Buddha Followers
Group Blog
 
All Blogs
 

เปิดโลกเทวดาสถิตย์เมฆ (วลาหกสังยุต)

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 581

                         ๑๑.  วลาหกสังยุต 
                             ๑.  เทสนาสูตร
           [๕๔๓]   กรุงสาวัตถี.   พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า   ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย     เราจักแสดงพวกเทวดาซึ่งนับเนื่องในหมู่วลาหกแก่เธอ
ทั้งหลาย  เธอทั้งหลายจงฟัง  ฯลฯ  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  พวกเทวดาซึ่ง
นับเนื่องในหมู่วลาหกเป็นไฉน  ?        พวกเทวดาที่เป็นสีตวลาหกก็มี
ที่เป็นอุณหวลาหกก็มี     ที่เป็นอัพภวลาหกก็มี     ที่เป็นวาตวลาหกก็มี
ที่เป็นวัสสวลาหกก็มี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกนี้เราเรียกว่า พวกเทวดา
ซึ่งนับเนื่องในหมู่วลาหก.
                                            จบเทสนาสูตรที่  ๑
                 ๑๑.  อรรถกถาวลาหกสังยุต
                     อรรถกถาเทสนาสูตรที่  ๑
           พึงทราบวินิจฉัยในวลาหาสังยุต  ดังต่อไปนี้  :-
           บทว่า    วลาหกกายิกา    ได้แก่     เทวดาที่ล่องลอยไปในอากาศ
ซึ่งเกิดขึ้นในหมู่เทพ นามว่า พลาหกะ.
           บทว่า    สีตวลาหกา   ได้แก่     เทวดาพลาหก    (เทวาก้อนเมฆ)
ที่ทำให้เกิดความเย็น.
           แม้ในบทที่เหลือ  ก็มีนัย  (ความหมาย) อย่างเดียวกันนี้แล.
                                   จบ  อรรถกถาเทสนาสูตรที่  ๑

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 582

                              ๒.  สุจริตสูตร
           [๔๔๔]  กรุงสาวัตถี.   ครั้งนั้น  ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มี-
พระภาคเจ้าถึงที่ประทับ   ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว   นั่ง   ณ
ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง     ครั้นแล้ว     ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ   อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัย  ให้บุคคลบางคนใน
โลกนี้ เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของพวกเทวดาซึ่งนับเนื่อง
ในหมู่วลาหก พระเจ้าข้า  ?
           พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า   ดูก่อนภิกษุ   บุคคลบางคนในโลกนี้
ประพฤติสุจริตด้วยกาย   ด้วยวาจา   ด้วยใจ   เขาได้สดับมาว่า   พวก
เทวดาซึ่งนับเนื่องในหมู่วลาหก  มีอายุยืน มีวรรณะงาม  มีความสุขมาก
เขาจึงมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า  โอหนอ  เมื่อตายไป  ขอเราพึงเข้าถึง
ความเป็นสหายของพวกเทวดาซึ่งนับเนื่องในหมู่วลาหก     เขาจึงให้ข้าว
น้ำ  ผ้า  ยาน  มาลา  ของหอม   เครื่องลูบไล้  ที่นอน  ที่พัก  ประทีปและ
อุปกรณ์แห่งประทีป     เมื่อตายไป    เขาย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของ
พวกเทวดาซึ่งนับเนื่องในหมู่วลาหก     ดูก่อนภิกษุ     ข้อนี้แลเป็นเหตุ
เป็นปัจจัย   ให้บุคคลบางคนในโลกนี้  เมื่อตายไป   ย่อมเข้าถึงความเป็น
สหายของพวกเทวดาซึ่งนับเนื่องในหมู่วลาหก  ?
                                            จบ  สุจริตสูตรที่  ๒
       ๓-๑๒.  สีตวลาหกทานูปการสูตร 
                (รวม ๑๐ สูตร)
           [๕๔๕ ]  กรุงสาวัตถี.   ภิกษุนั้นนั่ง   ณ   ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว

๑.  เทวดา  ๑  จำพวก  ให้วัตถุทาน  ๑๐ อย่าง  นับเป็น ๑ สูตร  ให้วัตถุทาน ๑๐  อย่าง จึงเป็น  ๑๐ สูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 583

ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า     ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ     อะไรหนอ
เป็นเหตุ   เป็นปัจจัย   ให้บุคคลบางคนในโลกนี้  เมื่อตายไป   ย่อมเข้าถึง
ความเป็นสหายของพวกเทวดาที่เป็นสีตวลาหก พระเจ้าข้า  ?
           พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า   ดูก่อนภิกษุ   บุคคลบางคนในโลกนี้
ประพฤติสุจริตด้วยกาย ด้วยวาจา  ด้วยใจ  เขาได้สดับมาว่า พวกเทวดา
ที่เป็นสีตวลาหก   มีอายุยืน   มีวรรณะงาม   มีความสุขมาก   เขาจึงมี
ความปรารถนาอย่างนี้ว่า   โอหนอ   เมื่อตายไป   ขอเราพึงเข้าถึงความ
เป็นสหายของพวกเทวดาที่เป็นสีตวลาหก  เขาจึงให้ข้าว  น้ำ  ผ้า  ยาน
มาลา   ของหอม   เครื่องลูบไล้  ที่นอน  ที่พัก   ประทีปและอุปกรณ์แห่ง
ประทีป     เมื่อตายไป     เขาย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของพวกเทวดา
ที่เป็นสีตวลาหก.   ดูก่อนภิกษุ   ข้อนี้แลเป็นเหตุ   เป็นปัจจัย   ให้บุคคล
บางคนในโลกนี้      ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของพวกเทวดาที่เป็น
สีตวลาหก.
                      จบ สีตวลาหกทานูปการสูตรที่  ๓-๑๒
 ๑๓-๕๒  อุณหวลาหกทานูปการาทิสูตร
                                 (รวม ๔๐  สูตร)
           [๕๔๖]   กรุงสาวัตถี.   ภิกษุนั้นนั่ง   ณ   ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว
ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า     ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ     อะไรหนอ
เป็นเหตุเป็นปัจจัย   ให้บุคคลบางคนในโลกนี้   เมื่อตายไป   ย่อมเข้าถึง
ความเป็นสหายของพวกเทวดาที่เป็นอุณหวลาหก... ?
           [๕๔๗]     ...     เข้าถึงความเป็นสหายของพวกเทวดาที่เป็น
อัพภวลาหก ...  ?

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 584

           [๕๔๘]   ...      เข้าถึงความเป็นสหายของพวกเทวดาที่เป็น
วาตวลาหก  ...  ?
           [๕๔๙]    ...      เข้าถึงความเป็นสหายของพวกเทวดาที่เป็น
วัสสวลาหก ...  ?
           พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า   ดูก่อนภิกษุ   บุคคลบางคนในโลกนี้
ประพฤติสุจริตด้วยกาย   ด้วยวาจา   ด้วยใจ   เขาได้สดับมาว่า   พวก
เทวดาที่เป็นวัสสวลาหก มีอายุยืน มีวรรณะงาม มีความสุขมาก เขาจึงมี
ความปรารถนาอย่างนี้ว่า โอหนอ เมื่อตายไป ขอเราพึงเข้าถึงความเป็น
สหาย   ของพวกเทวดาที่เป็นวัสสวลาหก   เขาจึงให้ข้าว   น้ำ   ผ้า   ยาน
มาลา   ของหอม   เครื่องลูบไล้  ที่นอน  ที่พัก   ประทีปและอุปกรณ์แห่ง
ประทีป     เมื่อตายไป     เขาเข้าถึงความเป็นสหายของพวกเทวดาที่เป็น
วัสสวลาหก.  ดูก่อนภิกษุ   ข้อนี้แลเป็นเหตุ  เป็นปัจจัย  ให้บุคคลบางคน
ในโลกนี้เมื่อตายไป      ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของพวกเทวดาที่เป็น
วัสสวลาหก.
                   อรรถกถาสูตรที่  ๑๓-๕๒
           บทว่า  เจโตปณิธิมนฺวาย  ความว่า     อาศัยการตั้งจิต.
           บทว่า   สีตํ โหติ   ความว่า     ความเย็นใดมีในวัสสานฤดู   และ
เหมันตฤดู     ความเย็นนั้นมีฤดูเป็นสมุฏฐานทั้งนั้น.     ส่วนความเย็น
ที่เย็นมากกว่าความเย็นทั้งหลาย      และความเย็นที่เกิดขึ้นในคิมหันตฤดู
อันใด  ความเย็นนั้น จัดเป็นความเย็นที่บังเกิดขึ้นด้วยอานุภาพของเทวดา.
                                     จบ  อรรถกถาสูตรที่  ๑๓-๕๒

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 585

                       ๕๓.  สีตวลาหกสูตร
           [๕๕๐]    กรุงสาวัตถี.   ภิกษุนั้นนั่ง   ณ   ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว
ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า     ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ     อะไรหนอ
เป็นเหตุเป็นปัจจัย ให้ความหนาวมีในบางคราว พระเจ้าข้า  ?
           พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า     ดูก่อนภิกษุ     พวกเทวดาชื่อว่า
สีตวลาหกมีอยู่   เมื่อใด   เทวดาพวกนั้นมีความคิดอย่างนี้ว่า   ไฉนหนอ
พวกเราพึงยินดีด้วยความยินดีของตน     เมื่อนั้น     ความหนาวย่อมมี
เพราะอาศัยความตั้งใจของเทวดาพวกนั้น    ดูก่อนภิกษุ    ข้อนั้นแลเป็น
เหตุ  เป็นปัจจัย ให้ความหนาวมีในบางคราว.
                                    จบ  สีตวลาหกสูตรที่  ๕๓
                           อรรถกถาสูตรที่  ๕๓
           บทว่า     อุณฺหํ    โหติ     ความว่า    ความร้อนในคิมหันตฤดูใด
ความร้อนนั้นเป็นความร้อนปกติ  (ธรรมดา)  นั่นเอง  มีฤดูเป็นสมุฏฐาน
ส่วนความร้อนจัดที่มีแม้ในหน้าร้อน     และความร้อนที่มีในหน้าหนาว
ชื่อว่า  เป็นความร้อนที่บังเกิดขึ้นด้วยอานุภาพของเทวดา.
                                       จบ อรรถกถาสูตรที่  ๕๓
                         ๕๔.  อุณหวลาหกสูตร
           [๕๕๑]   กรุงสาวัตถี.   ภิกษุนั้นนั่ง   ณ   ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ    อะไรหนอ
เป็นเหตุเป็นปัจจัย  ให้ความร้อนมีในบางคราว  พระเจ้าข้า  ?

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 586

           พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า     ดูก่อนภิกษุ     พวกเทวดาชื่อ
อุณหวลาหกมีอยู่  เมื่อใด  เทวดาพวกนั้นมีความคิดอย่างนี้ว่า  ไฉนหนอ
พวกเราพึงยินดีด้วยความยินดีของตน  เมื่อนั้น  ความร้อนย่อมมี  เพราะ
อาศัยความตั้งใจของเทวดาพวกนั้น     ดูก่อนภิกษุ      ข้อนี้แลเป็นเหตุ
เป็นปัจจัย  ให้ความร้อนมีในบางคราว.
                               จบ  อุณหวลาหกสูตรที่  ๕๔

                       อรรถกถาสูตรที่  ๕๔
           บทว่า    อพฺภํ    โหติ    ความว่า    มีมณฑปเมฆ    (กลุ่มเมฆ).
แม้ในสูตรนี้   เมฆที่ก่อตัวขึ้น   ในวัสสานฤดู   (ฤดูฝน)   และในสิสิรฤดู
(ฤดูหนาว) เป็นเมฆตามปกติ (ธรรมดา) นั่นเอง มีฤดูเป็นสมุฏฐาน.
           ส่วนเมฆหนา    ในฤดูมีเมฆนั่นแหละ    ที่บดบังพระจันทร์และ
พระอาทิตย์   ทำให้มืดมิดหมด   เป็นเวลาถึง   ๗   สัปดาห์   และเมฆใน
เดือด  ๕  เดือน  ๖  ชื่อว่าเมฆที่เกิดขึ้นด้วยอานุภาพของเทวดา.
                                 จบ  อรรถกถาสูตรที่ ๕๔
                   ๕๕.  อัพภวลาหกสูตร
           [๕๕๒]  กรุงสาวัตถี.   ภิกษุนั้นนั่ง   ณ   ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว
ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า     ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ     อะไรหนอ
เป็นเหตุเป็นปัจจัย  ให้เมฆหมอกมีในบางคราว  พระเจ้าข้า  ?
           พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า     ดูก่อนภิกษุ     พวกเทวดาชื่อว่า
อัพภวลาหกมีอยู่   เมื่อใด   เทวดาพวกนั้นมีความคิดอย่างนี้ว่า   ไฉนหนอ

๑. ปาฐะว่า  อพฺภํ  ฉบับพม่าเป็น  อภิอพฺภํ  แปลตามฉบับพม่า.   

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 587

พวกเราพึงยินดีด้วยความยินดีของตน  เมื่อนั้น  เมฆหมอกย่อมมี  เพราะ
อาศัยความตั้งใจของเทวดาพวกนั้น     ดูก่อนภิกษุ      ข้อนี้แลเป็นเหตุ
เป็นปัจจัยให้เมฆหมอกมีในบางคราว.
                                จบ อุณหวลาหกสูตรที่  ๕๕
                        อรรถกถาสูตรที่  ๕๕
           บทว่า    วาโต   โหติ    ความว่า    ลมตามปกติที่พัดมา
จากทิศเหนือ   และจากทิศใต้เป็นต้น   ที่มีในฤดูนั้น   นี้เป็นลมมีฤดูเป็น
สมุฏฐานนั่นเอง   ส่วนลมแรงที่พัดทำลายต้นไม้เป็นต้น  และลมที่เกิดขึ้น
ผิดฤดูกาล  อย่างอื่นนี้ชื่อว่า  ลมที่เกิดด้วยอานุภาพเทวดา.
                         จบ  อรรถกถาอัพภวลาหกสูตรที่  ๕๕
                        ๕๖.  วาตวลาหกสูตร
           [๕๕๓]  กรุงสาวัตถี.   ภิกษุนั้นนั่ง   ณ   ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว
ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า     ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ     อะไรหนอ
เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ลมมีในบางคราว  พระเจ้าข้า  ?
           พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า     ดูก่อนภิกษุ     พวกเทวดาชื่อว่า
วาตวลาหกมีอยู่   เมื่อใด   เทวดาพวกนั้นมีความคิดอย่างนี้ว่า   ไฉนหนอ
พวกเราพึงยินดีด้วยความยินดีของตน   เมื่อนั้น   ลมย่อมมี   เพราะอาศัย
ความตั้งใจของเทวดาพวกนั้น   ดูก่อนภิกษุ   ข้อนี้แลเป็นเหตุ   เป็นปัจจัย
ให้ลมมีในบางคราว.
                                   จบ  วาตวลาหกสูตรที่  ๕๖

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 588

        อรรถกถาวาตวลาหกสูตรที่  ๕๖
           บทว่า  เทโว  วสฺสติ  ความว่า    ฝนที่ตกตลอด  ๔  เดือน  ที่เป็น
ฤดูฝน   มีอุตุเป็นสมุฏฐานทั้งนั้น.   ส่วนฝนชุกที่ตกในฤดูฝน   และฝนใน
เดือน ๕  เดือน ๖ ชื่อว่า  เกิดขึ้นด้วยอานุภาพเทวดา.
           ในข้อนั้น มีเรื่องนี้เป็นตัวอย่าง :-
           เล่ากันว่า     วัสสพลาหกเทพบุตรตนหนึ่ง     ไปหาพระเถระ
ผู้ขีณาสพ  ซึ่งจำพรรษาอยู่ในกุฏิไม้กฤษณา  แล้วได้ยืนอยู่ข้างนอก.
           "พระเถระถามว่า ท่านเป็นใคร  ?"
           "กระผมคือ วัสสพลาหกเทพบุตร ขอรับ."                         
           "ทราบว่า ด้วยอำนาจจิตของท่าน ทำให้ฝนตกได้หรือ ?"
           "ถูกแล้ว   ขอรับ"
           "พวกอาตมา อยากเห็น"
           "ท่านจักเปียก  นะครับ"
           "เค้าเมฆใหญ่    หรือเสียงฟ้าร้อง    ไม่ปรากฏเลย    พวกเราจัก
เปียกได้อย่างไร  ?"
"ท่านขอรับ     อำนาจจิตของผมทำให้ฝนตกได้    ขอนิมนต์ท่าน
เข้าบรรณศาลาเถิด"

           "ดีแล้ว เทพบุตร" พระเถระรับคำแล้วล้างเท้า  เข้าสู่บรรณศาลา.
เมื่อพระเถระนั้นกำลังเข้าไป  เทพบุตรก็ขับเพลงขับบทหนึ่ง  แล้วยกมือ
ขึ้น.    ได้มีก้อนเมฆก้อนหนึ่ง    รอบ ๆ สถานที่ประมาณ    ๓    โยชน์
(ทำให้เกิดฝนตก)
พระเถระเปียกครึ่งตัว  เข้าไปสู่บรรณศาลา.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 589

อนึ่ง  ชื่อว่าฝนนี้ จะหยุดตกก็เพราะเหตุ  ๘ ประการ  คือ  เพราะ
อานุภาพของนาค  ๑    เพราะอานุภาพของครุฑ  ๑    เพราะอานุภาพของ
เทวดา ๑      เพราะมีอุตุเป็นสมุฏฐาน   ๑    เพราะมารบันดาล   ๑   เพราะ
พลังฤทธิ์  ๑   เพราะเมฆประลัยกัลป์  (เมฆที่ยังกัปให้พินาศ) ๑

                        จบ  อรรถกถาวาตวลาหกสูตรที่  ๕๖
                           ๕๗.  วัสสวลาหกสูตร๑
        [๕๕๔]   กรุงสาวัตถี.   ภิกษุนั้นนั่ง   ณ   ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว
ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า     ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ     อะไรหนอ
เป็นเหตุเป็นปัจจัย ให้ฝนมีในบางคราว พระเจ้าข้า  ?
          พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า    ดูก่อนภิกษุ     พวกเทวดาชื่อว่า
วัสสวลาหกมีอยู่  เมื่อใด   เทวดาพวกนั้นมีความคิดอย่างนี้ว่า  ไฉนหนอ
พวกเราพึงยินดีด้วยความยินดีของตน     เมื่อนั้น     ฝนย่อมมี     เพราะ
อาศัยความตั้งใจของเทวดาพวกนั้น     ดูก่อนภิกษุ     ข้อนั้นแลเป็นเหตุ
เป็นปัจจัย ให้ฝนมีในบางคราว.
                         จบ  วัสสวลาหกสูตรที่  ๕๗
                                   จบ  วลาหกาสังยุต





Free TextEditor




 

Create Date : 06 กรกฎาคม 2552    
Last Update : 6 กรกฎาคม 2552 21:07:27 น.
Counter : 1538 Pageviews.  

เปิดโลกของครุฑ (สุปัณณสังยุต)

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 567

                      ๙.  สุปัณณสังยุต
                          ๑.   สุทธกสูตร
           [๕๓๑]  กรุงสาวัตถี.  ครั้งนั้นแล  พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะ
ภิกษุทั้งหลายว่า   ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   กำเนิดของครุฑ   ๔   จำพวกนี้
๔ จำพวกเป็นไฉน  ? คือ ครุฑที่เป็นอัณฑชะ ๑  ครุฑที่เป็นชลาพุชะ ๑
ครุฑที่เป็นสังเสทชะ  ๑   ครุฑที่เป็นอุปปาติกะ  ๑
  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
กำเนิดของครุฑ  ๔ จำพวกนี้แล.
                                       จบ  สุทธกสูตรที่   ๑
                ๙.  อรรถกถาสุปัณณสังยุต
                    อรรถกถาสุทธกสูตรที่  ๑
           พึงทราบวินิจฉัยในสุปัณณสังยุต  ดังต่อไปนี้ :-
ครุฑทั้งหลายเรียกว่า   สุบรรณ   เพราะปีกมีสีสวย.   สูตรที่  ๑   
แม้ในสุปัณณสังยุตนี้   พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสไว้ในเพราะเป็นเหตุเกิด
ของเรื่องตามนัยแรกนั่นเอง.
                             จบ   อรรถกถาสุทธกสูตรที่   ๑
                                    ๒.  หรติสูตร
           [๕๓๒]   กรุงสาวัตถี.  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  กำเนิดของครุฑ  ๔
จำพวกนี้  ๔ จำพวกเป็นไฉน ?  คือ ครุฑที่เป็นอัณฑชะ ๑   ครุฑที่เป็น
ชลาพุชะ  ๑  ครุฑที่เป็นสังเสทชะ  ๑  ครุฑที่เป็นอุปปาติกะ ๑  ในครุฑ
ทั้ง ๔ จำพวกนั้น ครุฑที่เป็นอัณฑชะ  ย่อมนำนาคที่เป็นอัณฑชะไปได้

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 568

นำนาคที่เป็นชลาพุชะ    สังเสทชะ    อุปปาติกะไปไม่ได้    ครุฑที่เป็น
ชลาพุชะ     ย่อมนำนาคที่เป็นอัณฑชะและชลาพุชะไปได้    นำนาคที่
เป็นสังเสทชะ   อุปปาติกะไปไม่ได้  ครุฑที่เป็นสังเสทชะ   ย่อมนำนาค
ที่เป็นอัณฑชะ  ชลาพุชะและสังเสทชะไปได้ นำนาคที่เป็นอุปปาติกะไป
ไม่ได้    ครุฑที่เป็นอุปปาติกะ    ย่อมนำนาคที่เป็นอัณฑชะ    ชลาพุชะ
สังเสทชะ   และอุปปาติกะไปได้  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   กำเนิดของครุฑ
มี  ๔  จำพวกนี้แล.
                                        จบ  หรติสูตรที่  ๒
                     อรรถกถาหรติสูตรที่  ๒
           บทว่า  หรนฺติ       แปลว่า   เฉี่ยวเอาไป.         ก็แลครุฑเหล่านั้น
เมื่อจะเฉี่ยว    ก็จะสามารถเฉี่ยวแต่พวกนาคที่ไม่เท่าเทียมกับตน    หรือ
ที่เท่ากับตน (เท่านั้น)  (แต่) ไม่สามารถเฉี่ยวพวกนาคที่ประณีตกว่าตน
ขึ้นไปได้.
           ก็ชื่อว่านาคที่ครุฑเฉี่ยวเอาไปไม่ได้  มี  ๗  จำพวก  คือ  นาคที่
ชาติสูงกว่า พวกหนึ่ง  นาคกัมพลอัสสดร พวกหนึ่ง  นาคธตรฐ พวกหนึ่ง
นาคที่อยู่ในมหาสมุทรสัตตสีทันดร     พวกหนึ่ง     นาคที่อยู่บนแผ่นดิน
พวกหนึ่ง   นาคที่อยู่ที่ภูเขา พวกหนึ่ง  นาคที่อยู่ในวิมาน พวกหนึ่ง.
           บรรดานาคเหล่านั้น    นาคที่เป็นชลาพุชะกำเนิดเป็นต้นสูงกว่า
นาคที่เป็นอัณฑชะกำเนิดเป็นต้น     นาคที่เป็นชลาพุชะกำเนิดเป็นต้น
เหล่านั้นอันครุฑเหล่านั้นเฉี่ยวเอาไปไม่ได้.   ส่วนนาคพวกกัมพลอัสสดร
เป็นนาคเสนาบดี      ครุฑทุกตัวเห็นนาคเหล่านั้นในที่ใดที่หนึ่งแล้วก็

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 569

ไม่สามารถจะเฉี่ยวเอาไปได้.     นาคธตรฐ     เป็นนาคราชา     แม้นาค
ธตรฐเหล่านั้น ครุฑตัวไหนก็ไม่สามารถจะเฉี่ยวเอาไปได้.
           ส่วนนาคเหล่าใด   อยู่ในมหาสมุทร   สัตตสีทันดร   ครุฑตัวไหน
ก็ไม่สามารถจะเฉี่ยวเอานาคเหล่านั้นไปได้      เพราะเหตุที่ใคร ๆ
ไม่สามารถจะทำให้หวั่นไหวได้ในที่ไหน ๆ (ในมหาสมุทรสัตตสีทันดรนั้น).
           สำหรับพวกนาคที่อยู่ตามพื้นดินเป็นต้น   จะมีโอกาสที่หลบซ่อน
อยู่      ฉะนั้นครุฑจึงไม่สามารถจะเฉี่ยวเอานาคแม้เหล่านั้นไปได้.
ส่วนนาคเหล่าใดอยู่บนหลังละลอกคลื่นในมหาสมุทร     ครุฑลางตัว
ที่ทัดเทียมกันหรือประณีตกว่า จะไม่สามารถเฉี่ยวเอานาคเหล่านั้นไปได้.
บทที่เหลือ  มีนัย  (ความหมาย)  ดังกล่าวแล้วในนาคสังยุตนั่นแล.
                                 จบ  อรรถกถาหรติสูตรที่  ๒
                         จบ  อรรถกถาสุปัณณสังยุต
                      ๓.   ทวยการีสูตรที่  ๑
         [๕๓๓]  กรุงสาวัตถี. ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
ถึงที่ประทับ    ถวายบังคับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่ง   ณ   ที่ควรส่วน
ข้างหนึ่ง  ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บุคคลบางคนในโลกนี้  เมื่อตายไป   ย่อม
เข้าถึงความเป็นสหายของพวกครุฑที่เป็นอัณฑชะ พระเจ้าข้า ?
          พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า   ดูก่อนภิกษุ   บุคคลบางคนในโลกนี้
เป็นผู้กระทำกรรมทั้งสองด้วยกาย  ด้วยวาจา  ด้วยใจ  เขาได้สดับมาว่า
๑.  สูตรที่  ๓ เป็นต้นไป ไม่มีอรรถกถาแก้ไว้

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 570

พวกครุฑที่เป็นอัณฑชะ    มีอายุยืน    มีวรรณะงาม    มีความสุขมาก
เขาจึงมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า     โอหนอ     เมื่อตายไป     ขอเราพึง
เข้าถึงความเป็นสหายของพวกครุฑที่เป็นอัณฑชะ     ครั้นตายไป
เขาย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของพวกครุฑที่เป็นอัณฑชะ   ดูก่อนภิกษุ
ข้อนี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัย     ให้บุคคลบางคนในโลกนี้     เมื่อตายไป
ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของพวกครุฑที่เป็นอัณฑชะ.
                                      จบ  ทวยการีสูตรที่  ๑
               ๔-๖  ทวยการีสูตรที่  ๒-๔
           [๕๓๔]   กรุงสาวัตถี.   ภิกษุนั้นนั่ง   ณ   ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว
ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า     ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ     อะไรหนอ
เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บุคคลบางคนในโลกนี้     เมื่อตายไป     ย่อมเข้าถึง
ความเป็นสหายของพวกครุฑที่เป็นชลาพุชะ...     ของพวกครุฑที่เป็น
สังเสทชะ... ของพวกครุฑที่เป็นอุปปาติกะ พระเจ้าข้า  ?
           พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า   ดูก่อนภิกษุ   บุคคลบางคนในโลกนี้
เป็นผู้กระทำกรรมทั้งสองด้วยกาย  ด้วยวาจา  ด้วยใจ  เขาได้สดับมาว่า
พวกครุฑที่เป็นอุปปาติกะ    มีอายุยืน    มีวรรณะงาม    มีความสุขมาก
เขาจึงมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า  โอหนอ  เมื่อตายไป  ขอเราพึงเข้าถึง
ความเป็นสหายของพวกครุฑที่เป็นอุปปาติกะ    ครั้นตายไป    เขาย่อม
เข้าถึงความเป็นสหายของพวกครุฑที่เป็นอุปปาติกะ      ดูก่อนภิกษุ
ข้อนี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัย     ให้บุคคลบางคนในโลกนี้     เมื่อตายไป   
ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของพวกครุฑที่เป็นอุปปาติกะ.
                                   จบ  ทวยการีสูตรที่  ๒-๔

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 571

             ๗-๙.  ทานูปการสูตรที่  ๑
           [๕๓๕]   กรุงสาวัตถี.   ภิกษุนั้นนั่ง   ณ   ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว
ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า     ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ     อะไรหนอ
เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บุคคลบางคนในโลกนี้     เมื่อตายไป     ย่อมเข้าถึง
ความเป็นสหายของพวกครุฑที่เป็นอัณฑชะ พระเจ้าข้า  ?
           พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า   ดูก่อนภิกษุ   บุคคลบางคนในโลกนี้
เป็นผู้กระทำกรรมทั้งสองด้วยกาย  ด้วยวาจา  ด้วยใจ  เขาได้สดับมาว่า
พวกครุฑที่เป็นอัณฑชะ    มีอายุยืน    มีวรรณะงาม    มีความสุขมาก
เขาจึงมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า     โอหนอ     เมื่อตายไป     ขอเราพึง
เข้าถึงความเป็นสหายของพวกครุฑที่เป็นอัณฑชะ เขาจึงให้ข้าว  น้ำ  ผ้า
ยาน  มาลา  ของหอม  เครื่องลูบไล้  ที่นอน  ที่พัก  ประทีปและอุปกรณ์
แห่งประทีป                เมื่อตายไป     เขาย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของ
พวกครุฑที่เป็นอัณฑชะ  ดูก่อนภิกษุ ข้อนี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัย ให้บุคคล
บางคนในโลกนี้   เมื่อตายไป   ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของพวกครุฑ
ที่เป็นอัณฑชะ
                                    จบ  ทานูปการสูตรที่  ๑
                ๑๐.  ทานูปการสูตรที่  ๒-๔
           [๕๓๖]   กรุงสาวัตถี.   ภิกษุนั้นนั่ง   ณ   ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว
ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า     ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ     อะไรหนอ
เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บุคคลบางคนในโลกนี้     เมื่อตายไป     ย่อมเข้าถึง
ความเป็นสหายของพวกครุฑที่เป็นชลาพุชะ...     ของพวกครุฑที่เป็น
สังเสทชะ... ของพวกครุฑที่เป็นอุปปาติกะพระเจ้าข้า  ?

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 572

           พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า   ดูก่อนภิกษุ   บุคคลบางคนในโลกนี้
เป็นผู้กระทำกรรมทั้งสองด้วยกาย  ด้วยวาจา  ด้วยใจ  เขาได้สดับมาว่า
พวกครุฑที่เป็นอุปปาติกะ    มีอายุยืน    มีวรรณะงาม    มีความสุขมาก
เขาจึงมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า  โอหนอ  เมื่อตายไป  ขอเราพึงเข้าถึง
ความเป็นสหายของพวกครุฑที่เป็นอุปปาติกะ เขาจึงให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน
มาลา   ของหอม  เครื่องลูบไล้  ที่นอน  ที่พัก   ประทีปและอุปกรณ์แห่ง
ประทีป          เมื่อตายไป  เขาย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของพวกครุฑ
ที่เป็นอุปปาติกะ    ดูก่อนภิกษุ     ข้อนี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัย    ให้บุคคล
บางคนในโลกนี้   เมื่อตายไป   ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของพวกครุฑ
ที่เป็นอุปปาติกะ.             
                      (พระสูตร ๔๖ สูตร พึงประมวลมาอย่างนี้)
                                จบ  ทานูปการนูปกสูตรที่ ๒-๔                               
                                จบ  สุปัณณสังยุต




Free TextEditor




 

Create Date : 06 กรกฎาคม 2552    
Last Update : 6 กรกฎาคม 2552 21:04:59 น.
Counter : 866 Pageviews.  

เปิดโลกของนาค (นาคสังยุต)

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 556
                              ๘.  นาคสังยุต

                              ๑.  สุทธกสูตร
           [๕๑๙]    กรุงสาวัตถี.   ณ   ที่นั้นแล   พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  กำเนิดของนาค  ๔ จำพวกนี้ ๔  จำพวกเป็นไฉน ?
คือ นาคที่เป็นอัณฑชะ เกิดในไข่ ๑  นาคที่เป็นชลาพุชะ เกิดในครรภ์ ๑
นาคที่เป็นสังเสทชะ เกิดในเถ้าไคล ๑  นาคที่เป็นอุปปาติกะ เกิดผุดขึ้น ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  กำเนิดของนาค ๔ จำพวกนี้แล.
                                       จบ  สุทธกสูตรที่  ๑

                   ๘.  อรรถกถานาคสังยุต

                  ๑.  อรรถกถาสุทธกสูตร
           พึงทราบวินิจฉัยในนาคสังยุต  สูตรที่  ๑  ดังต่อไปนี้  :-
           บทว่า  อณฺฑชา  แปลว่า  เกิดในฟอง.                                 
           บทว่า  ชลาพุชา  แปลว่า  เกิดในมดลูก.
           บทว่า  สํเสทชา  แปลว่า  เกิดในที่ชื้นแฉะ.
           บทว่า  อุปปาติกา  แปลว่า  เกิด  (เร็ว)  เหมือนผุดขึ้น
           ก็แลสูตรนี้   พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้   เพราะเป็นเหตุเกิดของ
เรื่อง. เพราะว่าภิกษุทั้งหลายสนทนากันว่า กำเนิดนาคมีเท่าไรหนอแล?
ลำดับนั้น    พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงอธิบายกำเนิดนาคให้แจ่มแจ้ง
จึงตรัสสูตรนี้  เพื่อให้บุคคลทั้งหลายเบื่อหน่ายกำเนิดนาค
                                  จบ  อรรถกถาสุทธกสูตรที่  ๑

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 557

                          ๒.  ปณีตตรสูตร
           [๕๒๐]   กรุงสาวัตถี.   ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   กำเนิดของนาค   ๔
จำพวกนี้ ๔  จำพวกเป็นไฉน ?  คือ  นาคที่เป็นอัณฑชะ  ๑   นาคที่เป็น
ชลาพุชะ ๑  นาคที่เป็นสังเสทชะ ๑  นาคที่เป็นอุปปาติกะ ๑
  ในนาค ๔
จำพวกนั้น  นาคที่เป็นชลาพุชะ  สังเสทชะ  และอุปปาติกะ  ประณีตกว่า
นาคที่เป็นอัณฑชะ    นาคที่เป็นสังเสทชะและอุปปาติกะ    ประณีตกว่า
นาคที่เป็นอัณฑชะและชลาพุชะ  นาคที่เป็นอุปปาติกะ  ประณีตกว่านาค
ที่เป็นอัณฑชะ  ชลาพุชะและสังเสทชะ  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  กำเนิดของ
นาค  ๔ จำพวกนี้แล.
                                          จบ  ปณีตตสูตรที่  ๒
                         ๓.   อุโปสถสูตรที่   ๑
           [๕๒๑]    สมัยหนึ่ง   พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่   ณ   พระ-
วิหารเชตวัน     อารามของท่านอนาถบิณฑิกเครษฐี     กรุงสาวัตถี.
ครั้งนั้น     ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ
ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว     นั่ง     ณ    ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า     ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
อะไรหนอ      เป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้นาคที่เป็นอัณฑชะบางพวก
ในโลกนี้ รักษาอุโบสถและสละกายได้  ?
           พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า    ดูก่อนภิกษุ     นาคบางพวกที่
เป็นอัณฑชะในโลกนี้    มีความคิดอย่างนี้ว่า    เมื่อก่อน    พวกเราเป็น
ผู้กระทำกรรมทั้งสองด้วยกาย  ด้วยวาจา  ด้วยใจ  พวกเรานั้น  กระทำ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 558

กรรมทั้งสองด้วยกาย  ด้วยวาจา   ด้วยใจ  เมื่อตายไป จึงเข้าถึงความเป็น
สหายของพวกนาคที่เป็นอัณฑชะ   ถ้าวันนี้   พวกเราพึงประพฤติสุจริต
ด้วยกาย  ด้วยวาจา  ด้วยใจไซร้  เมื่อเป็นอย่างนี้  เมื่อตายไป  พวกเรา
จะพึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์     เชิญพวกเรามาประพฤติสุจริตด้วยกาย
ด้วยวาจา ด้วยใจเสียในบัดนี้เถิด   ดูก่อนภิกษุ  ข้อนี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัย
เครื่องให้นาคที่เป็นอัณฑชะบางพวกในโลกนี้     รักษาอุโบสถและ
สละกายได้.                             
                                    จบ อุโปสถสูตรที่  ๑
                    ๔.  อุโปสถสูตรที่  ๒
           [๕๒๒]     กรุงสาวัตถี.     ครั้งนั้น    ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้า
ว่า   ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ   อะไรหนอ   เป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้นาค
ที่เป็นชลาพุชะบางพวกในโลกนี้ รักษาอุโปสถและสละกายได้  ?
           พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า  ดูก่อนภิกษุ  นาคบางพวกที่เป็น
ชลาพุชะในโลกนี้  มีความคิดอย่างนี้ว่า  เมื่อก่อน  พวกเราเป็นผู้กระทำ
กรรมทั้งสองด้วยกาย   ด้วยวาจา   ด้วยใจ   พวกเรานั้น   กระทำกรรม
ทั้งสองด้วยกาย    ด้วยวาจา    ด้วยใจ    เมื่อตายไป    จึงเข้าถึงความเป็น
สหายของพวกนาคที่เป็นชลาพุชะ     ถ้าวันนี้     พวกเราพึงประพฤติ
สุจริตด้วยกาย    ด้วยวาจา    ด้วยใจไซร้    เมื่อเป็นอย่างนี้    เมื่อตายไป
พวกเราจะพึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์    เชิญพวกเรามาประพฤติสุจริต
ด้วยกาย   ด้วยวาจา    ด้วยใจ    เสียในบัดนี้เถิด   ดูก่อนภิกษุ    ข้อนี้แล

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 559

เป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้นาคที่เป็นชลาพุชะบางพวกในโลกนี้
รักษาอุโบสถและสละกายได้.
                                  จบ  อุโปสถสูตรที่  ๒
                   ๕.   อุโปสถสูตรที่  ๓
           [๕๒๓]    กรุงสาวัตถี.   ภิกษุนั้นนั่ง   ณ   ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว
ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า     ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ     อะไรหนอ
เป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้นาคที่เป็นสังเสทชะบางพวกในโลกนี้
รักษาอุโบสถและสละกายได้  ?
           พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า    ดูก่อนภิกษุ     นาคบางพวกที่
เป็นสังเสทชะในโลกนี้    มีความคิดอย่างนี้ว่า    เมื่อก่อน    พวกเราเป็น
ผู้กระทำกรรมทั้งสองด้วยกาย   ด้วยวาจา   ด้วยใจ   พวกเรานั้นกระทำ
กรรมทั้งสองด้วยกาย   ด้วยวาจา   ด้วยใจ   เมื่อตายไป   จึงเข้าถึงความ
เป็นสหายของพวกนาคที่เป็นสังเสทชะ   ถ้าวันนี้   พวกเราพึงประพฤติ
สุจริตด้วยกาย    ด้วยวาจา    ด้วยใจไซร้   เมื่อเป็นอย่างนี้   เมื่อตายไป
พวกเราจะพึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์    เชิญพวกเรามาประพฤติสุจริต
ด้วยกาย    ด้วยวาจา    ด้วยใจ    เสียในบัดนี้เถิด   ดูก่อนภิกษุ    ข้อนี้แล
เป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้นาคที่เป็นสังเสทชะบางพวกในโลกนี้
รักษาอุโบสถและสละกายได้. 
                                       จบ  อุโปสถสูตรที่  ๓

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 560

                   ๖.   อุโปสถสูตรที่  ๔
           [๕๒๔]    กรุงสาวัตถี.   ภิกษุนั้นนั่ง   ณ   ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว
ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า     ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ     อะไรหนอ
เป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้นาคที่เป็นอุปปาติกะบางพวกในโลกนี้
รักษาอุโบสถและสละกายได้ ?
           พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า  ดูก่อนภิกษุ  นาคบางพวกที่เป็น
อุปปาติกะในโลกนี้    มีความคิดอย่างนี้ว่า    เมื่อก่อน    พวกเราได้เป็น
ผู้กระทำกรรมทั้งสองด้วยกาย   ด้วยวาจา   ด้วยใจ   พวกเรานั้นกระทำ
กรรมทั้งสองด้วยกาย   ด้วยวาจา   ด้วยใจ   เมื่อตายไป   จึงเข้าถึงความ
เป็นสหายของพวกนาคที่เป็นอุปปาติกะ   ถ้าวันนี้  พวกเราพึงประพฤติ
สุจริตด้วยกาย  ด้วยวาจา  ด้วยใจ  เมื่อเป็นอย่างนี้  เมื่อตายไป  พวกเรา
จะพึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์      เชิญพวกเรามาประพฤติสุจริตด้วยกาย
ด้วยวาจา    ด้วยใจ    เสียในบัดนี้เถิด    ดูก่อนภิกษุ    ข้อนี้แล    เป็นเหตุ
เป็นปัจจัยให้นาคที่เป็นอุปปาติกะบางพวกในโลกนี้     รักษาอุโบสถ
และสละกายได้.
                                     จบ  อุโปสถสูตรที่  ๔
                             ๗.  สุตสูตรที่  ๑
           [๕๒๕]   กรุงสาวัตถี.   ภิกษุนั้นนั่ง   ณ   ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว
ได้ทุลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า     ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ     อะไรหนอ
เป็นเหตุ     เป็นปัจจัยให้บุคคลบางคนในโลกนี้    เมื่อตายไปเข้าถึงความ
เป็นสหายของพวกนาคที่เป็นอัณฑชะ พระเจ้าข้า  ?

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 561

          พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า   ดูก่อนภิกษุ   บุคคลบางคนในโลกนี้
เป็นผู้กระทำกรรมทั้งสองด้วยกาย  ด้วยวาจา  ด้วยใจ  เขาได้สดับมาว่า
พวกนาคที่เป็นอัณฑชะ     มีอายุยืน     มีวรรณะงาม     มีความสุขมาก
เขาจึงมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า  โอหนอ  เมื่อตายไป   ขอเราพึงเข้าถึง
ความเป็นสหายของพวกนาคที่เป็นอัณฑชะ  ครั้นตายไป  เขาย่อมเข้าถึง
ความเป็นสหายของพวกนาคที่เป็นอัณฑชะ  ดูก่อนภิกษุ  ข้อนี้แลเป็นเหตุ
เป็นปัจจัย    ให้บุคคลบางคนในโลกนี้    เมื่อตายไป     เข้าถึงความเป็น
สหายของพวกนาคที่เป็นอัณฑชะ.
                                     จบ  สุตสูตรที่  ๑
                  ๘.  สุตสูตรที่  ๒
         [๕๒๖]    กรุงสาวัตถี.   ภิกษุนั้นนั่ง   ณ   ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว
ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า     ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ     อะไรหนอ
เป็นเหดุ   เป็นปัจจัยให้บุคคลบางคนในโลกนี้   เมื่อตายไป   เข้าถึงความ
เป็นสหายของพวกนาคที่เป็นชลาพุชะ พระเจ้าข้า  ?
          พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า   ดูก่อนภิกษุ   บุคคลบางคนในโลกนี้
เป็นผู้กระทำกรรมทั้งสองด้วยกาย  ด้วยวาจา  ด้วยใจ  เขาได้สดับมาว่า
พวกนาคที่เป็นชลาพุชะ    มีอายุยืน      มีวรรณะงาม    มีความสุขมาก
เขาจึงมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า  โอหนอ  เมื่อตายไป  ขอเราพึงเข้าถึง
ความเป็นสหายของพวกนาคที่เป็นชลาพุชะ     ครั้นตายไป     เขาย่อม
เข้าถึงความเป็นสหายของพวกนาคที่เป็นชลาพุชะ      ดูก่อนภิกษุ
ข้อนี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัย     ให้บุคคลบางคนในโลกนี้     เมื่อตายไป
เข้าถึงความเป็นสหายของพวกนาคที่เป็นชลาพุชะ.
                                       จบ  สุตสูตรที่  ๒

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 562

                        ๙.  สุตสูตรที่  ๓
           [๕๒๗]   กรุงสาวัตถี.   ภิกษุนั้นนั่ง   ณ  ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว
ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า     ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ     อะไรหนอ
เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บุคคลบางคนในโลกนี้    เมื่อตายไป    เข้าถึงความ
เป็นสหายของพวกนาคที่เป็นสังเสทชะ พระเจ้าข้า  ?
           พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า   ดูก่อนภิกษุ   บุคคลบางคนในโลกนี้
เป็นผู้กระทำกรรมทั้งสองด้วยกาย  ด้วยวาจา  ด้วยใจ  เขาได้สดับมาว่า
พวกนาคที่เป็นสังเสทชะ    มีอายุยืน    มีวรรณะงาม    มีความสุขมาก
เขาจึงมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า     โอหนอ     เมื่อตายไป     ขอเราพึง
เข้าถึงความเป็นสหายของพวกนาคที่เป็นสังเสทชะ     ครั้นตายไป
เขาย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของพวกนาคที่เป็นสังเสทชะ  ดูก่อนภิกษุ
ข้อนี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัย     ให้บุคคลบางคนในโลกนี้     เมื่อตายไป
เข้าถึงความเป็นสหายของพวกนาคที่เป็นสังเสทชะ.
                                      จบ  สุตสูตรที่  ๓
                         ๑๐.  สุตสูตรที่  ๔
           [๕๒๘]   กรุงสาวัตถี.   ภิกษุนั้นนั่ง   ณ   ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว
ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า     ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ     อะไรหนอ
เป็นเหตุ  เป็นปัจจัย  ให้บุคคลบางคนในโลกนี้  เมื่อตายไป  เข้าถึงความ
เป็นสหายของพวกนาคที่เป็นอุปปาติกะ พระเจ้าข้า  ?
           พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า   ดูก่อนภิกษุ   บุคคลบางคนในโลกนี้
เป็นผู้กระทำกรรมทั้งสองด้วยกาย  ด้วยวาจา  ด้วยใจ  เขาได้สดับมาว่า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 563

พวกนาคที่เป็นอุปปาติกะ    มีอายุยืน    มีวรรณะงาม    มีความสุขมาก.
เขาจึงมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า  โอหนอ  เมื่อตายไป  ขอเราพึงเข้าถึง
ความเป็นสหายของพวกนาคที่เป็นอุปปาติกะ  ครั้นตายไป  เขาย่อมเข้า
ถึงความเป็นสหายของพวกนาคที่เป็นอุปปาติกะ   ดูก่อนภิกษุ    ข้อนี้แล
เป็นเหตุเป็นปัจจัย   ให้บุคคลบางคนในโลกนี้   เมื่อตายไป   เข้าถึงความ
เป็นสหายของพวกนาคที่เป็นอุปปาติกะ.
                                         จบ  สุตสูตรที่  ๔
              ๑๑-๒๐  ทานูปการสูตรที่  ๑
           [๕๒๙]    กรุงสาวัตถี.   ภิกษุนั้นนั่ง   ณ   ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว
ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า     ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ     อะไรหนอ
เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บุคคลบางคนในโลกนี้    เมื่อตายไป    เข้าถึงความ
เป็นสหายของพวกนาคที่เป็นอัณฑชะ พระเจ้าข้า  ?
           พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า   ดูก่อนภิกษุ   บุคคลบางคนในโลกนี้
เป็นผู้กระทำกรรมทั้งสองด้วยกาย  ด้วยวาจา  ด้วยใจ  เขาได้สดับมาว่า
พวกนาคที่เป็นอัณฑชะ  มีอายุยืน  มีวรรณะงาม  มีความสุขมาก  เขาจึง
มีความปรารถนาอย่างนี้ว่า     โอหนอ     เมื่อตายไป     ขอเราพึงเข้าถึง
ความเป็นสหายของพวกนาคที่เป็นอัณฑชะ  เขาจึงให้ข้าว  น้ำ  ผ้า  ยาน
มาลา  ของหอม  เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก  ประทีป  และ  อุปกรณ์แห่ง
ประทีป   ฯลฯ   เมื่อตายไป   เขาย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของพวกนาค
ที่เป็นอัณฑชะ  ดูก่อนภิกษุ  ข้อนี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัย  ให้บุคคลบางคน
ในโลกนี้ เมื่อตายไป เข้าถึงความเป็นสหายของพวกนาคที่เป็นอัณฑชะ.
                                       จบ  ทานูปการสูตรที่  ๑

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 564


      ๒๑-๔๐.  ทานูปการสูตรที่  ๒-๔
            [๕๓๐]   กรุงสาวัตถี.   ภิกษุนั้นนั่ง   ณ   ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว
ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า     ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ     อะไรหนอ
เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บุคคลบางคนในโลกนี้   เมื่อตายไป   เขาย่อมเข้าถึง
ความเป็นสหายของพวกนาคที่เป็นชลาพุชะ...     ของพวกนาคที่เป็น
สังเสทชะ... ของพวกนาคที่เป็นอุปปาติกะ  ?
           พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า   ดูก่อนภิกษุ   บุคคลบางคนในโลกนี้
เป็นผู้กระทำกรรมทั้งสองด้วยกาย  ด้วยวาจา  ด้วยใจ  เขาได้สดับมาว่า
พวกนาคที่เป็นอุปปาติกะ    มีอายุยืน    มีวรรณะงาม    มีความสุขมาก
เขาจึงมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า     โอหนอ     เมื่อตายไป     ขอเราพึง
เข้าถึงความเป็นสหายของพวกนาคที่เป็นอุปปาติกะ   เขาจึงให้ข้าว   น้ำ
ผ้า  ยาน  มาลา  ของหอม  เครื่องลูบไล้  ที่นอน  ที่พัก  ประทีป  และ
อุปกรณ์แห่งประทีป           เมื่อตายไป   เขาย่อมเข้าถึงความเป็นสหาย
ของพวกนาคที่เป็นอุปปาติกะ    ดูก่อนภิกษุ    ข้อนี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัย
ให้บุคคลบางคนในโลกนี้     เมื่อตายไป     เข้าถึงความเป็นสหายของ
พวกนาคที่เป็นอุปปาติกะ.
                           จบ  ทานูปการสูตรที่  ๒๑-๕๐
           (พร้อมไปยาลนี้   ขยายได้  ๑๐   สูตร    ทำเป็นไวยากรณะได้
๔๐    ไวยากรณะ    ในกำเนิดทั้ง    ๔  (แต่ละกำเนิดได้ถวายทานวัตถุ
๑๐  อย่าง   แต่ละอย่าง ๆ)    ๑๐   สูตรกับไวยากรณะ   ๔๐   จึงรวมเป็น
๕๐ สูตร)
                                            จบ  นาคสังยุต




Free TextEditor




 

Create Date : 06 กรกฎาคม 2552    
Last Update : 6 กรกฎาคม 2552 21:02:54 น.
Counter : 500 Pageviews.  

เปิดโลกคนธรรพ์ (คันธัพพกายสังยุต)

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 573

              ๑๐.  คันธัพพกายสังยุต
                              ๑.  สุทธสูตร
           [๕๓๗ ]   สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่  ณ พระวิหาร
เชตวัน  อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี  กรุงสาวัตถี  ณ  ที่นั้นแล
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เราจักแสดงพวกเทวดาซึ่งนับเนื่องในหมู่คนธรรพ์แก่เธอทั้งหลาย
เธอทั้งหลายจงฟัง  ฯลฯ  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  พวกเทวดาซึ่งนับเนื่องใน
หมู่คนธรรพ์เป็นไฉน    ?     พวกเทวดาซึ่งสิงอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่รากก็มี
สิงอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่แก่นก็มี    สิงอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่กะพี้ก็มี    สิงอยู่ที่
ต้นไม้มีกลิ่นที่เปลือกก็มี     สิงอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่สะเก็ดก็มี     สิงอยู่ที่
ต้นไม้มีกลิ่นที่ใบก็มี     สิงอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่ดอกก็มี     สิงอยู่ที่ต้นไม้
มีกลิ่นที่ผลก็มี สิงอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่รสก็มี สิงอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่กลิ่นก็มี
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย    พวกนี้เราเรียกว่า    พวกเทวดาซึ่งนับเนื่องในหมู่
คนธรรพ์.               

                     จบ สุทธกสูตรที่  ๑
       ๑๐.  อรรถกถาคันธัพพกายสังยุต
                      อรรถกถาสุทธกสูตรที่  ๑
           พึงทราบวินิจฉัยในคันธัพพกายสังยุต  ดังต่อไปนี้  :-           
           บทว่า   มุลคนฺเธ   อธิวตฺถา  ความว่า    ต้นไม้ใดมีกลิ่นอยู่ที่ราก
เทวดาอาศัยต้นไม้นั้นบังเกิด.     ก็ต้นไม้แม้ทั้งหมดนี้ย่อมสำเร็จ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 574

ประโยชน์แก่เทวดาเหล่านั้น.   แม้ในบทที่เหลือ   ก็มีนัย   (ความหมาย)
อย่างเดียวกัน  นี้แล.
           บทว่า   คนฺธคนฺเธ   ได้แก่    ที่กลิ่น   บรรดากลิ่นมีกลิ่นเกิดจาก
รากเป็นต้น
           ก็ส่วนแม้ทั้งหมด    มีรากเป็นต้น    ของต้นไม้ใดมีกลิ่นต้นไม้นั้น
ชื่อ   คันธะ   ในที่นี้  ที่กลิ่นของต้นไม้ที่มีกลิ่นนั้น.   เทวดาสิงอยู่ที่ต้นไม้
ที่มีกลิ่นนั้น.   ในที่นี้   ส่วนทั้งหมดมีรากเป็นต้น   ย่อมสำเร็จประโยชน์
แก่เทวดาเหล่านั้นแล.
                               จบ  อรรถกถาสุทธกสูตรที่  ๑

                                  ๒.  สุจริตสูตร
           [๕๓๘]   กรุงสาวัตถี.   ครั้งนั้น   ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มี-
พระภาคเจ้าถึงที่ประทับ  ฯลฯ  ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ    อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัย    ให้บุคคลบางคน
ในโลกนี้  เมื่อตายไป   เข้าถึงความเป็นสหายของพวกเทวดาซึ่งนับเนื่อง
ในหมู่คนธรรพ์ พระเจ้าข้า  ?
           ตรัสว่า    ดูก่อนภิกษุ    บุคคลบางคนในโลกนี้   ประพฤติสุจริต
ด้วยกาย   ด้วยวาจา   ด้วยใจ   เขาได้สดับมาว่า   พวกเทวดาซึ่งนับเนื่อง
ในหมู่คนธรรพ์  มีอายุยืน  มีวรรณะงาม  มีความสุขมาก  เขาจึงมีความ
ปรารถนาอย่างนี้ว่า    โอหนอ    เมื่อตายไป    ขอเราพึงเข้าถึงความเป็น
สหายของพวกเทวดาซึ่งนับเนื่องในหมู่คนธรรพ์   ครั้นตายไป   เขาย่อม
เข้าถึงความเป็นสหายของพวกเทวดาซึ่งนับเนื่องในหมู่คนธรรพ์
๑.  ไม่มีอรรถกถาแก้ไว้

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 575

 ดูก่อนภิกษุ     ข้อนี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัย     ให้บุคคลบางคนในโลกนี้
เมื่อตายไป      ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของพวกเทวดาซึ่งนับเนื่อง
ในหมู่คนธรรพ์.
                                      จบ  สุจริตสูตรที่  ๒
                   ๓.  มูลคันธทาตาสูตร
           [๕๓๙]  กรุงสาวัตถี.   ครั้งนั้น   ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มี-
พระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ฯลฯ  ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ    อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัย    ให้บุคคลบางคน
ในโลกนี้     เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของพวกเทวดาซึ่งสิง
อยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่ราก  พระเจ้าข้า  ?
           พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า   ดูก่อนภิกษุ   บุคคลบางคนในโลกนี้
ประพฤติสุจริตด้วยกาย  ด้วยวาจา  ด้วยใจ  เขาได้สดับมาว่า พวกเทวดา
ซึ่งสิงอยู่ที่ต้นไม้  มีกลิ่นที่ราก   มีอายุยืน  มีวรรณะงาม  มีความสุขมาก
เขาจึงมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า   โอหนอ  เมื่อตายไป  ขอเราพึงเข้าถึง
ความเป็นสหายของพวกเทวดาซึ่งสิงอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่ราก     เขาเป็น
ผู้ให้ทานต้นไม้มีกลิ่นที่ราก     เมื่อตายไปเขาย่อมเข้าถึงความเป็นสหาย
ของพวกเทวดาซึ่งสิงอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่ราก ดูก่อนภิกษุ ข้อนี้แลเป็นเหตุ
เป็นปัจจัย    ให้บุคคลบางคนในโลกนี้เมื่อตายไป    ย่อมเข้าถึงความเป็น
สหายของพวกเทวดาซึ่งสิงอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่ราก.
                               จบ  มูลคันธทาตาสูตรที่  ๓ 

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 576

         อรรถกถามูลคันธทาตาสูตรที่  ๓ 
           บทว่า   ดส  ทาตา   โหติ   มูลคนฺธานํ  ความว่า    เขาเป็นผู้ให้ทาน
กลิ่นรากไม้  มีกลิ่นกระลำพัก  เป็นต้น.           พึงทราบความหมายใน
ทุกบทอย่างนี้.
           ก็เทวดาทั้งหลาย  (เมื่อครั้งเป็นมนุษย์) ให้ทานที่มีผลเช่นเดียวกัน
กับสิ่งที่ให้แล้ว   ตั้งความปรารถนา   (ที่จะได้มารับผลทานนี้)  ไว้  ด้วย
ประการดังพรรณนามาฉะนี้.    เพื่อจะแสดงแม้ทานที่ให้ผลไม่เหมือนกับ
สิ่งที่ให้นั้น  พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสวัตถุทาน  ๑๐  อย่างไว้  มีอาทิว่า
โส   อนฺนํ   เทติ   (เขาให้ข้าว).   บทที่เหลือในทุกสูตร   ก็มีความหมาย
ง่ายทั้งนั้นแล.
                            จบ  อรรถกถามูลคันธทาตาสูตรที่  ๓
                        จบ  อรรถกถาคันธัพพกายสังยุต
               ๔-๑๒  สารคันธาทิทาตาสูตร
                (รวม  ๙  สูตร)
           [๕๔๐]  กรุงสาวัตถี.   ภิกษุนั้นนั่ง   ณ   ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว
ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า     ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ     อะไรหนอ
เป็นเหตุเป็นปัจจัย   ให้บุคคลบางคนในโลกนี้   เมื่อตายไป   ย่อมเข้าถึง
๑.   ตั้งแต่สูตรที่  ๔  เป็นต้นไป ไม่มีอรรถกถาแก้ไว้
๒.  เทวดาทั้งหมดมี ๙ จำพวก ๆ  ละ  ๑  สูตร  จึงเป็น  ๙  สูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 577

ความเป็นสหายของเทวดาซึ่งสิงอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่แก่น...     ของพวก
เทวดาซึ่งสิงอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่กะพี้...      ของพวกเทวดาซึ่งสิงอยู่ที่
ต้นไม้มีกลิ่นที่เปลือก...     ของพวกเทวดาซึ่งสิงอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่
สะเก็ด...  ของพวกเทวดาซึ่งสิงอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่ใบ...  ของพวกเทวดา
ซึ่งสิงอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่ดอก...    ของพวกเทวดาซึ่งสิงอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่น
ที่ผล...   ของพวกเทวดาซึ่งสิงอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่รส...   ของพวกเทวดา
ซึ่งสิงอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่กลิ่น  ?
           พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า   ดูก่อนภิกษุ   บุคคลบางคนในโลกนี้
ประพฤติสุจริตด้วยกาย  ด้วยวาจา  ด้วยใจ  เขาได้สดับมาว่า  พวกเทวดา
ซึ่งสิงอยู่ที่ต้นไม้  มีกลิ่นที่แก่น...  ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่กะพี้...  ที่ต้นไม้มีกลิ่น
ที่ดอก... ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่ผล... ที่ต้นไม่มีกลิ่นที่รส... ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่กลิ่น
มีอายุยืน  มีวรรณะงาม  มีความสุขมาก  เขาจึงมีความปรารถนาอย่างนี้
ว่า  โอหนอ  เมื่อตายไป  ขอเราพึงเข้าถึงความเป็นสหายของพวกเทวดา
ซึ่งสิงอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่แก่น...      ของพวกเทวดาซึ่งสิงอยู่ที่ต้นไม้
มีกลิ่นที่กะพี้...     ของพวกเทวดาซึ่งสิงอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่เปลือก...
ของพวกเทวดาซึ่งสิงอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่สะเก็ด...     ของพวกเทวดาซึ่ง
สิงอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่ใบ... ของพวกเทวดาซึ่งสิงอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่ดอก...
ของพวกเทวดาซึ่งสิงอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่ผล...     ของพวกเทวดาซึ่งสิง
อยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่รส...      ของพวกเทวดาซึ่งสิงอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่กลิ่น
เขาจึงให้สิ่งของอันมีกลิ่นที่แก่น...    มีกลิ่นที่กะพี้...    มีกลิ่นที่เปลือก...
มีกลิ่นที่สะเก็ด... มีกลิ่นที่ใบ... มีกลิ่นที่ดอก... มีกลิ่นที่ผล... มีกลิ่นที่รส...
มีกลิ่นที่กลิ่น  เมื่อตายไป  เขาย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของพวกเทวดา
ซึ่งสิงอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่แก่น...   ดูก่อนภิกษุ   ข้อนี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัย

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 578

ให้บุคคลบางคนในโลกนี้   เมื่อตายไป    ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของ
พวกเทวดาซึ่งสิงอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่แก่น...
                          จบ  สารคันธาทิทาตาสูตรที่  ๔-๑๒
       ๑๓-๒๒  มูลคันธทานูปการสูตร
                                 (รวม ๑๐ สูตร)
           [๕๔๑]  กรุงสาวัตถี.   ภิกษุนั้นนั่ง   ณ   ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว
ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ  อะไรหนอเป็นเหตุ
เป็นปัจจัย   ให้บุคคลบางคนในโลกนี้   เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงความเป็น
สหายของพวกเทวดาซึ่งสิงอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่ราก.  พระเจ้าข้า ?
           พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า   ดูก่อนภิกษุ   บุคคลบางคนในโลกนี้
ประพฤติสุจริตด้วยกาย  ด้วยวาจา  ด้วยใจ เขาได้สดับมาว่า พวกเทวดา
ซึ่งสิงอยู่ที่ต้นไม้  มีกลิ่นที่ราก  มีอายุยืน  มีวรรณะงาม  มีความสุขมาก
เขาจึงมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า  โอหนอ  เมื่อตายไป  ขอเราพึงเข้าถึง
ความเป็นสหายของเทวดาซึ่งสิงอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่ราก      เขาจึงให้ข้าว
น้ำ  ผ้า  ยาน  มาลา  ของหอม  เครื่องลูบไล้  ที่นอน  ที่พัก  ประทีปและ
อุปกรณ์แห่งประทีป    เมื่อตายไป    เขาย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของ
พวกเทวดาซึ่งสิงอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่ราก    ดูก่อนภิกษุ    ข้อนี้แลเป็นเหตุ
เป็นปัจจัย    ให้บุคคลบางคนในโลกนี้    เมื่อตายไป     เข้าถึงความเป็น
สหายของพวกเทวดาซึ่งสิงอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่ราก.
                             จบ  มูลคันธทานูปการสูตรที่  ๑๓-๒๒
๑. เทวดา ๑ จำพวก ให้วัตถุทาน ๑ อย่างเป็น ๑ สูตร วัตถุทาน  ๑๐ อย่าง จึงเป็น ๑๐  สูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 579

 ๒๓-๑๓๒.  สารคันธาทิทานูปการสูตร   
                               (รวม ๙๐ สูตร)
           [๕๔๒ ]  กรุงสาวัตถี.   ภิกษุนั้นนั่ง   ณ  ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว
ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า     ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ     อะไรหนอ
เป็นเหตุเป็นปัจจัย   ให้บุคคลบางคนในโลกนี้   เมื่อตายไป   ย่อมเข้าถึง
ความเป็นสหายของพวกเทวดาซึ่งสิงอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่แก่น...      สิงอยู่
ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่กะพี้...    สิงอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่เปลือก...    สิงอยู่ที่ต้นไม้
มีกลิ่นที่สะเก็ด...  สิงอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่ใบ...  สิงอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่ดอก...   
สิงอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่ผล...    สิงอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่รส...    สิงอยู่ที่ต้นไม้
มีกลิ่นที่กลิ่น พระเจ้าข้า  ?
           พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า   ดูก่อนภิกษุ   บุคคลบางคนในโลกนี้
ประพฤติสุจริตด้วยกาย     ด้วยวาจา     ด้วยใจ     เขาได้สดับมาว่า...
พวกเทวดาซึ่งสิงอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่กลิ่น     มีอายุยืน     มีวรรณะงาม...
มีความสุขมาก  เขาจึงมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า  โอหนอ  เมื่อตายไป
ขอเราพึงเข้าถึงความเป็นสหายของพวกเทวดา   ซึ่งสิงอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่น
ที่กลิ่น เขาจึงให้ข้าว  น้ำ  ผ้า  ยาน มาลา  ของหอม  เครื่องลูบไล้  ที่นอน
ที่พัก  ประทีปและอุปกรณ์แห่งประทีป  เมื่อตายไป  เขาย่อมเข้าถึงความ
เป็นสหายของพวกเทวดาซึ่งสิงอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่กลิ่น      ดูก่อนภิกษุ

๑.  เทวดา  ๑  จำพวก  ให้วัตถุทาน  ๑๐  อย่าง  นับเป็น  ๑  สูตร  เทวดา  ๙  จำพวก  แต่ละพวกให้
วัตถุทาน  ๑๐  อย่าง  จึงรวมเป็น ๙๐  สูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 580

ข้อนี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัย   ให้บุคคลบางคนในโลกนี้   เมื่อตายไป   ย่อม
เข้าถึงความเป็นสหายของพวกเทวดาซึ่งสิงอยู่ที่ต้นไม้มีกลิ่นที่กลิ่น.
                   จบ  สารคันธาทิทานูปการสูตรที่  ๒๓-๑๓๒
                            จบ  คันธัพพกายสังยุต




Free TextEditor




 

Create Date : 06 กรกฎาคม 2552    
Last Update : 6 กรกฎาคม 2552 21:00:22 น.
Counter : 323 Pageviews.  

ราหูคือใคร (สีลขันธวรรค)

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 27

         ยังมีเรื่องแม้อื่นอีก     ได้ยินว่า      ท้าวอสุรินทรราหูสูงได้  ๔,๘๐๐
โยชน์.   ระหว่างแขนของเขาวัดได้  ๑,๒๐๐ โยชน์      ระหว่างนมวัดได้ ๖๐๐
โยชน์.  พื้นมือและพื้นเท้าหนาได้  ๓๐๐ โยชน์.    ข้อนิ้วยาวได้  ๕๐ โยชน์.
ระหว่างคิ้วกว้าง  ๕๐  โยชน์.    หน้ายาว ๒๐๐  โยชน์.     ลึกได้ ๓๐๐ โยชน์.
มีปริมณฑลได้  ๓๐๐ โยชน์.     คอยาวได้  ๓๐๐  โยชน์.     หน้าผากยาวได้
๓๐๐ โยชน์. ศีรษะยาวได้  ๙๐๐ โยชน์.
  เขาคิดว่า  เราสูงมาก  จักไม่สามารถ
ที่จะน้อมตัวลงแลดูพระศาสดาได้    ดังนี้   จึงไม่มาเฝ้า.      วันหนึ่งเขาได้
ฟังพระคุณของพระผู้มีพระภาคเจ้า  จึงมาด้วยคิดว่า  เราจักมองดูโดยอาการ
อย่างใดอย่างหนึ่ง.    พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบอัชฌาสัยของเขาแล้วทรง
ดำริว่า     เราจักแสดงด้วยอิริยาบถไหน    ในบรรดาอิริยาบถทั้งสี่      ทรง
ดำริว่า    ธรรมดาคนยืน    แม้จะต่ำก็ปรากฏเหมือนคนสูง     แต่เราจักนอน
แสดงตนแก่เขา   ดังนี้แล้ว   จึงตรัสว่า   อานนท์     เธอจงตั้งเตียงในบริเวณ
คันธกุฏี    แล้วทรงสำเร็จสีหไสยาสน์บนเตียงนั้น.  ท่านอสุรินทรราหูมาแล้ว
ชูคอขึ้นมองดูพระผู้มีพระภาคเจ้า      ประทับนอนอยู่ราวกะว่าพระจันทร์เต็ม
ดวงในท่ามกลางท้องฟ้า    และเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อสุรินทะ  นี้
อะไร  จึงกราบทูลว่า    ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า     ข้าพระองค์มิได้มาเฝ้า
ด้วยคิดว่า    เราจักไม่สามารถที่จะโน้มตัวลงแลดูได้  ดังนี้.    พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าตรัสว่า  อสุรินทะ  เรามิได้ก้มหน้าบำเพ็ญบารมีมา  เราให้ทานทำให้
เลิศทั้งนั้น  ดังนี้. วันนั้น  อสุรินทรราหู ได้ถึงสรณะ.  พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงน่าดูน่าชมมิใช่น้อย  ด้วยประการดังนี้.




Free TextEditor




 

Create Date : 06 กรกฎาคม 2552    
Last Update : 6 กรกฎาคม 2552 20:59:18 น.
Counter : 261 Pageviews.  


Mr.Maximum
Location :
สงขลา Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




ธรรมแล ย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม
ธรรมอันบุคคลประพฤติดีแล้วย่อมนำสุขมา
ให้ นี้เป็นอานิสงส์ในธรรมที่บุคคลประพฤติ
ดีแล้ว ผู้มีปกติประพฤติธรรมย่อมไม่ไปสู่
ทุคติ.
Friends' blogs
[Add Mr.Maximum's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.