Buddha Followers
Group Blog
 
All Blogs
 

ทานที่เป็นบาป

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 490

การให้ไม่จัดเป็นบุญ แต่โลกสมมติว่าเป็นบุญมี ๕ คือ
ให้น้ำเมา ๑
ให้มหรสพ ๑
ให้สตรี ๑
ให้โคผู้ ๑
ให้จิตรกรรม ๑
สิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว บรรเทาได้ยากมี ๕ คือ
ราคะบังเกิดแล้วบรรเทาได้ยาก ๑
โทสะบังเกิดแล้วบรรเทาได้ยาก ๑
โมหะบังเกิดแล้วบรรเทาได้ยาก ๑
ปฏิภาณบังเกิดแล้วบรรเทาได้ยาก ๑
จิตที่คิดจะไปบังเกิดแล้วบรรเทาได้ยาก ๑
การกวาดมีอานิสงส์ ๕ คือ
จิตของตนเลื่อมใส ๑
จิตของผู้อื่นเลื่อมใส ๑
เทวดาชื่นชม ๑
สั่งสมกรรมที่เป็นไปเพื่อให้เกิดความเลื่อมใส ๑
เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ๑
การกวาดมีอานิสงส์แม้อื่นอีก ๕ คือ จิตของตนเลื่อมใส ๑ จิตของ
ผู้อื่นเลื่อมใส ๑ เทวดาชื่นชม ๑ เป็นอันทำตามคำสั่งสอนของพระศาสดา ๑
ชุมชนมีในภายหลังถือเป็นทิฏฐานุคติ ๑




 

Create Date : 05 กรกฎาคม 2552    
Last Update : 5 กรกฎาคม 2552 17:59:58 น.
Counter : 349 Pageviews.  

ฆ่าสัตว์ทำบุญแล้วได้บาป (ชีวกสูตร)

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 103

ฆ่าสัตว์ทำบุญได้บาปด้วยเหตุ  ๕  ประการ
           [๖๐]   ดูก่อนชีวก   ผู้ใดฆ่าสัตว์เจาะจงตถาคต   หรือสาวกตถาคต    ผู้
นั้นย่อมประสบบาปมิใช่บุญเป็นอันมาก 
 ด้วยเหตุ  ๕  ประการ   คือ 
ผู้นั้นกล่าวอย่างนี้ว่า  ท่านทั้งหลายจงไปนำสัตว์ชื่อโน้นมา  ดังนี้ชื่อว่าย่อมประสบบาปมิใช่
บุญเป็นอันมาก  ด้วยเหตุประการที่  ๑   นี้. 
สัตว์นั้นเมื่อถูกเขาผูกคอนำมา ได้เสวยทุกข์โทมนัส  ชื่อว่า  ย่อมประสบบาปมิใช่บุญ
เป็นอันมาก   ด้วยเหตุประการที่  ๒ นี้.
ผู้นั้นพูดอย่างนี้ว่า  ท่านทั้งหลายจงไปฆ่าสัตว์นี้ ชื่อว่าย่อมประสบบาปมิใช่บุญเป็นอันมาก
ด้วยเหตุประการที่ ๓  นี้. 
สัตว์นั้นเมื่อกำลังเขาฆ่าย่อมเสวยทุกข์โทมนัส    ชื่อว่าย่อมประสบบาปมิใช่บุญเป็นอันมาก 
ด้วยเหตุประการที่  ๔ นี้. 
ผู้นั้นย่อมยังตถาคตและสาวกตถาคต    ให้ยินดีด้วยเนื้อเป็นอกัปปิยะ   ชื่อว่าย่อมประสบ
บาปมิใช่บุญเป็นอันมาก    ด้วยเหตุประการที่  ๕ นี้.
ดูก่อนชีวก   ผู้ใดฆ่าสัตว์เจาะจงตถาคตหรือสาวกตถาคต   ผู้นั้นย่อมประสบ
บาปมิใช่บุญเป็นอันมากด้วยเหตุ ๕ ประการนี้.
           [๖๑]   เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว     หมอชีวกโกมารภัจจ์
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า   ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ   น่าอัศจรรย์    ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ   ไม่เคยมี  ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ  ภิกษุทั้งหลายย่อมฉันอาหารอัน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 104

ไม่มีโทษหนอ   ข้าแตพระองค์ผู้เจริญ   ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก    ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ  ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก   เปรียบเหมือนบุคคลหงายของ
ที่คว่ำ  เปิดของที่ปิด  บอกทางแก่คนหลงทาง  หรือส่องประทีบในที่มืด  ด้วยคิด
ว่า  ผู้มีจักษุ  จักเห็นรูปฉันใด  พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศธรรมโดยอเนก-
ปริยายฉันนั้นเหมือนกัน   ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ   ข้าพระองค์นี้   ขอถึงพระผู้มี-
พระภาคเจ้า   พระธรรม   และภิกษุสงฆ์ว่า   เป็นสรณะ   ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า
จงทรงจำข้าพระองค์ว่า   เป็นอุบาสก  ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต  ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้น
ไป   ดังนี้แล.
                                           จบชีวกสูตรที่  ๕




Free TextEditor




 

Create Date : 05 กรกฎาคม 2552    
Last Update : 5 กรกฎาคม 2552 17:58:51 น.
Counter : 318 Pageviews.  

บุคคลควรเลือกที่จะให้ทาน (อังกุรเทพบุตร)

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 334

๑๒. เรื่องอังกุรเทพบุตร [๒๕๑]

ข้อความเบื้องต้น
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่บนแท่นบัณฑุกัมพลศิลา ทรงปรารภ
อังกุรเทพบุตร ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " ติณโทสานิ เขตฺตานิ "
เป็นต้น.
ทานที่เลือกให้พระพุทธเจ้าตรัสสรรเสริญ
ข้าพเจ้าทำเรื่องให้พิสดารแล้วแล ในพระคาถาว่า " เย ฌานปฺปสุตา
ธีรา" เป็นต้น. สมจริงดังคำที่ข้าพเจ้าปรารภอินทกเทพบุตรกล่าวไว้ใน
เรื่องนั้นดังนี้ว่า : " ได้ยินว่า อินทกเทพบุตรนั้นยังภิกษาทัพพีหนึ่ง ที่เขา
นำมาเพื่อตน ให้ถึงแล้วแก่พระอนุรุทธเถระผู้เข้าไปสู่ภายในหมู่บ้านเพื่อ
บิณฑบาต. บุญนั้นของอินทกเทพบุตรนั้น มีผลมากกว่าทานที่อังกุร-
เทพบุตร ทำระเบียบแห่งเตาประมาณ ๑๒ โยชน์ ถวายแล้วสิ้นหมื่นปี"
เพราะเหตุนั้น อินทกเทพบุตร จึงกล่าวอย่างนั้น. เมื่ออินทกเทพบุตร
กล่าวอย่างนั้นแล้ว พระศาสดาจึงตรัสว่า " อังกุระ ชื่อว่าการเลือกให้ทาน
ย่อมควร, ทาน (ของอินทกะ) นั้น เป็นของมีผลมาก ดังพืชที่หว่านดีแล้ว
ในนาดี อย่างนั้น, แต่ท่านไม่ได้ทำอย่างนั้น, เพราะฉะนั้น ทานของท่าน
จึงไม่มีผลมาก " เมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนี้ จึงตรัสว่า :-
" บุคคลควรเลือกให้ทาน ในเขตที่ตนให้แล้ว
จะมีผลมาก. เพราะการเลือกให้ พระสุคตทรง
สรรเสริญแล้ว: ทานที่ให้ในท่านผู้เป็นทิกขิไณย-
บุคคลในชีวโลกนี้ เป็นของมีผลมากเหมือนพืชที่
หว่านในนาดีฉะนั้น."

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 335

เมื่อจะทรงแสดงธรรมให้ยิ่งขึ้นไป จึงได้ทรงภาษิตพระคาถาเหล่า
นี้ว่า :-
๑๒. ติณโทสานิ เขตฺตานิ โทสโทสา อยํ ปชา
ตสฺมา หิ วีตโทเสสุ ทินฺนํ โหติ มหปฺผลํ.
ติณโทสานิ เขตฺตานิ โมหโทสา อยํ ปชา
ตสฺมา หิ วีตโมเหสุ ทินฺนํ โหติ มหปฺผลํ.
ติณโทสานิ เขตฺตานิ อิจฺฉาโทสา อยํ ปชา
ตสฺมา หิ วีคติจฺเฉสุ ทินฺนํ โหติ มหปฺผลํ.
" นาทั้งหลายมีหญ้าเป็นโทษ, หมู่สัตว์นี้ก็มีราคะ
เป็นโทษ; ฉะนั้นแล ทานที่ให้ในท่านผู้ปราศจาก
ราคะ จึงมีผลมาก. นาทั้งหลายมีหญ้าเป็นโทษ,
หมู่สัตว์นี้มีโทสะเป็นโทษ; ฉะนั้นแล ทานที่ให้ใน
ท่านผู้ปราศจากโทสะ จึงมีผลมาก. นาทั้งหลายมี
หญ้าเป็นโทษ, หมู่สัตว์นี้ก็มีโมหะเป็นโทษ; ฉะนั้น
แล ทานที่ให้ในท่านผู้ปราศจากโมหะ จึงมีผลมาก.
นาทั้งหลายมีหญ้าเป็นโทษ, หมู่สัตว์นี้ก็มีความอยาก
เป็นโทษ; ฉะนั้นแล ทานที่ให้ในท่านผู้ปราศจาก
ความอยาก จึงมีผลมาก."





Free TextEditor




 

Create Date : 05 กรกฎาคม 2552    
Last Update : 5 กรกฎาคม 2552 17:56:10 น.
Counter : 379 Pageviews.  


Mr.Maximum
Location :
สงขลา Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




ธรรมแล ย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม
ธรรมอันบุคคลประพฤติดีแล้วย่อมนำสุขมา
ให้ นี้เป็นอานิสงส์ในธรรมที่บุคคลประพฤติ
ดีแล้ว ผู้มีปกติประพฤติธรรมย่อมไม่ไปสู่
ทุคติ.
Friends' blogs
[Add Mr.Maximum's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.