Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2555
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
 
21 มิถุนายน 2555
 
All Blogs
 

Tritone Substitution ตอนที่ 2

หลายคนถามว่า จะเล่น “Out” อย่างไร หรือ “Out” กับ “มั่ว” นี่ต่างกันอย่างไร สิ่งแรกที่ผู้เขียนถามคือ เล่น “Inside” ได้หรือยัง นั่นคือ อย่างน้อยต้องรู้จักและสามารถเล่นบันไดเสียงเมเจอร์ ไมเนอร์ทุกแบบและ Blues ได้ทุกๆคีย์ รู้จักกลุ่มคอร์ด (Chord Progression) II-V-I, III-VI-II-V-I, Blues และ Rhythm Change นี่ยังไม่รวมถึงบันไดเสียงอื่นๆ เช่น Diminished และ Synthetic Scale etc. ซึ่ง Tritone Substitution ก็เป็นหลักการหนึ่งที่ใช้เล่น “Out” หรือ “ออกนอกคีย์” ได้

Tritone คือขั้นคู่เสียง 3 เสียงเต็ม Tritone จาก C คือ F# (หนึ่งเสียงเต็มจาก C คือ D, หนึ่งเสียงเต็มจาก D คือ E, หนึ่งเสียงเต็มจาก E คือ F#)

การใช้ Tritone Substitution ก็คือการใช้คอร์ดแทนห่างจากเสียงเดิม 3 เสียงเต็ม หรือ Tritone แทนคอร์ดเดิม และมักจะใช้กับคอร์ด Dominant 7th เช่น คอร์ด C7 จะถูกแทนด้วย F#7 ถ้าดูที่โครงสร้างของคอร์ด จะเห็นว่า 3 และ 7 ของ C7 คือ E และ Bb เท่ากับ 7 และ 3 ของ F#7 คือ E และ A# หรือ Bb (ดูตัวอย่างที่ 1)

นั่นคือ ทั้งสองคอร์ดนี้มีความเหมือนกันมาก เพราะ 3 และ 7 เป็นตัวบ่งบอกถึงคุณลักษณะของคอร์ด นั้นๆว่า เป็น เมเจอร์ ไมเนอร์ หรือ ดอมิแนนท์ เป็นต้น

ลองมาดูวิธีการใช้ในคอร์ด II-V-I ในคีย์ C คือ Dm7-G7-Cmaj7 (ดูตัวอย่างที่ 2) คอร์ด Dominant 7th คือ G7 เพราะฉะนั้น เราสามารถใช้คอร์ด Db7 แทน G7 ได้ หรือ bII7 แทน V7

ตัวอย่างที่ 3 แสดงถึงการใช้บันไดเสียง C Major และโน้ตผ่าน (Passing Note) ในคอร์ด Dm9 และ Cmaj9 แต่ใช้บันไดเสียง Db Lydian Dominant บนคอร์ด Db13 ซึ่งจริงๆก็สามารถใช้บันไดเสียง Db Mixolydian บน Db13 ได้เช่นกัน แต่ว่า Db Lydian Dominant จะให้เสียงที่กลมกลืนกว่า เนื่องจาก G ซึ่งเป็นโน้ตตัวที่ 4 ของบันไดเสียง Db Lydian Dominant เป็นโน้ตร่วม (Common Tone) ของบันไดเสียง C Major (ดูตัวอย่างที่ 4)

เนื่องด้วยคอร์ด Db7 ใช้แทน G7 ได้ ดังนั้น การใช้บันไดเสียง Db Lydian Dominant และคอร์ด Db7 บนเบส G จึงใช้ได้เช่นกัน วิธีการนี้อาจเรียกว่า “Superimposition” แต่แท้ที่จริงแล้ว คอร์ด Db7/G คือคอร์ด G7(#9,b13) นั่นเอง

Db Lydian Dominant เมื่อเริ่มที่โน้ต G ก็คือบันไดเสียง G Super Locrian นั่นเอง ซึ่งยังมีชื่อเรียกอีก 2 ชื่อ คือ G Diminished Whole Tone หรือ G Altered Scale(ดูตัวอย่างที่6)

เป็นสิ่งดีที่เราสามารถรู้ทฤษฎีดนตรีและวิเคราะห์เป็น แต่ถ้าทฤษฎีนั้นทำให้เราไม่กล้าเล่นดนตรี เพราะกลัวเล่นผิด หรือจำกัดให้เราอยู่ในกรอบจนเกินไป ผู้เขียนคิดว่าเราอาจจะกำลังไปผิดทาง ทฤษฎีนั้นควรจะช่วยเราในการเป็นนักดนตรีที่ดีขึ้นโดยช่วยให้เราศึกษาอย่างมีระบบ มีความรับผิดชอบต่อศิลปะดนตรี ซื่อสัตย์ต่อวิชาชีพของตนเอง โดยมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาอยู่เสมอ ลองคิดดูว่า ถ้าเรากำลังฟังศิลปินที่เราชื่นชอบ และสามารถรู้ได้ว่าสิ่งที่เขาเล่นนั้น คืออะไร มันน่าสนใจเพราะอะไร มันจะสนุกแค่ไหน

อ้างอิง: เด่น อยู่ประเสริฐ. (2004). Tritone Substitution. in Jazz Seen. Nov. - Dec. 2004. หน้า 38.




 

Create Date : 21 มิถุนายน 2555
1 comments
Last Update : 21 มิถุนายน 2555 20:15:36 น.
Counter : 6419 Pageviews.

 

สวัสดีวันศุกร์ค่ะ
พักผ่อนอย่างมีความสุขนะคะ

 

โดย: pantawan 23 มิถุนายน 2555 0:48:29 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


wwai9
Location :
ขอนแก่น Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 26 คน [?]




สวัสดีครับ นี่คือ Blog ส่วนตัวของคุณ waiwai นะครับ
Friends' blogs
[Add wwai9's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.