Group Blog
 
 
กันยายน 2558
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
7 กันยายน 2558
 
All Blogs
 

การทำไร่หมุนเวียนของชาวกะเหรี่ยงลุ่มแม่จัน อุ้มผาง กำลังถูกคุกคามอย่างรุนแรง

  ประชา แม่จัน


เมื่อสองเดือนก่อน ผมมีโอกาสได้พบ อาจารย์แร่ พระที่จำพรรษาที่ ลุ่มน้ำแม่จัน อ.อุ้มผาง มานานกว่า 10 ปี ก่อนจะกลับไปจำพรรษาที่สำนักสงฆ์กุยเขอะ หลังจากที่ไม่ได้พบกันกันประมาณ 7 ปี
การไปเยี่ยมครั้งนี้ไปพร้อมกับน้องคนหนึ่งที่สนใจตามหาชาวกะเหรี่ยงกำแพงแสน อาจารย์แร่เคยเล่าว่า วัดของท่านที่กำแพงแสนมีชุมนุมชาวกะเหรี่ยงอยู่ใกล้ๆ ผมจึงอาสาประสานงาน จนมีโอกาสเดินทางไปพบ

เมื่อไปถึงอาจารย์แร่ได้เล่าเรื่องการผลิต ที่ชาวบ้านไม่ได้เล่าให้ฟัง แม้กระทั่งในการเดินไปครั้งในวันหยุดสงกรานต์ที่ผ่านมา อาจารย์แร่เล่าถึง การรุกคืบของการปลูกข้าวโพดเลี่ยงสัตว์ การใช้ยาฆ่าหญ้าในไร่ข้าว ในเรื่องการรุกคืบของข้าวโพดพอจะมองเห็นได้ในการเดินครั้งสุดท้าย แต่เรื่องการใช้ยาฆ่าหญ้าในไร่ข้าว เป็นเรื่องที่ไม่เคยได้ยินและสร้างตื่นตระหนกให้ผมเป็นอย่างมาก

ผมถามว่าในเมื่อการหมุนเวียนก็จะมีระยะ 5 – 7 ปี ถ้าเผาไร่ได้ดี หญ้าก็ไม่มาก อาจารย์แร่ อธิบายว่า เดี๋ยวนี้ การหมุนเวียนไม่ได้พักนาน 5 – 7 ปี เพียงแค่ 3 ปีเท่านั้น ถ้าพักนานไม้จะใหญ่ อนุรักษ์ (เจ้าหน้าที่กรมอุทยานและพันธ์พืช) ไม่ยอม เพราะนับเป็นป่า ดังนั้น การหมุนเวียนจึงมีรอบเร็วมาก แน่นอน ถ้าการพักมีช่วงสั้นย่อมทำให้ไม้ต้นเล็ก และยังอาจจะเป็นต้นสาปเสือ มีผลทำให้ไร่มีหญ้ามาก 

ขณะนี้เดียวกัน ผมเริ่มคิดถึงการจัดแบ่งพื้นที่ป่าใช้สอยตามโครงการจอมป่า (JoMPA) ชื่อมาจาก Joint Management of Protected Areas ที่มีการจัดแบ่งเป็น ป่าต้นน้ำ ป่าหมุนเวียน และป่าใช้สอยชุมชน การจัดแบ่งแบบนี้เป็นไปตามประเพณีการผลิตและองค์ความรู้ โดย
  • ป่าต้นน้ำ เป็นพื้นที่ป่าอนุรักษ์ มักจะเป็นป่าต้นน้ำ 
  • ป่าหมุนเวียน ชาวบ้านจะทำไร่หมุนเวียน
  • ป่าใช้สอยชุมชน มักจะเป็นป่ารอบหมู่บ้าน ชาวบ้านจะเก็บพืช ผักตามธรรมชาติ
โครงการนี้ดำเนินการโดยมูลนิธิสืบ นาคะเสถียร โดยงบประมาณสนับสนุน ถ้าจำไม่ผิดมาจากรัฐเดนมาร์ก ประมาณ 10 ล้านบาท 

ถ้าท่านมีโอกาสอยู่ที่เนิน ที่ลานเฮลิคอปเตอร์ หน้าโรงเรียน ตชด.ม่งคั๋วะ ท่าจะมองเห็นแนวป่าสีเขียวอ่อนเป็นทางยาว ไกลออกไปใกล้ยอดเขาจะเป็นสีเขียวเข้มเป็นแนวอยู่เหนือแนวป่าสีเขียวอ่อน ทั้งสองฝั่งของลุ่มแม่จัน

แนวป่าสีเขียวอ่อนคือ แนวพื้นที่ทำไร่หมุนเวียน และแนวป่าสีเขียวเข้มคือ แนวป่าต้นน้ำของชาวบ้าน การแบ่งพื้นที่มีการปฏิบัติมาหลายชั่วอายุคน 

เมื่อเดินตามทางก่อนจะถึงหมู่บ้านประมาณ 300 – 500 เมตร จะเป็นพื้นที่ป่า ส่วนใหญ่เป็นป่าไผ่ที่มีต้นไม้ขนาดใหญ่ แสดงว่าไม่เคยถางเป็นไร่ ชาวบ้านจะหาผักตามธรรมชาติ เช่น ผักกูด ผักหนาม หน่อไม้ นี่คือ ป่าใช้สอยชุมชน

ถ้ามีการจัดแบ่งการใช้ที่ดินในลักษณะดังกล่าว ไม่ควรจะมีปัญหาเรื่องรอบการหมุนเวียน  คำถามคือ กรมอุทยานฯ รักษาข้อตกลงนี้หรือเปล่า




 

Create Date : 07 กันยายน 2558
1 comments
Last Update : 7 กันยายน 2558 19:01:47 น.
Counter : 710 Pageviews.

 

thx u crab

 

โดย: Kavanich96 8 กันยายน 2558 2:16:08 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


wideteam
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




New Comments
Friends' blogs
[Add wideteam's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.