"ยมฺหิ สจฺจญฺจ ธมฺโม จ..........อหึสา สญฺญโม ทโม..........ส เว วนฺตมโล ธีโร..........โส เถโรติ ปวุจฺจติ" ส่วนผู้ใดมีสัจจะ มีธรรม มีอหิงสา มีสัญญมะ มีทมะ ผู้นั้นแลเป็นปราชญ์สลัดมนทินได้แล้ว เรียกได้ว่าเป็นผู้ใหญ่..พุทธศาสนสุภาษิต
ยินดีต้อนรับเข้าสู่บล็อกครับ...เปิดตัวเมื่อวันที่ 24/11/2552 ยังคงมีการปรับแต่งอยู่บ้างในบางจุด ดังนั้นหากเกิดความไม่สะดวกหรือเกิดข้อผิดพลาดอะไรขึ้นต้องขออภัยล่วงหน้าด้วยครับ และหากเป็นไปได้รบกวนแจ้งให้ผมทราบด้วย จะขอบคุณเป็นอย่างสูงครับ หากพบข้อผิดพลาดกรุณา คลิกที่นี่.
Group Blog
 
<<
มกราคม 2553
 
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
20 มกราคม 2553
 
All Blogs
 

ผู้ไม่ควรบรรลุธรรม และผู้ควรบรรลุธรรมเป็นอย่างไร

สีติวรรคที่ ๔
๑. สีติสูตร

[๓๕๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ
ย่อมเป็นผู้ไม่ควรเพื่อทำให้แจ้งซึ่งความเป็นผู้เย็นอย่างยิ่ง ธรรม ๖ ประการเป็น
ไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมไม่ข่มจิตในสมัยที่ควรข่ม ๑ ไม่ประคอง
จิตในสมัยที่ควรประคอง ๑ ไม่ยังจิตให้ร่าเริงในสมัยที่ควรให้ร่าเริง ๑ ไม่วาง
เฉยจิตในสมัยที่ควรวางเฉย ๑ เป็นผู้น้อมไปในธรรมเลว ๑ และเป็นผู้ยินดียิ่ง
ในสักกายะ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล
ย่อมเป็นผู้ไม่ควรเพื่อทำให้แจ้งซึ่งความเป็นผู้เย็นอย่างยิ่ง

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ ย่อมเป็นผู้
ควรเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งความเป็นผู้เย็นอย่างยิ่ง ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมข่มจิตในสมัยที่ควรข่ม ๑ ย่อมประคองจิตในสมัยที่ควร
ประคอง ๑ ย่อมยังจิตให้ร่าเริงในสมัยที่ควรให้ร่าเริง ๑ ย่อมวางเฉยจิตในสมัยที่
ควรวางเฉย ๑ เป็นผู้น้อมไปในธรรมประณีต ๑ และเป็นผู้ยินดียิ่งในนิพพาน ดูกร
ภิกษุทั้งหลายภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ควรกระทำให้
แจ้งซึ่งความเป็นผู้เย็นอย่างยิ่ง ฯ
จบสูตรที่ ๑
--------------------------

อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ทุติยปัณณาสก์ สีติวรรคที่ ๔
๑. สีติสูตร
สีติวรรคที่#- ๔
อรรถกถาสีติสูตรที่ ๑

พึงทราบวินิจฉัยในสีติสูตรที่ ๑ แห่งสีติวรรคที่ ๔ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า สีติภาวํ ได้แก่ ความเยือกเย็น.
ในบทว่า ยสฺมึ สมเย จิตฺตํ นิคฺคณฺหิตพฺพํ เป็นต้น มีอธิบายดังต่อไปนี้
ธรรมดาจิตควรข่มไว้ด้วยสมาธิ ในเวลาที่ฟุ้งซ่าน. ควรข่มด้วยความเพียร ในเวลาที่จิตตกไปตามโกสัชชะ (ความเกียจคร้าน). ควรให้ร่าเริงด้วยสมาธิ ในเวลาที่จิตขาดความแช่มชื่น. ควรเข้าไปเพ่งด้วยอุเบกขาสัมโพชฌงค์ ในเวลาที่จิตเป็นไปสม่ำเสมอ.
____________________________
#- อรรถกถาเป็นวรรคที่ ๙

จบอรรถกถาสีติสูตรที่ ๑

เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ บรรทัดที่ ๑๐๒๐๗ - ๑๐๒๒๓. หน้าที่ ๔๔๕.
//www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=22&A=10207&Z=10223&pagebreak=0

ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=356




 

Create Date : 20 มกราคม 2553
1 comments
Last Update : 20 มกราคม 2553 16:15:18 น.
Counter : 844 Pageviews.

 

ขอบคุณค่ะ ตอนนี้สภาวะจิตของจุฬาภินันท์อยู่ในภาวะควรข่ม และข่มได้ เข้าตามหลักในพระสูตรที่คุณยกมาเลยค่ะ

 

โดย: Chulapinan 20 มกราคม 2553 17:16:53 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


ศิรัสพล
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




จำนวนผู้เข้าชมบล็อก : คน
จำนวนผู้เข้าชมทั้งหมด : คน
Friends' blogs
[Add ศิรัสพล's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.