ผมไปที่ไหนก็ได้ ขอเพียงแต่ต้องก้าวไปข้างหน้า I will go anywhere as long as it forward.
Group Blog
 
<<
กันยายน 2550
 
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30 
 
30 กันยายน 2550
 
All Blogs
 
จรรยาบรรณที่ถูกกลืน

ทุกวันนี้การเผยแพร่ข่าวของสื่อ หลายครั้งเกิดคำถามตามมาว่า “เชื่อถือได้แค่ไหน” เพราะในสมัยรัฐบาลทักษิณ มีการเข้าแทรกแซงการทำงานของสื่อ ทำให้สื่อกลายเป็นแค่เครื่องมือของกลุ่มบุคคล แม้รัฐบาลจะมีการเปลี่ยนมือ แล้วแต่ประเทศยังคงอยู่ในภาวะวิกฤต มีการแบ่งฝักแบ่งฝ่าย สื่อจะกลับมาเป็นกลางอย่างที่ควรจะเป็นได้หรือไม่ เป็นคำถามที่ยังวนเวียนอยู่ในหัวของใครหลายคน สภาวการณ์เช่นนี้คงไม่มีอะไรดีไปกว่าความชัดเจน จึงเป็นที่มาของ การสนทนากลุ่ม เรื่อง “ความน่าเชื่อถือของสื่อมวลชนในภาวะวิกฤติ” ซึ่งจัดขึ้นไปเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม ที่ผ่านมา ณ อาคารสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย โดยมีผู้เข้าร่วมสนทนา ทั้งหมด 3ท่าน

รศ.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ คณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ เลขาธิการมูลนิธิสาธารณะสุขแห่งชาติ และ
ผศ.นวลน้อย ตรีรัตน์ แห่งศูนย์ศึกษาเศรษฐศาสตร์การเมือง คณะเศรษฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
โดยมี ดร.เจษฎ์ โทณะวณิก คณบดี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม เป็นผู้ดำเนินรายการ

โดยที่ รศ.นครินทร์ให้ความเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า ความน่าเชื่อถือต้องดูที่สถานภาพ บริบทแวดล้อมของสังคม หรือสภาพทั่วไปของสังคมนั้น วิกฤตทำให้เราเลือกข้าง เป็นฝ่ายซ้าย ฝ่ายขวา ส่วนความเป็นมืออาชีพของสื่อนั้น ไม่ติดเรื่องรูปแบบ อย่างหนังสือพิมพ์ ไม่จำเป็นต้องมีโรงพิมพ์ ทำออกมา2-3หน้าก็เป็นหนังสือพิมพ์ได้ สำคัญต้องดูที่เนื้อหา ซึ่งอันดับแรกนั้นคนทำข่าวนั้น ๆ ต้องมีความรู้ ความเข้าใจและสามารถวิเคราะห์ข้อเท็จจริงออกมานำเสนอต่อสาธารณได้อย่างถูกต้องรอบด้าน ส่วนความคิดเห็นก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง มีบ่อยครั้งที่สื่อประเมินสถานการณ์โดยการคาดคะเนมากกว่าข้อเท็จจริง

ขณะที่นพ.สมศักดิ์ ได้เผยความรู้สึกต่อประเด็นนี้ว่า ผมอยากให้สื่อก้าวพ้นคำว่าข่าวร้ายขายดี ข่าวดีขายไม่ได้ ในภาวะวิกฤตเช่นนี้หากสื่อนำเสนอเรื่องราวรอบด้าน ก็จะดีมากๆ ถึงแม้ว่าข่าวร้ายจะขายได้ดี แต่ผลที่ได้มันไม่ดีตามมาด้วยเลยและกลับยิ่งชี้ให้เห็นถึงความเสื่อมของสังคม เหมือนการตอกย้ำและเหยียบซ้ำผืนแผ่นดินที่ตัวเองอาศัยอยู่ สื่อแต่ละประเภทจึงควรจะจดจำเอาไว้ได้แล้วว่าควรเสนอข่าวที่ดีบ้าง ก่อนที่ประเทศของเราจะจมลึกลงไปกว่านี้

ส่วน ผศ.นวลน้อย กล่าวว่า พูดไปได้ประโยชน์มั้ย ไม่อยากให้เป็นตัวประกันซ้ำสอง สื่อจะมีความรู้สึกแย่มากๆ ถ้านำเสนอข่าวไม่เหมือนคนอื่น ตรงกันข้ามถ้านำเสนอข่าวผิด ไม่มีรับรู้ว่ามันเป็นปัญหา เพราะคนอื่นก็ทำเหมือนกันหมด


ถ้าสื่อไร้ความน่าเชื่อถือแล้ว คงเป็นภาวะที่หนักหน่วงแน่ เพราะแม้แต่ สิ่งที่ทุกคนเชื่อถือมาตลอดว่านำเสนอแต่ความจริง ยังเชื่อถือไม่ได้
แล้วจะเชื่อใครได้อีก
หากผู้ที่เรียกตนเองว่าเป็นสื่อ ยังคงเมินเฉยต่อความถูกต้องพร้อมกับโยนคำว่าจรรยาบรรณทิ้งน้ำ สักวันสื่อคงหมดความน่าเชื่อถือและไร้ซึ่งศรัทธาจากประชาชน การนำเสนอข่าวก็จะมีคำถามที่สวนกลับมา
ข่าวนี้จริงหรือ?
เอาข้อมูลมาจากไหน?
มีหลักฐานหรือเปล่า?
เป็นอย่างนี้วนเวียนไปไม่จบไม่สิ้น ซึ่งคงไม่ใช่วิกฤติธรรมดาเสียแล้ว กลายเป็นอภิมหาวิกฤต ที่คงไม่มีอะไรเลวร้ายไปกว่านี้ บอกตามตรง ไม่อยากให้ถึงวันนั้นเลย



Create Date : 30 กันยายน 2550
Last Update : 30 กันยายน 2550 20:20:19 น. 0 comments
Counter : 324 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

zikou
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Google
Friends' blogs
[Add zikou's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.