Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2551
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
 
16 มิถุนายน 2551
 
All Blogs
 
รวบรวมความเป็นมาของ "แม่ตะมาน" และ "เมืองกึ๊ด"

     ประเด็นพื้นที่สวรรคตนับว่าเป็นประเด็นหนึ่งที่ท้าทายต่อการศึกษาประวัติศาสตร์ของชาติไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งพงศาวดารที่ชำระในสมัยกรุงศรีอยุธยา
พ.ศ.๒๒๒๓ในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ซึ่งอาศัยหลักฐานต้นฉบับหรือ archive-based เช่นปูมโหร บันทึกการเดินทัพ หรือคำกราบบังคมทูลรายงานฯซึ่งหลักฐานต้นฉบับเหล่านั้น ยังไม่ถูกพม่าเผา(พม่าเผากรุงศรีอยุธยา ในปี พ.ศ.๒๓๑๐ ดังนั้นพงศาวดารกรุงศรีอุธยาฉบับนี้ จึงมีความเที่ยงตรงและความแม่นยำสูง ทั้งเหตุการณ์และระบุปีศักราชที่เกิดเหตุการณ์นั้น จนเป็นที่ยอมรับของนักประวัติศาสตร์ รวมทั้งกำหนดให้เป็น "ฉบับหลัก"ที่ใช้ในการตรวจสอบพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับอื่นๆ

     พงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับสมเด็จพระนารายณ์มหาราชนี้ (หรืออีกชื่อหนึ่งเรียกว่าฉบับ"หลวงประเสริฐอักษรนิติ) ได้บันทึกพื้นที่สวรรคตของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชว่า...

     " เมืองหลวง " ท้องที่ตำบล "ทุ่งดอนแก้ว"
ซึ่งยังไม่ทราบว่า "เมืองหลวง" นั้น ในปัจจุบันนี้ ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ประเทศไทย หรือประเทศพม่า? เราจะเดินทางขึ้นเหนือไปชายแดนไทย ณ จังหวัดเชียงใหม่ตลอดจนพื้นที่ประเทศพม่าที่มีดินแดนติดต่อกันจนถึงแม่น้ำสาละวิน เพื่อสำรวจเืมืองโบราณที่ตั้งอยู่ตามลุ่มน้ำสายสำคัญที่เชียงใหม่ใช้เป็นเส้นทางติดต่อกับ "เมืองนาย" ในประเทศพม่าเมื่อครั้งสมัยราชวงศ์มังราย(พ.ศ.๑๘๓๙-๒๑๐๑) รวมทั้งสมัยพระเจ้าบุเรงนองและรัชทายาทปกครองเมืองเชียงใหม่(พ.ศ.๒๑๐๑-๒๓๑๗) ซึ่งพบว่าีเส้นทางออกจากเมืองเชียงใหม่ไปยังเมืองนาย(พม่า)มีอยู่ ๒ เส้นทางตามสายน้ำสำคัญคือ

๑.เส้นทางตามสายน้ำแม่แตง(จุดสีเหลือง)
๒.เส้นทางตามสายน้ำแม่ปิง(จุดสีน้ำเงิน)


เส้นทางตามสายน้ำแม่แตง จากเชียงใหม่จนถึงแม่น้ำสาละวิน จะมีเมืองโบราณตามรายทาง๔ เมืองดังนี้

๑.เมืองกื้ด(ต.กื้ดช้าง อ.แม่แตง)
๒.เมืองคอง(ต.เมืองคอง อ.เชียงดาว)
๓.เมืองแหง(อ.เวียงแหง)

๔.เมืองทา(พม่า)เมืองกื้ด


เมืองคอง


เมืองแหง


เมืองทา


เส้นทางตามสายน้ำแม่ปิง จากเชียงใหม่จนถึงแม่น้ำสาละวิน จะมีเมืองโบราณตามรายทาง๕ เมืองดังนี้
๑.เมืองแกน(ต.เมืองแกน อ.แม่แตง)
๒.เมืองเชียงดาว(อ.เชียงดาว)
๓.เมืองงาย(ต.เมืองงาย อ.เชียงดาว)
๔.เมืองหาง(Wan Hangna พม่า)
๕.เมืองต่วน(Ton พม่า)


     เมืองหาง(พม่า) โปรดสังเกต มีพื้นที่ทำนาน้อย(สีเหลืองแกมขาว)

     เมื่่อพิเคราะห์ปูมประวัติ สภาพภูมิศาสตร์ พื้นที่ ระยะทางแล้วเมืองที่ตั้งอยู่ตามเส้นทางสายน้ำแม่แตงที่โดดเด่นที่สุด ได้แก่เมืองแหง(อ.เวียงแหง ประเทศไทย) เพราะมีประวัติศาสตร์ เรื่องราวที่สำัคัญและโดดเด่นตั้งแต่ช่วงสมัยอยุธยาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น(รัชกาลที่ ๑ ถึงรัชกาลที่ ๕) และตลอดมาจนถึงสมัยปัจจุบัน รวมทั้งมีพื้นที่กว้างขวาง ทั้งพื้นที่ทำกินและพื้นที่อยู่อาศัยปัจจุบันมีประชากรประมาณ ๓๐,๐๐๐ คน ตลอดจนมีแหล่งน้ำที่สมบูรณ์ ประการสำคัญเมืองนี้ ตั้งอยู่กึ่งกลางของเส้นทางระหว่างเมืองเชียงใหม่ กับเมืองนาย(พม่า)

     กล่าวโดยสรุปเมืองที่เป็นตัวแทนของประเทศไทย คือ "เมืองแหง(อ.เวียงแหง เชียงใหม่)
ส่วนเส้นทางสายน้ำปิงนั้นเมื่อพิเคราะห์เมืองต่างๆตามรายทางทั้งสภาพภูมิศาสตร์ ระยะทาง และประวัติศาสตร์ืแล้วเมืองที่โดดเด่นและเป็นตัวแทนของประทศพม่า ได้แก่ "เมืองหาง"ซึ่งมีความโดดเ่ด่นในช่วงสมัย รัชกาลที่ ๑ ถึงรัชกาลที่ ๕


1.คำบอกเล่าของ"หนุ่มศึกหาญ"ในขบวนการกู้ชาติไทใหญ่ในยุค พ.ศ. 2500

2.ข้อสันนิษฐานของกองอาสารักษาดินแดนพ.ศ.2498

3.ข้อสันนิษฐานประมาณ พ.ศ..2460 คำบอกเล่าของ"หนุ่มศึกหาญ"ในขบวนการกู้ชาติไทใหญ่ในยุค พ.ศ. 2500

     อาณาจักรไทใหญ่ กับอาณาจักรล้านนา มีความสัมพันธ์ กันมาแต่ช้านานเนื่องจากมีดินแดนติดต่อกัน อีกทั้งภาษาพูดก็ใกล้เคียงกัน มีการแลกเปลี่ยนผสมผสานทางวัฒนธรรมอย่างไม่ขาดสายและเริ่มชัดเจนยิ่งขึ้นในสมัยราชวงศ์มังราย โดยพญามังรายมหาราชแห่งอาณาจักรล้านนา ทรงส่งราชโอรส พระนาม

     "ขุนเครือ"ไปปกครอง"เมืองนาย"ซึ่งเป็นเมืองสำคัญบางสมัยเป็นราชธานีของอาณาจักรไทใหญ่ บางยุคสมัยอาณาจักรไทใหญ่โดดเด่นสามารถต้านทานมหาอำนาจจักรพรรดิ์จีน พม่า ล้านนา คงความอิสระท่ามกลางมหาอำนาจที่รายล้อม

     กาลต่อมาต้องตกอยู่ภายใต้มหาอำนาจล่าอาณานิคม เช่น อังกฤษ ขบวนการกอบกู้เอกราชปลดแอกจากชาติตะวันตกจึงเกิดขึ้น และได้รับเอกราชในที่สุด

     หนุ่มศึกหาญ.ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2501 โดยได้นำเอาวีรกรรมของ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ไปเป็นเยี่ยงอย่างในการทำงาน มีการสร้างเหรียญบูชาสมเด็จพระนเรศวรฯ มีการตามหาพระธาตุเจดีย์ฯ.มีการสันนิษฐานระบุสถานที่ตั้งพระธาตุเจดีย์ฯ ..จากงานวิจัยของวันดี สันติวุฒิเมธีในวิทยานิพนธ์ของคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปี พ.ศ.2545 เรื่อง "กระบวนการสร้างอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ของชาวไทใหญ่ชายแดนไทยพม่า กรณีศึกษา : หมู่บ้านเปียงหลวง อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่"เกี่ยวกับกระบวนการสร้างความเป็นปึกแผ่นของ"หนุ่มศึกหาญ"มีด้วยกันหลายประการ

     และหลักเอกในนั้นก็คือยึดเอาองค์"สมเด็จพระนเรศวรมหาราช"เป็นองค์สำคัญโดยครั้งนั้น "ผู้นำหนุ่มศึกหาญ"กับจอมพลสฤษดิ์ ธนรัชต์ นายกรัฐมนตรีของไทยและผู้บัญชาการทหารสูงสุดร่วมกันสร้างเหรียญบูชาสมเด็จพระนเรศวรมหาราช จำนวน 1,000 เหรียญและมอบให้กับสมาชิกกลุ่ม ทั้งนี้เพื่อซึมซับน้อมนำใจศรัทธาในพระบารมี และพระบรมเดชานุภาพของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ช่วยรักษา ปกป้อง คุ้มครองภัยในการปฏิบัติภารกิจใหญ่ ที่เป็นอันตรายและมากด้วยศาสตราวุธนานาชนิด กล่าวกันว่าพระบารมี ของพระองค์ปกป้องคุ้มครองให้พ้นจากคมกระสุนของผ่ายตรงข้ามได้อย่างปาฏิหาริย์ เหตุการณ์นี้บังเกิดความอัศจรรย์ใจ และเพิ่มพลังศรัทธา พลังใจแก่กลุ่มสมาชิกยิ่งนัก
ข้อสันนิษฐานของกองอาสารักษาดินแดนพ.ศ.2498
เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2498 มีหนังสือพิมพ์ไทยฉบับหนึ่ง ลงข่าวว่า ..

     "...ในการ ตระเวณชายแดน ฤดูแล้งนี้ กองอาสารักษาดินแดน ร่วมกับกองทหารพม่า พบเจดีย์ีร้างอยู่ในป่า โดยไม่มีวัด ใต้เมืองหาง 8 กม. ห่างแม่น้ำหางไม่ถึง 1 กม. ไกลจากแม่น้ำยูน 20 กม.เจ้าหน้าที่กองอาสารักษาดินแดนไทยสันนิษฐานว่า เป็นเจดีย์บรรจุอัฐิสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และกระทรวงมหาดไทยได้แจ้งให้กรมศิลปากรไปตรวจสอบ แต่ปีนั้นกรมศิลปากรไม่ได้ส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบ เนื่องจากในขณะนั้นอยู่ในช่วงฤดูฝน และฝนตกชุก.. (ที่มา: บทความของนายตรี อมาตยกุล)

ปี พ.ศ. ๒๔๙๙ กรมศิลปากรยังไม่ได้ส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบ
ปี พ.ศ.๒๕๐๐ กรมศิลปากรยังไม่ได้ส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบ
ปี พ.ศ. ๒๕๐๐ พม่าไม่ได้ปฏิบัติตามสัญญาปางหลวง ที่ครบกำหนด ๑๐ ปี จะให้อธิปไตยแก่ชนกลุ่มน้อย(ครบกำหนด ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๐)
ปี พ.ศ. ๒๕๐๑ ในวันที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๐๑ สถาปนากองกำลังกู้ชาติไทใหญ่"หนุ่มศึกหาญ"ซึ่งมีเจ้าน้อยซอหยั่นต๊ะเป็นผู้นำกลุ่ม ได้มาตั้งกองกำลังตามแนวชายแดนไทย ตั้งแต่ อ.แม่สาย อ.แม่ฟ้าหลวงจ.เชียงรายอ.แม่อาย อ.ฝาง อ.ไชยปราการอ.เชียงดาว อ.เวียงแหง จ.เชียงใหม่ อ.ปาย อ.ปางมะผ้า อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอนโดยมีเขตอิทธิพลครอบคลุมพื้นที่ฝั่งตะวันออกของแม่นำ้สาละวิน และมี"หมู่บ้านปางใหม่สูง"ฝั่งตรงกันข้ามหมู่บ้านเปียงหลวง ชายแดน อ.เวียงแหง เชียงใหม่ เป็นศูนย์บัญชาการกองกำลังกู้ชาติไทยใหญ่ รวมทั้งเริ่มมีการปะทะกองทหารพม่าทั่วทั้งรัฐฉาน

     พ.ศ.2501 จอมพลสฤษดิ์ ธนรัชต์ เดินทางมาตรวจราชการชายแดนพื้นที่ อ.เวียงแหง จ.เชียงใหม่ได้แนะนำวีรกรรมที่เด็ดเดี่ยวกล้าหาญของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ให้ผู้นำกลุ่มกู้ชาติไทยใหญ่ เทิดเกล้าฯไว้เป็นเยี่ยงอย่างในการกอบกู้แผ่นดิน ต่อมาเจ้าน้อยซอ หยั่นต๊ะ และจอมพลสฤษดิ์ ได้ร่วมกันสร้างเหรียญบูชาสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ด้านหน้าเป็นพระรูปสมเด็จพระนเรศวร ฯด้านหลังเป็นตัวอักษรไทใหญ่ (รุ่นแรก พ.ศ.2501)

     พ.ศ.2501 กรมศิลปากรยังไม่ได้ส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบเจดีย์ (ที่มา: บทความของนายตรี อมาตยกุล)
ประมาณ พ.ศ.2501 เจดีย์ได้ถูกระเบิดทำลายไป อิฐหัก กากปูนถูกเก็บกวาดลงไปทิ้ง ในแม่น้ำหางไปหมดสิ้น ไม่มีทรากเหลืออยู่บนพื้นดินเลย (ที่มา: บทความของนายตรี อมาตยกุล)

พ.ศ.2515นายตรี อมาตยกุล เขียนบทความว่า ..ก่อนปี2515มีป้ายภาษาพม่าติดไว้ ที่ต้นไม้ใหญ่ข้างเจดีย์เมืองหาง(ในพม่า) ว่า “ เชโยเดียตั้ดมุโอ้กกุ พระนาเรศวร” ซึ่งเจ้าหน้าที่สถานฑูตพม่าแปลให้ฟังว่า “สถานที่ก่ออิฐบรรจุอัฐิแม่ทัพไทยสมัยโบราณ พระนเรศวร"

ประเด็นการวิเคราะห์เจดีย์ที่เมืองหาง

๑. เกิดจากการสันนิษฐาน ของกองอาสารักษาดินแดนไทย เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๘ ซึ่งยังไม่ได้มีการตรวจสอบ และยังไม่มีการรับรอง จากกรมศิลปากรจากปีนั้นถึงปีปัจจุบัน

๒. ย้อนลึกเข้าไปในอดีต คือ พ.ศ.๒๔๘๕ ตามรายงานของกองพันทหารราบที่ ๑๓ กรมทหารราบที่ ๕ ซึ่งไปตั้งค่าย ณ เมืองหาง ไม่พบเจดีย์สมเด็จพระนเรศวรฯและไม่มีป้ายภาษาพม่าติดต้นไม้ใหญ่ข้างเจดีย์

๓. ย้อนลึกเข้าไปในอดีตครั้งสมัยรัชกาลที่ ๕ คือ
พ.ศ.๒๔๓๒ ก็ไม่พบเจดีย์สมเด็จพระนเรศวรฯตามรายงานการสำรวจพระราชอาณาเขตหัวเมืองเงี้ยวทั้ง ๕ (คือเมืองหาง เมืองทา เมืองจ้อด เมืองต่วนและเมืองสาด)ของพระยาประชากิจกรจักร (แช่ม บุนนาค) โดยได้บันทึกว่า ...บรรดาสิ่งสำคัญแต่โบราณทั้งหลายนี้กับนามผู้สร้าง ที่มีปรากฎ ก็เป็นอย่างและฝีมือ ไทยลาว(ไทยล้านนา)ทั้งสิ้น ....(ไม่มีศิลปแบบสมัยอยุธยาแม้แต่ชิ้นเดียว)

๔. เจดีย์ที่เมืองหาง ถูกสืบสานต่อ และลงรากลึก เพื่อเป็นกุศโลบายในการระดมสรรพกำลังกู้ชาติไทใหญ่ของกองกำลัง"หนุ่มศึกหาญ"ในสมัย จอมพลสฤษดิ์ ธนรัชต์ นายกรัฐมนตรีและผู้บัญชาการทหารสูงสุด กับเจ้าน้อยซอหยั่นต๊ะ หัวหน้ากองกำลังหนุมศึกหาญ โดยในยุคนั้นไทยดำเนินยุทธศาสตร์การทหาร : Buffer state.

ที่มา //www.naresuanthai.com

งานวิจัยเส้นทางเดินทัพ

*************

ชื่อโครงการวิจัย : การศึกษาเส้นทางเดินทัพและค้าขายสมัยโบราณ เชียงใหม่-เมืองกื้ด-เมืองคอง-เมืองแหง-เมืองนาย(พม่า)

วัตถุประสงค์

เพื่อศึกษาหาร่องรอยหลักฐานของเส้นทางการเดินทัพ และการค้าขายสมัยโบราณ

พื้นที่วิจัย

ลุ่มน้ำแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ระยะทางประมาณ ๑๓๕ กิโลเมตร ในพื้นที่บางส่วนของ อ.แม่แตง อ.เชียงดาว อ.เวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่

หน่วยงานสนับสนุนการวิจัย

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
หัวหน้าโครงการวิจัย

ชัยยง ไชยศรี
อำนวยการวิจัยโดย

มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่


**** บทคัดย่อ ****

     การวิจัย เรื่อง “การศึกษาเส้นทางเดินทัพและค้าขายสมัยโบราณ: เชียงใหม่ เมืองกื้ด เมืองคอง เมืองแหง เมืองนาย (พม่า)

เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาร่องรอย หลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการสงครามและการค้าขายสมัยโบราณ ช่วงระยะเวลาตั้งแต่ พ.ศ.๒๑๐๑ -๒๔๘๖ ในพื้นที่ลุ่มน้ำแม่แตง ระยะทางประมาณ ๑๓๕ กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลเปียงหลวง ตำบลแสนไห และตำบลเมืองแหง อำเภอเวียงแหง ตำบลเมืองคอง อำเภอเชียงดาว ตำบลกื้ดช้าง ตำบลบ้านช้าง และตำบลขี้เหล็ก อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ การศึกษาเอกสาร การเดินสำรวจภาคสนาม การสังเกต และการสัมภาษณ์ ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้

๑. พบร่องรอย หลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการสงครามตั้งแต่สมัยพม่าปกครองเมืองเชียงใหม่ ถึงสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ ดังนี้ ที่ตั้งวัดร่ำเปิง(ร้าง)และที่ตั้งวัดแม่ขะจาน(เดิม)ซึ่งถูกกองทัพพม่าจุดไฟเผา บริเวณที่ตั้งค่ายทหารพม่า ห้วยกุ๊บกั๊บ ห้วยม่านลอย หอก ดาบโบราณ ผาตั๊พม่าน พระพุทธรูปศิลปะเชียงแสนสิงห์หนึ่งที่ชาวเมืองแหงนำไปฝังดินเพื่อหลบซ่อนทหารพม่า พระมาลาที่ชาวบ้านเชื่อว่าเป็นพระมาลาของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช บ่อน้ำช้างศึก ทุ่งดอนแก้ว พระธาตุแสนไห บ้านช้าง บ้านเมืองกื้ด บ้านน้ำดาบ ช่องทางหลักแต่ง ด่านตรวจประจำเส้นทางสู่เมืองแหง ที่ตั้งค่ายทหารญี่ปุ่น สุสานทหารญี่ปุ่น หลุมทิ้งระเบิดใกล้ค่ายทหารไทยหน่วยก่อสร้างเส้นทางยุทธศาสตร์ตามสายแม่น้ำแตงเพื่อไปยังประเทศพม่า สภาพเส้นทางยุทธศาสตร์เดิมที่ขุดด้วยจอบ สนามเพลาะทหารญี่ปุ่นและบริเวณพื้นที่เครื่องบินรบของฝ่ายสัมพันธมิตรตก

๒. พบหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการค้า โดยพบร่องทางเดินของวัวต่าง ช่วงระยะทางระหว่างเมืองกื้ดกับเมืองคอง บริเวณท่าข้ามแม่น้ำแตง หมู่บ้านสบก๋าย และบริเวณท่าข้ามห้วยแม่กอก หมู่บ้านป่าข้าวหลาม ตำบลกื้ดช้าง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ตลอดจนพบภาชนะเครื่องปั้นดินเผาและเหรียญเงินตราโบราณ

     การพบร่องรอยหลักฐานทั้งด้านการสงครามและการค้า ตลอดจนประจักษ์พยานบุคคลที่อยู่ในเหตุการณ์สมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ และพ่อค้าวัวต่างที่ยังมีชีวิตอยู่ ยืนยันได้ถึงความสำคัญและความมีอยู่จริงของเส้นทางตามสายน้ำแม่แตงแห่งนี้ ซึ่งเป็นทั้งเส้นทางเดินทัพและค้าขายสมัยโบราณ

     เส้นทางประวัติศาสตร์สายนี้ ควรได้รับการสนับสนุน ส่งเสริมและพัฒนาให้เป็นรูปธรรม จากองค์กรภาครัฐและภาคเอกชนเพื่อดำเนินการให้เป็นเส้นทางท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และเชิงประวัติศาสตร์ ที่สำคัญสายหนึ่งของชาติ
ไทย.

Abstract


     The research with the title “The study of troops and trade transportation ways between Chiang Mai, Mueang Kuet, Mueang Khong, Mueang Haeng and Mueang Nai (Burma)” is based on a qualitative research with the objective of finding traces giving evidence regarding warfare and trade in ancient times, namely the time between 2101 and 2486 (Buddhist Era).The research area is the Taeng river basin (Mae Naam Taeng) on a length of approximately 135km.

     It includes parts of the regions of Tambon Piang Luang, Tambon Saen Hai, and Tambon Mueang Haeng, situated in the Amphoe Wiang Haeng, Tambon Muenag Khong in Amphoe Chiang Dao, Tambon Kuet Chang, Tambon Baan Chang and Tambon Khi Lek in Amphoe Mae Taeng, Jangwat Chiang Mai. Techniques used in this research include literature review, field research, (participating) observation and interviews. The results of the research are summarized as follows:

1. Hints giving evidence regarding the conduct of warfare from the time Burma governed Chiang Mai until WWII were found at the site of Wat Ram Poeng (ruins) and the site of Wat Mae Kha Jaan, which were burned down by the Burmese army. Around the ruins of the chedi there is an area where the Burmese troops built up some barracks. At the Huai (stream) Kub Kab, the Huai Man Loi and the Pha Thap Maan (cliff), a Buddha statue, which was a work of art from Chiang Saen (Singh Nueng), was buried by the people of Muenag Haeng in order to hide it from the Burmese army. Further a crown, which the people believe to be the crown of his majesty King Naresuan the Great. Another site of interest is the area around Bo Naam Chaang Suek and Thung Doon Kaeuw, the Phra That Saen Hai stupa, Baan Chaang, Baan Mueang Kuet and

Baan Naam Daab; the checkpoint of the troops on the way to Mueang Haeng, where Japanese barracks and graveyards were erected. There is a crater from an explosion near the barracks. Thai troops built up a strategically important post near the river Mae Naam Taeng in order to cross the river and get into Burmese territory. There are hints regarding the original condition of this post that have been built with hoes and about Japanese trenches. In this area there is also a wreck of an allied combat plane.

2. Evidence regarding trade movements includes a trade way used by caravans between Mueang Kuet and Mueang Khong, a port for ships crossing the Mae Taeng near Muu Baan Sob Koi and a place to cross the Huay Mae Kok near Muu Baan Pbaa Khaao Luam, in Tambon Kuet Chaang, Amphoe Mae Taeng, Jangwat Chiang Mai. Furthermore, a terracotta vessel and a coin were found.
The traces of evidence regarding both warfare and trade that were found so far have been confirmed during several interviews.

     These included an interview with an eye witness of WWII and several merchants. They confirmed the importance and the evidence of the Mae Taeng River being a major route of both troops and trade in former times.
The research of this historical route needs support, encouragement and further development in order to form a complete picture. Public and private organizations should help in order to make it a place of great importance for both Thai history and eco-tourism.


สรุปผลการวิจัยและข้อเสนอแนะ

     จากการวิจัยพบร่องรอยหลักฐานเส้นทางเดินทัพและค้าขายสมัยโบราณ โดยมีข้อมูลเรียงลำดับจากเมืองเชียงใหม่ ผ่านอำเภอแม่ริม เข้าเขตอำเภอแม่แตง ทวนสายน้ำห้วยแม่ขะจาน ไปถึงเมืองกื้ด ทวนสายน้ำแม่แตง ผ่านเมืองคอง ถึงเมืองแหง จนสุดชายแดนไทย-พม่า ที่ช่องทางหลักแต่ง ตำบลเปียงหลวง อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ และได้พบข้อมูล ด้าน

๑. เส้นทางเดินทัพ โดยพบที่ตั้งวัดร่ำเปิง(ร้าง)และที่ตั้งวัดแม่ขะจาน(เดิม)ซึ่งถูกกองทัพพม่าจุดไฟเผา บริเวณที่ตั้งค่ายทหารพม่า ห้วยกุ๊บกั๊บ ห้วยม่านลอย หอก ดาบโบราณ ผาตั๊พม่าน พระพุทธรูปศิลปะเชียงแสนสิงห์หนึ่งที่ชาวเมืองแหงนำไปฝังดินเพื่อหลบซ่อนทหารพม่า พระมาลาที่ชาวบ้านเชื่อว่าเป็นพระมาลาของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช บ่อน้ำช้างศึก ทุ่งดอนแก้ว พระธาตุแสนไห บ้านช้าง บ้านเมืองกื้ด บ้านน้ำดาบ ช่องทางหลักแต่ง ด่านตรวจประจำเส้นทางสู่เมืองแหง ที่ตั้งค่ายทหารญี่ปุ่น สุสานทหารญี่ปุ่น หลุมทิ้งระเบิดใกล้ค่ายทหารไทยหน่วยก่อสร้างเส้นทางยุทธศาสตร์ตามสายแม่น้ำแตงเพื่อไปยังประเทศพม่า สภาพเส้นทางยุทธศาสตร์เดิมที่ขุดด้วยจอบ สนามเพลาะทหารญี่ปุ่นและบริเวณพื้นที่เครื่องบินรบของฝ่ายสัมพันธมิตรตก

๒. เส้นทางการค้า โดยพบร่องทางเดินของวัวต่าง ช่วงระยะทางระหว่างเมืองกื้ดกับเมืองคอง บริเวณท่าข้ามแม่น้ำแตง หมู่บ้านสบก๋าย และบริเวณท่าข้ามห้วยแม่กอก หมู่บ้านป่าข้าวหลาม ตำบลกื้ดช้าง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ตลอดจนพบภาชนะเครื่องปั้นดินเผาและเหรียญเงินตราโบราณ
ดังนั้นจึงได้ข้อสรุปคือ เส้นทางตามสายน้ำแม่แตง เป็นเส้นทางเดินทัพและค้าขายสมัยโบราณ โดยมีหลักฐานทางด้านเอกสารทั้งของไทย พม่าและล้านนารวมทั้งหลักฐานทางด้านโบราณคดี ซึ่งประกอบด้วยโบราณสถาน และโบราณวัตถุตลอดจนประจักษ์พยานบุคคล ผู้อยู่ในเหตุการณ์ หรือเคยใช้เส้นทางสายนี้มาก่อน

     จากหลักฐานดังกล่าวนำมาไตร่ตรองพิเคราะห์แล้ว พบว่าเส้นทางสายนี้มีความสำคัญในยุคสมัยราชวงศ์มังรายปกครองอาณาจักรล้านนา ตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๑๘๓๙ ถึงปีพุทธศักราช ๒๑๐๑ และต่อเนื่องมาถึงยุคสมัยพม่าปกครองนครเชียงใหม่ตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๑๐๑ ถึงปีพุทธศักราช ๒๓๑๗ ตราบตลอดมาจนถึงยุคสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น เพราะปรากฏหลักฐานทางล้านนา บันทึกไว้ว่า พญามังราย องค์ผู้สร้างนครเชียงใหม่และผู้สถาปนาอาณาจักรล้านนา ทรงเนรเทศ พระราชโอรส พระนามว่า “ขุนเครือ” ไปปกครอง “เมืองนาย” ซึ่งเป็นหัวเมืองไทใหญ่ ดังนั้น“เมืองนาย” จึงมีฐานะเป็นเมืองลูกของนครเชียงใหม่และความสัมพันธ์ของเมืองทั้งสอง จึงเป็นไปในทำนองฉันท์พ่อกับลูก ตลอดช่วงระยะเวลาของราชวงศ์มังรายปกครองอาณาจักรล้านนา กว่า ๒๕๐ ปี ตราบจนถึงช่วงระยะสุดท้ายของราชวงศ์มังรายก็บังเกิดเหตุการณ์สำคัญขึ้นเพราะเหตุว่ากษัตริย์ผู้ครองนครเชียงใหม่ว่างลง

     อีกทั้งในราชสำนักนครเชียงใหม่ และหัวเมืองใกล้เคียงก็ไม่มีผู้สืบเชื้อสายราชวงศ์มังราย ครั้งนั้นเหล่าพสกนิกรจึงเดินทางรอนแรมไปยัง “เมืองนาย” เพื่อกราบทูลเชิญผู้สืบเชื้อสาย “ขุนเครือ” แห่งราชวงศ์มังรายกลับมายังนครเชียงใหม่ และราชาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์แห่งนครเชียงใหม่องค์สุดท้าย ทรงพระนามว่า พระเจ้าเมกุฏิสุทธิวงศ์ ซึ่งกาลต่อมา พระองค์ถูกพระเจ้าบุเรงนอง ยกกองทัพบุกโจมตีและนครเชียงใหม่ก็ตกเป็นเมืองขึ้นของพระเจ้าบุเรงนองนับตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา โดยหลักฐานของล้านนา ระบุว่ากองทัพของพระเจ้าบุเรงนองเคลื่อนกำลังพลมายึดครองนครเชียงใหม่ ได้สำเร็จเมื่อปีพุทธศักราช ๒๑๐๑ ครั้งนั้นกองทัพของพระองค์ทรงใช้เส้นทางสายนี้เพราะว่าเป็นเส้นทางที่สั้นที่สุดระหว่างเมืองนายกับนครเชียงใหม่ประกอบกับ “เมืองนาย”มีพิกัดที่ตั้งทางภูมิศาสตร์อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของนครเชียงใหม่เป็นระยะทางประมาณ ๓๕๐ กิโลเมตรหรือเทียบได้กับครึ่งหนึ่งของระยะทางระหว่างจังหวัดเชียงใหม่ กับกรุงเทพมหานคร

     อีกทั้งยังพบหลักฐานของราชการสมัยรัชกาลที่ ๓ ระบุซ้ำ อีกว่าเส้นทางจากเมืองนายมายังนครเชียงใหม่มี ๕ เส้นทาง แต่พม่ากลัวเส้นทางสายเมืองนาย ผ่านเมืองปั่นข้ามแม่น้ำสาละวิน ณ ท่าผาแดง ตรงไปเมืองแหง ถึงนครเชียงใหม่ มากที่สุด เพราะว่าเป็นเส้นทางที่สั้นที่สุด เป็นเส้นทางใหญ่และเดินง่าย พม่ากลัวว่ากองทัพนครเชียงใหม่จะเคลื่อนกำลังพลเข้าบุกโจมตีพม่าทางด้านนี้ ดังนั้นพม่าจึงจัดตั้งกองทหารประจำการ ณ ฝั่งแม่น้ำสาละวินที่ “ ท่าผาแดง” พร้อมกับสั่งการให้ทหารลาดตระเวนตลอดเวลา

     ประการสำคัญจะสังเกตเห็นว่าสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงมีพระชนม์ชีพอยู่ในยุคร่วมสมัยเดียวกันกับพระเจ้าบุเรงนอง โดยพระเจ้าบุเรงนองสิ้นพระชนม์ในปี พ.ศ.๒๑๒๔ หลังจากนั้นอีก ๑๑ ปีต่อมา ซึ่งตรงกับ พ.ศ.๒๑๓๕ สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงกระทำยุทธหัตถี ฟันพระมหาอุปราชาซึ่งเป็นพระราชนัดดาของพระเจ้าบุเรงนองสิ้นพระชนม์บนคอช้างและศึกครั้งสุดท้ายในปี พ.ศ.๒๑๔๘ สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงกรีฑาทัพทหารจำนวน หนึ่งแสนคนเพื่อยึดคืน “เมืองนาย” และบุกโจมตีเมืองอังวะซึ่งเป็นศูนย์กลางอำนาจของพม่า

     ในขณะนั้น โดยพระองค์เดินทัพผ่านทางนครเชียงใหม่ มุ่งหน้าไปยัง“เมืองนาย”ซึ่งเป็นเมือง “ลูก”ของนครเชียงใหม่ และในขณะนั้น“เมืองนาย” ได้ถูกกองทัพพระเจ้าอังวะเข้ารุกรานและยึดครอง สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงกริ้วจึงเคลื่อนกำลังพล เพื่อบุกโจมตียึดคืน “เมืองนาย” และจะเคลื่อนทัพต่อไปเพื่อโจมตี เมืองอังวะ แต่ครั้งนั้นพระองค์ทรงประชวรกระทันหันและเสด็จสวรรคตเสียก่อนขณะกำลังเดินทัพ ภายในพระราชอาณาเขตระหว่างนครเชียงใหม่ กับ แม่น้ำสาละวินโดยมุ่งหน้าไปยัง“เมืองนาย” ซึ่งหลักฐานทางฝ่ายพม่า บันทึกว่าพระองค์ ทรงสวรรคตโดยเร็วพลัน ณ “ เมืองแหน” แขวงเมืองเชียงใหม่

     และเมื่อพิจารณาจากเอกสารข้อมูลใหม่พื้นที่สวรรคตของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชแล้ว๘๐ “เมืองแหน” ในภาษาพม่า เป็นเมืองเดียวกับ “เมืองแหง”หรืออำเภอเวียงแหงในภาษาไทย รวมทั้งเอกสารหลักฐานทางล้านนา จดหมายเหตุนครเชียงใหม่ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นตลอดจนหลักฐานเชิงวิทยาศาสตร์ เช่น ด้านโบราณคดี ด้านภูมิศาสตร์ ภาพถ่ายจากดาวเทียมและหลักฐานเชิงประจักษ์ต่างสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน

     ดังนั้นจึงพิเคราะห์สรุปได้ว่าเส้นทางโบราณตามสายน้ำแม่แตง จากนครเชียงใหม่ ผ่านเมืองกื้ด เมืองคอง เมืองแหง เมืองทา ข้ามแม่น้ำสาละวินที่ ท่าผาแดง เมืองปั่น ถึงเมืองนาย (พม่า) เป็นเส้นทางการเดินทัพของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช มหาราชองค์กอบกู้ เอกราชให้ชาติไทย



พญามังรายทรงปรึกษากับพระสหายเพื่อสร้างเมืองเชียงใหม่ (พระร่วงแห่งสุโขทัยและพญางำเมืองแห่งพะเยาพ.ศ.๑๘๓๙)



วัดพระธาตุดอยจอมแจ้ง ต.ขี้เหล็ก อ.แม่แตง จุดสังเกตทางภูมิศาสตร์ ประตูสู่พม่า



วัดร่ำเปิง(เก่า)ซึ่งถูกพม่าเผาเมื่อ ๒๐๐ ปีก่อน ปัจจุบันเป็นที่ตั้งตู้ยามตำรวจร่ำเปิง ต.ขี้เหล็ก อ.แม่แตง



วัดร่ำเปิง(ปัจจุบัน)ย้ายจากจุดเดิมขึ้นไปตามลำห้วยแม่ขะจาน ประมาณ ๓๐๐ เมตร



สุสานทหารญี่ปุ่น : สมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ บริเวณประตูสู่พม่าแห่งนี้ เป็นที่ตั้งค่ายทหารญี่ปุ่นเพื่อควบคุมเส้นทางยุทธศาสตร์ และใกล้กับที่ตั้งค่ายมี"สุสานทหารญี่ปุ่น"และ"สุสานทหารสัมพันธมิตร"ฝังศพทหารอยู่ติดกันแต่คนละแถว



พ่อหนานประพันธุ์ อุ่นใจ หมู่บ้านรำ่เปิง ผู้เห็นเหตุการณ์



วัดแม่ขะจาน(ปัจจุบัน) อยู่ด้านเหนือวัดแม่ขะจานเดิม ซึ่งถูกพม่าเผาเมื่อ ๒๐๐ ปีก่อน เนื่องจากเป็นประตูสู่พม่า
ในยามสงครามชาวบ้านย่านนี้จึงถูกทหารพม่าข่มขี่ รังแกอาทิเผายุ้งข้าวทำให้ปีนั้นชาวบ้านประสบอดอยากแร้นแค้น ไม่มีข้าวหุงกินฯลฯชาวบ้านบางส่วนจึงอพยพโยกย้าย
ไปอยู่ที่ อ.เวียงป่าเป้า เชียงราย และตั้งชื่อชุมชนใหม่
ณ ที่นั้นว่า "บ้านแม่ขะจาน"ตามชื่อเดิมที่จากมา



"เมืองกื้ด"(ต.กื้ดช้าง อ.แม่แตง) กับเรื่องราวต้นโพธิ์
พระนเรศวร ณ วัดเมืองกื้ด ความว่า..ครั้งสมัยเมื่อพระนเรศวรยกทัพมาเชียงใหม่จะไปตีเมืองอังวะ ได้พักแรมทัพที่เมืองกื้ดและทรงศรัทธาสมภารเจ้าวัดจึงสร้างเสนาสนะถวายพร้อมกับทรงปลูกต้นโพธิ์ ๑ ต้นหลังพระวิหาร ส่วนสมภารปลูกต้นโพธิ์ ๑ ต้นที่หน้าวัด...























"เมืองคอง"เป็นเมืองโบราณตั้งอยู่ตอนกลางของแม่น้ำแตง กาลครั้งหนึ่งในสมัยราชวงศ์มังราย มีเจ้าฟ้าไทใหญ่พร้อมข้าบริวารอพยพมาพึ่งบารมีพระเจ้าเชียงใหม่ จึงแต่งตั้งให้เป็นเจ้าเมืองคอง ปัจจุบันคือ ต.เมืองคอง อ.เชียงดาว และมีประชากรประมาณ ๔,๐๐๐ คน
(ด้านบนของภาพถ่ายดาวเทียมที่เห็นระยะไกล คือแอ่งพื้นที่ "เมืองแหง" หรือ อ.เวียงแหง เชียงใหม่และที่เห็นไกลลิบคือช่องทาง"หลักแต่ง"สู่พม่าส่วนภาพล่างคือพื้นที่เพาะปลูกในปัจจุบัน)



"เมืองแหง "เป็นเมืองโบราณตั้งอยู่ตอนต้นของแม่น้ำแตง ติดชายแดนไทย-พม่า มีพื้นที่มากกว่าเมืองคอง (ต.เมืองคอง อ.เชียงดาว)ประมาณ ๔ เท่าปัจจุบันเป็นอำเภอชายแดน เชียงใหม่ ประกอบด้วย ๙ ชาติพันธุ์
ประชากรประมาณ ๓๐,๐๐๐ คน.ในภาพนี้คืออำเภอเวียงแหง โดยมองจากเชียงใหม่ไปทางทิศเหนือจะเห็นพื้นที่ทำนากระจายตัวตามสองฟากฝั่งแม่น้ำแตงตลอดจนสายน้ำสาขาเช่นสายน้ำห้วยฮ่องจุ๊(ร่องใกล้ทางขวามือ)และสายน้ำแม่หาด(ร่องไกลทางซ้ายมือ) "เมืองแหง"มีพื้นที่ทำนากว้างใหญ่จึงเหมาะสมในการปลูกข้าวเพื่อสะสมเสบียงไว้ทำการสงครามและพงศาวดารพม่าบันทึกว่า..พระเจ้าบุเรงนอง.ส่งกองทัพเจ้าประเทศราชไทใหญ่ จำนวน ๖๐,๐๐๐ คน รับสั่งให้ยกทัพมาทาง"เมืองนาย"เพื่อจะมาช่วยเหลือ"เมืองพิษณุโลก"ที่ถูกกองทัพพระเจ้าล้านช้างเข้ารุกราน ครั้นกองทัพเจ้าประเทศราชไทใหญ่ ๖๐,๐๐๐ คนเดินทางมาถึงเมืองแหง.....จากการบันทึกทำให้เราทราบว่า เมืองแหงได้ใช้้เป็นที่รองรับทหารถึง ๖๐,๐๐๐ คนมาแล้วในอดีต ...(ส่วนบนสุดของภาพคือข่องทางหลักแต่งที่ใช้สัญจรสู่พม่า)








ช่องทางหลักแต่ง สู่พม่าจะเดินตามสายน้ำทา และสายน้ำจ้อดจนถึงแม่น้ำสาละวินและข้ามแม่น้ำนี้ที่ "ท่าผาแดง"(Ta Pha Leng)จากภาพถ่ายดาวเทียม ด้านใต้คือ "ช่องทางหลักแต่ง" เดินตามสายน้ำจะพบ"เมืิองเต๊าะ" ต่อด้วย"เมืองทา"และถึงแม่น้าสาละวิน ระยะทางประมาณ ๖๐ กิโลเมตร (เส้นทางสายนี้ใช้ลำเีลียงไม้ซุงเข้าไทยโดยรถยนต์บรรทุกไม้ซุงจากแม่น้ำสาละวินมายังช่องหลักแต่ง อ.เวียงแหง เมื่อ ๑๐ ปีก่อน) แล้วจึงข้ามฟากที่ "ท่าผาแดง"เพื่อไปยัง"เมืองปั่น"และ"เมืองนาย"(ไทยเราสูญเสียหัวเมืองไทใหญ่ทั้ง ๕ คือเมืองทา เมืองจ้อด เมืองหาง เมืองต่วน และเมืองสาดให้แก่อังกฤษในสมัยรัชกาลที่ ๕และก่อนหน้านี้อาณาเขตประเทศไทยจรดแม่น้ำสาละวิน)



"ท่าผาแดง" เป็นท่าข้ามแม่น้ำสาละวินที่ใช้กันในสมัยพระเจ้าบุเรงนองยึดครอง"นครเชียงใหม่"ใน พ.ศ.๒๑๐๑ และใช้ตลอดมากว่า ๒๐๐ ปี ในสมัยพม่าปกครองเชียงใหม่(พ.ศ.๒๑๐๑-๒๓๑๗)ในภาพนี้เราอยู่ในประเทศไทยมุ่งหน้าไปทางทิศเหนือผ่านช่องหลักแต่ง อ.เวียงแหงตรงไปตามสายน้ำ้ทาและสายน้ำจ้อดเป็นระยะทางประมาณ ๖๐ กม.จะถึงแม่น้ำ้สาละวินและเราจะข้ามแม่น้ำนี้ที่"ท่าผาแดง"(Ta-Pha-Leng)จากนั้นบ่ายหน้าไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ มุ่งไปยัง "เมืองปั่น"ที่มองเห็นเป็นที่ราบอยู่ด้านบนสุดของภาพจากนั้นบ่ายหน้าไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ก็จะถึง"เมืองนาย"



"ท่าผาแดง" จะอยู่ตรงข้ามห้วยสมานและอยู่เยื้องจาก"สบแม่น้ำจ้อด" ขึ้นไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ ประมาณ 1.5 กิโลเมตร ท่านจะสังเกตเห็น Delta ปากห้วยสมานพอกพูนออกไปถึงกึ่งกลางแม่นำ้สาละวินทำให้ระยะทางการข้ามแม่น้ำสาละวินแคบลง สายน้ำบริเวณนี้ไหลไม่เชี่ยว จึงเหมาะสมสำหรับการข้ามแม่น้ำและใช้กันมาตั้งแต่สมัยโบราณ
(ผั่งขวาของแม่น้ำสาละวินคือผืนแผ่นดินที่ติดต่อชายแดนช่องหลักแต่ง อ.เวียงแหง ฝั่งซ้ายของแม่น้ำสาละวินคือผืนดินที่ติดต่อ เมืองปั่น เมืองนาย(พม่า)



"เมืองปั่น"เป็นเมืองโบราณ จากหลักฐานในสมัยรัชกาลที่ ๓ พม่ากลัวกองทัพเชียงใหม่จะเข้าตีพม่าตามเส้นทางสายเชียงใหม่ เมืองกื้ด เมืองคอง เมืองแหง เมืองทา ท่าผาแดง เมืองปั่น พม่าจึงจัดตั้งกองทหารที่ "เมืองปั่น"และ"ท่าผาแดง"โดยให้ทหารลาดตระเวณตลอดเวลา...



"เมืองนาย"ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของ"เมืองปั่น"ประกอบกับเป็นเมืองสำัคัญของอาณาจักรไทใหญ่ บางสมัยเป็นราชธานี ในสมัยราชวงศ์มังราย"เมืองนาย"เปรียบเสมือนเป็นเมืองลูกของเชียงใหม่ เนื่องจากพญามัังรายได้ส่งราชโอรสพระนาม"ขุนเครือ"มาปกครอง"เมืองนาย"และกษัตริย์เชียงใหม่องค์สุดท้ายของราชวงศ์มังรายคือพระแม่เจ้าเมกุฏิสุทธิวงศ์ ไพร่ฟ้าเมืองเชียงใหม่ก็กราบทูลเชิญมาจาก"เมืองนาย" และเมืองนี้้ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเชียงใหม่เป็นระทางตามสายน้ำแตง สายน้ำทา สายน้ำจ้อด "ท่าผาแดง"เมืองปั่น เมืองนาย ประมาณ ๔๐๐ กิโลเมตร

และเมืองนี้ถูกพระเจ้ากรุงอังวะยกกองทัพเข้ามายึดครอง สมเด็จพระนเรศวรฯจึงกรีธาทัพจากอยุธยามายังเมืองเชียงใหม่เพื่อจะยึดเอาเมืองนายกลับคืนและเป้าหมายสุดท้ายคือบดขยี้พระเจ้าอังวะ แต่ทว่าพระองค์เสด็จสวรรคตเสียก่อนขณะอยู่ในระหว่างการเดินทัพออกจากเชียงใหม่มุ่งหน้าไปยัง"เมืองนาย" ช่วงระหว่างเมืองเชียงใหม่กับแม่น้ำสาละวิน



"เมืองอังวะ"ตั้งอยู่ติดแม่น้ำอิระวดี ในสมัยสมเด็จพระนเรศวร พระเจ้าอังวะ ซึ่งเป็นราชบุตรพระเจ้าบุเรงนองอันประสูติแต่พระสนม ได้ขยายอำนาจเข้ารุกราน"เมืองนาย"ซึ่งขึ้นกับไทย ดังนั้นสมเด็จพระนเรศวรจึงกรีฑาทัพจากอยุธยามาเชียงใหม่ เพื่อยึด"เมืองนาย"คืน และจะโจมตี "เมืองอังวะ" แต่ทว่าพระองค์สวรรคต เสียก่อน ขณะเดินทัพออกจากเชียงใหม่ไปยัง"เมืองนาย"(ช่วงระยะทางระหว่างเชียงใหม่กับแม่น้ำสาละวิน)






ขอขอบคุณ
ที่มา : เวปพลังจิต


H O M E




Create Date : 16 มิถุนายน 2551
Last Update : 22 กรกฎาคม 2551 22:53:18 น. 6 comments
Counter : 4897 Pageviews.

 
นาน ๆ ทีจะได้อ่านแบบสุดยอดอย่างนี้สักที


โดย: แมงป่องบูรพา IP: 58.137.133.20 วันที่: 6 กรกฎาคม 2551 เวลา:13:17:51 น.  

 
ขอบคุณมากได้ร้เรื่องของบ้านเกิด


โดย: น้อยจม IP: 118.172.33.54 วันที่: 14 ธันวาคม 2551 เวลา:14:50:58 น.  

 
สุดยอด จริงๆครับ
เป็นคนเชียงใหม่แท้ๆ เพิ่งรู้ว่า มีเมืองคอง เมื่อ สองปีที่แล้ว

ไปล่องแพจากเมืองคอง พักกลางป่า ปลายทางกื้ดช้าง
ธรรมชาติมาก


โดย: jackland IP: 203.158.160.18 วันที่: 5 กรกฎาคม 2552 เวลา:21:33:16 น.  

 
การเดินทางที่ท่องเที่ยวก็มีคนมาเที่ยวมากมาแต่ อ.บ.ต กื้ดช้างกินงบเกินไปเจ้าหน้าที่ไม่เคยมาดูแลบอกว่าจะสร้างไฟกิ่งก็ไม่สร้างซักทีรอนานเกินชาติแล้วถนนหนทางเสียหายมากควรไปดูแลหน่อยนะคะ


โดยความปรถนาดีจากคนในชุมชน


โดย: เด็กน้อยคอยเวลานาน IP: 192.168.176.85, 183.88.251.110 วันที่: 5 พฤษภาคม 2555 เวลา:12:54:36 น.  

 
จะส่งข้อความนี้ให้นายกอ.บ.ต.กึ้ดช้างนะคะ เพื่อแก้ไขและดูแลต่อไป
ขอบคุณค่ะ


โดย: jenifaae วันที่: 21 พฤษภาคม 2555 เวลา:11:22:43 น.  

 
ข้อมูลยอดเยี่ยมมากๆครับ และผมกำลังวางแผน ประมาณภายในกลางมิ.ย.นี้ จะไปเวียงแหง เส้นทางแม่ตะมาน พอดี ขอบคุณมากครับข้อมูลดีๆ หาอ่านยากมาก ค้นหาตั้งนานแล้ว


โดย: แจ๊คกี้ ชาติ IP: 118.172.135.24 วันที่: 8 มิถุนายน 2555 เวลา:22:50:50 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

jenifaae
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]




Editor
บทความ ความคิดเห็นที่นำลง"สนามหลวงแก็งค์" ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน
เพียงเราเห็นว่าน่าสนใจและเป็นประโยชน์ในทางข้อมูล ข่าวสาร
หากท่านมีข้อคิดเห็นประการใด โปรดแจ้งให้เราทราบ จักขอบคุณยิ่ง
"สนามหลวงแก็งค์"
kunkorn : Facebook



"Sanamluang's Gang"
"สนามหลวงแก๊งค์"

kunkorn : Facebook

     เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนให้เกิดการศึกษา การเรียนรู้ เผยแพร่ ส่งเสริม สนับสนุน รวบรวมข้อมูล ข่าวสาร อนุรักษ์ รักษาเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ของชนชาติไทย วิถีชีวิต และปรัชญา คุณค่าจิตวิญญาณที่งดงาม สืบสานต่อยอดกันมานานนับพันๆปี และกำลังถูกทำลายด้วยอิทธิพลจากแนวคิดเชิงวัตถุนิยมแบบตะวันตก

● เพื่อการศึกษาหาความรู้ ส่งเสริม สนับสนุน ให้เกิดการศึกษา เรียนรู้ สิ่งที่พระพุทธเจ้าค้นพบ และนำมาเผยแพร่แก่มวลมนุษยชาติ อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ที่แท้จริง มิใช่เพียงวิทยาศาสตร์เชิงวัตถุเพียงอย่างเดียว เพราะถือว่าพระพุทธเจ้า ทรงค้นพบความจริงของธรรมชาติ ทั้งหมดทั้งสิ้น ที่มนุษย์ธรรมดาสามัญอย่างเราๆ ท่านๆ ยังเป็นเพียงผู้รู้ แค่หางอึ่งที่ยังอยู่ในกะลาครอบ แต่บังอาจด่วนสรุป ขัดแย้งกับ สิ่งที่องค์ศาสดาทรงค้นพบมากว่าสองพันปี จนทำให้บังเกิดความสับสน ลดความน่าเชื่อในสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบ

● สนามหลวงแก๊งค์ ต้องขออนุญาตและขอขอบคุณท่านเจ้าของข่าวสาร ข้อมูล ที่เราได้นำลงในสนามหลวงแก๊งค์ ไว้ ณ โอกาสนี้ด้วยจิตคารวะ ทั้งนี้และทั้งนั้น ก็เพื่อให้สนามหลวงแก๊งค์ เป็นแหล่งในการเผยแพร่ ข้อมูล ข่าวสารที่เป็นประโยชน์และเพื่อเป็นวิทยาทานแก่สาธารณชน แต่หากท่านเจ้าของข้อมูล ข่าวสารที่ สนามหลวงแก๊งค์ นำลงไม่มีความประสงค์ให้นำลง ขอได้โปรดแจ้งความประสงค์ เรายินดีที่จะถอดออกต่อไป

ด้วยจิตคารวะ
www.sanamluang.bloggang.com
kunkorn : Facebook


ดาวหาง
     เป็นปรากฎการณ์ทางธรรมชาติ ที่เกิดขึ้นในห้วงมหาจักรวาลอันยิ่งใหญ่ ลี้ลับไร้ขอบเขต ทุกครั้งที่ดาวหางปรากฏ มันจะส่งสัญญาณแห่งความพินาศ มหันตภัย ธรรมชาติ ความตาย ความเจ็บป่วย สงคราม ความขัดแย้ง การกดขี่ การเอารัดเอาเปรียบ การคดโกง การเบียดเบียนของมนุษย์บนพื้นพิภพใบนี้

     มันคือสัญญาณเตือนภัยที่มนุษย์ไม่อาจจะควบคุมได้ ทั้งภัยทางธรรมชาติและภัยที่เกิดขึ้นจากมนุษย์สร้างกันขึ้นมาเองในทุกรอบพันปี

     ไม่ว่ามนุษย์จะคิดว่าตัวเองเก่งกาจสามารถ ฉลาดสักเพียงไหน ก็ไม่อาจหลีกพ้นมหันตภัยเหล่านี้ไปได้
     ดังนั้น จงเชื่อและปฎิบัติตามอย่างไม่ลังเลต่อคำสอนของศาสดาของเราอย่างจริงจังเถิด

     แม้จอมจักรพรรดิ จอมราชันย์ หรือจอมทรราชที่ยิ่งใหญ่ในอดีต ก็ต้องตายร่างกายเน่าเปื่อยเป็นผุยผง และในที่สุดวิญญาณของเขาก็ต้องชดใช้กรรม ด้วยการถูกไฟนรกเผาผลาญโดยไม่มีข้อยกเว้นทั้งทั้งสิ้น

     จงอย่าอหังการ์ว่าตัวเองเก่ง ฉลาด และยิ่งใหญ่กว่าคำสอนของพระศาสดา ไม่มีมนุษย์ตนใดที่จะพ้นจากกฎแห่งธรรมชาติได้ มนุษย์ที่เก่งกว่าเรา เขาได้ตายร่างกายทับถมปฐพีแห่งนี้นับไม่ถ้วนแล้ว


     ● ขออนุญาตนำภาพวาด "วีระชนบนพานรัฐธรรมนูญ" ของ คุณสถาพร ไชยเศรษฐ ศิลปินอิสระ อดีตแนวร่วมศิลปินแห่งประเทศไทย ซึ่งวาดเนื่องในโอกาส 2 ปี 14 ตุลา มาเป็นส่วนหนึ่งของหัว "สนามหลวงบล็อก"                


บริการดูดวง



"สนามหลวงพยากรณ์ออนไลน์" มีความภาคภูมิใจในความสำเร็จตามอุดมการณ์ของเรา ที่ได้ตั้งเอาไว้ว่า "เราจะใช้วิชาความรู้ในด้านการพยากรณ์เพื่อให้เป็นประโยชน์สำหรับการให้การปรึกษาของผู้คนที่กำลังประสบปัญหา ความเดือดเนื้อร้อนใจ หรือการเผชิญกับปัญหานั้นๆได้อย่างไรดี

มนุษย์เกิดแต่กรรม มนุษย์มีกรรมเป็นเหตุ เมื่อเราประสบเคราะห์กรรม ปัญหาอยู่ที่ว่าหากเราทราบเสียก่อน ย่อมเป็นสิ่งที่ดีกว่าการไม่ทราบ อย่างน้อยก็ทำให้เราระมัดระวังตัว อย่างน้อยก็ทำให้เราหลีกเลี่ยงเพื่อทำให้เราเผชิญกับกรรมน้อยลงไป อย่างน้อยก้ทำให้เรารู้ว่าสิ่งเหล่านั้นมันมีที่มา มันมีที่ไปของมัน

มีนักวิชาการและนักวิทยาศาสตร์วัตถุจิตนิยม มักโจมตีอยู่เสมอว่า การดูดวง เป็นเรื่องของความงมงาย หมอดูคู่กับหมอเดา หมายถึงว่า เขาไม่เชื่อในเรื่องของวิชาโหราศาสตร์เพราะคิดไปว่ามันเป็นเรื่องเดียรัจฉานวิชาบ้าง เป็นการคาดเดาเอาเองบ้าง คิดว่ามันเป็นวิชาที่ใช้สถิติสุ่มเอาบ้าง ไม่เชื่อว่าวิชาโหราศาสตร์จะสามารถไขปริศนาแห่งรหัสลับของดวงดาว จักรวาล และธรรมชาติรอบตัว

แสดงว่าเขาลืมไปว่า อัลเบิร์ต ไอสไตน์ และสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้กล่าวไว้ว่า ทุกสรรพสิ่งในโลกรอบตัวเรา ตั้งแต่เล็กเท่าอะตอม (จุลจักรวาล)จนถึงมหาจักรวาล ล้วนมีความผูกพัน ล้วนมีความสัมพันธ์กันอย่างลึกซึ้งแยกกันไม่ออก เพียงแต่ว่า กับอะไร เมื่อไร อย่างไร เท่านั้น

กรรมเป็นผลจากการกระทำของเราในอดีตชาติ จะดีหรือจะร้ายก็เพราะเราทำ เป็นสิ่งที่เราจะต้องได้รับผลแห่งการกระทำเหล่านั้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

โหรฯเป็นเพียงผู้แปลรหัสของดวงดาวและธรรมชาติรอบตัว เพื่อเผยแผนที่ชีวิตของเรา และสามารถมองเห็นช่องทางที่จะเลี่ยงหลบสิ่งเลวร้าย ให้ลดน้อยถอยลงหรือพบพานแต่สิ่งที่ดีดี

การสะเดาะเคราะห์ หรือพิธีการตัดกรรมที่กำลังกล่าวขานถึงก็คือการขออโหสิกรรม ลดการอาฆาตจองเวรกับเจ้ากรรมนายเวรที่กำลังจ้องจองเวรด้วยความอาฆาตพยาบาทที่ถูกเรากระทำในอดีตชาติ ไม่ใช่เป็นการตัดทอนผลกรรมที่เราทำให้หมดไปหรือให้ลดลง เพราะกรรมที่เรากระทำไม่สามารถตัดทอนลงไปได้



สนามหลวงพยากรณ์ออนไลน์พยากรณ์เที่ยงตรง แม่นยำเชื่อถือได้ วิเคราะห์พยากรณ์อย่างเป็นระบบ ไม่เลื่อนลอย ยึดมั่นในอุดมการณ์ของครูที่ท่านได้กำชับให้นำเอาวิชาการพยากรณ์มาช่วยเหลือแนะนำ บรรเทาทุกข์ของผู้คนมากกว่าการพยากรณ์เพื่อการค้า

ต้องยอมรับว่า ไม่ว่าประเทศใด? ชาติใด ภาษาใด? สมัยไหน? ชนชั้นวรรณะใด? ไม่ว่าจะเป็นเจ้าสัว นักธุรกิจ นักการค้า แม่บ้าน นักเรียน นักศึกษา ครู อาจารย์ หรือไม่เว้นแต่นายพล นายพัน รัฐมนตรี หรือระดับผู้นำประเทศ ล้วนแต่เคยดูดวงด้วยกันทั้งสิ้น เพียงแต่ว่า เราจะเชื่ออย่างงมงายหรือจะเชื่อโดยใช้เหตุผลอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ โดยนำเอาคำพยากรณ์มาใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการดำเนินชีวิต หรือทำธุรกิจ การค้า หรือเพื่อการทำสงครามฯ

"สนามหลวงแก็งค์" ไม่สนับสนุนให้เชื่อเรื่อง "ดวง" อย่างงมงาย แต่เราสนับสนุนให้ใช้คำ "พยากรณ์"อย่างมีวิจารณญาณประกอบการตัดสินใจอย่างมีสติ ใช้ "ปัญญา"อย่างมี "เหตุผล"

หลังจาก "สนามหลวงพยากรณ์ออนไลน์" ได้รับการตอบรับอย่างล้นหลาม จนต้องมีการเข้าจองคิวดูดวงเป็นจำนวนมาก ณ ขณะนี้ ไม่ใช่แต่เฉพาะคนไทยในประเทศที่เข้ามาใช้บริการจาก "สนามหลวงพยากรณ์ออนไลน์"เท่านั้น

แต่ยังมีคนไทยที่อยู่หลายประเทศทั่วโลกเข้ามาดูดวง ตรวจสอบชื่อ นามสกุลมากมาย ทั้งนี้คงเป็นเพราะผู้ที่เข้ามา"ดูดวง" กับ "สนามหลวงพยากรณ์ออนไลน์" ได้รับความพอใจในคำพยากรณ์ที่ถูกต้อง แม่นยำ แนะนำแนวทางแก้ไขที่เหมาะสมตามหลักโหราศาสตร์ จึงได้มีการบอกเล่า แนะนำชักชวนกันปากต่อปากเป็นจำนวนมาก

ปัจจุบันนี้ มีผู้เข้ามาเยี่ยมชมwww.sanamluang.bloggang.com มีจำนวนถึง 118 ประเทศ โดยเข้ามาเปิดดูหน้า "สนามหลวงพยากรณ์ออนไลน์"คิดเป็นร้อยละ 80 ของ pageviews ต่างๆใน www.sanamluang.bloggang.comจัดทำบล็อกครั้งแรกเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2550 มีผู้เข้าชมจำนวนทั้งสิ้น 579,020 ครั้ง จากจำนวน 262,960 visitors (ข้อมูล ณ เวลา 12.00 น.ของวันพุธที่ 6 ตุลาคม 2553)

ส่วนใหญ่ลูกค้าที่โทรเข้ามาเกือบ 98% เมื่อโทรฯ เข้ามาดูดวงแล้ว จะสามารถนัดวัน เวลาดูดวงได้โดยไม่มีปัญหาแต่อย่างใด อาจจะมีอยู่บ้างเพียงไม่กี่รายที่โทรฯเข้ามาเพื่อสอบถามรายละเอียดเพียงอย่างเดียวเท่านั้น

อาจจะเนื่องมาจากไม่คุ้นเคยการทำธุรกิจแบบออนไลน์ โดยมีการโอนเงินก่อน ไม่ไว้ใจ หรือไม่กล้า ซึ่งมีจำนวนน้อยมาก ประมาณ 2%

สำหรับที่เมลฯมาถามและเงียบไป ไม่สามารถทราบจำนวนได้ อาจเนื่องจากเป็นรายที่โทรเข้ามานัดอีกทางหนึ่งก็เป็นได้

สนามหลวงพยากรณ์ออนไลน์ ยังมีอาจารย์ผู้สอนวิชาโหราศาสตร์ ผ่านประสบการณ์ในการดูดวงหลายปีคิดเป็นจำนวนหลายพันดวง

แน่นอน แม่นยำกระชับ ชัดเจน หากไม่ทราบเวลาตกฟากท่านก็ยังสามารถดูได้ รายที่กำลังประสบเคราะห์หามยามร้าย ท่านก็จะช่วยแนะนำและแก้ไขเรื่องเลวร้ายให้กลายเป็นดีด้วยศาสตร์แห่งความลี้ลับของโหราศาสตร์ โดยไม่ต้องเสียเงินสะเดาะเคราะห์ สามารถดูได้ถึงขนาดปัญหาเรื่องคู่ครอง เรื่องเคราะห์ เรื่องหน้าที่การงาน โดยใช้ "วิชาโหราศาสตร์ดวงไทย"อันเป็นสุดยอดของวิชาโหราศาตร์โบราณของไทย

นอกจากนั้น เรายังมี ซินแส ที่เชี่ยวชาญเรื่องการดูฮวงจุ้ย ทำเลปลูกบ้าน อาคารสำนักงาน ดูฤกษ์ยาม แต่งงาน คลอดบุตร ขึ้นบ้านใหม่ เปิดกิจการต่างๆโดยใช้วิชาโหราศาสตร์จีนโบราณผสานตำราดวงไทย ซึ่งซินแสท่านมีประสบการณ์การดูดวงมาไม่น้อยกว่า 45 ปี ผ่านการดูให้กับนักธุรกิจชื่อดังของเมืองไทย และนักธุรกิจชั้นนำจากฮ่องกงหลายราย

ติดต่อ 081-4834367 หรือ workingmailhome@hotmail.com
--------------------------------------------
● ปรึกษาปัญหากฏหมาย
ละเมิด,สัญญา,อายัดทรัพย์ ยึดทรัพย์
--------------------------------------------
● ปัญหาติดต่อราชการ
บริการปรีกษาเรื่อง ภาษีป้าย ภาษีโรงเรือน ภาษีที่ดิน ค่าธรรมเนียมต่างๆ และการติดต่อราชการต่างๆ ของสำนักงานเขต
--------------------------------------------
● พิมพ์รายงาน,ค้นหาข้อมูล,

● งานพิมพ์ Lay-Out,Art Work
--------------------------------------------
สำนักพิมพ์ดาวหาง
www.sanamluang.bloggang.com




รับวาดรูปเหมือน และสอนวาดรูป
โดยอาจารย์ ผู้ชำนาญ

ราคาย่อมเยา

















หลังเกิดเหตการณ์ 14 ตุลา 2516 นิสิต นักศึกษา ปัญญาชน ต่างหลั่งไหลดั่งสายน้ำ ล้นขอบ ออกจากเมือง เข้าสู่ ชนบท เหตุเกิดเมื่อ กลางปี พ.ศ.2516 จนถึง พ.ศ.2519 นักศึกษากลุ่มหนึ่ง ได้ พบกันโดยบังเอิญ และ ได้ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันกับชาวบ้าน ณ หมู่บ้าน แม่ตะมาน ตำบลกื๊ดช้าง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ภายใต้ ชื่อโครงการว่า "โครงการหมู่บ้านสหกรณ์แม่ตะมาน"
เชิญ พบ และติดตาม กับเรื่องราว และบทสรุป อันควรเป็นจุดเริ่มต้น ต่อไปใน

     เมล็ดพันธุ์ประชาธิปไตย ที่ถูกหว่านทั่วท้องทุ่งแห่งประชาไทย มาบัดเดี๋ยวนี้ เมื่อต้องฝน ต้องลม แห่งกาลเวลาพัดผ่าน จาก 2516 , 2519 2535,จน 2540 ถึง 2550บางเมล็ดพันธุ์ก็ยังขาวพิสุทธิ์สดใส บ้างเมล็ดพันธุ์เปลี่ยนสี บ้างก็ดอกสีเหลือง บ้างก็ดอกสีแดง บ้างก็ดอกสีม่วงก้มี สีเขียว สีน้ำเงิน หรือบ้างก็อาจเฉาโรยรา หรือบ้าง ผสมผสานกลายพันธุ์ ก็มีไม่น้อย
มาบัดเดี๋ยวนี้ มันไม่ใช่ จิต วิญญาณ แห่ง 14 ตุลา เดิมเสียแล้ว ไม่ใช่พันธุ์เดียวกัน อย่าได้ เอ่ยอ้างเลย ว่า วิญญาณ 14 ตุลา ยังคง...มันประชาธิปไตย ที่ไม่ บริสุทธิ์ผุดผ่องเหมือนอย่างเดิมเสียแล้ว.....
..แต่มันเป็น.ประชาธิปไตย...เพื่อใคร..??


“ทุกวันนี้ เราจะรับรู้ ได้เห็น ได้ยินแต่เรื่องเลวร้าย ในสังคม
เราจึงขอบันทึกสิ่งที่ดีๆ ต่างๆ เหล่านี้ ด้วยจิตคารวะ และขอเป็นกำลังใจให้เกิดสิ่งที่ดีงามเหล่านี้ต่อไป”>>>



อ่านงานเขียนเกี่ยวกับภาพยนตร์หลากหลายประเทศทั่วโลก ที่นี่ >>>





*จำนวนผู้ชมทั้งสิ้น* สถาปนาบล็อค 21 ก.ค.2550
Friends' blogs
[Add jenifaae's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.