Buddha Followers
Group Blog
 
All Blogs
 

คนบ้ามี 8 จำพวก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 37

         ได้ทราบว่าคนบ้าในโลกนี้มี ๘ จำพวก   เพราะฉะนั้นโบราณา-
จารย์  จึงได้กล่าวไว้ว่า   คนที่ได้สัญญาว่าเป็นบ้ามี  ๘  จำพวก   คือ :-
              ๑.   บ้ากาม (กามุมฺมตฺตโก)   มัวเมาในกาม   คือ :-
              -     ตกอยู่ใต้อำนาจจิต  (จิตฺตวสงฺคโต)   ของผู้อื่น
              -     ตกอยู่ใต้อำนาจความโลภ   (โลภวสงฺคโต)
              ๒.   บ้าโกรธผู้อื่น  (โกธุมฺมตฺตโก)  คือ  :-
              -     ตกอยู่ใต้อำนาจวิหึสา  (วิหึสาวสงฺคโต)  คนอื่น
              ๓    บ้าความเห็น (ทิฏฺฐุมฺมตฺตโก)  บ้าทฤษฎีหรือบ้าลัทธิ
              -     ตกอยู่ใต้อำนาจความเข้าใจผิด  (วิปลฺลาสวสงฺคโต)
              ๔    บ้าความหลง  (โมหุมฺมตฺตโก)   คือ :-
              -    ตกอยู่ในอำนาจความไม่รู้
              ๕    บ้ายักษ์  (ยกฺขุมฺมตฺตโก)    คือ :-
              -    ตกอยู่ในอำนาจยักษ์  (ยกฺขวสงฺคโต)
              ๖    บ้าดีเดือด  (ปิตฺตุมฺมตฺตโก) คือ :-
              -    ตกอยู่ในอำนาจของดี  (ปิตฺตวสงฺคโต)
              ๗   บ้าสุรา   (สุรุมฺมตฺตโก)  คือ :-
              -    ตกอยู่ใต้อำนาจการดื่ม  (ปานนวสงฺคโต)

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 38

              ๘.   บ้าเพราะความสูญเสีย   (พฺยสมุมฺมตฺตโก)   คือ :-
              -     ตกอยู่ใต้อำนาจของความเศร้าโศก   (โสกวสฺคโต)
         ในจำนวนบ้า  ๘  จำพวกเหล่านี้    พระมหาสัตว์   ในชาดกนี้เป็น
ผู้บ้ากามตกอยู่ใต้อำนาจความโลภ      จึงไม่รู้คุณของบรรพชา.     ถามว่า
ก็โลภะนี้    ทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์   ทำลายคุณความดี   ด้วยประการ
ดังที่กล่าวมาแล้วนี้    แต่เหุตุไฉนสัตว์ทั้งหลาย    จึงไม่อาจหลุดพ้นไปได้.
ตอบว่า   เพราะความโลภนั้นเจริญมาแล้ว    โดยรวมกันเป็นเวลาหลาย
แสนโกฏิกัปป์  ในสงสารที่ไม่มีใครตามพบเงื่อนต้นแล้ว  เมื่อเป็นเช่นนี้
แล้ว     บัณฑิตทั้งหลาย     จึงละด้วยอำนาจแห่งการพิจารณาหลายอย่าง

มีอาทิว่า   กามทั้งหลายมีความชื่นใจน้อย.




Free TextEditor




 

Create Date : 05 กรกฎาคม 2552    
Last Update : 5 กรกฎาคม 2552 21:00:51 น.
Counter : 372 Pageviews.  

บุญเป็นทุกข์พิเศษ (อภิธรรม)

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 473

แม้อปุญญาภิสังขาร พึงเป็นกายสังขารในเวลาเป็นไปด้วยอำนาจ
กายทุจริตนั่นแหละก็มี พึงเป็นวจีสังขารในเวลาเป็นไปด้วยอำนาจวีทุจริตก็มี
พึงเป็นจิตตสังขารในเวลาเป็นไปในมโนทวารยกเว้นทวาร ๒ ก็มี ดังนั้น
อปุญญาภิสังขารจึงเป็นกายสังขารบ้าง เป็นวจีสังขารบ้าง เป็นจิตตสังขารบ้าง.
ก็กายสังขาร พึงเป็นปุญญาภิสังขารก็มี เป็นอปุญญาภิสังขารก็มี ไม่เป็น
อาเนญชาภิสังขาร. วจีสังขารก็เหมือนกัน (คือเป็นปุญญาภิสังขารก็มี
อปุญญาภิสังขารก็มี ไม่เป็นอาเนญชาภิสังขาร) แต่จิตตสังขาร พึงเป็น
ปุญญาภิสังขารก็มี เป็นอปุญญาภิสังขารก็มี เป็นอาเนญชาภิสังขารก็มี เพราะ
ฉะนั้น ชื่อว่า สังขารทั้งหลายจึงมี เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย.

ว่าด้วยสังขารมีอวิชชาเป็นปัจจัยอย่างไร
ถามว่า ก็ข้อนี้ จะพึงทราบได้อย่างไรว่า สังขารทั้งหลายเหล่านั้น
ย่อมมีเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย. ตอบว่า รู้ได้เพราะความที่อวิชชามีสังขารจึงมี
จริงอยู่ บุคคลใดยังละอัญญาณ (ความไม่รู้) กล่าวคืออวิชชาในสัจจะ ๔ มี
ทุกข์เป็นต้นไม่ได้ บุคคลนั้นก็ยึดถือสังสารทุกข์ โดยความสำคัญว่าเป็นสุข
ด้วยความไม่รู้ธรรมมีขันธ์เป็นอดีตเป็นต้นก่อน แล้วย่อมปรารภสังขารแม้ทั้ง ๓
(มีปุญญาภิสังขารเป็นต้น ) อันเป็นเหตุแห่งสังสารทุกข์นั้น. ด้วยความไม่รู้ใน
ทุกขสมุทัย เมื่อเขาสำคัญก็ย่อมปรารภสังขารทั้งหลายที่เป็นบริวารของตัณหา
แม้เป็นเหตุแห่งทุกข์ โดยความเป็นเหตุแห่งสุข. อนึ่ง เพราะความที่ไม่รู้ใน
นิโรธและมรรค บุคคลจึงมีความสำคัญในทุกขนิโรธ (ความดับทุกข์) ใน
คติพิเศษแม้มิใช่ความดับทุกข์ และมีความสำคัญในพิธีกรรมทั้งหลายมีการ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 474

บูชายัญ และบำเพ็ญตบะเพื่อให้เป็นเทวดาเป็นต้นแม้มิใช่ทางแห่งความดับทุกข์
ว่าเป็นทางดับทุกข์ เมื่อปรารถนาทุกขนิโรธ (ความดับทุกข์) ก็ย่อมปรารภ
สังขารแม้ ๓ อย่าง โดยมุ่งหน้าพิธีกรรมมีการบูชายัญ และทำตบะเพื่อความ
เป็นเทวดาเป็นต้น.
อีกอย่างหนึ่ง เพราะบุคคลนั้น ยังไม่ได้ละอวิชชาในสัจจะ ๔ นั้น จึง
ไม่รู้อยู่ซึ่งทุกข์กล่าวคือผลแห่งบุญแม้ระคนด้วยโทษเป็นอเนกมีชาติ ชรา และ
มรณะเป็นต้น โดยความเป็นทุกข์พิเศษ
ย่อมปรารภปุญญาภิสังขารอันต่าง
ด้วยกายสังขารและวจีสังขาร เพื่อบรรลุทุกข์นั้น เหมือนผู้ต้องการนางฟ้า
(เทพอัปสร) ปรารถนาเกิดเป็นเทพบุตรฉะนั้น และเมื่อบุคคลนั้นแม้ไม่เห็น
ผลบุญนั้น แม้สมมติว่าเป็นสุขซึ่งถึงความเป็นทุกข์เพราะแปรปรวนอันยังความ
เร่าร้อนใหญ่ให้เกิดขึ้นในบั้นปลาย และความที่ผลบุญนั้นมีความสำราญน้อย
ย่อมปรารภปุญญาภิสังขารมีประการตามที่กล่าวแล้วนั่นแหละ ซึ่งมีผลบุญนั้น
เป็นปัจจัย เหมือนตั๊กแตนบ่ายหน้าตกลงสู่เปลวประทีป และเหมือนบุคคลผู้
ติดใจในหยดน้ำผึ้งถึงกับเลียคมศัสตราที่เปื้อนน้ำผึ้งฉะนั้น.
อนึ่ง เมื่อไม่เห็นโทษในธรรมที่มีวิบากมีการเสพกามเป็นต้น ย่อม
ปรารภอปุญญาภิสังขาร แม้เป็นไปด้วยทวาร ๓ เพราะสำคัญว่าเป็นสุข
และเพราะความเป็นผู้ถูกกิเลสครอบงำแล้ว ดุจทารกเล่นอยู่ซึ่งคูถอันปฏิกูล
ดุจผู้ต้องการตายเคี้ยวกินยาพิษฉะนั้น และเมื่อไม่หยั่งรู้ความทุกข์อันมีความ
แปรปรวนแห่งสังสาร แม้ในวิบากของความเป็นอรูป ก็ย่อมปรารภ อาเน-
ญชาภิสังขาร อันเป็นจิตตสังขารโดยวิปลาสมีความเที่ยงเป็นต้น ดุจคน
หลงทิศ เริ่มเดินทางมุ่งหน้าไปสู่นครปิศาจฉะนั้น. เพราะความที่อวิชชามีอยู่
.




Free TextEditor




 

Create Date : 05 กรกฎาคม 2552    
Last Update : 5 กรกฎาคม 2552 17:56:47 น.
Counter : 259 Pageviews.  

ค้าขายธรรมเป็นบาป (ปฏิสัลลานสูตร)

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 605

มลทิน. บทว่า ปวาเหตฺวา ได้แก่ กำจัด คือชำระให้สะอาด. บทว่า
กปฺปิตเกสมสฺสุ ได้แก่ ใช้ช่างกัลบกตัดผมโกนหนวดตามวิธีที่กล่าวแล้ว
ในอลังการศาสตร์. บทว่า กามคุเณหิ ได้แก่ ส่วนแห่งกาม หรือเครื่อง
ผูกคือกาม. บทว่า สมปฺปิตา ได้แก่ ติดข้องด้วยดี. บทว่า สมงฺคิภูตา
แปลว่า พรั่งพร้อม. บทว่า ปริจริสฺสนฺติ ได้แก่ ให้อินทรีย์เที่ยวไป
โดยรอบ หรือจักเล่น.
บทว่า เอตมตฺถ วิทิตฺวา ความว่า ทรงทราบความนี้ กล่าวคือ
การที่ราชบุรุษเหล่านั้น เป็นผู้ลวงโลกโดยเพศบรรพชิต เพราะเหตุแห่ง
ท้องของตน. บทว่า อิม อุทาน ได้แก่ ทรงเปล่งอุทานนี้ อันประกาศ
ถึงข้อห้ามความผิดและความเป็นผู้ลวงโลก.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น วายเมยฺย สพฺพตฺถ ความว่า
บรรพชิต ไม่พึงพยายาม คือไม่พึงทำความพยายามขวนขวาย ในการทำ
ความชั่วทั้งหมด มีความเป็นทูต และกระทำการสอดแนมเป็นต้น เหมือน
ราชบุรุษเหล่านี้ อธิบายว่า ไม่พึงทำความพยายามในกรรมอย่างใดอย่าง
หนึ่งทั้งหมด พึงพยายามเฉพาะในบุญ แม้มีประมาณน้อยเท่านั้น. บทว่า
นาญฺสฺส ปุริโส สิยา ได้แก่ ไม่พึงเป็นคนรับใช้คนอื่น โดยรูปบรรพ-
ชิต. เพราะเหตุไร ? เพราะจะต้องทำกรรมชั่วมีสอดแนมเป็นต้น แม้เห็น
ปานนี้. บทว่า นาญฺ นิสฺสาย ชีเวยฺย ได้แก่ เป็นผู้ไม่อาศัยบุคคลอื่น
มีอิสรชนเป็นต้น มีความคิดอย่างนี้ว่า สุขทุกข์ของเรา เนื่องด้วยผู้นั้น
ดังนี้แล้วเลี้ยงชีพ คือเป็นผู้มีตนเป็นที่พึ่ง เป็นที่อาศัย อย่ามีคนอื่นเป็นที่พึ่ง
ที่อาศัยเลย. อีกอย่างหนึ่ง ไม่พึงอาศัยอกุศลกรรมอื่นเลี้ยงชีพ เพราะ
ได้นามว่า ผู้อื่น เหตุนำมาซึ่งความพินาศ. บทว่า ธมฺเมน น วณีจเร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 606

ความว่า ไม่พึงกล่าวธรรมเพื่อต้องการทรัพย์. เพราะผู้แสดงแก่ชนเหล่า-
อื่น ด้วยเหตุแห่งทรัพย์เป็นต้น ย่อมชื่อว่านำธรรมไปทำการค้า. อย่า
เที่ยวเอาธรรมไปทำการค้าอย่างนั้น. อีกอย่างหนึ่ง บุคคลผู้ทำกรรมมี
การสอดแนมเป็นต้น เหมือนคนของพระเจ้าโกศล ทำการสอดแนมเพื่อ
ประโยชน์แก่ทรัพย์เป็นต้น ดำรงตามกิจมีการสมาทานเพศบรรพชาเป็นต้น
โดยไม่ให้คนอื่นสงสัย ชื่อว่านำธรรมมาทำการค้า. ฝ่ายบุคคลใด แม้
ประพฤติพรหมจรรย์บริสุทธิ์ในศาสนานี้ ก็ประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อ
ปรารถนาเทพนิกายเหล่าใดเหล่าหนึ่ง แม้บุคคลนั้นก็ชื่อว่า นำธรรมมาทำ
การค้า อธิบายว่า ไม่พึงประพฤติ คือไม่พึงกระทำการค้าด้วยธรรม
อย่างนี้.
จบอรรถกถาปฏิสัลลานสูตรที่ ๒




 

Create Date : 05 กรกฎาคม 2552    
Last Update : 5 กรกฎาคม 2552 17:57:00 น.
Counter : 325 Pageviews.  

มารแปลงเป็นพระพุทธเจ้า

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 174

บทว่า นิวิฏฺา ความว่า ตั้งมั่นแล้ว คือดำรงอยู่อย่างไม่หวั่นไหว.
ถามว่าก็ศรัทธาเห็นปานนี้ย่อมมีแก่ใคร. ตอบว่า ย่อมมีแก่พระโสดาบัน.
ก็พระโสดานั้นมีศรัทธาตั้งมั่น แม้เมื่อจะถูกเขาเอาดาบตัดศีรษะก็ยังไม่
กล่าวว่าพระพุทธเจ้าไม่ใช่พระพุทธเจ้าดังนี้บ้าง พระธรรมไม่ใช่พระ
ธรรมดังนี้บ้าง พระสงฆ์ไม่เป็นพระสงฆ์ดังนี้บ้าง. พระโสดาบันย่อมเป็น
ผู้มีศรัทธาดำรงมั่นแท้ เปรียบเสมือนสูรอัมพัฏฐอุบาสกฉะนั้น.
นัยว่า อุบาสกนั้นฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดาแล้ว เป็น
พระโสดาบันได้กลับไปเรือน. ที่นั้นมารเนรมิตพระพุทธรูปอันประดับ
ด้วยลักษณะอันประเสริฐ ๓๒ ประการ ยืนอยู่ที่ประตูเรือนของอุบาสกนั้น
แล้วส่งสาส์นไปว่า พระศาสดาเสด็จมาดังนี้. สูรอุบาสกคิดว่า เราฟังธรรม
ในสำนักของพระศาสดามาเดี๋ยวนี้เอง อะไรจักมีอีกหนอดังนี้แล้ว เข้าไป
หาไหว้ด้วยสำคัญว่าเป็นพระศาสดาแล้วจึงได้ยืนอยู่. มารกล่าวว่า อัมพัฏฐะ
คำใดที่เรากล่าวแก่ท่านว่า รูปไม่เที่ยง ฯลฯ วิญญาณไม่เที่ยงดังนี้ คำนั้น
เรากล่าวผิดไป เพราะเรายังไม่พิจารณาจึงกล่าวคำนั้นไป ฉะนั้นเธอจง

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 175

ถือเอาว่า รูปเที่ยง ฯลฯ วิญญาณเที่ยงดังนี้เถิด. สูรอุบาสกคิดว่า ข้อที่
พระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่พิจารณาไม่ทำการตรวจตราอย่างประจักษ์แล้ว พึง
ตรัสอะไรไปนั้นไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้ มารนี้มาเพื่อมุ่งทำลายเราอย่างแน่
นอน. ลำดับนั้น สูรอุบาสกจึงกล่าวกะมารนั้น ว่าท่านเป็นมารใช่ไหมดังนี้.
มารนั้นไม่อาจที่จะกล่าวมุสาวาทได้ จึงรับว่า ใช่เราเป็นมาร ดังนี้. อุบาสก
ถามว่าเพราะเหตุไร ท่านจึงมา. มารตอบว่า เรามาเพื่อทำศรัทธาของท่าน
ให้หวั่นไหว. อุบาสกกล่าวว่าดูก่อนมารผู้ใจบาปอำมหิต ท่านผู้เดียวนั้น
จงหยุดอยู่ก่อน พวกมารเช่นท่าน ร้อยก็ดี พันก็ดี แสนก็ดี ไม่สามารถ
จะทำศรัทธาของเราให้หวั่นไหวได้ชื่อว่าศรัทธาอันมาแล้วด้วยมรรค เป็น
ของมั่นคงไม่หวั่นไหวเหมือนภูเขาสิเนรุซึ่งตั้งอยู่บนแผ่นดินอันล้วนแล้วด้วย
สิลา ท่านจะทำอะไรในการมานี้ ดังนี้แล้วปรกมือขึ้น. มารนั้นเมื่อไม่
สามารถจะดำรงอยู่ได้จึงหายไปในที่นั้นนั่นเอง. คำว่า นิวิฏฺา นั้นพระ
ผู้มีพระภาคตรัสหมายเอาสัทธาอย่างนั้น.




 

Create Date : 05 กรกฎาคม 2552    
Last Update : 5 กรกฎาคม 2552 17:57:09 น.
Counter : 253 Pageviews.  


Mr.Maximum
Location :
สงขลา Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




ธรรมแล ย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม
ธรรมอันบุคคลประพฤติดีแล้วย่อมนำสุขมา
ให้ นี้เป็นอานิสงส์ในธรรมที่บุคคลประพฤติ
ดีแล้ว ผู้มีปกติประพฤติธรรมย่อมไม่ไปสู่
ทุคติ.
Friends' blogs
[Add Mr.Maximum's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.