bloggang.com mainmenu search





สวัสดีค่าา Smiley






เอนทรี่ล่าสุด รีวิวอินเตอร์คอนติเนนตัล สมุย บ้านตลิ่งงาม รีสอร์ท ตอนที่ 5 Facilities ต่างๆ 







สำหรับวันนี้จะเป็นการรีวิวละครเวที ที่นานน้านทีเจ้าของบล็อกจะได้มีโอกาสไปดูนะคะ Smiley สำหรับเรื่องนี้ที่ไปดูนีบอกก่อนเลยว่าเคยดูภาพยนตร์เรื่องนี้แล้วประทับใจมาก ชอบมาก ขนาดซื้อดีวีดีเก็บไว้ (ก่อนจะถูกคนไม่รู้ค่าโละมันทิ้งไปซะงั้น รวมทั้งบ็อกเซ็ตหนังเรื่องซีซันเชนจ์ด้วย เหอๆ Smiley ) พอมาทำเป็นภาพยนตร์ เราก็สนใจแล้ว แล้วเห็นเพื่อนเฟซไปดูกันแล้วชมกันมาเยอะ เราก็เฮ้ย..ไปดูดีมั้ย พอดีกับอยากพาคุณนายแม่ไปชมละครเวที ก็เลยโทร.ไปถาม คุณนายเธอบอกว่า เออ กำลังอยากดู ป้าบบบ..เข้าเว็บจองตั๋วเลยคร้าบบบ โดยรอบที่เราไปดูเป็นรอบวันที่ 9 พฤษภาคม ทุ่มครึ่งนะคะ (ประตูเปิดทุ่มตรงค่ะ)

สำหรับเว็บการจองตั๋วชมละครเรื่องนี้เราจองผ่านเว็บไซต์ไทยทิกเก็ตเมเจอร์ค่ะ 

//www.thaiticketmajor.com/performance/performance-detail.php?sid=2686&la=en

โดยสามารถที่จะตัดบัตรเครดิตได้นะคะ สะดวกสำหรับคนที่อยากสะสมแต้มด้วยค่ะ แฮ่... พอจองเสร็จเค้าจะให้หมายเลขการจองมา ซึ่งเราสามารถนำหมายเลขการจองดังกล่าวไปรับบัตรได้ที่บู๊ทของไทยทิกเก็ตเมเจอร์ที่มีหลายจุดด้วยกันได้นะคะ โดยจะต้องนำบัตรเครดิตที่ทำการซื้อจองนั้นไปแสดงด้วยค่ะ

สำหรับเรา หลังจากจองแล้วก็ไปรับบัตรวันงานเลยค่ะ รับที่สยามสแควร์วันที่หน้าโรงเลยแหละ แต่ไปรับตอนเที่ยงกว่าๆ ค่ะ ก่อนจะไปดูภาพยนตร์เรื่องคีตราชนิพนธ์ที่สยามพารากอนนะคะ







โหมโรง เดอะมิวสิคัล

จากบทประพันธ์ของ อิทธิสุนทร วิชัยลักษณ์
บทละคร ธีรวัฒน์ อนุวัตรอุดม, พิมพ์ไทย โลหิตคุปต์


ผู้กำกับ สังข์ ธีรวัฒน์ 
ผู้กำกับการแสดง ธีรวัฒน์ อนุวัตรอุดม
ผู้กำกับนักแสดง ครูเงาะ รสสุคนธ์ กองเกตุ


ประพันธ์คำร้อง
ประภาส ชลศรานนท์
จักพัฒน์ เอี่ยมหนุน
ธีรวัฒน์ อนุวัตรอุดม
ตรัย ภูมิรัตน
ปิติ ลิ้มเจริญ
วรานุช หาญสืบสาย
พิมพ์ไทย โลหิตคุปต์


ประพันธ์ดนตรีและกำกับดนตรี

จักรพัฒน์ เอี่ยมหนุน


กำกับดนตรีไทย

อัษฎาวุธ สาคริก


อำนวยเพลง

อภิชาติ นิลภาทย์


ประพันธ์และเรียบเรียงดนตรีไทย

วงกอไผ่


กำกับศิลป์

พล หุยประเสริฐ


ออกแบบและกำกับแสง

สุพัตรา เครือครองสุข
ทศพล วิพลกุล


นักแสดง 

ศรตอนหนุ่ม - อาร์ม กรกันต์ สิทธิโกเศศ
ท่านครู - สุประวัติ ปัทมสูต
แม่โชติ (สาว) - แนน สาธิดา พรหมพิริยะ
พันโทวีระ - โย่ง อาร์มแชร์
ขุนอิน - ชัยยุทธ โตสง่า
(ขอแก้ไขเป็น คุณทวีศักดิ์ อัครวงษ์นะคะ ตามที่คุณนัทธ์แจ้งมา ที่จริงเราเอาชื่อจากสูจิบัตรมานะคะ แต่ไม่แน่ใจว่าเกิดอะไรขึ้นเหมือนกันค่ะ) 
แม่โชติ - ดวงใจ หทัยกาญจน์
ครูเทียน - ศรัทธา ศรัทธาทิพย์
เปี๊ยก - เอ๋ เชิญยิ้ม
เทิด - อรรณพ ทองบริสุทธิ์
ทิว - มงคล สะอาดบุญญพัฒน์
ศรวัยเด็ก - ด.ช.รฐนันท์ จิระกาญจนากิจ
ทิววัยเด็ก - ด.ช.ชยณัฐ แจ่มใส









เนื้อเรื่อง

เรื่องราวชีวิตของหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) มือระนาดจากอัมพวา ที่ต้องผ่านเหตุการณ์ต่างๆ มากมาย นับตั้งแต่พี่ชายที่ต้องตายจากนักเลงเจ้าถิ่น จนทำให้พ่อไม่อยากหัดดนตรีให้เขา การหยิ่งผยองในฝีมือของตนเองจนกระทั่งถูกกำราบอย่างราบคาบด้วยฝีมือของขุนอิน การค้นพบทางใหม่ของระนาดตนเอง และการเอาชนะตนเองในท้ายที่สุด 

จวบจนยุคสมัย "เชื่อผู้นำชาติพ้นภัย" ที่พยายามทำลายทุกสิ่งที่คร่ำครึ การออกกฎต่างๆ ที่ไม่ได้คำนึงถึงความเป็นจริง บัญญัติโดยไม่ได้มีความรู้ความเข้าใจอย่างแท้จริง ที่ทำให้ท้ายที่สุดแล้วก็ต้องมีคำถามว่า "เราจะเติบโตใหญ่ได้อย่างไร เจริญกันแบบไหน หากเราดูถูกรากเหง้าตัวเอง"




ความรู้สึกที่ได้ดู

ก่อนอื่นเลยที่ต้องชมมากๆ นะคะ นั่นก็คือ การแคสติ้งนักแสดงแต่ละคนมาค่ะ แม้ว่าจะไม่ใช่นักแสดงที่มีชื่อเสียงระดับกว้างหรือดังมากพอที่จะเป็นแม่เหล็กดึงดูดคนให้เข้ามาดู แต่ทุกคนก็เล่นออกมาได้เต็มร้อย เหมาะสมกับบททุกๆ บทเลยค่ะ









ไม่ว่าจะเป็นศร หรือทิวตอนเด็ก (ที่คนหลังนี่น่ารักน่าหยิกมาก อยากถ่ายรูปกับน้อง แต่ตอนละครจบ น้องไม่ออกมาให้ถ่ายรูปเหมือนคนอื่นๆ ง่ะ Smiley) ศรหรือทิวตอนหนุ่ม จนกระทั่งท่านครู (หรือศรตอนแก่) หรือตัวละครอื่นๆ ที่อยู่ในเรื่อง แม่โชติ (ที่สวยหวานสมแก่การตกหลุมรักจริงๆ โดยภาพลักษณ์นี่ ชวนตกหลุมรักง่ายๆ ยิ่งกว่าตัวแสดงที่แสดงในภาพยนตร์ค่ะ) พันโทวีระ ที่มีความอหังการ์และบารมีแบบเบ่งๆ อยู่ตลอดที่ปรากฎตัว

ในส่วนของตัวละครย่อย ไม่ว่าจะเป็น เทิดลูกของทิว ก็แสดงได้ดีค่ะ เปี๊ยก ที่สร้างความสะเทือนใจให้กับคนดู (พลิกบทบาทไปจากที่เคยเห็นในทีวีโดยสิ้นเชิง) ที่เราว่าการใส่เพลงสองช่วง "โลกกำลังจะแตกใช่หรือเปล่า เดี๋ยวมันก็ผ่านไปเรื่องร้ายๆ" ที่ให้อารมณ์ที่แตกต่างกัน ทั้งที่เนื้อร้องเดียวกันนั่น...ยิ่งสร้างความสะเทือนใจมากๆ ค่ะ (เราร้องไห้เลยแหละ แหะๆ) หรือกระทั่งสมเด็จฯ ที่แม้บุคลิกจะรั่วกว่าในภาพยนตร์มาก (ฮา) แต่ก็มีเสน่ห์สร้างเสียงหัวเราะให้กับคนดูได้ดี (โดยเฉพาะกับเพลงนี่หรือไอ้ศรที่ดริฟท์ตอนท้ายซ้า..) พันตรีวุฒิ ที่เล่นได้กวงซ่งติง (ขออภัย) น่าถีบมาก (ขออภัยอีกครั้ง) หรือกระทั่งน้องๆ จาก KPN ที่มาแค่ช็อตเดียวสำหรับเพลงเชื่อผู้นำชาติพ้นภัย นั่นก็สร้างเสียงหัวเราะได้ดีค่ะ




ป.ล. แต่เราปลื้มขุนอินมากๆ นะคะ แสดงดี เล่นระนาดได้แบบ...โอเคหละ อาจจะเทียบกับคนที่แสดงภาพยนตร์ไม่ได้ (คนนั้นเราก็ชอบมากๆ เหมือนกัน) แต่ก็ถือว่าฝีมือเหมาะแก่การสยบความอหังการของศรได้ดีหละค่ะ



เรื่องที่สองก็คือ เรื่องของการสร้างอารมณ์ในละครเวทีเรื่องนี้ มีครบทุกรสจริงๆ ทั้งดราม่าเข้มข้น ความสะเทือนใจ ความสนุกสนาน ตลกขบขัน เรียกได้ว่าดูแล้วให้อารมณ์ได้ครบเลยหละค่ะ



ละครเวทีเรื่องนี้ค่อนข้างเคารพบทประพันธ์ของคุณอิทธิสุนทร วิชัยลักษณ์พอควรเลยนะคะ (สำหรับใครที่ไม่ได้ชมภาพยนตร์ ลองไปหาแผ่นมาดูนะคะ เป็นหนังไทยเรื่องหนึ่งที่ไม่ควรพลาดด้วยประการทั้งปวง เต็มอิ่ม เพียบพร้อมไปในทุกองค์ประกอบเลยหละค่ะ) มีดัดแปลงหรือแต่งเติมบ้างเพิ่มเติมจากภาพยนตร์ เช่น ฉากที่แม่โชติมาให้กำลังใจกับศรก่อนที่จะประชันกับขุนอิน การเปลี่ยนคำพูดที่ครูพูดกับศร ทำให้ศรคิดได้และกล้าที่จะประชันกับขุนอิน ที่เปลี่ยนจากการเปลี่ยนทัศนคติของคำว่า "แพ้" และ "ชนะ" เป็นเพียงการให้กระทบเพียงสัมผัส แต่อย่าให้มันไปถึงใจแทน ซึ่งเราว่า...อืมม์..มันก็เป็นการตีความไปอีกแบบนะคะ (เราชอบทั้งสองแบบน่ะแหละ) หรือฉากที่ศรค้นพบ "ทาง" ของตัวเอง ที่เพิ่มการนอนบนเรือขึ้นมา พร้อมกับการคิดถึงการว่ายที่แตกต่างของปลา (ฉบับภาพยนตร์นอนบนพื้นดิน เห็นทางมะพร้าวน่ะค่ะ) หรืออย่างการที่ศรได้เปลี่ยนความรู้สึกที่มีต่อขุนอิน ที่ในภาพยนตร์ ใช้ช็อตในการดอลลี่ภาพถ่ายที่ท่านครูติดไว้ที่ผนัง แต่ในละครเวที ให้ศรพูดออกมาตรงๆ (แต่ก็เข้าใจว่า ถ้าแค่เอาภาพที่ติดไว้ขึ้นมา สำหรับคนที่ยังไม่เคยดูภาพยนตร์ อาจจะไม่เก็ทได้น่ะนะคะ)

หรืออย่างการเสริมบทเรื่องการ "ยอมรับนับถือ" กับการยอมไหว้พันโทวีระ และการแสดงสัญลักษณ์ที่แสดงถึงความเคารพต่อท่านครู ก็เป็นเรื่องที่เพิ่มเติมขึ้นมาจากภาพยนตร์ ซึ่ง..โอเคหละค่ะ รับได้ ไม่ได้เปลี่ยนแก่นเรื่อง แม้ว่าจะทำให้เรารู้สึกแตกต่างไปจากภาพยนตร์ที่เค้ายอมรับจริง แต่เค้าไม่ได้แสดงออกชัดเจนด้วยอาการอย่างนั้น แต่ใช้การยอมรับด้วยการไม่ชี้ตัวเอาเรื่องแม้ว่าจะเห็นคนทำผิดก็ตามต่างหาก ซึ่งเราว่าแบบเดิมก็สวยงามดีค่ะ ส่วนแบบละครเวทีก็ "ชัดเจน" ดี (เราว่าละครเวทีเรื่องนี้ ทำหลายๆ อย่างให้สื่อออกมาชัดกว่าหนัง แต่ก็คงเป็นเพราะความแตกต่างระหว่างสื่อสองสื่อนี้ด้วยหละนะคะ ซึ่งเราว่าก็ทำให้ได้อรรถรสและความงามที่ต่างกันไปค่ะ)






ส่วนข้อที่อยากเสนอแนะนะคะ คือ ช่วงของ Black Out (ดับไฟสนิทเพื่อเปลี่ยนฉาก) มันดับไม่สนิทน่ะค่ะ ยังเห็นเงาคนอยู่ คิดว่าคงเป็นส่วนที่ทางโรงละครต้องปรับนะคะ แล้วก็ในเรื่องของเสียง ที่บางช่วงยังคุมระดับความดัง-เบาได้ไม่เหมาะสมค่ะ อย่างตอนเปิดตัวศรตอนหนุ่ม เสียงดนตรีมันดังเกือบกลบเสียงร้องของพระเอก แล้วก็ตอนที่ศรเจอขุนอินแล้วต้องตีสู้กันครั้งแรก เสียงขุนอินมันไม่พุ่งอย่างที่ควรเป็น ที่จะทำให้คนดู (และฟัง) รู้สึกได้ถึงพลังอำนาจที่ทำให้ศรต้องพ่ายแพ้ค่ะ (ขณะที่ในภาพยนตร์ ฉากดังกล่าวนี่แสดงถึงสิ่งที่ว่าชัดเจนมากน่ะนะคะ) รวมทั้งฉากที่เราชอบมากฉากหนึ่งคือ ฉากระหว่างเปียโนกับระนาดระหว่างพ่อ-ลูก ตอนในหนังมันเป็นอะไรที่กลมกลืนและไพเราะมากๆ ขณะที่พอมาเป็นละครเวที..มันดร็อปลงกว่าน่ะนะคะ (ซึ่งมันก็อาจจะเป็นไปได้สำหรับการใช้เสียงสด ไม่ใช่ถ่ายทำแล้วถ่ายทำอีกแล้วก็เลือกมามิกซ์ให้ดีที่สุดได้น่ะค่ะ)




สรุปแล้ว เป็นละครเวทีเรื่องหนึ่งที่ไม่อยากให้พลาดกันค่ะ แม้ราคาจะค่อนข้างสูง (บัตรเริ่มต้นที่หนึ่งพันบาท) และโดยโปรดัคชั่นอาจจะไม่ได้เน้นที่ความอลังการอะไรมากนัก แต่โดยเนื้อหา การแสดงของนักแสดงและอะไรหลายๆ อย่างก็คุ้มค่าเหลือเกินค่ะที่จะไปดูนะคะ




TIPS เพิ่มเติม

และหลังจากละครจบแล้ว จะมีการถ่ายรูปกับนักแสดงที่ชั้น 7 ด้วยนะคะ (โรงละครที่นั่งโซนของเราอยู่ที่ชั้นแปดค่ะ) และมีลิฟท์สำหรับผู้พิการและสูงอายุให้ด้วยหนึ่งตัวค่ะ (ลิฟท์ต่างหากจากลิฟท์ของทางสยามสแควร์วันนะคะ)

สำหรับห้องน้ำ ที่ชั้นเจ็ดเอ จะมีมากกว่าที่ชั้นเจ็ด (ชั้นเคาน์เตอร์ขายบัตร) ค่ะ เผือ่ใครไปแล้วคิวห้องน้ำเยอะนะคะ แฮ่...

แล้วก็ถ้าท่านใดอยากได้รายละเอียดเพิ่มเติม แนะนำให้ซื้อสูจิบัตรสี่สีสวยงามเล่มใหญ่กว่าสูจิบัตรที่แจกฟรี ซึ่งจะมีน้องแต่งชุดไทยหิ้วตะกร้ามาขาย เล่มละ 200 บาทค่ะ จะมีชื่อทีมงาน นักแสดงทุกคน เนื้อเพลงของทุกเพลงในละครเรื่องนี้ด้วยค่ะ





เชียร์ค่ะ สำหรับเรื่องนี้ อยากให้ไปดูกันนะคะ รอบสุดท้ายจะเป็นวันอาทิตย์ที่ 17 พฤษภานี้แล้วค่ะ ไปอุดหนุนละครเวทีดีๆ กันเพื่อเป็นกำลังใจให้คนในวงการละครได้ทำงานดีๆ กันออกมาต่อไปนะคะ











ปฏิทินธรรม









วันเสาร์ที่ 2 พฤษภาคม 2558

1. ตักบาตรพระกรรมฐานสายหลวงปู่มั่น วัดพุทธบูชา (ทุกวันเสาร์แรกของเดือน)




วันอาทิตย์ที่ 3 พฤษภาคม 2558 (กิจกรรมจัดทุกวันอาทิตย์แรกของเดือน)

1.ทำบุญกับพระกรรมฐานสายพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
ณ มูลนิธิพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ถ.จรัญสนิทวงศ์ซอย 37
เวลา 06.30-10.30 น.


ดูรายละเอียดพระที่มารับบาตรและแผนที่ได้ที่
//www.watpa.com/board_detail.asp?board_id=3447



วันเสาร์และอาทิตย์ที่ 2 - 3 พฤษภาคม 2558

1. งานพิธียกฉัตร พุ่มข้าวบิณพระมหาธาตุเจดีย์ และ อายุวัฒนมงคลครบ 87 ปี หลวงปู่ท่อน ญาณธโร
ณ. วัดศรีอภัยวัน ตำบลนาอ้อ อำเภอเมือง จังหวัดเลย

https://www.facebook.com/WatSriRattanawan/photos/a.189306634446895.54738.137314432979449/944131008964450/?type=1&theater

https://www.facebook.com/WatSriRattanawan/photos/a.698982170146003.1073741828.137314432979449/963075340403350/?type=1&theater




5 พฤษภาคม 2558

1. ขอเชิญร่วมสวดมนต์และฟังการแสดงธรรมโดย หลวงปู่ไม อินทสิริ (วัดป่าเขาภูหลวง จ.นครราชสีมา)

เมตตาแสดงธรรม เวลา 18.00น.
ณ ห้องพระชั้น 3 มูลนิธิบ้านอารีย์




วันอาทิตย์ที่ 10 และ 24 พฤษภาคม 2558 (กิจกรรมจัดทุกๆ วันอาทิตย์ที่ ๒ และ ๔ ของเดือน)

1. ทำบุญ ฟังธรรม จากครูบาอาจารย์พระป่าสายกัมมฐาน ณ ศาลาลุงชิน แจ้งวัฒนะ 14
กิจกรรมจะเริ่มจากการถวายภัตตาหารร่วมกันเวลา ๘:oo น. สำหรับท่านที่สนใจนำอาหารมาร่วมทำบุญ แนะนำให้มาก่อนเวลาเพื่อจัดเตรียมอาหารใส่ภาชนะ ซึ่งจะเริ่มลำเลียงถาดอาหารเพื่อเตรียมประเคนเวลาประมาณ ๗:๔๕ น.

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่
https://www.facebook.com/SalaLungChin?fref=ts




วันอาทิตย์ที่ 17 พฤษภาคม 2558 (กิจกรรมจัดทุกวันอาทิตย์ที่สามของเดือน)

1. ตักบาตรพระกรรมฐาน (นิมนต์พระสายหลวงปู่มั่น) ที่วัดบรมนิวาส (ไม่มีรายละเอียดอย่างอื่นค่ะ)

ที่จอดรถค่อนข้างหายาก ไม่ควรนำรถส่วนตัวไปค่ะ


2. ฟังพระธรรมเทศนา หลวงปู่ไม อินทสิริ วัดป่าเขาภูหลวง จ. นครราชสีมา

ณ. ชมรมสุรัตนธรรม อาคารปฏิบัติธรรมสุรัตนธรรม ถ.จักรพงษ์ แขวงชนะสงคราม เขตพระนคร กรุงเทพฯ

//www.surattanadharm.com/




วันเสาร์ที่ 23 พฤษภาคม 2558(จัดทุกวันเสาร์ที่สี่ของเดือน)

1. เชิญทุกท่านร่วมทำบุญตักบาตร สดับธรรม พระเถระวัดป่ากรรมฐาน เมตตารับบาตร โดย
โดย พระราชภาวนาพินิจ (หลวงพ่อสนธิ์ อนาลโย)
วัดพุทธบูชา กรุงเทพฯ
พระพุทธิสารเถร (หลวงพ่อบุญกู้ อนุวฑฺฒโน)
วัดพระศรีมหาธาตุ กรุงเทพฯ
พระครูเกษมวรกิจ (หลวงพ่อวิชัย เขมิโย)
วัดถ้ำผาจม จ. เชียงราย

เว็บไซต์บ้านอารีย์
//www.baanaree.net




24 พฤษภาคม 2558

1. ฟังพระธรรมเทศนา หลวงพ่อสุรศักดิ์ เขมรํสี วัดมเหยงคณ์ จ.อยุธยา

ณ. ชมรมสุรัตนธรรม อาคารปฏิบัติธรรมสุรัตนธรรม ถ.จักรพงษ์ แขวงชนะสงคราม เขตพระนคร กรุงเทพฯ

//www.surattanadharm.com/














ขอบคุณทุกท่านที่แวะมาค่ะ

1,469,696+2356513=3826209/11576/954
Create Date :13 พฤษภาคม 2558 Last Update :15 พฤษภาคม 2558 17:18:19 น. Counter : 7863 Pageviews. Comments :25