รัฐ เอกชน พร้อมใจขานรับขับเคลื่อนประเทศสู่ความยั่งยืน ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง


ปัจจุบันเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ Sustainable Development Goals (SDGs) ตามหลักสหประชาชาติกลายเป็นวาระของโลกไปแล้ว แต่ละประเทศต่างใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาประเทศ



รัฐบาลไทยชุดปัจจุบันก็กำลังขับเคลื่อนประเทศ ด้วยการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์การพัฒนาจากที่เน้นเพียงการเติบโตของเศรษฐกิจ ไปสู่การพัฒนาที่สมดุล ด้วยหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงหรือศาสตร์พระราชา โดยเรียกว่า Value-BasedEcosystem คือ การพัฒนาที่ให้ความสำคัญกับระบบนิเวศและให้คุณค่ากับปัจจัยพื้นฐาน ทั้งทรัพยากรธรรมชาติและทรัพยากรมนุษย์

Value-Based Ecosystem ประกอบด้วย


1.
Circular Economy หรือระบบเศรษฐกิจไหลเวียนที่มุ่งสร้างความสมดุลของมนุษย์กับธรรมชาติ เพื่อให้เกิดความยั่งยืนทั้งการบริหารความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติต่าง ๆ และการป้องกันการท าลายทรัพยากร

2. Distributive Economy ระบบเศรษฐกิจกระจายตัวเพื่อปรับสมดุลระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ แก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ าผ่านการสร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชนด้วยกลไกประชารัฐ สามารถเชื่อมต่อกับประชาคมโลกได้อย่างมั่นคง


3. Innovation-Driven Economy ระบบเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม เพื่อให้เกิดสมดุลระหว่างมนุษย์กับเทคโนโลยีด้วยการใช้เทคโนโลยีอย่างชาญฉลาด ยกระดับการวิจัยและพัฒนา สร้างความมั่งคั่งให้แก่ประเทศ




ภาคธุรกิจถูกคาดหวังให้มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนให้เกิดผลลัพธ์ในเชิงบวกต่อสังคมองค์กรธุรกิจต่าง ๆ จึงต้องปรับตัวรับกับความเปลี่ยนแปลง ซึ่งไม่ใช่การสร้างผลการดำเนินงานที่ดีอย่างเดียวเหมือนในอดีตแต่ต้องคำนึงถึงความสำคัญใน 3 ด้านไปพร้อม ๆ กัน คือ เศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม

เครือเจริญโภคภัณฑ์ผู้นำในภาคอุตสาหกรรมอาหารเป็นหนึ่งในองค์กรขนาดใหญ่ของไทยที่ถูกคาดหวังสูง จึงต้องปรับตัวขนานใหญ่ เพื่อตอบรับกับการเปลี่ยนแปลงไปสู่ความยั่งยืนโดยได้ปรับวิสัยทัศน์องค์กรให้มีความละเอียดและสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ด้านความยั่งยืนของโลกและประเทศมากขึ้น

ในปี2559ได้ประกาศนโยบายและเป้าหมายด้านความยั่งยืนของเครือฯอย่างเป็นทางการ โดยให้มีผลใช้ทั้งระบบในประเทศที่ไปลงทุน ทั้งในด้านการค้าและการนำไปสู่เพื่อนคู่ค้าของเครือฯด้วย


นโยบายความยั่งยืนของเครือเจริญโภคภัณฑ์ มาจากหลักการ
“3 ประโยชน์” ที่เป็นพื้นฐานในการดำเนินธุรกิจที่เครือฯ ใช้มาตลอดระยะเวลา 90กว่าปี คือ 1. การไปลงทุนที่ไหน ประเทศนั้นต้องได้ประโยชน์ 2. สังคมและประชาชนต้องได้ประโยชน์แล้ว 3. บริษัทถึงจะได้ประโยชน์ ขณะเดียวกันก็ปรับตัวให้สอดคล้องกับมาตรฐาน กฎหมายกฎระเบียบของแต่ละประเทศทั่วโลก


นอกจากนี้ยังได้น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาสู่การดำเนินธุรกิจโดยในเรื่องนี้ประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ คุณศุภชัย เจียรวนนท์ กล่าวไว้ว่า“พื้นฐานสำคัญที่เราเป็นองค์กรไทยเติบโตจากประเทศไทยก็คือ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเราได้มีชีวิตผ่านช่วงที่ทำให้เข้าใจปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอย่างลึกซึ้งตอนนั้นเครือเจริญโภคภัณฑ์มีการขยายตัวอย่างรวดเร็วมาก ลงทุนมหาศาลทั้งการกู้เงินและเพิ่มทุน โดยมองการขยายผลทางธุรกิจเป็นหลัก จนกระทั่งเมื่อเกิดวิกฤติต้มยำกุ้งขึ้นเราถึงรู้ตัวว่าสิ่งที่เราทำไม่ยั่งยืน และเป็นการขับเคลื่อนด้วยความทะเยอทะยาน แต่ไม่ได้มองถึงพื้นฐานที่มั่นคงว่าจริงๆแล้วเราก้าวกระโดดเกินไปหรือเปล่า พูดง่ายๆ ก็คือเราได้คำนึงถึงความพอเพียงหรือเปล่าความเหมาะสมและศักยภาพของเราหรือเปล่า”

“เราใช้เวลากว่า
10ปีหลังต้มยำกุ้ง ในการฟื้นตัวเองกลับขึ้นมา แต่ก็ไม่เคยจะล้มบนฟูกหรือหนีหนี้หลายองค์กรของเราล้มไป ปิดกิจการไป แม้กระทั่งต้องขายทรัพย์สินออกไปสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่คนจำนวนมากไม่เห็น เราจึงมีความเข้าใจเรื่องนี้อย่างดีปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงก็คือ เราทำอะไรอย่าเกินตัวอย่าวางอยู่บนพื้นฐานของความโลภหรือความเห็นแก่ตัว ซึ่งเป็นสิ่งที่จะทำให้เกิดความยั่งยืนได้อย่างแท้จริง”

“จากปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ไปที่
SDGs ผมคิดว่าเป็นสิ่งที่เราชาวไทยทุกคนเข้าใจอย่างลึกซึ้งเป็นสิ่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ท่านทรงให้กับประเทศไทยและผมเชื่อว่าให้กับโลกด้วยว่าหลักจริยธรรม ความรู้จักพอเพียง ความไม่ขับเคลื่อนทุกอย่างในชีวิตโดยความโลภความเห็นแก่ตัว สิ่งนี้เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความยั่งยืนอย่างแท้จริง สอดรับกับ Goals17 ข้อ ซึ่งอาจมองไปในตัวมาตรวัด แต่ความลึกและจิตวิญญาณของความยั่งยืนประเทศไทยเป็นบุญอย่างมากที่ได้เรียนรู้สิ่งเหล่านี้มาแล้วจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่9”






Create Date : 23 กันยายน 2560
Last Update : 23 กันยายน 2560 22:01:19 น.
Counter : 2332 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

สมาชิกหมายเลข 3761838
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed

 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



All Blog