็นรูปที่ไม่ชอบใจด้วยจักษุแล้ว ก็ไม่เก้อ ไม่มีจิตตั้งอยู่ด้วยอำนาจกิเลส ไม่เสียใจ มีจิตไม่พยาบาท และกายของเธอก็คงที่ จิตก็คงที่ มั่นคงดี ในภายใน หลุดพ้นดีแล้ว." เมื่อนำเอาพระสูตรมาพิจารณาเปรียบเทียบ เทียบเคียงให้ดีแล้ว จะเห็นว่ามีพระสูตรที่สอดคล้องกันกับพระสูตรข้างต้นดังนี้ อานาปานสติ ภิกฺขเว ภาวิตา พหุลีกตา จตฺตาโร สติปฏฺฐาเน ปริปุเรนฺติ, จตฺตาโร สติปฏฺฐานา ภาวิตา พหุลีกตา สตฺต โพชฺฌงฺเค ปริปุเรนฺติ, สตฺต โพชฺฌงคา ภาวิตา พหุลีกตา วิชฺชา วิมุตฺตึ ปริปุเรนฺติ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานาปานสตินี้ ถ้าทำให้เกิดขึ้น ทำให้บ่อยๆแล้ว ย่อมได้ชื่อว่า ทำสติปัฏฐานสี่ให้บริบูรณ์, สติปัฏฐานสี่นี้ ถ้าทำให้เกิดขึ้น ทำให้บ่อยๆแล้ว ย่อมได้ชื่อว่า ทำโพชฌงค์เจ็ดให้บริบูรณ์, โพชฌงค์เจ็ดนี้ ถ้าทำให้เกิดขึ้น ทำให้บ่อยๆแล้ว ย่อมได้ชื่อว่า ทำวิชชาจิตหลุดพ้นทุกข์ให้บริบูรณ์ ดังนี้. เมื่อนำเอามาเปรียบเทียบ เทียบเคียงพิจารณาให้รอบคอบแล้ว จะเห็นว่าในหมวดของอินทรีย์สังวรและสุจริต ๓ นั้น ลงกันได้กับอานาปานสติบรรพะแรก หมวดกายในกายของมหาสติปัฏฐานสูตร ในขณะที่ปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนาอานาปานสติกรรมฐานอยู่นั้น ผู้ปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนารู้ชัดอยู่ที่กองลมทั้งหลายที่เข้าออกเพียงอย่างเดียว อินทรีย์สังวรและสุจริต ๓ ย่อมบริบรูณ์อยู่ในขณะนั้นตามไปด้วย เมื่อเป็นเช่นนั้นย่อมยังสติปัฏฐาน ๔ บริบรูณ์ไปด้วยเช่นกัน นี่แหละที่เรียกว่าปัญญา(วิปัสสนา) เกิดเพราะการประกอบ ไม่ใช่สัญญา(วิปัสสนา) ที่เกิดขึ้นจากการอ่านหรือความรู้สึกนึกคิดที่ตกผลึกแล้ว แบบนั้นเรียกว่าโลกียปัญญา ไม่ใช่โลกุตตรปัญญาที่เกิดเนื่องจากการปฏิบัติสัมมาสมาธิ โลกียปัญญา รู้ได้เพราะถิรสัญญาที่เกิดขึ้นบ่อยๆ จนจิตจดจำอารมณ์ได้อย่างแม่นยำ จนจิตรู้สึกเฉยๆ เพราะความคุ้นเคย ความคุ้นชิน หรือจิตกระด้างต่ออารมณ์ที่เกิดขึ้นบ่อยๆจนเป็นธรรมดา หรือถิรสัญญานั่นเอง แต่จิตกลับปล่อยวางอารมณ์ออกไปไม่เป็น เพราะไม่เคยผ่านการฝึกฝนอบรมจิตด้วยกรรมฐานภาวนาให้จิตหัดปล่อยวางอารมณ์ออกไปจากจิต จึงต่างกับโลกุตตรปัญญาโดยสิ้นเชิง ที่เกิดขึ้นจากการเพียรประกอบภาวนานุโยค(สัมมาสมาธิ) อันเป็นการฝึกฝนอบรมจิตให้รู้จักวิธีการปล่อยวางอารมณ์ทั้งหลายออกไปจากจิต จนจิตบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส ดังมีพระพุทธพจน์กล่าวไว้ดังนี้ "เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อนควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ ภิกษุนั้น ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริง(โลกุตตรปัญญา)ว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริง(โลกุตตรปัญญา)ว่า เหล่านี้อาสวะ นี้อาสวสมุทัย นี้อาสวนิโรธ นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา เมื่อภิกษุนั้นรู้เห็นอย่างนั้น จิตย่อมหลุดพ้น แม้จากกามสวะ แม้จากภวาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณว่า พ้นแล้ว ภิกษุนั้นย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้วพรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี" เจริญในธรรมทุกๆท่าน ธรรมภูต สิ่งที่ได้อ่านมานี้ย่อมแสดงถึงการปฏิบัติได้ผ่านมา......เวลานั้น......แต่สิ่งหนึ่งสิ่งใดก็แล้วแต่ ทุกท่านต้องรู้และควรจะปฏิบัติให้ถูกต้องตามคำสอนของอาจารย์ที่สอน.....ไม่เช่นนั้นก็จะเป็น มิจฉาทิฐิ......ผมเองก็ผ่่านเข้ามาอ่านบ่อยและเห็นการเห็นต่าง......ซึ่งมาสู่มา วิวาทะ เกิดขึ้น.....ส่วนบางคนก็เอาจากเว๊ปอื่นมาเพื่อเพื่อประสงค์อะไรไม่ทราบได้ ทั้ง ๆ ที่รู้อยู่แล้วว่า ย่อมนำไปสู่การ เห็นต่าง แต่กลับไม่ได้เนื้อหาสาระเท่าที่ควร.....ส่วนข้อความบทกระทู้นี้นั้น ผมเองถือว่าเห็นด้วยต่อการปฏิบัติทำจริง.....จะไม่ไเอาทางลัด คิดเอง เออเอง มา......ขออนุโมทนา
โดย: ฉัตรา IP: 124.122.84.237 วันที่: 30 พฤศจิกายน 2553 เวลา:8:31:03 น.
สวัสดีค่ะ
มาแจ้งข่าวว่าอัพบล๊อก วิมุตติรัตนมาลี ตอนอวสานบทค่ะ เนื้อหาตอนนี้ คุณธรรมภูต น่าจะเข้าใจกว่าปุ๊กมากมาย ปุ๊กอาศัยจับใจความเอาน่ะค่ะ พอได้บ้างนิดหน่อยเองค่ะ คงต้องขอคำชี้แนะจากคุณธรรมภูตด้วยค่ะ ![]() โดย: พ่อระนาด
![]()
โดย: พ่อระนาด
![]() แม้แต่ข้อธรรมมะ แนวทางที่นำมา ก็ต้องปล่อยวาง เพื่อการบรรลุอย่างแท้จิรง รู้ว่าบรรลุ กับ คิดว่า บรรลุ นั้นแตกต่างกัน
ยินดียิ่งกับผู้รู้จักคิดวิเคราะห์เพื่อแก่นธรรมที่แท้จริง --ขอเชิญอ่านเรื่องการหลุดพ้นย่างฉัพพลันำด้ที่บล็อกผมครับ โดย: jesdath
![]() |
ในความฝันของใครสักคน
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() หน้าแรก Blog ธรรมภูต - พระภัทรสิทธิ์ Group Blog All Blog |
|||
Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved. |