"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2554
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728 
 
1 กุมภาพันธ์ 2554
 
All Blogs
 
ไอ.เอ็ม.เพ หรือ เป้ย์ ยวี่หมิง ผู้สร้างพีระมิดแก้วกลางลานทางเข้าหลักพิพิธภัณฑ์ลูฟร์






ไอ. เอ็ม. เพ
ในลักเซมเบิร์ก ปี 2006





พีระมิดแก้วกลางลานอันเป็นทางเข้าหลักพิพิธภัณฑ์ลูฟร์
ผลงานที่มีชื่อเสียงของ ไอ.เอ็ม. เพ




ไอ. เอ็ม. เพ (I. M. Pei - Ieoh Ming Pei) หรือ เป้ย์ ยวี่หมิง (จีนตัวเต็ม: 貝聿銘; จีนตัวย่อ: 贝聿铭; พินอิน: Bèi Yùmíng) (26 เมษายน พ.ศ. 2460 — ) สถาปนิกชาวอเมริกันเชื้อสายจีน ได้รับรางวัลพริตซ์เกอร์ซึ่งเป็นรางวัลระดับโลกสูงสุด ของสถาปัตยกรรมในปี พ.ศ. 2526

งานออกแบบของ ไอ.เอ็ม. เพ จะมีลักษณะสถาปัตยกรรมแบบโมเดิร์น โดยมีการใช้ หิน คอนกรีต แก้ว และเหล็กเป็นส่วนใหญ่

เขาถือว่าเป็นศิลปินผู้ยิ่งใหญ่ในด้านสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ เขาเกิดที่เมืองกว่างโจว โตในฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้ เขาชื่นชอบภาพยนตร์จากสหรัฐฮเมริกา โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักแสดง บัสเตอร์ คีตันและบิง ครอสบี เขาเรียนรู้ภาษาอังกฤษด้วยตนเอง จากการอ่านไบเบิล และบทประพันธ์ของชาร์ลส ดิกเคนส์

ปี ค.ศ. 1935 ไอ. เอ็ม. เพ ย้ายไปอยู่ที่สหรัฐอเมริกา เข้าเรียนในโรงเรียนสถาปัตยกรรม ที่มหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย แต่ก็ย้ายไปเรียนสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์

จากนั้นไม่นาน เขารู้สึกไม่ยินดีกับการมุ่งเน้นไปในเรื่องสถาปัตยกรรมวิจิตรศิลป์ เขาใช้เวลาว่าศึกษาผลงานอันเยี่ยมยอด ของสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ อย่างเช่น เลอกอร์บูซีเย

หลังจากเรียนจบแล้วเขา ไปศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ได้เรียนกับอาจารย์ชั้นนำ คือ มาร์เชล บรูเออร์ และวอลเตอร์ โกรเปียส ได้ทั้งความรู้จากอาจารย์ชั้นนำ ของสถาบันเบาเฮาส์ และได้บรรยากาศทางวิชาการของฮาร์วาร์ด เอ็ม.ไอ.ที ด้วยกัน

ในปี ค.ศ. 1942 เขาแต่งงานกับไอลีน ลู ทั้งคู่แต่งงานกับมาร่วม 50 ปี และมีลูก 4 คน (2 คนเป็นสถาปนิกเช่นกัน)

เขาใช้เวลาในการทำงานร่วม 10 ปี ในนิวยอร์ก กับคนสำคัญด้านอสังหาริมทรัพทย์ อย่าง วิลเลียม เซกเคนดอร์ฟ ก่อนที่จะมาเปิดสำนักงานของตัวเองที่ชื่อ I. M. Pei & Associates จากนั้นเปลี่ยนมาเป็น Pei Cobb Freed & Partners ในผลงานของเขาในยุคต้น ๆ

เช่น โรงแรมลองฟองพลาซ่า ในวอชิงตันดีซี และตึกเขียวในเอ็มไอที เขามีชื่อเสียงในการออกแบบอาคาร ศูนย์วิจัยบรรยากาศสหรัฐฯ ในโคโลราโด และผลงานอย่างห้องสมุดจอห์น เอ. เคนเนดี ในรัฐแมสซาชูเซตส์ เขาออกแบบดัลลาสซิตีฮอล และอีสต์บิลดิง ของหอศิลป์แห่งชาติ, วอชิงตัน ดี.ซี.

เขากลับมาประเทศจีนครั้งแรกในปี 1974 และออกแบบโรงแรมที่ Fragrant Hills ต่อมาหลังจากนั้น 15 ปีเขากลับมาเอเชียตะวันออกอีกครั้ง โดยออกแบบตึกระฟ้าในฮ่องกง อาคารแบงค์ออฟไชน่าทาวเวอร์ ในปลายคริสต์ทศวรรษ 1980

ชื่อของเขาตกเป็นข้อพิพาทเมื่อเขาออกแบบ พีระมิดลูฟร์ ที่สร้างจากกระจกและโลหะ ในบริเวณของพิพิธภัณฑ์ลูฟร์ กรุงปารีส ต่างมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ ทั้งมีเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย เขายังได้ออกแบบมอร์ตัน เอช. เมเยอร์สัน ซิมโฟนี ในดัลลาส , พิพิธภัณฑ์มิโฮในญี่ปุ่น และพิพิธภัณฑ์ศิลปะอิสลามในกาตาร์

ไอ. เอ็ม. เพ ได้รับรางวัลหลากหลายรางวัลในสาขาสถาปัตยกรรม รวมถึงรางวัลเหรียญทองเอไอเอในปี 1979 ,รางวัลเพรเมียมอิมพีเรียลสาขาสถาปัตยกรรมในปี 1989 และรางวัลความสำเร็จสูงสุด จากพิพิธภัณฑ์ออกแบบแห่งชาติ คูเปอร์-ฮิววิตต์ ในปี 2003 และในปี 1983 เขาได้รับรางวัลพริตซ์เกอร์


แนวความคิดในการออกแบบ

ไอ. เอ็ม. เพ มีแนวความคิดว่า สถาปนิกควรคำนึงถึงสภาพภูมิอากาศและส่วนสำคัญทางประวัติศาสตร์ ในสมัยที่เขาเรียนเขาได้ทำวิทยานิพนธ์ เรื่องพิพิธภัณฑ์ศิลปะจีนในเซี่ยงไฮ้

งานสถาปัตยกรรมของไอ. เอ็ม. เพ เป็นความคลาสสิกสมัยใหม่ เขาพอใจที่จะทำงานใดใช้ปริมาตรที่ชัดเจน รูปทรงเรขาคณิตอย่างง่ายของวัสดุประเภท กระจก หิน ฯลฯ

และการออกแบบที่คำนึงถึงบริบทเดิมที่เฉพาะตัว มากกว่าที่จะเป็นสถาปัตยกรรมใหม่ที่โดดเด่น อย่างเช่นการออกแบบพิพิธภัณฑ์ลูฟร์, บอสตัน ที่ออกแบบต่อเติม-ขยายเพิ่มจากอาคารเดิม

ในการออกแบบส่วนต่อขยายของอาคาร แบบแนบจิตคิดให้มีความเข้ากันกับสิ่งแวดล้อม ทั้งในอาคารเดิม สิ่งที่ชุมชนบริเวณนั้นต้องการ ตลอดจนลักษณะความเขียวขจีของต้นไม้ในบริเวณ

ไอ. เอ็ม. เพ มีชื่อเสียงมากด้านงานออกแบบพิพิธภัณฑ์ (ตั้งแต่ช่วง ปี ค.ศ. 1970 เป็นต้นมา) ผลงานต่าง ๆ ของเขาที่ผ่านมาแสดงออกถึงศักยภาพความอัจฉริยะในด้านนี้อันเป็นที่ยอมรับ

ในการออกแบบพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์เยอรมนีในเบอร์ลิน ก่อนรับงาน ไอ. เอ็ม. เพ สำรวจบริเวณพื้นที่อย่างมีระบบ ทำความเข้าใจอย่างแม่นมั่นถึงสภาพแวดล้อม เพื่อให้สถาปัตยกรรมที่เขาออกแบบมีความสัมพันธ์กับลักษณะของบริเวณเมือง

เขาศึกษาลักษณะของผู้คนที่เดินใช้งานบริเวณนั้น กำหนดการเข้าถึงอาคาร มุมมอง ทางเข้าอย่างเหมาะสม

เหตุผลหนึ่งที่งานสถาปัตยกรรมพิพิธภัณฑ์ของ ไอ.เอ็ม. เพ ประสบความสำเร็จ ก็เพราะมีความงามที่ดึงดูดใจประชาชน ทั้งในลักษณะเมื่อแรกพบ และหลังจากได้เข้าสัมผัส เรียนรู้ดูงานภายในอาคาร

ประชาชนจะมีความเพลิดเพลินพอใจ ในตัวสถาปัตยกรรมพิพิธภัณฑ์เองพอ ๆ กับตัวผลงานศิลป์ที่ติดตั้งไว้ในนั้น


ขอขอบคุณ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


สิริสวัสดิ์ภุมวาร เปรมปรีดิ์มานรมณีย์นะคะ



Create Date : 01 กุมภาพันธ์ 2554
Last Update : 1 กุมภาพันธ์ 2554 10:36:54 น. 0 comments
Counter : 3344 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.