"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
<<
มกราคม 2554
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
28 มกราคม 2554
 
All Blogs
 

รศ.ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ บริพัตร








รศ.ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร




รองศาสตราจารย์ หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร (22 กันยายน 2495 - ) ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คนที่ 15 และเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนแรก ในประวัติศาสตร์การเมืองไทยที่มาจากหม่อมราชวงศ์ รองเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ

เป็นโอรสของพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุขุมาภินันท์ (พระโอรสใน จอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต) และหม่อมดุษฎี บริพัตร ณ อยุธยา (นางสาวดุษฎี ณ ถลาง) ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร มีชื่อเล่นว่า "คุณชายหมู"

รองศาสตราจารย์ หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร สมรสครั้งแรกกับ นางสาวนุชวดี บำรุงตระกูล มีบุตรคือ หม่อมหลวงพินิตพันธุ์ บริพัตร (อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) และสมรสครั้งที่ 2 กับ นางสาวิตรี บริพัตร ณ อยุธยา (นางสาวสาวิตรี ภมรบุตร) มีบุตรคือ หม่อมหลวงวราภินันท์ บริพัตร

ปัจจุบัน รองศาสตราจารย์ หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร พำนักอยู่ที่วังสวนผักกาด วังประจำราชสกุลบริพัตร ณ อยุธยา และเป็นประธานกรรมการมูลนิธิจุมภฏ-พันธุ์ทิพย์

ภายหลังการเลือกตั้ง 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 และมีการจัดตั้งรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช พรรคประชาธิปัตย์ที่เป็นฝ่ายค้านพรรคเดียวได้ประกาศจัดตั้ง รัฐบาลเงา หรือ ครม.เงา ขึ้น ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

และ รองศาสตราจารย์ หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร ได้รับเลือกจากที่ประชุมพรรค ให้ทำหน้าที่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเงา

ต่อมาเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 คณะกรรมการบริหารพรรค มีมติส่ง รองศาสตราจารย์ หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร เป็นผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ที่มีการเลือกตั้งในวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2552 ได้รับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพมหานคร


ประวัติการศึกษา

ระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ณ โรงเรียน Cheam (ดำรงตำแหน่ง หัวหน้าโรงเรียน) และโรงเรียน Rugby ประเทศอังกฤษ (ดำรงตำแหน่ง หัวหน้า House หรือสี และได้รับทุนการศึกษาเรียนดีเด่น) (พ.ศ. 2506-พ.ศ. 2513)

ระดับปริญญาตรี (เกียรตินิยมอันดับ 2) และระดับปริญญาโทจาก Pembroke College มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด ประเทศอังกฤษ (เกียรตินิยม) สาขาวิชาปรัชญาการเมืองและเศรษฐศาสตร์ (PPE) (พ.ศ. 2514 - พ.ศ. 2520)

ระดับปริญญาโทจาก มหาวิทยาลัยจอร์จทาวน์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ทางด้านสาขาวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (พ.ศ. 2521)


ประวัติการทำงาน

พ.ศ. 2523 - พ.ศ. 2539 - อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พ.ศ. 2530 - พ.ศ. 2531 - ที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการการต่างประเทศ สภาผู้แทนราษฎร
พ.ศ. 2530 - พ.ศ. 2536 - ผู้อำนวยการสถาบันศึกษาความมั่นคงและนานาชาติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พ.ศ. 2531 - พ.ศ. 2532 - ที่ปรึกษาทางด้านนโยบายของนายกรัฐมนตรี (พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ)
พ.ศ. 2532 - พ.ศ. 2534 - ที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการกิจการรัฐสภา สภาผู้แทนราษฎร
พ.ศ. 2534 - พ.ศ. 2536 - นายกสมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย
พ.ศ. 2535 - พ.ศ. 2537 - ประธานคณะกรรมการที่ปรึกษาการพาณิชย์ฝ่ายต่างประเทศของกระทรวงพาณิชย์
พ.ศ. 2535 - พ.ศ. 2536 - ประธานคณะทำงานร่วมอาเซียน-เวียดนาม เพื่อศึกษาและเสนอแนะแนวทางส่งเสริมความร่วมมือระหว่างอาเซียน-เวียดนาม และประธานคณะทำงานร่วมอาเซียน-กัมพูชา-ลาว เพื่อศึกษาและเสนอแนะ แนวทางในการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างอาเซียน-กัมพูชา-ลาว
พ.ศ. 2539 - พ.ศ. 2544 - สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร เขตเลือกตั้งที่ 6 (บางรัก สัมพันธวงศ์ สาทร แขวงยานนาวาและแขวงทุ่งมหาเมฆ) พรรคประชาธิปัตย์
พ.ศ. 2540 - พ.ศ. 2543 - รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ รัฐบาลนายชวน หลีกภัย
พ.ศ. 2544 - พ.ศ. 2548 - สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในระบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์
พ.ศ. 2550 - พ.ศ. 2551 - สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในระบบบัญชีระบบสัดส่วน พรรคประชาธิปัตย์ โซน 6 กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ และนนทบุรี


ประวัติทางการเมือง

รองศาสตราจารย์ หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร เป็นผู้ร่วมก่อตั้งพรรคนำไทย ร่วมกับนายอำนวย วีรวรรณ เมื่อ พ.ศ. 2537 และเคยดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการพรรคนำไทย

ต่อมา รองศาสตราจารย์ หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร เข้าเป็นกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ ได้รับเลือกตั้งเป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร เขตเลือกตั้งที่ 6 (บางรัก สัมพันธวงศ์ สาทร แขวงยานนาวาและแขวงทุ่งมหาเมฆ) เมื่อปี พ.ศ. 2539 และ 2544

ดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ระหว่างเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2540 ถึง กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544

รองศาสตราจารย์ หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในระบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 24 ของพรรคประชาธิปัตย์ จากการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2548 นอกจากนี้ยังดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการพรรค และดูแลงานทางด้านต่างประเทศและความมั่นคง

ในการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2550 รองศาสตราจารย์ หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในระบบสัดส่วนโซน 6 กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ และนนทบุรี ลำดับที่ 3 และชนะการเลือกตั้ง

ต่อมาเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 คณะกรรมการบริหารพรรค มีมติส่ง รองศาสตราจารย์ หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร เป็นผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ซึ่งจะมีการเลือกตั้งในวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2552 ซึ่ง รองศาสตราจารย์ หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร จับสลากได้เบอร์ 2


การตกลงเป็นตัวประกันในเหตุการณ์ยึดสถานทูตพม่า พ.ศ.2542

เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2542 ในรัฐบาลนายชวน หลีกภัย เกิดเหตุการณ์กองกำลังติดอาวุธของนักศึกษาพม่า บุกเข้ายึดสถานเอกอัครราชทูตพม่า ประจำประเทศไทย ที่ถนนสาทรเหนือ และจับเจ้าหน้าที่สถานทูตเป็นตัวประกัน

หลังการเจรจาต่อรองเป็นเวลาหลายชั่วโมง ผู้ก่อการร้ายยินยอมปล่อยตัวประกัน แลกกับให้ทางการไทยจัดเฮลิคอปเตอร์ไปส่งที่ อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี ซึ่งเป็นชายแดนไทย-พม่า

โดย หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในขณะนั้น เสนอตัวเป็นตัวประกันนั่งโดยสารไปด้วย เพื่อรับรองความปลอดภัยจนกระทั่งถึงที่หมาย ทำให้เหตุการณ์ครั้งนั้นยุติลงได้โดยไม่มีการสูญเสียชีวิต


การลงนามในบันทึกข้อตกลงปักปันเขตแดนไทย-กัมพูชา พ.ศ. 2543

ในปี พ.ศ. 2543 รองศาสตราจารย์ หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศขณะนั้น ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย - กัมพูชา (ฝ่ายไทย)

ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลกัมพูชา ว่าด้วยการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบก ในระหว่างการเยือนกัมพูชาอย่างเป็นทางการของ นายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี ระหว่างวันที่ 14 - 16 มิถุนายน พ.ศ. 2543

บันทึกความเข้าใจดังกล่าว มีสาระสำคัญส่วนหนึ่ง คือ การสำรวจและปักหลักเขตแดนทางบก จะดำเนินการโดยใช้เอกสารหลักฐานที่ผูกพันไทยและกัมพูชาตามกฎหมายระหว่างประเทศ คืออนุสัญญาฉบับลงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1904 สนธิสัญญาฉบับลงวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 1907 กับพิธีสารแนบท้าย

และ แผนที่แสดงเส้นเขตแดนระหว่างไทยกับกัมพูชามาตราส่วน 1:200,000 ซึ่งจัดทำขึ้นตามผลงานของ คณะกรรมการปักปันเขตแดนระหว่างสยามกับอินโดจีน

ต่อมาในปี พ.ศ. 2551 หลังเกิดกรณี นายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ลงนามในเอกสารแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา ซึ่งอาจมีผลเปลี่ยนแปลงเขตแดนประเทศไทยโดยมิชอบ ด้วยรัฐธรรมนูญ

เกิดการโจมตี มรว.สุขุมพันธุ์ และ พรรคประชาธิปัตย์ เกี่ยวกับการลงนามในบันทึกความเข้าใจ ไทย-กัมพูชา พ.ศ. 2543 ที่ระบุให้การจัดทำหลักเขตแดนยึดตามแผนที่ฝรั่งเศส-สยาม (ค.ศ. 1904) เป็นแนวทาง โดยไม่ระบุ แผนที่แอล 7017 ของ สหรัฐอเมริกา ที่ ไทยใช้อ้างอิง

ซึ่งอาจตีความได้ว่ามีผลเปลี่ยนแปลง เขตแดนประเทศ มาตั้งแต่ พ.ศ. 2543 ก่อนการลงนามของนายนพดล ปัทมะ เรื่องดังกล่าว ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ได้ชี้แจงว่าการระบุถึงแผนที่ ค.ศ. 1904

เป็นการระบุประกอบเอกสารหลักคือ อนุสัญญา ค.ศ. 1904 และ สนธิสัญญา ค.ศ. 1907 ซึ่งแผนที่จะขัดหรือแย้งไม่ได้ การลงนามในปี พ.ศ. 2543 จึงไม่มีผลเปลี่ยนแปลงเขตแดนประเทศแต่อย่างใด


ผลงานวิชาการ

รองศาสตราจารย์ หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร มีผลงานวิจัยและบทความเกี่ยวกับความมั่นคงและความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศมากมาย ซึ่งได้ตีพิมพ์และเผยแพร่ทั้งในและนอกประเทศ อาทิ ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศญี่ปุ่น ประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นต้น อีกทั้งได้มีผลงานทางวิชาการร่วมกับนักวิชาการระดับนานาชาติหลาย คน อาทิ Professor Robert Scalapino

งานเขียนอื่น ๆ : เคยเขียนคอลัมน์ประจำให้แก่ หนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายสัปดาห์ และ หนังสือพิมพ์แนวหน้า เคยเขียนคอลัมน์รับเชิญให้แก่นิตยสารต่างประเทศหลายฉบับ รวมถึง Far Eastern Economic Review, The International Herald Tribune, The Asian Wall Street Journal


การดำรงตำแหน่งอื่นๆ

ประธานมูลนิธิจุมภฏ-พันธุ์ทิพย์ (ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530 ถึงปัจจุบัน)
เป็นกรรมการหรือสมาชิกของสถาบันระดับนานาชาติหลายแห่ง รวมถึง THE ASIA SOCIETY แห่งนครนิวยอร์ก และ สถาบันยุทธศาสตร์และนานาชาติศึกษาแห่งกรุงลอนดอน
กรรมการบริหารของสถาบันพระปกเกล้า (ปี 2544 ถึง ปัจจุบัน)

อาจารย์พิเศษในสถาบันการศึกษา หรือหลักสูตรของหน่วยงานราชการ ต่าง ๆ เช่น กองทัพ กระทรวงมหาดไทย กรมตำรวจ กรุงเทพมหานคร

อาจารย์พิเศษ มหาวิทยาลัยต่างประเทศ เช่น มหาวิทยาลัยโคลัมเบียแห่งนครนิวยอร์ก และ มหาวิทยาลัยจอร์จทาวน์แห่งกรุงวอชิงตัน ดีซี
วิทยากรบรรยายพิเศษให้กับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยนเรศวร

สมาชิก Commission For A New Asia (พ.ศ. 2537)
ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในกรุงเทพมหานคร


เกียรติประวัติ

ได้รับการยกย่องเป็นหนึ่งในร้อยผู้นำระดับโลก ในศตวรรษที่ 21 โดยนิตยสาร TIME ในปี พ.ศ. 2538


เครื่องราชอิสริยาภรณ์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าพ.ศ. 2539 - ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.)
พ.ศ. 2524 - ตติยจุลจอมเกล้า (ต.จ.) สืบราชตระกูล พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุขุมาภินันท์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกพ.ศ. 2542 - มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
พ.ศ. 2535 - ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทยพ.ศ. 2541 - มหาวชิรมงกุฏ (ม.ว.ม.)
พ.ศ. 2540 - ประถมาภรณ์มงกุฏไทย (ป.ม.)
พ.ศ. 2531 - ทวีติยาภรณ์มงกุฏไทย (ท.ม.)
พ.ศ. 2529 - ตริตาภรณ์มงกุฏไทย (ต.ม.)


ขอขอบคุณ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


สวัสดิ์สิริศนิวาร มานโชติโชนช่วงดั่งดวงวิเชียรฉายนะคะ




 

Create Date : 28 มกราคม 2554
0 comments
Last Update : 11 มีนาคม 2554 14:39:44 น.
Counter : 1746 Pageviews.


sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.