Iceicy Blog Dhamma หน้าแรก หลักธรรม ปรัชญา ท่องเที่ยวธรรม เก็บตกธรรม บทสวดมนต์ บทเพลงธรรม เว็บบอร์ด iceicy ไอที ไดอารี่
Link to us:
Group Blog
 
All blogs
 

คาถาบูชาเจ้าแม่กวนอิม + ตำนานการกำเนิด “พระมหาโพธิสัตว์กวนอิม”








 







คาถาบูชาเจ้าแม่กวนอิม



(เป็นการออกเสียงตามภาษาจีนแต้จิ๋วที่ชาวไทยเชื้อสายจีนในไทยแปลไว้ทั้งสองบท แต่ในความเป็นจริงแล้ว ท่านสามารถอธิษฐานเป็นภาษาไทยหรือภาษาอะไรก็ได้ เพราะว่าการสื่อความหมายจะใช้แรงอธิษฐาน ที่เกิดจากความตั้งใจอันแน่วแน่ของผู้กราบไหว้ในขณะสวดบริกรรมนั่นเองที่สำคัญที่สุด)

บทสรรเสริญพระคุณ

นะโมกวงซิอิม ผ่อสัก
นำโมไต๋ชื้อ ไต๋ปุย กิวโคว่ กิวหลั่ง กวงไต๋เล่งก้ำ กวงสี่อิมผู่สัก (กราบ)
นำโมไต๋ชื้อ ไต๋ปุย กิวโคว่ กิวหลั่ง กวงไต๋เล่งก้ำ กวงสี่อิมผู่สัก (กราบ)
นำโมไต๋ชื้อ ไต๋ปุย กิวโคว่ กิวหลั่ง กวงไต๋เล่งก้ำ กวงสี่อิมผู่สัก (กราบ)
นำโมฮูก นำโมหวบ นำโมเจ็ง นำโมกิวโคว่ กิวหลั่ง กวงสี่อิมผู่สัก ทั่งจี้โต
โอม เกียล้อฮวดโต เกียล้อฮวดโต เกียล้อฮวดโต ล้อเกียฮวดโต ล้อเกียฮวดโต
ซาผ่อออ เทียงล้อซิ้ง ตี่ล้อซิ้ง นั้งลี่หลั่ง หลั่งลี่ซิ้ง เจ็กเฉียก ใจเอียง ห่วยอุ่ยติ๊ง
นำโมม่อออป่อเยี๊ยปอล้อบิ๊ก (กราบ)

บทมหากรุณาธารณีสูตร

โชยชิ่ว โชยงั่ง บ่อไหง๋ ไต่ปุยซิมทอลอ นีจิ่ว (๓ จบ)
ปึงซือออนีทอ ยูไล้ (๓ จบ)
นำมอ ฮอลาตัน นอตอลา เหย่ เย
นำมอ ออลีเย ผ่อลูกิดตีซอปอลาเย
ผู่ทีสัตตอพอเย หม่อฮอสัตตอพอเย
หม่อ ฮอเกียลูนี เกียเยงัน สัตพันลาฮัวอี
ซูตัน นอตันเซ
นำมอ สิดกิด ลีตออีหม่งออลีเย
ผ่อลูกิด ตีสิด ฮูลาเลงถ่อพอ
นำมอ นอลา กินซี
ซีลี หม่อฮอพันตอซาเม
สะพอ ออทอ เตาซีพง
ออซีเย็น สะพอ สะตอ นอมอ พอสะตอ
นอมอ พอเค มอฮัว เตอเตา
ตันจิต ทองัน ออพอ ลูซี
ลูเกียตี เกียลอตี อีซีลี
หม่อฮอ ผู่ทีสัตตอ สัตพอ สัตพอ
มอลา มอลา มอซี มอซี ลีทอยิน
กีลูกีลูกิดมง ตูลู ตูลู ฟาเซเยตี
หม่อ ฮอฮัว เซเยตี ทอลา ทอลา
ตีลีนี สิด ฮูลาเย เจลา เจลา มอมอ ฮัวมอลา หมกตีลี
อีซี อีซี สิดนอ สิดนอ ออลาซัน ฮูลาเซลี
ฮัวซอ ฮัวซัน ฮูลา เซเย
ฮูลู ฮูลู มอลา ฮูลู ฮูลู ซีลี ซอลา ซอลา
สิดลี สิดลี ซูลู ซูลู ผู่ถี่เย ผู่ถี่เย ผู่ถ่อเย ผู่ถ่อเย
มีตีลีเย นอลา กินซี ตีลีสิด นีนอ
ผ่อเย มอนอ ซอผ่อฮอ สิดถ่อเย ซอผ่อฮอ
หม่อฮอ สิดถ่อเย ซอผ่อฮอ สิดทอยีอี
สิดพันลาเย ซอผ่อฮอ นอลากินซี ซอผ่อฮอ
มอลานอลา ซอผ่อฮอ สิดลาเซง ออหมกเคเย
ซอผ่อฮอ ซอผ่อหม่อฮอ ออสิดถ่อเย ซอผ่อฮอ
เจกิดลา ออสิดถ่อเย ซอผ่อฮอ ปอทอมอกิดสิดถ่อเย
ซอผ่อฮอ นอลากินซี พันเคลาเย ซอผ่อฮอ
มอพอลี เซงกิดลาเย ซอผ่อฮอ
นำมอห่อลาตัน นอตอลาเยเย
นำมอออลีเย ผ่อลูกิตตี ชอพันลาเย ซอผ่อฮอ
งันสิดตินตู มันตอลา ปัดถ่อเย ซอผ่อฮอ

(เจ้าแม่กวนอิมมหาโพธิสัตว์ (อวโลกิเตศวร) ผู้ทรงแบ่งภาคได้หลายภาค เพื่อมาโปรดสรรพสัตว์ทั้งหลาย และทรงเอื้ออารีย์แก่มวลมนุษย์ที่ได้กราบไหว้บูชาให้ประสบผลสำเร็จอันพึงปรารถนาได้อย่างน่ามหัศจรรย์ ท่านสามารถช่วยปัดเป่าความทุกข์ภัยพยันตรายให้ท่านที่เดือดร้อน ท่านสามารถสวดคาถาบูชาเจ้าแม่กวนอิมให้ครบ ๑๐๘ จบทุกวันโดยตั้งจิตอธิษฐานให้แน่วแน่ ก็จะได้ผลสำเร็จอันพึงปรารถนาทุกประการ)
อ้างอิง:dhammathai.org








ตำนานการกำเนิด “พระมหาโพธิสัตว์กวนอิม”



“พระมหาโพธิสัตว์กวนอิม” หรือ “เจ้าแม่กวนอิม” ที่ชาวไทยและชาวจีนนับถือบูชากราบไหว้กันนั้น เชื่อกันว่าพระองค์ทรงเปี่ยมด้วยพระเมตตา เป็นผู้ที่ปัดเป่าทุกข์โศกให้ชาวโลกรอดพ้นจากความทุกข์เข็ญ

ท่านเกิด ณ แผ่นดินเฮงลิ้ม อาณาจักรจีน ในรัชสมัยของพระเจ้าเมี่ยวจึง กษัตริย์ผู้ปกครองบ้านเมืองโดยปราศจากทศพิธราชธรรม โหดร้ายทารุณต่อราษฎร ไม่เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา วันหนึ่ง พระองค์ทรงตรัสหารือกับฮองเฮาแปะเง้สี มเหสีเอก ในเรื่องที่อยากได้พระราชโอรสไว้สืบราชสกุล ฮองเฮาจึงทูลว่าน่าจะไปบวงสรวงขอพระโอรสต่อเจ้าเขาแห่งฮั้วซัวไซงัก เทพศักดิ์สิทธิ์ทางทิศตะวันตก เมี่ยวจึงฮ่องเต้จึงให้ทหารแต่งเครื่องสังเวยออกไปเซ่นไหว้ที่ศาลเจ้าไซงัก

เมื่อเจ้าเขาไซงักรับเครื่องเซ่นไหว้แล้ว ได้พิจารณาว่าเมี่ยวจึงฮ่องเต้เป็นกษัตริย์ผู้โหดร้ายชอบฆ่าฟันและทำสงครามยิ่งนัก ไม่ควรประทานโอรสให้สืบตระกูล แต่การมาทำบุญควรได้รับผลแห่งความดีบ้าง จึงประทานพระธิดา ๓ องค์ไปประสูติในพระครรภ์ฮองเฮา คือพระธิดาเมี่ยวเช็ง พระธิดาเมี่ยวอิมและพระธิดาเมี่ยวเสียง ชีวิตของพระธิดาเมี่ยวเสียงนั้นต่างจากพระบิดาโดยสิ้นเชิงโดยเป็นผู้มีจิตเมตตาแก่ทุกคน เชลยศึกที่ถูกทรมานก็ได้รับความช่วยเหลือ ยิ่งพระบิดาโหดร้ายทารุณมากเท่าไร พระธิดาเมี่ยวเสียงก็ยิ่งเมตตากรุณาให้ความช่วยเหลือมากขึ้นเท่านั้นเพราะทรงตั้งปณิธานว่าต้องการช่วยทุกชีวิตให้พ้นทุกข์และพบกับความสุข

เมื่อถึงวัยที่ควรมีคู่ครอง พระธิดาเมี่ยวเสียงกราบทูลพระบิดาว่าของออกบวชเป็นภิกษุณีจนกว่าจะสำเร็จมมรรคผลเป็นพระโพธิสัตว์ จึงได้ไปบวชที่วัดนกขาวโดยต้องทำงานหนักแต่เพียงพระองค์เดียวเท่านั้น แต่เมตตาบารมีจากจิตของพระธิดานั้นยิ่งใหญ่นัก เทพยดาทั้งหลายต่างแอบมาช่วยทำงานหนักทั้งหมด ทำให้พระธิดามีเวลาบำเพ็ญภาวนามากขึ้น พระบิดาได้ทรงกลั่นแกล้งพระธิดาด้วยประการต่าง ๆ แต่ต้องพ่ายแพ้ต่อเมตตาบารมีอันกว้างไกลจากจิตใจที่อ่อนโยนแต่เข้มแข็งของพระธิดา

เก้าปีต่อมา พระภิกษุณีเมี่ยวเสียงได้บรรลุมรรคผลสำเร็จเป็นพระโพธิสัตว์ มีธรรมฉายาว่า “กวงซีอิมผ่อสัก” หมายถึง ผู้เพียรฟังเสียงแห่งโลกตามความจริง เพื่อช่วยเหลือโปรดสัตว์ดังเสียงที่ร้องขอความช่วยเหลือนั้น ในช่วงเวลาที่พระโพธิสัตว์กวนอิมได้มีขึ้นบนโลกนี้ ฮ่องเต้ เมี่ยวจึงกำลังประชวรหนักและกำลังได้รับผลแห่งเคราะห์กรรม พระธิดาได้สละดวงตาและแขนเพื่อใช้เป็นยารักษาพระบิดา ทำให้ฮ่องเต้หายจากประชวรและเกิดความสำนึกผิดในสิ่งที่ได้ทำลงไป ฮ่องเต้และพระราชวงศ์จึงพร้อมใจกันสละสมบัติและออกบวชเพื่อบำเพ็ญธรรมในชีวิตบั้นปลาย ด้วยบารมีแห่งความกตัญญูกตเวทีของพระโพธิสัตว์ ทำให้ท่านมีตาเพิ่มขึ้นที่หน้าผากอีกดวงหนึ่งและมีพระกรเพิ่มขึ้นอีกสิบพระกร ประทับนั่งบนฐานดอกบัว ลอยขึ้นสู่อากาศ ประชาชนพากันกราบไหว้ กษัตริย์ทั้งหลายทรงเลื่อมใสในพระพุทธสาสนาตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา.

อ้างอิงประวัติ:www.ff-resort.com




Create Date : 11 เมษายน 2551    
Last Update : 11 เมษายน 2551 15:06:31 น.
Counter : 1725 Pageviews.  

คำขอขมาโทษบิดามารดาและบุคคลทั่วไป










 





คำขอขมาโทษบิดามารดาและบุคคลทั่วไป
(หน้งสือมนต์พิธีแปล "ฉบับมาตรฐาน" หน้า ๒๘๖)

กายกรรม ๓ วจีกรรม ๔ มโนกรรม ๓ กรรมทั้งหลายของ
ข้าพเจ้าที่ได้ประมาท ที่ได้พลั้งพลาด ต่อบิดามารดาก็ดี
ต่อญาติสนิทมิตรสหายก็ดี ทั้งต่อหน้าก็ดี และลับหลังก็ดี
ด้วยแกล้งก็ดี ด้วยจงใจก็ดี ขอท่านทั้งหลาย
จงอโหสิกรรมให้แก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด.


วิธีตอบแทนคุณบิดามารดาที่ถูกต้อง


ปัญหา การที่จะตอบสนองบุญคุณมารดาบิดาได้อย่างถูกต้องและเต็มที่นั้น บุตรธิดาควรจะทำอย่างไรบ้าง ?

พุทธดำรัสตอบ “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การที่จะตอบแทนคุณแก่บุคคลทั้ง ๒ คือ มารดา ๑ บิดา ๑ เรากล่าวว่ากระทำไม่ได้ง่ายเลย
“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุตรพึงแบกมารดาด้วยบ่าข้างหนึ่ง แบกบิดาด้วยบ่าข้างหนึ่ง เขามีอายุมีชีวิตอยู่ตลอดร้อยปี และพึงปฏิบัติบำรุงทั้ง ๒ ด้วยการอบกลิ่น การนวด การให้อาบน้ำ และการบีบนวดอวัยวะต่าง ๆ แก่ท่านทั้งสอง แม้ท่านทั้ง ๒ ก็พึงถ่ายอุจจาระบนบ่านั่นเอง ถึงกระนั้นเขาก็ยังไม่ชื่อว่าตอบแทนบุญคุณแก่มารดาบิดา
“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง บุตรพึงตั้งมารดาไว้ในราชสมบัติ มีอำนาจยิ่งใหญ่ในแผ่นดินใหญ่ อันมีรัตนะ ๗ ประการมากหลายนี้ แม้กระนั้นก็ยังไม่ชื่อว่าตอบแทนคุณมารดาบิดา ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะมารดาบิดามีอุปการะมาก เป็นผู้บำรุงเลี้ยง เป็นผู้สอนให้ลูกรู้จักโลก
“ส่วนบุตรคนใด ทำให้มารดาบิดาผู้ไม่มีศรัทธาให้สมาทานตั้งมั่นในสัทธาสัมปทา ให้มารดาบิดาผู้มีทุศีลสมาทานตั้งมั่นในสีลสัมปทา ให้บิดามารดาผู้มีความตระหนี่สมาทานตั้งมั่นในจาคสัมปทา ให้มารดาบิดาผู้ทรามปัญญา สมาทานตั้งมั่นในปัญญาสัมปทา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ด้วยเหตุมีประมาณเท่านั้น และบุตรย่อมชื่อว่าเป็นผู้อันกระทำตอบแทนบุญคุณแก่มารดาบิดาแล้ว”


ป. ทุก. อํ. (๒๗๘)
ตบ. ๒๐ : ๗๘-๗๙ ตท. ๒๐ : ๗๐-๗๑
ตอ. G.S. ๑ : ๕๖-๕๗

//www.84000.org/true/569.html



Create Date : 13 ธันวาคม 2549    
Last Update : 11 เมษายน 2551 1:09:03 น.
Counter : 8710 Pageviews.  

คำไหว้เทวดาประจำวัน










 






คำไหว้เทวดาประจำวัน
หนังสือสวดมนต์ประจำบ้าน
เรียบเรียง ประทวน สุทธิอำนวยเดช
*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*


๑.คนเกิดวันอาทิตย์

อิติปิโส ภะคะวา ข้าจะไหว้พระอาทิตย์สะเทวา
ขอเชิญพระอาทิตย์ เสด็จลงมา รักษาอายุพวกเรา ได้หกปี
มาเวียนรอบในราศรี ในเที่ยงวัน ในราตรี ต้องรับต้องกัน
สัพพะเคราะห์ตัวนอก สัพพะเคราะห์ตัวใน สารพัดทุกข์
สารพัดโศก สารพัดโรค สารพัดภัย สารพัดเสนียดจัญไร
ขออย่าให้มี มีแต่ชัยยะมงคล มาคุ้มโทษให้โทสา
วิญญาณะสัมปันโน



๒.คนเกิดวันจันทร์


อิติปิโส ภะคะวา ข้าจะไหว้พระจันทร์สะเทวา ขอเชิญพระจันทร์ เสด็จลงมา รักษาอายุพวกเรา ได้สิบห้าปี มาเวียนรอบในราศรี ในเที่ยงวัน ในราตรี ต้องรับต้องกันสัพพะเคราะห์ตัวนอก สัพพะเคราะห์ตัวใน สารพัดทุกข์ สารพัดโศก สารพัดโรค สารพัดภัย สารพัดเสนียดจัญไร ขออย่าให้มี มีแต่ชัยยะมงคล มาคุ้มโทษให้โทสาวิญญาณะ
สัมปันโน


๓.คนเกิดวันอังคาร

อิติปิโส ภะคะวา ข้าจะไหว้พระอังคารสะเทวา
ขอเชิญพระอังคาร เสด็จลงมา รักษาอายุพวกเรา ได้แปดปี
มาเวียนรอบในราศรี ในเที่ยงวัน ในราตรี ต้องรับต้องกัน
สัพพะเคราะห์ตัวนอก สัพพะเคราะห์ตัวใน สารพัดทุกข์
สารพัดโศก สารพัดโรค สารพัดภัย สารพัดเสนียดจัญไร
ขออย่าให้มี มีแต่ชัยยะมงคล มาคุ้มโทษให้โทสา
วิญญาณะสัมปันโน


๔.คนเกิดวันพุธ

อิติปิโส ภะคะวา ข้าจะไหว้พระพุธสะเทวา
ขอเชิญพระพุธ เสด็จลงมา รักษาอายุพวกเรา
ได้สิบเจ็ดปีมาเวียนรอบในราศรี ในเที่ยงวัน ในราตรี ต้องรับต้องกัน สัพพะเคราะห์ตัวนอก สัพพะเคราะห์ตัวใน สารพัดทุกข์ สารพัดโศก สารพัดโรค สารพัดภัย สารพัดเสนียดจัญไร ขออย่าให้มี มีแต่ชัยยะมงคล มาคุ้มโทษให้โทสาวิญญาณะสัมปันโน


๕.คนเกิดวันพฤหัสบดี

อิติปิโส ภะคะวา ข้าจะไหว้พระพฤหัสสะเทวา
ขอเชิญพระพฤหัส เสด็จลงมา รักษาอายุพวกเรา
ได้สิบเก้าปี มาเวียนรอบในราศรี ในเที่ยงวัน ในราตรี ต้องรับต้องกัน สัพพะเคราะห์ตัวนอก สัพพะเคราะห์ตัวใน สารพัดทุกข์ สารพัดโศก สารพัดโรค สารพัดภัย สารพัดเสนียดจัญไร ขออย่าให้มี มีแต่ชัยยะมงคล มาคุ้มโทษให้โทสาวิญญาณะสัมปันโน


๖.คนเกิดวันศุกร์

อิติปิโส ภะคะวา ข้าจะไหว้พระศุกร์สะเทวา
ขอเชิญพระศุกร์ เสด็จลงมา รักษาอายุพวกเรา ได้ยี่สิบเอ็ดปี มาเวียนรอบในราศรี ในเที่ยงวัน ในราตรี ต้องรับต้องกัน สัพพะเคราะห์ตัวนอก สัพพะเคราะห์ตัวใน สารพัดทุกข์ สารพัดโศก สารพัดโรค สารพัดภัย สารพัดเสนียดจัญไรขออย่าให้มี มีแต่ชัยยะมงคล มาคุ้มโทษให้โทสา
วิญญาณะสัมปันโน


๗.คนเกิดวันเสาร์
อิติปิโส ภะคะวา ข้าจะไหว้พระเสาร์สะเทวา
ขอเชิญพระเสาร์ เสด็จลงมา รักษาอายุพวกเรา ได้สิบปี
มาเวียนรอบในราศรี ในเที่ยงวัน ในราตรี ต้องรับต้องกัน
สัพพะเคราะห์ตัวนอก สัพพะเคราะห์ตัวใน สารพัดทุกข์
สารพัดโศก สารพัดโรค สารพัดภัย สารพัดเสนียดจัญไร
ขออย่าให้มี มีแต่ชัยยะมงคล มาคุ้มโทษให้โทสา
วิญญาณะสัมปันโน


๘.คนเกิดวันพุธกลางคืน(ราหู)
อิติปิโส ภะคะวา ข้าจะไหว้พระราหูสะเทวา
ขอเชิญพระราหู เสด็จลงมา รักษาอายุพวกเรา ได้สิบสองปี มาเวียนรอบในราศรี ในเที่ยงวัน ในราตรี ต้องรับต้องกัน สัพพะเคราะห์ตัวนอก สัพพะเคราะห์ตัวใน สารพัดทุกข์สารพัดโศก สารพัดโรค สารพัดภัย สารพัดเสนียดจัญไร ขออย่าให้มี มีแต่ชัยยะมงคล มาคุ้มโทษให้โทสา
วิญญาณะสัมปันโน


๙.พระเกตุ
อิติปิโส ภะคะวา ข้าจะไหว้พระเกตุสะเทวา
ขอเชิญพระเกตุ เสด็จลงมา รักษาอายุพวกเรา ได้เก้าปี
มาเวียนรอบในราศรี ในเที่ยงวัน ในราตรี ต้องรับต้องกัน
สัพพะเคราะห์ตัวนอก สัพพะเคราะห์ตัวใน สารพัดทุกข์
สารพัดโศก สารพัดโรค สารพัดภัย สารพัดเสนียดจัญไร
ขออย่าให้มี มีแต่ชัยยะมงคล มาคุ้มโทษให้โทสา
วิญญาณะสัมปันโน


**********

คำบูชาพระประจำวันอาทิตย์ มีกำลัง ๖
บทขัดโมระปริตตัง

ปูเรนตัมโพธิสัมภาเร นิพพัตตัง โมระโยนิยัง
เยนะ สังวิหิตารักขัง มะหาสัตตัง วะเนจะรา
จิรัสสัง วายะมันตาปิ เนวะ สักขิงสุ คัณหิตุง
พรัหมะมันตันติ อักขาตัง ปะริตตันตัมภะณามะ เหฯ

บทสวดโมระปะริตตัง

อุเทตะยัญจักขุมา เอกะราชา
หะริสสะวัณโณ ปะฐะวิปปะภาโส
ตัง ตัง นะมัสสามิ หะริสสะวัณณัง ปะฐะวิปปะภาสัง
ตะยัชชะ คุตตา วิหะเรมุ ทิวะสัง
เย พราหมะณา เวทะคุ สัพพะธัมเม
เต เม นะโม เต จะ มัง ปาละยันตุ
นะมัตถุ พุทธานัง นะมัตถุ โพธิยา
นะโม วิมุตตานัง นะโม วิมุตติยา
อิมัง โส ปะริตตัง กัตวา โมโร จะระติ เอสะนาฯ

**********
คำบูชาพระประจำวันจันทร์ มีกำลัง ๑๕
บทขัดอะภะยะปะริตตัง
ปุญญะลาภัง มะหาเตชัง
วัณณะกิตติมะหายะสัง
สัพพะสัตตะหิตัง ชาตัง
ตัง สุณันตุ อะเสสะโต
อัตตัปปะระหิตัง ชาตัง
ปะริตตันตัมภะณามะ เหฯ


อะภะยะปะริตตัง
ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะ
โย จามะนาโป สะกุณัสสะ สัทโท
ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง
พุทธานุภาเวนะ วินาสะเมนตุฯ
ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะ
โย จามะนาโป สะกุณัสสะ สัทโท
ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง
ธัมมานุภาเวนะ วินาสะเมนตุฯ
ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะ
โย จามะนาโป สะกุณัสสะ สัทโท
ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง
สังฆานุภาเวนะ วินาสะเมนตุฯ

*************
คำบูชาพระประจำวันอังคาร มีกำลัง ๘
บทขัดกะระณียะเมตตะสุตตัง

ยัสสานุภาวะโต ยักขา เนวะ ทัสเสนติ ภิงสะนัง
ยัมหิ เจวานุยุญชันโต รัตตินทิวะมะตันทิโต
สุขัง สุปะติ สุตโต จะ ปาปัง กิญจิ นะ ปัสสะติ
เอวะมาทิคุณูเปตัง ปะริตตันตัมภะณามะ เหฯ

กะระณียะเมตตะสุตตัง

กะระณียะมัตถะกุสะเลนะ ยันตัง สันตัง ปะทัง อะภิสะเมจจะ
สักโก อุชู จะ สุหุชู จะ สุวะโจ จัสสะ มุทุ อะนะติมานี
สันตุสสะโก จะ สุภะโร จะ อัปปะกิจโจ จะ สัลละหุกะวุตติ
สันตินทริโย จะ นิปะโก จะ อัปปะคัพโภ กุเลสุ อะนะนุคิทโธ
นะ จะ ขุททัง สะมาจะเร กิญจิ เยนะ วิญญู ปะเร อุปะวะเทยยุง
สุขิโน วา เขมิโน โหนตุ สัพเพ สัตตา ภะวันตุ สุขิตัตตา
เย เกจิ ปาณะภูตัตถิ ตะสา วา ถาวะรา วา อะนะวะเสสา
ทีฆา วา เย มะหันตา วา มัชฌิมา รัสสะกา อะณุกะถูลา
ทิฏฐา วา เย จะ อะทิฎฐา เย จะ ทูเร วะสันติ อะวิทูเร
ภูตา วา สัมภะเวสี วา สัพเพ สัตตา ภะวันตุ สุขิตัตตา
นะ ปะโร ปะรัง นิกุพเพถะ นาติมัญเญถะ กัตถะจิ นัง กิญจิ
พยาโรสะนา ปะฏีฆะสัญญา นาญญะมัญญัสสะ ทุกขะมิจเฉยยะ
มาตา ยะถา นิยัง ปุตตัง อายุสา เอกะปุตตะมะนุรักเข
เอวัมปิ สัพพะภูเตสุ มานะสัมภาวะเย อะปะริมาณัง

เมตตัญจะ สัพพะโลกัสมิง มานะสัมภาวะเย อะปะริมาณัง
อุทธัง อะโธ จะ ติริยัญจะ อะสัมพาธัง อะเวรัง อะสะปัตตัง
ติฏฐัญจะรัง นิสินโน วา สะยาโน วา ยาวะตัสสะ วิคะตะมิทโธ
เอตัง สะติง อะธิฏเฐยยะ พรัหมะเมตัง วิหารัง อิธะมาหุ
ทิฎฐิญจะ อะนุปะคัมมะ สีละวา ทัสสะเนนะ สัมปันโน
กาเมสุ วิเนยยะ เคธัง นะ หิ ชาตุ คัพภะเสยยัง ปุนะเรตีติฯ

***********
คำบูชาพระประจำวันพุธ มีกำลัง ๑๗
บทขัดขันธะปะริตตะคาถา
สัพพาสีวิสะชาตีนัง ทิพพะมันตาคะทัง วิยะ
ยันนาเสติ วิสัง โฆรัง เสสัญจาปิ ปะริสสะยัง
อาณักเขตตัมหิ สัพพัตถะ สัพพะทา สัพพะปาณินัง
สัพพะโสปิ นิวาเรติ ปะริตตันตัมภะณามะ เหฯ
ขันธะปะริตตะคาถา

วิรูปักเข เม เมตตัง เมตตัง เอราปะเถหิ เม
ฉัพ ยาปุตเตหิ เม เมตตัง เมตตัง กัณหาโคตะมะเกหิ จะ
อะปาทะเกหิ เม เมตตัง เมตตัง ทิปาทะเกหิ เม
จะตุปปะเทหิ เม เมตตัง เมตตัง พะหุปปะเทหิ เม
มา มัง อะปาทะโก หิงสิ มา มัง หิงสิ ทิปาทะโก
มา มัง จะตุปปะโท หิงสิ มา มัง หิงสิ พะหุปปะโท
สัพเพ สัตตา สัพเพ ปาณา สัพเพ ภูตา จะ เกวะลา
สัพเพ ภัทรานิ ปัสสันตุ มา กิญจิ ปาปะมาคะมา
อัปปะมาโณ พุทโธ อัปปะมาโณ ธัมโม อัปปะมาโณ สังโฆ
ปะมาณะวันตานิ สิริงสะปานิ อะหิ วิจฉิกา สะตะปะที อุณณานาภี
สะระพู มูสิกา กะตา เม รักขา กะตา เม ปะริตตา ปะฏิกกะมันตุ ภูตานิ
โสหัง นะโม ภะคะวะโต นะโม สัตตันนัง สัมมาสัมพุทธานังฯ

ประจำวันพุธกลางคืน มีกำลัง ๑๒
บทขัดอาฏานาฏิยะปริต
อปฺปสนฺเนหิ นาถสฺส สาสเน สาธุสมฺมเต
อมนุสฺเสหิ จณฺเฑหิ สทา กิพฺพิสการิภิ
ปริสานญฺจตสฺสนฺน มหึสาย จ คุตฺติยา
ยนฺเทเสสิ มหาวีโร ปริตฺตนฺตมฺภณาม เห.

บทสวดอาฏานาฏิยะปะริตตัง
วิปัสสิสสะ นะมัตถุ จักขุมันตัสสะ สิรีมะโต
สิขิสสะปิ นะมัตถุ สัพพะภูตานุกัมปิโน
เวสสะภุสสะ นะมัตถุ นะหาตะกัสสะ ตะปัสสิโน
นะมัตถุ กะกุสันธัสสะ มาระเสนัปปะมัททิโน
โกนาคะมะนัสสะ นะมัตถุ พราหมะณัสสะ วุสีมะโต
กัสสะปัสสะ นะมัตถุ วิปปะมุตตัสสะ สัพพะธิ
อังคีระสัสสะ นะมัตถุ สักยปุตตัสสะ สิรีมะโต
โย อิมัง ธัมมะมะเทเสสิ สัพพะทุกขาปะนูทะนัง
เย จาปิ นิพพุตา โลเก ยะถาภูตัง วิปัสสิสุง
เต ชะนา อะปิสุณา มะหันตา วีตะสาระทา
หิตัง เทวะมะนุสสานัง ยัง นะมัสสันติ โคตะมัง
วิชชาจะระณะสัมปันนัง มะหันตัง วีตะสาระทัง
นะโม เม สัพพะพุทธานัง อุปปันนานัง มะเหสินัง
ตัณหังกะโร มะหาวีโร เมธังกะโร มะหายะโส
สะระณังกะโร โลกะหิโต ทีปังกะโร ชุตินธะโร
โกณฑัญโญ ชะนะปาโมกโข มังคะโล ปุริสาสะโภ
สุมะโน สุมะโน ธีโร เรวะโต ระติวัฑฒะโน
โสภีโต คุณสัมปันโน อะโนมะทัสสี ชะนุตตะโม
ปะทุโม โลกะปัชโชโต นาระโท วะระสาระถิ
ปะทุมุตตะโร สัตตะสาโร สุเมโธ อัปปะฎิปุคคะโล
สุชาโต สัพพะโลกัคโค ปิยะทัสสี นะราสะโภ
อัตถะทัสสี การุณิโก ธัมมะทัสสี ตะโมนุโท
สิทธัตโถ อะสะโม โลเก ติสโส จะ วะทะตัง วะโร
ปุสโส จะ วะระโท พุทโธ วิปัสสี จะ อะนูปะโม
สีขี สัพพะหิโต สัตถา เวสสะภู สุขะทายะโก
กะกุสันโธ สัตถะวาโห โกนาคะมะโน ระณัญชะโห
กัสสะโป สิริสัมปันโน โคตะโม สักยปุงคะโว
เอเต จัญเญ จะ สัมพุทธา อะเนกะสะตะโกฎิโย
สัพเพ พุทธา อะสะมะสะมา สัพเพ พุทธา มะหิทธิกา
สัพเพ ทะสะพะลูเปตา เวสารัชเชหุปาคะตา
สัพเพ เต ปะฏิชานันติ อาสะภัณฐานะมุตตะมัง
สีหะนาทัง นะทันเตเต ปะริสาสุ วิสาระทา
พรหมจักกัง ปวัตเตติ โลเก อัปปฏิวัตติยัง
อุเปตา พุทธธัมเมหิ อัฏฐะระสะหิ นายะกา
ทวัตติงสะลักขะณูเปตา สีตยานุพยัญชะนาธรา
พยามัปปะภายะ สุปปะภา สัพเพ เต มุนิกุญชะรา
พุทธา สัพพัญญุโน เอเต สัพเพ ขีณาสะวา ชินา
มะหัปปะภา มะหาเตชา มะหาปัญญา มะหัพพะลา
มะหาการุณิกา ธีรา สัพเพสานัง สุขาวะหา
ทีปา นาถา ปะติฏฐา จะ ตาณา เลณา จะ ปาณินัง
คะตี พันธู มะหัสสาสา สะระณา จะ หิเตสิโน
สะเทวะกัสสะ โลกัสสะ สัพเพ เอเต ปะรายะนา
เตสาหัง สิระสา ปาเท วันทามิ ปุริสุตตะเม
วะจะสา มะนะสา เจวะ วันทาเมเต ตะถาคะเต
สะยะเน อาสะเน ฐาเน คะมะเน จาปิ สัพพะทา
สะทา สุเขนะ รักขันตุ พุทธา สันติกะรา ตุวัง
เตหิ ตะวัง รักขิโต สันโต มุตโต สัพพะภะเยนะ จะ
สัพพะโรคะวินิมุตโต สัพพะสันตาปะวัชชิโต
สัพพะเวระมะติกกันโต นิพพุโต จะ ตุวัง ภะวะฯ
เตสัง สัจเจนะ สีเลนะ ขันติเมตตาพะเลนะ จะ
เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรคเยนะ สุเขนะ จะ
ปุรัตถิมัสมิง ทิสาภาเค สันติ ภูตา มะหิทธิกา
เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรคะเยนะ สุเขนะ จะ
ทักขิณัสมิง ทิสาภาเค สันติ เทวา มะหิทธิกา
เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรคะเยนะ สุเขนะ จ
ปัจฉิมัสมิง ทิสาภาเค สันติ นาคา มะหิทธิกา
เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรคะเยนะ สุเขนะ จะ
อุตตะรัสมิง ทิสาภาเค สันติ ยักขา มะหิทธิกา
เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรคะเยนะ สุเขนะ จะ
ปุริมะทิสัง ธะตะรัฏโฐ ทักขิเณนะ วิรุฬหะโก
ปัจฉิเมนะ วิรูปักโข กุเวโร อุตตะรัง ทิสัง
จัตตาโร เต มะหาราชา โลกะปาลา ยะสัสสิโน
เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรคเยนะ สุเขนะ จะ
อากาสัฏฐา จะ ภุมมัฏฐา เทวา นาคา มะหิทธิกา
เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรคเยนะ สุเขนะ จะฯ

**************
คำบูชาพระประจำวันพฤหัสบดี มีกำลัง ๑๙
บทขัดธชัคคะปริตต์
ยัสสานุสสรเณนาปิ อนฺตลิกฺเขปิ ปาณิโน
ปติฏฐมธิคจฺฉนฺติ ภูมิยัง วิย สพฺพทา
สพฺพุปทฺทวชาลมฺหา ยกฺขโจราทิสมฺภวา
คณนา น จ มุตฺตานํ ปริตฺตนฺตมฺภณาม เหฯ


บทสวดธัคคะปริตต์

เอวะ เม สุตตัง เอกัง สะมะยัง ภะคะวา สาวัตถิยัง วิหะระติ เชตะวะเน อะนาถะปิณฑิกัสสะ อาราเม ตัตระ โข ภะคะวา ภิกขุ อามันเตสิ ภิกขะโวติ. ภะทันเตติ เต ภิกขู ภะคะวะโต ปัจจัสโสสุง ภะคะวา เอตะทะโวจะ
ภูตะปุพพัง ภิกขะเว เทวาสุรสังคาโม สมุปัพยุฬโห อะโหสิ. อถ โข ภิกขะเว สักโก เทวานะมินโท เทเว ตาวะติงเส อามันเตสิ สะเจ มาริสา เทวานัง สังคามัคตานัง อุปปัชเชยยะ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา มะเมวะ ตัสมิง สะมะเย ธะชัคคัง อุโลเกยยาถะ มะมัง หิ โวธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา โส ปะหิยยิสสะติ. โน เจ เม ธะชัคคัง อุลโลเกยยาถะ อะถะ ปะชาปะติสสะ เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมหังโส วา โส ปะหิยยิสสะติ โน เจ ปะชาปะติสสะ เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลเกยยาถะ อถ วะรุณัสสะ เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลเกยยาถะ วะรุณัสสะ หิ โว เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา โส ปะหิยยิสสะติ. โน เจ วะรุณัสสะ เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลเกยยาถะ อถ อีสานัสสะ เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลเกยยาถะ อีสานัสสะ หิ โว เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา โส ปะหิยยิสสะตีติ. ตัง โข ปะนะ ภิกขะเว สักกัสสะ วา เทวานะมินทัสสะ ธะชัคคัง อุลโลเกยยาถะ อถ ปชาปะติสสะ วา เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง วรุณัสสะ วา เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง อีสานัสสะ วาเทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา โส ปะหิยเยถาปิ โนปิ ปหิยเยถะ ตัง กิสสะ เหตุ? สักโก หิ ภิกขะเว เทวานะมินโท อะวีตะราโค อะวีตะโทโส อะวีตะโมโห ภีรุ ฉัมภี อุตตตะราสี ปะลายีติ อหัญจะ โข ภิกขะเว เอวัง วะทามิ สะเจ ตุมหากัง ภิกขะเว อะรัญญะคตานัง วา รุกขะมูละคะตานัง วา สุญญาคาระคะตานัง วา อุปปัชเชยยะ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหัง โส วา มะเมวะ ตัสมิง สะมะเย อะนุสสะเรยยาถะ อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวา ติ มะมัง หิ โว ภิกขะเว อะนุสสะระตัง ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา โส ปะหิยยิสสะติ
โน เจ มัง อะนุสสะเรยยาถะ อะถะ ธัมมัง อะนุสสะเรยยาถะ สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฎฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติ ธัมมัง หิ โว ภิกขะเว อะนุสสะระตัง ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา โส ปะหิยยิสสะติ โน เจ มัง อะนุสสะเรยยาถะ อะถะ สังฆัง อะนุสสะเรยยาถะ สุปะฎิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ สังฆัง หิ โว ภิกขะเว อะนุสสะระตัง ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมหังโส วา โส ปหิยยิสสะติ ตัง กิสสะ เหตุ? ตะถาคะโต หิ ภิกขะเว อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ อะวีตะราโค อะวีตะโทโส อะวีตะโมโห ภีรุ ฉัมภี อุตตตะราสี ปะลายีติ.

อิทมโวจะ ภะคะวา อิทัง วัตวานะ สุคะโต อะถาปะรัง เอตะทะโวจะ สัตถา อรัญเญ รุกขะมูเล วา สุญญาคาเรวะ ภิกขะโว อะนุสสะเรถะ สัมพุทธัง ภะยัง ตุมหากะ โน สิยา โน เจ พุทธัง สะเรยยาถะ โลกะเชฏฐัง นะราสะภัง อะถะ ธัมมัง สะเรยยาถะ นิยยานิกัง สุเทสิตัง โน เจ ธัมมัง สะเรยยาถะ นิยยานิกัง สุเทสิตัง อะถะ สังฆัง สะเรยยาถะ ปุญญักเขตตัง อะนุตตะรัง เอวัง พุทธัง สะรันตานัง ธัมมัง สังฆัญจะ ภิกขะโว ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง าา โลมะหังโส นะ เหสสะตีติ

***************
คำบูชาพระประจำวันศุกร์ มีกำลัง ๒๑
บทขัดธชัคคะปริตต์
ยัสสานุสสรเณนาปิ อนฺตลิกฺเขปิ ปาณิโน
ปติฏฐมธิคจฺฉนฺติ ภูมิยัง วิย สพฺพทา
สพฺพุปทฺทวชาลมฺหา ยกฺขโจราทิสมฺภวา
คณนา น จ มุตฺตานํ ปริตฺตนฺตมฺภณาม เหฯ


บทสวดธัคคะปริตต์

เอวะ เม สุตตัง เอกัง สะมะยัง ภะคะวา สาวัตถิยัง วิหะระติ เชตะวะเน อะนาถะปิณฑิกัสสะ อาราเม ตัตระ โข ภะคะวา ภิกขุ อามันเตสิ ภิกขะโวติ. ภะทันเตติ เต ภิกขู ภะคะวะโต ปัจจัสโสสุง ภะคะวา เอตะทะโวจะ

ภูตะปุพพัง ภิกขะเว เทวาสุรสังคาโม สมุปัพยุฬโห อะโหสิ. อถ โข ภิกขะเว สักโก เทวานะมินโท เทเว ตาวะติงเส อามันเตสิ สะเจ มาริสา เทวานัง สังคามัคตานัง อุปปัชเชยยะ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา มะเมวะ ตัสมิง สะมะเย ธะชัคคัง อุโลเกยยาถะ มะมัง หิ โวธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา โส ปะหิยยิสสะติ. โน เจ เม ธะชัคคัง อุลโลเกยยาถะ อะถะ ปะชาปะติสสะ เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมหังโส วา โส ปะหิยยิสสะติ โน เจ ปะชาปะติสสะ เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลเกยยาถะ อถ วะรุณัสสะ เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลเกยยาถะ วะรุณัสสะ หิ โว เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา โส ปะหิยยิสสะติ. โน เจ วะรุณัสสะ เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลเกยยาถะ อถ อีสานัสสะ เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลเกยยาถะ อีสานัสสะ หิ โว เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา โส ปะหิยยิสสะตีติ. ตัง โข ปะนะ ภิกขะเว สักกัสสะ วา เทวานะมินทัสสะ ธะชัคคัง อุลโลเกยยาถะ อถ ปชาปะติสสะ วา เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง วรุณัสสะ วา เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง อีสานัสสะ วาเทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา โส ปะหิยเยถาปิ โนปิ ปหิยเยถะ ตัง กิสสะ เหตุ? สักโก หิ ภิกขะเว เทวานะมินโท อะวีตะราโค อะวีตะโทโส อะวีตะโมโห ภีรุ ฉัมภี อุตตตะราสี ปะลายีติ อหัญจะ โข ภิกขะเว เอวัง วะทามิ สะเจ ตุมหากัง ภิกขะเว อะรัญญะคตานัง วา รุกขะมูละคะตานัง วา สุญญาคาระคะตานัง วา อุปปัชเชยยะ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหัง โส วา มะเมวะ ตัสมิง สะมะเย อะนุสสะเรยยาถะ อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวา ติ มะมัง หิ โว ภิกขะเว อะนุสสะระตัง ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา โส ปะหิยยิสสะติ

โน เจ มัง อะนุสสะเรยยาถะ อะถะ ธัมมัง อะนุสสะเรยยาถะ สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฎฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติ ธัมมัง หิ โว ภิกขะเว อะนุสสะระตัง ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา โส ปะหิยยิสสะติ โน เจ มัง อะนุสสะเรยยาถะ อะถะ สังฆัง อะนุสสะเรยยาถะ สุปะฎิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ สังฆัง หิ โว ภิกขะเว อะนุสสะระตัง ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมหังโส วา โส ปหิยยิสสะติ ตัง กิสสะ เหตุ? ตะถาคะโต หิ ภิกขะเว อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ อะวีตะราโค อะวีตะโทโส อะวีตะโมโห ภีรุ ฉัมภี อุตตตะราสี ปะลายีติ.

อิทมโวจะ ภะคะวา อิทัง วัตวานะ สุคะโต อะถาปะรัง เอตะทะโวจะ สัตถา อรัญเญ รุกขะมูเล วา สุญญาคาเรวะ ภิกขะโว อะนุสสะเรถะ สัมพุทธัง ภะยัง ตุมหากะ โน สิยา โน เจ พุทธัง สะเรยยาถะ โลกะเชฏฐัง นะราสะภัง อะถะ ธัมมัง สะเรยยาถะ นิยยานิกัง สุเทสิตัง โน เจ ธัมมัง สะเรยยาถะ นิยยานิกัง สุเทสิตัง อะถะ สังฆัง สะเรยยาถะ ปุญญักเขตตัง อะนุตตะรัง เอวัง พุทธัง สะรันตานัง ธัมมัง สังฆัญจะ ภิกขะโว ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง าา โลมะหังโส นะ เหสสะตีติ
*************
คำบูชาพระประจำวันเสาร์ มีกำลัง ๑๐
บทขัดอังคุลิมาละปะริตตัง
ปะริตตัง ยัมภะณันตัสสะ นิสินนัฏฐานะโธวะนัง
อุทะกัมปิ วินาเสติ สัพพะเมวะ ปะริสสะยัง
โสตถินา คัพภะวุฎฐานัง ยัญจะ สาเธติ ตังขะเณ
เถรัสสังคุลิมาลัสสะ โลกะนาเถนะ ภาสิตัง
กัปปัฎฐายิ มะหาเตชัง ปะริตตันตัมภะณามะ เหฯ

อังคุลิมาละปะริตตัง
ยะโตหัง ภะคินิ อะริยายะ ชาติยา ชาโต นาภิชานามิ สัญจิจจะ ปาณัง ชีวิตา โวโรเปตาฯ เตนะ สัจเจนะ โสตถิ เต โหตุ โสตถิ คัพภัสสะฯ
ยะโตหัง ภะคินิ อะริยายะ ชาติยา ชาโต นาภิชานามิ สัญจิจจะ ปาณัง ชีวิตา โวโรเปตาฯ เตนะ สัจเจนะ โสตถิ เต โหตุ โสตถิ คัพภัสสะฯ
ยะโตหัง ภะคินิ อะริยายะ ชาติยา ชาโต นาภิชานามิ สัญจิจจะ ปาณัง ชีวิตา โวโรเปตาฯ เตนะ สัจเจนะ โสตถิ เต โหตุ โสตถิ คัพภัสสะฯ
*****************
คำบูชาพระประจำพระเกตุ มีกำลัง ๙
บทขัด ชยปริตฺตํ
ชยํ เทวมนุสฺสานํ ชโย โหตุ ปราชิโต
มารเสนา อภิกกนฺตา สมนฺตา ทวาทสโยชนา
ขนฺติเมตตาอธิฎฺฐานา วิทธงฺเสตวาน จกฺขุมา
ภวาภเว สงฺสรนฺโต ทิพฺพจกฺขุ วิโสธยิ
ปริยาปนฺนาทิโสตฺถานํ หิตาย จ สุขาย จ
พุทธกิจฺจํ วิโสเธตวา ปริตตนฺตมฺภณาม เหฯ

ชะยะปะริตตัง
มะหาการุณิโก นาโถ หิตายะ สัพพะปาณินัง
ปูเรตวา ปาระมี สัพพา ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โหตุ เต ชะยะมังคะลังฯ
ชะยันโต โพธิยา มูเล สักยานัง นันทิวัฑฒะโน
เอวัง ตวัง วิชะโย โหหิ ชะยัสสุ ชะยะมังคะเล
อะปะราชิตะปัลลังเก สีเส ปะฐะวิโปกขะเร
อะภิเสเก สัพพะพุทธานัง อัคคัปปัตโต ปะโมทะติฯ
สุนักขัตตัง สุมังคะลัง สุปะภาตัง สุหุฎฐิตัง
สุกขะโณ สุมุหุตโต จะ สุยิฏฐัง พรัหมะจาริสุ
ปะทักขิณัง กายะกัมมัง วาจากัมมัง ปะทักขิณัง
ปะทักขิณัง มะโนกัมมัง ปะณิธี เต ปะทักขิณา
ปะทักขิณานิ กัตวานะ ละภันตัตเถ ปะทักขิเณฯ
โส อัตถะลัทโธ สุขิโต วิรุฬโห พุทธะสาสะเน
อะโรโค สุขิโต โหหิ สะหะ สัพเพหิ ญาติภิ
สา อัตถะลัทธา สุขิตา วิรุฬหา พุทธะสาสะเน
อะโรคา สุขิตา โหหิ สะหะ สัพเพหิ ญาติภิ
เต อัตถะลัทธา สุขิตา วิรุฬหา พุทธะสาสะเน
อะโรคา สุขิตา โหถะ สะหะ สัพเพหิ ญาติภิฯ

อ้างอิง : dhammathai.org ธรรมะไทย


Create Date : 05 ธันวาคม 2549    
Last Update : 11 เมษายน 2551 1:15:28 น.
Counter : 6300 Pageviews.  

นมัสการพระอรหันต์ ๘ ทิศ











 





นมัสการพระอรหันต์ ๘ ทิศ


สัมพุทโธ ทิปะทัง เสฏโฐ นิสินโน เจวะ มัชฌิเม
โกณฑัญโญ ปุพพะภาเค จะ อาคะเณยเย จะ กัสสะโป
สารีปุตโต จะทักขิเณ หะระติเย อุปาลี จะ
ปัจฉิเมปิ จะ อานันโท พายัพเพ จะ คะวัมปะติ
โมคคัลลาโน จะ อุตตะเร อิสาเณปิ จะ ราหุโล
อิเม โข มังคะลา พุทธา สัพเพ อิธะ ปะติฏฐิตา
วันทิตา เต จะ อัมเหหิ สักกาเรหิ จะ ปูชิตา
เอเตสัง อานุภาวเวนะ สัพพะโสตถี ภะวันตุ โน ฯ


อิจเจวะมัจจันตะนะมัสสะเนยยัง
นะมัสสะมาโน ระตะนัตตะยัง ยัง
ปุญญาภิสันทัง วิปุลัง อะลัตถัง
ตัสสานุภาวนะ หะตันตะราโย ฯ




Create Date : 22 พฤศจิกายน 2549    
Last Update : 11 เมษายน 2551 1:22:37 น.
Counter : 451 Pageviews.  

พระคาถาชินบัญชร(โต พรหมรังสี )










 






พระคาถาชินบัญชร
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี )



กำเนิดพระคาถาชินบัญชร


กำเนิดพระคาถาชินบัญชร เรียบเรียงโดยคุณปัญญา นี้ได้คัดลอกมาจากหนังสือ พระคาถาชินบัญชร

เมื่อครั้งนั้น สมเด็จ (โต) ได้มีโอกาสเดิทางไปยัง จังหวัดกำแพงเพชร ท่านได้เดินทางไปที่วัดเก่าแห่งหนึ่งซึ่งมีกรุโบราณ ที่นั่นท่านได้พบคัมภีร์โบราณผูกหนึ่งฝังอยู่ในเจดีย์หัก สมเด็จจึงนำคัมภีร์ผูกนั้นมาเก็บไว้ที่กุฏิ ขณะนั้นสมเด็จ (โต) ท่านมีจิตดำริที่จะสร้างพระเครื่องเพื่อมอบให้แก่เจ้าปิยะ (ร.5) หรือพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อเป็นสมบัติในยุคสมัยครองราชย์ ระหว่างครุ่นคิดสมเด็จ (โต) ท่านก็ได้จำวัดหลับไป

ในคืนนั้นราวๆประมาณตี 3 สมเด็จ (โต) ได้นิมิตว่าท่านได้ตื่นขึ้น เห็นชายหนุ่มรูปงามรูปหนึ่งมายืนอยู่ที่หัวนอนในชุดนุ่งขาวห่มขาว มีรูปลักษณ์งดงามหาที่ติมิได้เลย สมเด็จ(โต) ท่านก็มองขึ้นตามกำหนดของจิต ทราบว่าหนุ่มรูปงามนี้คงจะไม่ใช่มนุษย์อย่างแน่นอน

สมเด็จ (โต) จึงถามว่า "ท่านผู้เจริญ การที่อาตมาได้มีโอกาสชมท่านนับว่าเป็นขวัญตาเหลือเกิน ท่านมาในสถานที่แห่งนี้ มีสิ่งใดที่อาตมาปฏิบัติผิดพลาดในหลักพระพุทธศาสนาเล่า ? ขอให้ท่านจงประสาทประทานการสอนให้อาตมาแจ่มแจ้งในพระธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเถิด"

ชายหนุ่มผู้นั้นจึงกล่าวขึ้นด้วยคำพูดที่เย็นกังวาน "ท่านโต วิธีการที่ท่านดำเนินงานอยู่นี้คล้ายกับองค์สมณะโคดมอยู่ แต่การที่ท่านคิดจะสร้างพระให้เป็นสิ่งที่ระลึกของมนุษย์นั้น สร้างแล้วสิ่งนั้นจะต้องดี ท่านโตเชื่อในเรื่องวิญญาณ เพราะฉะนั้นควรจะปฏิบัติตามกฏของโลกวิญญาณ คือวิธีการตั้งให้ถูกหลักการในการปลุกเสก"

สมเด็จ(โต) ท่านจึงกล่าวว่า "ท่านผู้เจริญ ขรัวโตนี้รับฟังความคิดเห็นของทุกคนหากแม้นท่านโปรดข้านี้ ขอได้โปรดบอกมาเถิด จะด่าว่าตักเตือนเราก็ไม่ว่า"

หนุ่มรูปงามผู้มีความสงบแลดูเป็นที่เลื่อมใส จึงได้แนะวิธีการต่างๆในเรื่องทิศทางว่าทิศใดเป็นทิศมงคล ในการวาง เทียน ธูป ดอกไม้ เทียนชัย ให้ตรงตามหลักของกฏระเบียบแห่งโลกวิญญาณ เรียกว่าเทวบัญญัติ หรือพรหมบัญญัติ
ระหว่างนั้นสมเด็จ (โต) ยังคุมสติสัมปชัญญะอยู่ทุกเมื่อ จึงได้ถามหนุ่มรูปงามนั้นว่า "ท่านผู้รูปงามท่านนี้มีนามว่ากระไรหรอ?"

"หม่อมฉันนี้คือลูกศิษย์องค์พระโมคคัลลานะ หม่อมฉันสำเร็จเป็นอรหันต์เมื่ออายุ 7 ขวบ แต่ด้วยทิ้งสังขารก่อนอายุขัยจึงมิได้สู่แดนอรหันต์ คงยังอยู่ในแดนพรหมโลก เพราะหม่อมฉันไม่อยากติดสตรีมิชอบสตรี เพราะสตรีทำลายพรหมจารีย์ของหม่อมฉัน หม่อมฉันจึงทิ้งสังขารก่อนอายุขัย ทางโลกวิญญาณถือว่าสิ้นก่อนอายุขัย จึงอยู่รูปพรหม ถ้าท่านโตต้องการปรึกษาจากหม่อมฉัน ก็จงระลึกถึงชินนะบัญจะระ" มานพหนุ่มรูปงามกล่าวต่อสมเด็จ (โต) อย่างสำรวม

ต่อมาไม่ว่าสมเด็จ (โต) จะทำงานสิ่งใด จึงมักระลึกถึง ท่านท้าวมหาพรหมชินนะบัญจะระทีไร ท่านก็ปรากฎร่างทันที ช่วยเหลือสมเด็จ (โต) ประกอบพิธีต่างๆ จึงทำให้เครื่องรางของขลังของสมเด็จ (โต) มีความศักดิ์สิทธิ์มาก

สมเด็จ (โต) ท่านปลุกเสกพระสมเด็จรุ่นสุดท้าย 84,000 องค์ เรียกว่าสมเด็จอิทธิเจ ท่านได้แปลคาถาจากคัมภีร์ ซึ่งท่านพบจากกรุวัดที่กำแพงเพชร ซึ่งคัมภร์นั้นเขียนด้วยภาษาสิงหลได้ความบ้าง มิได้ความบ้าง จับใจความได้ว่าเป็นชื่ออรหันต์แปดสิบองค์ จึงได้ตัดต่อแก้ไขเพิ่มเติมเพื่อง่ายต่อการสวด จึงแปลใหม่ได้ความว่า "คาถาชินบัญชร" ซึ่งตรงกับชื่อท่านท้าวมหาพรหมชินนะบัญจะระ สมเด็จ (โต) ท่านจึงถือคาถาบทนี้เป็นการเทิดทูนท่านท้าวมหาพรหมชินนะบัญจะระ ที่ท่านได้ช่วยเหลือตลอดมา และพระคาถาบทนี้เป็นบทสวดในการนั่งปลุกเสกพระอิทธิเจรุ่นสุดท้าย ซึ่งสมเด็จ (โต) ท่านนั่งปลุกเสกอยู่เพียงผู้เดียว

พระคาถานี้มีอนุภาพศักดิ์สิทธิ์มาก ผู้ใดสวดมนต์หรือภาวนาอยู่เป็นประจำ ไม่ว่าจะ กิน เดิน นั่งนอน หรือภาวนาแม้ยามอาบน้ำ แปรงฟัน หรือทำงาน จะมีอนุภาพดังนี้ คือ

1. หากสวดมนต์อย่างน้อยวันละ 3 จบ อานุภาพจะคุ้มครองผู้นั้นไป 1 วัน กับ 1 คืน

2. เวลานั่งรถ เรือ หรือขับขี่รถ หรือเดินทาง ให้นึกภาวนาไปในใจ จะทำให้คลาดแคล้ว ปลอดภัยจากอุบัติเหตุทั้งปวงได้ชงัดนักเคยพ้นมามากต่อมากแล้ว
3.ผู้สวดมนต์ พระคาถานี้เป็นประจำ จะเป็นเสน่ห์มงคลด้วยประการทั้งปวง ไม่ว่าท่านจะอยู่ในเหตุการณ์ร้ายแรงอย่างใด ให้ภาวนาจะปลอดภัย แม้คนถูกกระทำของใส่คุณ หากเรารู้ตัวแล้วภาวนามิได้ขาด รับรองได้ว่าเขาทำอะไรเราไม่ได้เลย

4. หากภาวนาประจำมิได้ขาดเลยเรามักมีอะไรพิเศษ เช่น อาจฝันรู้เหตุการณ์ล่วงหน้า หากนอนแล้วภาวนาจนกระทั่งหลับ (ในใจ) คืนนั้นจะนอนหลับสบายเป็นพิเศษ ตื่นขึ้นมาจะมีความสุขปลอดโปร่งแจ่มใสเป็นพิเศษ บางทีกลางคืนจะมีอะไรดีๆ มาสอนเราด้วย

5. ผู้ที่มีอำนาจสมาธิจิตสูง สามารถจะภาวนาพระคาถานี้ ทำน้ำมนต์รักษาโรคบางชนิด ที่แพทย์ปัจจุบันรักษาไม่หายให้หายได้

6. ใครเจ็บไข้อยู่หากมีคนอื่น (แม้มิใช่ญาติ) บนบานกล่าวว่าจะสวดมนต์ให้ร้อยเที่ยว ห้าร้อยเที่ยว หรือหนึ่งพันเที่ยว ให้แก่เจ้ากรรมนายเวรเขามักจะหายป่วยจริงๆ (เคยทดลองมาแล้วแม้คนต่างศาสนากัน) หากผู้เจ็บป่วยที่นอนรักษาตัวอยู่ที่ไหนก็แล้วแต่หากภาวนาพระคาถานี้อยู่เรื่อยๆจะทำให้เขาหายป่วยเร็วขึ้น มากจนน่าแปลกใจ

7. ผู้ประกอบอาชีพต่างๆ หากยามว่างให้ภาวนาพระคาถาบทนี้จะทำให้อาชีพดีขึ้น เช่น ค้าขายดีขึ้นแม้ปลูกพืช ปลูกผักผลผลิตจะดีขึ้นหรือรายได้ดีขึ้น เด็กๆ นักเรียนหากสวดมนต์บทนี้ได้และสวดประจำบ่อยๆ หรือทุกคืนก่อนนอน จะเรียนเก่ง จำดีอย่างแน่นอนรับรอง

8. ผู้สวดมนต์พระคาถาบทนี้เป็นประจำแล้ว ประกอบอาชีพสุจริตไปด้วย จะทำให้ลดวิบากกรรมตัวเองให้เบาลงกว่าที่จะได้รับจริง หากกุศลส่งก็จะหนุนให้กุศลส่งแรงขึ้น หากใช้ไปนานชั่วชีวิตจะประสบสุขตามกุศลแน่นอน

9. เมื่อร่วมกันสวดอธิษฐานพร้อมๆ กันหลายคน หรือเวลาเดียวกัน จะมีอานุภาพบริสุทธิ์แผ่ออกไปกว้างไพศาลมากทำให้ผู้สวดก็ดี สถานที่บริเวณก็ดี รวมไปถึงประเทศชาติจะได้เจริญ และรอดพ้นจากภัยพิบัติทั้งหลายที่จะเกิดขึ้นแก่ประเทศ เราได้ ทำให้ประเทศเราเด่นดังในที่สุดได้

(อานุภาพของพระคาถายังมีอีกมาก หากทุกท่านหมั่นสวดมนต์ภาวนา ความเจริญ ความเมตตา หากินคล่องก็จะอยู่กับท่าน)

ผู้ใดได้สวดภาวนาพระคาถาชินบัญชรนี้เป็นประจำอยู่สม่ำเสมอ จะทำให้เกิดความสิริมงคลสมบูรณ์พูนผล ศัตรูหมู่พาลไม่กล้ำกราย ไปทางใดย่อมเกิดเมตตามหานิยม เกิดลาภผลพูนทวี ขจัดภัยจากภูตผีปีศาจ ตลอดจนคุณไสยต่างๆ ทำน้ำมนต์รดแก้วิกลจริตแก้สรรพโรคภัยหายสิ้น เป็นสิริมงคลแก่ชีวิต มีคุณานุภาพตามแต่จะปรารถนา ดังคำโบราณว่า "ฝอยท่วมหลังช้าง" จะเดินทางไปที่ใดๆ สวด 10 จบ แล้วอธิษฐานจะสำเร็จสมดังใจ



นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

ปุตตะกาโมละเภปุตตัง ธะนะกาโมละเภธะนัง
อัตถิกาเยกายะญายะ เทวานังปิยะตังสุตตะวา
อิติปิโสภะคะวา ยะมะราชาโน ท้าวเวสสุวัณโณ
มรณังสุขัง อะระหังสุคะโต นะโมพุทธายะ






ชะยาสะนาคะตา พุทธา เชตะวา มารัง สะวาหะนัง
จะตุสัจจาสะภัง ระสัง เย ปิวิงสุ นะราสะภา.


ตัณหังกะราทะโย พุทธา อัฏฐะวีสะติ นายะกา
สัพเพ ปะติฏฐิตา มัยหัง มัตถะเก เต มุนิสสะรา.


สีเส ปะติฏฐิโต มัยหัง พุธโธ ธัมโม ทะวิโลจะเน
สังโฆ ปะติฏฐิโต มัยหัง อุเร สัพพะคุณากะโร.


หะทะเย เม อะนุรุทโธ สารีปุตโต จะ ทักขิเณ
โกณฑัญโญ ปิฏฐิภาคัสมิง โมคคัลลาโน จะวามะเก.


ทักขิเณ สะวะเน มัยหัง อาสุง อานันทะราหุโล
กัสสะโป จะ มะหานาโม อุภาสุง วามะโสตะเก.


เกสันเต ปิฏฐิภาคัสมิง สุริโย วะ ปะภังกะโร
นิสินโน สิริสัมปันโน โสภิโต มุนิปุงคะโว.


กุมาระกัสสะโป เถโร มะเหสี จิตตะวาทะโก
โส มัยหัง วะทะเนนิจัง ปะติฏฐาสิ คุณากะโร.


ปุณโณ อังคุลิมาโล จะ อุปาลี นันทะสีวะลี
เถรา ปัญจะ อิเม ชาตา นะลาเฏ ตีละกา มะมะ.


เสสาสีติ มะหาเถรา วิชิตา ชินะสาวะกา
เอเตสีติ มะหาเถรา ชิตะวันโต ชิโนระสา
ชะลันตา สีละเต เชนะ อังคะมังเคสุ สัณฐิตา.

๑๐
ระตะนัง ปุระโต อาสิ ทักขิเณ เมตตะสุตตะกัง
ธะชัคคัง ปัจฉะโต อาสิ วาเม อังคุลิมาละกัง.

๑๑
ขันธะโมระปะริตตัญจะ อาฏานาฏิยะสุตตะกัง
อากาเส ฉะทะนัง อาสิ เสสา ปาการะสัณฐิตา.

๑๒
ชินนานา วะระสังยุตตา สัตตะปาการะลังกะตา
วาตะปิตตาทิสัญชาตา พาหิรัชฌัตตุปัททะวา.

๑๓
อะเสสา วินะยัง ยันตุ อะนันตะชินะเตชะสา
วะสะโต เม สะกิจเจนะ สะทา สัมพุทธะปัญชะเร.

๑๔
ชินะปัญชะระมัชฌัมหิ วิหะรันตัง มะฮี ตะเล
สะทา ปาเลนตุ มัง สัพเพ เต มะหาปุริสาสะภา.

๑๕
อิจเจวะมันโต สุคุตโต สุรักโข
ชินานุภาเวนะ ชิตุปัททะโว
ธัมมานุภาเวนะ ชิตาริสังโฆ
สังฆานุภาเวนะ ชิตันตะราโย
สัทธัมมานุภาวะปาลิโต จะรามิ ชินะปัญชะเรติ.

(กราบ ๓ หน)

คำแปลพระคาถาชินบัญชร

1. ชะยาสะนากะตา พุทธา เชตะวา มารัง
สะวาหะนัง จะตุสัจจาสะภัง ระสัง เย ปิวิงสุ นะราสะภา
พระพุทธเจ้าและพระนราสภาทั้งหลายผู้ประทับนั่งแล้วบนชัยบัลลังก์ ทรงพิชิตพระยามาราธิราช ผู้พรั่งพร้อมด้วยเสนาราชพาหนะแล้ว เสวยอมตรสคือ อริยสัจธรรมทั้งสี่ประการ เป็นผู้นำสรรพสัตว์ให้ข้ามพ้นจากกิเลสและกองทุกข์

2. ตัณหังกะราทะโย พุทธา อัฏฐาวีสะติ นายะกา
สัพเพ ปะติฏฐิตา มัยหัง มัตถะเก เต มุนิสสะรา
มี 28 พระองค์ คือพระผู้ทรงพระนามว่า ตัณหังกรเป็นอาทิพระพุทธเจ้าจอมมุนีทั้งหมดนั้น.

3. สีเส ปะติฏฐิโต มัยหัง พุทโธ ธัมโม ทะวิโล
จะเน สังโฆ ปะติฏฐิโต มัยหัง อุเร สัพพะคุณากะโร
ข้าพระพุทธเจ้าขออัญเชิญมาประดิษฐานเหนือเศียรเกล้าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประดิษฐานอยู่บนศีรษะพระธรรมอยู่ที่ดวงตาทั้งสอง พระสงฆ์ผู้เป็นอากรบ่อเกิดแห่งสรรพคุณ อยู่ที่อก.

4. หะทะเย เม อะนุรุทโธ สารีปุตโต จะ ทักขิเณ
โกณฑัญโญ ปิฏฐิภาคัสมิง โมคคัลลาโน จะวามะเก
พระอนุรุทธะอยู่ที่ใจ พระสารีบุตรอยู่เบื้องขวา พระโมคคัลลาน์อยู่เบื้องซ้าย พระอัญญาโกณฑัญญะอยู่เบื้องหลัง

5. ทักขิเณ สะวะเน มัยหัง อาสุง อานันทะ
ราหุโล กัสสะโป จะ มะหานาโน อุภาสุง วามโสตะเก
พระอานนท์กับพระราหุลอยู่หูขวา พระกัสสะปะกับพระมหานามะอยู่หูซ้าย

6. เกสะโต ปิฏฐิภาคัสมิง สุริโย วะ ปะภังกะโร
นิสินโน สิริสัมปันโน โสภีโต มุนิ ปุงคะโว
มุนีผู้ประเสริฐ คือ พระโสภิตะผู้สมบูรณ์ด้วยสิริ ดังพระอาทิตย์ส่องแสงอยู่ที่ทุกเส้นขน ตลอดร่างทั้งข้างหน้าและข้างหลัง

7. กุมาระกัสสะโป เถโร มะเหสี จิตตะวาทะโก
โส มัยหัง วะทะเน นิจจัง ปะติฏฐาสิ คุณากะโร
พระเถระกุมาระกัสสะปะผู้แสวงบุญทรงคุณอันวิเศษ มีวาทะอันวิจิตรไพเราะอยู่ปากเป็นประจำ

8. ปุณโณ อังคุลิมาโลจะ อุปาลี นันทะสีวะลี
เถรา ปัญจะอิเมชาตา นะลาเฏ ติละกา มะมะ
พระปุณณะ พระอังคุลิมาล พระอุบาลี พระนันทะ และพระสีวะลี พระเถระทั้ง 5 นี้ จงปรากฏเกิดเป็นกระแจะจุณเจิมที่หน้าผาก

9. เสสาสีติ มะหาเถรา วิชิตา ชินะสาวะกา
เอเตสีติ มะหาเถรา ชิตะวันโต ชินโนระสา
ชะลันตา สีละเตเชนะ อังคะมังเคสุ สัณฐิตา
ส่วนพระอสีติมหาเถระที่เหลือ ผู้มีชัยและเป็นพระโอรสเป็นพระสาวกของพระพุทธเจ้าผู้ทรงชัย แต่ละองค์ล้วนรุ่งเรืองไพโรจน์ด้วยเดชแห่งศีลให้ดำรงอยู่ทั่วอวัยวะน้อยใหญ่

10. ระตะนัง ปุระโต อาสิ ทักขิเณ เมตตะสุต
ตะกัง ธะชัคคัง ปัจฉะโต อาสิ วาเม อังคุลิมาละกัง
พระรัตนสูตรอยู่เบื้องหน้า พระเมตตาสูตรอยู่เบื้องขวา พระอังคุลิมาลปริตรอยู่เบื้องซ้าย พระธชัคคะสูตรอยู่เบื้องหลัง

11. ขันธะโมระปะริตตัญจะ อาฏานาฏิยะ สุตตะ
กัง อากาเส ฉะทะนัง อาสิ เสสา ปาการะสัณฐิตา
พระขันธปริตร พระโมรปริตรและพระอาฏานาฏิยสูตร เป็นเครื่องกางกั้นดุจหลังคาอยู่บนนภากาศ

12. ชินา นานา วะระสังยุตตา สัตตัปปาการะลัง
กาตา วาตะปิตตาทิสัญชาตา พาหิรัชฌัตตุปัททะวา
อนึ่งพระชินเจ้าทั้งหลายนอกที่ได้กล่าวมาแล้วนี้ ผู้ประกอบพร้อมด้วยกำลังนานาชนิดมีศีลาทิคุณอันมั่นคง คือสัตตะปราการเป็นอาภรณ์มาตั้งล้อมเป็นกำแพงคุ้มครองเจ็ดชั้น

13. อะเสสา วินะยัง ยันตุ อะนันตะชินะเตชะสา
วะเสโต เม สะกิจเจนะ สะทา สัมพุทธะปัญชะเร
ด้วยเดชานุภาพแห่งพระอนันตชินเจ้าไม่ว่าจะทำกิจการใด ๆ เมื่อข้าพระพุทธเจ้าเข้าอาศัยอยู่ในพระบัญชรแวดวงกรงล้อม แห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ขอโรคอุปัทวะทุกข์ทั้งภายนอกและภายใน อันเกิดแต่โรคร้าย คือ โรคลมและโรคดีเป็นต้น เป็นสมุฏฐานจงกำจัดให้พินาศไปอย่าได้เหลือ

14. ชินะปัญชะระมัชฌัมหิ วิหะรันตัง มะหีตะเล
สะทา ปาเลนตุ มัง สัพเพ เต มะหาปุริสา สะภา
ขอพระมหาบุรุษผู้ทรงพระคุณอันล้ำเลิศทั้งปวงนั้น จงอภิบาลข้าพระพุทธเจ้า ผู้อยู่ในภาคพื้นท่ามกลางพระชินบัญชร ข้าพระพุทธเจ้าได้รับการคุ้มครองปกปักรักษาภายในเป็นอันดี ฉะนี้แล

15. อิจเจวะมันโต สุคุตโต สุรักโข ชินานุภาเวนะ
ชิตูปัททะโว ธัมมานุภาเวนะ ชิตาริสังโฆ สังฆานุภาเวนะ
ชิตันตะวาโย สัทธัมมานุภาวะปาลิโต จะรามิชินะปัญชะเรติ.
ข้าพระพุทธเจ้า ได้รับการอภิบาลด้วยคุณานุภาพแห่งสัทธรรม จึงชนะเสียได้ซึ่งอุปัทวะอันตรายใด ๆ ด้วยอานุภาพแห่งพระชินะพุทธเจ้า ชนะข้าศึกศัตรูด้วยอานุภาพแห่งพระธรรม ชนะอันตรายทั้งปวงด้วยอานุภาพแห่งพระสงฆ์ ขอข้าพระพุทธเจ้าจงได้ปฏิบัติและรักษาดำเนินไปโดยสวัสดีเป็นนิจนิรันดร เทอญ.





Create Date : 22 พฤศจิกายน 2549    
Last Update : 4 กรกฎาคม 2552 10:35:31 น.
Counter : 825 Pageviews.  

1  2  3  4  

lcelcy
Location :
ชลบุรี Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




มิถุนายน เดือนดี๊ดี " จุดกำเนิด iceicy's blog Dhamma"
ครบรอบ ๗ ปี แล้วค่ะ"

คนมาจากไหน?
เริ่มจาก เกิด แก่ เจ็บ และก็ตาย
คนก็หายไป !!...แต่ความดีไม่เคยหายไปด้วย..
ทุกคนจำวันเกิดตัวเองได้ไหม... ก็คงจำได้กันหมดอะน่ะ
เคยคิดจะทำอะไรดีดี....
ให้กับตัวเองและคนอื่น..ในวันครบรอบวันเกิดของตัวเองไหมค่ะ?

ตั้งแต่เดือนมิถุนายน ปีพ.ศ. ๒๕๔๙ (๗ ปีได้ผ่านมาแล้ว)
ฉันได้ทำสิ่งที่ชอบ และชอบในสิ่งที่ฉันได้ทำ
สิ่งนั้น คือ " บล๊อกเกี่ยวกับหลักธรรมข้อคิดต่างๆ "
เริ่มจากทำไม่เป็น ลองผิดลองถูก ทำจนสำเร็จ
ทั้งนี้ ขอขอบพระคุณ " กำลังใจ " คนรอบข้าง
และทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยม iceicy's blog Dhamma น่ะค่ะ
(ซึ้งน่ะซึ้งน่ะเนี่ย!!!!)
<

วัตถุประสงค์ iceicy blog Dhamma
1. เพื่อเผยแพร่และสนับสนุนส่งเสริมพระพุทธศาสนาให้อยู่คู่กับประเทศไทย
2. เพื่อนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ประโยชน์ในทางพระพุทธศาสนา
3. เพื่อแบ่งปันความรู้ทางพระพุทธศาสนา และแลกเปลี่ยนข่าวสารทั่วไป
4. สรรเสริญบุคคลที่ควรสรรเสริญ ยกย่องบุคคลที่ควรยกย่อง

Google



Link to us:
ท่านสามารถนำ code ของ banner นี้
ไปติดที่เว็บของท่านได้ตามสะดวกน่ะค่ะ
ขอขอบคุณและขออนุโมทนามา ณ ที่นี้ด้วยน่ะค่ะ

Iceicy blog dhamma



New Comments
Friends' blogs
[Add lcelcy's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.