อาทิตย์สาดส่อง..ความจริงจักปรากฎทั่วปฐพี!!!
Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2552
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
 
15 มิถุนายน 2552
 
All Blogs
 
ก่อนถึงวัน..ยุบสภา..

สำนักข่าวไอเอ็นเอ็น.-คอลัมน์ ดอกไม้หลายสี 12 มิถุนายน 2552 17:57:26

คล้ายกับเคราะห์ซ้ำกรรมซัด...กับสถานการณ์..ปัญหาการบริหารจัดการบ้านเมืองทั้งที่ควบคุมได้บ้างและไม่ได้บ้างโดยเฉพาะหนล่าสุดกับสถานการณ์ความรุนแรงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมถึงสถานการณ์ไข้หวัด 2009 ที่รุมเร้ารัฐบาล"อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ"กับสภาวะอันท้าท้ายกับบทบาทการทำหน้าที่.."ผู้นำ"ถือหางเสือเรือประเทศไทย ในท่ามกลางมรสุม..กระหน่ำรอบด้าน ทั้งโจรสลัดที่คอยโจมตี ซ้ำร้าย ลูกเรือภายในลำเรือก็คอยจ้องจะเจาะเรือหรือเอาเท้าราน้ำบ้างก็พร้อมโดดหนีทันทีหากเรือทำท่าจะล่ม..

เป็นเคราะห์ซ้ำกรรมซัด..โดยที่มิพักต้องไปโยนบาปอย่างที่พยายาม "เชื่อมโยง" (โดยผู้นำรัฐบาลออกมาให้ข่าวความเคลื่อนไหวของทักษิณที่เยอรมันแบบผิดจังหวะทั้งๆที่ควรจะทุ่มเทกับ "งานเข้า" ตรงหน้าจากทั้งเรื่องเศรษฐกิจ การแย่งชิงแบ่งปันเกี้ยเซี๊ยะผลประโยชน์ระหว่างขุมอำนาจภายในรัฐบาลที่ทำท่าว่าประชาชนจะรับไม่ได้กับกลิ่นตุๆของการทุจริตในสารพัดโครงการเมกะโปรเจกต์)ว่าเป็นความผิดของ "ทักษิณ ชินวัตร" หรือ "เสื้อแดง" ที่นิ่งเงียบซุ่มซ่อนไม่ได้ออกมามีบทบาทในระยะหลายเดือนที่ผ่านมา อีก

เพราะสถานการณ์ตรงหน้ากำลังเกิดขึ้นจริงและชาวบ้านก็เห็นอยู่ว่ามันเป็นเรื่องของ "ความสามารถ" ในการบริหารประเทศชาติบ้านเมืองของรัฐบาลปัจจุบันโดยตรง..

เฉพาะยิ่งกับสภาการณ์ปัญหาความไม่เป็น "เอกภาพ" ภายในรัฐบาล ที่ทำให้ตลอดระยะเวลาของการเข้ามาบริหารประเทศภายใต้สภาวะวิกฤติแตกแยกของบ้านเมืองถึงวันนี้ย่างสู่เดือนที่ 6 ที่ผลกระทบของมันขยายวงไปสู่การ
พังพาบของเศรษฐกิจ-สังคมภายในประเทศอันทำให้ผู้คนทั่วทุกระแหงเดือดร้อนกันถ้วนทั่วจากการตกงาน ค่าครองชีพพุ่งสูง อาชญากรรมลักจี้ชิงปล้น การคดโกง ยาเสพติดระบาดหนัก ผู้คนมากมายกลายเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว

บ้างก็ล้มละลาย บ้างก็หันไปพึ่งหนี้นอกระบบเถื่อน ที่ถึงที่สุดกลายเป็นปัญหาพันตัว ทำให้หลายคนหลายครอบครัวเครียด คิดสั้น ตัดสินใจ "ฆ่าตัวตาย" ที่นับวันข่าวเหล่านี้จะดาษดื่นมากขึ้นในหน้า นสพ.ไม่ต่างจากหลัง
ปรากฏการณ์วิกฤติเศรษฐกิจปี 2540

ที่ทำให้ไม่แปลกที่ว่าในห้วงที่บ้านเมืองลุกเป็นไฟจากความขัดแย้งระหว่างสีเหลือง-แดง และความวุ่นวายห้วงปี 2550-2551 ประชาชนเหล่านี้มีความคาดหวังกับการมีรัฐบาลใหม่ที่มาบริหารประเทศแก้วิกฤติเศรษฐกิจปากท้องของ
พวกเขา..

ที่ถึงแม้ว่า "เสื้อแดง" หรือ "ทักษิณ" จะพยายามป่วนในห้วงเดือนสองเดือนแรกของการเข้ามาบริหารประเทศของรัฐบาล แต่รัฐบาลก็ผ่านจุดนั้นมาได้ เพราะประชาชนไม่น้อยที่ไม่เห็นด้วยและเอือมระอากับสภาพความขัดแย้งและวุ่นวาย...

แต่ก็คล้ายเป็นสัจธรรมที่ว่าพอศึกนอกจบก็ก่อศึกในกันเอง...ซึ่งข้อนี้ "ทักษิณ" เองก็คงจะทราบแถมได้รับคำแนะนำจากบรรดา "กุนซือ" ว่าให้จัดเก้าอี้ไปนั่งอยู่บนภูเงียบๆรอชมมหกรรมความขัดแย้งภายในระหว่างพรรคร่วมรัฐบาล ประชาธิปัตย์-ภูมิใจไทย ไปเรื่อยๆ

และ "ทักษิณ" ก็ได้เห็นภาพนั้นจริง.. เพราะนับตั้งแต่ โครงการระบายข้าว ข้าวโพด มันสำปะหลัง ถูกที่ประชุมคณะรัฐมนตรีตีกลับ และโครงการเช่ารถเมล์เอ็นจีวี 4 พันคัน ของ "ภูมิใจไทย" ถูกขวาง อาการของใครต่อใคร ตั้งแต่รัฐมนตรีหน้าใหม่ ถึงรัฐมนตรีแถวสาม-สี่ ก็ออก อย่างชนิดสังคมต้องอึ้งในท่าทางที่ไม่กลัวหน้าไหนใน ครม.แม้แต่เสียงกระแสสังคม...ไม่ว่าจะเป็น "โสภณ ซารัมย์, ประจักษ์ แกล้วกล้าหาญ, สมศักดิ์ เทพสุทิน " หรือแม้แต่ "นายน้อย"

เนวิน ชิดชอบ โดยเฉพาะรายของ "สมศักดิ์ เทพสุทิน" เจ้าพ่อวังน้ำยม ที่พูดดุเดือดฝากไปถึงพรรคแกนนำรัฐบาลว่า "ชอบทำตัวเป็นพระเอก" มักทำให้สังคมเห็นว่า พรรคร่วมรัฐบาล "ส่อเจตนาทุจริต" เพื่อหวังกลบเกลื่อนความผิดพลาดของตัวเองซึ่งเป็นการโจมตีพรรคประชาธิปัตย์ได้หนักหน่วง ถือเป็นการส่ง "สัญญาณ" ให้เห็นว่าความขัดแย้งที่มีอยู่จริงในพรรคร่วมรัฐบาลนั้นพร้อมปะทุหาก "สัญญา" ที่ตกลงต่อรองกันไว้ไม่เป็นไปดังที่ว่า

ภาพความขัดแย้งที่เหมือนหนึ่งการแย่งชิงผลประโยชน์ แย่งชิงโครงการ(ระหว่าง กทม.กับคมนาคม กรณี รถเมล์NGV และรถราง รวมถึงที่ รมว.คมนาคม สั่งทบทวนการซื้อเครื่องบินแอร์บัส 6 ลำ ) เพื่อนำไปสู่ใช้งบประมาณ และการสร้างภาพเพื่อหวังผลความชอบธรรมทางการเมืองและคะแนนเสียง ซึ่งซ้อนอยู่ในภาพการเจรจาต่อรองทางการเมืองระหว่างรัฐมนตรีจากภูมิใจไทย และ ประชาธิปัตย์ ในท่ามกลางกระแส "ตรวจสอบ" จากสังคม ที่เริ่มแปร่งๆกับท่าทีของ "นายกฯอภิสิทธิ์" ที่ยังคงต้องประคองความรู้สึกของรัฐมนตรีพรรคภูมิใจไทย ขณะที่รัฐมนตรีเหล่านั้นไม่เกรงใจทั้งยังประกาศจะดันสิ่งที่พรรคพวกตนต้องการผ่าน ครม.ให้ได้ ทำให้..หลายฝ่ายเริ่ม "ไม่วางใจ" ว่ารัฐบาลจะ "จริงใจ" กับการแก้ไขปัญหาบ้านเมือง

ปรากฏการณ์ "ทึ้ง" และขัดแย้งกันภายในรัฐบาลจากการปล่อยข่าวเกทับเจาะยางกันเองเพื่อช่วงชิงความชอบธรรมของทั้งฝ่าย "พระเอก" และ "ผู้ร้าย" ที่มาเป็น "พันธมิตร" กับพระเอก ทำให้เริ่มมีการตรวจสอบการใช้ "เงินงบประมาณ " ที่มาจากภาษีของ "ประชาชน"

โดยเฉพาะน่าสนใจว่า "สัญญาณ" ตรวจสอบเหล่านี้มาจากซีกฟาก "พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย" ที่เริ่มมีการแอคชั่นตั้ง "พรรคการเมืองใหม่" ที่รู้กันดีอยู่ว่าพวกเขาเป็น "พันธมิตร" กับพรรคประชาธิปัตย์ มาแต่ไหนแต่ไรการตรวจสอบการใช้งบประมาณที่เริ่มเข้มข้นขึ้น โดยพุ่งเป้าไปที่ แผนการใช้เงินงบประมาณ ตาม พ.ร.ก.เงินกู้ 4 แสนล้านเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ที่แอคชั่นอย่างต่อเนื่องผ่าน "คำนูณ สิทธิสมาน"( ส.ว.สรรหา ในกลุ่ม 40 ส.ว. ที่ถือเป็นไม้เป็นมือสำคัญของ "สนธิ ลิ้มทองกุล" ทั้งในเวทีฝ่ายนิติบัญญัติ และ หน้าสื่อ นสพ.ผู้จัดการ จึงน่าสนใจติดตามถึงผลกระทบที่เกี่ยวข้องกัน..เฉพาะยิ่งที่มีการชำแหละ" ความไม่ชอบมาพากลในการใช้งบก้อนนี้ในลักษณะการ"แบ่งเค้ก"( ระหว่างพรรคร่วมรัฐบาลประชาธิปัตย์-ภูมิใจไทย ที่ทำเอาโครงการรถเมล์ NGV กลายเป็นเรื่องเล็กไปในทันที โดยเฉพาะมีการเปิดข้อมูลที่ว่า โครงการลงทุนภายใต้แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจ ระยะที่ 2 “แผนปฏิบัติการ : ไทยเข้มแข็ง 2555” เม็ดเงินลงทุนช่วงปี 2552-2555 รวมทั้งหมดมีถึงกว่า 1.43 ล้านล้านบาท และในรายโครงการพบ เม็ดเงินส่วนใหญ่จะไหลไปกองอยู่ในกระทรวงที่สองพรรคใหญ่ ประชาธิปัตย์และภูมิใจไทย กุมอำนาจบริหาร ไม่ว่าจะเป็นมหาดไทยของ “ชวรัตน์ ชาญวีรกูล” 3.5 พันล้านกับโครงการเพิ่มประสิทธิภาพกรมโยธาธิการและ กปภ.ที่ยังไม่มีรายละเอียดเนื้องาน หรือ โครงการถนนปลอดฝุ่นไปนอน 1.4 หมื่นล้าน และ โครงการสร้างจิตสำนึกเด็กไทยมาเสนอ 3.2 พันล้าน ของ รมว.ศึกษาธิการ จากพรรคประชาธิปัตย์

ที่น่าสนใจคือการจับผิดที่ ว่า โครงการต่างๆ ที่นำมารวมอยู่ในโครงการไทยเข้มแข็งนั้นเป็นโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งสามารถนำมาบรรจุไว้ใน พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2553 ที่รัฐบาลกำหนดจะเสนอต่อ
รัฐสภาในสมัยวิสามัญ วันที่ 15 – 23 มิ.ย.นี้ พร้อมกับ พ.ร.บ.และ พ.ร.ก.เงินกู้ 2 ฉบับอยู่แล้ว แต่รัฐบาลกลับตัดงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2553 ลง 2 แสนล้าน แล้วโยกมาบรรจุไว้ใน พ.ร.ก.เงินกู้แทน เหมือนเพื่อหลีกเลี่ยงการตรวจสอบของรัฐสภา และ การดำเนินการดังกล่าวทำให้วงเงินงบประมาณปี 2553 น้อยกว่างบประมาณปี 2552 บวกด้วยงบกลางปี ซึ่งถือเป็นปรากฏการณ์ครั้งแรกในการจัดทำงบประมาณแผ่นดินของประเทศ ส่งผลต่อวินัยการเงินการคลังของชาติ

ซึ่งประเด็นเหล่านี้ เริ่มมี "สัญญาณ" เสียงถามรัฐบาลมากขึ้น..ภายใต้เสียงเซ็งแซ่ถามหารูปธรรมผลงานของรัฐบาลในห้วง 6 เดือน โดยเฉพาะการคลี่คลายวิกฤติเศรษฐกิจของรัฐบาลแต่ยังไม่ทันที่ นายกฯอภิสิทธิ์ จะอธิบาย หรือกรรเชียงประวิงสถานการณ์ปัญหานี้ออกไป ก็มาเกิดเรื่องกับสถานการณ์ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ กรณียิงถล่มมัสยิด ที่ อ.เจาะไอร้อง ขึ้นมาซ้อนอีก ทั้งๆที่ นายกฯเตรียมจะลงพื้นที่ในเดือนกรกฎาคม หลังจากส่งทีม รองนายกฯความมั่นคง "สุเทพ เทือกสุบรรณ" รวมทั้ง แม่ทัพนายกองลงไปเคลียร์พื้นที่ก่อนหน้านี้

ปฏิบัติการก่อการร้ายอันสะเทือนใจชาวมุสลิม กรณีคนร้ายใช้อาวุธปืนสงครามยิงถล่มเข้าไปในมัสยิดอัลฟุรกอน อ.เจาะไอร้อง จ.นราธิวาส มีผู้เสียชีวิตถึง 11 ราย และบาดเจ็บขณะอยู่ในพิธีละหมาด (8มิ.ย.)รวมถึงเหตุการณ์คาร์บอมบ์ครั้งใหญ่ที่มีคนบาดเจ็บ 19 คน บ้านพังนับสิบหลัง (7มิ.ย.)ต่อเนื่องก่อนหน้าในห้วงสัปดาห์ที่ผ่านมา รวมถึงเหตุการณ์ล่าสุดกรณีคนร้ายปฏิบัติน่าสะเทือนใจไทยพุทธกับ การยิงหัวพระจนมรณภาพบาตรกระจายขณะออกบิณฑบาต(12มิ.ย.) คงไม่มีใครปฏิเสธว่า เป็นการก่อโศกนาฏกรรมสำคัญขั้นรุนแรงที่สุด ตั้งแต่เคยมีเหตุความสูญเสียจำนวนมากบริเวณมัสยิดกรือเซะ อ.เมือง จ.ปัตตานี และที่สถานีตำรวจภูธรตากใบ จ.นราธิวาส เมื่อปี 2547 เพราะเป็นการปฏิบัติการที่อุกอาจ ทารุณ โหดเหี้ยมกับประชาชน ยิงเด็ก ผู้หญิงและครูที่กำลังตั้งครรภ์ในศาสนสถานอันเป็นที่เคารพของชุมชน

สำหรับปฏิบัติการรับมือของรัฐบาล แม้จะได้มีการสั่งการให้ "พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา" ผบ.ทบ.ลงพื้นที่เพื่อดูแลจัดการสถานการณ์ พร้อมจัดงบประมาณเยียวยาชาวบ้านในเบื้องต้นพร้อมๆกับส่งท่าที "ประณาม" การกระทำของกลุ่มผู้ก่อการ แต่ก็ยังไม่มีหลักประกันในสถานการณ์ใดว่าจะไม่เกิดเหตุการณ์ขึ้นอีก

ยิ่งเมื่อมี "สัญญาณ" เสียงที่ดังเป็นคำถามจึงอื้ออึงขึ้นจากเรื่องนี้ เฉพาะยิ่ง ภาพของหน่วยงานความมั่นคง ซึ่งรับผิดชอบดูแลโดยตรง ทั้งตำรวจ-ทหาร ที่มิอาจปฏิเสธว่า อยู่ภายใต้ "กลุ่มอำนาจใหม่" 3 ป. "บิ๊กป้อม" "พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ" รมว.กลาโหม(ที่มีน้องชายคือ "พล.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ" ผบ.ตร.) , "บิ๊กป๊อก" "พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา"ผบ.ทบ.และ "พล.อ.ประยุทธ จันทร์โอชา"เสธ.ทบ. ที่ก็นับว่ามี "อิทธิพล" ต่อ "สุเทพ เทือกสุบรรณ" รองนายกฯผู้จัดการรัฐบาลไม่น้อยไปกว่า "เพื่อนเนวิน" ซึ่งทำให้รัฐบาลไม่กล้าที่จะไปสั่งอะไรมาก เพราะยังกรุ่นๆไม่หายจากเรื่องงบประมาณอาวุธของกองทัพที่มีการปรับลดลงอย่างมากด้วยกระแสสังคมก่อนหน้านี้ ที่เสียงอื้ออึงเหล่านี้น่าจะสร้างความลำบากใจให้กับพรรคประชาธิปัตย์ต่อไปไม่น้อยเช่นกัน

อย่าลืมว่า "ขุมอำนาจใหม่" สายนี้ถูกระบุว่า มี "บทบาท" สำคัญในการ "พลิกข้างสลับขั้ว"(ให้พรรคประชาธิปัตย์ ขึ้นมาเป็นรัฐบาล เฉกเช่น "ตัวแปร" อย่างกลุ่มเพื่อนเนวิน ที่ยอมทรยศ "นายใหญ่"หันมาให้การสนับสนุนซีกข้างรัฐบาลปัจจุบัน..นี่คือการเมือง..ที่ "สุเทพ" กับ "อภิสิทธิ์" ที่แยกบทกันเล่นเข้าใจแจ่มชัด

โดยเฉพาะในความเป็นจริงของชีวิต..ที่มิอาจปฏิเสธว่า ในความเป็น "พรรคประชาธิปัตย์"ที่มีฐานที่มั่นอยู่ภาคใต้นั้นถูกคาดหวัง ว่าจะจัดการกับปัญหา "สามจังหวัดชายแดนใต้"ได้ดีกว่ารัฐบาลไหนๆ

งานนี้ ทำให้หลายคนมีคำถามถึง พรรคประชาธิปัตย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนโยบายของพรรคที่ประกาศไว้เกี่ยวกับหนทางและกระบวนการในการแก้ปัญหาความไม่สงบภายในภาคใต้ ไม่ว่าจะเป็น 1.ตั้งองค์กรใหม่เพื่อรับผิดชอบภารกิจ "ดับไฟใต้" แบบบูรณาการ 2.ตั้งรองนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรี 1 คน รับผิดชอบปัญหาภาคใต้เป็นการเฉพาะ 3.ยุทธศาสตร์การเมืองนำการทหาร 4.ตั้งคณะกรรมการรัฐมนตรีพัฒนาพื้นที่พิเศษเฉพาะกิจ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือ "ครม.ชุดเล็กดับไฟใต้" นโยบายนี้นำมาใช้หลังเข้ามาบริหารประเทศเมื่อต้นปี 2552 แต่ประชุมแค่ครั้งเดียว และ 5.ทบทวนการใช้กฎหมายพิเศษในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเฉพาะพระราชกำหนดการบริหารราชการใน

สถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 หรือ "พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ" ที่บังคับใช้ในพื้นที่มานานร่วม 4 ปี นโยบายนี้ นายอภิสิทธิ์ ประกาศชัดเจนช่วงดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แต่ถึงวันนี้ก็ได้มีการต่ออายุ พ.ร.ก.แล้ว 2 หน

แต่ระยะเวลากว่า 5 เดือนที่ผ่านมา รัฐบาลประชาธิปัตย์ นโยบาย 5 ข้อเพื่อดับไฟใต้ นอกจากยังมิได้ดำเนินการใดๆ เป็นชิ้นเป็นอัน หรือเอาจริงเอาจังแล้ว ยังมาเกิดโศกนาฏกรรมมัสยิดเจาะไอร้อง(8มิ.ย.)ที่ ตอกย้ำฟ้องถึงความขาดพร่อง ไม่เอาไหนของรัฐบาลภายใต้การนำของพรรคประชาธิปัตย์ในประเด็นดังกล่าว ทั้งที่ควรจะถือเป็น "จุดเด่น" แต่กลับกลายเป็น "จุดด้อย"ในศักยภาพการบริหารประเทศไป..มิพักจะต้องไปเอ่ยถึงปัญหาของผู้คนในภูมิภาคอื่นๆ

และรวมถึงมหานครเมืองหลวงของ "คนชั้นกลาง" ที่ก็ชักแปร่งๆกับ อาการ กะพร่องกะแพ่ง ไร้รูปธรรมการจับต้องในเนื้องานนอกจากการแถลงสร้างความเชื่อมั่นแบบขอไปที กับ "สัญญาณเศรษฐกิจฟื้นตัว"ต่อภาคเอกชนหรือตัวแทนต่างประเทศ ทั้งๆที่ภาพความเป็นจริงฟ้องตรงหน้ากับ สภาพความเป็นอยู่ของผู้คนที่ตัวเลขการว่างงานตกงานยังคงสูงขึ้นเรื่อยๆ ยิ่งเมื่อมาเผชิญเคราะห์ซ้ำกรรมกระหน่ำอีกระลอกกับอาการตื่นกันทั้งเมืองกับโรคระบาด "ไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่ 2009"ที่กำลังระบาดอย่างหนักทั่วโลกโดยมีการยกระดับเป็น C (แพร่ระบาดร้ายแรง) ที่สั่นสะเทือนมาถึงประเทศไทย มีการปิดโรงเรียน 3 โรงรวมถึงโรงเรียนกวดวิชา ในกรุงเทพฯ หลังพบมีเด็กติดเชื้อโดยไม่ได้เดินทางกลับมาจากต่างประเทศ(10-11มิ.ย.)

ดังนั้น..ยิ่งภาพความมั่วซั่ววุ่นวายจากการแย่งชิงผลประโยชน์-อำนาจ เกิดขึ้นมากขึ้นเท่าไหร่(กรณีแบ่งเค้กงบจาก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน,รถเมล์NGV) อาจจะหลังจากข้อสรุป 1 เดือนนี้หรือก่อน ก็ยิ่งเหมือนกับทำให้ชาวบ้านทั้งคนสาม
จังหวัดชายแดนใต้ และคนตกงาน รวมถึงที่ประสบความหิวโหยคาดหวัง เอือมระอามากยิ่งขึ้นและพาลจะเสื่อมศรัทธากับพรรคร่วมรัฐบาล(ภูมิใจไทย)และพรรคประชาธิปัตย์ไปเรื่อยๆ

เฉพาะยิ่งที่น่าจะ "แสดงผล"ในปฏิกิริยาอะไรจากพรรคร่วมฯอย่างภูมิใจไทย ออกมาบ้าง..โดยควรต้องจับตากับการประชุมสภาสมัยวิสามัญของสภาเพื่อพิจารณา พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน และ พ.ร.บ.ให้อำนาจ
กระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อเสริมสร้างและฟื้นฟูเศรษฐกิจ รวมวงเงิน 8 แสนล้านบาท ( 15 มิ.ย.) ที่ "ฝ่ายค้าน" พยายามที่จะให้มีการถ่ายทอดสดการประชุม..ว่าจะกลายเป็นเวทีสำหรับ "จับผิด"การใช้งบประมาณ ที่ว่ากันว่า กรณีรถเมล์NGV 4,000 คันนั้น เป็นเพียงแค่ "ตัวหลอก"เพราะของจริงคือ งบประมาณมหาศาล ที่กระจายผ่านช่องทาง พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ไหลเข้ากระทรวงที่มี รัฐมนตรีจาก 2 พรรคใหญ่ อย่างประชาธิปัตย์และภูมิใจไทยดูแล ที่ประเด็นนี้กำลังถูกจับตาจาก ส.ว.สรรหา และฝ่ายค้าน แต่ก็ยังไม่มีหลักประกันว่า "การต่อรอง" ทางการเมืองที่มีอยู่ทุกขณะหายใจ จะทำให้น้ำหนักการตรวจสอบจากฝั่ง ส.ว.สรรหา ลดความหนักหน่วงลงไปหรือไม่ และก็ยังไม่มีหลักประกันว่า หาก

มีการ"เลือกเป้า"ข้ามไปโดยมุ่งเจาะจงจำเพาะ รัฐมนตรีจาก ภูมิใจไทยประมาณว่าใช้ดาบที่ยืมมากวัดแกว่งปรามหรือบลัฟทำลายความชอบธรรม รัฐมนตรีร่วมรัฐบาล โดยถ่ายทอดสดให้ประชาชนสังคมรับชมหรือไม่ และ ปฏิกิริยาในท่วงทำนอง "ทะลายเคลง"จากฝ่ายภูมิใจไทยที่กรุ่นๆจากทั้ง "เจ๊วา"ที่บอกว่า "ศรีชักจะทนไม่ได้" และรวมถึง "โสภณ" และใครต่อใคร จะเกิดขึ้นเพื่อเป็นการตอบโต้หรือไม่...

แต่จะยังไงก็ตาม บทสรุปถึงทีสุด ไม่ว่าหัวหรือก้อยรัฐบาลก็ต้องโดนทั้งขึ้นทั้งล่อง..เพราะที่ผ่านมา ทำให้สังคมเริ่มรู้สึก "รับไม่ได้"มากขึ้นเรื่อยๆกับวิธีการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า และสำคัญคือ การดำเนินการในนโยบายใด นอกเหนือจาก "หลักการ" ในทางการปฏิบัติกับปัญหานั้นๆแล้ว "ส่วนสำคัญ" ของการพิจารณา กลับต้องไปขึ้นอยู่กับ "ปัจจัยทางการเมือง" (พวกพ้อง-การต่อรอง)

อาการ "หนีไม่ออก"หันรีหันขวางไปทางไหนก็เต็มไปด้วย "กับดักการเมือง"ที่เต็มไปด้วย "ผลประโยชน์" "อำนาจการเมือง"การต่อรองพร้อมแตกหักประมาณ "จั่งซี่มันต้องถอน" ทุกวันๆ ของ "คนกันเอง" ที่ล้วนเป็นพวก "มีบุญคุณ" แบบนี้ ในท่ามกลางสถานการณ์ความเดือดร้อนทุกหย่อมหญ้าไม่เว้นภาคไหนทั้งเศรษฐกิจ ปากท้อง-ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินรวมถึงความสงบสุขจากภัยก่อการร้าย โรคระบาด ของชาวบ้าน ของ "รัฐบาลอภิสิทธิ์" และคณะ..จึงเป็นเสมือน "สัญญาณนับถอยหลัง"วันหมดอายุของรัฐบาลจากการติดเชื้อหวัด และจากผลแห่งชิ้นเค้กที่ถูกแบ่งกันท่ามกลางสายตากังขาจากประชาชนวงนอก ที่อาจกระชั้นเร็วขึ้นกว่าที่เป็น..

อันสอดรับกับที่ "เกจิการเมือง" ในพรรคร่วมรัฐบาลหลายวง รวมถึงฝ่ายค้าน วิเคราะห์กันเสียงดังๆ ว่า พวกเขาเริ่มนับถอยหลังวัน "ยุบสภา" ไม่เกิน 2 เดือนนี้และเตรียมแต่งเนื้อแต่งตัวหาเสบียงกรังสำหรับการเลือกตั้งใหญ่ครั้งต่อไปตั้งแต่วานซืนแล้ว.

//www.innnews.co.th/rose.php?nid=175863



Create Date : 15 มิถุนายน 2552
Last Update : 15 มิถุนายน 2552 17:02:58 น. 0 comments
Counter : 739 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สุริยาอัสดง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




เปิดโลกด้วยแสงแห่งปัญญา
Thaiflood
Friends' blogs
[Add สุริยาอัสดง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.