Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2554
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
3 พฤศจิกายน 2554
 
All Blogs
 

ผลการใช้อีเรเซอร์-วัน+พาร์ทเวย์ ไอพีพีฟื้นฟูยางเปลือกแห้งหรือยางหน้าตาย

จากการทดลองใช้ อีเรเซอร์-วัน+พาร์ทเวย์ ไอพีพี ฉีดพ่นต้นยางพาราที่มีอาการเปลือกแห้งในครั้งนี้ สวนยางคุณตาคลาย มาสวัสดิ์ ได้ รับการคัดเลือกเพื่อเป็นสวนทดสอบ โดยใช้ต้นยางที่มีอาการเปลือกแห้งทั้งหมด 21 ต้น (หน้ากรีดเป็นเปลือกแรกทั้งหมด) เริ่มการฉีดพ่นเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 52 โดยฉีดพ่นเพียง 11 ต้น (ต้นยางหน้าตายควรฉีดพ่นรอบต้นจากเหนือพื้นดิน-ที่ความสูงประมาณ 150 ซม.) ที่เหลืออีก 10 ต้น ไม่ฉีดพ่น เพื่อเป็นตัวเปรียบเทียบ หลังจากฉีดพ่นไปได้ 4 ครั้ง คนงาน(คุณผล)ได้ทดลองเปิดกรีดทั้งต้นที่ฉีดพ่นและไม่ฉีดพ่นเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 52 จนวันที่ 10 มีนาคม 52 ผมได้เข้าไปสอบถามข้อมูลพร้อมเก็บภาพถ่ายต้นยางที่ทดสอบ ผลปรากฎว่า

สำหรับยางหน้าตายต้องพ่นอีเรเซอร์-วัน+พาร์ทเวย์ให้รอบ ๆ ต้น

หากจะวิเคราะห์หรือสังเกตุผลการทดลองใช้ในครั้งนี้ ก็พบว่า สำหรับต้นยางที่น้ำยางหยุดไหลไป 4 ต้น เป็นต้นที่กรีดต่อจากรอยกรีดดั้งเดิมทั้งสิ้น แต่อีก 7 ต้นที่ได้ผล จะเป็นรอยกรีดที่เพิ่งเปิดกรีดใหม่ หรือเป็นรอยกรีดที่เปิดกรีดมาก่อนแต่ไม่นานมากนัก สิ่งที่ควรติดตามต่อไปก็คือ หากทำการฉีดพ่นสารต่อไป(ต้นที่มีอาการเปลือกแห้งอาจจะฉีดพ่น 5 วันต่อครั้ง และต้นปกติอาจจะฉีดพ่น 10 วันต่อครั้ง) 7 ต้นที่กล่าวมาจะได้ผลยาวนานแค่ไหน และ 4 ต้นที่หยุดไหลไป หากเปลี่ยนหน้ากรีด จะได้ผลเป็นอย่างไร หากไม่ได้ผล จำเป็นต้องใช้ Latek-100 (ผลิตภัณฑ์ที่ออกมาใหม่-ช่วยกระตุ้นให้ต้นยางสร้างเซลท่อน้ำยางได้เร็วขึ้น มากขึ้น)หรือไม่ และ Latek-100 จะช่วยได้ไหม ก็คงต้องติดตามผลกันในโอกาสต่อไปหลังจากใบยางแก่และเปิดกรีดฤดูใหม่

หมายเหตุ: สาเหตุของการเกิดอาการเปลือกแห้งของต้นยางพารา ยังไม่อาจสรุปได้แน่ชัด แต่พบว่าในปัจจุบันนี้ อาการเปลือกแห้งของต้นยางเกิดมากขึ้นจนค่อนข้างผิดสังเกตุ มีเจ้าของสวนยางจำนวนไม่น้อยที่สะท้อนความจริงเรื่องนี้จากคำพูดหรือคำถาม เชิงกังวล เช่น “ไม่รู้ว่าใช้ปุ๋ยผิดสูตรหรืออย่างไร ทำไมจึงมีต้นยางหน้าตายมากขึ้น?” หรือ “ฉันทำอะไรผิดพลาดหรือเปล่า ทำไมยางหน้าตายจึงมีมากยางหน้าตายบางต้นเปลือกไม่กระเทาะ(แต่เปลือกจะหนามาก)ขึ้น?” หากสังเกตุด้วยสายตา ต้นยางที่ออกอาการหน้าตายจะมี 2 ลักษณะคือ ยางหน้าตายแบบที่มีเปลือกปริออกมาเนื่องจากต้นยางได้สร้างเปลือกใหม่และดัน เปลือกเดิมออกมา แบบนี้น่าจะพอมีทางแก้ไขได้ เนื่องจากเป็นเปลือกงอกใหม่ที่สดและมีชีวิต กับยางหน้าตายแบบที่เปลือกปกติ(ไม่ปริ-เพราะต้นยางไม่ได้สร้างเปลือกใหม่) แบบนี้บางต้นเปลือกยางยังเป็นปกติ แต่บางต้นเนื้อเยื่อของเปลือกได้ตายกลายเป็นไม้ที่แห้ง(มองเห็นเป็นสีคล้ำ ๆ)รุกลามเข้าใก้ลเนื้อเยื่อเจริญ แบบนี้คงต้องใช้เวลามากว่าหรือไม่ก็ลองเปลี่ยนหน้ากรีดไปที่ตำแหน่งอื่น

แต่จะอย่างไรก็ตาม ในทรรศนะของผม คิดว่าการใช้ อีเรเซอร์-วัน,พาร์ทเวย์ ไอพีพี ฉีดพ่นหน้ายาง แม้จะไม่ช่วยต้นยางที่หน้าตายได้เลย ก็ยังถือว่าคุ้มค่า แต่การสามารถฟื้นหน้ายางให้กลับมากรีดได้ใหม่แม้เพียง 50-60 % ก็ถือว่าสุดคุ้ม แต่หากตั้งใจฉีดพ่นดี ๆ อย่างสม่ำเสมอ และยอมให้เวลากับต้นยางหน้าตายบางต้นบ้าง คิดว่าน่าจะได้ผลสูงถึงร้อยละ 80-90 ก็เป็นได้

ผลการทดลองเพิ่มเติม

ต้นยางหน้าตายที่ไม่ได้ฉีดพ่นอีเรเซอร์-วัน+พาร์ทเวย์ ไอพีพีวัน ที่ 18 มีนาคม 2552 หรือหลังจากเปิดกรีดมาแล้ว 16 วัน พบว่าต้นยางหน้าตายที่ไม่ได้ฉีดพ่นอีเรเซอร์-วัน,พาร์ทเวย์ ไอพีพี หน้ายางและในถ้วยยางแห้งสนิทไม่มีน้ำยางให้เห็นได้เลย ส่วนต้นยางหน้าตายที่ทำการฉีดพ่นอีเรเซอร์-วัน,พาร์ทเวย์ ไอพีพี มีน้ำยางออกจนทำให้แววตาและใบหน้ายิ้มได้ กล่าวคือ บางต้นออกเหมือนยางปกติ บางต้นกลับออกมากกว่า แต่ต้นที่น้ำยางออกน้อยก็ยังมีเช่นกัน สังเกตุได้ว่าน้ำยางจะค่อย ๆ ออกเพิ่มมากกว่าวันก่อน ๆ

สำหรับ 4 ต้นที่ยังไม่ออก ก็ได้ทดลองหาตำแหน่งเปิดกรีดใหม่ 3 ต้น ปรากฎว่า 2 ต้นมีน้ำยางออกในเกณฑ์ที่น่าพอใจ อีกหนึ่งต้นก็ยังไม่ออก และอีก 1 ต้นที่ไม่ได้เปลี่ยนตำแหน่งกรีดก็ยังเฉยเหมือนเดิม

วันที่ 29 มีนาคม 2552 หรือหลังจากเปิดกรีดมาแล้ว 27 วัน(ดูภาพผลการทดลอง) พบ ว่าต้นยางหน้าตายที่ไม่ได้ฉีดพ่นอีเรเซอร์-วัน,พาร์ทเวย์ ไอพีพี คนงานได้เปลี่ยนหน้ากรีดใหม่ แต่ก็ปรากฎร่องรอยน้ำยางในรอยกรีดเล็กน้อย น้ำยางออกน้อยจนไม่สามารถใหลลงสู่ถ้วยยางได้ ส่วนต้นยางหน้าตายที่ทำการฉีดพ่นอีเรเซอร์-วัน,พาร์ทเวย์ ไอพีพี มีน้ำยางออกมาก ดูแล้วมากกว่าเดิมทุกต้น สำหรับ 2 ต้นที่ยังไม่ออก ก็ยังคงไม่ออกเหมือนเดิม

น้ำยาง 1.65 ลิตรจากยางหน้าตาย 11 ต้นผม ขอช่วยให้คนงานเก็บรวบรวมน้ำยางจากต้นยางหน้าตายที่ได้ทำการฉีดพ่นฯทั้งหมด จำนวน 9 ต้น และที่ฉีดพ่นเพิ่มเติมในระยะหลังอีก 2 ต้น รวมทั้งสิ้น 11 ต้น ปรากฏว่าเมื่อเทน้ำยางจากถังเก็บมาสู่ถังตวง คนงานถึงกับตื่นเต้นและตกใจที่พบว่าได้น้ำยางมากถึงประมาณ 1.65 ลิตร

เมื่อสังเกตุและเทียบผลผลิตดูจากวันที่ 2 มี.ค.-29 มี.ค. 2552 พบว่าต้นที่น้ำยางออกมากก็จะ ยังคงออกมากสม่ำเสมอ และต้นที่วันก่อน ๆ น้ำยางออกน้อย ก็จะค่อย ๆ ออกมากขึ้นให้วันหลัง ๆ ทั้ง ๆ ที่เป็นการกรีดผ่าหน้าแล้ง(น้ำยางควรจะลดน้อยลง) เมื่อผลเป็นดังนี้ ก็ทำให้ฉุกคิดขึ้นมาว่า ยาง หน้าตาย แม้จะทายางเร่งก็ไม่สามารถทำให้น้ำยางออกมาได้ ยางหน้าตาย แม้จะอัดแก๊สเร่งน้ำยาง ก็ไม่สามารถทำให้น้ำยางออกมาได้ แต่ อีเรเซอร์-วัน + พาร์ทเวย์ ไอพีพี ทำให้น้ำยางออกมาได้ในลักษณะของการบำรุงต้นยางอีกต่างหาก หากไม่เรียกว่า “น่าทึ่ง” หรือไม่เรียกว่า “มหัศจรรย์” แล้วจะเรียกว่าอย่างไร??

==========




 

Create Date : 03 พฤศจิกายน 2554
0 comments
Last Update : 3 พฤศจิกายน 2554 2:01:01 น.
Counter : 694 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


savingonsale
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add savingonsale's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.