โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ยอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ในจังหวัดเพชรบุรี












ขอขอบคุณภาพจากเวป สำนักข่าวเจ้าพระยา





“..ปัญหาสำคัญ คือ เรื่องสิ่งแวดล้อม เรื่องน้ำเสียกับขยะ ได้ศึกษามาแล้วเหมือนกัน ทำไม่ยากนัก ในทางเทคโนโลยีทำได้ แล้วในเมืองไทยเองก็ทำได้ หาเทคโนโลยีจากต่างประเทศมาแล้วทำในเมืองไทยเอง ก็ทำได้หรือจะรับจ้างบริษัทต่างประเทศมาก็ทำได้ นี่แหละปัญหาเดียวกัน เดี่ยวนี้กำลังคิดจะทำแต่ติดอยู่ที่ที่จะทำ.. ”

“..โครงการที่จะทำนี้ไม่ยากนัก คือว่า ก็มาเอาสิ่งที่เป็นพิษออก พวกโลหะหนักต่างๆเอาออก ซึ่งมีวิธีทำ ต่อจากนั้นก็มาฟอกใส่อากาศ บางทีก็อาจไม่ต้องใส่อากาศ แล้วก็มาเฉลี่ยใส่ในบึง หรือเอาน้ำไปใส่ในทุ่งหญ้าแล้วก็เปลี่ยนสภาพของทุ่งหญ้าเป็นทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ ส่วนหนึ่งเป็นที่สำหรับปลูกพืช ปลูกต้นไม้..”

“.. แล้วก็ต้องทำการเรียกว่า การกรองน้ำ ให้ทำน้ำนั้นไม่ให้โสโครก แล้วก็ปล่อยน้ำลงมาที่เป็นที่ทำการเพาะปลูก หรือทำทุ่งหญ้า หลังจากนั้นน้ำที่เหลือก็ลงทะเล โดยที่ไม่ทำให้น้ำนั้นเสีย..”


พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พระราชทาน เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2533 จึงเป็นที่มาของโครงการแหลมผักเบี้ยฯ


(คัดลอกจากเวปของสำนักข่าวเจ้าพระยา ขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ค่ะ )








โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ยอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ในจังหวัดเพชรบุรี
(The Laem Phak Bia Environmental Study and Development Project)




ทฤษฎีการพัฒนาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้น เน้นความเรียบง่าย และใช้ธรรมชาติบำบัด โครงการแหลมผักเบี้ยก็เป็นตัวอย่างหนึ่งที่ใช้ธรรมชาติช่วยธรรมชาติ เป็นเทคโนโลยีอย่างง่าย ใครๆ ก็สามารถทำได้ และมีวัสดุหาได้ในท้องที่ โดยแบ่งออกเป็น 4 ระบบ




1. ระบบบ่อบำบัดน้ำเสีย(Lagoon Treatment) ระบบนี้ใช้วิธีการพึ่งพาธรรมชาติ อาศัยการกักพักน้ำเสียไว้ในระยะเวลาที่เหมาะสมกับความสกปรกของ แล้วให้สาหร่ายและแพลงก์ตอนสังเคราะห์แสงเพื่อเติมออกซิเจนให้จุลินทรีย์หายใจและย่อยสลายสารอินทรีย์ (organic matter) ในน้ำเสีย รวมทั้งอาศัยแรงลมช่วยในการเติมอากาศเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการย่อยสลายสารอินทรีย์ด้วยจุลินทรีย์
ซึ่งบ่อบำบัดมีทั้งหมด 5 บ่อ ประกอบไปด้วย บ่อตกตะกอน 1 บ่อ บ่อผึ่ง 3 บ่อ และบ่อปรับสภาพ 1 บ่อ ทั้งนี้ น้ำเสียแต่ละบ่อจะไหลล้นจากด้านบน และไหลลงสู่ด้านล่างของบ่อถัดไป และระยะเวลากักพักน้ำในแต่ละบ่อเป็นเวลา 7 วัน ซึ่งจะช่วยฆ่าเชื้อโรคได้อีกทางหนึ่ง

2. ระบบพืชและหญ้ากรองน้ำเสีย( Plant and Grass Filtration) ซึ่งแปลงหรือบ่อจะเก็บกักน้ำเสีย และปลูกพืชที่ใช้ในการบำบัด 2 กลุ่ม กลุ่มแรกคือพืชทั่วไป(ธูปฤาษี กกกลม และหญ้าแฝกอินโดนีเซีย ) กลุ่มที่สองคือหญ้าอาหารสัตว์(หญ้าสตาร์ หญ้าคาลลา และหญ้าโคสครอส) พืชเหล่านี้มีคุณสมบัติกรองและดูดซับของเสียที่อยู่ในน้ำ
ระยะเวลาในการขังน้ำเสีย 5 วัน สลับปล่อยแห้ง 2 วัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการย่อยสลายสารอินทรีย์ร่วมกับกระบวนการส่งผ่านออกซิเจนจากอากาศผ่านปากใบลงสู่รากพืช เมื่อครบระยะเวลา 45 วัน จะตัดพืชและหญ้าเหล่านั้นออก เพื่อเป็นการรักษาประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสีย ซึ่งหญ้าสามารถนำไปเลี้ยงสัตว์ ส่วนธูปฤาษี กกกลม นำไปใช้ทำเครื่องจักสานได้

3. ระบบพื้นที่ชุ่มน้ำเทียม(Constructed Wetland) เป็นการจำลองพื้นที่ทางธรรมชาติให้เป็นพื้นที่ที่มีน้ำขัง โดยใช้วิธีการปล่อยน้ำเสียผ่านบ่อดินตื้นๆ ที่ภายในปลูกพืชประเภทกก รากของพืชเหล่านี้จะช่วยดูดซับสารพิษ (toxin) และอินทรีย์สารให้ลดน้อยลง และย่อยสลายให้หมดไปในที่สุด
เป็นระบบที่ใช้กลไกการบำบัดเช่นเดียวกับระบบพืช และหญ้ากรอง จะแตกต่างกันที่วิธีการ การปล่อยให้น้ำเสียซึ่งขังในแปลงพืชที่ระดับความสูง 30 เซนติเมตรจากผิวดิน โดยมีระยะเวลากักพักน้ำ อย่างน้อย 1 วัน และเติมน้ำเสียใหม่ลงสู่ระบบให้ได้ระดับ 30 เซนติเมตร เท่ากับปริมาณน้ำเสียที่สูญหายไปจากการระเหยในแต่ละวัน และอีกวิธีการหนึ่งคือ เติมน้ำเสียลงสู่ระบบอย่างต่อเนื่องตลอดวัน โดยอัตราการไหลของน้าเสียเท่ากับปริมาณน้ำเสียใหม่ที่สามารถผลักดันไล่น้ำเสียเก่าออกจากระบบหมดในเวลา 1 วัน สำหรับพืชที่ใช้ในการบำบัดคือ ธูปฤาษีและกกกลม เมื่อครบระยะเวลา 45 วัน จะตัดพืชออก เพื่อเป็นการรักษาประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสีย ซึ่งพืชเหล่านี้ยังนำไปใช้ในการจักสาน เยื่อกระดาษ และเชื้อเพลิงได้

4. ระบบแปลงพืชป่าชายเลน(Mangrove Forest Filtration) ใช้หลักการบำบัดจากการเจือจางระหว่างน้ำทะเลกับน้ำเสีย ด้วยการกักพักน้ำเสียกับน้ำทะเลที่ผสมกันแล้วไว้ระยะเวลาหนึ่ง เพื่อเป็นการเลียนแบบธรรมชาติตามระยะเวลาการขึ้นลงของน้ำทะเลในแต่ละวัน ทำให้เกิดการตกตะกอนของสารอินทรีย์ในน้ำเสีย และระบบรากพืชป่าชายเลนยังช่วยในการเติมก๊าซออกซิเจนให้กับน้ำเสียและจุลินทรีย์ในดิน เพื่อให้กลไกการย่อยสลายสารอินทรีย์โดยจุลินทรีย์ในดินมีประสิทธิภาพมาก สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับชุมชนหรือกิจการเพาะเลี้ยงกุ้งที่มีพื้นที่ติดกับป่าชายเลนได้ โดยไม่จำเป็นต้องมีการสร้างแปลงพืชป่าชายเลน



ในด้านของปัญหาขยะชุมชนนั้น โดยทั่วไปร้อยละ 50 ของขยะชุมชนจะเป็นขยะอินทรีย์ที่สามารถย่อยสลายได้ง่าย ส่วนที่เหลือบางส่วนสามารถนำไปผ่านกระบวนการเพื่อการนำกลับไปใช้ประโยชน์ได้ใหม่ และส่วนที่ใช้ประโยชน์ไม่ได้จะถูกนำไปฝังกลบอย่างถูกต้องตามหลักสุขาภิบาล โครงการฯ ได้ทำการศึกษาวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีในการกำจัดขยะชุมชน ด้วยวิธีการนำมาหมักทำปุ๋ย โดยการประยุกต์การฝังกลบตามหลักสุขาภิบาลมาทำในกล่องคอนกรีต เพื่อลดปัญหาการสูญเสียพื้นที่ขนาดใหญ่ ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายและ เพื่อความสะดวกในการนำปุ๋ยที่ได้จากการหมักขยะมาใช้ประโยชน์ สำหรับการสร้างจะใช้ขยะอินทรีย์ใส่กล่องคอนกรีตเป็นชั้นๆ ระหว่างชั้นจะใส่ดินแดงหรือดินนาเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการย่อยสลายของจุลินทรีย์และมีการรดน้ำเพิ่มความชนและช่วยในการลดอุณหภูมิในกระบวนการหมัก ซึ่งใช้ระยะเวลาในการทำปุ๋ยหมักขยะเพียง 30 วัน



































เรขา ชนิตบวร นักวิชาการสิ่งแวดล้อม โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ยอันเนื่องมาจากพระราชดำริ กล่าวว่า "ผลประโยชน์จากการดำเนินโครงการ ทำให้แม่น้ำเพชรบุรีมีคุณภาพที่ดีขึ้น ระบบนิเวศป่าชายเลนมีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้นและมีความหลากหลายทางชีวภาพสูง เมื่อระบบนิเวศกลับมา ชาวบ้านพะเนินสามารถเก็บหอยจากริมหาดหน้าป่าชายเลนได้มากถึงวันละ 3 ตัน ทำให้ชาวบ้านสามารถพึ่งพาตัวเองได้ด้วยอาชีพเก็บหอยด้วยมือเปล่าและชาวประมงจากต่างถิ่นที่เข้ามาทำประมงในบริเวณแหลมผักเบี้ยเป็นที่ยืนยันถึงความอุดมสมบูรณ์ของฐานทรัพยากรที่เพิ่มขึ้นได้เป็นอย่างดี"
นอกจากนี้ แหลมผักเบี้ยยังกลายเป็นแหล่งอพยพของสัตว์นานาชนิดที่ใช้ชายทะเลฝั่งอ่าวไทยเป็นทางผ่านเพื่อบินกลับบ้านในฤดูหนาว ในแต่ละปีมีนก อพยพมาอาศัยที่แหลมผักเบี้ยมากกว่า 200 ชนิด และเนื่องจากนกเป็นสัตว์ที่มีความไวต่อการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศ จึงสามารถใช้เป็นตัวชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ของแหลมผักเบี้ยได้เป็นอย่างดี รวมทั้งบ่อบำบัดน้ำเสียสามารถเลี้ยงปลาโดยไม่ต้องให้อาหาร ปุ๋ยหมักจากขยะและน้ำชะจากขยะ สามารถนำมาปลูกพืชเกษตรได้ น้ำเสียและน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้วสามารถนำมาปลูกพืชเกษตรได้ หญ้าอาหารสัตว์ที่เก็บเกี่ยวจากพืชอาหารสัตว์บำบัดน้ำเสียสามารถนำไปเลี้ยงสัตว์ได้ต้นธูปฤาษีจากพื้นที่ลุ่มน้ำเทียมนำมาทำเป็นเครื่องจักสานเป็นหัตถกรรมของชุมชนได้
เป็นเวลายาวนานแล้วที่ระบบบำบัดน้ำเสียของโครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ยอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ของมูลนิธิชัยพัฒนาได้เปลี่ยนน้ำเสียให้กลายเป็นน้ำดี ระบบนิเวศของป่าชายเลนและแม่น้ำเพชรบุรีที่เคยตกอยู่ในสภาวะวิกฤตได้กลายเป็นแหล่งทรัพยากรที่มีคุณค่าของผู้คนในจังหวัดเพชรบุรี และที่สำคัญ โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ยอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้กลายเป็นต้นแบบแห่งการเยียวยาป่า น้ำ ดิน และกลายเป็นแหล่งเรียนรู้ดูงานด้านการรักษาระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมของคนไทยทั่วประเทศ







นับเป็นอีกหนึ่งโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของในหลวง รัชกาลที่ 9 ค่ะ ที่ช่วยราษฏรของพระองค์ให้พออยู่พอกิน แต่เป็นที่น่าเสียดายว่าโครงการฯ ในขณะที่เราไปนั้นขาดการดูแลเอาใจใส่เท่าที่ควรค่ะ


ขอขอบคุณข้อมูลจากเวป //www.chaipat.or.th
//eitprblog.blogspot.com
และ bg สวย ๆ จากคุณ ยายกุ๊กไก่ ค่ะ



Create Date : 03 มกราคม 2560
Last Update : 3 มกราคม 2560 16:42:53 น. 0 comments
Counter : 1838 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

chinging
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 22 คน [?]








INVITING THE BELL TO SOUND


Body, speech, and mind in perfect oneness-
I send my heart along with the sound of the bell,
May the hearers awaken from forgetfulness
and transcend all anxiety and sorrow.


HEARING THE BELL


Listen, listen,
this wonderful sound
bring me back
to my true self.


THICH NHAT HANH






9 Latest Blogs
ขอขอบคุณ คุณSevenDaffodils
ในคำแนะนำวิธีการทำ Latest Blogs ค่ะ



New Comments
Group Blog
 
 
มกราคม 2560
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
3 มกราคม 2560
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add chinging's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.