กระเพราพลิกชีวิต เกษตรมั่นคง ชุมชนยั่งยืน




กะเพราพลิกชีวิตเกษตรมั่นคง ชุมชนยั่งยืน



พื้นที่อ. ลาดหลุมแก้ว จ. ปทุมธานี แม้จะมีโรงงาน และโครงการที่พักอาศัยเกิดขึ้นมากมาย แต่ก็ยังคงเป็นหนึ่งในพื้นที่เกษตรกรรมสำคัญของประเทศข้อมูลของสำนักงานเกษตรจังหวัดปทุมธานี ระบุว่าปีพ.ศ. 2558 มีอยู่กว่า 404,700 ไร่ หรือ 42% ของพื้นที่จังหวัดทั้งหมด โดยยังมีเกษตรกรที่ยึดอาชีพทำนา และปลูกพืชสวนเป็นหลักอยู่ แต่เกือบทั้งหมดยังเป็นเกษตรเชิงเดี่ยว มีการใช้สารเคมีสูง ทำให้ประสบปัญหาทางด้านต้นทุนการผลิตและราคาผลผลิตที่ไม่แน่นอน เกษตรกรต้องไถกลบหรือถอนผลผลิตทิ้งเนื่องจากไม่คุ้มทุนกับค่าแรงงานในการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวในช่วงที่สินค้าเกษตรมีภาวะตกต่ำ อีกทั้งการใช้สารเคมีไม่ถูกหลักส่งผลต่อสุขภาพของเกษตรกรและผู้บริโภค ที่สำคัญทำให้เกิดความเสื่อมโทรมต่อทรัพยากรธรรมชาติ ผืนดิน และแหล่งน้ำ




นายสมคิด พานทอง เกษตรกรในพื้นที่เจ้าของแปลงกะเพราป่ากว่า 
15 ไร่ ที่วันนี้ได้พลิกฟื้นชีวิต หลังจากได้เข้าไปศึกษาดูงานที่ศูนย์การเรียนรู้ด้านการเกษตรกับบริษัท ซีพีแรม จำกัด โรงงานลาดหลุมแก้ว ใน ‘โครงการเรียนรู้คู่อาชีพเพื่อวิถีเกษตรที่ยั่งยืน’ได้รับความรู้ในการปลูกพืชภายใต้ จีเอพี (GAP: Good Agricultural Practices) หรือการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีและเหมาะสมมาตรฐานระดับโลกซึ่งเป็นแนวทางการเพาะปลูกอย่างยั่งยืน ปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมเพื่อให้ผลผลิตได้มาตรฐานความปลอดภัยสำหรับตลาดทั้งภายในและต่างประเทศ



“ตั้งแต่ลดการใช้สารเคมีแล้วหันมาใช้สารชีวภาพหรือจุลินทรีย์เป็นส่วนผสมในการเพาะปลูกตามหลักจีเอพี กะเพราของเราจึงปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อมและผู้บริโภคตัวผมและภรรยา รวมทั้งคนงานก็ไม่ต้องเสี่ยงกับการเจ็บไข้ได้ป่วยเหมือนแต่ก่อนนอกจากนี้ยังได้รับคำแนะนำให้ปลูกกะเพราป่าที่มีความหอมกว่ากะเพราพันธุ์อื่น โดยมีบริษัทมารับซื้อผลผลิตในราคาประกันที่เป็นธรรมกับเกษตรกรจึงทำให้ผมมีรายได้ที่มั่นคง จัดการบัญชีก็ง่ายขึ้น รู้รายรับรายจ่ายแต่ละวันได้ทันทีผมปลูกกะเพราป่าส่งขายได้สัปดาห์ละ
700 กิโลกรัม รวมกับกะเพราเกษตรและโหรพา หักต้นทุนแล้ว มีกำไรประมาณเดือนละ 4-5 หมื่นบาท แต่ที่สำคัญคือทุกอย่างรอบตัวดีขึ้นทั้งคุณภาพชีวิตที่สามารถส่งลูกๆ เรียนหนังสือสูง ๆ และยังส่งไปถึงผู้บริโภคได้กินอาหารปลอดภัย รู้สึกดีใจและภูมิใจที่ตัดสินใจเข้าร่วมโครงการฯถือว่าเป็นความสำเร็จครั้งใหญ่ในชีวิต”




นางวาสนา เปรียเวียง
คืเกษตรกรอีกรายหนึ่งที่ได้ตัดสินใจทิ้งอาชีพพนักงานบริษัท เพื่อจะได้มีเวลาอยู่กับสามีและลูก ๆ รวมทั้งสานต่ออาชีพเกษตรกรของพ่อแม่และได้เข้าร่วมโครงการเรียนรู้คู่อาชีพเพื่อวิถีเกษตรที่ยั่งยืนเมื่อปีที่ผ่านมา และเลือกนำความรู้ที่ได้รับมาทำเกษตรกรรมปลอดภัยแบบผสมผสาน


“แปลงของเราปลูกพืชหลายชนิดทั้งกะเพราป่า กะเพราเกษตร ยอดมะรุม ใบชะพลู ใบบัวบก และผลไม้ เช่น ฝรั่ง เพื่อลดการพึ่งพาพืชตัวใดตัวหนึ่ง และมีการรวมกลุ่มกับเกษตรกรละแวกเดียวกันในนามวิสาหกิจปลูกผักปลอดภัย เพื่อช่วยเหลือกันเรื่องราคาสินค้าที่ไม่แน่นอนและหาวิธีสร้างรายได้ที่มั่นคงยิ่งขึ้น จึงได้ตัดสินใจสมัครเข้าร่วมโครงการฯได้รับความรู้ที่ช่วยให้เราทันต่อความเปลี่ยนแปลง ทำให้เรารู้เรื่องข้อกำหนดการใช้สารเคมีและสารชีวภาพที่แตกต่างกันของตลาดส่งออกในแต่ละภูมิภาคเวลาเกิดปัญหา ก็มีผู้เชี่ยวชาญเข้ามาช่วยเหลือให้คำแนะนำ เช่น ในช่วงที่เกิดโรคระบาดหรือการปรับปรุงให้สินค้าไม่มีปัญหาก่อนจัดส่ง ตอนนี้สามารถปลูกกะเพราป่าขายได้สัปดาห์ละ200กว่ากิโลกรัม รวมกับพืชตัวอื่นด้วยก็มีรายได้ตกเดือนละ 30,000บาท เป็นรายได้ที่มั่นคงขึ้น และมีความสุขที่มีเวลาให้ครอบครัวและดูแลลูกตามที่เราฝันไว้”


“โครงการเรียนรู้คู่อาชีพ เพื่อวิถีเกษตรที่ยั่งยืน” ไม่ได้ส่งเสริมเพียงแค่การเพาะปลูกเท่านั้นแต่ยังรวมถึงการมอบองค์ความรู้อื่น ๆ เช่นการแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลผลิตของชุมชนที่มิใช่เพียงช่วยสร้างงานสร้างรายได้เสริมให้กับชาวบ้านอีกทางหนึ่งเท่านั้น แต่ยังรวมถึงความสุขของคนในชุมชนดังเช่นที่
นางลำดวน ทองอำพันธ์ หัวหน้ากลุ่มแม่บ้านเกษตรกรตำบลระแหงได้บอกเล่าให้ฟัง




“เดิมทีนอกจากทำนาก็ยังมีการปลูกผัก ผลไม้ต่าง ๆ บ้าง ต่อมาแม่บ้านในชุมชนได้รวมตัวกันตั้งเป็นกลุ่มอาชีพสตรีขึ้นตอนนี้มีสมาชิก32คน เพื่อจะหารายได้เสริมให้ครอบครัว เรามองที่ผลผลิตในชุมชน เช่นมะม่วง กล้วย ขนุน ข่า ตะไคร้ ที่หากขายโดยตรงไม่ค่อยได้ราคาที่ดี ทางโครงการฯ ได้เข้ามาสนับสนุนองค์ความรู้ด้านการนำผลผลิตเหล่านี้มาแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่า มีทั้งที่ทำขายได้ตลอดปี เช่น กล้วยฉาบ และน้ำพริกที่มีตลาดภายนอกมารับไปขาย และที่ทำตามฤดูกาล คือ ขนุนทอด แต่มีเท่าไรก็จะมีหน่วยงานอย่างอบต. มารับซื้อเกือบทั้งหมด อย่างกล้วยฉาบ ทำครั้งหนึ่งได้เงิน 1-2 พันบาท เดือนหนึ่งถ้าทำ 3 ครั้งก็จะมีรายได้เพิ่มขึ้นเฉลี่ยเดือนละ 5-6 พันบาท หลายครอบครัวมีเงินใช้จ่ายคล่องตัวขึ้นแล้วยังหันหน้ามาพูดคุยปรึกษากันมากขึ้น โดยมีเจ้าหน้าที่โครงการฯ มาเยี่ยมถึงบ้านติดตามถามไถ่ และหาความรู้หรืออาชีพใหม่ๆ ม าเสริมให้ตลอดเช่น การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ และการทำปุ๋ยชีวภาพ ทำให้ชุมชนของเรากลับมาเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น”


“โครงการเรียนรู้คู่อาชีพสู่วิถีเกษตรที่ยั่งยืน” เริ่มจากความตั้งใจจริงของบริษัทซีพีแรม เมื่อ 8 ปีที่ผ่านมา โดยมุ่งหวังที่จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรในชุมชนรอบโรงงานลาดหลุมแก้วสอดคล้องกับนโยบายการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนบนหลักธรรมาภิบาลของเครือเจริญโภคภัณฑ์ จึงได้จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ด้านการเกษตรขึ้นเพื่อเป็นแหล่งแลกเปลี่ยนเรียนรู้และอบรมแก่ผู้ที่สนใจด้วยการน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชรัชกาลที่ 9มาปรับใช้ ด้านการปลูกพืชปลอดภัย การปลูกพืชแบบผสมผสาน ข้อมูลทางพฤกษศาสตร์ กะเพรา การเลี้ยงปลานิล การเลี้ยงห่านการเลี้ยงแพะ การเลี้ยงไส้เดือน การทำปุ๋ยหมัก การเพาะเลี้ยงเชื้อไตรโคเดอร์มา ทั้งยังสนับสนุนทางเลือกอาชีพเสริมเพื่อเพิ่มรายได้ที่เหมาะสมให้ครัวเรือน ที่สำคัญคือการรับซื้อผลผลิตอย่างสม่ำเสมอ ในราคาที่เป็นธรรมต่อเกษตรกร พร้อมเปิดโอกาสให้เกษตรกรในชุมชน นำผลผลิตมาเปิดตลาดจำหน่ายให้แก่พนักงานในโรงงาน เป็นการสร้างตลาดที่แข็งแรงให้แก่ชุมชน


โครงการนี้เป็น 1 ใน 38 โครงการซีพีเพื่อชุมชนยั่งยืนที่ได้รับรางวัล “ซีพี...เพื่อความยั่งยืน” ที่จัดขึ้นเพื่อยกย่องโครงการเพื่อสังคมดีเด่น สร้างความยั่งยืนให้กับชุมชนสังคมครอบคลุมมิติทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม นับเป็นอีกหนึ่งความมุ่งมั่นของเครือฯในการดำเนินธุรกิจ ควบคู่การสนับสนุนให้เกษตรกรมั่นคงและชุมชนยั่งยืนอย่างแท้จริง 








Create Date : 23 มิถุนายน 2560
Last Update : 23 มิถุนายน 2560 15:21:28 น.
Counter : 1265 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

สมาชิกหมายเลข 3761838
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed

 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



All Blog