|
👘👚โรคซึมเศร้า โรคฮิตในภาวะปัจจุบัน 👘👚
 😭โรคซึมเศร้า โรคฮิตในภาวะปัจจุบัน โรคซึมเศร้าเป็นโรคฮิตอีกโรคหนึ่ง พบบ่อยมากขึ้นในปัจจุบัน เนื่องจากภาวะทางเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้เกิดความเครียดกันมากขึ้น จนอาจส่งผลให้เกิดโรคซึมเศร้า เราลองมาทำความรู้จักโรคนี้กันดีกว่า 🧠โรคซึมเศร้านั้นมีหลักฐานทางการแพทย์ยืนยันว่าอาจมีสาเหตุมาจากความผิดปกติในการทำงานของสมอง ซึ่งสามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยา และรักษาสภาพจิตใจ ไม่ให้เกิดผลกระทบต่อการดำรงชีวิตประจำวัน สามารถทำงาน และเข้ากับคนในสังคมได้เป็นปกติ 📑ความเปลี่ยนแปลงที่พบในผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้า ได้แก่ 1. ความเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ เช่น -สะเทือนใจง่าย -เศร้าสร้อย หดหู่ จิตใจหม่นหมอง ไม่สดชื่น แจ่มใส -เบื่อหน่ายกับทุกสิ่ง -หงุดหงิด ฉุนเฉียวง่าย ใจร้อน ต่างไปจากพฤติกรรมเดิมที่เคยเป็น 2. ความเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย เช่น -รู้สึกอ่อนเพลีย หมดเรี่ยวแรง -ขี้เกียจ นอนไม่ค่อยหลับ หลับๆตื่นๆ นอนไม่เพียงพอ -เบื่ออาหาร -น้ำหนักลด -ท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องผูก -ปวดศีรษะ -ปวดเมื่อยเนื้อตัว 3. ความเปลี่ยนแปลงทางด้านความจำ เช่น -ความจำไม่ดี หลงลืมง่าย -ขาดสมาธิในการทำกิจกรรมต่างๆ 4. ความเปลี่ยนแปลงทางด้านความคิด เช่น -มีความคิดในเชิงลบมากขึ้น -รู้สึกท้อแท้หมดหวังกับชีวิต -รู้สึกว่าตัวเองไร้ค่า -ความรับผิดชอบลดลง -ไม่มีสมาธิ -ขาดความละเอียด รอบคอบ 5. ความเปลี่ยนแปลงทางสภาพจิตใจ เช่น -มีอาการหลงผิด -ประสาทหลอน -หูแว่ว
วินิจฉัยอย่างไรว่าจะเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่ ต้องมีอาการดังต่อไปนี้ 5 อาการหรือมากกว่า 1. ซึมเศร้าแทบทั้งวัน 2. สนใจกิจกรรมต่างๆแทบทั้งหมดลดลงอย่างมาก แทบทั้งวัน 3. น้ำหนักลดหรือเพิ่มขึ้นมาก (น้ำหนักเปลี่ยนแปลงมากกว่าร้อยละ 5 ต่อเดือน) หรือเบื่ออาหารหรือเจริญอาหารมาก 4. กระสับกระส่าย กระวนกระวาย เชื่องช้า 5. อ่อนเพลีย ไร้เรี่ยวแรง 6. รู้สึกตนเองไร้ค่า 7. สมาธิลดลง ลังเล ใจลอย 8. คิดเรื่องตายหรืออยากตาย 9. นอนไม่หลับ หรือหลับมากไป โดยต้องมีอาการในข้อ 1 หรือ 2 อย่างน้อย 1 ข้อและต้องมีอาการเป็นอยู่นาน 2 สัปดาห์ขึ้นไปและอาการเหล่านี้ต้องมีอยู่ตลอดเวลาแทบทุกวันไม่ใช่เป็นๆหายๆ 🔎สาเหตุ และปัจจัยของการเกิด โรคซึมเศร้า -กรรมพันธุ์ หากมีญาติพี่น้องเป็นโรคนี้ก็จะมีโอกาสเป็นโรคนี้ด้วยมากขึ้น -สารสื่อประสาท ซีโรโตนิน(serotonin)นอร์เอพิเนฟริน(norepinephrine) และโดปามีน ( Dopamine )ในสมอง ลดต่ำลง รวมทั้งอาจมีความผิดปกติของเซลล์รับ(receptor) สารสื่อประสาทดังกล่าวด้วย -สภาพจิตใจ ลักษณะนิสัย มีความกดดันทางด้านจิตใจ -สภาพสังคม สภาพแวดล้อม การเลี้ยงดู แนวคิดในการใช้ชีวิต สภาพแวดล้อมเชิงลบที่เข้ามากระทบ เช่น ภาวะตกงาน หย่าร้าง -โรคประจำตัว เช่นโรคไทรอยด์ ลมชัก สมองเสื่อม โรควิตกกังวลอารมณ์ 2 ขั้ว โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคภูมิแพ้ โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง และโรคมะเร็ง -ติดยาเสพติด 📑อาการของโรคซึมเศร้า -ท้อแท้ สิ้นหวัง เศร้าสร้อย -เก็บตัว ไม่เข้าสังคม -ไม่สนใจในการทำกิจกรรมใดๆ -รู้สึกไร้ค่า -เหนื่อยและอ่อนเพลียตลอดเวลา -เบื่อหรืออยากอาหารมากขึ้น -ไม่มีสมาธิ ตัดสินใจผิดพลาด -ใช้ชีวิตในสังคมไม่ได้ -อยากคิดฆ่าตัวตาย 💊การรักษา โรคนี้สามารถทำการรักษาให้กลับมาเป็นปกติเหมือนเดิมได้ ยิ่งรักษาเร็ว ยิ่งมีโอกาสที่จะหายจากโรคนี้ได้เร็ว โดย -การให้ยากลุ่มต้านซึมเศร้า ซึ่งส่วนใหญ่เมื่อให้ยาประมาณ 1-2 สัปดาห์ขึ้นไปอาการจะดีขึ้น คนไข้สามารถนอนหลับและทานอาหารได้ดีขึ้น มีแรงกายแรงใจดีขึ้น -พูดคุยเพื่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ชี้แนะแก้ปัญหา เปิดมุมมองใหม่ ช่วยผ่อนคลายจิตใจ ช่วยลดความทุกข์ คลายกังวล หาแนวทางในการปรับตัวให้แก่คนไข้ -การรักษาด้วยไฟฟ้า ( Electroconvulsive Therapy หรือ ECT ) ใช้รักษาผู้ป่วยที่คิดฆ่าตัวตายหรือมีอาการรุนแรง คำแนะนำสำหรับผู้ที่กำลังเป็นโรคซึมเศร้า -ออกกำลังกายแบบแอโรบิค เช่น วิ่ง เดิน ว่ายน้ำ ช่วยให้นอนหลับดีขึ้น รับประทานอาหารและขับถ่ายดีขึ้น จิตใจแจ่มใสขึ้น -ไม่ควรตั้งเป้าหมายที่ยากเกินไป เพราะจะมีความเครียดสูงและจะผิดหวังมากหากไม่ประสบคว ามสำเร็จ -อย่าอยู่คนเดียว พยายามทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น -ให้เวลากับการตัดสินใจเรื่องสำคัญๆในชีวิต -หาคนไว้ใจได้เป็นผู้ช่วยในการปรึกษาเรื่องสำคัญ -เรียงลำดับความสำคัญก่อนหลังในการทำกิจกรรมในชีวิต -รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ -พักผ่อนนอนหลับให้เพียงพอ -ทำสมาธิ เพื่อผ่อนคลายจิตใจ -ฝึกความคิดเชิงบวกให้ตัวเอง -งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ -ห้ามใช้ยาเสพติด โรคซึมเศร้านี้เป็นโรคที่สามารถรักษาได้ด้วยยาและผู้ดูแลสามารถร่วมมือกันเพื่อทำการรักษาให้ผู้ป่วยดีขึ้นได้ อย่างไรก็ตามอาการอาจจะเกิดขึ้นซ้ำได้อีก ร้อยละ 50 ถึง 75 ของผู้ป่วย อาจเป็นมากกว่า 1 ครั้ง แพทย์อาจต้องให้คนไข้รับประทานยาเพื่อป้องกันระยะยาวต่อไป ดูแลสุขภาพนะครับ ปรารถนาดีจาก เภสัชกร ภรร์ชัยญ์ ลิมปิฐาภรณ์ . ขอบคุณข้อมูล  1.RamaMental.(2022) โรคซึมเศร้า สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2566 จาก https://www.rama.mahidol.ac.th/ramamental/generalkn owledge/general/09042014-1017 2. hpc11.(2022) 9 พฤติกรรมบ่งบอก คุณกำลังเป็นโรคซึมเศร้า สืบค้นเมื่อ 21 เมษายน 2566 จาก https://hpc11.go.th/web60/cluster_ward64/?p=200 3. Cleveland Clinic .(2022) Depression สืบค้นเมื่อ 22 เมษายน 2566 จาก https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/9290- depression 4.NIH .(2022) What is depression? สืบค้นเมื่อ 23 เมษายน 2566 จาก https://www.nimh.nih.gov/health/topics/depression
แม่ของเราก็เคยป่วยด้วยโรคนี้ น่าสงสารมากๆ ตอนนี้แม่ไปสบายแล้ว  . | |
Create Date : 29 เมษายน 2566 |
Last Update : 30 เมษายน 2566 0:30:10 น. |
|
12 comments
|
Counter : 416 Pageviews. |
 |
|
|
ผู้โหวตบล็อกนี้... |
คุณปัญญา Dh, คุณกะว่าก๋า, คุณอุ้มสี, คุณหอมกร, คุณโฮมสเตย์ริมน้ำ, คุณhaiku, คุณสายหมอกและก้อนเมฆ, คุณปรศุราม, คุณนายแว่นขยันเที่ยว, คุณJohnV, คุณมาช้ายังดีกว่าไม่มา, คุณสองแผ่นดิน, คุณSweet_pills |
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 30 เมษายน 2566 เวลา:6:28:07 น. |
|
|
|
โดย: อุ้มสี วันที่: 30 เมษายน 2566 เวลา:6:33:18 น. |
|
|
|
โดย: หอมกร วันที่: 30 เมษายน 2566 เวลา:7:09:03 น. |
|
|
|
โดย: ปัญญา Dh วันที่: 30 เมษายน 2566 เวลา:10:24:59 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 30 เมษายน 2566 เวลา:17:56:51 น. |
|
|
|
โดย: สองแผ่นดิน วันที่: 30 เมษายน 2566 เวลา:23:38:11 น. |
|
|
|
โดย: Sweet_pills วันที่: 1 พฤษภาคม 2566 เวลา:0:56:12 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 1 พฤษภาคม 2566 เวลา:5:59:48 น. |
|
|
|
|
|
|
|
เราจึงค้นพบโรคซึมเศร้า
ค้นพบสาเหตุและวิธีการรักษาได้ดีขึ้น
พบเร็ว รักษาเร็ว หายได้นะครับ