Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2553
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
 
13 พฤศจิกายน 2553
 
All Blogs
 

สหวิทยาการทางรัฐศาสตร์ Integrated Disciplines of Political Science

สหวิทยาการทางรัฐศาสตร์
Integrated Disciplines of Political Science


ความสัมพันธ์เชิงสหวิทยาการของศาสตร์ต่างๆต่อการศึกษารัฐศาสตร์ การศึกษาทฤษฎี แนวคิด และ
ตัวแบบของวิชาการแขนงต่างๆ โดยการประสานให้เป็นหนึ่งเดียวที่มีความสอดคล้อง เหมาะสม
ในการพัฒนาศักยภาพของการศึกษารัฐศาสตร์ หลักและวิธีการศึกษาของศาสตร์ต่างๆ รวมทั้งวิธีวิทยาของ
การศึกษาเพื่อองค์ความรู้

วัตถุประสงค์

1. เพื่อสร้างองค์ความรู้ทางรัฐศาสตร์เชิงสหวิทยาการ อันเกิดจากการประสานหลัก ทฤษฎี และ
วิธีการศึกษาของศาสตร์แขนงต่างๆ
2. เพื่อนำองค์ความรู้ทางรัฐศาสตร์เชิงสหวิทยาการ ไปประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาบ้านเมือง และ
การปกครองของไทย

1. ศาสตร์ในยุคก่อนสมัยใหม่


จุดเริ่มต้นของอารยธรรมของมนุษย์

พัฒนาการของศาสตร์ ได้เกิดขึ้นพร้อมๆกับการเกิดของมนุษย์ที่เกิดมาบนโลก ตั้งแต่ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ หรือก่อนยุคหินเก่า
เมื่อมนุษย์ได้หยุดเร่ร่อนและตั้งหลักแหล่งบนดินแดนที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่างๆทางด้านตะวันออกกลาง เช่น อารยธรรมที่เกิดขึ้นที่ ลุ่มแม่น้ำไทกริส-ยูเฟรติส ลุ่มแม่น้ำไนล์ หรือ อารยธรรมตะวันออก ที่เกิดขึ้นใน จีน และอินเดีย ความรู้ของมนุษย์ได้สะสมเพิ่มพูนขึ้นเรื่อยๆ
ข้อแตกต่างที่สำคัญ ของการแสวงหาความรู้ในอารยธรรมตะวันออก คือ จีน อินเดีย แตกต่างไปจากความรู้ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาในอารยธรรมตะวันตก คือ ปรัชญาตะวันออกโดยเฉพาะปรัชญาจีน ไม่ได้ให้ความสำคัญกับวิทยาศาสตร์ ปรัชญาตั้งบนพื้นฐานของความปรารถนาที่จะเข้าใจวิถีทางของธรรมชาติ และล่วงรู้ความต้องการของประชาชน ซึ่งเป็นความรู้ด้านการปฏิบัติในชีวิตประจำวันมากกว่าทางด้านวิทยาการ เน้นความมีจริยธรรมมากกว่าความมีสติปัญญา
ในขณะที่ความรู้ที่พัฒนามาทางตะวันตกเน้นความสนใจปัญหาเรื่องความขัดแย้งระหว่างสิ่งต่างๆ เช่น ความขัดแย้งระหว่ามนุษย์กับพระเจ้า ระหว่างสังคมกับปัจเจกบุคคล และระหว่างอำนาจกับเสรีภาพ

ความรู้หรือศาสตร์สมัยอารยธรรมกรีกโบราณ

เราแบ่งอารยธรรมกรีกออกเป็น 2 ยุค คือ
ยุคแรก (Hellenic) เป็นอารยธรรมที่เกิดขึ้นในนครรัฐต่างๆ ที่อยู่บนดินแดนของประเทศกรีกเอง
ความรู้หรือศาสตร์ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมา ได้แก่ ดาราศาสตร์ เลขาคณิต จักรวาลศาสตร์ ที่เสนอโดย ธาเลส (Thales) แห่งไม่เลตัส ประมาณ 600 ปี ก่อนศริสตศักราช ต่อมาก็ อะแน็กซิแมนเดอร์ แล้วก็ ลิวชิปปัส และ เดโมคริสตัส ที่เสนอทฤษฎี ที่เรียกว่า อะตอม และที่สำคัญที่สุด คือ ไพธากอรัส (Pythagoras) แห่ง ซามอส เป็นมรดกทางภูมิปัญญาให้กับการศึกษาทางคณิตศาสตร์
ยุคหลัง (Hellenistic) เป็นอารยธรรมที่ไม่ได้เกิดขึ้นในประเทศกรีก แต่เกิดขึ้นในนครรัฐ ที่ถูกจัดตั้งขึ้นตามสถานที่ต่างๆ ได้แก่ อเล็กซานเดีย ประเทศอียิปต์
ความรู้หรือศาสตร์ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมา ได้แก่ กฎทางเรขาคณิตที่เป็นระบบ คณิตศาสตร์ และกลศาสตร์ และดาราศาสตร์ แต่จะขอกล่าวถึงเพียง 2 ท่าน คือ เพลโต กับ อริสโตเติล
เพลโต – เขียนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับจุดกำเนิดของความรู้ โดยเชื่อว่า ความรู้นั้นมีอยู่นอกเหนือไปจากสิ่งที่เรารับรู้ได้ด้วยระบบประสาทสัมผัสของเรา และความรู้ด้านกรอบแนวคิด หัวใจสำคัญ คือทฤษฎีที่ว่าด้วยรูปแบบ (Forms) ซึ่งจะต้องทำความเข้าใจกับความรู้ทางคณิตศาสตร์ และได้พยายามที่จะนำทฤษฎีรูปแบบไปอธิบายเรื่องเกี่ยวกับจริยธรรมทางสังคม
อริสโตเติล – ไม่เห็นด้วยที่สำนัก อะคาเดมี ให้ความสำคัญกับคณิตศาสตร์และทฤษฎีมากเกินไป และให้ความสำคัญกับวิทยาศาสตร์ธรรมชาติน้อย เขาให้ความสำคัญกับวิทยาศาสตร์ หรือปรัชญาธรรมชาติมาก และเป็นผู้บุกเบิกการวิเคราะห์เชิงตรรกวิทยาอย่างเป็นระบบ และยังเชี่ยวชาญด้านชีววิทยาอีกด้วย วิธีการที่อริสโตเติลใช้ คือ การสังเกตการณ์ปรากฏการณ์ (Appearances) คือ การให้คำอธิบายการเกิดขึ้นของปรากฏการณ์จากสาเหตุที่อยู่ลึกลงไปที่ไม่สังเกตเห็นได้ วิธีการที่ใช้ คือ เริ่มต้นตรวจสอบแบบไดอะเลกติก ต่อข้อเสนอ หรือความรู้ที่นำเสนอโดยผู้อื่นก่อนหน้านั้น เขาอธิบาย แยกแยะให้เห็นความหมายต่างๆของข้อเสนอเหล่านั้น ชี้ให้เห็นถึงความขัดแย้งที่มีอยู่ในตัวมันเอง และนำเอาข้อเท็จจริงมาใช้เพื่อให้คำอธิบาย การนำคำอธิบายหรือทฤษฎีที่มีผู้เสนอขึ้นมาก่อน มาทำการสร้างใหม่ โดยพิจารณาจากความสอดคล้อง หรือความขัดแย้งกันแย้งภายในของข้อเสนอเชิงทฤษฎีนั้น และการนำเอาปรากฏการณ์ภายนอกนำมาเปรียบเทียบ วิธีการนี้ เรียกว่า วิธีการอุปนัย (Induction)



ท่านใดสนใจอ่าน Full Text หาอ่านได้จาก หนังสือประมวลสาระชุดวิชา 83701 สหวิทยาการทางรัฐศาตร์




 

Create Date : 13 พฤศจิกายน 2553
0 comments
Last Update : 18 มกราคม 2554 0:21:38 น.
Counter : 2279 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


pitasanu
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




Education is life long learning
การศึกษา เรียนรู้ได้ตลอดชีวิต
Friends' blogs
[Add pitasanu's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.