bloggang.com mainmenu search


แน่นอนว่าความใฝ่ฝันของคุณแม่แทบจะทุกคนเลยหลังจากคลอดเจ้าตัวเล็กออกมาลืมตาดูโลกแล้ว คืออยากจะให้นมลูกน้อยจากอกของตัวเอง โดยการดูดนมจากอกแม่จะช่วยสร้างสายใยรักระหว่างแม่ลูกให้แน่บแน่นมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังเป็นการเสริมสร้างภูมิต้านทานที่ดีให้แก่ร่างกาย เด็กที่ได้รับน้ำนมตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 เดือน จะส่งผลให้มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง

ภาพจาก optibacprobiotics.co.uk

แต่ถ้าวันหนึ่งเกิดเจ้าตัวเล็ก หันไปรักขวดนมมากกว่า ไม่ยอมกินนมจากอกของเรา จะทำยังไงดี ? คุณแม่อย่าเพิ่งแตกตื่น หรือเสียใจไป เพราะว่าวันนี้เรามีสาเหตุของการที่เจ้าตัวเล็กหันไปหาขวดนมมากกว่าดื่มจากอกแม่มาฝากกัน …


น้ำนมแม่อาจจะผลิตไม่เพียงพอ เวลาลูกดูดนมแล้วไม่มีน้ำนมออกมา อาจจะทำให้หงุดหงิด ไม่ยอมกินต่อ “โมโหหิวนั้นเอง” เต้านมคัด หัวนมแข็ง ทำให้ดูดนมได้ไม่สะดวก ทำให้เจ้าตัวเล็กไม่ยอมดูดนมจากอกอีก ภาวะเครียดบางอย่างของลูก โดยอาจจะเกิดจากอาการเจ็บป่วย เช่น เป็นหูอักเสบ เวลาดูดแล้วทำให้เจ็บหู ลูกก็จะไม่ยอมดูด คออักเสบ เป็นหวัด คัดจมูก ดูดนมไม่ได้ เพราะเวลาดูดลูกต้องอาศัยการหายใจทางจมูก


ขวดนมมีดีอย่างไร ?
แน่นอนว่าเต้านมแม่ต้องเป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับลูกน้อย แต่บางครั้งการที่ลูกต้องใช้ความพยายามในการดูด การงับเต้า บางทีเจอน้ำนมเยอะพุ่งใส่หน้า บางทีก็มีน้ำนมน้อย ดูดเท่าไหร่ก็ไม่อิ่ม เลยทำให้เด็กร้องโยเยจนคุณแม่ใจอ่อน เปลี่ยนมาให้ลองดูดจากขวดนมแทน

ภาพจาก repertuar.spb.ru

เมื่อคุณแม่หันมาปั๊มนมใส่ขวด ประกอบกับจุกนม เป็นจุกยาง ทำให้ดูดง่ายกว่าเต้านมแม่ ดูดปุ๊ปนมไหลมาเทมา ยิ่งใช้จุกนมไซด์ขนาดใหญ่ น้ำนมไหลพรวดพราด เร็วทันใจ แบบนี้แหละที่หนูช๊อบชอบบบบ ! หนูติดใจมากๆเลยค่ะ !

แนวทางการแก้ไข
เมื่อลูกน้อยเริ่นหันไปมีใจให้กับขวดนม แล้วจะมีแนวทางแก้ไขอย่างไรล่ะ ที่จะให้ลูกน้อยหันกลับมาเข้าสู่อ้อมอกของแม่เหมือนเดิม มีเคล็ดลับต่อไปนี้จ้า

ใช้จุกนมไซด์ S หรือ SS

หากคุณแม่หมดเวลาลาคลอด ต้องกลับไปทำงานเหมือนเดิม จำเป็นต้องให้ลูกดูดนมจากขววดนม แนะนำให้เลือกใช้จุกนมเบอร์ S, SS อย่าใช่ M หรือ L ถึงแม้ว่าลูกโตขึ้นแล้วก็ไม่ต้องเปลี่ยนขนาด เพราะถ้ารูใหญ่ ลูกจะติดความรวดเร็ว ทำให้หงุดหงิดเวลาดูดนมจากอกแม่ค่ะ

กินนมจากขวดวันละ 1-2 ครั้ง/วัน
ให้ลูกน้อยดื่มนมจากขวดวันละ 1-2 ครั้ง/วัน ก็เพียงพอ เวลาถือขวดนมป้อน ให้ถือขวดนมแนวขนานกับพื้นราบ จะทำให้น้ำนมค่อยๆไหล ไม่แรงและเร็วจนเกินไป ทำให้ลูกชินเหมือนกับการดูดนมจากเต้าค่ะ

หากคุณแม่ไม่มีเวลากลับมาตอนเที่ยง หรือระหว่างวัน จะต้องทำงานตลอด 8-10 ชั่วโมง ควรสต๊อกน้ำนมเอาไว้สัก 5-10 ออนซ์ คือ ไม่เกินชั่วโมงละออนซ์ ทุกช่วงอายุ เพื่อให้ลูกเก็บท้องเอาไว้รอเต้น ตอนที่แม่กลับมา ลูกจะได้ตื่นขึ้นมาดูดเต้าทุก 3-4 ชั่วโมงค่ะ

ไม่อยากให้ติดขวด ก็ไม่ต้องใช้ขวดสิ
กรณีที่คุณแม่เป็นแม่บ้าน อยู่ดูแลลูกน้อยตลอด 24 ชั่วโมง ก็ไม่ต้องใช้ขวดนมเลยก็ได้ แต่ในกรณีที่คุณแม่ทำงานด้วย และไม่อยากใช้ขวดนม ให้ป้อนนมด้วยการใช้ช้อน หรือหลอดดูด แต่อันนี้ต้องค่อยๆฝึกกันไปนะนะ ลูกอาจจะไม่อิ่มมาก มีที่ว่างพอในท้อง รอแม่กลับมาให้ดูดเต้าก็ได้ค่ะ

Create Date :22 พฤศจิกายน 2560 Last Update :24 พฤศจิกายน 2560 9:14:17 น. Counter : 562 Pageviews. Comments :0