bloggang.com mainmenu search
===========================================
อภิเนาว์สถานวังเจ้า "วังปารุสกวัน - วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม"

Reference Link:
- 2013m06d15 0930: At Parusakawan Palace [ณ วังปารุสกวัน]
===========================================


[Source: Facebook VarietySiam,
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=369635366470715&set=a.237327049701548.38143.227233897377530&type=1&permPage=1]

ชมรมพิพิธสยาม ได้จัดกิจกรรมร่วมสัมผัสความสวยงามของ 2 สถานที่ คือ
1. พระตำหนักจิตรลดา วังปารุสกวัน และ
2. วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม
พร้อมเรื่องราวสาระสำคัญทางประวัติศาสตร์ และเรื่องราวความรักของเจ้าฟ้าสยาม กับ แหม่มสาวชาวรัสเซีย

กิจกรรมในครั้งนี้ นับเป็นการจัดขึ้นเป็นครั้งที่ 16 ของชมรมพิพิธสยาม
โดยจะได้จัดให้มีขึ้นในวันเสาร์ที่ 15 มิถุนายน 2556
ตั้งแต่เวลา 09.30 - 16.30 น.
(ค่าลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรมท่านละ 300 บาท)
(อัตรานี้เป็นค่าดำเนินการและสนับสนุนการจัดกิจกรรมของชมรมฯ)
Reference Link: https://www.facebook.com/#!/events/482575415158507/

กำหนดการกิจกรรมเดินย้อนรอยพิพิธศิลปวัฒนธรรม ครั้งที่ ๑๖
อภิเนาว์สถานวังเจ้า "วังปารุสกวัน - วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม"
ในวันเสาร์ที่ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๕๖

๙.๓๐ น. ลงทะเบียน ณ บริเวณตำหนักจิตรลดา ภายในกองบัญชาการตำรวจนครบาล วังปารุสกวัน
๑๐.๐๐ น.... เริ่มกิจกรรมนำชมภายในตำหนักจิตรลดา และ พิพิธภัณฑ์ตำรวจ
๑๑.๔๕ น. มอบของที่ระลึกให้กับวิทยากร พร้อมถ่ายภาพหมู่ร่วมกันเป็นที่ระลึก
๑๒.๐๐ น. พักรับประทานอาหารกลางวันตามอัธยาศัย
๑๓.๑๕ น. พบกัน ณ บริเวณพระอุโบสถวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม
๑๓.๓๐ น. เริ่มกิจกรรมนำชมภายในวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม
๑๖.๓๐ น. ถวายของที่ระลึกพระวิทยากร พร้อมถ่ายภาพหมู่ร่วมกันเป็นที่ระลึก


แผนที่การเดินทาง
สู่พิพิธภัณฑ์ตำรวจ กองบัญชาการตำรวจนครบาล วังปารุสกวัน
[Source: Facebook VarietySiam,
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=370038549763730&set=a.237327049701548.38143.227233897377530&type=1&relevant_count=1#!/photo.php?fbid=370045569763028&set=a.237327049701548.38143.227233897377530&type=1&permPage=1 ]



Picture Gallery from Facebook VarietySiam











กลับมาจากกิจกรรมแล้ว จะมาเล่าสู่กันฟังว่าเป็นอย่างไรบ้าง ...
สถานที่ทั้ง 2 แห่งนี้ ได้แต่ผ่านไปผ่านมาหลายครั้ง และเป็นเวลานานมากแล้ว ครั้งนี้จะได้มีโอกาสเข้าเยี่ยมชม และฟังเนื้อหาความรู้บ้าง

ขอขอบคุณผู้จัดกิจกรรมดีๆ เหล่านี้



Information from Variety Siam Facebook

เมื่อวันที่ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๕๖ ชมรมพิพิธสยามได้จัดกิจกรรมเดินย้อนรอยพิพิธศิลปวัฒนธรรม ครั้งที่ ๑๖ ขึ้น

โดยในช่วงเช้าได้นำผู้เข้าร่วมกิจกรรมนำชมความงดงามของตำหนักจิตรลดา วังปารุสกวัน ภายในพิพิธภัณฑ์ตำรวจ

และในช่วงบ่ายได้นำทุกท่านเข้าเยี่ยมชม วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม พระอารามหลวงที่มีความสำคัญและมีความงดงามในเรื่องของสถาปัตยกรรมที่ออกแบบโดยกรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ หรือครูช่างแห่งกรุงรัตนโกสินทร์

ในครั้งนี้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้เข้าเยี่ยมชมสถานที่สำคัญๆ ที่ไม่เปิดให้บุคคลทั่วไปเข้าเยี่ยมชม อาทิ ศาลาทรงผนวช และวิหารสมเด็จ สผ. ซึ่งในครั้งนี้ได้เข้าชมในวิหารสมเด็จ สผ. ท่านเจ้าอาวาสวัดเบญจมบพิตรฯ ได้เมตตาให้คณะของชมรมฯ ขึ้นสักการะพระพุทธนรสีห์ (จำลอง) พระพุทธรูปสำคัญในสมัยรัชกาลที่ ๕ และพระฝาง พระพุทธรูปทรงเครื่องที่มีพุทธลักษณะงดงาม และมีประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจยิ่ง

ชมรมพิพิธสยามขอขอบพระคุณ
- วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม
คณะวิทยากร
- พระคุณเจ้าจากวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม
- คุณปติสร เพ็ญสุตร
ที่แบ่งปันความรู้ต่างๆ ที่น่าสนใจในครั้งนี้ให้กับผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้เรียนรู้ร่วมกัน ด้วยบรรยากาศแห่งความสุขและมิตรภาพครับ

- Picture Gallery by Nubtuang, Variety Siam
Source:
Info:
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.10151411024902522.1073741855.734717521&type=1
Picture Gallery:
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.10151411024902522.1073741855.734717521&type=1#!/photo.php?fbid=10151411031597522&set=a.10151411024902522.1073741855.734717521&type=3&theater




พระนิรันตราย สัญลักษณ์แห่งคณะธรรมยุติ
[Source:
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.10151411024902522.1073741855.734717521&type=1#!/photo.php?fbid=358720490895536&set=a.237327049701548.38143.227233897377530&type=1&theater ]

พระนิรันตราย สัญลักษณ์แห่งคณะธรรมยุติ
ประวัติพระนิรันตราย

เมื่อปี พ.ศ.๒๓๙๙ กำนันอิน ซึ่งมีถิ่นอาศัยอยู่ ณ แขวงเมืองปราจีนบุรี ได้นอนฝันว่า ได้จับช้างเผือกได้แล้วจึงไปขุดมันนกพร้อมกับนายยังบุตรชาย ที่ป่าดงศรีมหาโพธิ์ประมาณ ๓ เส้น ทั้งสองพ่อลูกได้พบพระพุทธรูปหล่อด้วยทองคำหนัก ๘ ตำลึง จึงนำมามอบให้กับพระเกรียงไกรกระบวนยุทธ์ ปลัดเมืองฉะเชิงเทรา จากนั้นพระเกรียงไกรฯ ได้นำขึ้นทูลเกล้าถวายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ว่าสองพ่อลูกมีความกตัญญูต่อพระพุทธศาสนาและพระเจ้าแผ่นดิน เมื่อขุดพระทองคำได้เช่นนี้แต่มิได้นำไปยุบหลอมแปลงสภาพเพื่อประโยชน์ส่วนตน อีกทั้งยังได้นำมาทูลเกลเาฯ ถวาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เข้าเฝ้าและพระราชทานรางวัลเป็นเงินตรา จำนวน ๘ ชั่ง

จากนั้นทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพนักงานอัญเชิญพระพุทธรูปทองคำองค์นั้ไปเก็บรักษาไว้ ณ หอเสถียรธรรมปริตร กับพระกริ่งองค์น้อย
เมื่อถึงปี พ.ศ.๒๔๐๓ มีคนร้ายได้เข้าลักพระกริ่งองค์น้อยซึ่งประดิษฐานคู่กับพระพุทธรูปทองคำไป ทรงมีพระราชดำริว่าพระพุทธรูปทองคำที่ผู้ใหญ่อินและบุตรได้ค้นพบนั้นนับว่าเป็นทองคำแท่งใหญกว่าพระกริ่ง ควรที่จะถูกลัก แต่ก็แคล้วคลาดถึงสองครา ทั้งที่ผู้ขุดได้ก็มิได้ทำอันตรายใดๆเป็นเรืรองน่าอัศจรรย์อยู่ จึงทรงถวายพระนามพระพุทธรูปองค์นี้ว่า "พระนิรันตราย" มีความหมายว่า "ปราศจากอันตราย"

จากนั้นทรงมีพระราชดำริให้สร้างขึ้นสำหรับตั้งในงานพระราชพิธีองค์หนึ่งแบบไม่มีซุ้มเรือนแก้ว (ในลักษณะสวมพระพุทธรูปนิรันตรายองค์เดิมอีกชั้นหนึ่งและยังโปรดเกล้าฯ ให้หล่อด้วยเงินไล่บริสุทธิ์เป็นคู่กันอีหนึ่งองค์ พระพุทธรูปทองคำที่หล่อนั้นไว้สำหรับตั้งบนโต๊ะเบื้องขวาแห่งพระแท่นมณฑลในการพระราชพิธีต่างๆ อาทิ พระราชพิธีสัมพัจฉรฉินท์) แล้วทรงพระราชดำริให้จำลองสร้างอย่างมีซุ้มเรือนแก้วสำหรับพระราชทานไว้ตามพระอารามหลวงฝ่ายธรรมยุติวัดละหนึ่งองค์ รวมทั้งสิ้น ๑๘ องค์

พุทธลักษณะ เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ
ศิลปะ แบบรัตนโกสินทร์ (องค์ครอบ) ในพระราชนิยมรัชกาลที่ ๔
ขนาด หน้าตักกว้าง ๑๑.๖๕ ซ.ม. สูงเฉพาะองค์พระ ๒๐.๓๐ ซ.ม. สูงรวมซุ้มเรือนแก้ว ๓๔.๓๐ ซ.ม.
วัสดุในการจัดสร้าง ทองคำ
ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ภายใน หอพระสุลาลัยพิมาน ในหมู่พระมหามณเฑียร พระบรมมหาราชวัง

จากภาพ
ซ้ายมือ เป็นพระพุทธรูปทองคำที่ถูกขุดพบ
ขวามือ เป็นพระนิรันตรายที่โปรดเกล้าฯ ให้สร้างครอบพระพุทธรูปทองคำ (ในรูปซ้ายมือ)




"เสมาฝังดิน บริเวณพระอุโบสถวัดเบญจมบพิตร"
[Source: https://www.facebook.com/media/set/?set=a.10151411024902522.1073741855.734717521&type=1#!/photo.php?fbid=371987596235492&set=a.237327049701548.38143.227233897377530&type=1&theater ]

เกร็ดสาระความรู้จากการจัดกิจกรรม และคำถามที่หลายท่านสนใจ จากกิจกรรมเรียนรู้ร่วมกัน เมื่อวันที่ ๑๕ มิ.ย.ที่ผ่านมา ณ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม "เสมาฝังดิน บริเวณพระอุโบสถวัดเบญจมบพิตร"

Admin ได้เรียนขอความรู้จาก อ.ปฏิพัฒน์ พุ่มพงษ์แพทย์ ท่านได้ให้คำอธิบายและความรู้ดังนี้...

"การสร้างเขตพัทธสีมา คือการกำหนดเขตทำสังฆกรรม เริ่มยกย้ายใบสีมาให้ไปอยู่ตามพนังอาคาร ในสมัยรัชกาลที่ ๔ ด้วยเหตุไม่อยากจะให้ใครไปเหยียบย่ำ โดยไม่รู้ตัว และกำหนดเขตให้เหลืออยู่เฉพาะตัวอาคาร สำหรับเขตพัทธสีมา ที่วัดเบญจมบพิตร เป็นการออกแบบใหม่ของ สมเด็จกรมพระยานริศฯ แสดงขอบเขต พัทธสีมาที่เป็นหิน ฝังใต้ดิน ดอกบัว ตรงกลางหมายถึงธรณี = แผ่นดิน และใบสีมาที่อยู่ทั้งสี่ด้านนั้น แทนใบสีมาที่จะตั้งอยู่บนดิน...ลักษณะเช่นนี้เป็นการกำหนดเขตพื้นดินที่เป็นขอบเขตพระอุโบสถ หรือเขตสังฆกรรม เหมือนเดิม ซึ่ง ก็ไม่เป็นที่นิยม เพราะเห็นไม่ชัดเจน ตามความรู้สึกของคนไทย ที่ยังให้ความเคารพเขตโดยเครื่องหมาย"

ขอขอบพระคุณอาจารย์ปฏิพัฒน์ พุ่มพงษ์แพทย์ อย่างสูงมา ณ โอกาสนี้ครับ


Create Date :14 มิถุนายน 2556 Last Update :16 มิถุนายน 2556 10:08:00 น. Counter : 5183 Pageviews. Comments :12