ห้องนั่งเล่นของคนธนฯ ที่นี่คือด้านเบาๆของชีวิต มุมอิสระของความคิด และจิตใจที่ไร้กฎเกณฑ์ แต่สิ่งหนึ่งที่เข้มงวดในที่นี้คือ มารยาทและจิตใจที่งดงาม
4.2 จาคะ (ตอนที่2)

5 วรรณมัจฉริยะ ตระหนี่วรรณะ

   ในสมัยพุทธกาลที่ทรงแสดงธรรมเรื่องนี้มีวรรณะ

   ถือวรรณะกัน กษัตริย์ พราหมณ์ ไวศยะ ศูทร นี่ก็ตระหนี่วรรณะกัน

   เหยียดหยามวรรณะของผู้อื่น 

   พระพุทธเจ้าท่านสละวรรณะหมดเลย วรรณะไม่มี

   มีกันที่ศีลธรรม มีมาตรฐานกันที่คุณงามความดี

   ใครมีคุณงามความดีมากคนนั้นเป็นคนดีมาก

   ไม่ใช่ดีเพราะชาติตระกูล หรือวรรณะ

   อันนี้เป็นการปฏิวัติของพระพุทธเจ้าอย่างได้ผลมาจนถึงปัจจุบันนี้

   เราได้รับพุทธศาสนามาก็ทำให้เราตระหนักและก็ซึ้งถึงเรื่องพวกนี้ว่า

   แม้ท่านจะเป็นกษัตริย์แต่ท่านก็ไม่ได้ถือวรรณะ ลงมาอยู่กับคนทุกชั้น 

    วรรณะแปลว่า สรรเสริญ บางคนก็ตระหนี่คำสรรเสริญ

    คือว่าไม่อยากให้ใครสรรเสริญผู้อื่น อยากแต่จะให้สรรเสริญตน

    และก็มีความริษยาเข้ามาด้วย ถ้ามีการสรรเสริญผู้อื่น ความริษยาเข้ามา

    อันนี้ก็จัดเข้าได้ในความตระหนี่วรรณะ 

    เพื่อนคนไหนชมเพื่อนคนไหนก็ขัดคอ เริ่มเล่าเรื่องไม่ดีของเพื่อนคนนั้นทันที

    เป็นการกระทำที่ห่วยแตกของ   เพื่อนที่มีต่อเพื่อน 

    บางครั้งการกระทำแบบนี้ทำโดยอัตโนมัติโดยไม่รู้สึกตัว

    ลองคิดย้อนกลับว่าตัวเองเป็นแบบนี้หรือเปล่าทำโดยไม่รู้ตัว

    โดยกิเลสเข้าครอบงำโดยอัตโนมัติหรือเปล่า 

    ไม่รู้ตัวหรอกว่าตัวเองทำอะไรเลวๆแบบอัตโนมัติ

    ถ้าไม่มีใครกระตุกใจให้คิดย้อนหลังเหมือนกดรีโมทถอยหลังชีวิตให้ดู 

    เรื่องจาคะ คือมันต้องละความตระหนี่ไปด้วย

    เมื่อมีจาคะต้องทำการเสียสละไปด้วย ทำไปพร้อมๆ กัน

    มันเป็นเหตุเป็นผลของกันและกัน จาคะและเสียสละ

    เสียสละมันก็ละความตระหนี่ไปในตัว

    เมื่อละความตระหนี่มันก็ต้องจาคะไปในตัว มันทำไปพร้อมๆ กัน 

    ทีนี้ขอพูดเรือง จาคะ ความเสียสละ แบบมีสติ

    คือว่าเสียสละเท่าที่เห็นด้วยปัญญาว่าควรเสียสละ ตั้งแต่สละทรัพย์สิน

    ความสุขที่มีตามควร แต่ต้องไม่ขัดต่อเหตุผลที่เป็นจริง

   ไม่ขัดขัดต่อหลักเหตุผลและความผาสุกอันชอบธรรม

   เป็นการสละกิเลสต้องไม่เป็นเหตุของความยุ่งยากทั้งปวงที่จะเกิดตามมาภายหลัง 

    การเสียสละนี่เป็นกิจกรรมสำคัญอย่างหนึ่งในสังคมมนุษย์

    แต่ต้องไม่ใช่ทำแบบโง่ๆ ผมขอยกตัวอย่างการสละอย่างโง่ๆที่โลกไม่ยินดีเลยเช่น 

    เงินในบ้านมีเหลือสำหรับให้ลูกเมียจนสิ้นเดือน

    แต่เจือกจะเอาหน้าให้เพื่อนยืม แบบนี้เรียกว่าจาคะแบบโง่ๆ 

     รถในบ้านมีคันเดียวต้องส่งลูกเมียไปทำงานเรียนหนังสือเจือกให้ญาติยืม

     ทั้งที่ญาติก็หน้าด้านมายืมโดยไม่เกรงใจลูกเมียเขา แบบนี้ไม่นับครับ 

     เอาสิ่งที่เป็นของลูกเมียมาให้เพื่อน

     แบบนี้ไม่ใช่จาคะเพราะมันไม่ใช่ของตัวเองมันเป็นของลูกเมีย

     มีแต่คนบ้าเท่านั้นที่ทำแบบนี้ 

     การกู้หนี้ยืมสินมาทำบุญแบบนี้ไม่ใช่จาคะ

     การผ่อนบุญไม่ใช่จาคะ 

    พุทธภาษิตที่ว่า ททํ มิตฺตานิ คนฺถติ ผู้ให้ย่อมจะผูกมิตรไว้ได้

    ช่วยขจัดสนิมในใจคือความตระหนี่ ความเห็นแก่ตัวมัจฉริยะ

    ซึ่งจาคะต้องเริ่มจากครอบครัว

    โดยสามีต้องสละความสุขส่วนหนึ่งของตัวเองให้ภรรยา  

    พ่อแม่ต้องสละความสุขส่วนหนึ่งให้ลูก ครอบครัวต้องสละส่วนเกินให้ญาติพี่น้อง

    กลุ่มคนต้องสละส่วนเกินให้สังคม 

    ฆราวาสธรรม เริ่มต้นในครอบครัวก่อน แล้วก็แผ่ขยายไปในวงศาคณาญาติ

    ตลอดถึงเพื่อนร่วมสังคมเดียวกัน จังหวัดเดียวกัน ประเทศเดียวกัน แล้วก็โลกเดียวกัน 

    ความตระหนี่นี่เป็นมลทินอย่างหนึ่งในมลทิน 9 ความเห็นแก่ตัว

    ซึ่งก็เป็นต้นตอของการเอารัดเอาเปรียบกันในสังคม

    สังคมมนุษย์เราจะไม่วิกฤติอย่างที่เห็นอยู่ทุกวันนี้

    ถ้าแต่ละคนสละความเห็นแก่ตัวให้มากที่สุด

    คือนึกถึงตัวเองให้น้อยลง และนึกถึงคนอื่นให้มากขึ้น 

   เราควรตั้งคำถามให้แก่ตัวเองอยู่เสมอว่า

   เราได้ให้อะไรแก่สังคมที่เราอาศัยอยู่บ้าง ไม่เอาเปรียบสังคม

   ในสาราณียธรรมสูตร พระพุทธเจ้าทรงแสดงการเสียสละว่าเป็นธรรมข้อหนึ่ง

   ที่เป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน เรียกว่า สาราณียา แปลว่าทำให้ระลึกถึงกัน

   ใครเขาให้อะไรเรา และถ้าเมื่อเห็นสิ่งนั้น ก็มักจะระลึกถึงผู้ให้เมื่อเห็นสิ่งนั้น 

   อย่างผมเห็นหนังสือรวมงานศิลปะดีๆของยุโรปหลายเล่ม

   ที่ผมเก็บไว้ข้างเตียงนอนก็นึกถึงคนให้หนังสือเหล่านั้น

   เห็นของใช้จุกจิกในรถก็นึกถึงว่าคนโน้นให้อะไรวางในรถ

   ดังนั้นการผูกใจกันที่เป็นจาคะในข้อธรรมสังคหวัตถุ

   คือธรรมที่เป็นเครื่องสงเคราะห์กัน ผูกน้ำใจกัน

   พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงการเสียสละไว้ 4 ประการดังนี้ 

 1. ทาน

           ผมคงไม่อธิบายเพิ่มเพราะได้พูดมามากแล้ว 

 2. ปิยวาจา

           คือการพูดจาที่น่ารัก พ่อพูดดีกับลูก สามีพูดดีกับภริยา

           เป็นการผูกบ้านให้อยู่กันอย่างมีความสุข      

           เมื่อไรที่พูดจาหยาบช้าใส่กันบ้านก็แตกสลาย อยู่ด้วยกันแบบทนอยู่ 

     3. อัตถจริยา

           การบำเพ็ญประโยชน์ต่อผู้อื่น

           ยิ่งให้ยิ่งได้รับยิ่งสละตัวเองยิ่งได้รับการยอมรับจากสังคม

          บ้างคนบอกว่าผมบ้าในบางเรื่องทำในสิ่งที่ไร้ประโยชน์

          แต่ผมก็ตอบสั้นๆว่าผมได้มากกว่าที่ผมให้ 

  4. สมานัตตตา

          ความวางตนเหมาะสมแก่ฐานะแก่ภาวะของตน

          เรื่องนี้มันมีหลายอย่างเช่นฐานะทางการเงิน ฐานะทางสังคม ฐานะทางศิลธรรม

         เมื่อวางตนให้เหมาะกับเป็นพ่อ เป็นสามี เป็นเพื่อน เป็นพี่

          ย่อมเป็นบ่อเกิดแห่งความสุขของครอบครัว 

  ผมอยากเขียนให้มากกว่านี้

  แต่รู้สึกว่าผมเขียนเรื่อง จาคะ มามากกว่าทุกวัน

  ไม่รู้ว่าของขึ้นอะไรกับเรื่อง จาคะ นี่ขนาดผมเขียนแล้วลบไปเกือบครึ่งยังยาวขนาดนี้ 

  คงต้องถึงเวลาจบแล้วครับ 

  ตอนนี้เชื่อผมแล้วหรือยังว่าเรี่องฆราวาสธรรมมีเพียงสี่ข้อ

  แต่ระเบิดได้ลุ่มลึกขนาดเรียนกันได้เป็นพรรษา

  และถ้าปฎิบัติได้ตามนี้แล้วได้ธรรมขั้นสูงไปเรื่อยๆ

  ก็เป็นรองเพียงพระอรหันต์เท่านั้น

  ดังนั้นไม่ต้องไปนั่งหลับตาที่วัด

  ปฎิบัติต่อลูกเมียให้ถูกต้องปฎิบัติต่อเพื่อนฝูงให้ถูกต้องก็ถือว่าปฎิบัติธรรมแล้ว 




Create Date : 09 กรกฎาคม 2556
Last Update : 9 กรกฎาคม 2556 21:23:30 น. 0 comments
Counter : 528 Pageviews.

คนธนฯ
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]




คุยได้ทุกเรื่องที่ถูกใจ ถ้าไม่ถูกใจก็ไม่คุย
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add คนธนฯ's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.