bloggang.com mainmenu search

สวัสดีค่ะเพื่อนๆ
กลับมาแล้วค่ะ หลังจากที่ดองบล็อกมานานถึง 2 สัปดาห์
วันนี้กลับมาประจำการเหมือนเดิมแล้วค่ะ
ขอบคุณเพื่อนๆที่แวะเข้ามาทุกๆท่านค่ะ
ต้องขออภัยด้วยที่ไม่ไ้ด้แวะกลับไปทักทายกันเลย
ช่วงที่ผ่านมายุ่งมากๆเลยค่ะ หนุ่มน้อยที่บ้านก็ไม่ค่อยสบาย
และ้ต้องเตรียมตัวสอบกันด้วย(ลูกสอบแต่แม่ยุ่งจัง)
เลยไม่ค่อยมีเวลาเข้ามาเท่าไหร่นัก
ขอบคุณเพื่อนๆ
ที่แวะเวียนเข้ามาเยี่ยมเยือน ทักทายกันอยู่เสมอค่ะ

วันนี้กลับมาพร้อมกับบทเพลงเ
พราะๆ
ของ ศิลปินท่านนี้ค่ะ

"Beethoven"



(17 Dec 1770 - 26 Mar 1827)

ถ้าเอ่ยถึงชื่อ Beethoven บีโทเฟ่น
น้อยคนที่จะไม่เคยได้ยินเพลงอันโด่งดังของเขา
ซิมโฟนี่ หมายเลข 5
พูดถึงเพลงนี้บางคนก็ยัง งง งง อยู่ดีว่ามันเป็นเพลงอะไร
อยากทราบก็ฟังตรงนี้ค่ะ แล้วจะร้อง อ๋อ

ซิมโฟนี่หมายเลข 5

หรือเพลงนี้ รับรองว่ารู้จักกันทั่วบ้านทั่วเมืองชื่อเพลง

Fur Elise

บีโทเฟ่นถือเป็นอัจฉริยะทางด้านดนตรี
ซึ่งน่าทึ่งมากเมื่อเราทราบว่าแม้เขาจะพิการทางการได้ยิน
ขณะอายุประมาณ 26 ปีก็ตาม แต่เขาสามารถประพันธ์เพลงได้อย่างน่าทึ่ง

ข้อมูลบางส่วนจากวิกิพีเดียกล่าวว่า

ในปี ค.ศ. 1796 ระบบการได้ยินของเบโธเฟ่นเริ่มมีปัญหา เขาเริ่มไม่ได้ยินเสียง
ในสถานที่กว้างๆ และเสียงกระซิบของผู้คน เขาตัดสินใจปิดเรื่องหูตึงนี้เอาไว้
 เพราะในสังคมยุคนั้นผู้ที่ร่างกายมีปัญหา(พิการ) จะถูกกลั่นแกล้ง
เหยียดหยาม จนในที่สุดผู้พิการหลายคนกลายเป็นขอทาน
ดังนั้นเขาต้องประสบความสำเร็จให้ได้เสียก่อนจึงจะเปิดเผยเรื่องนี้
จากนั้นเขาก็เริ่มประพันธ์บทเพลงขึ้นมา แล้วจึงหันเหจากนักดนตรี
มาเป็นผู้ประพันธ์เพลง เขาสร้างสรรค์ผลงานที่มีแนวแตกต่างไปจาก
ดนตรียุคคลาสสิคคือ ใช้รูปแบบยุคคลาสสิค แต่ใช้เนื้อหาจากจิตใจ
ความรู้สึกในการประพันธ์เพลง
จึงทำให้ผลงานเป็นตัวของตัวเอง
เนื้อหาของเพลงเต็มไปด้วยการแสดงออกของอารมณ์อย่างเด่นชัด
ดังนั้นบีโทเฟ่นจึงเป็นนักประพันธ์ที่อยู่ช่วงรอยต่อระหว่าง
ยุคคลาสสิคกับยุคโรแมนติก
ซึ่งกวีที่โด่งดังในยุคคลาสสิคได้แก่โมสาร์ท (Mozart) ,
ไฮเดิน (Haydn) ซึ่งบีโทเฟ่นเป็นลูกศิษย์ของไฮเดินช่วงปี 1792

Joseph Haydn

Wolfgang Amadè Mozart


สำหรับกวีที่โด่งดังในยุคโรแมนติก ซึ่งเป็นยุคที่ดนตรี จะมีการแสดงออก
ทางอารมณ์อย่างมาก กวีในยุคนี้ก็มีหลายท่านที่เราๆรู้จักกัน
ได้แก่
โชแปง, ฟรานซ์ สิสต์, โรเบิร์ต ชูมาน เป็นต้น
Chopin

Liszt


Schumann






ขอบคุณภาพจากวิกิพีเดีย

ผลงานของบีโทเฟ่นมีมากมายทั้ง ออเครสต้า ซิมโฟนี่, เปียโนโซนาต้า

ซึ่งมีจำนวน 32 ชิ้นด้วยกัน ผลงานชิ้นสั้นๆ (Short Piece)

อีกหลายผลงาน และแชมเบอร์มิวสิค


ในบล็อกนี้

จะชวนทุกท่านมาฟังเพลงเปียโนโซนาต้า (Piano Sonata) ค่ะ


เพลงโซนาต้า

เป็นเพลงที่แต่งขึ้นสำหรับการเดี่ยวหรือโซโล่เปียโน

โดยจะแบ่งออกเป็นท่อนๆหรือที่เรียกกันว่า movement

โดยส่วนใหญ่จะแบ่งออกเป็น 4 ท่อนด้วยกัน

แต่ก็ไม่จำเป็นเสมอไปแล้วแต่นักประพันธ์จะกำหนดขึ้น

เช่น โซนาต้าของสกาลัตตีที่เคยนำเอามาให้ฟังกันก็จบในท่อนเดียว,

บีโทเฟ่นกับไฮเดินจบใน 2 ท่อนหรือของโมสาร์ทจบ 3 ท่อน เป็นต้น


ได้เวลาฟังเพลงกันแล้วค่ะ

บล็อกนี้จะนำเพลงโซนาต้าของบีโทเฟ่นมาให้ฟังกันค่ะ

แต่ไม่ได้เล่นครบทุกท่อนนะคะ ส่วนใหญ่เป็นท่อนเร็ว

เนื่องจากยังคงอยู่ที่การฝึกเทคนิคการเล่นอยู่

จึงยังไม่ได้เล่นท่อนช้า ซึ่งท่อนช้าส่วนใหญ่ต้องใช้อารมณ์ในการเล่นค่ะ

คงต้องรอให้สองหนุ่มน้อยโตกว่านี้อีกสักนิดค่ะ

แล้วจะนำมาลงให้ชมกันใหม่อีกครั้งเมื่อถึงเลานั้นค่ะ


ตามมาเลยค่า

Smiley....Smiley


พลงที่ 1 Beethoven Grande Sonate Pathetique op. 13, 3rd mvt.

บรรเลงโดยน้องนัท



เพลงที่ 2 Beethoven Sonata OP.2 No.1

บรรเลงโดยน้องนนท์


เพลงที่ 3 Beethoven Op.2 No.3, the 3rd movement

บรรเลงโดยน้องนนท์


เพลงที่ 4 Beethoven Op.2 No.3, the 3rd movement

บรรเลงโดยน้องนัท



เพลงที่ 5 Beethoven Sonata Op.26 last movement : Allegro
บรรเลงโดยน้องนนท์





เพลงที่ 6 Beethoven Sonata Op.26 Allegro movement

บรรเลงโดยน้องนัท





ขอให้ทุกๆท่านมีความสุขกับเทศกาลวันคริสมาสต์
และปีใหม่ 2556 ที่กำลังจะมาถึงนี้ค่ะ

สุขสันต์วันคริสมาสต์ และ สวัสดีปีใหม่ 2556 ล่วงหน้าค่ะ

ขอบคุณเพื่อนๆทุกคนที่แวะเข้ามา่ค่ะ
แล้วพบกันใหม่ในบล็อกถัดไปค่ะ
บล็อกล่าสุด
เต้าหู้ผัดพริกเกลือ

Create Date :24 ธันวาคม 2555 Last Update :24 ธันวาคม 2555 5:29:15 น. Counter : 6862 Pageviews. Comments :71