Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2554
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
4 พฤศจิกายน 2554
 
All Blogs
 
ผลการใส่ปุ๋ยยางพาราปลายฝนหรือหลังยางผลัดใบ

ช่วง นี้ สวนยางพาราทางภาคเหนือ, ตะวันออกเฉียงเหนือ และ ภาคกลาง คงผลัดใบเหลือแต่กิ่งก้านไปเรียบร้อยแล้ว สำหรับทางภาคใต้ ก็เพิ่งผ่านหน้าฝนมาได้ไม่นานนัก(9 ม.ค. 52) ชีวิตชาวสวนยางพาราทางใต้ช่วงนี้ก็เต็มไปด้วยภาระกิจนับตั้งแต่การตื่นนอน ตอนดึก ๆ เพื่อเข้าสวนกรีดยาง หยุดหายใจนิดหนึ่ง พอเช้า ๆ ราว ๆ ก่อนสาย ก็เก็บน้ำยาง กว่าจะได้ขายก็ราว ๆ 10 โมง หลังจากได้พักผ่อนเพื่อชดเชยเวลานอนบ้างแล้ว การกำจัดวัชพืชและใส่ปุ๋ยบำรุงต้นยางพาราปลายฤดูฝน เป็นภาระกิจสำคัญที่รออยู่ด้วยเวลาที่จำกัดก่อนเข้าหน้าแล้ง

สวนยางพาราก่อนเข้าหน้าแล้งการกำจัดวัชพืชในสวนยางพาราที่อายุยังน้อย(1-3 ปี) ในช่วงก่อนเข้าหน้าแล้งก็ควรถากรอบ ๆ และคลุมโคนต้นยาง หากสามารถราดหรือรดน้ำหมักชีวภาพผ่าน วัสดุที่คลุมโคนด้วยก็จะเป็นการดีมาก ๆ สำหรับระหว่างต้นและระหว่างแถวต้นยางก็อาจใช้การหวดหรือตัดด้วย เครื่องยนต์ขนาดเล็กโดยไม่จำเป็นต้องตัดชิดติดดินมากนัก แต่ควรเหลือเพื่อให้เป็นสิ่งปกคลุมดินไว้บ้าง เพื่อรักษาอุณหภูมิและความชื้นทั้งใต้ผิวดินและเหนือพื้นดิน สำหรับสวนยางพาราระยะให้ผลผลิตแล้ว การมีพืชปกคลุมผิวดินไว้บ้าง(ไม่ใช่รกจนท่วมศรีษะนะครับ)ก็ยังทำให้ผลผลิต น้ำยางมีมากกว่าสวนที่โล่งเตียนอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากมีความชื้นในสวนยางมากกว่านั่นเอง

สำหรับการใส่ปุ๋ยบำรุง หากเป็นต้นยางที่จะต้องผลัดใบแต่อายุยังไม่ถึงเกณฑ์ให้ผลผลิต( 4-6 ปี) การใส่ปุ๋ยปลายฤดูฝนก่อนยางผลัดใบ จะทำให้ต้นยางมีอาหารทั้งในลำต้นและในดินพร้อม เมื่อยางผลัดใบ-ผลิใบใหม่ ใบยางก็จะมีการเจริญเติบโตกลายเป็นใบเพสลาดหรือใบแก่ที่รวดเร็ว หากมีโรคราแป้งหรือโรคใบร่วงจากเชื้อราออยเดียม ระบาดในช่วงนั้น ต้นยางเหล่านั้นก็อาจจะรอดพ้นได้เนื่องจากพ้นระยะใบอ่อนไปก่อนแล้ว ทำให้ไม่ต้องเจอกับภาวะที่เป็น "ใบร่วงครั้งที่ 2" ซึ่งการผลิใบรอบสองจะช้าและกินเวลามากพอควร ส่งผลให้การเจริญเติบโตก็ชะงักไปด้วย

สวนยางพาราที่ไม่มีสิ่งปกคลุมดินแม้ จะเป็นต้นยางพาราในระยะให้ผลผลิต การใส่ปุ๋ยตามที่กล่าวข้างต้นก็น่าจะได้ผลดีหากต้องเสี่ยงกับโรคที่ว่า แต่หากไม่มีการระบาดของโรคดังกล่าว ชาวสวนยางพาราส่วนหนึ่งก็มักจะใส่ปุ๋ยหลังจากต้นยางผลัดใบและใบเพสลาดหรือใบ แก่เรียบร้อยแล้ว เนื่องจากว่าไม่ต้องการให้ต้นยางนำอาหารไปสร้างใบ การรอให้ใบแก่ก่อนแล้วใส่ปุ๋ยในกรณีนี้ก็หมายความว่าธาตุอาหารจากปุ๋ยทั้ง หมดจะถูกนำไปสร้างเป็นผลผลิตน้ำยางอย่างเดียว แต่เนื่องจากการสร้างน้ำยางจะต้องเริ่มจากใบ ใบที่สมบูรณ์ก็ย่อมทำให้ได้รับผลผลิตน้ำยางมากตามไปด้วย ดังนั้น ปุ๋ยจำนวน 1 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี ที่จะใส่ให้กับสวนยางพาราที่กำลังให้ผลผลิตอยู่ก็ควรแบ่งเป็น 2 ส่วน ครึ่งหนึ่งใส่ปลายฤดูฝนก่อนยางผลัดใบ และอีกครึ่งหนึ่งใส่หลังจากใบแก่แล้วซึ่งก็คือต้นฤดูฝน นั่นเอง

====================


Create Date : 04 พฤศจิกายน 2554
Last Update : 4 พฤศจิกายน 2554 1:14:38 น. 1 comments
Counter : 1742 Pageviews.

 
ความรู้........



โดย: maramba1 วันที่: 4 พฤศจิกายน 2554 เวลา:2:20:36 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

savingonsale
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add savingonsale's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.