ท่าทุ่มยูโด hane goshi
ท่านี้ตอนเริ่มเรียนแรกๆเป็นท่าที่ใช้ยากเข้ายากและไม่ค่อยสนใจเท่าไรตอนนั้นผมเรียนไปก็แค่ให้รู้ว่าท่ามันเข้ายังไง เผื่อตอนสอบสาย5คิวกับ4คิวอาจารย์บอกให้ทุ่มจะได้ทุ่มเป็น แต่พอผ่านไปเรื่อยๆไม่รู้ทำไมถึงสนใจกับท่าหมาฉี่อันนี้ขึ้นมาคงเป็นเพราะว่าท่านี้เป็นพื้นฐานและมันสามารถปรับเปลี่ยนไปใช้ท่าอื่นได้ด้วยถ้าหากใช้จนชำนาญเพื่อนผมชาวแคนาดาบอกผมว่าจะไปฝึกท่านี้ให้มันชำนาญทำไมเพราะเค้ายังไม่เคยเห็นจะจะตอนแข่งที่ปิดเกมกันด้วยท่าฮาเนโกชิแต่ทำยังไงได้ในเมื่อชอบความสวยงามของท่านี้ไปแล้วอีกเหตุผลนึงที่ผมชอบท่านี้ก็เพราะว่าท่านี้เป็นท่าที่ผมไม่ถนัดในตอนแรกที่เริ่มเรียนรู้ทั้งการทรงตัวการปัดขาการตวัดแต่ผมคิดว่าในเมื่อมันไม่ถนัดถ้าเราเอามาฝึกให้มันถนัดมันก็จะได้ท่าที่ยากและแปลกมาเพิ่มขึ้นอีกท่านึงตั้งแต่นั้นถ้าอาจารย์ให้จับคู่เข้าท่า ผมเลยใช้ท่าฮาเนโกชิซะทุกครั้งไปโชคดีเป็นของผมตรงที่อาจารย์ท่านนึงที่สอนผมทุกวันจันทร์ท่าที่ชำนาญของท่านคืออุจิมาตะกับฮาเนโกชิ โดยเฉพาะฮาเนโกชิที่เข้าโดยขาซ้าย เท่าที่ผมได้เรียนรู้มา จุดสำคัญของฮาเนโกชิ คือ -การเข้าต้องแม่นและเร็ว ทั้ง2แขนและ2ขากับการหมุนตัว -ร่างกายช่วงบนต้องพยายามให้ติดกับร่างกายช่วงบนของคู่ต่อสู้ -การทรงตัวขาที่ยืน (ขาซ้าย) ต้องมันคงขาขวาต้องทำเป็นรูปตัวเครื่องหมายน้อยกว่า -การทุ่มจะต้องจับและทุ่มตรงจุดกึ่งกลางของอุเกจะง่ายกว่าการทุ่มแบบสะเปสะปะ คราวนี้ลองมาดูในหนังสือกับฮาเนโกชิแบบฉบับของโคโดกังดูบ้างครับว่าจะมีเคล็ดลับตรงไหนบ้าง
ข้อ1 หลักพื้นฐานทุ่มอุเกไปทางด้านหน้าของอุเก เริ่มต้นจากสเต็ปขา โดยการที่โทริดันอุเกโดยการก้าวไปด้วยขาซ้าย ขาขวา(อุเกก็จะก้าวถอยหลังไปด้วยขาขวา ขาซ้าย) พอก้าวที่สามจังหวะที่อุเกก้าวถอยหลังด้วยขาขวาโทริก้าวขาขวาเข้าไปกึ่งกลางระหว่างขาของอุเก พร้อมกับการใช้แขนขวาและซ้ายดึงขึ้นให้ศูนย์ถ่วงของอุเกมาทางด้านหน้าจากนั้นโทริหมุนตัวเข้าท่า ลำตัวด้านขวาของโทริติดกับหน้าอกของอุเกเอาน้ำหนักลงขาซ้ายที่เป็นฐานขาซ้ายงอลงเล็กน้อย นิ้วโป้งขาซ้ายชี้ไปด้านหน้าจังหวะทุ่มก็ดันเข่าซ้ายที่เป็นฐานขึ้นปัดขาขวาที่ทำเป็นรูปเครื่องหมายน้อยกว่าของเราไปที่อุเกดันตัวคู่ต่อสู้หมุนไปทางด้านซ้ายในระหว่างตวัดขา ให้คิดไว้ว่าทุ่มคู่ต่อสู้เป็นวงกลมโดยจุดกึ่งกลางของคู่ต่อสู้อยู่ที่สะโพกด้านขวาของอุเก จุดสำคัญของการดึงหรือคุสุชิอยู่ตอนที่อุเกก้าวขาถอยหลังครั้งที่สามคือการถอยหลังด้วยขาขวาโอกาสในการใช้ท่านี้อยู่ตรงที่ขาขวาค่อยๆลอยขึ้นจากพื้นและถอยลงไปเลยขาซ้ายของอุเกเองแต่ยังไม่ลงพื้นถ้าอุเกเอาขาขวาถอยหลังลงไปและถ่ายน้ำหนักลงขาขวาได้แล้วท่าฮาเนโกชิจะไม่สำเร็จ การเข้าท่า โทริช่วงบน(หน้าอกขวา ไหล่ขวาด้านหลังข้อมือด้านหลัง)ต้องอยู่ติดและแน่นกับ อุเกช่วงบน(ตั้งแต่หน้าอกไปถึงช่วงท้อง)พยายามเปิดหน้าอกอุเกให้ออก ส่วนขาขวาโทริต้องอยู่วงในของขาขวาอุเก การเอียงตัว ปกติการทุ่มด้วยสะโพกคนส่วนใหญ่จะคิดว่าการทุ่มด้วยสะโพกโทริจะต้องงอตัวด้านบนมาทางด้านหน้าเล็กน้อยแต่ว่าการทุ่มตามแบบฉบับของโคโดกัง(ฮาเนโกชิ ฮาไรโกชิ ทรึริโกมิโกชิ) จะต้องเอียงตัวเล็กน้อยไปด้านข้างและเฉียงหลังเล็กน้อย(ใช้สะโพกช่วยเสริมแรงในการทุ่มนั้นเอง) อาจจะเข้าใจยาก แต่ท่า อุกิโกชินั้นเป็นพื้นฐานการฝึกเอียงตัวของการทุ่มด้วยสะโพกดังนั้นการจะทุ่มให้สมบูรณ์ในทาฮาเนโกชินั้นจะต้องฝึกทุ่มท่าอุกิโกชิให้ได้ซะก่อน โดยรวมท่านี้พื้นฐานจะต้องจัดการองค์ประกอบหลายๆอย่างของโทริด้วยความแม่นยำและรวดเร็วเพราะโอกาสเปิดให้เพียงแค่ครึ่งก้าวถอยหลังของอุเก ข้อ2 ใช้โดยการทุ่มไปทางด้านซ้าย จากการจับทางด้านขวาทั้งคู่ โทริออกแรงมือขวาผลักอุเกถอยลงไปทางด้านซ้าย1ก้าว(เน้นก้าวเดียวนะครับ)ถ้าผลักอุเกลงไปซ้ายได้ก้าวเดียวตาวที่บอก ระหว่างที่อุเกถอยขาซ้ายลงไปขาขวาของอุเกจะต้องเขยิบก้าวขึ้นมาทางด้านหน้าเพื่อรักษาสมดุลย์ จังหวะที่อุเกก้าวขาขวาขึ้นมาแต่ยังไม่ลงเต็มเท้าตรงนั้นคือโอกาส ให้โทริหมุนตัวไปทางซ้าย หมุนขาซ้ายไปอยู่หลังส้นเท้าขวาของตัวเอง(หรืออยู่หน้าขาซ้ายของอุเก)จุดนั้นดึงอุเกมาทางด้านหลังเฉียงซ้ายตามแรงหมุนของขาและการเปิดตัวช่วงบนไปทางด้านซ้ายของโทริ(ถ้ามองจากอุเกจะเป็นการถูกดึงมาทางด้านหน้าเฉียงขวา)ตอนดึงหมุนร่างกายด้านบนข้างขวาของโทริกับด้านบนข้างขวาของอุเกถ้าจะดีต้องติดกันมากที่สุดถ้าทำได้ถูกต้องจะมีแรงเหวี่ยงเพิ่มมาทำให้ขาขวาของอุเกถูกบังคับให้ก้าวมาด้านหน้าในลักษณะหมุนตาม ถึงตอนที่ตวัดโทริก็ต้องเอาขาขวาตวัดไปตามขาขวาอุเกที่ถูกหมุนตามแรงเหวี่ยงมาด้านหน้าจังหวะนั้นเหยียดเข่าซ้ายขึ้นช่วยในการเพิ่มแรงดีดพร้อมกับการตวัดคล้ายๆกับสปริงดีด (ถ้าทำได้ถูกจังหวะแค่ตวัดเบาๆถึงจะเป็นคู่ต่อสู้ตัวโตๆก็ลอยง่ายๆครับ)ที่แตกต่างกับข้อ1คือ ข้อ1เป็นการทุ่มไปด้านหน้า(หมุนครึ่งวงกลม180องศา)ส่วนข้อ2เป็นการทุ่มไปด้านข้าง(หมุนตัวทุ่มแค่90องศาคือทุ่มไปทางด้านซ้ายของโทริ) ที่เหมือนกับข้อ1คือ โดยรวมแล้วต้องใช้ความเร็วในการฉวยโอกาส(จังหวะที่อุเกก้าวขาขวามาด้านหน้าเพื่อรักษาสมดุลย์จากการถูกผลักทางด้านซ้าย1ก้าว)ถึงจะสามารถทุ่มโดยใช้แรงไม่มากถ้าหากจังหวะไม่ลงตัวการทุ่มด้วยฮาเนโกชิก็ทำได้สำเร็จยาก จริงๆแล้วมีอีก2เทคนิคของฮาเนโกชิที่ผมเคยเจอะเจอมาคือการเข้าทำในจังหวะเดียวคือการก้าวขาซ้ายออกไปพร้อมกับบิดตัวหมุนเอาขาขวาตวัด แต่ส่วนใหญ่ผมว่าคนจะใช้เทคนิคนี้ในท่าอุจิมาตะซะมากกว่าส่วนอีกแบบนึงคือการเข้าทำในลักษณะคล้ายๆกับท่าโอโซโตการิต่างกันเพียงแค่จังหวะสุดท้ายเป็นการตวัดขาทุ่มไปทางด้านข้าง โดยรวมแล้วผมว่าการจะทุ่มฮาเนโกชิให้ได้สวยๆแบบไม่เปลืองแรงนั้นมันยากมากๆเพราะจังหวะต้องพอดีจริงๆแต่จริงๆแล้วฮาเนโกชิเป็นท่าที่ใช้กันมานานมาแล้วครับตั้งแต่สมัยเมจิโน้นแนะครับมีอาจารย์ยูโดท่านนึงเคยเขียนในหนังสือยูโดเมื่อสมัยปี1940เกี่ยวกับฮาเนโกชิแปลออกมาได้ความหมายว่าคุณจะได้สายดำ(โชดั้ง)ก็ต่อเมื่อคุณสามารถใช้ท่าฮาเนโกชิได้ถูกต้องและตรงจังหวะ โดยส่วนตัวท่านี้ผมยังใช้ได้ไม่เต็มร้อยแต่ถ้าหากฝึกฝนบ่อยๆแล้วผมว่ามันก็พึ่งพาได้นะครับเพราะโดยรวมแล้วมันมีทั้งจังหวะการดึงแรงหมุน แรงสปริง แรงดีด และการตวัด ครบอยู่ในท่านี้ ที่สำคัญผมว่าท่าที่คล้ายหมาฉี่อันนี้สวยงามมากครับ
Create Date : 18 มิถุนายน 2555 |
Last Update : 18 มิถุนายน 2555 21:13:55 น. |
|
2 comments
|
Counter : 3668 Pageviews. |
 |
|
เด๋วรอเข่าหายเข้าเบาะได้มะไรเตรียมลุยเต็มสูบ
อ่านๆมาเหนคุณพี่พูดถึงอุติมาตะ กับ โอโซโตด้วย
ถ้าคุณพี่ๆว่างๆก็เขียนเพิ่มให้ผู้น้อยได้ศึกษามั่งนะครับ
กราบขอบพระคุณครับ