พระเครื่อง : แหล่งข้อมูลบทความพระเครื่อง เครื่องรางของขลัง และวัตถุมงคล
Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2555
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
24 พฤษภาคม 2555
 
All Blogs
 
อุณหภูมิสีของแสงกับการใช้ White Balanceอุณหภูมิสีของแสงกับการใช้ White Balance

อุณหภูมิสีของแสงกับการใช้ White Balance

ช่วงเช้า แสงเทียน ไฟจากใส้หลอด ฯลฯ คุณว่ามีอุณหภูมิสีของแสงต่ำหรือสูง เช่นภาพนี้



ในบรรยากาศนอกจาก อุณหภูมิความร้อนของแสง, ไฟ ซึ่งมีหน่วยวัดเป็น เซลเซียส หรือฟาเรนไฮน์ ซึ่งเราคุ้นเคยกันอย่างดี
เป็นที่ทราบกันดีว่าในแสงสีขาวที่เราเห็นเมื่อผ่านแท่งปริซึม ก็จะเห็นว่ามีสีต่างๆเป็นสีรุ้งอย่างที่เราเรียนมา

จากการทดลองของนักวิทยาศาสตร์ ได้นำโลหะชนิดหนึ่งไปเผาก็จะเกิดสีต่างๆขึ้นมา แล้วจึงวัดค่าของสีต่างๆที่ปรากฏขึ้นมานั้น
วัดออกมาเป็นค่าอุณหภูมิสี มีหน่วยวัดเป็น องศาเคลวิน Kalvin

ก็จะออกมาเป็นค่าตัวเลข ดังในรูป









สรุป คือ อุณหภูมิสีต่ำ จะออกสีแดง อุณหภูมิสีสูง จะออกสีน้ำเงิน




อุณหภูมิสีในร่ม ชายคากับ กลางแดด

ดูผิวเผินกลางแดดน่าจะอุณหภูมิสูงกว่า เพราะเราชินกับอุณหภูมิความร้อน

ใช่แล้วครับ อุณหภูมิสีในที่ร่ม มีอุณหภูมิสีสูงกว่า คืออมสีฟ้า ผู้ที่อยู่ในยุคฟิล์ม จะทราบดี ถ้าถ่ายสไลด์ ในชายคาสีจะอมฟ้า



การวัดอุณหภูมิสี มีประโยชน์ ในกรณีต้องการให้สีออกมาตรงกับความเป็นจริงมากที่สุด



สมัยถ่ายด้วยฟิล์ม โดยเฉพาะสไลด์ จึงมีการแก้สีด้วยการใช้ฟิลเตอร์ค่าต่างๆตั้งแต่อ่อนจนถึงเข้มมากมาย ในโทนของสีแดง และสีน้ำเงิน แก้โดยการใส่ฟิลเตอร์สวมหน้าเลนส์ และแก้โดยการใช้ เจลาตินฟิลเตอร์ บังหน้าไฟในกรณีใช้ไฟในการถ่ายปัจจุบันการถ่ายภาพยนตร์ที่ถ่ายด้วยฟิล์มก็ยังคงใช้อยู่

เมื่อพัฒนามาในยุคของวิดีโอ ก็มีการใส่ฟิลเตอร์ไว้ภายในกล้อง เพื่อการแก้สี จนกระทั่งมาเป็น AUTO WHITE BALANCE ในที่สุด แล้วจะมาต่อเรื่อง ไวท์บาลานส์ ให้กระจ่าง เพราะหลายค่ายผิดเพี้ยน จนผิดถนัด ไปก็หลายราย

ไฟจากหลอดไส้ อุณหภูมิสี ต่ำ ภาพจะออก เหลือง ส้ม แดง ยิ่งต่ำ ยิ่งแดง ( อยู่ระหว่าง 1000-3000 องศาเคลวิน ส่วนท้องฟ้าในเวลาที่พระอาทิตย์ลาลับขอบฟ้าไปแล้ว อุณหภูมิสี จะสูงขึ้น ท้องฟ้าที่บันทึกได้จึงมีสีฟ้า จนเป็นน้ำเงินเข้ม และดำในที่สุด



White Balance แปลตรงตัวอักษร ก็ค่อนข้างชัดเจนอยู่แล้ว คือการปรับค่าสมดุลย์ของแสงสีขาว นั่นเอง

อธิบายเพิ่มเติมอย่างง่ายๆก็คือ ปรับสีขาว ให้เป็นสีขาว สีอื่นๆที่อยู่ในเฟรมก็จะถูกต้อง ตรงตามธรรมชาติมากที่สุด สีไม่ผิดเพี้ยน

เช่นภาพนี้ WB ยังไม่ถูกต้อง แสงแดดยามเช้า อุณหภูมิต่ำ ใบหน้าจึงโดนรบกวนด้วย สี โทนร้อน



ในการถ่ายวิดีโอระดับมืออาชีพ เราอาจจะเคยเห็นว่า เขาหันหน้าเลนส์ ไปที่กระดาษขาวทำไม? นั่นคือการหา WB โดยการ ZOOM IN ไปให้เต็มเนื้อที่ของกระดาษสีขาว แล้วกดปุ่มปรับไวบาลานซ์ ในจอมอนิเตอร์ที่เราเห็นว่ามันอมฟ้า หรือ อมส้ม ก็จะค่อยๆเปลี่ยนเป็น สีขาว บริสุทธิ์ ก็เป็นอันวางใจได้กับสีอื่นๆ ไม่ต้องกังวลอีกต่อไป ลุยถ่ายโลด จนกว่าจะเปลี่ยนสภาพแสงทีแตกต่างไป ก็ต้องหา WB ใหม่อีก

Note ภาพตัวอย่าง ใบหน้าก็จะใกล้เคียงสีผิวที่แท้จริงมากขึ้น ( พอประมาณนะ) การหา WB ภาพนี้ หาด้าน เงา จึงยังเห็นแสงที่เส้นผมมีสีส้มอยู่ หากต้องการลบแสงสีส้มยามเช้าให้หมด ก็ต้องหา WB ตามแสง แสงที่เส้นผมก็จะเป็นสีขาวสนิท แต่อย่าลืมว่า เราถ่ายย้อนแสง แสงในร่ม อุณหภูมิสีจะสูงกว่าแสงแดด อยู่แล้ว (สีจะอมฟ้าเล็กน้อย) หากต้องการให้ตรงเปะ ก็ต้องใช้แผ่นรีเฟล็กสีขาวช่วย นี่พูดถึงแสงสีที่ถ้าต้องการให้ถูกต้องมากที่สุด ไม่นับรวมความชอบส่วนบุคคล หรือแสดงบรรยากาศช่วงเวลานั้น เช่น ช่วงเช้าก็ต้องให้เห็นสีโทนร้อนผสมอยู่ เป็นต้น



ขออธิบาย กันความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนดังนี้ครับ

คือถ้าต้องการภาพสีโทนร้อน ให้เลื่อนไปทางขวามือ ตัวเลขอุณหภูมิสีสูงๆ เป็นการบอกว่า ภาพต้นฉบับนี้ มีอุณหภูมิสูง (โทนเย็น) กลไกของโปรมแกรมที่ตั้งไว้ ก็จะนำเอาฟิลเตอร์แก้สี ในกลุ่มของโทนร้อน มาแก้ภาพนั้น เมื่อใส่เข้าไป ภาพจึงมีสีโทนร้อนเพิ่มมากขึ้น เป็นอนุภาคกลับทางกันนั่นเอง เพื่อไปสู่สีที่ถูกต้อง หากปรับมากไปก็มีสีแดงมากขึ้น อย่างที่คนชอบสีโทนอบอุ่นชอบเล่น คงจะพอเข้าใจนะ เป็นการนำสีตรงข้ามมาแก้




ในการถ่ายหนัง ของมืออาชีพ ตลอดจนฝ่ายเทคนิคด้านแสง Lighting นอกจากเครื่องวัดแสงแล้ว  ยังมีเครื่องวัดอุณหภูมิสีโดยเฉพาะ ทั้งนี้เพราะแม้แต่หลอดไฟดวงเดียวกัน อายุการใช้งาน ต่างกัน การหรี่แสง ระยะทาง ล้วนมีผลต่อ อุณหภูมิสี ทั้งสิ้น และไหนจะแสงอื่นๆในฉาก รอบข้างอีก

เครื่องวัดอุณหภูมิสีจึงสำคัญสำหรับมืออาชีพ อย่างแท้จริง เครื่องที่เห็นมีอายุไม่น้อยกว่า 35 ปี เพราะเป้นแมคคานิก จึงยังใช้งานได้ตามปกติ ถ้าเป็นอิเล็คโทรนิคป่านนี้เจ้งไปนานแล้ว

เมื่อเข้าใจอย่างถ่องแท้แล้ว ก็อยากให้พวกเราขยายความถูกต้องต่อไปด้วย เพื่อเป็นวิทยาทาน และความถูกต้องเชิงวิชาการ



ที่มาจาก lampangphotoclub.com/smf/index.php?topic=422.0  




Create Date : 24 พฤษภาคม 2555
Last Update : 24 พฤษภาคม 2555 5:53:33 น. 0 comments
Counter : 10205 Pageviews.

amulet108
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 96 คน [?]








Friends' blogs
[Add amulet108's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.