Group Blog
 
 
ตุลาคม 2552
 
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
2 ตุลาคม 2552
 
All Blogs
 
ลักษณะสำคัญของการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ

การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)

เป็นการแสวงหาความรู้โดยการพิจารณาปรากฏการณ์สังคมจากสภาพแวดล้อมตามความจริงในทุกมิติ สนใจข้อมูลด้าน ความรู้สึกนึกคิด การให้ความหมายหรือคุณค่ากับสิ่งต่าง ๆ ตลอดจนค่านิยมหรืออุดมการณ์ของบุคคล เน้นการเข้าไปสัมผัสกับข้อมูลหรือปรากฏการณ์โดยตรง มักใช้เวลานานในการศึกษาติดตามระยะยาว ไม่เน้นการใช้สถิติตัวเลขในการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้การสังเกตและการสัมภาษณ์เป็นวิธีหลักในการ เก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการตีความสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย (inductive)
ลักษณะสำคัญของการวิจัยเชิงคุณภาพ
1. เน้นข้อมูลด้านความรู้สึกนึกคิด จิตใจ การให้ความหมายหรือคุณค่ากับสิ่งต่าง ๆ ตลอดจนค่านิยมหรืออุดมการณ์ของบุคคล
2. เป็นการศึกษาปรากฏการณ์ในบริบทสังคมและวัฒนธรรม หรือสภาพแวดล้อมตามความเป็นจริงในภาพรวมโดยการมองจากหลายแง่มุม มักจะมีการวิจัยในสนาม (Field research)
3. เป็นการศึกษาติดตามระยะยาวและเจาะลึกเพื่อให้เข้าใจการเปลี่ยนแปลงของปรากฏการณ์สังคม
4. คำนึงถึงความเป็นมนุษย์ของผู้ถูกวิจัยโดยการเข้าไปสัมผัส สร้างความสนิทสนมและความไว้เนื้อเชื่อใจ
5. ใช้การพรรณนาให้เห็นรายละเอียดเกี่ยวกับสภาพทั่วไปของชุมชนหรือกรณีที่ศึกษา และใช้การวิเคราะห์ตีความโดยนำข้อมูลเชิงรูปธรรมย่อย ๆ หลาย ๆ กรณีมาสรุปเป็นเชิงนามธรรม
6. ผู้วิจัยจะนำความรู้สึกนึกคิดส่วนตัวเข้าไปรวมอยู่ด้วย

การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research)

เป็นการวิจัยเพื่อตอบปัญหาวิจัย ที่มีการวัดค่าของตัวแปรออกมาเป็นตัวเลข การวิจัยเชิงปริมาณจะพยายามออกแบบวิธีการวิจัยให้มีการควบคุมตัวแปรที่ศึกษา ถ้าเป็นการศึกษาตัวแปร 2 ตัวขึ้นไป ก็เป็นการวิเคราะห์ตัวแปรเหล่านั้นว่า มีความสัมพันธ์กันหรือไม่ ตัวแปรใดเป็นตัวแปรอิสระ ตัวแปรใดเป็นตัวแปรตาม และต้องจัดเตรียมเครื่องมือรวบรวมข้อมูลให้มีคุณภาพ จัดกระทำสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องให้เป็นมาตรฐาน และใช้วิธีการทางสถิติช่วยวิเคราะห์และประมวลข้อสรุปเพื่อให้เกิดความคลาดเคลื่อน (Error) ให้น้อยที่สุด
ลักษณะสำคัญของการวิจัยเชิงคุณภาพ
1.วัตถุประสงค์
การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) มีวัตถุประสงค์ที่จะพยายามให้คำอธิบายปรากฏการณ์ทางวิทยาศาสตร์ โดยพยายามใช้แนวที่เรียกว่า ปฏิฐานนิยม (Positivism) การอธิบายปรากฏการณ์จึงเป็นการนำเสนอเชิงตัวเลข ทางสถิติ เช่น ร้อยละของประชากรที่อาศัยอยู่ในเมือง ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของความพึงพอใจ
2.ลักษณะของข้อมูล
การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) จะเก็บข้อมูลด้วยวิธีการสำรวจ เน้นการเก็บข้อมูลจากคนจำนวนมาก เพื่อทำการวิเคราะห์และทดสอบทฤษฎีหรือสร้างทฤษฎีและให้ความหมายในเชิงวิชาการมากกว่าการศึกษาแง่มุมแบบชาวบ้าน
3.การตั้งสมมติฐานและการทดสอบสมมติฐาน
การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) ข้อมูลจากการวิจัยเชิงปริมาณจะเหมาะสมกับการทดสอบทฤษฎีด้วยวิธีการแบบอุปนัย (Deductive) แนวปฎิฐานนิยมเป็นหลัก
4.การทดสอบความแม่นยำ เที่ยงตรงของข้อมูลและความเชื่อถือได้ของข้อมูล
การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) ใช้การเก็บข้อมูลจากคนจำนวนมากด้วยแบบสอบถาม คำถามในแบบสอบถามจึงจำเป็นต้องมีความชัดเจน
5.ระยะเวลา
การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) ขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูลสามารถแยกออกจากการเก็บข้อมูลโดยเด็ดขาดได้ การวิเคราะห์ข้อมูลอาจให้เจ้าหน้าที่วิเคราะห์เชิงสถิติดำเนินการได้โดยไม่จำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับชุมชนที่ไปศึกษา

ข้อดีและข้อด้อยของการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ

ข้อดีของวิจัยเชิงคุณภาพ
1.นักวิจัยสามารถลงลึกในรายละเอียดได้มากตามที่ต้องการ เพราะเป็นการศึกษาขนาดเล็ก
2.มีความยืดหยุ่นในการออกแบบ การใช้เครื่องมือสำหรับเก็บข้อมูล และการดำเนินการวิจัย
3.สามารถใช้ข้อมูลได้หลากหลายชนิด ทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ในการวิจัยเรื่องเดียวกัน
4.ใช้วิธีเก็บข้อมูลได้หลากหลายวิธี ในงานวิจัยเรื่องเดียวกัน
5.เป็นการวิจัยที่ให้ความสำคัญแก่ความเป็นมนุษย์ของผู้ถูกศึกษา ความสัมพันธ์ระหว่างนักวิจัยกับกลุ่มตัวอย่างมีความสำคัญมาก กลุ่มตัวอย่างไม่ใช่เป็นเพียงผู้ถูกกระทำ แต่เป็นผู้มีส่วนร่วมในการวิจัยนั้น
ข้อด้อยของวิจัยเชิงคุณภาพ
1.ไม่เหมาะสำหรับการศึกษากลุ่มตัวอย่างที่มีขนาดใหญ่
2.เพราะมีความยืดหยุ่นในการดำเนินการวิจัย หากผู้วิจัยไม่มีประสบการณ์เพียงพอ อาจมีปัญหาในเรื่องความน่าเชื่อถือของการใช้เครื่องมือ และความถูกต้องตรงประเด็นของผลการศึกษา
3.การเลือกกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาแบบเจาะจง ทำให้การนำผลการศึกษาไปใช้ในวงกว้าง เป็นไปอย่างมีข้อจำกัด
4.กระบวนการเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ และข้อสรุป ค่อนข้างจะเป็นอัติวิสัย
5.ไม่เหมาะสำหรับใช้ทดสอบสมมติฐาน หรือทดสอบแนวคิดทฤษฏี
ข้อดีของวิจัยเชิงปริมาณ
1.มีวัตถุประสงค์เพื่อหาคำตอบ หรือเป็นการแจกแจงวัตถุประสงค์ของการศึกษา กำหนดขอบเขตของปัญหาให้ชัดเจน สามารถหาคำตอบได้
2.ลักษณะการดำเนินงานวิจัย มีระบบที่แน่นอน สามารถศึกษากลุ่มตัวอย่างที่มีขนาดใหญ่ได้
3.กลุ่มตัวอย่างในการศึกษามีจำนวนมาก สามารถนำผลการศึกษาไปใช้ในวงกว้างได้
4.กระบวนการเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ และข้อสรุป มีรูปแบบตายตัว ใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ จึงแม่นยำ เที่ยงตรง เพราะใช้วิธีการทางสถิติ
5.สามารถนำมาใช้ทดสอบสมมติฐาน หรือทดสอบแนวคิด ทฤษฏีได้
ข้อด้อยของวิจัยเชิงปริมาณ
1.นักวิจัยไม่สามารถลงลึกในรายละเอียดได้มากตามที่ต้องการเพราะเป็นการศึกษาขนาดใหญ่
2.ไม่มีความยืดหยุ่นในการออกแบบ การใช้เครื่องมือสำหรับเก็บข้อมูล และการดำเนินการวิจัย เพราะมีรูปแบบการวิจัยที่ชัดเจน ตายตัว
3.ข้อมูลไม่มีความหลากหลาย แต่เน้นความสำคัญที่ คำถาม ของผู้ถามเท่านั้น
4.วิธีเก็บข้อมูลไม่มีความหลากหลาย ในงานวิจัยเรื่องเดียวกัน
5.เป็นการวิจัยที่ไม่ให้ความสำคัญแก่ความเป็นมนุษย์ของผู้ถูกศึกษา ไม่มีความสัมพันธ์ระหว่างนักวิจัยกับกลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างเป็นเพียงผู้ถูกกระทำ และไม่ได้เป็นผู้มีส่วนร่วมในการวิจัยนั้น


บรรณานุกรม


ดร.จุมพล หนิมพานิช (2551) “การวิจัยเชิงคุณภาพ (1)” ใน ประมวลสาระชุดวิชาการวิเคราะห์การเมือง
และระเบียบวิธีวิจัยทางรัฐศาสตร์ 80702 หน่วยที่ 9-10 หน้า 5-64 นนทบุรี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช สาขาวิชารัฐศาสตร์
ชาย โพธิสิตา (2550) “การวิจัยเชิงคุณภาพ ลักษณะ การใช้ ข้อได้เปรียบ ข้อจำกัด” ใน การบรรยายพิเศษ
วันที่ 21 กันยายน 2550 สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
ดร.ธงชัย วงศ์ชัยสุวรรณ (2551) “วิจัยเชิงปริมาณ(1)-(2)” ใน ประมวลสาระชุดวิชาการวิเคราะห์การเมือง
และระเบียบวิธีวิจัยทางรัฐศาสตร์ 80702 หน่วยที่ 9-10 หน้า 5-64 นนทบุรี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
มนัส สุวรรณ (2544) ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์ พิมพ์ครั้งที่ 2
กรุงเทพฯ โอ เอส พริ้นติ้ง เฮาส์
มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบูรณ์ (2548) “รูปแบบของ e-university” ค้นคืนวันที่ 2 กันยายน 2552



Create Date : 02 ตุลาคม 2552
Last Update : 2 ตุลาคม 2552 12:09:00 น. 2 comments
Counter : 64464 Pageviews.

 
ขอบคุณค่ะ


โดย: แนน IP: 222.123.181.93 วันที่: 15 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:22:33:24 น.  

 
big thanks kaa


โดย: nat IP: 119.31.121.87 วันที่: 21 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:20:33:43 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

pitasanu
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




Education is life long learning
การศึกษา เรียนรู้ได้ตลอดชีวิต
Friends' blogs
[Add pitasanu's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.