ใฃ้หนีราชกานต์เท่านั้น
 

แบบฝึกหัด หน่วยที่ 1 ความหมายของสุนทรียภาพฯ - ความหมายของศิลปะ

แบบฝึกหัด หน่วยที่ 1
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสุนทรียศาสตร์ – สุนทรียภาพ


ให้ น.ศ. ตอบคำถามดังต่อไปนี้

๑. สุนทรียศาสตร์ เป็นปรัชญาสาขาหนึ่ง ที่ว่าด้วยเรื่องของ ....................
๒. สุนทรียศาสตร์ ตรงกับคำในภาษาอังกฤษ คือ ..................................
๓. .........................มาจากภาษากรีก คำว่า.......................................
๔. สุนทรียศาสตร์ เดิมเรียกว่า .........................................................
๕. ผู้บัญญัติศัพท์คำว่า สุนทรียศาสตร์ ขึ้นมา คือ .................................
๖. ความงามคืออะไร ....................................................................
๗. มาตรการใดที่ทำให้เราตัดสินใจได้ว่าสิ่งนั้นงามหรือไม่งาม ................
๘. บิดาแห่งสุนทรียศาสตร์สมัยใหม่ คือ ............................................
๙. สุนทรียศาสตร์ เป็นเนื้อหาว่าด้วยการศึกษาเรื่อง ...............................
๑๐. คำว่า สุนทรียะ ในภาษาบาลี แปลว่า ............................................
๑๑. สุนทรียศาสตร์มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับงานศิลปะอย่างไร...............
...........................................................................................
๑๒. ความงามในธรรมชาติ ได้แก่อะไรบ้าง ๑.................................. ๒................................. ๓......................................
๑๓. ความงามในศิลปะ ได้แก่อะไรบ้าง.............................................
๑๔. ความงามเป็นคุณสมบัติของวัตถุ คือ ...........................................
๑๕. ความงามคือความรู้สึกเพลิดเพลิน คือ .........................................
๑๖. สุนทรีภาพ (Aesthetic) หมายถึง ................................................
๑๗. ความมีสุนทรียภาพ คือ ...........................................................
๑๘. ค่าในตัวของวัตถุ คือ ...............................................................
๑๙. ความรู้สึกซาบซึ้งในคุณค่า ย่อมจะมีเพิ่มมากขึ้นด้วยสิ่งใด..................
๒๐. การรู้ค่าของวิจิตรศิลป์ คือ..........................................................



บทที่ ๑ ความหมายของ ศิลปะ

ให้ น.ศ. ตอบคำถามดังต่อไปนี้ ...........................

๑. คำว่า ศิลปะ ตรงกับภาษาอังกฤษว่า ............................

๒. ศิลปะ หมายถึง .......................................................................

๓. สิ่งใดบ้างที่จัดว่าเป็นงานศิลปะ ๑.............................๒..............................๓................................

๔. สิ่งใดบ้างที่ไม่จัดว่าเป็นงานศิลปะ ๑...........................๒..............................๓.................................

๕. Realistic ได้แก่ศิลปะแบบ ................................................

๖. Semiabstract ได้แก่ศิลปะแบบ ..................................................

๗. abstract ได้แก่ศิลปะแบบ ..........................................................................................

๘. ตามหลักการทางสุนทรียศาสตร์ สามารถแบ่งงานศิลปะได้เป็น ๒ประเภท คือ .......................และ ..........................

๙. Fine Arts คืองาน.................................................
ประกอบด้วย ๕ สาขา คือ
๑..............................................
๒............................................
๓...............................................
๔.................................................
๕..............................................

๑๐. Applied Arts คืองาน ................................เช่น ........................

๑๑. ศิลปะที่ให้คุณค่าด้านจิตใจ คือ .................................................

๑๒. ศิลปะที่ให้คุณค่าด้านร่างกาย คือ ...............................................
.
๑๓. ทัศนศิลป์ ( Visual Art ) คือ ....................................................

๑๔. ทัศนศิลป์ ได้แก่ งานที่เป็นวิจิตรศิลป์แขนงต่างๆ ๔ แขนง คือ
๑..............................................
๒....................................................................
๓............................................................
๔..............................................................

๑๕. จิตรกรรม คือ ........................................................................

๑๖. งานจิตรกรรม สามารถเรียกได้ตามลักษณะของรูปแบบได้ ๖ แบบ คือ
๑.......................
๒.................................
๓....................................
๔....................................
๕...................................
๖.....................................

๑๗. ประติมากรรม คือ ...........................................................

๑๘. ปฏิมากรรม คือ ...............................................................

๑๙. งานทัศนศิลป์ มีคุณค่าด้านใดบ้าง..............................................

๒๐. ให้ น.ศ. จับคู่ภาพด้านล่างให้ถูกต้อง


ภาพทิวทัศน์( Landscape )

ภาพทิวทัศน์ ( seascape )

ภาพหุ่นนิ่ง ( still life )

ภาพคนครึ่งตัว ( portrait )

ภาพคนเต็มตัว ( figure )

จิตรกรรมฝาผนัง ( mural )




 

Create Date : 15 ธันวาคม 2552    
Last Update : 1 เมษายน 2553 20:39:41 น.
Counter : 9867 Pageviews.  

แผนบริหารการสอน เทอม 2/52และเทอม 3/52

แผนบริหารการสอน (Course Syllabus)
วิชาสุนทรียภาพเพื่อชีวิต (Aesthetics for Appreciation)
รหัสวิชา 2000101 หน่วยกิต / ชม. 3(3-3) ผู้สอน อ.กานต์ทิตา หมวดวิชาศึกษาทั่วไป


คำอธิบายรายวิชา
ศึกษา วิเคราะห์ ความหมาย ความสำคัญ ความเป็นมา แนวคิด ทฤษฏี รวมทั้งการรับรู้ด้านทัศฯศิลป์ ดนตรี และศิลปะการแสดง เพื่อให้ได้มาซึ่งประสบการณ์ทางความงามและความซาบซึ้งทางสุนทรียภาพ

จุดประสงค์
1. ศึกษาความหมาย ความสำคัญและคุณค่าด้านสุนทรียศาสตร์
2. ให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจ และสามารถวิเคราะห์ อธิบายความงาม การรับรู้พื้นฐานศาสตร์ศิลปะ นาฏศิลป์ และดนตรี อันนำมาซึ่งความซาบซึ้งเพื่อสร้างจิตใจที่ดี
3. เสริมสร้างเจตคติผู้เรียน ผ่านประสบการณ์จริงเพื่อเกิดประโยชน์สอดคล้องกับสถานการณ์ ของการศึกษาเรียนรู้ในปัจจุบัน
4. ผู้เรียนสามารถ นำประสบการณ์ด้านสุนทรียภาพ ศาสตร์ศิลปะทุกแขนงเพื่อถ่ายทอดความรู้สู่ชุมชนและท้องถิ่น

เนื้อหา
1. พื้นฐานความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสุนทรียศาสตร์ศิลปะ
- ความหมายของสุนทรียศาสตร์
- งานทัศนศิลป์

2. องค์ประกอบในการสร้างสรรค์งานศิลปะ
- องค์ประกอบของศิลปะ
- หลักการของศิลปะ
- การวิจารณ์งานศิลปะ

3. สุนทรียภาพศิลปะไทย
- พื้นฐานประวัติศาสตร์ศิลปะไทย
- ศิลปะลายไทย
- เทคนิคงานช่างไทย

4. สุนทรียภาพศิลปะตะวันตก
- พื้นฐานประวัติศาสตร์ศิลปะตะวันตก
- ประวัติศาสตร์ศิลปะยุคโบราณ
- ประวัติศาสตร์ศิลปะยุคฟื้นฟูและยุคใหม่

การวัดผล
1. คะแนนระหว่างภาคเรียน 60 คะแนน แยกเป็น
ศิลปะ 20 คะแนน ดนตรี 20 คะแนน นาฏศิลป์ 20 คะแนน
2. สอบปลายภาค 40 คะแนน รวม 100 คะแนน

เกณฑ์การประเมิน
80 - 100 = A , 75 – 79 = B+ , 70 – 74 = B , 65 – 69 = C+
60 – 64 = C , 65 – 59 = D+ , 50 – 54 = D , ต่ำกว่า 50 = F

หนังสืออ่านประกอบ
สุภัทรดิศ ดิศกุล.มจ.ศิลปะในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ธรรมศาสตร์, 2538.
ผดุง พรมมูล.ศิลปะการสร้างสรรค์ภาพประกอบ.กรุงเทพฯ: มูลนิธิเด็ก, 2547.
สันติ เล็กสุขุม.ประวัติศาสตร์ศิลปะไทย(ฉบับย่อ) : การเริ่มต้นและการสืบเนื่องงานช่างในศาสนา.(พิมพ์ครั้งที่ 2) กรุงเทพฯ :
เมืองโบราณ, 2546.
อัศนีย์ ชูอรุณ.ประวัติศาสตร์ศิลปะยุคโบราณและยุคกลาง. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์, 2536.
อัศนีย์ ชูอรุณ.ประวัติศาสตร์ศิลปะยุคฟื้นฟูและยุคใหม่. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์, 2537.




 

Create Date : 04 มีนาคม 2551    
Last Update : 20 มีนาคม 2553 11:35:01 น.
Counter : 1008 Pageviews.  

หน่วยที่1 (ตอนที่ 2)

เอกสารประกอบการสอน
วิชาสุนทรียภาพของชีวิต (Aesthetics Appreciation)
รหัสวิชา 2000101 หน่วยกิต / ชม. 3(3-3) ผู้สอน อ.กานต์ทิตา หมวดวิชาศึกษาทั่วไป


ความหมายของศิลปะ



คำว่า "ศิลปะ" เป็นคำที่มีความหมายค่อนข้างกว้าง เป็นศาสตร์ที่รวมผลงานที่มีคุณค่าอย่างมหาศาลของมนุษย์ไม่ว่าจะเป็นทัศนศิลป์ที่ประกอบไปด้วย จิตรกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรม นาฏศิลป์และศิลปะการแสดง ดนตรี วรรณศิลป์หรือกระทั่ง ประยุกต์ศิลป์ซึ่งเป็นผลงานที่มนุษย์พบเห็นในชีวิตประจำวัน ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนให้คุณค่าและประโยชน์แก่มวลมนุษย์ งานศิลปะแม้จะไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ในทางผลผลิตเพื่ออาหารทางกายแต่คุณสมบัติที่สำคัญยิ่งคือความงามที่ทำให้เกิดความรู้สึก ซาบซึ้งในคุณค่าของความงามหรือความพึงใจที่เรียกว่าคุณค่าทางสุนทรียะ ซึ่งคุณค่าทางสุนทรียะนี้เองเป็นปัจจัยที่ทำให้มนุษย์เลือกบริโภคผลงานศิลปะที่มีคุณค่า และนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการดำรงชีวิตประจำวันได้

ความหมายของศิลปะ
ศิลปะตรงกับภาษาอังกฤษว่า "ART" การทำความเข้าใจในความหมายของคำว่าศิลปะเป็นเรื่องที่ยากเพราะศิลปะเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการสร้าง และการแสดงอารมณ์จากความรู้สึกภายในใจของมนุษย์ที่เกี่ยวข้องกับความงามความพอใจของแต่ละคน มนุษย์มีความชอบและชื่นชมในความงามแตกต่างกัน ซึ่ง คงเป็นเรื่องที่เข้าใจยาก สำหรับผู้ไม่มีพื้นฐานในเรื่องศิลปะ
ความหมายของศิลปะตามแนวคิดของศิลปิน

1. ศิลปะคือการเลียนแบบธรรมชาติ (Arts Representation) ผู้ให้นิยามคำนี้เป็นนักปรัชญาชาวกรีก ชื่อว่า (Plato)
ซึ่งในลักษณะแห่งความจริง ผลงานศิลปะอาจจะมีทั้งประเภทที่ลอกเลียนแบบธรรมชาติ หรือไม่ลอกเลียนแบบธรรมชาติก็ได้ กล่าวคือถ้าเป็นภาพเขียนสิ่งของธรรมชาติหรือภาพมนุษย์ก็จัดได้ว่าเป็นงานประเภทที่ลอกเลียนแบบธรรมชาติ แต่หากว่าเป็นการเขียนภาพแสดงความพิสดารของการใช้สีสัน เพื่อให้เกิดความรู้สึกสนองต่ออารมณ์ตามต้องการก็เป็นผลงานที่ไม่ได้ลอกเลียนแบบธรรมชาติ แต่ก็ใช้ธรรมชาติเป็นแรงบันดาลใจ

2. ศิลปะคือรูปทรง (Arts Perform) เนื่องจากงานศิลปะไม่สามารถสร้างขึ้นมาได้ถ้าปราศจากรูปทรง (Form) การที่เราชื่นชมศิลปวัตถุที่มีรูปทรงสวยงาม ทั้งนี้เพราะลักษณะที่สำคัญคือมีความกลมกลืนขององค์ประกอบอันเป็นเอกภาพนั่นเอง

3. ศิลปะคือการแสดงออกซึ่งอารมณ์ (Arts Expressionism) ความคิดเรื่องศิลปะ คือการแสดงออกซึ่งอารมณ์ เพราะว่าวัตถุประสงค์ของศิลปะไม่ใช่เสนอความงามในรูปทรงของสีสันหรือเสียง และไม่ใช่เพียงแค่การลอกเลียนแบบจากธรรมชาติ แต่อารมณ์ทางศิลปะนั้นต่างหาก ที่แตกต่างจากการแสดงอารมณ์แบบอื่น ๆ ดัง ต่อไปนี้
3.1 การแสดงอารมณ์ทางศิลปะ ต้องมีส่วนเกี่ยวข้องกับเจตนาหรือความตั้งใจ
3.2 การแสดงอารมณ์ทางศิลปะ ต้องมีจุดประสงค์หรือคุณค่าอยู่ในตัวเอง โดยไม่มีเจตนาอื่นซ้อนเร้น เคลือบแฝง
3.3 การแสดงอารมณ์ทางศิลปะ แสดงให้รู้ว่าบุคคลมีปฏิกิริยาหรือมีความรู้สึกในทางสุนทรียะ คือความชอบไม่ชอบ
3.4 สื่ออารมณ์ในศิลปะ การแสดงอารมณ์มีความหมายถึงคุณค่าอยู่ในตัว เป็นลักษณะพิเศษไม่เหมือนกับสื่อประเภทอื่น ๆ เช่นการพูดไม่ว่าเราจะ พูดถึงเรื่องอะไร การตีค่าความหมายก็จะหมายถึงสิ่งที่เราพูด แต่ในทางดนตรีหรือนาฏศิลป์นั้นคำพูดแต่ละคำมีความหมายในตัวเองโดยเป็นคำที่มีเสียงไพเราะการรับรู้ตามธรรมชาติของมนุษย์ สีสันและรูปทรงจะทำให้สามารถบอกได้ว่าเป็นอะไรและใช้ประโยชน์อะไร
4. ศิลปะ คือการแสดงออกทางความรู้สึก ศิลปินอาจจะแก้ไขแต่งเติมดัดแปลงผลงานของเขาโดยมีแรงบันดาลใจจากธรรมชาติ เช่น การสื่อความหมายลงในภาพที่วาดทิวทัศน์ ศิลปะจึงเป็นการถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกที่ได้รับจากธรรมชาติ โดยมีมนุษย์เป็นตัวถ่ายทอดความประทับใจ แต่การรับรู้ของผู้ชมอาจจะต้องการชื่นชมความงามในรูปแบบที่แตกต่างกัน ได้แก่
4.1 ศิลปะแบบเหมือนจริง (Realistic) เป็นศิลปะที่ไม่ซับซ้อนมีเนื้อหาสาระที่ปรากฏเด่นชัด แต่ผู้สร้างและผู้ชมต้องมีความรู้เรื่องนั้นด้วย เช่นภาพคน ภาพสัตว์
4.2 ศิลปะแบบกึ่งนามธรรม (Semiabstract) เป็นการถ่ายทอดที่ผิดเบนไปจากรูปธรรมหรือ แบบเหมือนจริงด้วยการตัดทอนรูปทรงจากของจริงให้เรียบง่าย แต่ยังมีเค้าโครงเดิมอยู่สามารถดูรู้ว่าเป็นภาพอะไร
4.3 ศิลปะแบบนามธรรม (abstract) เป็นศิลปะประเภทที่ไม่มีความจริงเหลืออยู่ เพราะถูกตัดทอนให้เหลือแค่เส้นสี น้ำหนัก ที่ก่อให้เกิดความงามตามอารมณ์ ความรู้สึกเป็นสิ่งที่เหนือความเป็นจริงต้องใช้จินตนาการในการรับรู้รับชม

ประเภทของงานศิลปะ
เราอาจแบ่งประเภทของงานศิลปะตามหลักการทางสุนทรียศาสตร์ได้เป็น 2 ประเภทคือ วิจิตรศิลป์ และประยุกต์ศิลป์
1. วิจิตรศิลป์ (Fine Arts) คือศิลปะที่งดงาม หรือสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น โดยตอบสนองความต้องการทางด้านจิตใจและอารมณ์ที่สำคัญ ประกอบด้วย 5 สาขา คือ
1.1จิตรกรรม
1.2 ประติมากรม
1.3 สถาปัตยกรรม
1.4 ภาพพิมพ์
1.5 วรรณกรรม
2. ประยุกต์ศิลป์ (Applied Arts) คือศิลปะที่สร้างขึ้นโดยมีจุดมุ่งหมายแสดงความงามร่วมกับประโยชน์ทางการใช้สอยเช่น ออกแบบนิเทศศิลป์ อุตสาหกรรมศิลป์ มัณฑนศิลป์ ออกแบบบรรจุภัณฑ์ ออกแบบเครื่องประดับ เป็นต้น

สรุป
ศิลปะ เป็นสิ่งที่อยู่รอบตัวมนุษย์เป็นสิ่งที่ให้คุณค่ามหาศาลทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ ศิลปะที่ให้คุณค่าทางจิตใจหรือวิจิตรศิลป์ เป็นงานศิลปะที่มีคุณค่าในการพัฒนามนุษย์ให้มีความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข แต่ศิลปะที่ให้คุณค่าทางร่างกายหรือประยุกต์ศิลป์ เป็นศิลปะที่เกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตประจำวันของมนุษย์ เป็นสิ่งที่มนุษย์พบเห็นเข้าใจและเห็นคุณค่าคุณประโยชน์ได้อย่างเป็นรูปธรรม

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับทัศนศิลป์

ทัศนศิลป์ [Visual Art] คือ ศิลปะที่สามารถรับรู้ได้จากประสาทสัมผัสทางตา หรือโดยการมองเพื่อให้เห็นความงามจากรูปลักษณะ เมื่อพบเห็นแล้วทำให้มีความเข้าใจร่วมกันได้
ทัศนศิลป์ ได้แก่ งานที่เป็นวิจิตรศิลป์แขนงต่างๆ คือ
จิตรกรรม [Painting]
ประติมากรรม [Sculpture]
สถาปัตยกรรม [Architecture]
ภาพพิมพ์ [Graphic Art]
จิตกรรม คือ การเขียนและระบายสีภาพด้วยสีหลายๆสี รวมไปถึงการวาดภาพ [drawing] เป็นงาน2 มิติ สร้างสรรค์ผลงานโดยใช้สีระบายในลักษณะเป็นเส้นหรือการแรเงา จิตรกรรมหรือการวาดภาพ สามารถสร้างสรรค์ได้อย่างกว้างขวาง เช่น การเขียนภาพหุ่นนิ่ง การเขียนภาพคนเหมือน การเขียนภาพนามธรรม เป็นต้น ศิลปินที่สร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรม เรียกว่า "จิตรกร"

ประติมากรรม คือ ศิลปะที่เกิดจากการปั้น การหล่อและการแกะสลัก เป็นงานในลักษณะเป็นงาน 3 มิติ แบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ
1. ประติมากรรมนูนต่ำ
2. ประติมากรรมนูนสูง
3. ประติมากรรมลอยตัว

ปฏิมากรรม คือ ศิลปะที่เกี่ยวเนื่องกับพุทธศาสนา เช่น การปั้นหล่อพระพุทธรูปต่างๆ ศิลปินผู้สร้างสรรค์งานประติมากรรม เรียกว่า “ปฏิมากร”
ประติมากรรมปั้นและหล่อ เป็นการปั้นจากวัสดุที่ทำเป็นทรงได้ เช่น ปั้นด้วยดินเหนียว เมื่อปั้นได้รูปลักษณะพอใจแล้วนำไปหล่อด้วยโลหะ หรือปูนพลาสเตอร์ให้มีจำนวนตามต้องการ
ประติมากรรมแกะสลัก เป็นการแกะสลักหรือเจียระไนจากวัตถุต่างๆ เช่น หิน ไม้ งาช้าง หยก เป็นต้น

สถาปัตยกรรม คือ ศิลปะการออกแบบโครงสร้าง การออกแบบก่อสร้างอาคารและสิ่งก่อสร้างต่างๆอีกด้วย ตลอดจนศิลปะในการจัดตกแต่งบริเวณแลสิ่งแวดล้อมของอาคาร สถานที่ ที่อยู่อาศัย สถานที่ราชการ โรงเรียน โรงพยาบาล ฯลฯ ประกอบไปด้วยความงาม ความมั่นคงแข็งแรง สถาปัตยกรรมแบ่งออกเป็น 3 สาย คือ งานออกแบบและการก่อสร้าง งานภูมิสถาปัตยกรรมและงานผังเมือง
1.การออกแบบและการก่อสร้าง คือ การออกแบบโครงสร้างอาคารสิ่งก่อสร้างและการก่อสร้างอาคารชนิดต่างๆ เช่น อาคารพักอาศัย ได้แก่ บ้าน หอพัก
2. ภูมิสถาปัตย์ คือ การออกแบบจัดบริเวณ วางผังบริเวณถนน การวางผังปลูกต้นไม้ การจัดสวน ให้มีความประสานกลมกลืนและสอดคล้องกับธรรมชาติและสิ่งแวด
3. ผังเมือง คือ การออกแบบบริเวณของเมืองหรือท้องถิ่นให้เป็นระเบียบและถูกหลักวิชาการ มีความสะดวกรวดเร็วในการติดต่อกิจการงานต่างๆ มีความสุขเมื่ออยู่อาศัย ผังเมืองที่ดีต้องมีการวางแผนแม่บทที่สมบูรณ์ เหมาะสม และสอดคล้องกับสภาพธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของเมือง หรือท้องถิ่นไว้ล่วงหน้า

ภาพพิมพ์ [Graphic Art] คือ ศิลปะที่ถ่ายทอดภาพวาด ภาพเขียนลงบนแม่พิมพ์ ด้วยการสร้างสรรค์ที่ประกอบไปด้วยเทคนิค วิธีการ ต่างๆ เพื่อให้เกิดผลงานภาพพิมพ์ต้นแบบเพียงภาพเดียว หรือหลายภาพ ศิลปะภาพพิมพ์โดยทั่วไป จะเกิดจากเทคนิคหลัก เช่น กรรมวิธีพิมพ์จากส่วนบน กรรมวิธีพิมพ์จากส่วนรอง และกรรมวิธีพิมพ์จากส่วนพื้น เป็นต้น

คุณค่าของทัศนศิลป์
ศิลปะเป็นผลงานของมนุษย์ที่ได้สร้างสรรค์ขึ้นมามีหลายลักษณะและวิธีการสร้างแตกต่างกันไป ได้แก่ ภาพเขียน รูปปั้น งานก่อสร้าง งานประพันธ์ รวมถึง เครื่องนุ่งห่ม และเครื่องประดับตกแต่ง ถึงแม้ว่าจะไม่ใช่สิ่งจำเป็นที่สุดในการดำรงชีวิตของมนุษย์ แต่ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยพัฒนาจิตใจให้มีความสุขได้

ทัศนศิลป์ จึงเป็นศิลปะแขนงที่ให้คุณค่าแก่มนุษย์อีกหลายด้าน จะเห็นได้จากประโยชน์ดังต่อไปนี้
ด้านการอยู่อาศัย มนุษย์ได้พัฒนาที่อยู่อาศัยจากอดีตกาลจากถ้ำ เพิงผา มาเป็นบ้านแบบง่ายๆ ต่อมารู้จักต่อเติมตกแต่งให้สวยงามและมีประโยชน์มากขึ้น
ด้านเครื่องใช้สอยในชีวิตประจำวัน มนุษย์ได้พัฒนาโดยนำศิลปะเข้าไปเกี่ยวข้อง ในรูปของงานหัตถกรรม หรืองานอุตสาหกรรมศิลป์

นอกจากนำศิลปะมาประกอบให้เกิดประโยชน์โดยตรงแล้ว ยังมีส่วนช่วยโน้มน้าวจิตใจให้มีความรักในความงามของธรรมชาติ และความงามของศิลปะ ย่อมจะทำให้จิตใจอ่อนโยน ดำเนินชีวิตอยู่ได้อย่างสมบูรณ์แบบทั้งทางกายและจิตใจ
ประโยชน์ที่ได้จากการศึกษาทัศนศิลป์ คือสามารถนำความรู้และทักษะไปประยุกต์กับการเรียนการปฏิบัติงานในสาขาอื่น ๆ เช่น วิทยาศาสตร์ อุตสาหกรรม พาณิชยกรรม สถาปัตยกรรม สังคมศึกษา สื่อสารมวลชน การออกแบบ การตกแต่งบ้านเรือน ตลอดจนการแต่งกายได้อีกด้วย
ดังนั้นการศึกษาทัศนศิลป์ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อชีวิตและคุณค่าทางด้านสุนทรียภาพ กระทั่งการรู้จักนำศิลปะมาประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวันอย่างสมบูรณ์แบบ และยังสามารถนำคุณค่าเหล่านี้ไปพัฒนาศิลปวัฒนธรรมของชาติให้เจริญก้าวหน้าสืบต่อไป


ฐานของงานศิลปะ
ฐานของงานศิลปะประกอบด้วย
1. ฐานที่มา
2. ฐานของการรับรู้

ฐานที่มา
มนุษย์ + สิ่งแวดล้อม + สื่อ แล้วจึงได้กลายเป็น ศิลปะ หรือ
Man + Environment + Media กลายเป็น Art
ทัศนะของคนเราแต่ละคนนั้นมีความแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับความรู้และประสบการณ์ธรรมชาติ กล่าวคือ ถ้าเป็นภาพเขียนสิ่งของธรรมชาติหรือ ภาพมนุษย์ ก็จัดได้ว่าเป็นงานประเภทที่ลอกเลียนแบบธรรมชาติ ดังนั้นการที่จะหวังให้ศิลปินแสดงทัศนะให้ตรงกับความต้องการของผู้ดูจึงเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยาก งานศิลปะก็คือ ผลงาน ของการแสดงความรู้สึกนึกคิดเฉพาะตัวของศิลปิน โดยผ่านสื่อกลาง(Media) ออกมาเป็นงานศิลปะ

ฐานที่มาของงานทัศนศิลป์ ประกอบด้วย

1.1 ศิลปิน (Artist) เป็นผู้ถ่ายทอดผลงานศิลปะโดยได้รับแรงบันดาลใจจากธรรมชาติสิ่งแวดล้อมด้วยความรู้สึกประทับใจหรือเกิดความสะเทือนอารมณ์ จึงถ่ายทอดออกมาตามอารมณ์ความรู้สึกและจินตนาการเฉพาะตน
1.2 สิ่งแวดล้อม (Environment) ได้แก่ ธรรมชาติ ความเชื่อทางศาสนา เรื่องจากประวัติศาสตร์ เรื่องราวจากวรรณคดี ตลอดจนขนบธรรมเนียมประเพณี ทั้งหมดนี้เป็นสิ่งเร้า เป็นตัวกระตุ้นให้มนุษย์เกิดอารมณ์ความรู้สึกและแสดงออกด้วยการถ่ายทอดออกมาเป็นผลงานศิลปกรรม
1.3 สื่อ/วัสดุ (Media) ได้แก่ กระดาษ สี ดินสอ หิน ไม้ ปูน ฯลฯ ซึ่งศิลปินได้ซึมซับประสบการณ์จากสิ่งแวดล้อม แล้วนำไปถ่ายทอดลงบนสื่อให้ออกมาเป็นรูปธรรม
1.4 ผลงานศิลปะ (ART) เป็นผลงานที่เกิดจากแรงบันดาลใจในสิ่งแวดล้อมของมนุษย์ โดยผ่านสื่อให้ปรากฏเป็นรูปธรรมเรียกว่า "ผลงานศิลปะ"






 

Create Date : 07 พฤศจิกายน 2550    
Last Update : 25 พฤศจิกายน 2550 11:29:52 น.
Counter : 1813 Pageviews.  

หน่วยที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสุนทรียศาสตร์ – สุนทรียภาพ

เอกสารประกอบการสอน
วิชาสุนทรียภาพของชีวิต (Aesthetics Appreciation)
รหัสวิชา 2000101 หน่วยกิต / ชม. 3(3-3) ผู้สอน อ.กานต์ทิตา หมวดวิชาศึกษาทั่วไป

หน่วยที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสุนทรียศาสตร์ – สุนทรียภาพ
ความหมายของสุนทรียศาสตร์ ( Aesthetics )
สุนทรียศาสตร์ มีผู้ให้ความหมายของคำไว้หลายท่าน ดังตัวอย่างต่อไปนี้


สุนทรียศาสตร์
เป็นปรัชญาสาขาหนึ่ง ที่ว่าด้วยความงามและสิ่งที่งามทั้งในงานศิลปะและในธรรมชาติ โดยศึกษาประสบการณ์ คุณค่าความงามและมาตรฐานในการวินิจฉัยว่า อะไรงาม อะไรไม่งาม (ราชบัณฑิตยสถาน,2532:4)

สุนทรียศาสตร์ เป็นวิชาว่าด้วยสิ่งที่สวยงามหรือไพเราะ คำว่า Aesthetics มาจากภาษากรีกว่า Aisthetikos = รู้ได้ด้วยผัสสะ สุนทรียธาตุ (Aesthetics Elements) ซึ่งมีอยู่ 3 อย่างคือ ความงาม (Beauty) ความแปลกหูแปลกตา (Picturesqueness) และความน่าทึ่ง (Sublimity) (กีรติ บุญเจือ, 2522 : 263)

สุนทรียศาสตร์
เดิมเรียกว่าวิทยาศาสตร์ของเยอรมัน (The German Science) เนื่องจากตลอดระยะสองศตวรรษที่ผ่านมา เยอรมันมีผลงานทางด้านสุนทรียศาสตร์มากว่าผลงานของประเทศอื่น ๆ สามประเทศรวมกัน ผลงานด้านสุนทรียศาสตร์ของเยอรมัน มีทั้งความเรียง วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก วิทยานิพนธ์ปริญญาโท และความความที่เกี่ยวข้องมากมาย ปราชญ์ของประเทศอื่นไม่มีใครกล่าวถึงความงาม (Beauty) แต่ประการใด สุนทรียศาสตร์เริ่มมีความหมายแบบสมัยใหม่ในลักษณะเป็นสาขาของปรัชญา เริ่มจากเรื่อง The Aesthetica ของเบาว์มการ์เทน (Alexander Gottieb Baumgarten) ซึ่งตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1750 (Schiller, 1974 : 4-5) และซันตายานา (George Santayana) ก็ได้กล่าวไว้ว่าการที่สุนทรียศาสตร์ได้รับความสนใจน้อยไม่ใช่เพราะวิชาสุนทรียศาสตร์ไม่สำคัญ แต่เป็นเพราะมนุษย์ขาดแรงจูงใจที่จะค้นถึงความถูกต้อง ความจริง และใช้ความพยายามน้อยไปที่จะทำการศึกษา ความสำเร็จจึงน้อยไปด้วย (Santayana, 1896 : 6)
กระนั้นก่อนหน้าที่ เบาว์มการ์เทน จะบัญญัติศัพท์คำว่า "สุนทรียศาสตร์" ขึ้นมาเป็นเวลา 2000 กว่าปี นักปราชญ์สมัยกรีก เช่น เพลโต (Plato) หรือ อริสโตเติล (Alistotle) กล่าวถึงแต่เรื่องความงาม ความสะเทือนใจ ซึ่งเป็นความรู้สึกทางการรับรู้ (Sense Perception) ของมนุษย์ ปัญหาที่พวกเขาโต้เถียงกันได้แก่ ความงามคืออะไร ค่าของความงามนั้นเป็นจริงมีอยู่โดยตัวของมันเองหรือไม่ หรือว่าค่าของความงามเป็นเพียงความข้อความที่เราใช้กับสิ่งที่เราชอบ ความงามกับสิ่งที่งามสัมพันธ์กันอย่างไร มีมาตรการตายตัวอะไรหรือไม่ที่ทำให้เราตัดสินใจได้ว่าสิ่งนั้นงามหรือไม่งาม เบาว์มการ์เทน มีความสนใจในปัญหาเรื่องของความงามนี้มาก เขาได้ลงมือค้นคว้ารวบรวมความรู้เกี่ยวกับความงามที่กระจัดกระจายอยู่มาไว้ในที่เดียวกัน เพื่อพัฒนาความรู้เกี่ยวกับความงามให้มีเนื้อหาสาระที่เข้มแข็งขึ้น แล้วตั้งชื่อวิชาเกี่ยวกับความงามหรือความรู้ที่เกี่ยวกับความรู้สึกทางการรับรู้ว่า Aesthetics โดยบัญญัติจากรากศัพท์ภาษากรีก Aisthetics หมายถึง ความรู้สึกทางการรับรู้ หรือการรับรู้ตามความรู้สึก (Sense perception) สำหรับศัพท์บัญญัติภาษาไทย ก็คือ "สุนทรียศาสตร์" จากนั้นวิชาสุนทรียศาสตร์ ก็ได้รับความสนใจเป็นวิชาที่มีหลักการเจริญก้าวหน้าขึ้น สามารถศึกษาได้ถึงระดับปริญญาเอก ด้วยเหตุผลนี้ เบาว์มการ์เทน จึงได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งสุนทรียศาสตร์สมัยใหม่ฐานะที่เติมเชื้อไฟแห่งสุนทรียศาสตร์ที่กำลังจะมอดดับให้กลับลุกโชติช่วยขึ้นมาอีกวาระหนึ่ง (ทวีเกียรติ ไชยยงยศ. 2538 ; 1)

สุนทรียศาสตร์ (Aesthetics) เป็นเนื้อหาว่าด้วยการศึกษาเรื่องมาตรฐานของความงามในเชิงทฤษฎีอันเกี่ยวกับประสบการณ์ทางสุนทรียภาพ กฎเกณฑ์ทางศิลปะ สุนทรียศาสตร์นับว่าเป็นแขนงหนึ่งของปรัชญาในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ การแสวงหาคุณค่า (Axiology) ในสมัยก่อนวิชานี้เป็นที่รู้จักกันในรูปของวิชา "ทฤษฎีแห่งความงาม(Theory of Beauty) หรือปรัชญาแห่งรสนิยม (Philosophy of taste)

สุนทรียศาสตร์ เป็นคำมาจากศัพท์ภาษาบาลีว่า"สุนทรียะ" แปลว่าดี งาม สุนทรียศาสตร์จึงมีความหมายตามรากศัพท์ว่าวิชาที่ว่าด้วยความงาม ในความหมายของคำเดียวกันนี้ นักปราชญ์ ชาวเยอรมันชื่อAisthetics Baumgarten (1718 - 1762) ได้เลือกคำในภาษากรีกมาใช้คำว่า Aisthetics ซึ่งหมายถึงการรับรู้ตามความรู้สึก (Sense Perception) เป็นวิชาเกี่ยวกับเรื่องทฤษฎีแห่งความงามตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า Aesthetics ส่วนในภาษาไทยใช้คำว่าสุนทรียศาสตร์หรือวิชาศิลปะทั่วไป ดังนั้น จึงถือว่าศิลปะเป็นส่วนหนึ่งของสุนทรียศาสตร์หรือเมื่อกล่าวถึงสุนทรียศาสตร์เมื่อใดก็มักจะเกี่ยวข้องกับงานศิลปะนั่นเอง

ความสำคัญของสุนทรียศาสตร์และศิลปะ
เนื้อหาของสุนทรียศาสตร์นั้นว่าด้วยความคิดรวบยอดเรื่องความงาม การที่จะนิยามว่าความงามคืออะไรนั้นก็ยังไม่เป็นที่ยุติและเรื่องนี้ก็นับว่าเป็นปัญหาสำคัญของสุนทรียศาสตร์อย่างหนึ่ง แต่ปัญหาที่ว่าความงามคืออะไรนั้น นักศิลป์ทั่วไปไม่ค่อยให้ความสนใจเท่าไรนัก แต่เขาจะพยายามทุ่มเททุกอย่างเพื่อสร้างความงามขึ้นด้วยศิลปะของเขา ซึ่งความสนใจดังกล่าวนี้ถือว่าเป็นสัญชาติญาณของศิลป์ แต่จุดมุ่งหมายของสุนทรียศาสตร์ก็คือความพยายามยกระดับของการสร้างสรรค์และความสนใจในศิลปะซึ่งเป็นไปตามสัญชาตญาณนั้นให้เป็นพฤติกรรมที่เต็มไปด้วยปัญญา ทั้งนี้ก็เพื่อให้เข้าใจถึงหลักการขั้นมูลฐานของพฤติกรรมเกี่ยวกับศิลปะ ดังนั้น สุนทรียศาสตร์จึงเริ่มเรื่องด้วยการพิจารณาจากความสนใจในศิลปะและการสร้างสรรค์ศิลปะ ซึ่งคำตอบของสุนทรียศาสตร์ก็ได้จากการพยายามค้นหาความหมายของความงามนั่นเอง ความหมายของความงามก็เป็นเรื่องเกี่ยวกับการรับรู้ของมนุษย์
จากประเด็นนี้จะเห็นได้ว่าหน้าที่ของนักสุนทรียศาสตร์ก็คือการค้นหาความหมายของความงามนั่นเอง แต่ก็มิได้หมายความว่าหน้าที่ของนักสุนทรียศาสตร์จะจำกัดอยู่แค่การค้นหาความงามจากความหมายของศิลปะที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้นเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงความงามของธรรมชาติด้วย
สำหรับคำว่า “สุนทรียศาสตร์” ความหมายที่ปรากฏอยู่ในขณะนี้มีขอบเขตอิสระมากขึ้น ความหมายของคำนี้ในทางวิชาการก็คือ เป็นวิชาที่เกี่ยวกับการศึกษาศิลปะแขนงต่างๆ รวมถึงหลักการของศิลปะ กระบวนการสร้างสรรค์ศิลปะ ประสบการณ์ทางศิลปะ นอกจากนี้ขอบเขตของความหมายยังได้ครอบคลุมไปถึงศิลปะกับชีวิตและสังคมร่วมทั้งความงามและปรากฏการณ์ที่งดงามของธรรมชาติอีกด้วย

ความงามในธรรมชาติและความงามในศิลปะ
ความงามในธรรมชาติ เป็นความงามที่ปราศจากการปรุงแต่ง เป็นความงามที่มนุษย์สามารถสัมผัสได้ เข่นชมทิวทัศน์ทุ่งทานตะวัน หรือชมพระอาทิตย์อัศดงที่ภูผาเป็นต้น
ความงามในศิลปะ เกิดจากความรู้สึกภายในจิตใจ ที่อยากแสดงออกทางสุนทรียภาพจากประสบการณ์ต่างๆ และขึ้นอยู่กับการสัมผัสของแต่ละบุคคล

ทฤษฎีความงาม

ทฤษฎีความงาม เป็นเรื่องที่ถกเถียงกันมากในทางสุนทรียศาสตร์อีกอย่างหนึ่งก็คือ ตำแหน่งของความงาม หรือว่าความงามอยู่ที่ไหน ความงามนั้นไม่ว่าจะเป็นจิตวิสัยหรือวัตถุวิสัยก็ยังคงเป็นเรื่องที่ให้ความเห็นไม่ตรงกันอยู่นั่นเอง และทัศนะที่แตกต่างกันของนักสุนทรียศาสตร์เหล่านั้น ก็ก่อให้เกิดทฤษฎีทางความงามขึ้นหลาย ทฤษฎี ดังจะยกมาพอสังเขปดังนี้

1.ความงามเป็นคุณสมบัติของวัตถุ
ผู้ที่เชื่อในทฤษฎีนี้ เชื่อว่าวัตถุต่าง ๆ ล้วนแล้วแต่มีความงามในตัวของวัตถุเอง เช่น สวยเพราะสีสัน ทรวดทรง พื้นผิว ไม่ว่าเราจะสนใจวัตถุนั้นหรือไม่ การที่เราเริ่มให้ความสนใจในวัตถุนั้น ก็เป็นเพราะความงามของวัตถุนั้นนั่นเอง
บุคคลที่ได้ให้ทัศนะเกี่ยวกับทฤษฎีนี้ท่านหนึ่งก็คือ อริสโตเติล (Aristotle. 384-322 B.C) ท่านได้ให้ทัศนะเกี่ยวกับความงามที่เป็นวัตถุวิสัยนี้ว่า สุนทรีธาตุนั้นมีจริง โดยไม่ขึ้นกับความคิดของมนุษย์ สุนทรีธาตุ มีมาตรการตายตัวแน่นอนในตัวเอง ดังนั้น ความงามของวัตถุจึงเป็นความสมบูรณ์อันเกิดจากรูปร่าง รูปทรง สีสัน สัดส่วนที่ประกอบกันเข้าอย่างกลมกลืนมีความสมดุล จึงถือว่าความงามที่เป็นวัตถุวิสัยหรือสุนทรียธาตุนั้นเป็นความงามที่สมบูรณ์แบบ

2.ความงามคือความรู้สึกเพลิดเพลิน
แนวคิดตามทฤษฎีนี้กล่าวคือ การที่เรามองเห็นคุณค่าของความงามในสิ่งใดใดก็แล้ว จิตเป็นตัวกำหนดความงาม ซึ่งเพลโต นักปรัชญาชาวกรีก (Plato 472 -347 B.C) ได้ให้ทัศนะเกี่ยวกับเรื่องของความงามว่า ความงามที่แท้จริงนั้นอยู่ในโลกแห่งจินตนาการ (World of Idea) เขาเชื่อว่าความงามอยู่ที่จิตเป็นตัวกำหนด ส่วนความคิดนั้นอยู่ในห้วงแห่งจินตนาการที่อยู่นอกเหนือไปจากโลกนี้ กล่าวคือจิตต้องสร้างต้นแบบแห่งความงามขึ้น สิ่งใดที่มีลักษณะใกล้เคียงกับจินตนาการในต้นแบบมากเพียงใด ย่อมถือว่าเป็นความงามเพียงนั้น ความชอบความเพลิดเพลินในเป็นสิ่งแสดงถึงคุณค่าตามมา

3.ความงามเป็นสภาวสัมพัทธ์
นักคิดบางคนเชื่อว่าความงามไม่ใช่เป็นจิตวิสัยอย่างสิ้นเชิง และก็ไม่ใช่เป็นวัตถุวิสัยอย่างสิ้นเชิงเช่นกัน แต่เป็นภาวสัมพัทธ์ระหว่างวัตถุกับบุคคล ทัศนะนี้ก็นับว่ามีส่วนถูกต้องอยู่ที่การยอมรับว่าทั้งบุคคลและ วัตถุมีความสำคัญด้วยกันทั้งคู่ในการตีคุณค่าทางสุนทรียะ แต่เราก็ต้องยอมรับว่าความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งสองสิ่งดังกล่าวนั้น เป็นรากฐานรองรับคำว่าคุณค่าทางสุนทรียะ เพียงแต่ว่าตัวความสัมพันธ์เองนั้นไม่ใช่เป็นตัวความงามหรือตัวคุณค่าทางสุนทรียะ เพราะฉะนั้นการที่จะอธิบายว่าความงามคือสภาวสัมพันธ์ระหว่างบุคคลจึงเป็นคำอธิบายที่ไม่ถูกนัก


ความหมายของสุนทรียภาพ ( Aesthetic )สุนทรียภาพ ( Aesthetic ) มีความหมายของคำไว้หลายมุมมอง ดังตัวอย่างต่อไปนี้

สุนทรีภาพ (Aesthetic) หมายถึง ความซาบซึ้งในคุณค่าของสิ่งที่งาม ไพเราะ หรือรื่นรมย์ ไม่ว่าจะเป็นธรรมชาติ หรือศิลปะ (พจนานุกรมศัพท์ศิลปะ. 2530 : 6)
ซึ่งความรู้สึกซาบซึ้งในคุณค่าดังกล่าวนี้ย่อมจะเจริญเติบโตได้โดยประสบการณ์ หรือการศึกษา อบรม ฝึกฝน จนเป็นอุปนิสัยเกิดขึ้นเป็นรสนิยม (Taste) ขึ้นตามตัวบุคคล และความรู้สึกนี้จึงอาจมีแตกต่างกันได้มาก แม้ระหว่างบุคคลต่อบุคคล
ที่ว่าสุนทรียภาพ เป็นความรู้สึกจากการรับรู้ที่บริสุทธิ์ในห้วงเวลาหนึ่งได้กลายเป็น ขออ้างนักปรัชญาชื่อเอมมานูเอล คานท์ (Immanuel Kant) ชาวเยอรมันที่กล่าวว่า "บางครั้งเราก็มีความรู้สึกมีความสุข เพื่อความสุขเท่านั้น" แปลความหมายได้ว่าเป็นความรู้สึกพอใจในอารมณ์ โดยไม่หวังผลตอบแทนใด ๆ ซึ่งสอดคล้องกับคำกล่าวของ จอห์น ฮอสเปอร์ (John Hospers) ที่ว่า สุนทรียภาพ "เป็นลักษณะของประสบการณ์ที่ไม่มีผลในทางปฏิบัติ" นั่นก็หมายความว่า เมื่อเรามีสุนทรียภาพกับดอกกุหลาบเพราะเราเห็นความงามของมัน ดอกกุหลาบที่เบ่งบานอยู่กับต้นทำให้เราพอใจ เพลิดเพลิน ปิติปราโมทย์ มีความสุข ถ้าเราเด็ดดอกกุหลายนั้นไปขาย แสดงว่าเราไม่ได้มีสุนทรียภาพเพราะเราชอบดอกกุหลาบนั้นเพียงเพื่อจะขายเอาเงินเท่านั้น เป็นการชอบที่ไม่บริสุทธิ์ใจ เพราะผลที่ตามมาคือการทำลาย การที่จะตัดสินใจว่า ใครมีสุนทรียภาพหรือใครไม่มีสุนทรียภาพท่านว่าให้พิจารณาที่ค่าในตัวหรือค่านอกตัวของสิ่งนั้น ถ้าบุคคลมองเห็นค่าในตัวของวัตถุนั้นแสดงว่า มีสุนทรียภาพ ในทางตรงกันข้ามถ้าบุคคลนั้นมองเห็นค่านอกตัวของวัตถุมากกว่าค่าในตัวก็แสดงว่าบุคคลนั้นไม่มีสุนทรียภาพ ยกตัวอย่าง ความงามของหญิงสาว เรามองเห็นหญิงสาวแล้วพอใจจนเผลอใจ เพราะได้มองเห็นสัดส่วนในตัวผู้หญิง ว่าช่างพอเหมาะไปหมด (ค่าในตัว) ถึงกับเผลออุทานว่า "เธอช่างงดงามอะไรเช่นนั้น" อย่างนี้เรียกว่า มีสุนทรียภาพ เพราะเห็นค่าในตัวของหญิง แต่ถ้าในทางตรงกันข้าม เมื่อเรามองเห็นหญิงสาวแล้วคิดต่อไปว่า ถ้าเอาไปขายจะได้ราคาดี อย่างนี้เรียกว่าไม่มีสุนทรียภาพ เพราะมองไม่เห็นค่าในตัว แต่กลับไปเห็นค่านอกตัว คือ เงิน หรือเห็นหญิงงามแล้วเกิดความใคร่ขึ้นมาแสดงว่าเห็นค่านอกตัว คือ กามารมณ์ จัดว่าไม่มีสุนทรียภาพเช่นกัน (ทวีเกียรติ ไชยยงยศ. 2528 : 3)

สุนทรีภาพ (Aesthetic) กล่าวทางศิลปะ หมายถึง ความรู้สึกโดยธรรมดาของคนเราทุกคนซึ่งรู้จักค่าของวัตถุที่งาม ดังยกตัวอย่าง กล่าวถึงวัตถุอันเดียวกันอาจทำให้ชาวบ้านธรรมดาหรือตาสีตาสารู้สึกว่างามไพเราะ แต่ผู้ซึ่งได้รับการศึกษาและมีความรู้สึกสูงอาจรู้สึกเห็นเป็นตรงข้ามก็ได้ เช่น ตาสีตาสาชอบสิ่งที่มีสีฉูดฉาด ชอบเสียงดนตรีที่ดังจนหนวกหู ถ้าได้เห็นภาพสีที่ดีเลิศ มีองค์ประกอบเป็นสีที่ประสานกันอย่างสุขุม หรือฟังเสียงดนตรีที่ประพันธ์ขึ้นโดยมีความประสานกันอย่าง “ซิมโฟนี” (Symphony) ตาสีตาสาอาจรู้สึกเฉยๆ ไม่รู้สึกว่างามหรือฟังไพเราะจับใจ ซ้ำจะเกิดระคายตารำคาญหูของแกด้วยก็ได้ ซึ่งแท้จริง ความรู้ค่า (Appreciation) ต่อการประจักษ์ (Manifestation)ของศิลปะชั้นต่ำที่ว่านี้ ก็เท่ากับเป็นความรู้สึกเบื้องต้นของความงามที่เป็นสุนทรียภาพ ถ้าต่อไปเจริญคลี่คลายขึ้นแล้วก็จะเปิดช่องให้ประสาทอินทรีย์ของตาสีตาสารู้สึกนิยมยินดี คือ รู้ค่าของวิจิตรศิลป์นั่นเอง (ศิลป์ พีรศรี,2526:17)




 

Create Date : 30 สิงหาคม 2550    
Last Update : 25 พฤศจิกายน 2550 11:30:11 น.
Counter : 54745 Pageviews.  

แผนบริหารการสอนวิชาสุนทรียภาพของชีวิต

แผนบริหารการสอน
วิชาสุนทรียภาพของชีวิต (Aesthetics Appreciation)

รหัสวิชา 2000101 หน่วยกิต / ชม. 3(3-3) ผู้สอน อ.กานต์ทิตา หมวดวิชาศึกษาทั่วไป

1. คำอธิบายรายวิชา
ศึกษาและจำแนกข้อต่างในศาสตร์ทางความงาม ความหมายของสุนทรียศาสตร์ โดยสังเขปความสำคัญของการรับรู้กับความเป็นมาของศาสตร์ทางการเห็น (the Art Of Imagery) ศาสตร์ทางการได้ยิน (the art of sound) และศาสตร์ทางการเคลื่อนไหว (the art of Movement) สู่ทัศนศิลป์ (Visual Arts) ศิลปะดนตรี (Musical Arts) และศิลปะการแสดง (Performing Arts) ผ่านขั้นตอนการเรียนรู้เชิงคุณค่า จาก ระดับการรำลึก(Recognitive) ผ่านขั้นตอนความคุ้นเคย(Acquantive) นำเข้าสู่ขั้นความซาบซึ้ง (Appreciative) เพื่อให้ได้มาซึ่งประสบการณ์ของความซาบซึ้งทางสุนทรียภาพ

2. แนวคิด

ชีวิตของบัณฑิตที่สมบูรณ์และจะขาดไม่ได้ เกี่ยวกับการมีสุนทรียภาพของชีวิต ที่เกิดจากประสบการณ์ของการสัมผัสสิ่งสวยงามของธรรมชาติ ความงามของผลงานศิลปะ และศิลปะทางภาพลักษณ์ หรือศิลปะทางการเห็น จากศิลปะทางเสียง หรือศิลปะดนตรี และจากศิลปะทางการเคลื่อนไหว หรือศิลปะทางการแสดง ทั้งนี้เพื่อสร้างเสริมให้การดำเนินชีวิตของบัณฑิตเป็นผู้รับรู้ในคุณค่าของความงาม สู่การเป็นผู้มีรสนิยมในศิลปะ อันจะนำไปสู่ความสำนึกในคุณค่าแห่งสุนทรียภาพ เพื่อสนองจิตและวิญญาณในการนำตนเองไปสู่ความเป็นอิสระทางปัญญา อันเป็นคุณค่าของมนุษย์

3. จุดประสงค์

1. ให้เกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายของสุนทรียภาพกับคุณค่าทางด้านสุนทรียศาสตร์
2. ให้มีความรู้ความเข้าใจ และสามารถวิเคราะห์ความสำคัญของการรับรู้ฐานศาสตร์ทางศิลปะได้
3. ฝึกฝนให้ผู้เรียนเกิดความตระหนักในการเรียนรู้ โดยผ่านขั้นตอนการเรียนรู้เชิงคุณค่าจากระดับการรำลึก ผ่านระดับความคุ้นเคยและนำเข้าสู่ระดับความซาบซึ้ง
4. สร้างโอกาสทางการเรียนรู้ให้ผู้เรียน โดยผ่านประสบการณ์จริง และนำความรู้เกี่ยวกับสุนทรียภาพไปใช้ในชีวิตเพื่อขัดเกลาจิตใจให้เป็นคนดีในสังคมได้

4.เนื้อหา

หน่วยที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสุนทรียศาสตร์ - สุนทรียภาพ

- ความหมายของสุนทรียศาสตร์
- ทฤษฎีความงาม
- ความหมายของสุนทรียภาพ
- ความหมายของศิลปะ
- ความหมายของศิลปะตามแนวคิดของศิลปิน
- ประเภทของงานศิลปะ
- งานทัศนศิลป์ (visual art)
- ฐานของงานศิลปะ

หน่วยที่ 2 องค์ประกอบในการสร้างสรรค์งานศิลปะ


- องค์ประกอบของศิลปะ (composition)
- หลักการของศิลปะ (principales of art)
- ทฤษฎีสี
- วิธีการสร้างสรรค์งานศิลปะ

หน่วยที่ 3 สุนทรียภาพงานศิลปะไทย

- ประวัติศาสตร์ศิลปะไทย
- พื้นฐานลายไทย

หน่วยที่ 4 สุนทรียภาพศิลปะตะวันตก

- ประวัติศาสตร์ศิลปะยุคโบราณและยุคกลาง
- ประวัติศาสตร์ศิลปะยุคฟื้นฟูและยุคใหม่

5. กิจกรรมการเรียนการสอน

1. ศึกษาเอกสารชุดการเรียนการสอนวิชาสุนทรียภาพเพื่อชีวิต
2. ศึกษาค้นคว้าตามหัวข้อที่กำหนด
3. ศึกษาจากแผนภาพ แผ่นใส โปรแกรมสำเร็จรูป VCD
4. แบ่งกลุ่มค้นคว้าเพิ่มเติม
5. บรรยายสรุปเนื้อหาประกอบแผ่นใส

6. สื่อการเรียนการสอน


1. เอกสารชุดวิชาสุนทรียภาพเพื่อชีวิต
2. บทความทางวิชาการหรือข่าวสารจากสื่อต่าง ๆ
3. แผ่นใส, โปรแกรมสำเร็จรูป, VCD
4. เอกสารแบบฝึกหัดชุดวิชาสุนทรียภาพเพื่อชีวิต

7. การวัดผล


1. คะแนนระหว่างภาคเรียน 60 คะแนน แยกเป็น
ศิลปะ 20 คะแนน ดนตรี 20 คะแนน นาฎศิลป์ 20 คะแนน
2. สอบปลายภาค 40 คะแนน

8. เกณฑ์การประเมิณ

80 - 100 = A , 75 – 79 = B+ , 70 – 74 = B , 65 – 69 = C+
60 – 64 = C , 65 – 59 = D+ , 50 – 54 = D , ต่ำกว่า 50 = F

9. หนังสืออ่านประกอบ

1. สุภัทรดิศ ดิศกุล.มจ.ศิลปะในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ธรรมศาสตร์, 2538.
2. ผดุง พรมมูล.ศิลปะการสร้างสรรค์ภาพประกอบ.กรุงเทพฯ: มูลนิธิเด็ก, 2547.
3. สันติ เล็กสุขุม.ประวัติศาสตร์ศิลปะไทย(ฉบับย่อ) : การเริ่มต้นและการสืบเนื่องงานช่างในศาสนา.(พิมพ์ครั้งที่ 2) กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, 2546.
4. อัศนีย์ ชูอรุณ.ประวัติศาสตร์ศิลปะยุคโบราณและยุคกลาง. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์, 2536.
5. อัศนีย์ ชูอรุณ.ประวัติศาสตร์ศิลปะยุคฟื้นฟูและยุคใหม่. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์, 2537.




 

Create Date : 28 สิงหาคม 2550    
Last Update : 25 พฤศจิกายน 2550 11:30:32 น.
Counter : 3378 Pageviews.  

1  2  
 
 

aesthetic_kan
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




*อาจารย์กานต์*



[Add aesthetic_kan's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com
pantip.com pantipmarket.com pantown.com