ทศชาติชาดก : ชาติที่ 2 พระมหาชนก ( วิริยะบารมี )
ทศชาติชาดก : ชาติที่ 2 พระมหาชนก ( วิริยะบารมี ) vote ติดต่อทีมงาน
ในอดีตที่ ล่วงมาแล้ว มีพระมหากษัตริย์พระองค์หนึ่งนามว่า มหาชนก เสวยราชสมบัติในเมืองมิถิลา
ท้าวเธอมีโอรสสองพระองค์ องค์หนึ่งนามว่า อริฎฐชนก  อีกองค์หนึ่งมีนามว่า โปลชนก พระองค์ได้
ทรงตั้งอริฎฐชนกในตำเเหน่ง อุปราช และโปลชนกในตำเเหน่ง เสนาบดี   ต่อมาเมื่อท้าวเธอสวรรคต
แล้ว อุปราชก็ได้ขึ้นครองแผ่นดินเสวยราชสมบัติแทน    และได้แต่งตั้งเจ้าโปลชนกผู้เป็นน้องให้เป็น

อุปราช ในขณะเมื่อ  เจ้าอริฎฐชนกเป็นอุราชอยู่นั้นก็รู้สึกว่าเป็นคนยุติธรรมดีอยู่   แต่เมื่อเป็นพระเจ้า
แผ่นดินแล้วหูเบา ฟังแต่ถ้อยคำคนประจบสอพลอ เพราะตามธรรมดาคนประจบสอพลอนั้นจะต้องหา
เรื่องฟ้องคนนั้นคนนี้อยู่เสมอ เพราะคนไม่ทำงานแต่ก็อยากได้ความชอบ และการได้ความชอบโดยไม่
ต้องทำงานวิธีง่ายที่สุดคือเหยียบย่ำผู้อื่นให้ตก แล้วตนจะได้แทนตำแหน่งนั้นตามธรรมดาของโลกย่อม

จะมีเช่นนี้ตลอดกาล ผู้ทรงอำนาจกับความหูเบามักจะเป็นของคู่กัน ถ้าใครได้อ่านพงศาวดารจีน หรือแม้
แต่ประวัติศาตร์ของไทย จะเห็นความหูเบามักจะทำไห้บ้านเมืองต้องพินาศ เรื่องนี้ก็เช่นเดียวกัน เจ้าอุป
ราชโปลชนกถูกกล่าวหาจากผู้ใกล้ชิดของพระเจ้ากรุงมิถิลาว่าจะทำการกบฎ เพราะเจ้าอุปราชทรงอำนาจ
ในทางการเมืองมาก ครั้งแรกก็ยังไม่ยอมเชื่อ ครั้งที่สองก็ชักลังเล พอครั้งมี่สามก็ทรงเชื่อเอาเลย ลืมคิดว่า

ผู้เป็นน้องของพระองค์ที่คลานตามกันออกมาแท้ ๆ ลักษณะเช่นนี้เข้าหลักที่ว่า

“อันเสาหินแปดศอกตอกเป็นหลัก  ไปมาผลักบ่อยเข้าเสายังไหว”

แม้ความรักระหว่างพี่กับน้องก็ตัดได้ ถึงกับสั่งให้จับพระมหาอุปราชไปคุมขังไว้ยังที่แห่งหนึ่ง โดยหาความ
ผิดมิได้มีคนควบคุมอยู่อย่างแข็งแรง เจ้าอุปราชถูกควบคุมโดยหาความผิดมิได้ ก็คิดจะหลบหนีออกไป จึง
ตั้งสัตย์อธิษฐานว่า

“ขอเดชะพระเสื้อเมืองทรงเมืองที่ศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายตัวข้าพเจ้ามิได้คิด ทรยศต่อที่ชายเลย แต่กลับถูกจับคุม
ขังทำโทษหาความผิดมิได้ ถ้าใจของข้าพเจ้าซื่อสัตย์ต่อพี่ชายจริงแล้ว ขอให้โซ่ตรวนขื่อคาตลอดจนประตูคุก
จงเปิดให้ประจักษ์เถิด”

พอสิ้นคำอธิษฐานเท่านั้นด้วยความสัตย์สุจริตของมหาอุปราช บรรรดาเครื่องจองจำทั้งหลายก็หลุดออกจาก
กายของพระองค์  ประตูเรือนจำก็เปิด มหาอุปราชก็เลยหนีออกจากที่นั้น ไปซุ่มซ่อนอยู่ตามชายแดน

พวกพลเมืองได้ทราบข่าวอุปราชหนีออกมา และเห็นว่าพระเจ้าแผ่นดินเชื่อถือแต่คำสอพลอถึงกับกำ
จัดน้องในไส้จึงพากัน เห็นใจเจ้าอุปราช ๆ ก็มีไพล่พลมากขึ้น ตอนนี้พระเจ้าแผ่นดินไม่กล้าส่งคนออก
ติดตามแล้ว เพราะกลัวจะเกิดศึกกลางเมืองขึ้น เพราะทราบดีว่าถ้าส่งคนออกไปจับเจ้าอุปราชก็คงจะ
ต้องสู้จึงเลยทำเป็นใจดีไม่ ติดตาม   เจ้าอุปราชรวบรวมไพล่พลได้พอสมควรแล้วก็คิดว่า

“ครั้งก่อนเราซื่อสัตย์ต่อพี่ชาย แต่ถูกกล่าวหาว่าเป็นกบฎถูกจับคุมขัง จนต้องทำสัตยาอธิษธานจึงหลุด
พ้นออกมาได้ ต่อไปนี้เราจะต้องทำความชั่วตอบแทนพี่ชายบ้างล่ะ”

เมื่อตัดสินใจเช่นนี้แล้ว เจ้าโปลชนกก็รวบรวมไพล่พลเสบียงอาหาร พร้อมแล้วก็ยกกองทัพเข้ามายังมิถิ
ลานคร บรรดาหัวเมืองรายทางรู้ว่าเป็นกอง ทัพของพระเจ้าโปลชนก ก็ไม่สู้กลับเข้าด้วยเสียอีก เจ้าโปลช
นกก็เลยได้คนมากขึ้นอีก ทัพก็ยกมาได้โดยเร็วเพราะหาคนต้านทานมิได้ ตราบจนกระทั่งถึงชานพระนคร
จึงมีสาส์นส่งเข้าท้ารบว่า

“พระเจ้าพี่ ครั้งก่อนหม่อมฉันไม่เคยจะคิดประทุษร้ายพระเจ้าพี่เลย แต่หม่อมฉันก็ต้องถูกจองจำทำโทษที่
พระเจ้าพี่เชื่อแต่คำสอพลอ บัดนี้หม่อมฉันจะประทุษร้ายพระเจ้าพี่บ้างล่ะ ถ้าจะไม่ให้เกิดสงคราม ขอให้
พระเจ้าพี่มอบราชสมบัติให้หม่อมฉันเสียโดยดี ถ้าไม่ให้ก็จงเร่งเตรียมตัวออกมาชนช้างกับหม่อมฉันใน
วันรุ่งขึ้น"

พระเจ้าอริฎฐชนก พอมาถึงตอนนี้ก็ต้องตกกระไดพลอยโจน จึงคิดจะยกพลออกไปต่อสู้กัน แต่ในขณะนั้นพระอัครมเหสี
ทรงพระครรภ์อยู่ พระเจ้าอริฎฐชนกจึงตรัสเรียกมาสั่งว่า

“น้องหญิง ขึ้นชื่อว่าสงครามแล้วไม่ดีเลย เพราะมีแต่ความพินาศเท่านั้น ประดุจสาดน้ำรด กันก็ย่อมจะเปียกปอนไปด้วยกัน
ทั้งสองฝ่าย อีกประการหนึ่งเป็นเรื่องที่คาดหมายลงไปแล้วแน่นอนว่าจะชนะฝ่ายเดียวนั้นก็ ไม่ได้ พี่จะยกพลออกไปสู้กับ
เจ้าโปลชนก หากพี่เป็นอะไรไป เจ้าจงพยายามรักษาครรภ์ให้จงดีเจ้าจงคิดถึงลูกของเราให้มาก”

แล้วก็ยกพลออกไป และก็เป็นตามลางสังหรณ์ที่พระเจ้าอริฎฐชนกคาดว่าจะแพ้ก็แพ้จริง ๆ เพราะเมื่อได้ชนช้างกับเจ้า
โปลชนกก็พลาดพลั้งเสียที ถูกเจ้าโปลชนกฟันสิ้นพระชนม์กับคอช้าง ไพล่พลก็แตกกระจัดกระจายพ่ายหนีอย่างไม่
เป็นกระบวน

พระเทวีได้ ทราบข่าวว่าพระสวามีสิ้นพระชนม์ และประชาชนพลเมืองแตกตื่นอุ้มลูกจูงหลานหนีข้าศึก พระนางก็เก็บ
ของมีค่าใส่ลงใน กระเช้า เอาผ้าเก่า ๆ ปิดแล้วเอาข้าวสารใส่ข้างบน แล้วแต่งตัวด้วยเสื้อผ้าเก่า ๆ ร้องไห้ฟูมฟาย
หลบหนีปะปนไปกับประชาชนพลเมือง โดยไม่รู้ว่าใครเป็นใคร

“จะหนีไปทางใดจึงจะรอดพ้นจากข้าศึก”

พระนางคิดอยู่แต่ในใจ แล้วระลึกขึ้นได้ว่า

“เมืองกาลจัมปา อยู่ทางทิศเหนือของ มิถิลา ถ้าหากหลบหนีไปเมืองนี้ได้ก็ปลอดภัย”  

จึงพยายามดั้นด้นไปจนออกประตูด้านเหนือของเมืองได้ ด้วยบุญญาธิการของทารกในครรภ์ บันดาลให้ร้อนไปถึง
พระอินทร์ เข้าลักษณะที่ว่า

“ทิพย์อาสน์เคยอ่อนแต่ก่อนมา กระด้างดังศิลาประหลาดใจ จะมีเหตุมั่นแม่นในแดนดิน ”

อมรินทร์เร่งคิดสงสัย จึงสอดส่องทิพย์เนตรดูเหตุภัย ก็ได้ทราบว่าพระโพธิสัตว์ซึ่งอยู่ในครรภ์ของพระนางจะได้
รับทุกข์ พระนางจะไปเมืองกาลจัมปาแต่ก็ไม่รู้จักหนทาง เดี๋ยวนี้ไปนั่งถามทางผู้คนที่ผ่านไปมาอยู่ ณ ศาลาพัก
คนเดินทางจำจะต้องอนุเคราะห์ ถ้าไม่อนุเคราะห์หัวเราจะต้องแตกเป็นเจ็ดเสี่ยง

เออ.? คิดดูก็น่าหนักใจแทนพระอินทร์เสียจริง ไม่ว่าคนมีบุญจะตกทุกข์ได้ยากอย่างไร เป็นต้องเดือดร้อนไป
กับเขาด้วยเสมอ เวลาเขาเสวยสุขสิไม่ เคยคิดถึงพระอินทร์เลย จึงเนรมิตตนเป็นคนชรา ขับเกวียนผ่านมา
ทางนั้น พระนางพอเหลือบแลเห็นก็ออกปากถามทันที

“ตาจ๋า หลานอยากจะรู้ว่าเมืองกาลจัมปาอยู่ทางไหน”

“แม่หนูจะไปไหนล่ะ”

“ฉันจะไปเมืองกาลจัมปา”

“ญาติฉันมีอยู่ทางเมืองนั้น สามีออกไปรบข้าศึกก็ตายเสีย ฉันก็เลยจะพึ่งพาอาศัยญาติอยู่”

“ถ้าอย่างนั้นดีทีเดียว ตาก็จะไปเมืองกาลจัมปาเหมือนกันแม่หนูมาขึ้นเกวียนเถิด”

เหมือนเทวดามาโปรด และแท้ที่จริงก็เทวดามาโปรดจริง ๆ เมื่อขึ้นเกวียนเพราะความเหนื่อยและเพลียในการที่
ระหกระเหิน พระนางก็เอนกายลงพักผ่อนและก็เลยหลับไป นางตื่นขึ้นในตอนเย็น ก็พบว่านางได้ถึงเมืองแห่ง
หนึ่ง จึงถามตาคนขับเกวียนว่า

“ตาจ๋า เมืองที่เห็นอยู่ข้างหน้านั้นเขาเรียกว่าเมืองอะไร”

“เมืองกาลจัมปาที่แม่หนูต้องการจะมานั้นเเหละ”

“โอ.? ตา เขาว่าเมืองกาลจัมปาไกลตั้ง ๖๐ โยชน์ทำไมถึงเร็วนัก”

“แม่หนูไม่รู้ดอก ตาเป็นคนเดินทางผ่านไปมาเสมอ ย่อมจะรู้จักทางอ้อม นี่ตามาทางลัดจึงเร็วนัก”

เทวดาว่าเข้านั้น บ้านอยู่ทางเหนือ จะต้องรีบไป ให้พระนางลงเสียตรงนี้ พระนางจึงลงจากเกวียนไปพักอยู่ที่
ศาลาหน้าเมือง คิดไม่ตกว่าจะไปทางไหนดี เพราะเมืองนี้นางไม่รู้จักใครเลย ในขณะนั้นอาจารย์ผู้ใหญ่ผู้หนึ่ง
พาลูกศิษย์เดินทาง ผ่านมาทางนั้น เห็นนางนั่งอยู่ในศาลาหน้าตาน่าเอ็นดูเกิดความสงสารเข้าสอบถามได้
ความว่า นางหนีภัยจากข้าศึกมา ญาติพี่น้องก็ไม่มี ดูลักษณะนาง เห็นว่าเป็นคนดีก็ยอมให้ไปด้วย และได้
แสดงตนให้บรรดาศิษย์และคนอื่นทราบว่านางเป็นน้องของอาจารย์ผู้นั้น และได้ไปอาศัยอยู่กับอาจารย์
ฐานะน้อง จวบจนกระทั่งนาง ได้คลอดบุตรนามว่า มหาชนก

มหาชนกเมื่อเติบใหญ่ขึ้นมาไปกับเด็กทั้งปวง ถูกรังแกก็ต่อสู้ เด็กเหล่านั้นสู้ไม่ได้ วิ่งไปบอกพ่อแม่ว่าถูกเด็ก
ลูกไม่มีพ่อทำร้ายเอา เมื่อเด็กพูดกันบ่อย ๆ มหาชนกก็เกิดสงสัย วันหนึ่งสบโอกาสจึงถามมารดาว่า

“แม่จ๋า ใครเป็นพ่อฉัน”

“ก็ท่านอาจารย์นั้นเเหละเป็นบิดาของเจ้า”

ครั้งแรกพระมหาชนกก็เชื่อ แต่เมื่อได้ยินพวกเด็ก ๆ ยังพูดอยู่เช่นนั้นก็เกิดสงสัย ดีร้ายมารดาเห็นจะไม่
บอกกับเราจริง ๆ แม้ครั้งที่สองมหาชนกถามมารดาก็ตอบเช่นเดียวกับครั้งแรก มหาชนกจึงคิดหาอุบายจะให้
มารดาบอกให้ได้

“แม่จ๋า ขอให้บอกความจริงกับฉันเถิดว่า ใครเป็นพ่อของฉัน”

“ก็ท่านอาจารย์ยังไงเล่าเป็นพ่อของเจ้า”

“ทำไมแม่ให้ฉันเรียกว่าลุงเล่า”

“เพราะอาจารย์อยากให้เรียกเช่นนั้น”

มหาชนกก็ยื่นคำขาดว่า

“ถ้าแม่ไม่บอกความจริงให้ฉันทราบ ฉันจะกัดนมแม่ให้ขาดเลย”

ไม่ใช่แต่พูดเปล่า ๆ มหาชนกเอาฟันดัดหัวนมมารดาจริง ๆ ด้วย แต่ไม่แรงนัก

“โอ้ย แม่เจ็บ”

มารดาอุทานออกมา

“เมื่อเจ็บแม่ต้องบอกความจริงให้ฉันรู้”

“เอาล่ะ แม่จะบอกให้รู้ แต่ที่ยังไม่บอกเจ้าก็เพราะเจ้ายังเล็กนักไม่สามารถทำอะไรได้ เจ้าเป็นลูก
กษัตริย์ เมืองมิถิลานครบิดาของเจ้าชื่อ อริฐชนก ถูกเจ้าอุปราชโปลชนกแย่งสมบัติ พ่อเจ้าตายใน
ที่รบ มารดากำลังท้องอยู่ก็หลบหนีเซซัดมาอาศัยอยู่กับท่านอาจารย์ ณ ที่นี้”

และนับตั้งแต่นั้นมาเจ้ามหาชนกแม้จะถูกพวกเด็ก ๆ ว่าลูกไม่มีพ่อก็ไม่มีความโกรธเคือง และพยายาม
เล่าเรียนวิชาการทุกประเภทเพื่อต้องการจะกลับไปเอาราชสมบัติคืนให้จงได้ จวบจนกระทั่งอายุได้
๑๖ ปี เจ้ามหาชนกก็เรียนศิลปศาสตร์ ๑๘ ประการจบหมด ผิวพรรณของเจ้ามหาชนกผ่องใสเปรียบ
เหมือนทองคำความคิดที่จะเอาสมบัติของพ่อ คืนก็มากขึ้น วันหนึ่งจึงเข้าไปถามมารดาว่า

“แม่จ๋า แม่จากเมืองมาแต่ตัวหรือว่าได้สมบัติของพ่อมาบ้าง”

“เจ้าถามทำไม”

“เพราะว่าลูกต้องการจะเอาไปทำทุน แก้แค้นเอาสมบัติของพ่อกลับคืนมา”

“แม่เอาแก้วมาด้วย ๓ ดวง เป็นแก้ววิเชียร ๑ ดวง มณีดวง ๑ แก้วมุกดาดวง ๑ แก้วทั้ง ๓ นี้ มีราคามาก
หากจะมาขายก็ได้เป็นเงินเป็นจำนวนมาก พอที่จะทำทุนสำหรับเอาราชสมบัติของพ่อเจ้ากลับคืนมาได้”

“ลูกต้องเอาเพียงครึ่งเดียว เพี่อจะทำทุนไปค้าขายยังสุวรรณภูมิ จะได้รวบรวมเงินทองและผู้คนเพื่อ
ชิงเอาราชสมบัติของพระบิดากลับคืนมาให้ได้”

“เจ้าอย่าไปค้าขายเลย เอาแก้วสามดวงนี้แหละขายซ่องสมผู้คนเถิด เจ้าไปไกลแม่เป็นห่วง”

เจ้ามหาชนกก็ไม่ยินยอม มารดาจึงเอาเงินทองมาให้ เจ้ามหาชนกก็ซื้อสินค้าบรรทุกสำเภาเตรียมจะ
ไปค้าขาย ณ สุวรรณภูมิกับพวกพ่อค้ามากหน้าหลายตาด้วยกัน เมื่อจัดแจงเรียบร้อยแล้ว มหาชนก
ก็มาลามารดาเพื่อจะเดินทาง

“เจ้าจงเดินทางโดยสวัสดิภาพ คิดอะไรให้สมปรารถนา”

มารดาเจ้ามหาชนกให้พรแถมท้ายว่า

“เจ้าจงอย่าจองเวรเลยสมบัติมันเสียไปแล้วก็แล้วไปเถิด เรามีอยู่มีกินก็พอสมควรแล้ว”

แต่เจ้ามหาชนกก็บอกว่าอยากจะเดินทางท่องเที่ยวเป็นการเปิดหูเปิดตา และจะไปเพียงครั้งเดียวเท่านั้น
ในขณะที่เจ้ามหาชนกลงเรือเพื่อเดินทางไปค้าขายยังสุวรรณภูมินั้น ก็พอกับเจ้าโปลชนกกำลังประ
ชวรหนักอยู่ในเมืองมิถิลานคร หลังจากที่ออกเดินทางเห็นแต่น้ำกับฟ้าแล้วประมาณได้สัก ๗ วัน เรือก็
ประสบเข้ากับมรสุมอย่างหนัก ผลสุดท้ายเรือบรรทุกสินค้า และผู้โดยสารก็อัปปางลงท่ามกลาง
เสียงร้องไห้คร่ำครวญของผู้กลัวตาย แต่เจ้ามหาชนกมิได้คร่ำครวญร่ำไรอย่างคนอื่นเขา


แสงเทียน



Create Date : 21 สิงหาคม 2555
Last Update : 21 สิงหาคม 2555 13:40:32 น.
Counter : 609 Pageviews.

5 comments
  
ขณะที่เรือของเจ้ามหาชนกอับปางนั้น ก็พอดีกับเจ้าโปลชนกซึ่งครองราชสมบัติอยู่ ณ กรุงมิถิลาเสด็จ
สวรรคตเพราะโรคาพาธ .. เจ้ามหาชนกมิได้ท้อถอย พยายามว่ายน้ำกระ:-)กระสนเพื่อจะให้รอด
จากความตาย กล่าวว่านานถึง ๗ วัน และในวันที่ ๗ กำหนดได้ ว่าเป็นวันอุโบสถ ก็ยังได้สมาทาน
โดยอธิษธานอุโบสถในขณะลอยคออยู่ในทะเล ..ด้วยบุญบารมีแต่ปางบรรพ์ของเจ้ามหาชนกได้

ทำไว้ให้ ร้อนถึงนางเมขลาซึ่ง กล่าวว่าเป็นผู้รักษาสมุทรดังที่เล่าไว้ในรามเกียรติ์ว่า นางเมขลา
เป็นพนักงานรักษาสมุทร มีแก้วประจำตัวอยู่ ๑ ดวง ถ้านางโยนขึ้นจะเห็นแสงแวววับจับตา ซึ่งเรา
เรียกกันว่าฟ้าแล่บ ได้ไปเล่นกับเทพบุตรและนางฟ้าในเวลานักขัตฤกษ์ได้โยนแก้วเล่นแสง แก้วนี้
ส่องไปจนรามสูรเห็นก็อยากได้ จึงไปไล่หวังจะได้แก้ว แต่ก็ไม่ได้ เพราะนางเมขลาเอาแก้วส่องตา

ทำให้หน้ามืด เลยโมโหขว้างขวานหวังจะฆ่าซึ่งก็ไม่ถูกนาง ทางมนุษย์เราเรียกฟ้าร้องและฟ้าผ่านั้น
เอง นี้แหละเป็นเรื่องของนางเมขลา เผอิญวันเรือแตกนั้นนางเมขลากำลังไปประชุมอยู่กับเทพบุตร
นางฟ้า จวบจนถึงวันที่ ๘ จึงกลับมา ได้เห็นมหาชนกว่ายน้ำอยู่จึงช่วยพาขึ้นจากสมุทรมาไว้ในอุท
ยานของพระเจ้าโปลชนก แล้วก็กลับไปที่อยู่ เจ้ามหาชนก ก็นอนหลับอยู่ในสวนเมื่อเจ้า มหาชนกมา

หลับอยู่ในพระราชอุทยานนั้น พระเจ้ากรุงมิถิลาสวรรคตได้ ๗ วัน ราชธิดาของเจ้าโปลชนกพยายาม
เลือกหาผู้สมควร ให้เสวยราชสมบัติแทนพระบิดา โดยป่าวร้องให้อำมาตย์ข้าราชการมาเฝ้านางจะ
เลือกเอาเป็นคู่ครอง นางก็ไม่เลือกใคร ต่อมาถึงวาระเศรษฐีคฤหบดี ก็ไม่มีใครได้นาง นางจึงปรึกษา
กับราชปุโรหิตว่า จะทำอย่างไรดีจึงจะได้คนมาครองราชสมบัติ ราชปุโลหิตจึงทูลตอบว่า

“ข้าแต่พระแม่เจ้า ตามโบราณมาถ้าพระเจ้าแผ่นดินไม่มีบุตรชาย ถึงแก่สวรรคตแล้ว อำมาตย์ข้าราช
บริพานต่างก็จะเซ่นสรวงสังเวยเทพยดาอารักษ์ เสี่ยงราชรถออกไป ถ้าราชรถไปเกยถูกผู้ใด เห็นที
บุญแล้วก็จงเชิญมาครองราชสมบัติ”

“ถ้าเช่น นั้นท่านอาจารย์จงจัดแจงทำพิธีเสี่ยงราชรถเถิด”

ราชปุโรหิตจึงจัดแจงทำบวงสรวงสังเวยอธิษฐานขอไห้ได้ผู้พระทำการสืบราชสมบัติ แทน แล้วเทียม
รถด้วยม้ามงคลปล่อยออกไป ม้าที่นำรถนั้นเหมือนจะมีหัวใจ หรือไม่ก็ดูเหมือนมีคนมาชักสายขับขี่
ไปให้บ่ายหน้าออกประตูเมืองด้านทิศ ตะวันออก มุ่งหน้าตรงไปยังอุทยานที่เจ้ามหาชนกนอนหลับอยู่
ราชรถไปถึงสวนหลวงก็เลี้ยวเข้าไปภายในสวน เมื่อถึงที่เจ้ามหาชนกนอนอยู่ ก็ไปแล่นวนอยู่สามรอบ
ก็หยุดที่ปลายเท้าของเจ้ามหาชนก ราชปุโรหิตที่ตามราชรถไปเห็นดังนั้นจึงคิดว่า

“ถ้าชายคนนี้เป็นผู้ทีบุญ เวลาได้ยินเสียงดุริยดนตรีคงจะไม่ตื่นตกใจ ถ้าไม่มีบุญคงตื่นตกใจหนีเป็นแน่”

จึงสั่งให้ประโคมดนตรีขึ้นพร้อมกันเสียงดังกึกก้อง

เจ้ามหาชนก ได้ยินเสียงอึกทึกครึกโครม รู้สึกตัวตื่นขึ้นก็เปิดผ้าคลุมหน้าออกดู ก็เห็นคนชุมนุม
กันอยู่มากมายก็รู้ได้ทันทีว่าเรานี่จะถึงแก่สมบัติแล้ว เลยชักผ้าปิดหน้านอนต่อไป ราชปุโรหิตจึงคลาน
เข้าปลายพระบาท เลิกผ้าคลุมออกพิจารณาดูเท้า แล้วประกาศแก่ชนทั้งปวงที่มาร่วมชุมนุมกันว่า

“อย่าว่าแต่จะครองสมบัติในเมืองเท่านี้แม้ราชสมบัติทั้ง ๓ ทวีป ท่านผู้นี้ก็สามาถจะครอบครองได้"

แล้วจึงสั่งให้ประโคมดนตรีขึ้นอีกครั้งหนึ่ง คราวนี้ดังยิ่งกว่าคราวแรกเสียอีก เจ้ามหาชนกจึงเปิดผ้า
มองดู ราชปุโรหิตจึงทูลว่า

“ข้าแต่พระองค์ อย่าทรงบรรทมอยู่เลย สมบัติในเมืองมิถิลานี้มาถึงแล้ว”

เจ้ามหาชนกจึงครัสถามว่า

“พระเจ้าแผ่นดินของพวกท่านไปไหนเสียเล่า จึงมาหาคนอย่างเราไปเป็นพระเจ้าแผ่นดิน”

“ขอเดชะ พระราชาพระองค์ก่อนได้เสด็จสวรรคตได้ ๗ วันแล้วพระเจ้าข้า”

“พระราชโอรสของพระเจ้าแผ่นดินท่านไม่มีหรือ”

“ขอเดชะ ไม่มีพระเจ้าข้า มีแต่พระราชธิดาองค์เดียวเท่านั้น”

“ถ้าอย่างนั้นเราจะรับครองราชสมบัติ”

ราชปุโรหิตจึงเอาเครื่องทรงมาถวายให้เจ้ามหาชนกทรงทำพิธีมอบราชสมบัติกัน ณ ที่นั้นเอง แล้วจึง
ได้เสด็จขึ้นสู่พระราชมณเฑียร พระราชธิดา คิดจะลองดูว่าคนผู้นี้จะมีปัญญาหรือไม่จึงตรัสให้ราช
บุรุษคนหนึ่งไปทูลเจ้ามหาชนก ว่าพระราชธิดารับสั่งให้เสด็จเข้าไปเฝ้า แต่เจ้ามหาชนกทำเป็นไม่
ใส่ใจ เพียงดำเนินชมปรางค์ปราสาท ที่นั่นก็สวย ที่นี่ก็สวย แม้พระราชธิดาจะใช้ไห้มาเชิญ ๒ ครั้ง

ก็ยังปฎิบัติเช่น ต่อมาเมื่อ ได้เวลาพอสมควรแล้ว เจ้ามหาชนกก็ได้เสด็จขึ้นสู่เรือนหลวง พระราชธิดา
เสด็จออกมารับถึงบันได ยื่นพระหัตถ์ให้เจ้ามหาชนก ๆ จึงจับมือ พระราชธิดาพาเข้าไประทับภายใน
พร้อมกับดำรัสเรียกราชปุโรหิตแล้วถามว่า

“พระราชาของพวกท่านจวนจะสวรรคต ได้รับสั่งข้อความว่าอย่างไรไว้บ้าง”

“บอกไว้ว่ามีอะไรบ้าง”

“ขอเดชะ มีรับสั่งไว้หลายประการ”

“ข้อแรก ถ้าผู้ใดทำให้สิวลีราชธิดาของเรายินดีได้ก็ให้ยกราชสมบัติให้ผู้นั้น”

“ข้อนี้ไม่มีปัญหาแล้ว พระนางได้ยื่นมือให้เราพาเข้าในเรือนหลวงแล้ว ข้อต่อไปเล่า”

“ข้อต่อไปนี้ให้ผู้ที่รู้จักบัลลังก์ ๔ เหลี่ยม ว่าที่ใดเป็นปลายเท้าและทางใดเป็นทางศีรษะ”

พอได้ยิน เจ้ามหาชนกแกล้งทำเป็นไม่สนใจ หันไปสนทนากับสิวลีราชธิดาเสีย พร้อมถอดปิ่นจาก
ศีรษะส่งให้พระราชธิดาซึ่งนางก็รู้ได้เท่าทัน รับปิ่นแล้ววางที่บัลลังก์ ๔ เหลี่ยม แล้วหันไปถามปุโรหิต

“ท่านว่าอย่างไรข้อต่อไป”

“ข้อต่อไปคือบัลลังก์ ๔ เหลี่ยม ให้รู้จักว่าทางไหนเป็นด้านเท้าและด้านศีรษะ”

เจ้ามหาชนกชี้ไปที่ด้านปิ่นวางอยู่ พลางบอกว่า

“ทางด้านนั้นแหละเป็นด้านศีรษะ”

“ขอเดชะ ข้อที่ ๓ เรื่องประลองกำลังพะย่ะค่ะ”

“ลองอย่างไร”

“ที่เมืองนี้มีธนูอยู่คันหนึ่งต้องใช้คนถึง ๑.๐๐๐ คน จึงจะดึงสายธนูนี้ได้ ถ้าผู้ใดโก่งคันธนูคันนี้ได้ก็ให้
ราชสมบัติแก่ผู้นั้น”

“ข้อนี้ไม่ยาก พวกท่านไปเอาธนูคันนั้นมา”

ราชปุโรหิต จึงให้ทหารไปเอาธนูอันใหญ่โตมโหฬารมา ณ ที่นั้น เจ้ามหาชนกก็เสด็จลงไปหยิบคัน
ธนูขึ้นมา ประดุจว่าของเบา แล้วลองขึ้นสายโก่งดูได้อย่างง่ายดายเพระเจ้ามหาชนกทรงกำลัง
ประดุจช้างสาร เสร็จแล้วก็ลดสายวางคันธนูลงดังเก่า

“ข้อต่อไปเป็นเรื่องของการค้นหาขุมทรัพย์”

“พระองค์ตรัสไว้อย่างไร”

“พระองค์ตรัสว่า ขุมทรัพย์แห่งหนึ่งอยู่ในที่พระอาทิตย์ขึ้น"

“เวลานี้ไม่พอจะค้นหาขุมทรัพย์ เอาไว้พรุ่งนี้ค่อยค้นหากันเถิด”

เป็นอันว่าวันนั้นเจ้ามหาชนกได้แสดงทั้งปัญญา และกำลังปรากฎแก่มหาชนทั้งปวงแล้ว
รุ่งขึ้น
เจ้ามหาชนกก็ได้ให้ประชุมราชปุโรหิต และเสนาข้าราชบริพารทั้งปวงแล้วถามว่า

“ขุมทรัพย์ข้อต้นของพระราชาว่าอย่างไร”

“ขอเดชะ”

ราชปุโรหิตกล่าวว่า

“ข้อแรกที่ว่าขุมทรัพย์ ที่ ๑ ของเราอยู่ในที่พระอาทิตย์ขึ้น”

“พวกท่านคิดว่าอย่วงไร”

“พวกข้าพระองค์คิดว่าขุมทรัพย์นี้คงจะอยู่ในทางทิศตะวันออกของพระราชวัง พระเจ้าข้า”

“แล้วพวกท่านทำอย่างไรต่อไป”

"พวกข้าพระองค์ก็พากันขุดค้นในภาคพื้นทางด้านตะวันออก ในที่ ๆ สงสัยว่าจะฝังขุมทรัพย์ไว้”

“แล้วได้ผลเป็นอย่างไร”

“ผลคือไม่พบขุมทรัพย์อะไรเลย”

“ก็เป็นอันว่าพวกท่านไม่สามารถจะค้นหาได้แล้วใช่ไหม”

“พระเจ้าข้า”

“พระราชาของพวกท่าน ยังนิมนต์พระเข้ามาในพระราชนิเวศน์เพื่อถวายทานบ้างหรือเปล่า”

“ขอเดชะ ข้อนั้นเป็นกิจวัตรประจำวันของพระราชาของพวกข้าพระองค์ทีเดียว พระองค์นิมนต์พระ
ปัจเจกโพธิมารับอาหารบิณฑบาตในพระราชนิเวศน์ทุกวัน”

“พวกท่านทราบไหมว่าพระปัจเจกโพธินั้นเวลาพระราชาของพวกท่านเสด็จไปรับที่ใด หรือให้ใครไป
คอยรับ”

“ขอเดชะ พระราชาเสด็จประทับยืนคอยรับอยู่ ณ บริเวณพระลานประจำเสมอ โดยมิได้ส่งใครไป
คอยรับแทนพระองค์เลย”

“ถ้าเช่นนั้นพวกท่านจงไปขุดในที่ ๆ พระราชาของพวกท่านยืนคอยรับอยู่ที่นั้นเถิด”

พวกอำมาตย์ ได้ยินดังนั้นก็ให้จัดแจงจอบเสียมแล้วพาไปขุดในที่นั้น ก็พบสมบัติของพระราชาเป็น
ขุมแรก ก็พากันดีประหลาดใจ เมื่อกลับมาก็พากันส่งเสียงด้วยความปีติว่า

“ขอเดชะ ขุมทรัพย์ที่พระองค์ชี้ให้ขุดนั้นพบแล้วพระเจ้าข้า”

“เออ พบแล้ว ขุดขึ้นเสียให้หมด แล้วนำมาเก็บไว้ในพระคลังหลวง”

“พวกข้าพระองค์สงสัย”

“สงสัยอะไรล่ะ”

“ทำไมพระองค์จึงชี้ให้ขุดที่นั้น”

“เพราะพระปัจเจกโพธินั้นเปรียบประดุจพระอาทิตย์เมื่อท่านคอยยืนรับที่ใด ก็เเสดงว่าที่นั้นมีขุมทรัพย์
อยู่ เราจึงชี้ให้ท่านขุดในที่นั้น แล้วก็ข้อต่อไปเล่าพระองค์ตรัสว่าอย่างไร”

“ขอเดชะ ข้อต่อไปพระองค์ตรัสว่า ขุมทรัพย์ในที่พระอาทิตย์อัสดง”

“แล้วพวกท่านได้ขุดค้นหากันบ้างหรือเปล่า”

“ข้อนี้เปล่าพระเจ้าข้า เพราะขุมทรัพย์ที่หนึ่งยังไม่ได้เลยคิดเสียว่าเหลวไหลมากกว่า พระเจ้าค่ะ”

“ถ้าอย่างนั้น พวกท่านจะบอกว่าให้เราทราบได้หรือไม่ว่าเวลาเลี้ยงดูพระปัจเจกโพธิเสร็จแล้ว เวลา
กลับพระปัจเจกโพธิกลับทางใด”

“ขอเดชะ เวลากลับพระปัจเจกโพธิจะกลับทางท้ายพระราชมณเฑียร”

“แล้วพระราชาของพวกท่านไปส่งเสด็จด้วยหรือเปล่า”

“ไปส่งเสด็จเป็นประจำเลยพระเจ้าค่ะ”

“เวลาไปส่งนั้น พระองค์เสด็จประทับที่ใดล่ะ”
โดย: แสงเทียน (Faraday ) วันที่: 21 สิงหาคม 2555 เวลา:13:42:19 น.
  
“ เวลาไปส่งนั้น พระองค์ประทับยืน ณ สนามท้ายพระราชมณเฑียรเป็นประจำพระเจ้าข้า”

“ถ้าเช่นนั้นพวกท่านลองไปขุดที่ ๆ พระราชาเสด็จประทับยืนที่นั้นดู"

พวกอำมาตย์ข้าราชบริพารก็พากันไปขุด ก็พบขุมทรัพย์เป็นครั้งที่ ๒ ก็พากันคิดประหลาดใจว่าทำไม
พระราชาองค์ใหม่ของพวกเขาจึงชี้ให้ขุดได้แม่นถึง เพียงนี้ เพราะว่าพวกเขาเองพยายามขุดค้นหาจน
กระทั่งคิดว่าขุมทรัพย์ดังกล่าวนี้คงเป็น เรื่องเล่าต่อ ๆ กันมาอย่างไร้สาระโดยไม่มีความจริง จึงพากัน
โห่ร้องแสดงความยินดีอย่างกึกก้องโกลาหล และพากันเข้ามากราบทูลว่าได้พบสมบัติขุมที่ ๒ แล้ว

“ขุมที่ ๓ พระราชาของพวกท่านตรัสไว้ว่าอย่างไร”

“ทรงตรัสว่า ขุมที่หนึ่งอยู่ภายใน”

“พวกท่านได้ค้นหาหรือยังว่าอยู่ที่ใด”

“พวกข้าพระเจ้าไม่ได้ค้นหา เพราะคิดว่าคงเหลวเหมือนขุมอื่น ๆ นั้นเเหละ”

“ประตูหลวง พวกท่านได้สังเกตหรือเปล่าว่ามีอะไรที่น่าสงสัยบ้าง”

“พวกข้าพระบาทไม่เคยสงสัย และไม่เคยสังเกตเสียด้วยว่าทีอะไร”

“พวกท่านลองไปขุดใกล้ ประตูพระราชนิเวศ ในบริเวณภายในประตูดูที ถ้าโชคของเรายังดีก็อาจจะตี
ปัญหาออก “

พวกอำมาตย์ก็พากันไปขุด ก็พบอีกตามความบอก ก็ได้กลับมากราบทูลว่าพบได้แห่งที่ ๓ แล้วตาม
ความคาดหมาย ได้ตรัสถามถึงขุมที่ ๔ ต่อไป พวกข้าราชบริพารก็ทูลว่า

“ขุมหนึ่งอยู่ภายนอก”

ก็ทรงชี้ให้ขุดที่ใกล้ประตูพระราชนิเวศ แต่อยู่ภายนอกประตู ก็ได้พบอีก ข้าราชบริพานก็โห่ร้องด้วย
ความยินดี ว่าพระราชาใหม่ของพวกเรานี้ช่างทรงปัญญาเกินสามัญชนทีเดียว อันขุมทรัพย์นี้พวกเรา
เที่ยวค้นหาตามที่ต่าง ๆ จนทอดอาลัยแล้วว่าเป็นของไม่จริง นับเป็นลาภทีพวกเราได้พระราชาที่
ทรงปัญญาอย่างนี้ เมื่อกราบทูลให้ทรงทราบว่าได้พบขุมทรัพย์ที่ ๔ ก็ตรัสถามว่า

“ทรงตรัสไว้เพียงเท่านี้หรืออย่างไร”

“หามิได้ พระองค์ยังตรัสไว้อีก”

“ตรัสไว้ว่า ขุมทรัพย์อีกขุมหนึ่งไม่ได้อยู่ข้างนอกและข้างใน”

“ถ้าเช่นนั้นพวกท่านจงขุดลงที่ธรณีประตูพระราชนิเวศ”

เมื่อพวกอำมาตย์ราชปุโรหิตขุดลงไปที่ธรณีประตู ก็พบขุมทรัพย์ดังกล่าว

“แล้วตรัสอย่างไรอีก”

“ตรัสว่า ขุมหนึ่งอยู่ในที่ขึ้น”

“จงขุดที่ประตูขึ้นพระราชนิเวศ”

พวกอำมาตย์ได้พากันขุดลงไป ก็พบขุมทรัพย์อีกขุมหนึ่งในประตูราชนิเวศ

“ตรัสว่า ขุมทรัพย์หนึ่งอยู่ในที่ลง”

“พระราชาของพวกท่านเวลาเสด็จออกจากพระราชนิเวศนั้น โดยปกติเสด็จด้วยอะไร”

“ส่วนมากพระองค์เสด็จทรงคชสาร เสด็จเที่ยวตรวจโรงทานและความทุกข์สุขของราษฎร"

“แล้วเสด็จกลับลงจากคชสาร ณ ที่ใด”

“ขอเดชะ เสด็จลงเกยชาลาข้างหน้า”

“พวกท่านจงไปขุดที่หน้าเกยเป็นที่เสด็จลงนั้นเถิด”

พวกอำมาตย์พากันไปขุด ก็พบขุมทรัพย์ตามที่คาดและได้ทูลให้ทราบต่อไปว่าพระราชาของพวกเขา
ได้ตรัสว่า

“ขุมทรัพย์ขุมหนึ่งอยู่ในระหว่างไม้สี่”

“พวกท่านเคยเห็นไม้รังหรือเปล่า”

“เคยเห็นพระเจ้าค่ะ”

“เคยมีอยู่ที่ไหนเล่า”

“อยู่ในพระราชอุทยานพระเจ้าค่ะ”

“ไม้รังนั้นมี ๔ ต้น หรือเปล่า”

“ขอเดชะ ไม้รังนั้นมีมากกว่า ๔ ต้น แต่ว่ามิได้ขึ้นเป็น ๔ เหลี่ยม ๔ มุมเลย แต่มีขึ้นเรียงรายกันไป”

“แล้วพวกท่านเข้าใจว่าอย่างไรเล่า”

“พวกข้าพระองค์คิดว่าอยู่ในพระราชอุทยานเป็นแน่พระเจ้าข้า” พวกท่านเคยขุดบ้างหรือเปล่า”

“เปล่าเลยพระเจ้าค่ะ”

“ถ้าพวกท่านไปขุดในพระราชอุทยานก็คงเหนื่อยเปล่าเพราะจะไม่พบขุมทรัพย์ในนั้นเลย”

“ถ้าอย่างนั้นจะให้ขุดที่ใดพระเจ้าค่ะ จึงจะพบขุมทรัพย์”

“ท่านจงขุดที่ทวารทั้ง ๔แห่ง ที่มีพระแท่นทำด้วยไม้รังอยู่”

พวกอำมาตย์ก็ไปขุดก็พบทั้ง ๔ แห่ง และได้ทูลต่อไปว่า

“พระราชาของพวกข้าพระองค์ได้ตรัสไว้อีกว่า ขุมทรัพย์อยู่ประมาณโยชน์หนึ่ง”

“พวกท่านได้ขุดหาบ้างหรือเปล่าล่ะ”

“พวกข้าพระองค์ได้พาไปขุดในบริเวณในป่าที่ห้างจากเมืองไปประมาณโยชน์หนึ่งพระจ้าค่ะ”

“แล้วไม่พบอะไรเลยเชียวรึ”

“ไม่พบเลยพระเจ้าค่ะ”

“ถ้าเช่นนั้นลองทดลองดูว่าเราจะคิดปัญหานั้นตกหรือไม่พวกท่านจงลองวัดจากแท่นบรรทมไปดูข้าง
ละ ๔ ศอก แล้วลองคุดไปดูซิจะพบอะไรบ้าง”

พวกอำมาตย์ได้วัดจากทิศตะวันออกครบ ๓ ศอก แล้วก็ขุดลงไปพบขุมทรัพย์ ทิศเหนือ ทิศใต้ ทิศตะ
วันตก รวม ๔ ทิศ ก็พบทั้งสิ้น จึงพากันมากราบทูล

“ขอเดชะ พวกจ้าพระองค์ได้ไปขุดค้นตามที่ทรงแก้ปัญหาแล้ว ปรากฎว่าพบทุกแห่งพระเจ้าค่ะ แต่
พวกข้าพระองค์ เกิดสงสัยว่าทำไมพระราชาตรัสว่าขุมทรัพย์อยู่ในโยชน์หนึ่งแต่นี้ห่างจากพระ
แท่นบรรทมเพียง ๔ ศอก เท่านั้น ขอพระองค์ได้โปรดให้ความแจ่มแจ้งด้วยเถิดพระเจ้าค่ะ”

“ถ้าเช่นนั้นพวกท่านฟังให้ดี โยชน์หนึ่งนั้นมี ๔๐๐ ศอก ใคร ๆ ก็รู้จักด้วยกันทั้งนั้น เส้นหนึ่งที ๒๐ วา ๆ
หนึ่งมี ๔ ศอก นี่ก็เป็นจำนวนใหญ่ ๆ ก็พวกท่านว่าไม่พบในโยชน์หนึ่ง เราคิดว่าศอกอันนั้นจะนับเป็น
วาเป็นเส้นเป็นโยชน์นั้นมีเพียง ๔ ศอกเท่านั้น เราจึงคิดปัญหาข้อนี้เพียงแค่ ๔ ศอก”

พวกอำมาตย์ข้าราชบริพารต่างก็ส่งเสียงแสดงความยินดีกึกก้องไปทั่วพระลาน

“ปริศนาของพระราชาหมดแล้วหรือยัง”

“ยังพระเจ้าค่ะ”

“มีอะไรอีกล่ะ ว่าไปดูทีหรือ”

“พระองค์ตรัสว่า ขุมทรัพย์หนึ่งอยู่ที่ปลายงา”
โดย: แสงเทียน (Faraday ) วันที่: 21 สิงหาคม 2555 เวลา:13:43:36 น.
  
เจ้ามหาชนกก็ให้ขุดที่โรงไว้คชสาร ตรงที่พญาเศวตกุญชรยืนปลายงาจรดดิน ก็ได้ดังประสงค์
และให้ขุดตามที่อำมาตย์ทั้งหลายบอกปริศนาก็ได้ดังดำรัส ข้าราชบริพารทั้งหลายพากันโห่ร้องกึก
ก้องสรรเสริญพระปัญญาบารมีของพระองค์ เอิกเกริกไปทั่วพระนคร เมื่อไต่ถามทราบว่า หมดข้อ
ความที่พระราชาตรัสไว้แล้วก็ให้จำหน่ายจ่ายแจกพระราชทรัพย์ โดยให้จัดสร้างโรงทาน ๖ แห่งคือ
กลางเมือง แห่งหนึ่ง ที่ประตูเมืองด้านเหนือ ด้านใต้ ด้านตะวันตก ด้านตะวันออก รวม ๔ แห่ง
และประตูพระราชนิเวศอีกแห่งหนึ่ง แล้วตรัสให้คนไปรับพระมารดามาจากเมืองกาลจัมปา พร้อม
กับให้รางวัลท่านอาจารย์ที่มารดาของพระองค์ไปอาศัยอยู่ ความจริงได้ปรากฎออกมาว่าพระองค์
ไม่ใช่ใครอื่นเลยแท้ที่จริงเป็นพระโอรสชอง พระเจ้าอริฎฐาชนกนั่นเอง แล้วจึงให้มีการสมโภช
ในการเสวยราชสมบัติ เมื่อออยู่พระองค์เดียวก็ทรงรำพึงว่า เพราะพระองค์ไม่ทอดทิ้งความเพียร
พยายามในการที่เอาตัวรอดจากภัยอันตรายจึง ได้ประสบสุขถึงเพียงนี้ ฉะนั้นเกิดเป็นคนควรพยา
ยามเรื่อยไปจนกว่าจะสำเร็จความประสงค์ พระองค์ได้เสวยราชสมบัติอยู่ช้านาน จนมีพระโอรส
ทรงพระนามว่า ทีฆาวุ เมื่ออายุเจริญวัยแล้วก็ได้ตั้งให้เป็นอุปราช

วันหนึ่งเจ้าพนักงานพระอุทยาน ได้นำพืชพรรณชนิดต่าง ๆ มาถวาย ทรงถามได้ความว่า นำมาจาก
พระราชอุทยานก็คิดจะไปประพาส จึงตรัสสั่งให้ข้าราชบริพารจัดกระบวนไปเสด็จประพาส ในขณะที่
ทรงช้างเสด็จถึงประตูสวนก็เห็นมะม่วงต้นหนึ่งมีลูกดก แลดูเต็มต้นไปทั้งต้น กำลังอยากเลยเสด็จลุก
ขึ้นยืนบนหลังช้าง เก็บมะม่วงลูกหนึ่งมาเสวย แล้วก็เลยเข้าไปประพาสในพระราชอุทยาน ทรงสำ
ราญอยู่ในพระราชอุทยานนั้นจนกระทั่งเย็นจึงเสด็จออกมา พอถึงประตูสวน พระองค์ก็แปลกพระทัย
เพราะปรากฎว่ามาม่วงต้นที่มีลูกเต็มไปหมดนั้น จะหาแม้แต่ลูกเดียวก็ไม่พบ แถมข้างล่างยังเต็มไป
ด้วยกิ่งก้านสาขาที่หัก ใบอ่อนใบแก่หล่นเกลื่อนกลาดไปทั้งบริเวณโคนต้น จึงตรัสถามผู้รักษา
สวนว่าเป็นเพราะเหตุอะไรจึงเป็นเช่นนั้น เขากราบทูลให้ทราบว่า เพราะประชาชนเห็นว่ามะม่วง
ต้นนั้นพระองค์เสวยแล้ว เขาพากันมาเก็บ ต่างยื้อแย่งกัน สภาพของต้นมะม่วงจึงเป็นอย่างที่ทอด
พระเนตรบัดนี้พระองค์ได้ทรงสดับ จึงเกิดความคิดขึ้นว่า มะม่วงต้นนี้เพราะมีลูกจึงต้องมีสภาพ
เช่นนี้ ถ้าไม่มีลูกก็คงจะไม่ต้องหักยับเยินอย่างนี้ ถ้าเราไม่มีราช สมบัติเสียก็จะหาคนปองร้ายมิได้
พระราชาเสด็จพระนคร เสด็จขึ้นปราสาท. ประทับที่พระทวารปราสาท ทรงมนสิการถึงวาจาของ
นางมณีเมขลา ในกาลที่นางอุ้มพระมหาสัตว์ขึ้นจากมหาสมุทร. พระราชาทรงจดจำคำพูดของเทวดา
ไม่ได้ทุกถ้วยคำ เพราะพระสรีระเศร้าหมองด้วยน้ำเค็มตลอดเจ็ดวัน. แต่ทรงทราบว่า เทวดากล่าวชี้
ว่าพระองค์จะยังเข้ามรรคาแห่งความสุขไม่ได้ หากไม่กล่าวธรรมให้สาธุชนได้สดับ.
นางมณี
เมขลาให้พระองค์ตั้งสถาบันการศึกษา ให้ชื่อว่า ปูทะเลย์มหาวิชชาลัย. แม้ในกาลนั้นก็จะสำเร็จ
กิจและได้มรรคาแห่งบรมสุข. พระมหาสัตว์ทรงดำริว่า : “ทุกบุคคลจะเป็นพ่อค้าวาณิช เกษตร
กร กษัตริย์ หรือสมณะ ต้องทำหน้าที่ทั้งนั้น. อย่างไรก็ตาม ก่อนอื่นเราต้องหาทางฟื้นฟูต้นมะม่วง
ที่มีผล. เมื่อพระองค์ดำริฉะนี้แล้ว พอเสด็จเข้ามาถึงพระราชวังก็ตรัสเรียกอำมาตย์มาสั่งว่า

“ต่อไปนี้ไปปราสาทของเราห้ามคนไปมา นอกจากผู้ที่จะนำอาหารเข้ามาให้เราเท่านั้น เมื่อมีราชกิจ
ใดมีมาพวกท่านจงช่วยกันพิจารณาจัดไปตามความคิด เราจะจำศีลภาวนาสักระยะหนึ่ง”

และนับแต่นั้น พระมหาชนกก็บำเพ็ญสมณธรรมอยู่ในพระปรางค์ประสาทมิได้เสด็จไปทางใดเลย
พวกพสกนิกรทั้งหลายพากันสงสัยสนเท่ห์ว่าพระราชาของพวกเขาเสด็จไปอยู่แห่งใด เคยสนุก
สนานรื่นเริงในการดูมหรสพก็มิได้มี

บัดนี้พระองค์ไปที่ใดหรือจะสิ้นพระชนม์เสียแล้ว พากันปรับทุกข์และเล่าลือไปต่าง ๆ นานา แม้จะ
มีเสียงเล่าลือใด ๆ แต่พระองค์ตรัสห้ามข่าวสารทั้งปวงสิ้น เมื่อบำเพ็ญสมธรรมอยู่ในปราสาทนาน ๆ
เข้าก็คิดจะออกไปอยู่ป่า เพราะในพระราชวังยังมีเสียงอื้ออึงไม่มีความสงบ วันหนึ่งนายกัลบกมาเพื่อ
ชำระพระเกศา พระมัสสุได้ทรงตรัสให้ปลงเสียทั้งหมด แล้วทรงนุ่งห่ทผ้ากาสาวะ เสด็จประทับ
อยู่ในปราสาท ตั้งพระทัยว่ารุ่งขึ้นจะเสด็จออกไปบำเพ็ญพรตในป่า

ในวันนั้นเองพระสิวลีเทวีผู้อัครชายา คิดว่าเรามิได้พบเห็นพระสวามีของเราถึง ๕ เดือนแล้ว ควรจะ
ไปเยี่ยมเยือนเสียที จึงสั่งให้นางสนมกำนัลตกแต่งร่างกาย แล้วพาไป ณ ปรางค์ปราสาทของพระเจ้า
มหาชนก พอย่างขึ้นบนปรางค์ปราสาทก็ให้นึกเอะใจ เพราะปรากฎว่าเส้นพระเกศาซึ่งนายภูษา
มาลาเก็บรวบรวมไว้ยังมิได้นำไปที่อื่น
และ
เครื่อง ทรงพระมหากษัตย์วางอยู่ และขณะนั้นก็ได้เห็นพระปัจเจกโพธิองค์หนึ่งดำเนินสวนทางลับ
ตานางไป นางยังมิทันคิด แต่เมื่อเห็นเส้นพระเกศาและเครื่องทรง จึงคิดได้ว่าเมื่อกี้เห็นจะเป็นพระสวา
มีเป็นแน่ มิใช่พระปัจเจกโพธิจึงตรัสเรียกนางสนมกำนันว่า

“แม่นางทั้งหลาย พวกเราพากันติดตามพระสวามีเถิดเมื่อกี้ไม่ใช่พระปัจเจกโพธิดอก แต่เป็นพระราช
สวามีของพวกเรา”

พร้อมทั้งทรงกันแสงไปด้วย แล้วพากันติดตามไปก็ทันพระมหาชนก ต่างพากันร้องไห้คร่ำครวญ
รำพันด้วยประการต่าง ๆ แต่พระมหาชนกก็มิได้เสด็จกลับพระราชเทวีก็คิดอุบายให้ประชาชนพลเมือง
นำเอาเชื้อไฟมากอง แล้วจุดไฟขึ้นนแทบทั่วพระนคร แล้วไปทูลเชิญให้กลับมาดับไฟเพราะพระราช
วังไหม้หมด แต่พระมหาชนกก็มิได้เสด็จกลับ โดยคิดว่า

“เราเป็นบรรชิต ไม่มีสมบัติอันใด”

แม้พระราชเทวีจะทำกลอุบายประการใด พระองค์ก็หากลับไม่ คงมุ่งหน้าไปสู่ไพรพฤกษ์ข้างหน้าเท่า
นั้น พระราชเทวีสนมกำนัล และข้าราชบริพารพากันติดตามไปอ้อนวอนให้เสด็จกลับเข้าครองราช
สมบัติดังเก่า แต่พระองค์ก็หากลับไม่ คนเหล่านั้นก็ยังติดตามเรื่อยไปพระองค์เห็นว่ามหาชนจะทำให้
การบำเพ็ญพรตของพระองค์เป็นไปไม่ได้สดวก จึงหันกลับมาขีดเส้น พร้อมกับตรัสถามว่า

“พวกท่านทั้งหลาย ใครเป็นพระเจ้าแผ่นดินของพวกท่าน”

“พระองค์เป็นพระเจ้าแผ่นดินของพวกข้าพระองค์”

“ถ้าเช่นนั้นใครข้ามเส้นนี้มาจะต้องได้รับพระราชอาญา”

แล้วพระองค์ก็เสด็จต่อไป

คนทั้งหมดก็ไม่อาจจะล่วงพระราชอาญาได้ ก็ได้แต่พากันร้องไห้คร่ำครวญรำพันไปด้วยประการ
ต่าง ๆ พระนางสิวลีถึงกับพระกันแสงกลิ้งเกลือกกับพื้นดินจนกระทั่งรอยขีดที่พระราชาขีดไว้ลบเลือน
ไป คนเหล่านั้นเห็นว่าไม่มีรอยขีดแล้ว ก็พากันติดตามไปอีก
โดย: แสงเทียน (Faraday ) วันที่: 21 สิงหาคม 2555 เวลา:13:44:29 น.
  
พระนารทดาบสเกรงว่าพระมหาชนกจะมีพระทัยท้อแท้ไป จึงมาปลอบใจไม่ให้คลายมานะ
ที่จะปฎิบัติธรรม แล้วก็หลีกไป พระมหาชนกก็ดำเนินเรื่อยไป และพระสิวลีเทวีก็เสด็จติด
ตามไปเช่นเดียวกัน ตราบจนกระทั่งถึงเมืองถุนันนคร พระองค์ก็เสด็จผ่านเข้าไปในเมืองนั้น

ชายคนหนึ่งวางชิ้นเนื้อไว้บนเขียง แล้วตนเองก็หันไปทำงานอื่นเสีย สุนัขเห็นได้ท่วงทีก็วิ่งมา
คาบก้อนเนื้อได้ก็วิ่งหนีไป ชายผู้เป็นเจ้าของเนื้อเห็นก็ละจากงานเสียแล้ววิ่งไล่ขับสุนัขไป
เมื่อสุนัขวิ่งหนีมาพบพระมหาชนกเดินสวนทางมา อารามกลัวเลยทิ้งก้อนเนื้อเสียแล้ววิ่งหนี
ต่อไป พระมหาชนกคิดว่าเนื้อก้อนนี้ไม่มีเจ้าของมิได้ ก็หยิบขึ้นมาปัดดินทรายออกเสียแล้ว
ใส่ลงบาตร แล้วเสด็จไปนั่งฉัน ณ ที่แห่งหนึ่ง พระเทวีเห็นอากัปกิริยาเช่นนั้นก็สลดใจว่า แม้
แต่สมบัติพัสถานทั้งหลายท่านก็เสียสละหมดแล้ว เสวยได้แม้แต่ของเดนสุนัข เพราะฉะนั้นที่
พระองค์จะกลับคืนมาครองเมืองดังเก่าไม่มีแน่แล้วแต่ด้วยความ อาลัยก็ยังติดตามพระองค์
เรื่อยมา

จนกระทั่งถึงเมืองถุนันนคร เห็นเด็กผู้หญิงมือข้างหนึ่งใส่กำไลสองเส้น ข้างที่มีกำไล สอง
ข้างก็กระทบกันดังกรุ๊งกริ๊งตลอดเวลาที่เคลื่อนไหว พระมหาชนกจึงเสด็จเข้าไปตรัสถามเด็ก
จึงบอกว่า

“ข้างที่มีสองข้างที่ส่งเสียงดัง เพราะมันกระทบกันกระทั้งกัน ท่านเดินมาด้วยกัน ๒ คน จะไป
ทางใดเล่า”

พระมหาชนกได้ฟังคำกุมาริกาแล้วคิดว่า

“สตรีเป็นมลทินของพรมจรรย์ ควรจะให้พระสิวลีแยกทางไปเสีย”

เมื่อถึงหนทางสองแพร่งจึงบอกกับนางว่า

“น้องหญิง นับแต่นี้ต่อไปเราแยกทางกันเดินเถิด และอย่าเรียกเราเป็นสามีอีกต่อไป เจ้าจง
เลือกทางเอาว่าจะไปทางใดดี”

พระนางสิวลีทรงเศร้าโศกและตรัสตอบว่า
“ข้าแต่พระองค์ ข้าพระบาทมีชาติอันต่ำช้า ขอเลือกไปทางซ้าย ขอพระองค์ เสด็จไปทาง
ขวาเถิด”

บัดนี้พระองค์ไปที่ใดหรือจะสิ้นพระชนม์เสียแล้ว พากันปรับทุกข์และเล่าลือไปต่าง ๆ นานา
แม้ เมื่อพระมหาชนกแยกทางไปแล้ว พระนางมีความอาลัยก็เสด็จตามติดไปด้านเบื่องหลัง
อีก และเมื่อถูกตัดรอนความเยื่อใย พระนางก็ถึงล้มสลบลง แต่ก็ไม่ทำให้พระมหาชนกกลับ
คืนความคิดได้ คงเสด็จมุ่งหน้าต่อไปเพื่อหาความสงบสงัด จักได้บำเพ็ญพรตภาวนา เมื่อพระ
นางสิวลีฟื้นคืนสติขึ้นมา ก็ได้พบพระสวามีของพระนางได้เสด็จไปเสียแล้ว พระนางจึงดำริว่า
ราชสมบัติทั้งปวงนี้แม้สวามีของเรายังมิได้อาลัยอาวรณ์ เราจะยินดีเพื่อประโยชน์อะไร จึงรับ
สั่งให้เรียกข้าราชบริพารมา แล้วอภิเษกให้เจ้าทีฆาวุเสวยราชสมบัติพระองค์เองก็เสด็จออก
บรรพชา ตราบจนกระทั่งสิ้นชีพไปบังเกิดบนสวรรค์ทั้งสองพระองค์

**************************************************************
คติของเรื่องนี้ควรกำหนด
ขึ้นชื่อว่าเป็นคนแล้ว ทำอะไรต้องหมั่นพยายามทำไป
จนกว่าชีวิตจะสิ้น ผลดีที่จะได้ก็บังเกิดขึ้นแน่นอน
โดย: แสงเทียน (Faraday ) วันที่: 21 สิงหาคม 2555 เวลา:13:45:30 น.
  
การศึกษาให้รู้จักชาดกในพุทธศาสนาจะทำไห้เรามีความเข้าใจในแนวทางประพฤติปฏิบัติ
ของชาวบ้านที่ได้รับการกล่อมเกลา ปลูกฝังมาจากชาดก
เรื่องต่าง ๆ ถ่ายทอดต่อเนื่องกันมาหลายชั่วอายุคน ทำไห้เราเข้าใจเขา และ สังคมไทยเราได้ดีขึ้น

*************************************************************
ชาดก คืออะไร
ขอยกคำอธิบายด้วยข้อมูลในพระไตรปิฏก ดังนี้

*************************************************************
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗
สุตตันตปิฎกที่ ๑๙
ขุททกนิกายชาดก ภาค ๑

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ เป็นภาคแรกของชาดก ได้กล่าวถึงคำสอนทางพระพุทธศาสนา อันมีลักษณะเป็นนิทานสุภาษิต แต่ในตัวพระไตรปิฎก
ไม่มีเล่าเรื่องไว้ มีแต่คำสุภาษิต รวมทั้งคำโต้ตอบในนิทานเรื่องละเอียดมีเล่าไว้ใน อรรถกถา*

*อรรถกถา คือหนังสือที่แต่งขึ้นอธิบายพระไตรปิฎกอีกต่อหนึ่ง

คำว่า ชาตก หรือ ชาดก แปลว่า ผู้เกิด คือเล่าถึงการที่พระพุทธเจ้าทรงเวียนว่ายตายเกิด ถือเอากำเนิดในชาติต่างๆ ได้พบปะผจญกับเหตุการณ์
ดีบ้างชั่วบ้าง แต่ก็ได้พยายามทำความดีติดต่อกันมากบ้างน้อยบ้างตลอดมา จนเป็นพระพุทธเจ้าในชาติสุดท้าย
กล่าวอีกอย่างหนึ่ง จะถือว่า เรื่องชาดกเป็นวิวัฒนาการแห่งการบำเพ็ญคุณงามความดี ของพระพุทธเจ้า ตั้งแต่ยังเป็นพระโพธิสัตว์อยู่ก็ได้

ในอรรถกถาแสดงด้วยว่า ผู้นั้นผู้นี้กลับชาติมาเกิดเป็นใครในสมัยพระพุทธเจ้า แต่ในบาลีพระไตรปิฎกกล่าวถึงเพียงบางเรื่อง เพราะฉะนั้น สาระ
สำคัญจึงอยู่ที่คุณงามความดีและอยู่ที่คติธรรมในนิทานนั้นๆ

อนึ่ง เป็นที่ทราบกันว่าชาดกทั้งหมดมี ๕๕๐ เรื่อง แต่เท่าที่ได้ลองนับดูแล้วปรากฏว่า ในเล่มที่ ๒๗ มี ๕๒๕ เรื่อง, ในเล่มที่ ๒๘ มี ๒๒ เรื่อง
รวมทั้งสิ้นจึงเป็น ๕๔๗ เรื่อง ขาดไป ๓ เรื่อง แต่การขาดไปนั้น น่าจะเป็นด้วยในบางเรื่องมีนิทานซ้อนนิทาน และไม่ได้นับเรื่องซ้อนแยก
ออกไปก็เป็นได้ อย่างไรก็ตาม จำนวนที่นับได้ จัดว่าใกล้เคียงมาก

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘
สุตตันตปิฎกที่ ๒๐
ขุททกนิกาย ชาดกภาค ๒

ในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ เป็นเล่มที่รวมเรื่องชาดกที่เล็กๆน้อยๆรวมกันถึง ๕๒๕ เรื่อง แต่ในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ นี้มีเพียง ๒๒ เรื่อง
เพราะเป็นเรื่องยาว ๆ ทั้งนั้น โดย ๑๒ เรื่องแรกเป็นเรื่องที่มีคำฉันท์ ส่วน ๑๐ เรื่องหลัง คือเรื่องที่เรียกว่า มหานิบาตชาดก แปลว่า ชาดกที่
ชุมนุมเรื่องใหญ่ หรือที่โบราณเรียกว่า ทศชาติชาดก

***************************************************
ข้อมูลจาก : พระไตรปิฎกฉบับประชาชน อ.สุชีพ ปุญญานุภาพ
โดย: แสงเทียน (Faraday ) วันที่: 21 สิงหาคม 2555 เวลา:13:46:52 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Faraday
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]



ความสงบเรียบง่าย สอดคล้องกับธรรมชาติ
ความสดชื่นงดงาม สรรพเสียงที่ไพเราะเสนาะหู
คือสิ่งที่ควรรักษาให้ดำรงค์อยู่ ในช่วงชีวิตของเรา

ทำความเข้าใจสังคม สิ่งแวดล้อม ที่เราอาศัยอยู่
และดำเนินชีวิตอย่างสอดคล้องเหมาะสม
คือสิ่งดีที่สุดของการดำรงค์ชีวิต

ถ้าแม้ไม่สมที่หวัง ไม่เป็นไร ลืมมันเสีย
แล้วทำเหตุไหม่เพื่อให้มันเกิดอย่างที่ตั้งใจไว้

--------------------------------------------

สถิติ

จำนวน Blog รวม 448 Blog
จำนวนผู้ชม 200003 ครั้ง
จำนวนผู้ชม Profile 670 ครั้ง
๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๖ (๑๓.๐๗ น.)


จำนวน Blog รวม 445 Blog
จำนวนผู้ชม 197298 ครั้ง
จำนวนผู้ชม Profile 658 ครั้ง
๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๖ (๒๒.๑๗ น.)

จำนวน Blog รวม 423 Blog
จำนวนผู้ชม 140566 ครั้ง
จำนวนผู้ชม Profile 349 ครั้ง
๑๓ มีนาคม ๒๕๕๖ (๐๙.๔๑ น.)


จำนวน Blog รวม 407 Blog
จำนวนผู้ชม 122229 ครั้ง
จำนวนผู้ชม Profile 212 ครั้ง
๒๙ มกราคม ๒๕๕๖ (๐๘.๐๘ น.)

จำนวน Blog รวม 407 Blog
จำนวนผู้ชม 122024 ครั้ง
จำนวนผู้ชม Profile 212 ครั้ง
๒๘ มกราคม ๒๕๕๖ (๑๘.๕๒ น.)

จำนวน Blog รวม 405 Blog
จำนวนผู้ชม 120971 ครั้ง
จำนวนผู้ชม Profile 208 ครั้ง
๒๖ มกราคม ๒๕๕๖ (๙.๓๙ น.)

จำนวน Blog รวม 398 Blog
จำนวนผู้ชม 111449 ครั้ง
จำนวนผู้ชม Profile 167 ครั้ง
๒ มกราคม ๒๕๕๖

จำนวน Blog รวม 391 Blog
จำนวนผู้ชม 102211 ครั้ง
จำนวนผู้ชม Profile 140 ครั้ง
๒ ธันวาคม ๒๕๕๕



จำนวน Blog รวม 390 Blog
จำนวนผู้ชม 92241 ครั้ง
จำนวนผู้ชม Profile 128 ครั้ง
๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๕

จำนวน Blog รวม 375 Blog
จำนวนผู้ชม 81537 ครั้ง
จำนวนผู้ชม Profile 107 ครั้ง
๖ ตุลาคม ๒๕๕๕ ( ๒๑.๓๙ )

จำนวน Blog รวม 374 Blog
จำนวนผู้ชม 80228 ครั้ง
จำนวนผู้ชม Profile 107 ครั้ง
๔ ตุลาคม ๒๕๕๕ ( ๐๙.๒๔ )

จำนวน Blog รวม 361 Blog
จำนวนผู้ชม 78077 ครั้ง
จำนวนผู้ชม Profile 101 ครั้ง
๓๐ กันยายน ๒๕๕๕ ( ๑๕.๑๔ )

จำนวน Blog รวม 361 Blog
จำนวนผู้ชม 77503 ครั้ง
จำนวนผู้ชม Profile 101 ครั้ง
๒๙ กันยายน ๒๕๕๕ ( ๑๑.๑๘ )

จำนวน Blog รวม 269 Blog
จำนวนผู้ชม 38102 ครั้ง
จำนวนผู้ชม Profile 69 ครั้ง
๓๐ กรกฎาคม ๒๕๕๕ (๑๑.๒๕ น.)

จำนวน Blog รวม 210 Blog
จำนวนผู้ชม 18,049 ครั้ง
จำนวนผู้ชม Profile 65 ครั้ง
6 กรกฎาคม ๒๕๕๕ (๑๖.๓๙ น.)

จำนวน Blog รวม 62 Blog
จำนวนผู้ชม 5,278 ครั้ง
จำนวนผู้ชม Profile 65 ครั้ง
๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๕ (๑๐.๑๙ น.)
New Comments
Group Blog