bloggang.com mainmenu search



ความผิดพลาดในทฤษฎีการพัฒนาชนบทในแผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ

     สาระสำคัญของแผนได้ถูกกำหนด นับตั้งแต่ บทที่ 1 ในเรื่อง ภาวะเศรษฐกิจของประเทศไทย โดย เริ่มที่จะพูดถึง เครื่องมือที่ใช้ในการวัด สถานะความร่ำรวย ความยากจน เป็นตัวเลข ได้แก่ เริ่มมีการศึกษาภาวะเศรษฐกิจของประเทศไทย และเริ่มสร้างเป้าหมาย โดยกำหนดเป้าในระยะ 10 ปี คือตั้งแต่ พ.ศ. 2494 จนสิ้น พ.ศ. 2503 และก็เริ่มมีการสำรวจรายได้จากทุกครอบครัว จากทุกคน และกระบวนการกระตุ้น เร่งเร้า ก็เริ่มถูกกำหนด ขึ้นมา เนื่องจาก นั่นคือรายได้ของประชาชาติจะต้องเพิ่มขึ้นให้ได้อัตราร้อยละ 5 ต่อปี และรายได้ของประชาชาติต่อประชากรหนึ่งคนจะต้องเพิ่มขึ้นให้ได้ในอัตรากว่าร้อยละ 2 ต่อปี

เราแข่งกับใคร เราแหงนหน้าขึ้นมองดูฟ้า แต่เรามองข้าม เมล็ดพันธุ์ ของตนเอง




วิถีชีวิตของชนชาวสยามที่เคยเรียบง่าย ที่เคยพึ่งพาตนเอง พึ่งพาชุมชน ได้ เนื่องจาก เป็นสังคม แบบครบวงจรก็เริ่มถูก เบ้าหลอมแห่งการพัฒนาจากตะวันตก

     แนวความคิดเรื่องการพัฒนาฯ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาทางด้าน กายภาพ หรือไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาทางด้านสังคม การเมือง จากเดิม วัฒนธรรม วิถีชีวิต แบบเกษตรดั้งเดิม ที่อยู่แบบพอเพียง พึ่งพาตนเองและ สังคมแบบเกื้อกูล ผสมผสาน ภายในหน่วยของสังคม ที่เกิดจาก การบ่ม เพาะเชื้อ จากรากเหง้า แห่งเมล็ดพันธุ์ ของมันเองและเป็นการ เจริญเติบโต โดยอาศัย ดิน น้ำ อากาศ และอาหารพืช เพื่อการเจริญเติบโตตามธรรมชาติ มาเป็น การแยกส่วนผลิตเชิงเดี่ยวเริ่มเกิดขึ้นอย่างขนานใหญ่ และวิถีชีวิต แบบพึ่งพาตนเอง พออยู่พอกิน ก็เริ่มเข้าสู่สังคมแบบอุตสาหกรรมนี่แหละ จากสังคมความเป็นอยู่แบบพอเพียง เรียบง่าย ประหยัด พึ่งพาตนเองได้ ไม่จำเป็นต้องมีใครมาวัด มาชี้ ได้เปลี่ยนไป การวัดตัวเลข รายได้ รายจ่าย และชี้ กำไร ขาดทุน มากน้อย

เมื่อเริ่มมีมาตรวัด วิถีชีวิตความเป็นอยู่แบบพอเพียง เรียบง่าย พึ่งตนเองได้ ก็เลยกลายเป็นความยากจนทันที

เศรษฐกิจพอเพียงคือการพึ่งพาตนเองและการพึ่งพาชุมชน รูปแบบของสังคม ที่เกื้อกูล ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน แบ่งปันทรัพยากรกันในชุมชน เป็นพื้นฐานแบบวิถีแห่งชาวพุทธ ไม่มีคำว่ายากจน มีแต่คำว่า อุดมสมบูรณ์ ด้วย รูปแบบสังคม ที่เรียกว่า สังคม ยุคใหม่ สังคมที่พัฒนาตามแผนพัฒนาฯ ที่ทันสมัย วิถีชีวิต ของผู้คนก็เลยต้อง ดิ้นรน เปลี่ยนแปลง ไปในสิ่งที่เรียกว่า ความทันสมัย ซึ่งไม่รู้จักคำว่าพอ หรือความพอดี ดี ภูมิปัญญาท้องถิ่น แห่งบรรพบุรุษ ได้ถูกทำลาย ลงจนหมดสิ้น

วิถีแห่งการพัฒนาวิถีแห่งการดำเนินชีวิตได้ถูกลอกแบบที่กำหนดออกมาจาก โลกซีกตะวันตกจนโงหัวไม่ขึ้น

     วิถีแห่งการลอกแบบแบบหลับหูหลับตา เอามาทั้งดุ้น ของ ผู้มีอำนาจ ทุกยุคทุกสมัย ไม่เคยเปลี่ยนแปลง มิได้หมายความว่า แนวความคิดแบบตะวันตก จะไม่ดีไปทั้งหมด ส่วนที่ดีย่อมมีมากกว่ากว่าส่วนที่ไม่ดี แต่หากเรา ลอกเลียนแบบ โดยไปหยิบเอาวิธีการมักง่าย หยิบฉวย ของตะวันตกโดยขาดการใช้วิจารณญาณ จากพื้นฐานแห่งวัฒนธรรม วิถีชีวิตของเราเอง

ความจริง แล้ว ทั้งสองด้านต่างก็มีส่วนที่ดี และส่วนที่ไม่ดีทั้งนั้น เพียงแต่ เราไปลอกเลียนแบบโดยขาดการจำแนกแยกแยะ ขาดการใช้วิจารณญาณ ลอกเอาแต่ เปลือก ไม่ศึกษาถึงแก่นแท้ของสิ่งที่เราพบเห็น

     ชีวิต แบบพอเพียง เรียบง่าย การเคารพในกฎแห่งธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมรอบตัว เช่นการ เคารพ บูชาพระแม่โพสพ เจ้าป่า เจ้าเขา การขอขมาต่อพระแม่คงคา ที่เราได้ล่วงเกิน ทำให้พระแม่คงคา แปดเปื้อน การเคารพกราบไหว้ บรรพบุรุษ ด้วยปลูกสร้างศาลตายาย เพื่อการเคารพกราบไหว้ ขอพร กลายเป็นสิ่งงมงายไร้สาระ การเอื้อเฟื้อ เอื้ออำนวยประโยชน์สุขให้ผู้อื่น ได้กลายเป็นความโง่ เซ่อ ต้องเอากำไร ต้องซื้อขาย ต้องมีผลประโยชน์ตอบแทน ก่อนถูกตรายางปั้มที่หน้าว่า ยากจน เพราะไม่มีรายได้ เป็นเงินเป็นทอง คนที่ร่ำรวย คือ คนที่มีรายได้มากๆ มีทรัพย์สินมากๆ แล้วทฤษฎีแห่งการ เปลี่ยนแปลงความคิด และวิถีชีวิตแห่งชนชาวสยาม ก็เริ่มเปลี่ยนแปลง อย่างเร่งเร้า ต่อเนื่อง ความหายนะ ด้านจิต วิญญาณ ได้ก่อตัวเป็น เมฆทะมึนร้ายซึ่งก่อตัวขึ้นจาก เบื้องทิศตะวันตก เข้าสู่สยามประเทศ อย่างน่ากลัว

วิถีแห่งความเรียบง่าย ความเอื้อเฟื้อ เกื้อกูล ก็หมดไปจากหัวใจของคนไทย นับตั้งแต่บัดนั้น ลุกลาม เป็นมะเร็งร้าย ที่เกาะกิน แทรกซึม เข้าสู่ กระแสเลือดแห่งความเป็น “คนไทย”จน บัดนี้

ความวิปริต แปรปรวน ในครอบครัว ในชุมชน ในสังคม และของโลกทั้งโลกจึงเกิดขึ้น อย่างขนานใหญ่ และนี่แหละ เกมการแข่งขันได้เริ่มขึ้นแล้ว นับตั้งแต่ ประเทศไทยเริ่มมีการใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 เป็นต้นมา จนถึงปัจจุบัน สังคมไทยเรา คนไทยเรา ประเทศไทยเรา มีอะไร ที่ดีขึ้นมากไปกว่า มีความ ฟุ้งเฟ้อ ฟุ่มเฟือย ความสะดวกสบาย ที่จะต้องหาเงิน มาแลกเปลี่ยน มีสิ่งตอบแทน และสิ่งที่ตามมาก็คือ อาชญากรรม ยาเสพติด วัยรุ่น มั่วสุม การยื้อแย่ง แข่งขัน การฆ่าตัวตาย โรคจิต ก็เป็นดั่งหนึ่ง สีสันที่แต่งแต้มขึ้น ในสังคมทุกวันนี้ นับวันจะมีมากขึ้นๆ อย่างไม่มีที่สิ้นสุด ตราบจนกระทั่ง ความฟอนเฟะ เน่าเหม็นกัดกินสังคม จน กระทั่ง มาสรุปในที่สุดว่าการพัฒนาทางสังคม เราเดินมาผิดทางเสียแล้ว

วัฒนธรรม และวิถีชีวิตของคนไทยเรา เป็นสังคมที่ดำรงชีวิตแบบพอเพียง ภายในชุมชน (หมู่บ้าน) อยู่กันแบบ พี่ น้อง ญาติมิตร มาตั้งแต่บรรพกาลแล้ว สังคมภายในชุมชน มีวัฒนธรรมของการ แลกเปลี่ยนผลผลิต ที่มีอยู่ ภูมิปัญญา และนวัตกรรมที่เกิดขึ้นซึ่งกันและกัน

วิถีการดำรงชีวิตของชาวสยามดั้งเดิม เราเชื่อในเรื่อง ทฤษฏีเศรษฐกิจพอเพียง มิใช่หรือ?

     หลายอย่างที่ถูกกำหนดไว้ในแผนพัฒนาฯ เป็นสิ่งที่ดี เพียงแต่เราไม่สามารถ ควบคุมและ ดำเนินการให้เป็นไปตามแผนพัฒนาฯ ได้ตามที่กำหนด จนนำไปสู่ ขบวนการ ทำลายภูมิคุ้มกันที่เป็นจุดแข็งของสังคมสยาม อันเป็นความเข้มแข็งรากฐานดั้งเดิม และก็ไม่สามารถ ควบคุม การทำลายทรัพยากรธรรมชาติ อันเป็นมาตรการป้องกันคู่ขนานกันได้ จนกลายเป็น ความหายนะครั้งยิ่งใหญ่ ของสังคมไทย ของโลก

     “การปรับปรุงและเร่งรัดการสงวนป่าไม้ ป่าไม้บริเวณต้นน้ำลำธารตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่1 ต้องดำเนินการสงวนป่าไม้ให้ได้เนื้อที่ร้อยละประมาณ 50 ของเนื้อที่ประเทศไทยทั้งหมด” แต่ ในปี พ.ศ. 2541 เรามีเนื้อที่ ป่าไม้เหลืออยู่เพียง. 25.28 % แบบนี้ แสดงว่า เราประสบความสำเร็จหรือล้มเหลว"

ณ ขณะนี้ ต่างก็เริ่ม เรียกร้องให้หยุด หยุดทำให้โลกร้อน หยุดผลิตขยะ หยุดการขึ้นราคาน้ำมัน หยุดการตัดไม้ทำลายป่า หยุด การผลิต ก๊าซ คาร์บอนไดอ๊อกไซด์ ที่จะทำให้โลกร้อน และหยุดอะไรต่อมิอะไร

มันหยุดไม่ได้เสียแล้ว



กาลครั้งหนึ่งในแม่ตะมาน ตอน ๑


Back to TOP


หน้าหลัก "สนามหลวง"
Create Date :05 กรกฎาคม 2551 Last Update :22 กรกฎาคม 2551 22:52:44 น. Counter : Pageviews. Comments :0