Buddha Followers
Group Blog
 
All Blogs
 
ประเภทของการวิรัติศีล

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 558

                                   แก้กุศลกรรมบถ 
        พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า     ปาณาติปาตา   เวรมณี    กุสลํ  (เจตนา
งดเว้นจากปาณาติบาตเป็นกุศล)   เป็นต้น    ดังต่อไปนี้    อกุศลกรรมบถ
ทั้งหลาย  มีปาณาติบาตเป็นต้น  มีอรรถาธิบายดังที่ข้าพเจ้าได้กล่าวมาแล้ว
นั้นแหละ.
        เจตนาชื่อว่า     เวรมณี    เพราะย่ำยีเวร    อธิบายว่า     ละเวรได้
อีกอย่างหนึ่ง  บุคคลเว้น จากเวรได้เพราะเจตนานี้เป็นเหตุ   เพราะเหตุนั้น
เจตนานั้น  จึงชื่อว่า  เวรมณี โดยเปลี่ยน วิ  อักษร  ให้เป็น  เว   อักษร ไป
นี้เป็นการขยายความในคำว่า  เวรมณี  นี้    โดยพยัญชนะก่อน    ส่วนการ
ขยายความโดยอรรถ  (ความหมาย) พึงทราบว่า  วิรัติที่สัมปยุตด้วยกุศลจิต
ชื่อว่าเวรมณี.    วิรัติของผู้เว้นจากปาณาติบาตที่ตรัสไว้อย่างนี้ว่า    การงด
การเว้นจากปาณาติบาต      ในสมัยนั้น    ดังนี้   ชื่อว่าเป็นวิรัติที่สัมปยุตด้วย
กุศลจิต.
                                   แก้วิรัติ  ๓
        วิรัตินั้นแยกประเภทออกเป็น  ๓  อย่าง  คือ 
สัมปัตตวิรัติ  ๑ 
สมาทานวิรัติ ๑ 
สมุจเฉทวิรัติ  ๑.
  ในจำนวนวิรัติทั้ง ๓ นั้น   
วิรัติที่เกิดขึ้นแก่ผู้ไม่ได้สมาทานสิกขาบททั้งหลาย  (มาก่อน)  แต่ได้
พิจารณาถึงชาติ  วัยและการคงแก่เรียนเป็นต้นของตนแล้ว     เห็นว่า   ไม่เหมาะแก่เรา     
การทำอย่างนี้   แล้วไม่ล่วงเกินสิ่งที่เผชิญเข้า   พึงทราบว่า   เป็นสัมปัตตวิรัติ

เหมือนวิรัติของจักกนะอุบาสกในสีหลทวีป 

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 559

                          นิทานประกอบสัมปัตตวิรัติ
        ได้ทราบว่า   ในเวลาเขายังหนุ่มอยู่นั้นแหละ  มารดาของเขาเกิดโรค
และหมอบอกว่า ควรจะได้เนื้อกระต่ายสด ๆ (มาประกอบยา). ลำดับนั้น
พี่ชายของจักกนะสั่งว่า    ไปเถอะเจ้าจงไปนา    แล้วส่งจักกนะไป.   เขาก็
ได้ไปที่นานั้น.  และเวลานั้นมีกระต่ายตัวหนึ่งมาเล็มหญ้าอ่อนอยู่.  มันเห็น
เขาแล้วรีบวิ่งหนีไป     แต่ไปข้องเถาวัลย์    จึงส่งเสียงร้อง   แกร่ก   แกร่ก
( กริ  กริ)  ขึ้น.    จักกนะตามเสียงนั้นไป    จับกระต่ายไว้ได้    ตั้งใจว่า
จะเอามาทำยาให้แม่   แต่ก็ฉุกคิดขึ้นมาว่าไม่เป็นการสมควรสำหรับเขาที่จะ
ทำลายชีวิตสัตว์อื่นแลกชีวิตแม่ของเรา
.     จึงพูดว่า  ไปเถิดเจ้าไปกินหญ้า
กินน้ำร่วมกับกระต่ายทั้งหลายในป่าเถิดแล้วปล่อยมันไป       และเมื่อกลับ
ถึงบ้าน  เขาถูกพี่ชายถามว่า  เป็นอย่างไรน้อง  ได้กระต่ายไหม ?  จึงได้
บอกความเป็นไปนั้นให้ทราบ.   บัดนั้น  พี่ชายก็ได้บริภาษเขา.  เขาเข้าไป
หาแม่แล้ว      ได้ยืนตั้งสัตยาธิษฐานว่า      ข้าพเจ้าตั้งแต่เกิดมาจำความได้
ไม่เคยจงใจฆ่าสัตว์ตัดชีวิตเลย.   ทันใดนั้น   แม่ของเขาได้หายจากโรค.

แต่วิรัติที่เกิดขึ้นแก่ผู้สมาทานสิกขาบทมาแล้ว      ถึงจะสละชีพ
ของตน    ในเวลาสมาทานสิกขาบทและเวลาถัดจากนั้นไป    ก็ไม่ล่วงเกิน
วัตถุ  พึงทราบว่า  เป็นสมาทานวิรัติ 
 เหมือนวิรัติของอุบาสก   ชาวเขา
อุตรวัฑฒมานะ.
                                 นิทานประกอบสมาทานวิรัติ
        ได้ทราบว่า    อุบาสกนั้นรับสิกขาบทในสำนักของท่านปิงคลพุทธ-
รักขิตเถระชาวอัมพริยวิหารแล้วไปไถนา.     ต่อมา     โคของเขาหายไป.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 560

เขาเมื่อตามหามัน   ได้ขึ้นภูเขาอุตรวัฑฒมานะ. งูใหญ่ได้รัดเขาอยู่บนภูเขา 
นั้น.  เขาคิดว่า  จะเอามีดที่คมนี้ตัดหัวมัน  แต่ก็ยังคิดอีกว่า  การที่สมาทาน
สิกขาบทในสำนักของครูผู้น่านับถือแล้ว    ทำลายเสียไม่สมควรเลย.  ครั้น
คิดอย่างนี้ถึง ๓ ครั้งแล้วก็ตัดสินใจว่า เราจะสละชีวิต ไม่ยอมสละสิกขาบท
(ศีล)  แล้ว    ได้ขว้างมีดโต้เล่มที่แบกมาอยู่บนบ่าเข้าป่าไป.    ทันใดนั้น
งูใหญ่ก็ได้คลายตัวออกแล้วเลื้อยไป.
                      แก้สมุจเฉทวิรัติ  และกุศลกรรมบท
          ส่วนวิรัติที่สัมปยุตด้วยอริยมรรคพึงทราบว่า  เป็นสมุจเฉทวิรัติ  ซึ่ง
จำเดิมแต่เกิดแล้ว      พระอริยบุคคลทั้งหลายไม่เคยแม้แต่จะเกิดความคิดว่า
เราจักฆ่าสัตว์มีชีวิต  ดังนี้
.    แต่วิรัตินี้นั้นท่านเรียกว่า  กุศล  เพราะเป็น
ไปแล้วด้วยความฉลาด.      อีกอย่างหนึ่งท่านเรียกว่า  กุศล  เพราะตัดซึ่ง
ความทุศีล  ที่ได้โวหารว่า  กุศะ   เพราะเป็นที่หมักหมมความชั่วร้ายบ้าง.
แต่ไม่ได้เรียกว่ากุศล    เพราะไม่เหมาะสมกับปัญหานี้ว่า   คุณ   กุศลเป็น
อย่างไร ?
                        วินิจฉัยโดยอาการ  ๕  อย่าง
          อนึ่ง  กุศลกรรมบถแม้เหล่านี้   ก็ควรทราบวินิจฉัยโดยอาการ  ๕
อย่าง    คือ 

โดยธรรม ( ธมฺมโต )  ๑   
โดยโกฏฐาส (โกฏฺฐาสโต)   ๑
โดยอารมณ์  (อารมฺมณโต)  ๑   
โดยเวทนา (เวทนาโต) ๑   
โดยเค้ามูล(มูลโต)  ๑ 

เหมือนกับอกุศลกรรมบถทั้งหลาย.

๑.  ปาฐะว่า  กุจฺฉิตสฺส  สลนโต  วา  กุสลนฺติ..  ฉบับพม่าเป็น  กุจฺฉิตสยฺโต  วา  กุสนฺติ..  จึง
ได้แปลตามฉบับพม่า  เพราะเห็นว่าได้ความดีว่า.




Free TextEditor


Create Date : 06 กรกฎาคม 2552
Last Update : 6 กรกฎาคม 2552 20:54:39 น. 0 comments
Counter : 589 Pageviews.

Mr.Maximum
Location :
สงขลา Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




ธรรมแล ย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม
ธรรมอันบุคคลประพฤติดีแล้วย่อมนำสุขมา
ให้ นี้เป็นอานิสงส์ในธรรมที่บุคคลประพฤติ
ดีแล้ว ผู้มีปกติประพฤติธรรมย่อมไม่ไปสู่
ทุคติ.
Friends' blogs
[Add Mr.Maximum's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.