All or part of duplication is prohibit
<<
กันยายน 2550
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30 
 
13 กันยายน 2550
 
 
ภารกิจชีวิต ตอน ดูแลลูกแมวเบบี๋

วันนี้ทานข้าวไม่อร่อยตั้งแต่เช้าเลย เพื่อนบ้านมาเรียกหาแต่เช้า (จริง ๆ มาหาตั้งแต่เมื่อวานแล้วเห็นแม่บอกแต่ไปทำงานก็เลยไม่เจอ) อารมณ์งง กับภารกิจเก็บทุ่นระเบิดในบ้านของแมว 4 ตัว เหอ เหอ เหอ ก็เลยเดินตามเพื่อนบ้านออกไป อย่างกะต้องมนต์

เนี่ยใครก็ไม่รู้เอาลูกแมว 4 ตัว มาทิ้งไว้หน้าบ้าน บ้านเราก็เลี้ยงหมา กัดแมวตายด้วย ตัวเราก็แพ้แมว บลา บลา บลา (นึกในใจว่า........เวรกรรมแล้วตรูเอ้ย)

เค้าบอกว่า น่าจะเพิ่งคลอด เราก็เลยจับขึ้นมาดูหนึ่งตัว โห ขึ้ตาเขียวอี๋เลย เห็นแล้วคันมืออะ

วิ่งเข้าบ้านไปหยิบสำลี น้ำอุ่น ออกมาใหม่ เช็ดตา บีบหนองออกจากตาทีละตัว อ้าว ลืมตาได้แล้วนี่

เหมือนว่าจะโชคดีที่แมวลืมตาแล้ว แต่ยังงัยก็ตาม ก็ยังกินอาหารเองไม่ได้อยู่ดี

กลุ้มหล่ะซิ จะเดินจากมาโดยที่บอกเค้าว่า เราก็เอาไปไม่ได้เหมือนกัน เดี๋ยวเราก็ต้องไปทำงาน งึมงำ งึมงำ คิดอะไรไม่ออก บอกแล้วว่า ต้องมนตราคาถาอะไรมาแน่เลย

ลูกแมวก็เนื้อตัวมอมเป็นหนูตกท่อมาเลย ถ้าได้เอาน้ำอุ่นชุบเช็ดตัวกับผ้าแห้งซับให้แห้งน่าจะดูดีกว่านี้ อย่างน้อยช่วยป้อนนมไปก่อน เดี๋ยวจะไปทำงานแล้วค่อยเอามาคืนเพื่อนบ้านก็แล้วกัน

คิดได้แค่นี้จริง ๆ แล้วก็บอกเค้าไปว่า เดี๋ยวจะไปทำงานแล้วจะเอามาคืนให้นะคะ (เพื่อนบ้านก็ค่ะ ๆ แถมนมถุงพลาสเจอร์ไรส์ให้ 1 ถุง เหอ เหอ เหอ)

พอ ถึงบ้านอะไรที่อยากทำก็ได้ทำ เช็ดเนื้อเช็ดตัว ซับผ้าแห้ง อุปกรณ์อะไรก็ไม่มีเลยเรา เอาใจเข้าสู้อย่างเดียวเลยวุ้ย นึกขึ้นได้ สลิ้งค์ยาของลูกสาว ได้แล้ว 1 อย่าง นมสดหมีกระป๋อง เอาหล่ะน่าจะดีกว่านมถุง ผ่านวันนี้ไปก่อน เดี๋ยวคืนนี้ค่อยเป็นนมแมวกับขวดนม



และแล้ว ตอนบ่ายของวันนี้ก่อนที่จะออกมาทำงาน ฝนก็ตกอย่างหนัก เศร้าซิตรู

เพราะว่าจะต้องเอาลูกแมวไปคืนเพื่อนบ้านที่เดิม ซึ่งก็คือหน้าบ้านเค้า เพราะเค้าก็เอาเข้าบ้านไม่ได้

คิด คิด คิด และก็บอกกับแม่ว่า แม่ไหวป่ะ เดี๋ยวรักษ์ป้อนนมตอนบ่าย 3 แล้วสักประมาณ 6 โมงเย็น กับ 3 ทุ่ม แม่ช่วยหน่อย ไม่กล้าไปคืน กลัวมันป่วย เดี๋ยวจะแย่ แม่ก็ไม่ว่าอะไร

ทีนี้ ตอนที่ป้อนนมช่วงบ่าย 3 เริ่มสังเกตว่า มีเจ้าน้ำตาลตัวเดียวที่กินเก่ง กินได้ รู้จักกินจากสลิ้งค์ แต่ น้องดำ 3 ตัว ไม่เอาเลย ป้อนไปก็ เอามือผลักสุดฤทธิ์ ก็ไม่อยากฝืนใจ พอปล่อยลงไป ก็เดินต้วมเตี้ยมไปดูดหัวไหล่ตัวอื่น

อ้าว ตรูป้อนนมไม่กิน หัวไหล่มันอร่อยหรืองัย ฟร่ะ

ไม่ย้อม ไม่ยอม อุ้มขึ้นมาเงยหน้าเล็กน้อย บรรจงป้อนนมใหม่ ทั้งมือทั้งขา ดึงดันสุดฤทธิ์ สรุปว่าได้ ประมาณ ครึ่งสลิ้งค์ เหอ เหอ เหอ เค้าพยายามแล้วนะ แต่ตัวเองไม่รับกันเองอะ

และเมื่อกี้ ตอน 6 โมงเย็น ก็โทรไปถามแม่ว่า กินนมกันได้ดีมั้ย แม่ก็บอกว่า มีน้ำตาลกินดีตัวเดียว



ก็เลยต้องหาข้อมูลกันหน่อย เพราะไม่เคยต้องมาทำแบบนี้เลย

------------------------------------------------------------------------
การดูแลลูกแมว 30 วันแรก
ข้อมูลทั่วไป
ลูกแมวในช่วงอายุ 1 สัปดาห์แรก จะเป็นช่วงที่ลูกแมวอ่อนแอมาก และเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะได้รับการดูแลเอาใจใส่จากแม่แมว ในแง่ของการปกป้อง ความอบอุ่นและอาหาร
- 90 % ของลูกแมวจะใช้เพื่อการนอน และเก็บสะสมความร้อน
- 10% ลูกแมวจะใช้เพื่อการกิน

น้ำหนักแรกเกิดของลูกแมว
ลูกแมวที่สมบูรณ์ควรมีน้ำหนักแรกเกิดประมาณ 90-100 กรัม และน้ำหนักควรเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าใน 1 สัปดาห์ และน้ำหนักจะ เพิ่มขึ้นอีก 30 กรัมต่อวัน จึงจะเป็นแมวที่มีสุขภาพแข็งแรง


----------------------------------------------
น้ำหนักเฉลี่ยของลูกแมว
อายุ (วัน) น้ำหนัก (กก.)
1 90-100
5 100-210
10 135-290
15 180-350
20 225-440
25 240-500

----------------------------------------------

สิ่งที่สำึคัญสำหรับลูกแมวแรกเกิด
1 น้ำนมเหลือง
2 อุณหภูมิ


น้ำนมเหลือง
- น้ำนมเหลืองเป็นโปรตีนที่มีคุณสมบัติเป็นภูมิคุ้มกันของร่างกายจึงป้องกันลูกแมวจากการเจ็บป่วย
- น้ำนมเหลืองจะถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายในช่วง 24-36 ชม. หลังคลอด
- ปริมาณที่ลูกแมวจะได้รับขึ้นอยู่กับปริมาณภูมิคุ้มกันในกระแสเลือดของแม่แมว

อุณหภูมิ
- อุณหภูมิของลูกแมวอายุ 1 วัน จะอยู่ระหว่ง 33-36 ํC
- สำหรับลูกแมวที่มีอายุ 2-21 วัน อุณหภูมิจะอยู่ระหว่าง 33.5-37.5 ํC
- ลูกแมวแรกเกิดจะไม่สามารถรักษาอุณหภูมิของร่างกายไว้ได้ เพราะการทำงานที่ไม่สมบูรณ์ของหลอดเลือด ดังนั้นจำเป็นอย่างยิ่ง ที่ลูกแมวจะต้องได้รับความอบอุ่นจากแม่แมว
- สำหรับลูกแมวที่แม่แมวไม่เลี้ยง การใช้หลอดไปขนาด 60 วัตต์ เปิดห่างจากตัวแมว 2-5 ฟุต ก็สามารถสร้างความอบอุ่นที่เพียงพอได้

การดูแลในภาวะฉุกเฉิน
อันตรายจากความหนาวเย็น
- สิ่งที่เป็นอันตรายมากที่สุด คือ ความหนาวเย็น
- การที่ลูกแมวแรกเกิดต้องเผชิญกับความเย็น จะทำให้อุณหภูมิของลูกแมวตกลง
- หากลูกแมวมีอุณหภูมิของร่างกายต่ำลง ก็จะเป็นผลทำให้ปริมาณน้ำตาลในกระแสเลือดตกลงด้วย และท้่ายที่สุดแล้วจะเป็นผลทำ ให้อวัยวะภายในต่าง ๆ หยุดการทำงาน


อุณหภูมิของสิ่งแวดล้อม
- ในสัปดาห์แรกของลูกแมว อุณหภูมิที่เหมาะสมจะอยู่ระหว่าง 30-32 ํC
- และอุณหภูมิจะลดลง 5 ํC ในทุก ๆ สัปดาห์ จนกระทั่งถึง 22 ํC
- ห้ามให้อาหารที่มีอุณหภูมิต่ำหรือเย็นกับลูกแมวโดยเด็ดขาด เพราะอาจทำให้ลูกแมวตายได้

การดูแลทางด้านโภชนาการ
- สำหรับลูกแมวแรกเกิดนั้น ปริมาณไขมันสะสมในบริเวณชั้นใต้ผิวหนังจะมีเพียงเล็กน้อย ดังนั้นการให้อาหารลูกแมวจึงจำเป็น
ยิ่งที่จะให้บ่อย ๆ เพื่อเป็นการรักษาระดับน้ำตาลในกระแสเลือดและให้พลังงานแ่ก่ลูกแมวอย่างเพียงพอ
- เนื่องจากในลูกแมวแรกเกิด การทำงานของไต ยังไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ ดังนั้นอาหารที่ให้ควรเป็นสูตรที่เหมาะสมกับ ลูกแมว เพื่อลดการทำงานของไต
- การแบ่งอาหารเป็นหลาย ๆ มื้อใน 1 วัน สำหรับลูกแมวจะเป็นการช่วยการทำงานที่หนักเกินไปของไต และระบบทางเดินอาหาร

น้ำนมวัว
- น้ำนมวัวจะไม่เหมาะสมกับลูกแมวแรกเกิดด้วยเหตุผลหลายประการ เช่น ปริมาณของแคลเซียม ฟอสฟอรัส และปริมาณของแลคโตส มีระดับที่สูงเกินความต้องการของลูกแมวแรกเกิด ระดับของพลังงาน ไขมัน และโปรตีน ในน้ำนมวัว มีระดับที่ต่ำเกินไป ไม่เพียงพอกับความต้องการของลูกแมว

---------------------------------------------------------------------
จำนวนครั้งต่อการให้อาหารต่อวัน
อายุแมว (สัปดาห์) จำนวนครั้งต่อการให้อาหาร (วัน)
1 6
2 4
3 3
4 3
--------------------------------------------------------------------

วิธีการให้อาหารแมวแรกเกิด
ในแมวแรกเกิด มีวิธีการให้อาหาร 2 แบบ
1. ขวดนม
2. หลอดอาหาร

การให้อาหารด้วยขวดนม
- ให้อุ่นอาหารให้มีอุณหภูมิประมาณ 37 ํC จะรู้สึกอุ่นหากทานบริเวณข้อมือ
- ต้องให้แน่ใจว่า ขนาดของรูหัวนมใหญ่พอที่จะให้น้ำนมไหลอย่างสะดวก
- พยายามเอียงขวดนมให้ขณะแมวดูดไม่เกิดฟองอากาศขึ้น
- กระตุ้นการดูดนมของลูกแมว โดยการดึงขวดนมออกเบา ๆ
- ห้ามบีบขวดนมเพื่อเร่งการไหลของน้ำนมโดยเด็ดขาด
- หากพบมีฟองนมบริเวณปากของลูกแมวแสดงถึงลูกแมวอิ่ม

การให้อาหารแบบหลอดอาหาร
- การให้อาหารแบบหลอดเหมาะกับแมวขนาดเล็ก อ่อนแอ และป่วย ซึ่งไม่สามารถดูดนมได้ด้วยตนเอง แต่วิธีนี้จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ทำ
ต้องมีความชำนาญ และรู้วิธีการทำงานอย่างถูกต้อง เพราะหากทำไม่ถูกวิธี อาจเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะปอดบวม เนื่องจากอาหาร
จนลูกแมวเสียชีวิตได้

วิธีการให้อาหารแบบหลอด
มีความจำเป็นที่ต้องทำตามขั้นตอน
1 ใช้หลอดสำหรับให้อาหารสัตว์ขนาดเลี้ยงและเหมาะสม
2 วัดระยะความยาวจากกระดูกซี่โครงซี่สุดท้ายจนถึงปลากปาก
3 ทำเครื่องหมายกำหนดจุดความยาว
4 อุ่นอาหารให้มีอุณหภูมิปริมาณ 37 ํC
5 หล่อลื่นหลอดอาหารด้วยน้ำที่จะให้แก่ลูกแมว
6 จับลูกแมวให้อยู่ในระดับตั้งตรง
7 สอดหลอดอาหารให้หลอดอาหารอยู่บนลิ้น
8 ดันหลอดอาหารจนกระทั่้งถึงจุดที่วัดระยะไว้
9 ฉีดอาหารเข้าทางหลอดอาหารอย่างช้า ๆ

ข้อควรระวังในการให้อาหารแบบหลอด
อาหารทางสายยาง >>>>>
- ปริมาณอาหารที่ให้ต้องตรงกับความต้องการของลูกแมว ไม่มากเกินความจุของกระเพาะอาหาร เพราะอาจทำให้แมวสำรอก
อาเจียร และเกิดปัญหาปอดบวมในที่สุด
- หากแมวแสดงอาการหายใจลำบาก ให้นำหลอดอาหารออก แล้วสอดใหม่อีกครั้ง
- หากขณะสอดหรือรู้สึกฝืดติดให้ถอยหลอดอาหารแล้วสอดใหม่อีกครั้ง
- หากขณะสอดลูกแมวร้องขึ้น แสดงว่าหลอดอาหารที่สอดเข้าสู่ระบบทางเดินอาหาร
- การให้อาหารแบบหลอด อาจทำให้ลูกแมวเกิดพฤติกรรมชอบดูดอวัยวะของแมวตัวอื่น ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องแยกออก จากตัวอื่นหากพบพฤติกรรมดังกล่าว

ปัญหาในการให้อาหาร
โดยปกติปัญหาที่พบจะพบสองอย่างด้วยกัน คือ
1 การให้อาหารที่มากเกินไป
2 การให้อาหารที่น้อยเกินไป

การให้อาหารที่มากเกินไป
- ลูกแมวแรกเกิดจะมีการทำงานของไตที่จำกัด ดังนั้นการให้ลูกแมวได้รับอาหารมากเกินไป จะเพิ่มการทำงานของไตที่มากเกิน รวม
ทั้งการทำงานที่มากเกินไปของระบบทางเดินอาหาร ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดภาวะท้องเสีย และหากเกิดภาวะท้องเสียมากจะ
เหนี่ยวนำให้ลูกแมวตายจากภาวะขาดน้ำ
- อุจจาระที่ปกติของลูกแมวควรจะเป็น สีเหลือง
- หากอุจจาระลูกแมวเป็น สีเขียว แสดงถึง ภาวะอาหารเคลื่อนที่ในระบบทางเดินอาหารเร็วเกินไป
- หากอุจจาระลูกแมวเป็น สีเทา แสดงถึง ภาวะอาหารที่ไม่เหมาะ การย่อยที่ไม่สมบูรณ์
- หากแน่ใจว่าให้อาหารลูกแมวในปริมาณที่ถูกแล้ว และอุจจาระมีความเหลวที่มากเกินไปแต่ยังเป็นสีเหลือง ผู้เลี้ยงควรจะลดปริมาณ
น้ำลงให้เหลือหนึ่งในสาม จนกว่าอุจจาระจะเป็นปกติ แล้วจึงเพิ่มปริมาณน้ำให้เท่าเดิม
- โดยปกติแล้วการให้อาหารที่มากเกินไป มักจะตอบสนองออกมาเป็นภาวะท้องเสียเป็นหลัก

การให้อาหารที่น้อยเกินไป
- การให้อาหารที่น้อยเกินไป ลูกแมวจะแสดงอาการกระวนกระวาย และส่งเสียงร้องจนในที่สุดแมวจะแสดงอาการเซื่องซึม
- แมวที่ได้รับอาหารน้อยเกินไป อาจจะแสดงอาการของการขาดน้ำและหนาวสั่น


ข้อมูลจาก //www.ntsfarm.com/7-Supervise.html



----------------------------------------------------

การเลี้ยงลูกแมวกำพร้าแม้ต้องมีตารางประจำวันในการให้อาหารที่เหมาะสม การขับถ่ายการเล่นและการนอนหลับ โดยต้องอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี เพื่อความสำเร็จในการเลี้ยงลูกแมวต้องคำนึงถึง


โภชนาการและการหย่านม
สุขอนามัย
อุณหภูมิและความชื้น
การป้องกันโรค
การบำรุงและทำให้เข้ากับสังคม
ลูกแมวสุขภาพดีจะจ้ำม่ำแข็งแรง มีชีวิตชีวา หลับนาน ลูกแมวที่สุขภาพไม่ดีจะมีกล้ามเนื้อที่ไม่สมบูรณ์ ร้องบ่อยถ้าไม่ช่วยเหลือ อ่อนแอ ซึมเศร้า เฉื่อยชา


โภชนาการและการหย่านม

ลูกแมวจะได้รับน้ำนมน้ำเหลืองใน 12 ชั่วโมงแรก ลูกแมวจะดูดซึมภูมิคุ้มกันจากน้ำนมน้ำเหลืองได้ในช่วง 24 ชั่วโมงแรกนับจากคลอด ในกรณีที่แม่แมวไม่สามารถเลี้ยงดูลูกแมวได้ ลูกแมวต้องดูดนมจากขวดหรือหลอดหยดตามแต่จะหาได้

การให้อาหารแบบหลอดผู้ให้ต้องได้รับการฝึกอย่างดี เพราะอาหารอาจเข้าสู่ปอดย่างไม่ตั้งใจทำให้หมดสติ การให้อาหารแบบหลอดจึงเสี่ยง อนุญาตให้ใช้เฉพาะในลูกแมวอ่อนแอซึ่งต้องอยู่ภายใต้การแนะนำของแพทย์ ควรลูบหลังลูกแมวให้เรอระหว่างให้อาหารและหลังอาหาร โดยนำมันผาดไหล่ ให้ตัวตั้งตรงและตบหลังเบาๆ การให้น้ำนมจากขวดหรือหลอดต้องทำอย่างระมัดระวัง เพื่อป้องกันการปอดบวมหรือการสำลักน้ำ

ใน 24-28 ชั่วโมงแรก ลูกแมวต้องการนม 1 มิลลิลิตรต่อชั่วโมง แต่ละวันเพิ่มจำนวนขึ้น 0.5 มิลลิลิตร จนถึง 10 มิลลิลิตรต่อมื้อ จึงหยุดเพิ่ม ใน 1 วันลูกแมวควรได้รับอาหาร 6-9 มื้อ

ในช่วง 2 สัปดาห์ ให้อาหารลูกแมว 5-7 มิลลิลิตรต่อครั้ง

ช่วง 3 สัปดาห์ จะเริ่มให้อาหารอ่อน 3 เวลาต่อวัน และยังมีการให้นมจากขวดอยู่

ในสัปดาห์ที่ 4 ลูกแมวควรได้รับน้ำนมจากขวด 4-6 ครั้งต่อวันร่วมกับอาหารอ่อน 4-5 ครั้งต่อวัน ลดการให้อาหารช่วงกลางคืนลง

ลูกแมวจะกินอาหารแข็งได้เมื่ออายุ 7 สัปดาห์

สัญญาณแรกของการเจ็บป่วย คือ น้ำหนักลด น้ำหนักของลูกแมวจะเพิ่มขึ้น 50-100 กรัมต่อสัปดาห์ เมื่อลูกแมวอายุ 14 วัน น้ำหนักจะเพิ่มเป็น 2 เท่าของน้ำหนักแรกเกิด ถ้าลูกแมวน้ำหนักไม่เพิ่มควรให้อาหารเพิ่มขึ้น

สุขอนามัย

ลูกแมวเกิดใหม่จะไม่สามารถควบคุมการขับถ่ายได้ เพราะกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่ยังเจริญไม่สมบูรณ์ ลูกแมวต้องได้รับการกระตุ้นโดยใช้ผ้าขนหนูนุ่มๆ ชุบน้ำอุ่นลูบบริเวณทวารหนัก จะทำให้ลูกแมวปัสสาวะ อุจจาระภายใน 1-2 นาที โดยปกติลูกแมวอายุ 21 วัน จะขับถ่ายของเสียได้เอง หมั่นสังเกตปัสสาวะและอุจจาระของลูกแมว ปัสสาวะปกติควรมีสีเหลืองอ่อนหรือใส ถ้ามันมีสีเหลืองคล้ำหรือส้มแสดงว่าลูกแมวได้รับอาหารไม่เพียงพอ ปกติอุจจาระจะมีสีน้ำตาลจางหรือเข้ม อุจจาระสีเขียวแสดงถึงโรคติดเชื้อ ถ้าอุจจาระแข็งมากแสดงว่าให้อาหารทีละมากๆ แต่ให้ไม่บ่อยครั้ง ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้ท้องอืด มีแก๊ส หายใจไม่สะดวก

อุณหภูมิและความชื้น

ลูกแมวเกิดใหม่ยังไม่สามารถรักษาความร้อนของร่างกาย หรือสั่นตัวเพื่อให้เกิดความร้อนได้ จึงต้องมีที่ให้ความร้อนแก่ลูกแมว เช่น ตู้อบ เครื่องทำน้ำอุ่น ซึ่งถูกออกแบบสำหรับลูกสัตว์เกิดใหม่ จะช่วยรักษาอุณหภูมิในร่างกายให้เหมาะสมและควรระมัดระวังอย่าให้ความร้อนสูงเกินไป ควรมีเทอร์โมมิเตอร์ในบริเวณนั้นเพื่อคอยสังเกตอุณหภูมิ ในสัปดาห์แรกอุณหภูมิควรอยู่ที่ 85-90 องศาฟาเรนไฮต์ ความชื้น 55-65% พอ 3 สัปดาห์ลดอุณหภูมิลงเป็น 75 องศาฟาเรนไฮต์ ลองสังเกตถ้าลูกแมวมาอยู่รวมกันแสดงว่ามันหนาวไป แต่ถ้าลูกแมวอยู่ห่างกันคนละมุมแสดงว่าร้อนไป ลูกแมวที่มีอุณหภูมิร่างกายต่ำควรทำให้อบอุ่นอย่างช้าๆ ภายใน 2-3 ชั่วโมง จนลูกแมวมีอุณหภูมิร่างกายปกติ 97 องศาฟาเรนไฮต์

ควรรักษาความชื้นโดยใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำวางเหนือกล่องที่ลูกแมวอยู่ จะช่วยเพิ่มความชื้นได้ ไม่ควนเลี้ยงลูกแมวในที่อับชื้น หรือบนพื้นที่ผุพัง เพราะจะทำให้เกิดเชื้อรา ซึ่งอาจเกิดโรคทางเดินหายใจได้ การควบคุมอุณหภูมินั้นสำคัญกว่าในเรื่องความชื้น ลูกแมวควรอยู่ในที่ที่มีผิวสัมผัสที่ดี เช่น ผ้าห่ม ขนแกะ จะช่วยพัฒนาการเคลื่อนไหวของลูกแมว

การป้องกันโรค

ลูกแมวอาจติดโรคได้ง่าย เช่น โรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ ถ้าหากไม่ได้รับน้ำนมเหลืองจากแม่ นมน้ำเหลือง 24 ชั่งโมงแรกหลังคลอดจะมีแอนติบอดีมากมาย ซึ่งแอนติบอดีจะช่วยสร้างภูมิคุ้มกัน ลูกแมวที่ไม่ได้กินนมน้ำเหลืองจะมีภูมิคุ้มกันโรคน้อย และควรฉีดวัคซีนให้ลูกแมวด้วย ลูกแมวอาจได้รับอันตรายจากพยาธิ จึงควรถ่ายพยาธิให้ลูกแมว เริ่มเมื่อลูกแมวอายุ 6 สัปดาห์ และถ่ายซ้ำอีกครั้งเมื่ออายุ 8 และ 10สัปดาห์

การบำรุงและทำให้เข้ากับสังคม

เราควรลูบขน กอด และให้ลูกแมวเล่นกับคนประมาณ 30-40 นาทีต่อวัน นอกเหนือจากการให้อาหารและทำความสะอาดให้มัน ลูกแมวต้องการการกระตุ้น ควรปูรองพื้นกล่องที่ลูกแมวนอนด้วยวัสดุอ่อนนุ่ม ลูกแมวจะอบอุ่นและหลับสบาย สิ่งสำคัญคือทำให้เหมือนลูกแมวเป็นสมาชิกในบ้านในช่วง 3-6 สัปดาห์ จำไว้ว่ามันยังเด็ก ต้องจับอย่างทะนุถนอม แต่ต้องเริ่มฝึกลูกแมวให้คุ้นเคยกับเสียง การขับถ่าย คนแปลกหน้า และสัตว์เลี้ยงอื่นๆ

//topicstock.pantip.com/jatujak/topicstock/2007/04/J5326124/J5326124.html



-----------------------------------------------------
ถ้ารอดหมด ก็คงต้องหาบ้านกันยาวไกล เหมือนกัน

ดำ 3 (ตัวผู้หมด)น้ำตาล 1 (ตัวเมีย)

เมื่อคืนกลับมาป้อนนมด้วยขวดนมกับชงนมแมว ตอนตีสอง


เหอ เหอ เหอ ร้องกันลั่นบ้าน

ไม่รู้จะทำยังงัย ต้องให้ทีละตัวอะ ให้พร้อมกัน มะได้

ให้นมไม่ทันใจ พวกมีเดินตุปัดตุเป๋มาดูดเสื้อเราด้วย เอ เทนมให้กิน เห็นเอาลิ้นแพร่บ ๆ

ก็เลยลองเอาอาหารเปียกมาให้ลอง


สรุปว่า ได้นิดหน่อย เลอะเยอะ ก็ค่อย ๆ วันละนิด แล้วก็ป้อนนมต่อ


ตอนนี้หลับกันอุตุ (นิยม) เลย จบตอนที่หนึ่งแต่เพียงแค่นี้นะคะ




Create Date : 13 กันยายน 2550
Last Update : 13 กันยายน 2550 21:33:37 น. 2 comments
Counter : 16955 Pageviews.

 
เอาใจช่วย
ลำบากหน่อย
แต่ได้บุญมากเลย


โดย: ไร่ปลายตะวัน วันที่: 14 กันยายน 2550 เวลา:19:12:14 น.  

 
เอาใจช่วยค่า ตอนนี้ก็มีปัญหาที่บ้านเหมือนกัน เพื่อนบ้านเค้าทะเลาะกันเลิกกัน แต่ไม่ยอมเอาแมวเปอร์เซียร์ไปด้วย ตอนนี้อุปการะมันอยู่ค่ะ อายุ 8 เดือนแล้ว แต่มันหงอย ๆ เหมือนคิดถึงเจ้าของเก่า แถมติดโรคมาจากแมวตัวอื่นตอนที่เค้าปล่อยมันทั้ง ๆ ขว้าง ๆ อ่ะค่ะ ต้องพาไปหาหมอฉีดยาวันเว้น วัน มาสามครั่งแล้ว หมดไปเป็น พันเลย กรรมของคนรักสัตว์


โดย: hoshi_nao วันที่: 20 กันยายน 2550 เวลา:21:30:53 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
 

วชิรา
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




โครงการรักษ์แมว เป็นโครงการที่ช่วยเหลือแมวที่ไม่มีเจ้าของ เจ็บป่วย อุบัติเหตุ ทำหมัน และอาหารค่ะ

วชิรา ทวีสกุลสุข
“โครงการรักษ์แมว ปันน้ำใจให้แมวจร”

ธนาคารกรุงเทพ สาขาออลซีซันส์
เลขที่ 037-0-05512-1

ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขากรีนเพลส
เลขที่ 401-0-65756-6

รบกวนแจ้งการโอนที่หลังแมว “วชิรา” หรือที่เมลล์ rakmaw@gmail.com ด้วยนะค่ะ เพื่อที่จะตรวจเช็คได้ค่ะ

ขอบคุณที่ร่วมด้วยช่วยเหลือแมวจรกับโครงการรักษ์แมวค่ะ
[Add วชิรา's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com
pantip.com pantipmarket.com pantown.com