bloggang.com mainmenu search

วัดผาลาด (สกิทาคามีวนาราม)

          สวัสดีครับวันนี้จะมาแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้ทั้งบุญและบรรยากาศสวยๆของวัดผาลาด จังหวัดเชียงใหม่กันครับ เชื่อว่าเพื่อนๆทั้งคนที่อยู่ต่างจังหวัดเวลามาเที่ยวจังหวัดเชียงใหม่อย่างแรกที่ต้องนึกถึงเวลามาเที่ยวเชียงใหม่ก็คือวัดพระธาตุดอยสุเทพอย่างแน่นอนแต่น้อยคนมากๆที่จะรู้จัก วัดผาลาดนี้ตั้งอยู่บริเวรเชิงดอยสุเทพเส้นทางนั้นอยู่เลยจาก ลานครูบาศรีวิชัย ขึ้นมาประมาณ5กม. (เส้นทางเดียวกันกับถนนที่จะขึ้นไปวัดพระธาตุดอยสุเทพ) สังเกตุด้านซ้ายมือครับ

ทางเข้าวัดจะมีวิหารสองหลัง วิหารใหญ่ใช้ประดิษฐานพระพุทธรูปใหญ่องค์สีขาว ส่วนวิหารด้านข้างประดิษฐานพระพุทธรูปปาง ประสูต ตรัสรู้ และ ปรินิพพาน ดูเผินๆไม่รู้ว่าด้านในเป็นวัดครับ ได้แต่ขับรถผ่านไปมา (เจ้าของกระทู้ก็ไม่รู้มาก่อนเหมือนกัน)

ภาพบรรยากาศด้านบนทางเข้าของวัด

          ทางเข้าวัดจะอยู่ทางด้านซ้ายมือครับเป็นทางชันลงไปประมาณ 100เมตร ถนนแคบมากๆและยังมีโค้งหักศอกครับรถยนต์สวนทางกันลำบากเพราะฉนั้นต้องระมัดระวังครับ

พอลงไปแล้วจะเจอลานจอดรถและด้านหน้าของวัดมีสิงห์สองตัวนั่งตระหง่านอยู่ครับ

ประวัติความเป็นมา

           วัดผาลาดเดิมสร้างขึ้นในรัชสมัยพญากือนา พ.ศ.1898-1928 เพื่อเป็นอนุสรณ์ในการเสี่ยงทายหาสถานที่ประดิษฐานพระบรมธาตุ  ตามตำนานสร้างพระธาตุดอยสุเทพ    ช้างที่อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุนั้น  ได้เดินทางมุ่งตรงไปทางดอยอ้อยช้าง  ทิศตะวันตกของเมือง  พระเจ้ากือนาพร้อมทั้งพญาลิไทยจากเมืองสุโขทัย  และเหล่าเสนาอามาตย์  ก็แห่งฆ้อง กลอง  ตามหลังช้างไป   เมื่อไปถึงยอดดอยแห่งหนึ่งช้างก็หยุดและย่อเข่าลง  พระเจ้ากือนาและบริวารต่างเห็นพร้องกันว่าควรประดิษฐานพระบรมสารีริกธาต ณ ที่นั้น  ขณะที่ทุกคนกำลังสนทนากันอยู่นั้น  ช้างก็ลุกขึ้นเดิน และหยุดย่อเข่าลงอีก (ภาษาเหนือเรียกอาการของช้างว่า “ยอบลง”) ทำกิริยาอย่างนี้ 3 ครั้ง  แล้วเดินต่อไปเมื่อไปถึงผาลาดหรือห้วยผีบ้า(เรียกตามชื่อพระมหาเถร จันทร์ฯ   อ่านรายละเอียดในประวัติวัดอุโมงค์)    ข้างธารน้ำตกมีที่ราบเป็นบริเวณกว้าง  จึงหยุดพักอยู่ชั่วระยะหนึ่ง แล้วเดินทางต่อไปกระทั่งถึงดอยอ้อยช้าง และอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุบรรจุ ณ สถานที่นั้น  คือวัดพระธาตุดอยสุเทพ ปัจจุบัน

               หลังจาสร้างพระธาตุดอยสุเทพเสร็จแล้ว  พระเจ้ากือนา ทรงมีพระราชดำริให้สร้างวัดตามรายทางอัญเชิญเพื่อเป็นอนุสรณ์  ขึ้นอีก  3 แห่ง  คือ 
1. วัดโสดาปันนาราม หรือสามยอบ (เรียกตามอาการของช้างที่ย่อเข่าลง 3 ครั้ง)  ปัจจุบันเป็นวัดร้างในบริเวณของวัดผาลาด  อยู่ห่างจากสถานีโทรทัศน์ช่อง 7 มาประมาณ 1 กิโลเมตร
2. วัดสกทาคามีวนาราม หรือผาลาด (เรียกตามลักษณะของผาน้ำตกที่ลาดชัน ผู้เฒ่าผู้แก่เรียก ตามชื่อธารน้ำตกผาลาด)

               3. วัดอนาคามีวนาราม หรือม่อนพญาหงส์ ปัจจุบันคือสันกู่  เป็นป่าช้าของวัดพระธาตุดอยสุเทพ  ก่อนจะถึงโค้งขุนกันจะมีทางแยกเล็ก ๆ เข้าไปทางซ้ายมือ  (ยังสืบค้นที่มาของชื่อม่อนพญาหงส์อยู่  แต่สันนิษฐานว่า บริเวณดังกล่าวน่ามีหงส์  หรือนกยูงอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก  และน่าจะสร้างมาตั้งแต่สมัยขอม หรือ ละโว้ เรืองอำนาจโดยท่านสุเทวฤาษี  ก่อนสร้างเมืองหริภุญชัย)

          วัดพระธาตุดอยสุเทพ เป็น วัดอรหันต์  หลังจากทำบุญปอยหลวง(ฉลองสมโภช)วัดทั้งสี่แห่งแล้ว  มอบให้ชาวบ้านขึ้นไปเป็นผู้ดูแลวัดทั้ง 4 แห่ง 

โบราณสถานภายในวัด
วิหาร  สร้างขึ้นในในสมัยครูบาศรีวิชัยสร้างทางขึ้นดอยสุเทพ โดยเลี่ยงจากฐานวิหารเดิมมาทางทิศใต้  เพื่อไม่ให้ซ้อนที่กัน  โดยมีสล่า( ช่าง) เป็นชาวพม่า ซึ่งล้วนเป็นลูกศิษย์ของครูบาเทิ้ม วัดแสนฝาง และ ครูบาสิทธิ  วัดท่าสะต๋อย (ดูจากหลักฐานชื่อที่ติดอยู่ที่เสาวิหาร) ด้านหน้าบันวิหารแกะสลักเป็นรูปนกยูงสัญลักษณ์ของพม่า ส่วนด้านหลังแกะเป็นรูปกระต่าย อันเป็นปีเกิดของครูบาเทิ้ม

เจดีย์  เป็นศิลปะสมัยครูบาศรีวิชัยเช่นเดียวกัน  แต่สร้างโดยช่างชาวพม่า  กลุ่มเดียวกับที่สร้างวิหารงานจึงออกมาเป็นศิลปะแบบพม่า  สันนิษฐานว่ารูปทรงน่าจะคล้ายกันกับ วัดมหาวัน  ถนนท่าแพ  เชียงใหม่ แต่สภาพปัจจุบันถูกขุดเจาะเอาของไปตั้งแต่สมัยสงครามโลก  และสมัยหลังสงคราม  จนเป็นเหตุให้ยอดเจดีย์พังลงมา องค์เจดีย์กลวงเป็นรูใหญ่
เจดีย์ด้านหลังของพระวิหารปัจจุบัน
ตัวมอมครับ
สิงห์ในบรรยากาศหน้าหนาว
พระพุทธรูปหน้าผา   เดิมเป็นหอพระพุทธรูปที่สวยงามมาก เป็นวิหารสี่เหลี่ยมตามแนวผา  ศิลป์พม่าร่วมสมัย   มีผู้เล่าว่าสมัยก่อนพระที่อยู่ตรงหน้าผาเป็นพระศิลป์แบบเชียงแสน  และมีพระพระพุทธรูปศักดิ์องค์หนึ่งเรียกว่าพระไล่กา (เหตุที่ได้ชื่อเช่นนี้เพราะว่า คนโบราณลงอาคมไว้เพื่อไม่ให้กา  ที่เชื่อกันว่าเป็นสัตว์แจ้งเหตุร้าย และนิสัยไม่ดี ไม่สามารถบินผ่านวัดขึ้นไปได้ เพราะพระพุทธรูปองค์ดังกล่าว จึงได้ชื่อว่าพระไล่กา แม้แต่ผู้คนที่ขึ้นไปไหว้พระธาตุดอยสุเทพ หากนำอาหารติดตัวมา หากเป็นเนื้อไม่ว่าสุกหรือดิบจะไม่สามารถเอาผ่านวัดนี้ไปได้ มักจะมีอาการปวดหัว ปวดท้อง)  ภายหลังมีชาวไทยใหญ่หลบภัยสงครามมาอยู่ที่ถ้ำผาลาดนี้  จึงพากันสร้างพระพุทธรูปไว้สักการะ และป้องกันภัย
ปัจจุบัน
          วิหารวัดสามยอบ ปัจจุบันเห็นแต่เพียงเนินดินสูงจากพื้นประมาณ 1 เมตร  กว้างประมาณ 10x20  เมตร มีอิฐกระจัดกระจายอยุ่ทั่วบริเวณ  ด้านหน้าวิหารมีร่องรอยของสระน้ำอยู่ โบราณน่าจะทีทางน้ำไหลผ่านมาเข้าที่สระนั้น ซึ่งหากสามารถนำน้ำมาลง ณ ที่นั้นได้จะช่วยให้บริเวณของสามยอม ม่อนภาวนา  กลับชุ่มชื้น  ต้นไม้ใบหญ้าจะสดชื่นขึ้นอีกมากมายนัก 

พระวิหารหลังที่เห็นอยู่นี้สร้างขึ้นใหม่ในสมัยครูบาศรีวิชัย สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างก่อน พ ศ ๒๔๖๔ โดยดูจากหลักฐานภาพถ่ายขณะที่ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้เสร็จเชียงใหม่ ในปี ๒๔๖๔ได้มีการจัดตั้งพลับพลาที่ประทับแห่งหนึ่งในบริเวณวัดผาลาด รูปนั้นแสดงให้เห็นวิหาร ๒ หลังตั้งอยู่ติดกัน วิหารสมัยนั้นยังมุงหลังคาด้วยใบตองตึง และได้มีการบูรณะเปลี่ยนหลังคาเป็นกระเบื้องดินขอในภายหลัง วิหารหลังนี้สร้างขึ้นโดยช่างชาวพม่า ซึ่งเป็นลูกศิษย์ครูบาโสภา (เทิ้ม) และครูบาสิทธิ วัดท่าสะต๋อย สันนิษฐานได้จากตัวหนังสือที่จารึกไว้ที่เสาพระวิหาร ด้านหน้าบันวิหารมีรูปนกยูง ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของชาวไทยลื้อ ด้านหลังพระวิหารเป็นรูปกระต่าย ตามปีเกิดของครูบาเทิ้ม เชื่อว่าเพื่อเป็นการบูชาคุณของครูบาผู้นำในการบูรณะวัดครั้งนี้

ภายในพระวิหาร
หอกัมมัฏฐาน (พระพุทธเจ้า ๕ พระองค์) สร้างขึ้นภายหลัง

วัดผาลาดในปัจจุบัน
น้ำตกบริเวณวัด
วิว
 บ่อน้ำทิพย์ ภาษาเหนือออกเสียงว่า บ่อ-น้ำ-ติ้บ
ในวัดนอกจากจะมีวิวสวยๆงามๆแล้วถ้าหากเพื่อนๆคนไหนไไปเที่ยวลองเดินไปแถวๆ พระพุทธรูปหน้าผา จะมีเส้นทางเก่าตั้งแต่สมัยพญากือนา ที่ใช้ตามช้างที่อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ และเป็นเส้นทางเก่าที่ใช้เดินขึ้นไปยังวัดพระธาตุดอยสุเทพครับ
อนุโมทนาสาธุ!!!
ขอขอบคุณข้อมูลจาก 
https://th-th.facebook.com/watpalad
//2g.pantip.com/cafe/blueplanet/topic/E12231983/E12231983.html
//www.oknation.net/blog/print.php?id=783246
//www.lannatalkkhongdee.com/templeDetail.php?id=Temp0800011
ขอขอบคุณรูปภาพจาก
//chiangmai-temple-travel.blogspot.com/2013/06/blog-post.html
//www.gerryganttphotography.com/Wat_Pha_Lat.htm
Create Date :05 พฤษภาคม 2557 Last Update :5 พฤษภาคม 2557 22:26:47 น. Counter : 1973 Pageviews. Comments :1