space
space
space
<<
ธันวาคม 2566
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
space
space
26 ธันวาคม 2566
space
space
space

4 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

         จริงอยู่ที่เราไม่มีทางคาดการณ์ได้ว่าโรคร้ายจะเกิดขึ้นกับเราตอนไหน แต่อย่างน้อยเรายังสามารถลดความเสี่ยงก่อนที่โรคมะเร็งจะพัฒนาจนถึงในระดับที่ยากต่อการรักษาด้วยการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกร่วมกับการฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อ HPV ที่มีส่วนสำคัญต่อการก่อให้เกิดโรคมะเร็ง สำหรับใครที่สงสัยว่าตอนนี้ถึงเวลาแล้วหรือยังที่ตัวเองควรจะเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก หรือมีข้อสงสัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการตรวจคัดกรองที่ว่า ขอเชิญทุกคนไปหาคำตอบพร้อมกันด้านล่างนี้ได้เลย

 

มะเร็งปากมดลูกเกิดจากอะไร?

         ก่อนที่จะพูดถึงรายละเอียดว่าด้วยการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก เราอยากจะขอพูดถึงสาเหตุการเกิดโรคดังกล่าวกันก่อนสักเล็กน้อย ในทางการแพทย์ มะเร็งปากมดลูกเกิดจากการติดเชื้อไวรัสที่มีชื่อว่า HPV (Human Papilloma Virus) จากการมีเพศสัมพันธ์จนส่งผลให้เซลล์บริเวณปากมดลูกอักเสบเรื้อรังก่อนจะพัฒนากลายเป็นเซลล์มะเร็งในท้ายที่สุด

เราควรเริ่มตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกตอนไหน?

         เนื่องจากมะเร็งปากมดลูกเป็นโรคที่เกิดจากติดเชื้อHPVซึ่งติดต่อได้จากการมีเพศสัมพันธ์ ดังนั้นแพทย์ส่วนใหญ่จึงมักจะแนะนำให้สตรีอายุ 21 ปีขึ้นไปที่ผ่านการมีเพศสัมพันธ์มาตรวจคัดกรองเป็นประจำทุก 1-2 ปี แต่ในกรณีที่คนไข้มีอายุ 30 ปีขึ้นไป แพทย์จะแนะนำให้เข้ารับการตรวจคัดกรองถี่ขึ้นเป็นประจำทุกปีแทนเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งให้น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ นอกเหนือไปจากเรื่องของอายุ และประวัติการมีเพศสัมพันธ์แล้ว แพทย์ยังได้แนะนำให้ผู้ที่บุคคลในครอบครัวเคยตรวจพบมะเร็ง, ผู้ที่รับประทานยาคุมกำเนิดหรือฮอร์โมนเพศหญิงเป็นเวลาติดต่อกันหลายปี รวมไปถึงผู้ที่มีประจำเดือนมาก่อนอายุ 12 ปีและหมดประจำเดือนหลังอายุ 55 ปีหมั่นเข้ารับการตรวจภายในเพื่อคัดกรองความเสี่ยงไม่เฉพาะแค่โรคมะเร็งเท่านั้นแต่ยังรวมไปถึงสุขภาพของอวัยวะภายในอื่นๆ เช่น เยื่อบุโพรงมดลูก และรังไข่ เป็นต้น

ข้อแนะนำก่อนเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

         แม้การตรวจคัดกรองภายในจะต่างกับการตรวจสุขภาพประจำปีตรงที่เราไม่จำเป็นต้องงดน้ำหรืออาหารในคืนก่อนจะถึงวันตรวจ แต่สิ่งที่เราควรตรวจสอบให้ดีคือประจำเดือนของเรา ในกรณีที่เรามีประจำเดือน แพทย์จะลงความเห็นให้เราเลื่อนวันตรวจออกไปก่อนจนกระทั่งพ้นช่วงเวลาที่มีประจำเดือนไปแล้ว 5 วันเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความแม่นยำในการตรวจคัดกรองโลก นอกเหนือไปจากข้อแนะนำดังกล่าวแล้ว ผู้วางแผนเข้ารับการตรวจคัดกรองยังต้องงดการมีเพศสัมพันธ์และการล้างช่องคลอดก่อนเวลาตรวจ 24-48 ชั่วโมง

โปรแกรมการตรวจคัดกรองในปัจจุบันมีกี่แบบ

         ในปัจจุบันเราสามารถแบ่งโปรแกรมการตรวจคัดกรองออกได้เป็น 2 โปรแกรมด้วยกัน ประกอบไปด้วย การตรวจภายในด้วยการทำอัลตร้าซาวด์บริเวณช่องคลอดเพื่อคัดกรองทั้งโรคมะเร็งปากมดลูกรวมไปถึงการตรวจสอบระบบการทำงานของอวัยวะอื่นๆ ในบริเวณเดียวกัน อาทิ มดลูกและรังไข่ ส่วนโปรแกรมการตรวจแบบที่สองได้แก่ การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกร่วมกับการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันการติดเชื้อ HPV อันเป็นสาเหตุสำคัญต่อการเกิดมะเร็งและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง




Create Date : 26 ธันวาคม 2566
Last Update : 26 ธันวาคม 2566 21:55:24 น. 0 comments
Counter : 172 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 7627727
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 7627727's blog to your web]
space
space
space
space
space