เมื่อวานเ็ป็นเพียงความทรงจำของวันนี้ และพรุ่งนี้เป็นเพียงความฝันของวันนี้ เพราะฉะนั้นเรามาทำวันนี้ให้ดีที่สุดกันเถอะ
Group Blog
 
 
มีนาคม 2552
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
5 มีนาคม 2552
 
All Blogs
 
ตะลึงแอดมิชชั่น 2553 “จุฬาฯ แหวกแนว รับตรงอื้อ”

มีข้อสรุปออกมาแล้วสำหรับระบบรับบุคคลเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาในปีการศึกษา พ.ศ.2553 ก็เป็นที่น่าสังเกตว่า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ในระบบแอดมิชชั่นเดิมให้ความสำคัญกับระบบกลางมากกว่าระบบรับตรง ในอัตราส่วน 70 : 30 แต่พอมาระบบใหม่นี้มันเกิดอะไรขึ้นถึงทำให้ผู้บริหารของ จุฬาฯ ถึงเปลี่ยนมาให้ความสำคัญกับระบบรับตรงมากกว่าระบบกลาง ถึง 60 : 40 ก็เป็นสิ่งที่น่าจะสะท้อนบางอย่างเกี่ยวกับระบบการศึกษาของไทยได้บ้าง


ข้อสังเกตเกี่ยวกับระบบนี้ก็คงนี้ไม่พ้นการรับบุคคลเข้าศึกษาต่อในคณะวิศวกรรมศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ เพราะเหตุใดถึงมีนิสิตติด F ครึ่งค่อนคณะ ผลต่อมาก็คือ การถูกรีไทร์เป็นจำนวนมาก มันแสดงให้เห็นถึงความล้มเหลวของระบบเก่าหรือไม่ ดังนั้นเกณฑ์การรับของจุฬาฯ ในปี 2553 สำหรับคณะวิศวกรรมศาสตร์จึงแยกรับตรงกว่า 60% ยิ่งไปกว่านั้นมีการใช้คะแนนความถนัดทางวิศวกรรม (PAT 3) ถึง 50% จากองค์ประกอบทั้งหมด แสดงให้เห็นว่ามีการแก้ไขปัญหาการคัดเลือกเด็กที่ไม่มีคุณภาพเข้ามาศึกษา เด็กบางคนทำคะแนนไทย-สังคม ดีจนเข้าเรียนวิศวะได้ก็มี


สำหรับคณะวิทยาศาสตร์ก็เป็นอีกคณะที่มีปัญหา มีคำถามว่า ทำไมเด็กคณะวิทยาศาสตร์ถึงติด F กว่า 40% ทำไมขึ้นปี 2 แล้ว เพื่อนๆ หายไปกว่าครึ่งคณะ นี่มาจากความล้มเหลวของระบบการคัดเลือกหรือไม่ ในแอดมิชชั่นระบบใหม่ จุฬาฯ จึงรับตรงกว่า 50% ในคณะนี้ และที่สำคัญ คือ มีแบบทดสอบความถนัดทางวิทยาศาสตร์ของจุฬาฯ โดยเฉพาะ โดยใช้เกณฑ์ถึง 40% จากองค์ประกอบทั้งหมด ส่วน PAT 1 และ 2 ที่เป็นความถนัดทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ก็ใช้เกณฑ์ 10 และ 30 % ตามลำดับ แสดงให้เห็นถึงการแก้ไขปัญหาดังกล่าวเช่นกัน

คณะต่อมา คือ คณะอักษรศาสตร์ ซึ่งเป็นที่น่าตกใจว่า จะรับตรงทั้งหมด 100% เนื่องมาจากเกณฑ์ที่ทาง สกอ. กำหนดมาในระบบใหม่นั้น ไม่สามารถใช้วิชาภาษาต่างประเทศคัดเลือกเด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพ จุฬาฯ จึงมีมติให้รับตรงคณะอักษรศาสตร์ทั้งหมด เพื่อคัดเลือกเด็กที่มีความสามารถทางภาษาอย่างแท้จริง


ลองมาดูที่คณะครุศาสตร์ ก็เป็นที่น่าแปลกใจเช่นกัน เนื่องจากเป็นคณะที่แทบจะไม่รับตรงเลย นอกจากสาขาวิชาดนตรีศึกษา สาขาวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา และวิชาเอกภาษาเยอรมัน คณะครุศาสตร์เป็นอีกคณะหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากแอดมิชชั่นระบบใหม่ เพราะไม่มีเกณฑ์ความถนัดทางวิชาการในการรับเข้าอย่างแท้จริง กล่าวคือ เด็กที่ต้องการเรียนวิชาเอกในกลุ่มวิทยาศาสตร์ หรือมนุษยศาสตร์-สังคมศึกษา จะเข้ามาในระบบกลางโดยที่ไม่ต้องใช้วิชาเหล่านั้นเป็นเข้าคัดเลือก นอกจากการสอบ O-Net ที่ใช้ 40% รวม 8 วิชา แสดงให้เห็นว่าการแอดมิชชั่นระบบใหม่ไม่สามารถคัดนิสิตคณะครุศาสตร์เข้าวิชาเอกได้อย่างมีคุณภาพ ทำให้มีมติออกมาว่าคณะครุศาสตร์จะรับตรงเพิ่มขึ้นเป็น 50% ซึ่งนอกจากใช้คะแนนเฉลี่ยสะสม (GPAX) 10% และ GAT 20% แล้ว ยังมีการใช้คะแนนความถนัดทางวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ หรือภาษาต่างประเทศ กว่า 40% ประกอบกับความถนัดทางวิชาชีพครู 30% รวมกับ GPAX และ GAT และมีการใช้คะแนนความถนัดทางวิชาชีพครู 30% รวมกับคะแนนแบบทดสอบพื้นฐานที่ทางคณะจัดสอบเอง 40% รวมกับ GPAX และ GAT ในอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งแตกต่างจากระบบกลางที่ใช้แต่ความถนัดทางวิชาชีพครู รวมกับ GPAX และ GAT


อย่างไรก็ตาม การรับตรงของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะไม่ใช้คะแนน O-Net เป็นเกณฑ์การคัดเลือก รวมทั้งวิชาความถนัดต่างๆ (PAT) ก็สามารถใช้ได้ในครั้งเดียว คือ การสอบในเดือนกรกฎาคมเท่านั้น ถือเป็นการรับเข้าศึกษาต่อที่อาจจะจำกัดสิทธิเด็กไปซักนิดนึง แต่ก็เพื่อการคัดเลือกนิสิตที่มีคุณภาพ สามารถศึกษาในระดับอุดมศึกษาตามความถนัดของตนอย่างแท้จริง ตามแนวคิดแบบ Realism ที่ส่งเสริมให้เด็กมีความรู้และทักษะตรงตามความถนัดของตน เพื่อการดำรงชีวิตอย่างมีความสุขตามเป้าหมายชีวิตที่ตนกำหนดไว้ในอนาคต หากเราเรียนในสิ่งที่ตนเองถนัดแล้ว ก็สามารถทำสิ่งนั้นได้ดีกว่าสิ่งที่ตนเองไม่ถนัดเสมอ



ศึกษาเพิ่มเติมได้จาก //www.admissions.chula.ac.th/chula2553.pdf


Create Date : 05 มีนาคม 2552
Last Update : 5 มีนาคม 2552 20:10:55 น. 14 comments
Counter : 436 Pageviews.

 
เห็นด้วยค่ะ

คิดว่า ควรจะคัดเลือกเด็กที่เขามีความถนัดในวิชาที่จะต้องใช้ในการเรียนของคณะนั้นๆจริงๆ เพราะเมื่อเรียนไป ก็จะได้ไม่มีปัญหาในการเรียนค่ะ เช่น เรียนไม่ไหว


โดย: *o* IP: 114.128.102.31 วันที่: 5 มีนาคม 2552 เวลา:20:12:07 น.  

 
เห็นด้วยและขอขอบคุณเป็นอย่างยิ่ง

เนื่องด้วยการที่ส่วนกลางนั้นไม่สามารถจัดการระบบที่อ้างอิงว่าเป็นระบบที่ทั่วโลกใช้ได้อย่างมีประวิทธิภาพ

จึงเป็นการควรแล้วที่จุฬาฯจะเป็นแกนนำในการปฏิรูประบบการศึกษาไทย เพื่อให้ประเทศชาติได้มีกำลังสำคัญเสียที

อยากฝากให้ท่านที่คิดระบบนี้มาใช้ในการศึกษาไทยได้ไตร่ตรองสักนิดว่าสิ่งที่ท่านทำนั้นถูกต้องหรือไม่

ค่าสอบสูง = เด็กไม่มีเงินสอบ = เสียโอกาส
สอบเยอะ = เด็กเครียด = เสียสุขภาพจิต
สอบหลายครั้ง = ไม่มีมาตรฐาน = เด็กไม่มีคุณภาพ

ช่อนตอบหน่อยครับว่า ระบบใหม่นี้ "ดี" อย่างไร

ขออภัยหากข้อความนี้ดูรุนแรงไปนิด แต่นี่คืออีกกระบอกเสียงหนึ่งที่รับความรู้สึกจากน้อง ๆ ที่ไม่มีโอกาสสอบ
"เพราะระบบการสอบใหม่ที่ท่านคิดว่าดี"

ขอขอบคุณจุฬาฯที่เปิดโอกาสให้เด็กทุก ๆ คนครับ


โดย: Higashi IP: 125.24.16.109 วันที่: 5 มีนาคม 2552 เวลา:20:42:57 น.  

 
แม้ว่าระบบการรบนักเรียนเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยจะมีการแก้ไขมาหลายครั้งด้วยกัน ตั้งแต่ระบบเอนทรานซ์ แอดมิชชั่น มาจนถึงการสอบในระบบ GAT, PAT และการสอบตรง แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นก็ดูเหมือนว่าจะมีต่อไปเรื่อย ๆ โดยเฉพาะปัญหาการรับนักเรียนที่ไม่เหมาะสม หรือไม่มีความรู้ความสามารถพอในการเรียนคณะนั้น ๆ
อย่างไรก็ตาม สำหรับข้าพเจ้าเห็นด้วยกับบทความข้างต้นในเรื่องการรับนักเรียนเข้าศึกษาต่อด้วยวิธีการสอบตรง จะทำให้ได้ผู้เรียนที่ตั้งใจเข้ามาเรียนจริง ๆ และได้ผู้ที่มีความรู้เหมาะสมกับคณะนั้นๆ เป็นอย่างดี ไม่ใช่เข้มาเรียนเพียงเพราะติดเข้ามา หรือไม่รู้จะเลือกคณะอะไรดี พอคะแนนถึงก็เลือกคณะนั้นๆ แล้วกัน
หากหลักการของ Realism กล่าวว่าการศึกษาคือการเตรียมความพร้อมให้กับผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนสามารถดำรงชีวิตด้วยทักษะต่างๆ ในโลกแห่งวัตถุนี้ได้อย่างมีความสุข วิธีการสอบตรงนี้ ก็จะเป็นการทำให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาทักษะและความชำนาญของผู้เรียนแต่ละคนได้เป็นอย่างดี ดังนั้น วิธีการรับนักเรียนเข้าศึกษาต่อนี้ จึงเป็นวิธีการที่น่าสนใจทีเดียว


โดย: Natthapon IP: 117.47.248.187 วันที่: 5 มีนาคม 2552 เวลา:20:43:31 น.  

 
ดีแล้วคร้าฟ จะได้ไม่เกิดปัญหา เอาคนที่เก่งจริงเข้า ไม่เกิดปัญหาจับปลาสองมืออีกด้วย


โดย: แน้ก IP: 119.42.64.120 วันที่: 5 มีนาคม 2552 เวลา:21:29:55 น.  

 
ดีแล้วอะ

รับคนเก่งจิงๆ ไปเลย

ระบบ O net a net ก้เน่า



โดย: benz IP: 58.9.192.98 วันที่: 5 มีนาคม 2552 เวลา:21:36:58 น.  

 
ขอยกมือเห็นด้วยด้วยคน ^^


โดย: :+:KriT:+: IP: 202.176.162.224 วันที่: 5 มีนาคม 2552 เวลา:22:25:12 น.  

 
ดีค่ะ รับตรงเลย ได้คุณภาพจริงๆ


โดย: CU IP: 124.121.213.133 วันที่: 5 มีนาคม 2552 เวลา:23:30:45 น.  

 
การรับตรงให้ได้เด็กที่มีความสามารถถนัดกับสาขาที่ต้องการเรียน และการเอาวิชาสามัญที่ไม่ได้ใช้ออกไป แต่ต้องรับมาจากระบบที่กรมสามัญมี และการใช้คะแนน _GPAX มากเกินไปทำให้ได้คนที่ไม่มีความรู้เข้ามาเรียน ขณะนี้เป็นอย่างนี้ทั้งหมด แล้วเด็กก็ไปซิวเพื่อเข้าแย่งที่นั่งของรุ่นน้องต่อไป โดยเฉพาะทันต เภสัช วิทยาศาสตร์เพื่อเข้าเรียนแพทย์ก็ยังมีอยู่อย่างต่อเนื่อง ทำให้เสียงบประมาณไปมากในแต่ละปี การรับตรงต้องไม่ใช่ให้เด็กเดินทางไปสอบเหมือนที่กำลังทำกันอยู่ เช่นสมารท์ สอบกันทีละหมื่นคนทั้งปี ห้า ครั้ง คนจนจะเอาเงินที่ไหนมาและค่าเดินทางจากต่างจังหวัดเข้ามาสอบ ถ้าเห็นใจและอยากได้เด็กที่เก่ง ส่งข้อสอบไปที่ศูนย์ต่าง จว ให้หน่วยประสานงานที่ช่วยจัดการให้ได้ไหม เพราะที่ผ่านมาภายใน ปีนี้เด็กต้องเดินทางไปสอบทั้ง จุฬา ธรรมศาสตร์ มหิดลแต่ละรอบเป็นเงินไม่ใช่น้อย นักเรียนต่างจังหวัดก็เก่งแต่ไม่มีโอกาส หากผู้ที่รับผิดชอบลงมาควบคุมและให้มีศูนย์สอบต่างจังหวัดจัดสอบในวันเดียวกันกับ กทม ใช้เกณฑ์เลือกทำเช่นจุฬา ใครก็ได้ช่วยเด็กๆที จะขอบพระคุณมาก นี่แหละการศึกษาไทย เปลี่ยนได้ตลอด คนมีอำนาจเวลาคิดขอให้อยู่บนพื่นฐานของความจริงที่ทำได้และเข้าใจห้วอกเด็กบ้าง ไม่ใช่คิดแบบผู้ใหญ๋ที่บังคับทำตามฉันแล้วก็เห็นผิดพลาดทุกที ล้มเหลวจริงๆ


โดย: ผู้ปกครอง IP: 118.173.160.140 วันที่: 14 มีนาคม 2552 เวลา:17:55:19 น.  

 
ที่ทปอ กำหนดว่าปี 2553 ต้องเอาคะแนนจาก GAT และPAT มาใช้ในสัดสาวนแล้วแต่มหาวิทยาลัยแต่ละแห่งที่กำหนด แล้วทำไมยังเห็นธรรมศาสตร์เปิดสอบสมารท์ 1 เหมือนปกติ เพราะเขาจะรับตรงแล้วทำไม ทปอ ยังไม่สามารถจัดการในระบบสอบตรงที่ไม่ทำตามเกณฑ์ที่ประกาศออกมาละ ทำให้เป็นระบบทุกแห่งและเด็กไม่ต้องขึ้นไปสอบเอง แต่ว่าจุฬาหลักสูตรนานาชาติต้องไปทดสอบตามเกณฑ์ทั้ง CU-TEP, CU-ATS, CU- ATT กรฯนี้ก็ต้องขึ้นไปสอบใชไหมเพราะไม่ใช้ GAT และPAT มาเป็นตัวตัดสิน จะช่วยนักเรียนกันอย่างไรในเมื่อมหาวิทยาลัยขิงรัฐไม่ทำตามกฎและระเบียบที่ทปอ บอกมา ช่วยด้วยเด็กจะเครียดตายอยู่แล้ว สอบแล้วไม่ยอมใช้กันจะสอบทำไม


โดย: แนวทางจริง IP: 118.173.142.200 วันที่: 19 เมษายน 2552 เวลา:20:50:11 น.  

 
ดีค่ะทำให้นักเรียน นักศึกษา มีกำลังใจมากขึ้นค่ะ


โดย: ชฎารัตน์ IP: 125.25.224.222 วันที่: 18 พฤษภาคม 2552 เวลา:18:48:24 น.  

 
ไม่ดีเลยอะ

คือแบบว่าอยากเรียนนิเทศอ่า

แต่เรียนวิท คณิต

ไม่ได้สอบ แพท 7 แล้วจะทำไงละ


โดย: 45 IP: 119.31.28.215 วันที่: 29 พฤษภาคม 2552 เวลา:23:51:54 น.  

 
พี่ครับ
ช่วยทีคับ
คือผมลงไม่ครบ
แล้วเค้าหมดเขตเมื่อวาน
ผมสอบนฤมิตศิลป์
แล้วเค้าต้องไช้ทฤษฎี กับ ทักษะ
แต่ผมดูผิด
ไปลงแต่ทักษะ
ผมจะทำไงดี
เค้าหมดเขตไปแล้วเมือ่วาน

ช่วยคิดทีครับ

คือผมโทรไปที่ศูนย์เค้า เค้าก็ไม่รับ
เหมือนกับเอาสายโทรศัพท์ออกเลย

ช่วยทีครับบบบบบบบบ


โดย: WingAngle_artist@hotmail.com IP: 58.147.61.99 วันที่: 1 มิถุนายน 2552 เวลา:17:26:13 น.  

 
อ่า ฮ่าๆ ดีๆ รับตรงให้หมด

สนุกดี นะคะ


โดย: Kz IP: 125.26.61.38 วันที่: 7 กรกฎาคม 2552 เวลา:14:41:27 น.  

 
ผมคิดว่า ทำการเอ็นทรานซ์แบบสมัย 14 ปีก่อน สอบครั้งเดียว เลือกคณะไว้ตั้งแต่ก่อนสอบ ดีที่สุดแล้วครับ


โดย: Amine IP: 58.9.150.82 วันที่: 12 พฤศจิกายน 2552 เวลา:12:16:12 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Magic See U
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add Magic See U's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.