2. พระสูตรหลักถัดไป คืออากังเขยยสูตรและวัตถูปมสูตร.

ฐานาฐานะ :-
             การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก :-
             1. พระสูตรหลักถัดไป คืออากังเขยยสูตรและวัตถูปมสูตร.
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=thanathana&month=11-03-2013&group=2&gblog=1

ความคิดเห็นที่ 14-5
ฐานาฐานะ, 16 มกราคม เวลา 23:01 น.
GravityOfLove, 8 มกราคม เวลา 16:39 น.
             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
             ๑. มูลปริยายวรรค
             ๖. อากังเขยยสูตร (อากงฺเขยฺย) ว่าด้วยข้อที่พึงหวังได้ ๑๗ อย่าง
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=12&A=1024&Z=1135&bgc=lavender&pagebreak=0    
16:39 8/1/2556

             ย่อความได้ดี รวบรวมประเด็นได้ครบถ้วน.
             1. เนื่องจากลิงค์ของ Pantip ยังมี Bug อยู่
             ดังนั้น หากลิงค์ใดๆ มีเครื่องหมาย # เช่น
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=10#อเนสนา
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=สิกขาบท#find6

             ขอให้แก้การทำลิงค์เฉพาะช่วงเวลาที่ Pantip ยังไม่แก้ไขดังนี้ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=10#อเนสนา << #อเนสนา
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=สิกขาบท#find6 << #find6

             เพื่อให้สามารถคัดลอกไปเติมด้านล่างของลิงค์นั้นๆ ได้โดยง่าย.
             2. การทำลิงค์ ควรตรวจสอบความถูกต้องด้วย เช่น
             ก็พึงทำให้ศีลบริบูรณ์ ...
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=โอปปาติกะ&detail=on  << ไม่ได้
             ควรดูว่า ลิงค์นั้นมี parameter เกินจากที่ต้องการหรือไม่?
โดยสังเกตุจากตัวหนังสือสีเหลืองและขีดเส้นใต้ เป็นเกณฑ์
             จากตัวอย่างข้างต้น ลิงค์ที่ถูกต้องควรเป็นดังนี้ :-
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=โอปปาติกะ&detail=on  << ไม่ได้

             คำถามในพระสูตรชื่อว่า อากังเขยยสูตร
             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้แล้ว ได้อะไรบ้าง?
             2. ในส่วนของอานิสงส์ต่างๆ หรือคุณวิเศษต่างๆ ที่ปรากฎในพระสูตร
อันเรายังไม่ได้ไม่ถึง ควรมนสิการอย่างไร?
             3. ว่าด้วย อโคจร
//84000.org/tipitaka/read?29/917
             ค้นหรือนำลิงค์นี้มาได้อย่างไร?

ความคิดเห็นที่ 14-6
GravityOfLove, 17 มกราคม เวลา 10:42 น.

             คำถามในพระสูตรชื่อว่า อากังเขยยสูตร
             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้แล้ว ได้อะไรบ้าง?
             ๑. ทราบอานิสงส์ของการรักษาศีลให้สมบูรณ์ ได้แก่ ถ้าอยากเป็นที่รัก เคารพ ยกย่อง
ของเพื่อนพรหมจรรย์ เป็นต้น ก็พึงทำให้ศีลบริบูรณ์
             อานิสงส์ของการมีศีลสมบูรณ์เป็นเบื้องต้น สูงสุดได้ถึงบรรลุพระนิพพาน
             ซึ่งเป็นการแจงอานิสงส์ของศีลโดยละเอียด จากที่เคยทราบอานิสงส์ของศีลในมหาปรินิพพานสูตร ว่า
                       ๑. ย่อมได้รับโภคทรัพย์ใหญ่ เพราะความไม่ประมาทเป็นเหตุ
                       ๒. เกียรติศัพท์อันงามของผู้มีศีล ย่อมฟุ้งขจรไปไกล
                       ๓. ผู้มีศีลเข้าไปสู่สมาคมใดๆ ย่อมเข้าไปอย่างองอาจไม่เก้อเขิน
                       ๔. ผู้มีศีลย่อมไม่หลงทำกาละ (คือไม่หลงในเวลาตาย)
                       ๕. ผู้มีศีล ตายแล้วย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์

             ๒. ความเป็นผู้มีศีลถึงพร้อมย่อมมีได้ด้วยเหตุ  2 ประการ คือ
             เพราะการเห็นโทษในการวิบัติแห่งศีล และเพราะเห็นอานิสงส์ในการถึงพร้อมแห่งศีล

             ๓.  แม้ศีลจะประกอบด้วยนัย 4 คือ ปาฏิโมกขสังวรศีล อินทรียสังวรศีล อาชีวปาริสุทธิศีล และปัจจัยสันนิสิตศีล
แต่ข้อที่สำคัญที่สุดคือ ปาฏิโมกขสังวรศีล
             ปาฏิโมกขสังวรศีลนั้นของผู้ใด ไม่ด่างพร้อย ผู้นั้นย่อมสามารถที่จะรักษาศีลที่เหลือให้ดํารงอยู่ตามปกติได้
เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีศีรษะไม่ขาด ก็อาจรักษาชีวิตไว้ได้        

             ๔. การระลึกถึงพระสงฆ์ผู้มีศีลสมบูรณ์ด้วยจิตที่เลื่อมใส ก็มีผลใหญ่ อานิสงส์ใหญ่ แก่ผู้ระลึกถึง

             ๕. ความถึงพร้อม มี 3 อย่าง คือ ความบริบูรณ์  ความพรั่งพร้อม  และความหวาน
ในพระสูตรนี้คือ ถึงพร้อมด้วยความบริบูรณ์บ้าง ความพรั่งพร้อมบ้าง

             ๖. ศีลที่ ขาด ทะลุ ด่าง พร้อย จะจัดเป็นศีลที่บริบูรณ์ไม่ได้  
เปรียบเหมือนนาที่ประกอบด้วยโทษ   4 อย่าง คือ พืชเสีย การหว่านไม่ดี น้ำไม่ดี ที่ดินไม่ดี

             ๗. จิตเป็นเอกัคคตา (ความมีอารมณ์เป็นอันเดียว) จะอนุรักษ์ศีลไว้ได้
เพราะแม้มีอะไรมารบกวนทำให้เดือดร้อนกระวนกระวาย ก็ัียังสามารถข่มทุกข์นั้นไว้ได้ ไม่ไปทำให้ต้องศีลขาด

             ๘. การกําหนดสังขาร ย่อมตามอนุรักษ์ศีลไว้ได้
คือไม่มีความรักรุนแรงในอัตภาพ จนต้องทำให้ศีลขาด

             ๙. ภิกษาแม้ทัพพีเดียว หรือบรรณศาลาแม้เล็กนิดเดียวที่ทําถวายแก่ท่านผู้ประกอบด้วยคุณ  มีศีลเป็นต้น  
ย่อมรักษาเขาไว้ได้จาก ทุคติ วินิบาต เป็นเวลาหลายแสนกัลป์ และยังเป็นปัจจัยแห่งการบรรลุพระนิพพาน

             ๑๐. อภิญญา 5 ประการ ซึ่งเป็นโลกิยะ ก็เป็นอานิสงส์ของศีลเหมือนกัน
และการทําฤทธิ์ย่อมสําเร็จแก่บุคคล ผู้ตั้งอยู่ในอนาคามิมรรคโดยง่าย
-----------------------------------------------------------------------------------------------
             2. ในส่วนของอานิสงส์ต่างๆ หรือคุณวิเศษต่างๆ ที่ปรากฎในพระสูตร
อันเรายังไม่ได้ไม่ถึง ควรมนสิการอย่างไร?
             คุณวิเศษต่างๆ เป็นเพียงสิ่งที่ตามมาจากอานิสงส์ของศีล
             เป้าหมายในการปฎิบัติธรรมคือเพื่อลด ละกิเลสในตน
             การรักษาศีลให้บริสุทธิ์ ศึกษาพระธรรม แม้วันนี้จะไม่บรรลุอะไร
แต่จะเป็นปัจจัยให้บรรลุได้ในภายภาคหน้า อย่าท้อถอย เพียรต่อไป

ความคิดเห็นที่ 14-7
GravityOfLove, 17 มกราคม เวลา 10:54 น.

เพิ่มเติมข้อ ๑๐
... เพราะท่านถอนกามราคะและพยาบาทซึ่งเป็นข้าศึกของสมาธิได้แล้ว

ความคิดเห็นที่ 14-8
ฐานาฐานะ, 17 มกราคม เวลา 11:21 น.

GravityOfLove, 24 นาทีที่แล้ว
             ...
10:42 AM 1/17/2013

             โดยรวมแล้ว ตอบคำถามได้ดีครับ.
             ติงเล็กน้อยในคำตอบข้อ 2
             2. ในส่วนของอานิสงส์ต่างๆ หรือคุณวิเศษต่างๆ ที่ปรากฎในพระสูตร
อันเรายังไม่ได้ไม่ถึง ควรมนสิการอย่างไร?
             คุณวิเศษต่างๆ เป็นเพียงสิ่งที่ตามมาจากอานิสงส์ของศีล
             เป้าหมายในการปฎิบัติธรรมคือเพื่อลด ละกิเลสในตน
             การรักษาศีลให้บริสุทธิ์ ศึกษาพระธรรม แม้วันนี้จะไม่บรรลุอะไร
แต่จะเป็นปัจจัยให้บรรลุได้ในภายภาคหน้า อย่าท้อถอย เพียรต่อไป
--------------
             คำว่า
              คุณวิเศษต่างๆ เป็นเพียงสิ่งที่ตามมาจากอานิสงส์ของศีล
             ไม่ควรใช้คำว่า เพียง ในกรณีนี้.
             ควรมนสิการว่า
             คุณวิเศษต่างๆ เป็นสิ่งที่ตามมาจากอานิสงส์ของศีล
             คุณวิเศษต่างๆ เป็นอานิสงส์ของศีล อันเรายังไม่ได้ไม่ถึง
เมื่อปัจจัยถึงพร้อมเมื่อใด ก็ได้ก็ถึงเมื่อนั้น อย่าท้อถอย เพียรต่อไปใน
การรักษาศีลให้บริสุทธิ์ ศึกษาพระธรรม.

ความคิดเห็นที่ 14-9
GravityOfLove, 17 มกราคม เวลา 11:29 น.

ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 14-10
ฐานาฐานะ, 17 มกราคม เวลา 12:41 น.

             เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า อากังเขยยสูตร จบบริบูรณ์.    
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=1024&Z=1135

             พระสูตรหลักถัดไป คือวัตถูปมสูตรและสัลเลขสูตร.
             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔
             มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
             วัตถูปมสูตร ว่าด้วยข้ออุปมาด้วยผ้า
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=1136&Z=1236
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=91

             สัลเลขสูตร ว่าด้วยธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=1237&Z=1517
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=100

             สัมมาทิฏฐิสูตร ว่าด้วยความเห็นชอบ
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=1518&Z=1753
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=110

             สติปัฏฐานสูตร ว่าด้วยการเจริญสติปัฏฐาน
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=1754&Z=2150
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=131

ความคิดเห็นที่ 14-11
GravityOfLove, 17 มกราคม เวลา 13:19 น.

คำถาม อรรถกถาวัตถูปมสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=12&A=1136&Z=1236&bgc=lavender
             กรุณาอธิบายค่ะ
             ๑. พึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงแสดง (ธรรม) อย่างนี้ คือทั้งเพราะ (ตาม) อัธยาศัยของบุคคล ทั้งเพราะทรงยักย้ายเทศนานี้.
             ๒.  แต่ในที่นี้กิเลสเหล่านี้จะถูกฆ่าด้วยโสดาปัตติมรรค หรือถูกฆ่าด้วยมรรคที่เหลือก็ตาม ถึงกระนั้นพึงทราบว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคำเป็นต้นว่า บุคคลย่อมละอภิชฌาวิสมโลภะอันเป็นเครื่องเศร้าหมองแห่งจิต ดังนี้ ทรงหมายเอาการละด้วยอนาคามิมรรค
นั่นเอง.
               นี้เป็นการเกิด (แห่งผล) อันมาแล้วตามมรรคที่สืบต่อกันในที่นี้. ก็เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงมรรคที่ ๔ ไว้ในขั้นสูงสุดแล้ว การเกิดแห่งผลนั้นจึงจะถูก อุปกิเลสมีวิสมโลภะเป็นต้นที่เหลือจากอุปกิเลสที่ละได้แล้วด้วยตติยมรรค ย่อมเป็นอันละได้ด้วยมรรคที่ ๔ นั้น. กิเลสที่เหลือย่อมเป็นอันละได้ด้วยมรรคที่ ๔ นี้เช่นกัน. เพราะว่า อุปกิเลสมีมักขะเป็นต้นแม้เหล่าใดย่อมละได้ด้วยโสดาปัตติมรรค อุปกิเลสแม้เหล่านั้นย่อมเป็นอันละได้เด็ดขาดแล้วด้วยอนาคามิมรรคนั่นแล เพราะจิตอันเป็นสมุฏฐานแห่งอุปกิเลสมีมักขะเป็นต้นนั้นยังละไม่ได้โดยเด็ดขาด (ด้วยโสดาปัตติมรรค).
               แต่ในอธิการนี้ อาจารย์บางพวกพรรณนาการละได้ด้วยปฐมมรรคนั่นแล. คำนั้นไม่สมกับคำต้นและคำปลาย. อาจารย์บางพวกพรรณนาวิกขัมภนปหานไว้ในอธิการนี้. คำนั้นเป็นเพียงความประสงค์ของอาจารย์พวกนั้นเท่านั้น.
             ๓. อภิชฌาวิสมโลภะ ละได้ด้วยอนาคามิมรรคหรืออรหัตตมรรคคะ
             ๔. จริงอยู่ ภิกษุรูปนี้มีความเลื่อมใสอันเป็นโลกุตตระมาแล้วโดยอนาคามิมรรค สมัยต่อมา เมื่อภิกษุนี้ระลึกถึงอยู่ซึ่งพระคุณของพระพุทธเจ้า ของพระธรรม และพระสงฆ์ ความเลื่อมใสอันเป็นโลกิยะย่อมเกิดขึ้นได้. พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงความเลื่อมใสทั้งที่เป็นโลกิยะและโลกุตตระทั้งหมดนั้นของภิกษุนั้น จึงตรัสคำเป็นต้นว่า พุทฺเธ อเวจฺจปฺปสาเทน ดังนี้.
             ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 14-12
ฐานาฐานะ, 17 มกราคม เวลา 21:28 น.

GravityOfLove, 7 ชั่วโมงที่แล้ว
คำถาม อรรถกถาวัตถูปมสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=12&A=1136&Z=1236&bgc=lavender
             กรุณาอธิบายค่ะ
             ๑. พึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงแสดง (ธรรม) อย่างนี้
คือทั้งเพราะ (ตาม) อัธยาศัยของบุคคล ทั้งเพราะทรงยักย้ายเทศนานี้.
อธิบายว่า
             ทั้งเพราะ (ตาม) อัธยาศัยของบุคคล กล่าวคือ เช่น บุคคลนั้นได้สดับ
พระธรรมเทศนาอุปมาแห่งอุปกิเลสด้วยสิ่งสกปรกที่ติดผ้า ย่อมทำให้ผ้าไม่สามารถ
ย้อมให้ดีได้ ฯลฯ บุคคลนั้นจะเข้าใจได้ง่าย สามารถดำเนินกรรมฐานต่อเนื่องได้
เป็นต้น พระธรรมเทศนานั้น เรียกว่าตามอัธยาศัยของบุคคล.
             ทั้งเพราะทรงยักย้ายเทศนานี้ กล่าวคือ ทรงสามารถแสดงธรรมให้
บุคคลที่ได้สดับแล้วเข้าใจได้เร็ว และชัดเจน.
             ตัวอย่างเช่น นายA รู้ทางจากจุด 1 ไปยังจุด 2 ดังนี้
             หากบุคคลนั้น (นายA) อยู่ที่จุด 3 เมื่อจะไปยังจุด 2
ต้องมาเริ่มเดินทางจากจุด 1 ก่อนจึงจะสามารถไปยังจุด 2
ถ้าไม่เริ่มที่จุด 1 ก่อนจะไม่สามารถไปยังจุด 2 ได้.
             อย่างนี้ เรียกว่า ไม่ชำนาญทาง.
             แต่ถ้าบุคคลนั้นไม่ว่าจะอยู่จุด 1 หรือจุด 3 หรือจุดใดๆ ก็ตาม
ก็สามารถไปยังจุด 2 ได้โดยฉับพลัน อย่างนี้เรียกว่า ชำนาญทาง.
             นี้เป็นอุปมาความสามารถทรงแสดงธรรม นั่นเอง.

             ๒. แต่ในที่นี้กิเลสเหล่านี้จะถูกฆ่าด้วยโสดาปัตติมรรค หรือถูกฆ่าด้วยมรรคที่เหลือก็ตาม ถึงกระนั้นพึงทราบว่า
             พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคำเป็นต้นว่า บุคคลย่อมละอภิชฌาวิสมโลภะอันเป็นเครื่องเศร้าหมองแห่งจิต ดังนี้ ทรงหมายเอาการละด้วยอนาคามิมรรคนั่นเอง.
             นี้เป็นการเกิด (แห่งผล) อันมาแล้วตามมรรคที่สืบต่อกันในที่นี้. ก็เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงมรรคที่ ๔ ไว้ในขั้นสูงสุดแล้ว การเกิดแห่งผลนั้นจึงจะถูก อุปกิเลสมีวิสมโลภะเป็นต้นที่เหลือจากอุปกิเลสที่ละได้แล้วด้วยตติยมรรค ย่อมเป็นอันละได้ด้วยมรรคที่ ๔ นั้น. กิเลสที่เหลือย่อมเป็นอันละได้ด้วยมรรคที่ ๔ นี้เช่นกัน. เพราะว่า อุปกิเลสมีมักขะเป็นต้นแม้เหล่าใดย่อมละได้ด้วยโสดาปัตติมรรค อุปกิเลสแม้เหล่านั้นย่อมเป็นอันละได้เด็ดขาดแล้วด้วยอนาคามิมรรคนั่นแล เพราะจิตอันเป็นสมุฏฐานแห่งอุปกิเลสมีมักขะเป็นต้นนั้นยังละไม่ได้โดยเด็ดขาด (ด้วยโสดาปัตติมรรค).
             แต่ในอธิการนี้ อาจารย์บางพวกพรรณนาการละได้ด้วยปฐมมรรคนั่นแล. คำนั้นไม่สมกับคำต้นและคำปลาย.
             อาจารย์บางพวกพรรณนาวิกขัมภนปหานไว้ในอธิการนี้. คำนั้นเป็นเพียงความประสงค์ของอาจารย์พวกนั้นเท่านั้น.
อธิบายว่า ในส่วนนี้ ไม่ค่อยจะเข้าใจชัดเจนนัก.
             สันนิษฐานว่า กิเลสเหล่าใดถูกละด้วยโสดาปัตติมรรค หากมูลแห่งกิเลสเหล่านั้น
ต้องละด้วยมรรคเบื้องสูง อาจเรียกว่า ละด้วยมรรคเบื้องสูงนั้นๆ ฉันใด
             อภิชฌาวิสมโลภะ ละด้วยอนาคามิมรรค ก็จริง แต่โลภะก็ตาม ความยินดีด้วย
ความปรารถนาในฌานก็ตาม ความปรารถนาในรูปภพ อรูปภพ ละด้วยอรหัตตมรรค.
             ดังนั้น โลภะที่เหลือจากอนาคามิมรรค เช่น ความปรารถนาในรูปภพ อรูปภพ
ความปรารถนานั้นก็เป็นของไม่สมควรจะปรารถนาเช่นกัน จึงกล่าวว่า ละด้วยอรหัตตมรรค.

             ๓. อภิชฌาวิสมโลภะ ละได้ด้วยอนาคามิมรรคหรืออรหัตตมรรคคะ
             ตอบว่า น่าจะละด้วยอนาคามิมรรค ในส่วนของกามคุณ 5.

             ๔. จริงอยู่ ภิกษุรูปนี้มีความเลื่อมใสอันเป็นโลกุตตระมาแล้วโดยอนาคามิมรรค
สมัยต่อมา เมื่อภิกษุนี้ระลึกถึงอยู่ซึ่งพระคุณของพระพุทธเจ้า ของพระธรรม และพระสงฆ์
ความเลื่อมใสอันเป็นโลกิยะย่อมเกิดขึ้นได้. พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงความเลื่อมใส
ทั้งที่เป็นโลกิยะและโลกุตตระทั้งหมดนั้นของภิกษุนั้น จึงตรัสคำเป็นต้นว่า พุทฺเธ อเวจฺจปฺปสาเทน ดังนี้.
             ขอบพระคุณค่ะ
1:18 PM 1/17/2013
อธิบายว่า พระอนาคามีมีความเสื่อมใสทั้งแบบโลกิยะและโลกุตตระ
             ภิกษุรูปนี้ควรใช้คือควรระลึกถึงความเสื่อมใสทั้งสองนี้ และการที่กิเลส
(สังโยชน์ 5 เบิ้องต่ำ) ที่ละไปแล้ว ให้เกิดความปราโมทย์ ฯลฯ เพื่อให้เกิดสัมโพชฌงค์.
             ความเสื่อมใสทั้งแบบโลกิยะและโลกุตตระของพระภิกษุรูปนั้นแน่วแน่
ไม่หวั่นไหว ไม่คลอนแคลน.
             สันนิษฐานว่า ทรงแสดงธรรมเทศนานี้ เพื่อให้ภิกษุรูปนี้ เจริญกรรมฐาน
ต่อไปให้ถึงพระอรหัต ด้วยการระลึกถึงความเสื่อมใสทั้งสองให้เกิดโพชฌงค์นั่นเอง
กล่าวคือ วิธีมนสิการเพื่อเจริญโพชฌงค์.

             คำว่า โพชฌงค์
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=โพชฌงค์

ความคิดเห็นที่ 14-13
GravityOfLove, 17 มกราคม เวลา 22:07 น.

พอจะเข้าใจแล้วค่ะ ขอบพระคุณค่

ความคิดเห็นที่ 14-14
GravityOfLove, 17 มกราคม เวลา 22:22 น.

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
             ๑. มูลปริยายวรรค          
๗. วัตถูปมสูตร ว่าด้วยข้ออุปมาด้วยผ้า (วตฺถํ)
//www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=12&A=1136&Z=1236&pagebreak=0&bgc=lavender

             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี
เขตพระนครสาวัตถี
             ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย แล้วตรัส (อุปมา) ดังนี้ว่า
             ผ้าที่เศร้าหมองมลทินจับ ช่างย้อมพึงนำเอาผ้านั้นใส่ลงในน้ำย้อมใดๆ คือ สีเขียว สีเหลือง
สีแดง หรือสีชมพู ผ้านั้นพึงเป็นของมีสีที่เขาย้อมไม่ดี มีสีมัวหมอง  
             เพราะผ้าเป็นของไม่บริสุทธิ์ฉันใด
             เมื่อจิตเศร้าหมองแล้ว ทุคติเป็นอันหวังได้ (ไปทุคติแน่นอน) ฉันนั้น
             ผ้าที่บริสุทธิ์สะอาด ช่างย้อมพึงนำเอาผ้านั้นใส่ลงในน้ำย้อมใดๆ คือ สีเขียว ฯลฯ
ผ้านั้นพึงเป็นของมีสีที่เขาย้อมดี มีสีสด
             เพราะผ้าเป็นของบริสุทธิ์ ฉันใด
             เมื่อจิตไม่เศร้าหมองแล้ว สุคติเป็นอันหวังได้ ฉันนั้น
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ทุคติ&detail=on#find2 #find2
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=สุคติ&detail=on#find6 #find6

             ธรรมที่เป็นเครื่องเศร้าหมองของจิต (อุปกิเลส ๑๖) คือ
             ๑. อภิชฌาวิสมโลภะ (ความโลภโดยไม่ชอบธรรมคือความเพ่งเล็ง)
             ๒. พยาบาท (ปองร้ายเขา)
             ๓. โกธะ (โกรธ)
             ๔. อุปนาหะ (ผูกโกรธไว้)
             ๕. มักขะ (ลบหลู่คุณท่าน)
             ๖. ปลาสะ (ยกตนเทียบเท่า)
             ๗. อิสสา (ริษยา)
             ๘. มัจฉริยะ (ตระหนี่)
             ๙. มายา (มารยา)
             ๑๐. สาเฐยยะ/สาเถยยะ (โอ้อวด)
             ๑๑. ถัมภะ (หัวดื้อ)
             ๑๒. สารัมภะ (แข่งดี)
             ๑๓. มานะ (ถือตัว)
             ๑๔. อติมานะ (ดูหมิ่นท่าน)
             ๑๕. มทะ (มัวเมา)
             ๑๖. ปมาทะ (เลินเล่อ)
//www.84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อุปกิเลส_16

             ในกาลใดที่ภิกษุนั้นรู้ชัดว่า อภิชฌาวิสมโลภะ ฯลฯ ปมาทะ อันเป็นเป็นธรรม
เครื่องเศร้าหมองของจิต ที่ละไปแล้วด้วยอนาคามิมรรค.
            ในกาลนั้น ภิกษุนั้นเป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในพระพุทธเจ้าว่า
แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ฯลฯ เป็นผู้จำแนกธรรม
             เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในพระธรรมว่า
พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว อันบุคคลพึงเห็นเอง ฯลฯ อันวิญญูชนจะพึงรู้เฉพาะตน
             เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในพระสงฆ์ว่า
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค ปฏิบัติดีแล้ว ฯลฯ เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=พุทธคุณ_9
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ธรรมคุณ_6
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=สังฆคุณ_9

             (เพราะละกิเลสที่พึงละด้วยมรรคเบื้องต่ำได้ คือด้วยโสดาปัตติมรรค ... อนาคามิมรรค) จึงได้ความรู้แจ้งอรรถ (ผลหรือใจความ) ได้ความรู้แจ้งธรรม (เหตุหรือบาลี)
             ย่อมได้ปราโมทย์อันประกอบด้วยธรรมว่า
เราเป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในพระพุทธเจ้า ในพระธรรม ในพระสงฆ์
             และเพราะส่วนแห่งกิเลสนั้นๆ อันเราสละ คายแล้ว ปล่อย ละ  สละคืนแล้ว
             เมื่อปราโมทย์แล้ว ย่อมเกิดปีติ เมื่อมีปีติในใจ กายย่อมสงบ เธอมีกายสงบแล้ว
ย่อมได้เสวยสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=อรรถ
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ธรรม#find23 #find23

             ถ้าภิกษุนั้นมีศีล  มีธรรม มีปัญญา (อันประกอบด้วยอนาคามิมรรค) อย่างนี้
ถึงแม้จะฉันบิณฑบาตที่ประณีต มีแกงมีกับมากมาย
             การฉันบิณฑบาตของภิกษุนั้นก็ไม่เป็นอันตรายเลย (ไม่เป็นอันตรายแก่มรรคหรือผล)
             อุปมาดั่งผ้าที่สกปรก (จิตที่ยังเป็นปุถุชน) เมื่อล้างด้วยน้ำสะอาด (อนาคามิมรรค) ย่อมเป็นผ้าที่สะอาด หรือทองคำจะเป็นทองคำบริสุทธิ์ผุดผ่องได้เพราะอาศัยเบ้าหลอม
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=มรรค_4

             พึงเจริญพรหมวิหาร ๔ (ซึ่งเป็นปฏิปักษ์ต่ออุปกิเลส) ไม่มีประมาณ แผ่ไปทุกทิศ
แก่สัตว์ถ้วนหน้า
             เช่นนี้แล้ว ย่อมรู้ชัดว่า สิ่งนี้มีอยู่
(ภูตรูปเป็นที่อาศัยของหทัยวัตถุ หทัยวัตถุเป็นที่อาศัยของพรหมวิหารธรรมเหล่านั้น - ทุกข์)
             สิ่งที่เลวทรามมีอยู่ (สมุทัย)
             สิ่งที่ประณีตมีอยู่ (มรรค)
             ธรรมเป็นเครื่องสลัดออกจากกิเลสที่ยิ่งแห่งสัญญานี้ (พรหมวิหารสัญญา) มีอยู่ (นิโรธ)
             เมื่อรู้เห็นอย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้นจากกามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ
             เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว
พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มี (บรรลุพระอรหัต)
             เรากล่าวว่า ภิกษุนี้เป็นผู้อาบแล้วด้วยเครื่องอาบอันเป็นภายใน (อาบกิเลสซึ่งอยู่ภายใน)
(ตรัสเช่นนี้เพราะ ในบริษัทที่ฟังพระธรรมเทศนาอยู่นั้น มีพราหมณ์ชื่อ สุนทริกภารทวาชพราหมณ์
นั่งอยู่ด้วย ซึ่งมีความเห็นว่า ความบริสุทธิ์มีได้เพราะการอาบน้ำ)
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=พรหมวิหาร_4
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อริยสัจ_4
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อาสวะ

             สุนทริกภารทวาชพราหมณ์ทูลถามว่า พระองค์จะเสด็จไปทรงสรงสนานที่แม่น้ำพาหุกาหรือ
             ตรัสตอบว่า แม่น้ำพาหุกาจะทำประโยชน์อะไรได้ (ทรงประสงค์จะถอนความเห็นผิดของเขา)
             สุนทริกภารทวาชพราหมณ์กราบทูลว่า คนจำนวนมากถือกันว่า
แม่นำ้พาพุกาให้ความบริสุทธิ์ได้ ถือเป็นบุญ มีการลอยบาปกรรมที่ทำแล้วในแม่น้ำนี้
             ตรัสว่า แม้คนพาล มีกรรมดำ (กรรมชั่ว) จะอาบน้ำในแม่น้ำพาหุกา เป็นต้น เป็นประจำ ก็ไม่สามารถทำให้บริสุทธิ์ได้
             ผัคคุณฤกษ์ เป็นฤกษ์ดีทุกเมื่อสำหรับผู้บริสุทธิ์ ผู้หมดกิเลส
(ผัคคุณฤกษ์ หมายถึงงานนักขัตฤกษ์ประจำเดือน ๔ ที่พราหมณ์ถือว่า ผู้ที่ชำระหรือ
อาบน้ำวันข้างขึ้นเดือน ๔ ได้ชื่อว่าชำระบาปที่ทำมาแล้วตลอดปีได้)
             อุโบสถ เป็นวันศักดิ์สิทธิ์ทุกเมื่อสำหรับผู้บริสุทธิ์ ผู้หมดกิเลส
             วัตรของบุคคลผู้หมดจดแล้ว มีการงานอันสะอาด ย่อมถึงพร้อมทุกเมื่อ
(วัตรปฏิบัติสมบูรณ์ทุกเมื่อสำหรับผู้บริสุทธิ์ มีกรรมสะอาด)
             ท่านจงอาบในคำสอนของเรา (ด้วยอริยมรรค)
             จงทำความเกษมในสัตว์ทั้งปวง (มีเมตตาต่อสัตว์ - ใจ)
ไม่พูดเท็จ (วาจา) ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ (กาย)
             เป็นผู้มีความเชื่อ ไม่ตระหนี่ (สัทธาสัมปทาและจาคสัมปทา)
             ท่านไปยังท่าน้ำคยาแล้วจักทำอะไรได้ แม้การดื่มน้ำในท่าคยา ก็จักทำอะไรให้แก่ท่านได้ (ความบริสุทธิ์จากกิเลสจะมีได้ก็ด้วยการปฏิบัตินี้เท่านั้น)
             คำว่า ลอยบาป
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ศิวาราตรี
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=อุโบสถ_๔

             เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว
             สุนทริกภารทวาชพราหมณ์ได้กราบทูลขอถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ ขอบรรพชาอุปสมบท
หลีกออกจากหมู่อยู่ผู้เดียว บำเพ็ญเพียร ไม่นานก็บรรลุเป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง

[แก้ไขตาม 14-17, 14-19]


         ย้ายไปที่ :-
//www.bloggang.com/viewdiary.php?id=thanathana&month=03-2013&date=12&group=2&gblog=3



Create Date : 12 มีนาคม 2556
Last Update : 12 มีนาคม 2556 15:33:26 น.
Counter : 1132 Pageviews.

0 comments

ฐานาฐานะ
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



มีนาคม 2556

 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog