Group Blog
 
<<
เมษายน 2551
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
27 เมษายน 2551
 
All Blogs
 
กาลครั้งหนึ่งในแม่ตะมาน ตอน ๓




....



พัฒนาการก่อนจะเป็นกลุ่ม "แม่ตะมาน"


 .... ด้วยสถานการณ์ที่เป็นเผด็จการ บ้านเมืองไม่มีรัฐธรรมนูญการปกครองแห่งราชอาณาจักร  บทบาทของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยต่างๆก็เริ่มที่จะ พัฒนารูปแบบ เป้าหมาย และทิศทาง ของงานกิจกรรมด้านต่างๆ ในชมรมที่มีอยู่และกลุ่มที่ก่อตั้งขึ้นมาใหม่ในรั้วมหาวิทยาลัย ไปในทิศทางการเรียกร้องหาเสรีภาพประชาธิปไตย และต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบมากยิ่งขึ้น ได้แก่ทางด้าน วรรณกรรม ก็คือ กลุ่มวรรณศิลป์ กลุ่มค่ายอาสา กลุ่มครูช่วยสอนและห้องสมุด กลุ่มเศรษฐธรรม กลุ่มงานด้านสังคมสงเคราะห์ โดยเริ่มในช่วง ปี พ.ศ. 2514 ถึง พ.ศ.2519 จนกระทั่งได้แยก ออกเป็นสองแนวทาง ได้แก่


     แนวทางที่ 1 มองเห็นว่า การที่จะให้ผู้ที่มีอำนาจยึดกุมอำนาจรัฐ เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบบเผด็จการ คืนอำนาจให้กับประชาชนได้ จะต้องใช้ กระบอกปืนเพียงอย่างเดียว และ

     แนวทางที่ 2 เป็นแนวทางการปฏิรูปแบบค่อยเป็นค่อยไป โดยนักศึกษา ต้องเข้าไปมีส่วนร่วมคิดร่วมทำกับประชาชนในชนบท และให้การศึกษาแก่ประชาชน ให้มีความรู้ความเข้าใจ ในระบบการปกครองในรูปแบบประชาธิปไตย มีความตื่นตัวทางการเมือง มีความเข้มแข็งในทางเศรษฐกิจ

     ส่วนแนวทางที่ 3 ก็คือ พวกที่อยู่เฉยๆ ธุระไม่ใช่ กิจกรรมไม่ยุ่ง มุ่งแต่เรื่องเรียนอย่างเดียว

สภาพบ้านเมืองที่มีการปกครองในระบบเผด็จการทหาร ในช่วง ปีพ.ศ. 2500- พ.ศ.2514 จนถึงวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 จนถึง เหตุการณ์ล้อมปราบ นักศึกษา ปัญญาชน จนล้มหาย ตายจาก บริเวณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ บริเวณท้องสนามหลวง ใน วันที่ 6 ตุลาคม ปี พ.ศ. 2519

     สมาชิก ที่มารวมกลุ่มใน "โครงการหมู่บ้านสหกรณ์แม่ตะมาน” ก็คือ นักศึกษาที่มีความคิดเห็นสอดคล้อง ในแนวทางที่ 2 จึงได้เกิดการแสวงหา พวกแสวงหากลุ่ม รวมตัวกัน ในหลายๆ ในภูมิภาคต่างๆ ในหลายพื้นที่ของประเทศไทย ในโครงการต่างๆ




พ.ศ.2514-2516
“ขบวนการ นักศึกษา”สู่เส้นทางประชาธิปไตย


.... เป็นช่วงที่ นิสิต นักศึกษา กำลังแสวงหา ทางเดินของตนเอง เริ่มมี หนังสือ รายสะดวก ที่ออกมาเพื่อกระตุ้นให้ นิสิต นักศึกษาในยุคนั้น หันมาสนใจ ปัญหาสังคม มากขึ้น เช่น ลอมฟาง เศรษฐทัศน์ และ อื่นๆ
สองแนวทางของ “ขบวนการ นักศึกษา” ( ช่วง ปี พ.ศ.2514)

....เริ่มแรกของการพูดคุยกันในเรื่อง “ฐานเศรษฐกิจ” ก่อนว่าจะทำยังงัยให้แม่ตะมานอยู่ได้ ต้อยภาณุมาศฯได้ไปคุยกับ “สด กรูมะโลหิต” ที่บ้านพักของสด แถวกิ่งเพชร อยากทำเป็นรูป สหกรณ์เอนกประสงค์ (แต่ภายหลังก็ได้ยุบไป) เคยเชิญสด มาที่ คชธ.1 ครั้ง และที่แม่ตะมาน 1 ครั้ง โดยสดได้มาพูดคุยและให้ข้อคิดต่างๆ
แต่การจัดตั้งสหกรณ์ จะต้องรวมตันกันในระดับตำบล ซึ่งเคยคิดจะขอจัดตั้งสหกรณ์ แต่ไม่สามารถทำได้

....ในสมัยนั้นการพัฒนาในรั้วมหาลัย แบ่งออกเป็น 2 สาย คือ
1. สายบูรณากร คือ การจัดตั้งกลุ่มการพัฒนา
2. ชาวค่าย พวกชาวค่ายจะมีพื้นฐาน โดยจากประสบการณ์จริง และมีความรู้ในด้านนี้มากกว่า

....พรรคการเมืองในรั้วโดมสมัยนั้น แบ่งออกเป็นหลักๆ 3-4 พรรค ได้แก่

1. พรรคยูงทอง นำโดย อ.พนม (เสียชีวิตแล้ว) ภายหลังมาเป็น คณบดีคณะนิติศาสตร์
2. พรรคพลังธรรม มีหลายกลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่มสภาหน้าโดม และ กลุ่มเศรษฐธรรม รวมถึงนักศีกษา เศรษฐศาสตร์ภาคค่ำ กลุ่มอนุรักษ์ธรรมชาติ และ ประธานชุมนุม , และ ชมรมต่างๆ
3. พรรคพิทักษ์ธรรม ต้อย ภาณุมาศ กับ พัฒ (ไม่แน่ใจว่าเขียนถูกหรือไม่) เป็นผู้ก่อตั้ง โดยพรรคนี้จะทำหน้าที่เป็นฝ่ายค้าน
โดยระยะหลังๆต้อยภาณุมาศฯ คิดว่าพรรคไม่ได้ทำอะไรเป็นรูปธรรมเท่าไหร่ จึงค่อยๆแยกตัวออกมาจากพรรค และอยากทำเอง โดยรวมกลุ่มเพื่อนๆ
4. พรรคแนวประชา (ไตรเทพ) ในพรรค พลังธรรม เกิดแนวความคิด เป็น สองขั้วคือ ทางหนึ่งเดินหน้าอย่างเต็มที่
อีกทางหนึ่ง คือ ยึดแนวทางความเห็นของประชาชนเป็นหลัก อันเป็นที่มาของชื่อ 'แนวประชา'


"ทางราษฎร์หมายเลข 3"

ปีพ.ศ. 2517 ต้อยภาณุมาศฯ คุยกับกำธร (อยู่ทั้งชมรมอนุรักษ์ และคชธ.) มีไอเดีย และได้เขียนบทความ “ทางราษฎร์หมายเลข 3” ลงนสพ. “ประชาธิปไตย” ทางเลือกระหว่างการต่อสู้ในรัฐสภา กับการจับอาวุธเข้าต่อสู้กัน ซึ่งต้อยภาณุมาศฯคิดว่า มันน่าจะมีทางสายกลาง หรือสายอื่นที่น่าจะดีกว่า 2 ทางนี้ และหลังจากนั้นได้มา edit แล้วลงใน ปาจารยสาร (นสพ.ประชาชาติ)?? กลุ่มยุวชนสยาม ได้มาทำการสัมภาษณ์ต้อยภาณุมาศฯในเรื่องบทความนี้ด้วย

**หลากหลายผู้คนได้เดินทางมาเยี่ยมเยียนผู้ปฏิบัติงาน ที่แม่ตะมานในตอนนั้น เข้ามาพูดคุยในเรื่องการเมืองหลากหลายความคิด ประมาณว่ายังไม่แน่ใจว่าพวกเราเป็นพวกไหน ฝ่ายใด หรือบางกลุ่มก็เข้ามา เสนอความคิด อยากจะชักจูง และชักชวนให้ไปร่วมกับฝ่ายของตน**

.... โครงการที่เป็นรูปธรรม อันแรกๆ คือ การต่อต้านการรัฐประหาร ตัวเอง ของรัฐบาลจอมพลถนอม ในปลายปี 2514 (แต่เป็นกลุ่มเล็กๆ เท่านั้น) ตามด้วย การรณรงค์ต่อต้านสินค้าญี่ปุ่นในปี 2515 ของศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย การนำเสนอปัญหาเรื่องสิทธิเสรีภาพ ในการดำเนินกิจกรรมของ บรรดา นิสิต นักศีกษา เอง จน ทำให้เกิด สโมสรนักศึกษา ขึ้นในมหาวิทยาลัย ชั้นนำต่างๆ ทั้ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มศว. ประสานมิตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยรามคำแหง และ มหาวิทยาลัยศิลปากร และ ได้เกิด ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาขึ้น ภายหลังจากที่ได้มีการร่วมมือกัน สังเกตการณ์เลือกตั้ง แต่ ที่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ดูจะเป็นแห่งแรก ที่ ปรับ จากระบบ สโมสร นักศึกษา มา เป็น องค์การนักศึกษา โดยมี การแยก เป็น สภานักศึกษา และ องค์การบริหาร ออกจากกัน และ มีการเลือกตั้งโดยตรงจากนักศึกษา รวมทั้งมีการจัดตั้งพรรค การเมือง ขึ้น อีก แห่งหนึ่งที่ใช้รูปแบบ องค์การ นักศึกษา คือ มหาวิทยาลัย รามคำแหง (รูปแบบสโมสรนักศึกษา ใช้วิธี เลือก ตัวแทน คณะ คณะละ สองคน เข้ามาเป็น กรรมการ สโมสร ต่อมาหลังเหตุการณ์ 14 ตุลา ส่วนใหญ่ปรับไปใช้ระบบ องค์การนักศึกษา เกือบหมด)
ปี 2515 ปลายปี เกิดปัญหาแม่น้ำแม่กลองเน่าเสีย อันเนื่องมาจาก โรงงานน้ำตาลปล่อยของเสียออกมา จึงก่อให้เกิด ชมรมอนุรักษ์ธรรมชาติขึ้น และ ชมรมอนุรักษ์ธรรมชาติ ในหลายๆ สถาบันการศึกษา ก็ได้เริ่มจับมือกันทำงานร่วมกัน อันนำไปสู่ กรณี ทุ่งใหญ่นเรศวร อันโด่งดัง (เป็นการจับมือกันทำงานระหว่าง ชมรม อนุรักษ์ มหาวิทยาลัยเกษตร มหาวิทยาลัยมหิดล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ในเดือน เมษายน 2516) และ นำไปสู่การคัดชื่อนักศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง ในเดือน มิถุนายน 2516 เพราะไปนำเสนอปัญหากรณี ทุ่งใหญ่นเรศวร นี้ในมหาวิทยาลัยรามคำแหง ตรงจุดนี่เองที่ได้เกิดการเดินขบวนขึ้นเป็นครั้งแรก และมีการเดินขบวนจาก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ไปยังอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย และ ชุมนุมประท้วงที่นั่น หนึ่งคืน

ต้นเดือน มิถุนายน 2516
"สองเส้นทางบรรจบกันที่อนุเสาวรีย์ประชาธิปไตย"


 ..... มีการเดินขบวนของนักศึกษาประท้วงการที่ นักศึกษารามฯ โดนคัดชื่อออกการเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง โดย ดร.ศักดิ์ ผาสุขนิรันดร์ นั้น กลุ่มอิสระได้จัดให้มีการประชุม พิจารณาเพื่อเคลื่อนไหวประท้วงกรณีดังกล่าว โดยทางนักศึกษารามคำแหง จะเดินขบวนจากมหาวิทยาลัยรามคำแหง เคลื่อนขบวนมายังอนุเสาวรีย์ประชาธิปไตย ส่วนด้านนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จะเดินตั้งแต่สนาม หลวงไปบรรจบกันที่อนุเสาวรีย์ประชาธิปไตย และ ในวันรุ่งขึ้นก็จะ เดินกันอีกครั้ง โดยเริ่มเดินขบวนจาก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ไป อนุเสาวรีย์ประชาธิปไตย ช่วงเวลานั้นเป็นช่วงที่มีนักศึกษามหาวิทยลัยธรรมศาสตร์ที่สอบได้ เข้ามารายงานตัวที่มหาวิทยาลัย เสร็จแล้ว ก็ออกมารรวม ตัวแล้วเข้าร่วมเดินขบวนด้วย


ในวันรุ่งขึ้น มีตำรวจปราบจลาจล นับพัน มาล้อมกลุ่มนักศึกษาที่เหลือไม่ถึง ร้อยคน ที่ชุมนุม อยู่ที่ อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย แต่ก็ได้มีกุล่มนักศึกษาอิสระ-มธ. นำนักศึกษา หญิงเดินนำหน้า ฝ่าวงล้อมเข้ามาช่วยพวกที่โดนล้อมได้ และ นี่เองเป็นครั้งแรกที่ นิสิต นักศึกษา เริ่ม รับรู้ พลังของคนเองในการเปลี่ยนแปลงสังคม มีเพียงหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ ฉบับเดียวเท่านั้นที่กล้าตีพิมพ์รูปภาพ นักศึกษา เดินฝ่าวงล้อมตำรวจปราบจลาจล ฉบับอื่นๆ ไม่กล้าลง

....ช่วงที่นักศึกษา ในมหาวิทยาลัยต่างๆ รวมทั้งในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เริ่มที่จะมีการเรียกร้องต่อสู้ อำนาจเผด็จการเพื่อให้มีรัฐธรรมนูญ และต่อต้านรัฐบาลเผด็จการในช่วงนั้น เพื่อให้รีบร่างรัฐธรรมนูญให้เสร็จโดยเร็ว เปิดโอกาสให้ประชาชน เลือกตั้งผู้แทนราษฎร และมีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งไม่ใช่เป็นรัฐบาลที่มาจากการปฏิวัติรัฐประหาร ซึ่งรัฐบาลได้พยายามเข้าแทรกแซงการบริหาร และแทรกแซงการทำงานกิจกรรมต่างๆของนักศึกษาในสถาบันการศึกษา สถานการณ์ทางการเมือง เริ่มตึงเครียดขึ้น

"สองแยกของอุดมการณ์"

     ต้อยภาณุมาศฯ มีบทบาทร่วมกับพัฒน์ ในการก่อตั้งพรรค พิทักษ์ธรรม ส่วนไตรเทพอยู่พรรค พลังธรรม เพื่อเสนอเป็นทางเลือกหนึ่งของการบริหาร อมธ.(องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)จากที่มีอยู่หลายๆพรรค ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
(ปี 15 มีเพียง 3 พรรค ในตอนแรกที่มี สมาชิก องค์การนักศีกษา คือ พลังธรรม ยูงทอง พิทักษ์ธรรม ต่อมา มี แนว ประชา เกิด ปลายปี 2517 )
....ไตรเทพฯ ในปี 2516 มีบทบาทในฐานะ สมาชิกสภานักศึกษา ชั้นปี่ที่ 3 , เป็นรองเลขาธิการพรรค พลังธรรม และ ประธานชมรมอนุรักษ์ธรรมชาติ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ปี 2517 ไปเป็น รองนายกฯ อมธ. และ ก่อตั้งพรรค แนวประชา แยก ออกจาก พรรค พลังธรรม ภายหลัง ไม่ชอบความขัดแย้ง จึง เดินทางออกมาทำงานแบบเต็มที่ร่วมกับโครงการหมู่บ้านสหกรณ์ แม่ตะมานในต้นปี 2518)
ส่วนต้อยภาณุมาศฯ ทั้งคู่รู้จักกันในฐานะเป็นเพื่อนร่วมเรียนคณะบัญชี และได้เคยร่วมทำงานการเมืองในธรรมศาสตร์ มาด้วยกันตลอด
ประมาณปี พ.ศ. 2516 ต้อยภาณุมาศฯและไตรเทพฯ ได้มีการแลกเปลี่ยนแนวความคิด เรื่องรูปแบบการพัฒนาชนบท โดยอาศัยหลัก marketing ที่เรียนมา แต่เนื่องจาก “สุรชัย” ที่ไปอยู่สุโขทัย แต่ก็อยู่ไม่ได้ ทั้งต้อยภาณุมาศฯและไตรเทพ จึงได้คิดเรื่องที่ว่าจะทำอย่างๆไร กลุ่มผู้ปฏิบัติงานทั้งในเมืองถึงจะสามารถใช้ชีวิตอยู่และทำงานด้านการพัฒนาร่วมกันได้ในลักษณะการหนุ่นช่วย และเกื้อกูลกันได้ โดยอาศัยหลักการตลาด


มีนาคม 2517
"แสวงหาเพื่อนร่วมแนวทาง"


     ต้อยภาณุมาศ มีแนวความคิดในเรื่องการพัฒนาชนบทโดยให้สามารถพึ่งตนเองได้ ได้รู้เรื่องราวจาก "จิ๋น" อุไรพรฯ และ "ปู่" กำธรฯ ซึ่งเรียนคณะรัฐศาสตร์ และสมาชิกชมรมอนุรักษ์ธรรมชาติ ว่ากรณ์ฯ มีแนวความคิด ที่กำลังมองหา สถานที่เพื่อจะพัฒนาชนบทแบบถาวรที่เชียงใหม่

....เนื่องจากสถานที่ทำงานของชมรมอนุรักษ์ อยู่ใกล้กับ ที่ทำงาน ของ คชธ. คืออยู่ บริเวณชั้นสอง ใต้ตึกโดม ระหว่าง ไตรเทพฯ และ จิ๋นอุไรพรฯ เป็นสมาชิกที่อย่ในกลุ่มผู้เริ่มก่อตั้งคนหนึ่งของ คชธ.เรียนคณะบัญชีมาด้วยกัน จึงทำให้ มีการพูดคุย แลกเปลี่ยนเรื่องราว ข้อมูลการทำงานด้านกิจกรรม และสนับสนุนช่วยเหลือกันมาตลอด จิ๋นอุไรพรฯกับต้อย ภาณุมาศฯ จึงแนะนำ ให้รู้จักกับกรณ์ และ ได้ติดต่อนัดหมายคุยกันที่ ในขณะที่ กรณ์ฯ พร้อมกับพรรคพวก 13 คน กำลังแยกออกมาตั้ง คชธ.เป็นอิสระ จากศูนย์นักศึกษาอาสาพัฒนา มธ.

....โดยที่ ในช่วงเวลานั้น ต้อยภาณุพันธ์ ได้แนะนำให้ กรณ์ ผู้อยู่ในกลุ่มผู้ก่อตั้งคชธ.ให้ เข้าไปสำรวจสถานที่ ที่ ตำบลกื๊ดช้าง อำเภอแม่แตง เพราะว่า ที่ตรงนั้น จะมีการจัดสรรที่ดินให้ครอบครัวครู ทำประโยชน์ พวกเราจึงได้ เข้าไปสำรวจ เพื่อทำโครงการในหมู่บ้านที่ตำบลกื๊ดช้าง และได้มีการนัดพบ กับ กรณ์ที่ คชธ. ในขณะที่ กำลัง หน้าดำคร่ำเครียดยู่กับปัญหา ที่สมาชิกได้ทดลองออกโครงการครูช่วยสอนฯ ครั้งแรก ที่เชียงใหม่ จะขอแยกโครงการครูช่วยสอนฯ ออกจาก ศูนย์นักศึกษาอาสาพัฒนา มธ. แต่กรรมการศูนย์ฯส่วนใหญ่ ไม่เห็นด้วย

....ขณะเดียวกัน ต้อยภาณุมาศฯพยายามติดต่อขอพบบุญเลิศฯ ซึ่งกำลังสำรวจสถานที่ทำสวนมะนาว ที่เพชรบุรี ตามโครงการของบุญเลิศกับต้อยธีรยุทธ และก็มีแนวคิด จะไปทำสวนมะนาว และได้มีการทดลองทำน้ำมะนาว ขาย โดยได้มีการทดลองทำน้ำมะนาวขาย ที่ ธรรมศาสตร์ ระยะหนึ่งได้ผลดีพอสมควร จึงได้มีการนัดหมายคุยกันบริเวณใต้แท๊งค์น้ำ ข้างตึกบัญชี

....ส่วนตุ่ม ทำงานค่ายอาสาพัฒนาที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ น่าได้ทราบเรื่องราวของกลุ่มที่ไปพัฒนาที่บ้านแม่ตะมาน โดยไปหาต้อยภาณุมาศฯ ที่คชธ.เพื่อขอทราบรายละเอียด สถานที่ เพื่อที่จะเดินทางเข้าไปดู

....ต้อยธีรยุทธฯ และบุญเลิศ กำลังวางแผนที่จะทำสวนมะนาวและทำเรื่องสหกรณ์ ที่จังหวัดเพ็ชรบุรี ได้ทำโครงการเสนอ คุณบุญชู โรจนเสถียร แต่ไม่ได้รับการสนับสนุน

....ทองแท่ง เรียนคณะคุรุศาสตร์ จุฬา ฯ ซึ่งกำลังทำงานค่ายอาสา ด้านการศึกษาในชนบท ได้ รู้จักกับกำธรฯ คชธ. ได้ติดต่อประสานงาน ในขณะกำลังเริ่ม จัดทำโครงการห้องสมุด ใหม่ๆ

....โต้งสัตยาฯ ร่วมกับ สงัดฯ ทำงานค่ายอาสาบูรณะชนบท อยู่ที่ จังหวัดราชบุรี ซึ่ง โต้งสัตยาฯเป็นคนที่มีลักษณะ ที่ จะเป็นผู้ที่เชื่อมโยง วงการค่ายอาสา เกือบจะทุกกลุ่มทุกวงการ สามารถเข้าได้กับทุกคน คุณสมบัติเด่นของโต้งสัตยาฯเป็นบุคคลที่มีความสามารถ ในการนำเล่นสันทนาการ ได้เก่ง สามารถสร้างความคึกครื้นได้เป็นอย่างดี เนื่องจากโต้งสัตยาฯสัตยาฯ ผ่านการทำงานด้านสันทนาการในค่าย อาสาพัฒนา หลายสถาบันการศึกษา ซึ่ง มีค่อนข้างมากมาย ในช่วงเวลานั้น

     แนวประชานั้นก่อตั้งขึ้นในปี 2517 ปลายปี โดยมีคนของพรรคพลังธรรมเดิม ที่ไม่เห็นด้วยกับแนวคิดบางด้าน จึงแยกตัวออกมาตั้งพรรคนี้ขึ้น ตัวชื่อพรรคนั้น ระบุชัดเจนในเรื่องแนวคิดในการทำงานครับ (และ ผม ก็มีบทบาทสำคัญ นการตั้งพรรค นี้ขึ้นมา ความขัดแย้งทางความคิดเป็นเรื่องธรรมดา แต่บางครั้งเมื่อตัดสินใจไป ย่อมส่งผล สองด้านเสมอ ทั้งบวกและ ลบ แต่ที่สุด เคยมีเพื่อนรุ่นน้องผมพูดว่า ทะเลาะกันแทบเป็น แทบตาย พอหลัง 6 ตุลา ก็ไปนั่ง หน้าสลอน กันในป่า

      “ผม อาจจะโชคดีสักหน่อย ที่เข้าไปอยู่ตรงกลางของเหตุการณ์ หลายอย่างในช่วงนั้น นับตั้งแต่ปัญหาแม่น้ำแม่กลองเน่าเสีย-ปัญหาการใช้เฮลิคอปเตอร์และงบราชการลับของทางราชการ เข้าไปล่าสัตว์ไนป่าสงวนแห่งชาติ ทุ่งใหญ่นเรศวร-กรณีการคัดชื่อนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหงออกจากสถาบันการศึกษา-การเคลื่นไหวของชมรมธุรกิจเพื่อชนบท การก่อตั้งและการเคลื่อนไหว ของพรรคพลังธรรม และการก่อตั้งและการเคลื่อนไหวของพรรคแนวประชา

รวมทั้งการมีส่วนรับรู้ถึงการเปลี่ยนแปลง ด้วยเหตุผลการของการแทรกแซงทางการเมืองในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในสโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึงได้เปลี่ยนแปลงมาเป็นองค์การนักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ บริหารงานโดยมีสภานักศึกษา ( อมธ.) เป็นผู้บริหารกิจกรรมของนักศึกษา เอง และ การก่อกำเนิด “วงดนตรี ต้นกล้า” ในชมรมดนตรีไทย ซึ่งเป็นแนวรบการปลุกเร้าจิตใจ ประชาชน ให้มองเห็นปัญหาการปกครองในระบบเผด็จการ โดยอาศัยดนตรีไทยอันเป็นแนวรบด้านวัฒนธรรมด้านหนึ่ง ในขบวนการขับเคลื่อนทางการเมืองในสมัยนั้น”

     พอผมได้อ่านเรื่องราวในอดีต ใน"กาลครั้งหนึ่ง..." นี้แล้ว ทำให้ผมนึกถึง มุมหนึ่งในรั้วมหาวิทยาลัย ในช่วงก่อนเหตุการณ์ 14 ตุลา 16 ที่คิดว่า พวกเราทุกคนคง มีความคิด ที่คล้ายๆ กัน ก็คือ "ประสบการณ์การกระโดดจากหอคอยงาช้างเข้าสู่ชนบท" สำหรับผมแล้ว ต้องถือว่า นี่ คือ ประสบการณ์ชีวิต ที่ ยากจะลืมมันได้ลง กระบวนการคิด การทำงาน การปรับชีวิตจากคนใน เมืองกรุง (ผมอาจต่างจากคนอื่นที่เกิด และ โตในกรุงเทพ มาโดยตลอด) แล้วมาใช้ชีวิต ในชนบทร่วมกับเพื่อน มันพลิกผัน จริงๆแล้ว ผมขาดทักษะที่จำเป็น หลายๆ อย่าง สำหรับการใช้ชีวิต ในชนบท การเรียนในมหาวิทยาลัย หรือ การสอบเข้ามหาวิทยาลัย หรือแม้แต่งานที่ยากๆ ที่เคยได้ทำมา รวมทั้ง การเจอกับวิกฤตการณ์ ในการงาน ในรั้วมหาวิทยาลัย ที่พบมานั้น เทียบไม่ได้เลยกับประสบการณ์ของชีวิต ในช่วงปี 2515-2519 โดยเฉพาะ การใช้ชีวิต เต็มรูปแบบแบบชาวบ้าน ผมกำลังคิดอยู่เหมือนกันว่า อยากจะสะท้อน มุมมอง ความรู้สึก ออกมาในทำนอง "จากหอคอยงาช้าง-สู่-กก.หมู่บ้านสหกรณ์และชาวบ้านคนทำไร่ไถนา" (แต่สำหรับการทำไร่ไถนา ได้มีโอกาสเพียงแค่ปีเดียวเอง ซึ่งมันมันน้อยเกินไปสำหรับชีวิต )

     "ไตรเทพฯ" กล่าวกับ "สนามหลวง" ถึงความในใจ ในการถ่ายทอด ข้อมูลและเรื่องราวต่างๆ ในช่วงแห่งการพัฒนาการกิจกรรมของ นักศึกษาในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และในสถาบันการศึกษาต่างๆ ในช่วงก่อนจะเป็น 14 ตุลาคม 2516 อันเป็นเหตุผลหนึ่งของการตัดสินใจ เข้าร่วมกับ พรรคพวกในหมู่บ้านสหกรณ์บ้านแม่ตะมาน จนถึง ปี พ.ศ.2519



หมายเหตุ :

การสร้างแฟ้ม โครงการหมู่บ้านสหกรณ์ ที่หอจดหมายเหตุ มธ.

‏เรียน อาจารย์ ชาญวิทย์ ที่เคารพ

     ผมมีเรื่องขอรบกวนคือ ผมได้เคยไปค้น เอกสารที่หอจดหมายเหตุ มธ. และ พบว่ามีเอกสารที่น่าสนใจ หลายอย่าง แต่ เสียดายที่ เอกสาร ในช่วง 14 ตุลา ถึง 6 ตุลา สูญหายเป็นจำนวนมาก แต่ ก็มีเอกสาร ที่ น่าสนใจ อยู่ หลาย อัน ที่ ช่วยให้ สามารถ ระลึก ถึง บุคคล ต่างๆ ได้ครับ เช่น คำประกาศ ของ สภาหน้าโดม รวม ทั้งรายขื่อ สมาชิกกลุ่มโดบ มี ลายเซ็น รับรอง โดย อาจารย์ บุญสนอง หรือ รายชื่อ และข้อบังคับ พรรคพลังธรรม (พรรคนักศึกษาในช่วงปี 15-19)

ผมเคยได้นัดกับ ทาง มูลนิธิ 14 ตุลา เพื่อรวบรวมข้อมูล ในเชิงลึก โดยการสัมภาษณ์บุคคลหลายๆ คน ในเหตุการณ์ช่วงนั้น และ ทำการ บันทึกเทปไว้ เมื่อ ตอน ช่วง ครบ 30 ปี 14 ตุลาคม กับ น้อง ของ ธงชัย วินิจกุล แต่ ปรากฎว่า ไม่ทราบว่าเป็นเพราะเหตุใด เอกสารและ ข้อสรุปทั้งหมด กลับ เงียบหายไปหมด


     ในประเด็น เหตุการณ์ 14 ตุลาคม ที่ผมได้อ่านจากเอกสารเผยแพร่ของท่านอาจารย์ นับว่ามีประโยชน์ มากครับ แต่ จากการที่รุ่นพี่ที่จะทำการ รวบรวมข้อมูล ผมพบว่า ข้อมูลเบื้องลึก จริงๆ ยังไม่ถูกบันทึกอย่างครบถ้วน และเป็นจริง (ในเหตุการณ์จริง ย่อมมี ข้อด้อยที่แต่ละคนแสดงออก แต่ไม่ได้ถูกบันทึกไว้ อันเนื่องมาจากเหตุผล บางประการ ซึ่งเมื่อนำไปวิเคราะห์ ก็อาจได้ภาพที่ไม่ตรงความจริง)


ที่ผมมารบกวนคราวนี้ คือ เนื่องจาก มีเพื่อนรุ่นพี่ ที่ กำลัง รวบรวมข้อมูล เกี่ยวกับกิจกรรมของนักศึกษา ในช่วง ปี 2514-2519 ที่เราเหลืออยู่คือ บุคคล ครับ เอกสารนั้นแทบไม่มีเหลืออยู่เลย ในแง่ประวัติศาสตร์ การบันทึก ปากคำ จะมีวิธีการอย่างไรครับ ที่จะมีคุณค่าในทางประวัติศาสตร์ และนำไปต่อยอดได้ เพื่อให้ เมื่อนำเสนอต่อ คนทั่วๆไป หรือ คน รุ่น หลัง จึงจะมี ประโยชน์ ครับ ประเด็นที่กำลังรวบรวม มีดังนี้ ครับ

     กิจกรรมนักศึกษา ในช่วงปี 2514-2518 ทั้งงานค่าย งานอนุรักษ์ธรรมชาติ และ งาน ด้านการเมือง ทั้งในมหาวิทยาลัย และ ภายนอก

     อยากรบกวนท่านอาจารย์ให้คำแนะนำด้วยครับ เพื่อ งานครั้งนี้จะไม่เสียเวลาเปล่า เหมือนคราวก่อน (ของมูลนิธิ 14 ตุลา) ครับ

ด้วยความเคารพ
ไตรเทพ




ขออภัยที่ตอบมาช้ามาก

เรื่องเอกสารเหล่านั้น จะมีประโยชน์มาก
ผมคิดวาทาง จดหมายเหตุ มธ
สนใจแน่ๆ
จะส่งไปให้เขาโดยตรง
หรือจะส่งผ่านมาทางผมก็ได้ ครับ

ผมเองก็รวบรวมอะไรต่อมิอะไร ให้เขาอยุ่เรื่อยๆ

อาจติดต่อโดยตรงกับ
ผศ วรรณี
หรือ คุณดาวเรือง
ตามอีเมล์ ที่แนบมานี้ ก็ได้

ชาญวิทย์

________________________________________


เรียน พี่กรณ์ฯ

     หลังจากที่ได้รับเมล์ จาก อจ.ชาญวิทย์ ทำให้เกิดแนวคิดที่จะตั้ง แฟ้ม โครงการหมู่บ้านสหกรณ์ ที่ หอจดหมายเหตุ มธ. ผมเคยไปค้นมา บางแฟ้ม มีเอกสาร เพียง 1-2 ชิ้น สำหรับเอกสารที่พี่กรณ์ มี น่าจะเพียงพอ ทั้ง เอกสาร สัญญาลักษณ์ และ ภาพถ่าย รวมทั้งคิดว่าใบหุ้น สหกรณ์ ก็ น่าจะใช้ได้
ผมเคยไปค้นที่นี่ พบว่าเอกสาร แยกเป็นแฟ้มๆ ขาดการเชื่อมโยงกัน ทำให้ คน ที่ไม่อยู่ในเหตุการณ์ จะเรียงลำดับยากซักหน่อย อาจเนื่องมาจาก ไม่มีแผนภูมิ ที่เชื่อมโยง กลุ่มต่างๆ อย่างที่เราทำ และ คน รวบรวม ไม่อยู่ในเหตุการณ์ เลยไม่รู้จะเชื่อมโยง อย่างไร
พวกเราคิดว่าอย่างไรครับ

ไตรเทพ


อาจารย์ ชาญวิทย์ ตอบมาแล้ว และ แนะนำ ให้ ติดต่อไปที่ E-mail ของ อีก สอง ท่าน พวกเรามีความเห็นอย่างไรครับ

ไตรเทพ




กาลครั้งหนึ่งในแม่ตะมาน ตอน ๑


Back to TOP


หน้าหลัก "สนามหลวง"



Create Date : 27 เมษายน 2551
Last Update : 19 กันยายน 2551 22:48:19 น. 0 comments
Counter : 1743 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

jenifaae
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]




Editor
บทความ ความคิดเห็นที่นำลง"สนามหลวงแก็งค์" ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน
เพียงเราเห็นว่าน่าสนใจและเป็นประโยชน์ในทางข้อมูล ข่าวสาร
หากท่านมีข้อคิดเห็นประการใด โปรดแจ้งให้เราทราบ จักขอบคุณยิ่ง
"สนามหลวงแก็งค์"
kunkorn : Facebook



"Sanamluang's Gang"
"สนามหลวงแก๊งค์"

kunkorn : Facebook

     เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนให้เกิดการศึกษา การเรียนรู้ เผยแพร่ ส่งเสริม สนับสนุน รวบรวมข้อมูล ข่าวสาร อนุรักษ์ รักษาเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ของชนชาติไทย วิถีชีวิต และปรัชญา คุณค่าจิตวิญญาณที่งดงาม สืบสานต่อยอดกันมานานนับพันๆปี และกำลังถูกทำลายด้วยอิทธิพลจากแนวคิดเชิงวัตถุนิยมแบบตะวันตก

● เพื่อการศึกษาหาความรู้ ส่งเสริม สนับสนุน ให้เกิดการศึกษา เรียนรู้ สิ่งที่พระพุทธเจ้าค้นพบ และนำมาเผยแพร่แก่มวลมนุษยชาติ อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ที่แท้จริง มิใช่เพียงวิทยาศาสตร์เชิงวัตถุเพียงอย่างเดียว เพราะถือว่าพระพุทธเจ้า ทรงค้นพบความจริงของธรรมชาติ ทั้งหมดทั้งสิ้น ที่มนุษย์ธรรมดาสามัญอย่างเราๆ ท่านๆ ยังเป็นเพียงผู้รู้ แค่หางอึ่งที่ยังอยู่ในกะลาครอบ แต่บังอาจด่วนสรุป ขัดแย้งกับ สิ่งที่องค์ศาสดาทรงค้นพบมากว่าสองพันปี จนทำให้บังเกิดความสับสน ลดความน่าเชื่อในสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบ

● สนามหลวงแก๊งค์ ต้องขออนุญาตและขอขอบคุณท่านเจ้าของข่าวสาร ข้อมูล ที่เราได้นำลงในสนามหลวงแก๊งค์ ไว้ ณ โอกาสนี้ด้วยจิตคารวะ ทั้งนี้และทั้งนั้น ก็เพื่อให้สนามหลวงแก๊งค์ เป็นแหล่งในการเผยแพร่ ข้อมูล ข่าวสารที่เป็นประโยชน์และเพื่อเป็นวิทยาทานแก่สาธารณชน แต่หากท่านเจ้าของข้อมูล ข่าวสารที่ สนามหลวงแก๊งค์ นำลงไม่มีความประสงค์ให้นำลง ขอได้โปรดแจ้งความประสงค์ เรายินดีที่จะถอดออกต่อไป

ด้วยจิตคารวะ
www.sanamluang.bloggang.com
kunkorn : Facebook


ดาวหาง
     เป็นปรากฎการณ์ทางธรรมชาติ ที่เกิดขึ้นในห้วงมหาจักรวาลอันยิ่งใหญ่ ลี้ลับไร้ขอบเขต ทุกครั้งที่ดาวหางปรากฏ มันจะส่งสัญญาณแห่งความพินาศ มหันตภัย ธรรมชาติ ความตาย ความเจ็บป่วย สงคราม ความขัดแย้ง การกดขี่ การเอารัดเอาเปรียบ การคดโกง การเบียดเบียนของมนุษย์บนพื้นพิภพใบนี้

     มันคือสัญญาณเตือนภัยที่มนุษย์ไม่อาจจะควบคุมได้ ทั้งภัยทางธรรมชาติและภัยที่เกิดขึ้นจากมนุษย์สร้างกันขึ้นมาเองในทุกรอบพันปี

     ไม่ว่ามนุษย์จะคิดว่าตัวเองเก่งกาจสามารถ ฉลาดสักเพียงไหน ก็ไม่อาจหลีกพ้นมหันตภัยเหล่านี้ไปได้
     ดังนั้น จงเชื่อและปฎิบัติตามอย่างไม่ลังเลต่อคำสอนของศาสดาของเราอย่างจริงจังเถิด

     แม้จอมจักรพรรดิ จอมราชันย์ หรือจอมทรราชที่ยิ่งใหญ่ในอดีต ก็ต้องตายร่างกายเน่าเปื่อยเป็นผุยผง และในที่สุดวิญญาณของเขาก็ต้องชดใช้กรรม ด้วยการถูกไฟนรกเผาผลาญโดยไม่มีข้อยกเว้นทั้งทั้งสิ้น

     จงอย่าอหังการ์ว่าตัวเองเก่ง ฉลาด และยิ่งใหญ่กว่าคำสอนของพระศาสดา ไม่มีมนุษย์ตนใดที่จะพ้นจากกฎแห่งธรรมชาติได้ มนุษย์ที่เก่งกว่าเรา เขาได้ตายร่างกายทับถมปฐพีแห่งนี้นับไม่ถ้วนแล้ว


     ● ขออนุญาตนำภาพวาด "วีระชนบนพานรัฐธรรมนูญ" ของ คุณสถาพร ไชยเศรษฐ ศิลปินอิสระ อดีตแนวร่วมศิลปินแห่งประเทศไทย ซึ่งวาดเนื่องในโอกาส 2 ปี 14 ตุลา มาเป็นส่วนหนึ่งของหัว "สนามหลวงบล็อก"                


บริการดูดวง



"สนามหลวงพยากรณ์ออนไลน์" มีความภาคภูมิใจในความสำเร็จตามอุดมการณ์ของเรา ที่ได้ตั้งเอาไว้ว่า "เราจะใช้วิชาความรู้ในด้านการพยากรณ์เพื่อให้เป็นประโยชน์สำหรับการให้การปรึกษาของผู้คนที่กำลังประสบปัญหา ความเดือดเนื้อร้อนใจ หรือการเผชิญกับปัญหานั้นๆได้อย่างไรดี

มนุษย์เกิดแต่กรรม มนุษย์มีกรรมเป็นเหตุ เมื่อเราประสบเคราะห์กรรม ปัญหาอยู่ที่ว่าหากเราทราบเสียก่อน ย่อมเป็นสิ่งที่ดีกว่าการไม่ทราบ อย่างน้อยก็ทำให้เราระมัดระวังตัว อย่างน้อยก็ทำให้เราหลีกเลี่ยงเพื่อทำให้เราเผชิญกับกรรมน้อยลงไป อย่างน้อยก้ทำให้เรารู้ว่าสิ่งเหล่านั้นมันมีที่มา มันมีที่ไปของมัน

มีนักวิชาการและนักวิทยาศาสตร์วัตถุจิตนิยม มักโจมตีอยู่เสมอว่า การดูดวง เป็นเรื่องของความงมงาย หมอดูคู่กับหมอเดา หมายถึงว่า เขาไม่เชื่อในเรื่องของวิชาโหราศาสตร์เพราะคิดไปว่ามันเป็นเรื่องเดียรัจฉานวิชาบ้าง เป็นการคาดเดาเอาเองบ้าง คิดว่ามันเป็นวิชาที่ใช้สถิติสุ่มเอาบ้าง ไม่เชื่อว่าวิชาโหราศาสตร์จะสามารถไขปริศนาแห่งรหัสลับของดวงดาว จักรวาล และธรรมชาติรอบตัว

แสดงว่าเขาลืมไปว่า อัลเบิร์ต ไอสไตน์ และสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้กล่าวไว้ว่า ทุกสรรพสิ่งในโลกรอบตัวเรา ตั้งแต่เล็กเท่าอะตอม (จุลจักรวาล)จนถึงมหาจักรวาล ล้วนมีความผูกพัน ล้วนมีความสัมพันธ์กันอย่างลึกซึ้งแยกกันไม่ออก เพียงแต่ว่า กับอะไร เมื่อไร อย่างไร เท่านั้น

กรรมเป็นผลจากการกระทำของเราในอดีตชาติ จะดีหรือจะร้ายก็เพราะเราทำ เป็นสิ่งที่เราจะต้องได้รับผลแห่งการกระทำเหล่านั้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

โหรฯเป็นเพียงผู้แปลรหัสของดวงดาวและธรรมชาติรอบตัว เพื่อเผยแผนที่ชีวิตของเรา และสามารถมองเห็นช่องทางที่จะเลี่ยงหลบสิ่งเลวร้าย ให้ลดน้อยถอยลงหรือพบพานแต่สิ่งที่ดีดี

การสะเดาะเคราะห์ หรือพิธีการตัดกรรมที่กำลังกล่าวขานถึงก็คือการขออโหสิกรรม ลดการอาฆาตจองเวรกับเจ้ากรรมนายเวรที่กำลังจ้องจองเวรด้วยความอาฆาตพยาบาทที่ถูกเรากระทำในอดีตชาติ ไม่ใช่เป็นการตัดทอนผลกรรมที่เราทำให้หมดไปหรือให้ลดลง เพราะกรรมที่เรากระทำไม่สามารถตัดทอนลงไปได้



สนามหลวงพยากรณ์ออนไลน์พยากรณ์เที่ยงตรง แม่นยำเชื่อถือได้ วิเคราะห์พยากรณ์อย่างเป็นระบบ ไม่เลื่อนลอย ยึดมั่นในอุดมการณ์ของครูที่ท่านได้กำชับให้นำเอาวิชาการพยากรณ์มาช่วยเหลือแนะนำ บรรเทาทุกข์ของผู้คนมากกว่าการพยากรณ์เพื่อการค้า

ต้องยอมรับว่า ไม่ว่าประเทศใด? ชาติใด ภาษาใด? สมัยไหน? ชนชั้นวรรณะใด? ไม่ว่าจะเป็นเจ้าสัว นักธุรกิจ นักการค้า แม่บ้าน นักเรียน นักศึกษา ครู อาจารย์ หรือไม่เว้นแต่นายพล นายพัน รัฐมนตรี หรือระดับผู้นำประเทศ ล้วนแต่เคยดูดวงด้วยกันทั้งสิ้น เพียงแต่ว่า เราจะเชื่ออย่างงมงายหรือจะเชื่อโดยใช้เหตุผลอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ โดยนำเอาคำพยากรณ์มาใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการดำเนินชีวิต หรือทำธุรกิจ การค้า หรือเพื่อการทำสงครามฯ

"สนามหลวงแก็งค์" ไม่สนับสนุนให้เชื่อเรื่อง "ดวง" อย่างงมงาย แต่เราสนับสนุนให้ใช้คำ "พยากรณ์"อย่างมีวิจารณญาณประกอบการตัดสินใจอย่างมีสติ ใช้ "ปัญญา"อย่างมี "เหตุผล"

หลังจาก "สนามหลวงพยากรณ์ออนไลน์" ได้รับการตอบรับอย่างล้นหลาม จนต้องมีการเข้าจองคิวดูดวงเป็นจำนวนมาก ณ ขณะนี้ ไม่ใช่แต่เฉพาะคนไทยในประเทศที่เข้ามาใช้บริการจาก "สนามหลวงพยากรณ์ออนไลน์"เท่านั้น

แต่ยังมีคนไทยที่อยู่หลายประเทศทั่วโลกเข้ามาดูดวง ตรวจสอบชื่อ นามสกุลมากมาย ทั้งนี้คงเป็นเพราะผู้ที่เข้ามา"ดูดวง" กับ "สนามหลวงพยากรณ์ออนไลน์" ได้รับความพอใจในคำพยากรณ์ที่ถูกต้อง แม่นยำ แนะนำแนวทางแก้ไขที่เหมาะสมตามหลักโหราศาสตร์ จึงได้มีการบอกเล่า แนะนำชักชวนกันปากต่อปากเป็นจำนวนมาก

ปัจจุบันนี้ มีผู้เข้ามาเยี่ยมชมwww.sanamluang.bloggang.com มีจำนวนถึง 118 ประเทศ โดยเข้ามาเปิดดูหน้า "สนามหลวงพยากรณ์ออนไลน์"คิดเป็นร้อยละ 80 ของ pageviews ต่างๆใน www.sanamluang.bloggang.comจัดทำบล็อกครั้งแรกเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2550 มีผู้เข้าชมจำนวนทั้งสิ้น 579,020 ครั้ง จากจำนวน 262,960 visitors (ข้อมูล ณ เวลา 12.00 น.ของวันพุธที่ 6 ตุลาคม 2553)

ส่วนใหญ่ลูกค้าที่โทรเข้ามาเกือบ 98% เมื่อโทรฯ เข้ามาดูดวงแล้ว จะสามารถนัดวัน เวลาดูดวงได้โดยไม่มีปัญหาแต่อย่างใด อาจจะมีอยู่บ้างเพียงไม่กี่รายที่โทรฯเข้ามาเพื่อสอบถามรายละเอียดเพียงอย่างเดียวเท่านั้น

อาจจะเนื่องมาจากไม่คุ้นเคยการทำธุรกิจแบบออนไลน์ โดยมีการโอนเงินก่อน ไม่ไว้ใจ หรือไม่กล้า ซึ่งมีจำนวนน้อยมาก ประมาณ 2%

สำหรับที่เมลฯมาถามและเงียบไป ไม่สามารถทราบจำนวนได้ อาจเนื่องจากเป็นรายที่โทรเข้ามานัดอีกทางหนึ่งก็เป็นได้

สนามหลวงพยากรณ์ออนไลน์ ยังมีอาจารย์ผู้สอนวิชาโหราศาสตร์ ผ่านประสบการณ์ในการดูดวงหลายปีคิดเป็นจำนวนหลายพันดวง

แน่นอน แม่นยำกระชับ ชัดเจน หากไม่ทราบเวลาตกฟากท่านก็ยังสามารถดูได้ รายที่กำลังประสบเคราะห์หามยามร้าย ท่านก็จะช่วยแนะนำและแก้ไขเรื่องเลวร้ายให้กลายเป็นดีด้วยศาสตร์แห่งความลี้ลับของโหราศาสตร์ โดยไม่ต้องเสียเงินสะเดาะเคราะห์ สามารถดูได้ถึงขนาดปัญหาเรื่องคู่ครอง เรื่องเคราะห์ เรื่องหน้าที่การงาน โดยใช้ "วิชาโหราศาสตร์ดวงไทย"อันเป็นสุดยอดของวิชาโหราศาตร์โบราณของไทย

นอกจากนั้น เรายังมี ซินแส ที่เชี่ยวชาญเรื่องการดูฮวงจุ้ย ทำเลปลูกบ้าน อาคารสำนักงาน ดูฤกษ์ยาม แต่งงาน คลอดบุตร ขึ้นบ้านใหม่ เปิดกิจการต่างๆโดยใช้วิชาโหราศาสตร์จีนโบราณผสานตำราดวงไทย ซึ่งซินแสท่านมีประสบการณ์การดูดวงมาไม่น้อยกว่า 45 ปี ผ่านการดูให้กับนักธุรกิจชื่อดังของเมืองไทย และนักธุรกิจชั้นนำจากฮ่องกงหลายราย

ติดต่อ 081-4834367 หรือ workingmailhome@hotmail.com
--------------------------------------------
● ปรึกษาปัญหากฏหมาย
ละเมิด,สัญญา,อายัดทรัพย์ ยึดทรัพย์
--------------------------------------------
● ปัญหาติดต่อราชการ
บริการปรีกษาเรื่อง ภาษีป้าย ภาษีโรงเรือน ภาษีที่ดิน ค่าธรรมเนียมต่างๆ และการติดต่อราชการต่างๆ ของสำนักงานเขต
--------------------------------------------
● พิมพ์รายงาน,ค้นหาข้อมูล,

● งานพิมพ์ Lay-Out,Art Work
--------------------------------------------
สำนักพิมพ์ดาวหาง
www.sanamluang.bloggang.com




รับวาดรูปเหมือน และสอนวาดรูป
โดยอาจารย์ ผู้ชำนาญ

ราคาย่อมเยา

















หลังเกิดเหตการณ์ 14 ตุลา 2516 นิสิต นักศึกษา ปัญญาชน ต่างหลั่งไหลดั่งสายน้ำ ล้นขอบ ออกจากเมือง เข้าสู่ ชนบท เหตุเกิดเมื่อ กลางปี พ.ศ.2516 จนถึง พ.ศ.2519 นักศึกษากลุ่มหนึ่ง ได้ พบกันโดยบังเอิญ และ ได้ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันกับชาวบ้าน ณ หมู่บ้าน แม่ตะมาน ตำบลกื๊ดช้าง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ภายใต้ ชื่อโครงการว่า "โครงการหมู่บ้านสหกรณ์แม่ตะมาน"
เชิญ พบ และติดตาม กับเรื่องราว และบทสรุป อันควรเป็นจุดเริ่มต้น ต่อไปใน

     เมล็ดพันธุ์ประชาธิปไตย ที่ถูกหว่านทั่วท้องทุ่งแห่งประชาไทย มาบัดเดี๋ยวนี้ เมื่อต้องฝน ต้องลม แห่งกาลเวลาพัดผ่าน จาก 2516 , 2519 2535,จน 2540 ถึง 2550บางเมล็ดพันธุ์ก็ยังขาวพิสุทธิ์สดใส บ้างเมล็ดพันธุ์เปลี่ยนสี บ้างก็ดอกสีเหลือง บ้างก็ดอกสีแดง บ้างก็ดอกสีม่วงก้มี สีเขียว สีน้ำเงิน หรือบ้างก็อาจเฉาโรยรา หรือบ้าง ผสมผสานกลายพันธุ์ ก็มีไม่น้อย
มาบัดเดี๋ยวนี้ มันไม่ใช่ จิต วิญญาณ แห่ง 14 ตุลา เดิมเสียแล้ว ไม่ใช่พันธุ์เดียวกัน อย่าได้ เอ่ยอ้างเลย ว่า วิญญาณ 14 ตุลา ยังคง...มันประชาธิปไตย ที่ไม่ บริสุทธิ์ผุดผ่องเหมือนอย่างเดิมเสียแล้ว.....
..แต่มันเป็น.ประชาธิปไตย...เพื่อใคร..??


“ทุกวันนี้ เราจะรับรู้ ได้เห็น ได้ยินแต่เรื่องเลวร้าย ในสังคม
เราจึงขอบันทึกสิ่งที่ดีๆ ต่างๆ เหล่านี้ ด้วยจิตคารวะ และขอเป็นกำลังใจให้เกิดสิ่งที่ดีงามเหล่านี้ต่อไป”>>>



อ่านงานเขียนเกี่ยวกับภาพยนตร์หลากหลายประเทศทั่วโลก ที่นี่ >>>





*จำนวนผู้ชมทั้งสิ้น* สถาปนาบล็อค 21 ก.ค.2550
Friends' blogs
[Add jenifaae's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.