BHUTAN 2_Central region.

ภูฐานอยู่ด้านตะวันออกของเทือกเขาหิมาลัย ไม่มีชายแดนที่สามารถออกสู่ทะเลได้โดยตรง เป็นอาณาจักรที่ชาวโลกเริ่มรู้จักและเข้าถึงได้เมื่อไม่เกิน 30 ปีที่ผ่านมานี้เอง
ภูฐานเป็นเทศเล็กอยู่ระหว่างอินเดีย จีนและทิเบต มีพุทธศาสนานิกายมหายานเป็นศาสนาประจำชาติ เช่นเดียวกับทิเบต แต่ภูฐานมีความสัมพันธ์กับอินเดียมากกว่าประเทศเพื่อนบ้านอืนๆ เราอาจรู้สึกว่า คนภูฐานเหมือนคนทิเบตมาก แต๋ที่จริง ชาวภูฐานมีรูปลักษณ์และอะไรหลายอย่างที่คล้อยไปทางอินเดียมากกว่าจะเป็นจีนหรือทิเบต ผิวคล้ำ หน้าออกคม ที่เหมือนทิเบตคือวัฒนธรรมและความเชื่อถือทางศาสนาเท่านั้น

ภูฐานมี ดซอง (Dzong: ป้อมปราการที่แปรเปลี่ยนเป็นหน่วยบริหารการปกครองผสมกับกิจกรรมด้านศาสนาที่ซึมแทรกอยู่กับวิถีชีวิตประจำวันของชาวภูฐาน) และ Lhakhang (วัดที่สร้างขึ้นเพื่อกิจกรรมทางศาสนาโดยตรง) กระจัดกระจายอยู่ทั่วไปไมน้อยกว่า 2000 แห่งบนเนื้อที่ประเทศประมาณ 50000 ตร กม ที่มีประชากรประมาณ 6-7 แสนคนเท่านั้น
รูปเสก็ตช์ด้านล่างนี้เป็น ลักษณะทั่วไปของดซองแห่งหนึ่ง ประกอบด้วยกำแพงอาคารด้านนอกล้อมรอบเป็นกรอบสี่เหลียมสูงประมาณ 3-4 ชั้น บริเวณกลางลานกว้างภายในกำแพงเป็นอาคารหลัก มักเป็นหอคอยด้วย ที่จะเป็นส่วนประกอบพิธีทางศาสนา คล้ายโบสถ์ของวัดไทย

Dzong in Thimphu

Bhutan is a Buddhist kingdom in eastern Himalayas between India and China. Land-lock, opened to outside world only some three decades ago.
Buddhism of Bhutan is of Mahayana, same as Tibet, they are closer to Indian than Tibetan or Chinese. Its over two thousand temples and monasteries spreaded all over her some 50,000 square kilometres size.


คงไม่เป็นการแปลกอะไรที่การเยือนภูฐานของผมประกอบไปด้วยการเข้าเยียมชมดซองมากมายหลายแห่ง
แต่ละแห่งล้วนแตกต่างกัน ทั้งประวัติความเป็นมาที่สำคัญ ความน่าสนใจ ตลอดจนอายุ ยุคสมัยในการสร้าง ถึงความแตกต่างของการดัดแปลงใช้งานปัจจุบันและลวดลายความเป็นเอกลักษณะที่หลากหลาย
จนสับสนปนเปอย่างน่าให้อภัยครับ
ด้านล่าง เป็นตัวอย่างดซองที่มีอาคารหลักกลางลานกว้าง ล้อมรอบด้วยอาคารสองชั้นที่เป็นเสมือนกำแพงชั้นนอก โดยเฉพาะดซองนี้ซึ่งเป็นสถานศึกษาด้วย อาคารสองชั้นที่รายล้อมจึงเป็นห้องพักของสามเณรน้อยๆจำนวนมาก

Gangtey Gonpa

We visited so many Dzong (former fortress now used as monastery) and Gompas (monastery) that at the end I was really confused! However, most Dzong would have one or two inner courts. Picture above was sketched, in a hurry, of one with a main shrine at the center. The court yard is surrounded with two storey building that's most of the time living quarters for the monks.


จากเมืองหลวงทิมภู เราเดินทางต่อไป ภูนาคา (Punaka) ทางตะวันออกของทิมภู
ดซองที่ภูนาคาเป็นดซองขนาดใหญ่สีขาวสอาด สูงสง่าตั้งตระหง่านเลียบริมแม่น้ำภูนาคา ณ สถานอันรโหฐารนี้เองที่เป็นสถานที่ประกอบพระราชพิธีสำคัญในประวัติศาสตร์สมัยใหม่ของภูฐาน เมื่อกษัตริย์องค์ที่ 5 ของภูฐานประกอบพิธิทางศาสนาในวโรกาสขั้นครองราชย์เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2551 ที่ผ่านมาไม่นานนี้เอง
รูปเสก็ตช์ด้านล่าง เป็นอาคารกลาง มองจากลานภายในลานแรก ดซองนี้ประกอบด้วยลานภายในสองลานครับ

Trongsa Dzong in Trongsa

From the capital Thimphu, we proceeded east to Punaka. Punaka Dzong is both beautiful and dominating. Stood proudly by the side of Punaka river, this was where the present king's Spiritual Coronation took place in November 2008. The most recent significant date of event in Bhutan's modern history. A view of the inner court, above.


รูปเสก็ตช์ด้านล่างของกังเตลาคัง (Gangtey Lhakhang) เป็นวัดสำคัญที่ ทาโล (Talo) บนยอดเขาแห่งหนึ่งในทาโลที่สูงถึงประมาณ 3000 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลใ
กลุ่มสยามสมาคมได้มีโอกาสรับพรจากท่านเจ้าอาวาส ซึ่งถือ(ได้รับการพิสูจน์รับรองแล้ว)ว่าเป็นลามะที่กลับชาติมาเกิดองค์หนี่ง อันนับเป็นกุศลเป็นที่ยิ่ง
ผมจึงถือโอกาสขอพรให้ท่าน Trulku Thinley เซ็นชื่อท่านบนรูปเสก้ตช์รูปนี้ ด้วยครับ

Dzong at Talo

The following line sketch is the monastery of Gangtey at Talo. Cited as one of the most impressive Dzong, some 3000 meter high above sea level.
My drawing was autographed by Talo principle Trulku Thinley who kindly allowed our group a short session and blessing in a prayer in the main shrine. (Yes, especially with his signature on the upper part of my page)


นอกจากได้รับพรโดยตรงจากท่านแล้ว คณะของเราก็ได้รับความกรุณาอย่างสูง ให้เข้าร่วมในพิธีสวดมนต์ในสถานชั้นในของวัดด้วย
หลายท่านอาจเคยเห็นจากภาพยนต์เกี่ยวกับทิเบตบ้าง
แต่การได้เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของหมู่สงฆ์ ที่นั่งเรียงรายหลายแถว ในโถงสูงที่มีธงทิวห้อยระย้าเป็นแถบเป็นทาง
หน้าแท่นบูชาที่มีองค์พระสีทองขรึมขนาดใหญ่น้อยมากมายหลายปาง เห็นได้โดยผ่านริ้วควันของธูปและเทียน
ท่ามกลางเสียงประสานสวดที่แผ่วต่ำในบางครั้ง และรัวเร็วในบางคราว ที่กระกอบไปด้วยจังหวะกระหน่ำของฆ้องกลอง กรับและแตรในบางครา
คงจะไม่มีประสบการณ์ในชีวิตใดอีก ที่จะทัดเทียบได้กับความรู้สึกของการอยู่ท่ามกลางเสียงสวดมนต์ของหมู่สงฆ์ที่ภูฐานนี้
และท่ามกลางประสบการณ์แห่งชีวิตนี้ ผมได้ทำการวาดลายเส้นบนสมุดบันทึกให้เป็นส่วนหนึ่งของเหตุการณ์ครั้งแรกครั้งหนึ่งในชีวิตครับ
กล้องถ่ายรูปทุกชนิดห้ามนำเข้าในสถานที่ศักดิสิทธิเช่นนี้ครับ
เข้าได้เฉพาะสิ่งอันถือได้ว่าเป็นและมีชีวิตเท่านั้น


Prayer inside the Dzong

Considered previleged, we were allowed to join part of the prayer inside the temple. It was a wonderful first hand experience of a life time in sight, sound, physically and spiritually! As none of the temples allowed the use of camera inside its interior, I turned to my pen and sketchbook, as above, without any sign of notice, or protest!


รูปเสก็ตช์บางส่วนของพุทธศิลป์ในวัดแห่งหนึ่ง ซึ่งเก็บเอาแนวและลายที่ดลบันดาลใจที่สุดในขณะที่เห็นนั้น เป็นการสุดปัญญาที่จะวาดละเอียดตามเป็นจริง
ภาพเขียนผนังในวัดต่างๆของภูฐานมีสีสันสวยงาม หลากหลายและงดงามประณีตมาก ศิลปะบนผนังจำนวนมากวาดขึ้นด้วยศรัทธาอันแรงกล้าของศิลปินจำนวนมากที่ไม่ปรากฎนามและหลายแห่งที่มีอายุเก่าแก่นับด้วยสิบศตวรรษ
ภาพอันมีค่าเหล่านี้ หาชมได้ยากมาก ได้รับการเก็บรักษาให้พ้นจากการแตะต้องด้วยการใช้ม่านปิดคลุมทั้งผนังทีเดียว น่าเสียดายที่บางครั้ง ผ้าคลุมทำให้ความงามของสถานที่ด้อยน้อยลง แต่ก็คงเป็นทางเดียวเพื่อปกป้องภาพเขียนล้ำค่าเหล่านี้
ว่าไปแล้ว ภายในของวัดก็มักจะดูมืดทึมอยู่แล้ว ขนาดหลายแห่งต้องใช้ไฟฉายส่องดูด้วยซ้ำ ผ้าคลุมก็ดูเข้ากับบรรยากาศดีเหมือนกัน


Thimphu

(Part of) Buddhist arts commonly seen in all temples depicting one or other state of the enlightenment, mostly works of anonymity and some are far back as 7th century


จากภูนาคาผ่านทาโล เราเดินทางมาถึงช่วงกลางของภูฐานบนความสูงประมาณ 2-300 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล ณ ที่ราบกว้าง (valley) กลางหุบเขาสูงใหญ่ ชื่อ Black Neck Crane Valley มีขนาดกว้างใหญ่มากจนเป็นที่เหล่านกกระยางคอดำยึดเป็นแหล่งพำนักในช่วงหน้าร้อน
เราพักที่โรงแรม Dawenchen ในหุบเขาที่เมือง Phobjika เป็นโรงแรมเล็กๆ น่ารัก มีเตาไฟใช้ฟืนในห้องนอนด้วย เพราะกลางคืนหนาวแถมไม่มีไฟฟ้าใช้หลังสามทุ่มครึ่งด้วย ก็สนุกกับการเติมท่อนฟืนไม้สนเนื่ออ่อน ติดไฟง่ายแต่ไม่นาน ต้องเติมใหม่ทุก 20 นาทีครับ เติมไม่มีปัญหาแต่ตอนติดต้องตามเด็กโรงแรมมาทำให้
ที่ โพปจิก้านี้ใช้เครื่องปั่นไฟแทนไฟฟ้า ทั้งนี้ เพื่อไม่ให้เสาไฟและสายไฟเป็นอันตรายต่อความเป็นอยู่ของเหล่ากระยางคอดำที่มาเยือนปีละครั้งครับ

Hotel Dewachen in Phobjika

We continued further east toward Phobjika.
Dawechen Hotel at Phobjika by the valley of the Black Neck Cranes runs on generator that turns off after 9.30 PM. We had fun feeding logs into this charming heater, every 20 minutes or so, to keep away the 12 deg C, till we fell asleep (10 PM!)


เราท่องไปในส่วนกลางของภูฐานสู่เมืองทรองซาและบุมตังโดยใช้ทางหลวงสายเดียวที่มีในประเทศ
เวลาเดืนทาง 5 ชั่วโมงเศษบนทางที่พาดจากตะวันตกจดตะวันออกตลอดความกว้างของภูฐานนี้ ผ่านไปด้วยความเพลิดเพลินกับทิวทัศน์ที่หลายเสียงยืนยันว่างามราวกับสวิสเซอแลนด์ทีเดียว แต่ที่แน่นอนคืองามด้วยพันธ์ไม้นานาน้อยใหญ่ แพรวพราวด้วยสีสัน และหลายครั้งก็แถมด้วยหมู่แยค (ควายป่าขนยาว หางเป็นพวง) แระเล็มหญ้าเป็นฝูงให้เป็นที่ตื่น่ตาตื่นใจด้วย

Distant view of Trongsa Dzong

Our visit of the central area include Trongsa and Bumthang using the highway, the only high way in Bhutan which runs across east and west of kingdom.
The 5 over hours ride from capital to central area offers great vista that must be of equal to Switzerland, peppered with large and small colorful flowers, quite often with herds of yaks thrown in!
Our two small buses made many close-range inspections stops of the flowers, and the bushes, that doubled up as natural-relief spots for lack of rest area with toilets.




Create Date : 29 พฤษภาคม 2552
Last Update : 30 พฤษภาคม 2552 22:09:31 น.
Counter : 3502 Pageviews.

12 comments
  
อ่านเรื่องราว และชมภาพสเก๊ต..
อย่างมีความสุขเลยค่ะ
เข้าท่าทั้งสองอย่าง...
ทำให้อยากไปสัมผัสด้วยตัวเอง

ห้ามนำกล้องถ่ายรูปเข้าสถานที่ศักดิ์สิทธิ์!!!!!
แปลกดีนะคะ

โดย: malarn cha วันที่: 30 พฤษภาคม 2552 เวลา:1:40:20 น.
  
ฝีมือครับ ...
โดย: Resource of life วันที่: 30 พฤษภาคม 2552 เวลา:8:17:31 น.
  
เฉียบขาดเลยท่าน
โดย: ตาพรานบุญ วันที่: 30 พฤษภาคม 2552 เวลา:20:09:43 น.
  
มาเยี่ยมชมครับ พี่อัสนี
ผมจะเอารูปบางส่วนส่งให้ที่ญี่ปุ่น
ตะวัน
โดย: ตะวัน IP: 58.9.10.112 วันที่: 1 มิถุนายน 2552 เวลา:17:34:18 น.
  
sketch สวยอ่ะค่ะ...ชอบจัง
โดย: .....ป้าT.... IP: 124.120.168.48 วันที่: 8 มิถุนายน 2552 เวลา:15:14:14 น.
  
ภาพวิวจากด้านบนสวยมากๆๆๆๆค่ะ *o*

ตัว yak ภาษาไทยเรียกว่าตัวจามรี
แต่พอแปลเป็นควายป่าขนยาว
เลยชักจะอยากเห็นหน้าตามันจังค่ะ
(มันพันธุ์เดียวกันรึเปล่า?)
เขาว่าพู่กันขนจามรีนี่เป็นสุดยอดพู่กันในตำนานเลยค่ะ
โดย: rina.exteen.com IP: 125.25.82.246 วันที่: 8 มิถุนายน 2552 เวลา:17:44:51 น.
  
ขอบคุณ คุณ malarn cha
ดีใจครับที่ทำให้ผู้มาเยียมชมทีสุขได้ ถ้าได้สัมผัสด้วยตัวเองก็จะได้ความสุขอีกแบบครับ
เขาห้ามกล้องถ่ายรูปในส่วนที่มีรูปเคารพอันถือเป็นที่เคารพบูชา แบบในวัดพระแก้วของเราครับ มีหลายแห่งที่เขาห้ามนักท่องเที่ยวเลย เช่น ในการสวดของพระ เป็นต้น

ขอบคุณ คุณ Resource of life และคุณ ตาพรานบุญ ครับ ผมมีอาชีพที่เกี่ยวข้องกับการวาดการเขียน และสนใจการวาดเสก็ตช์มาหลายปี ก็เลยพอวาดให้ดูรู้เรื่องได้ และรู้ว่าคนที่วาดได้มีอยู่มากมายครับ อย่างไรก็ตาม ขอบคุณครับที่ชอบ

ขอบคุณคุณตะวันและป้า T ครับ ยินดีที่แวะมาคุยกัน ผมคงไม่มีบล๊อกมากนัก แต่ก็เขียนเท่าที่มีเวลา ว่างแวะมาอีกนะครับ

ขอบคุณ คุณ rina.exteen.com ครับ ท่านเดียวกับที่ห้องเฉลิมกรุง หรือเปล่าไม่ทราบ
ถูกต้องครับ ผมหมายถึงจามรีครับ นึกขึ้นได้ทีหลัง จะต้องเข้าไปแก้ครับ ที่ต่างกับวัวควายซึ่งก็มีอยู่ทั่วไปในภูฐาน ก็ที่จามรีมีชีวิตอยู่ตามธรรมชาติของมัน อยู่ทั่วไปเป็นกลุ่ม
ตามตัวมีขนยาวปกคลุม หางก็เป็นพวงคล้ายม้า บางตัวเขายาว ตัวใหญ่มาก เกิอบเป็นสง่าและน่าเกรงขาม
พู่กันขนจามรีคงเหมาะกับงานบางประเภทเท่านั้น เพราะขนมันหยาบแข็ง เสื้อที่ทำด้วยขนจามรีก็มีขาย แต่หนาแข็งแน่นเหมือนทอด้วยกาบมะพร้าว
พุ่กันขนจามรีคงใช้กับสีน้ำไม่ได้แน่
โดย: atas IP: 58.9.194.26 วันที่: 9 มิถุนายน 2552 เวลา:15:24:46 น.
  
คนเดียวกันนั่นแหละค่ะ =^.^=
เข้าใจว่าพู่กันขนจามรีใช้กับภาพเขียนสายแข็งหรือการเขียนอักษรค่ะ
ขนที่นำมาทำพู่กันคงต้องผ่านกรรมวิธีต้มและยืดเหมือนกัน ราคาพู่กันจึงนำโด่งเมื่อเทียบกับขนสัตว์ชนิดอื่น
จิตรกรนี่บางทีก็ดูไม่อนุรักษ์สัตว์เอาซะเลยนะคะ ^.^"
โดย: rina.exteen.com IP: 125.25.49.183 วันที่: 12 มิถุนายน 2552 เวลา:2:50:43 น.
  
อยากให้เขาวาดได้แบบนี้ ครับ เขาชอบ ....แนะนำหน่อยครับจะขอบพระคุณอย่างสูงครับ
โดย: ลูกผมป6 IP: 124.120.109.235 วันที่: 7 ตุลาคม 2553 เวลา:13:54:26 น.
  
pakpon.net@hotmail.com อยากได้คำแนะนำครับ...ขอบคุณครับ
โดย: ลูกผมป6 IP: 124.120.109.235 วันที่: 7 ตุลาคม 2553 เวลา:13:56:17 น.
  
ขอคำแนะนำครับ. pakpon.net@hotmail.com ขอบคุณอย่างสูงครับ.
โดย: ลูกผมป6 IP: 124.120.109.235 วันที่: 7 ตุลาคม 2553 เวลา:13:58:23 น.
  
ภาพเสก็ตสวยมาก ๆ เลยค่ะ :D
โดย: C. Anitya IP: 49.49.50.159 วันที่: 26 พฤษภาคม 2555 เวลา:21:52:56 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Atas
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]



Atas เป็นสถาปนิกไทย ที่สนใจในการบันทึกสิ่งที่พานพบลงบนหน้ากระดาษด้วยสี แสง และเงา

Atas is a Thai living in Bangkok, an architect by training and a retireee, by now!
He records what he observes of his last 5 years of travels.
Atas can be reached at asnee.t@gmail.com
.
Places of my sketchbook
Make yours @ BigHugeLabs.com
Make yours @ BigHugeLabs.com
LET'S CONNECT : YOUR COMMENTS ARE MOST APPRECIATED. free counters