**As days go by**
Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2553
 
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28 
 
24 กุมภาพันธ์ 2553
 
All Blogs
 
บันทึกไอวีเอฟ ตอนที่ห้า การเก็บแช่แข็งตัวอ่อน

สวัสดีค่ะ กลับมาตามสัญญา.. เหอๆ เนี่ยพี่อ้อไปเปิดbooklet ที่ได้มาอ่าน ตอนที่จะต้องเซนต์ว่าจะให้เค้าทำอะไรกับตัวอ่อนเราได้บ้าง แล้วก็ถอดใจ

ด้วยความรู้ ดัชท์เลเวลสาม อย่างอีป้านี่ ตอบไปแค่ที่ฝนถามละกันเน๊อะ ตอบมากเด๋วผิดมาก แหะๆ

คือตอนนั้นคุณสามีก็แปลให้ฟังคร่าวๆที่สำคัญอะนะคะ.. ก็เลยรู้อยู่ว่า ที่เซนต์ๆไปน่ะมันหมายความว่าจะได

Photobucket

เมื่อเราเริ่มไอวีเอฟ จะได้เอกสารมาหนึ่งชุดค่ะ เป็นการให้คำยินยอม(หรือไม่ยินยอม) เกี่ยวกับการจัดการสเปิร์ม การจัดการตัวอ่อนเก็บและหลังจากไม่ใช้แล้ว การระบุจำนวนตัวอ่อนที่เราต้องการให้ใส่กลับ อย่างป้านี่เกินสามสิบหก สามารถขอใส่สองได้ (ไม่ได้ฝังนะคะ ใส่กลับเฉยๆ) และคำยินยอม(หรือไม่ยินยอม) ว่าเราจะให้ทำอิ๊กซี่หรือไม่ ในกรณีที่จำเป็น

อย่างที่บอกขั้นตอนการรักษาของที่นี่เค้าจะพยายามให้ใกล้เคียงธรรมชาติมากที่สุด ถ้าไม่จำเป็นมากๆ เค้าจะไม่ทำอิ๊กซี่ (ที่แลบจะต้องเลือกน้องจิหนึ่งตัว แล้วฉีดเข้าไปในไข่ ข่มขืน ข่มขืน) แต่จะเป็นแบบให้ผสมกันเอง คือปล่อยเชื้อทิ้งไว้กับไข่ข้ามคืน แล้วก็มาดูในวันรุุ่งขึ้นว่าจะมีการปฏิสนธิกันกี่ใบค่ะ

Photobucket

เอกสารนี้ ต้องเซนต์และส่งกลับก่อนที่จะมีการเก็บไข่ เพราะเค้าไม่ต้องการให้ผลที่เกิดในวันเก็บไข่ มามีผลกับการตัดสินใจของเรา....

ที่ฝนถามน๊า... “เกี่ยวกับการเก็บไข่ หรือตัวอ่อนแช่แข็ง .. เก็บได้กี่ปี พ่อแม่มีสิทธิ์ในตัวอ่อนแค่ไหน สามารถเก็บหรือทำลายอย่างไรตามกฏหมาย ..”

ตัวอ่อนที่สามารถนำไปแช่แข็งเพื่อใช้ช่วยในการตั้งครรภ์ของคู่ที่เป็นเจ้าของจะถูกเก็บไว้ขั้นต่ำสองปี และเราสามารถขอยืดเวลาได้ครั้งละหนึ่งปี มากที่สุดห้าปี นับจากวันที่ตัวอ่อนถูกแช่แข็ง

(ถ้าใส่รอบแรกไม่สำเร็จ เค้าจะละลายใช้ตัวอ่อนจนหมดก่อน ก่อนที่จะเริ่มทำไอวีเอฟ(เก็บไข่)รอบต่อไป)

Photobucket

ในการตกลงยินยอมจะให้ทำอะไรกับตัวอ่อนหลังจากที่ไม่ได้ใช้สำหรับการตั้งครรภ์แล้ว (และหลังจากระยะเวลาขั้นต่ำสองปี)จะต้องได้รับความยินยอมจากทั้งฝ่ายชาย และหญิง ในกรณีที่ไข่หรือสเปิร์มมาจากผู้บริจาค บุคคลที่สาม ที่สี่ก็ต้องให้ความยินยอมด้วยเช่นกัน ถ้ามีใครคนนึงไม่เห็นด้วย ก็ทำไม่ได้ ถ้าทางผู้เก็บรักษาตัวอ่อนไม่ได้รับการยืนยันนี้ภายในสามเดือน หลังจากครบกำหนด ตัวอ่อนจะถูกทำลาย

ในฟอร์มก็จะมีว่า

หนึ่ง บริจาคตัวอ่อน(เรา) ให้กับคู่สมรสที่ไม่สามารถผลิตตัวอ่อนได้ แต่ต้องการตั้งครรภ์

(ข้อนี้ ที่ศูนย์IVFนี่ไม่ทำ ถ้าเรายินยอม เค้าจะจัดส่งไปที่ศูนย์อื่นให้)

สอง ยินยอมให้ใช้ตัวอ่อนหลังจาก ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเสียชีวิต

(ข้อนี้ ที่ศูนย์IVFนี่ไม่ทำ ถ้าเรายินยอม เค้าจะจัดส่งไปที่ศูนย์อื่นให้)

สาม ยินยอมให้ใช้ตัวอ่อนเพื่อการศึกษาทางการแพทย์ วิทยาศาสตร์ และทางชีวภาพ เช่่น Stem cells

สี่ ยินยอมให้ใช้ตัวอ่อนเพื่อการศึกษา ซึ่งอาจจะได้รับการอนุญาตทางกฏหมายในอนาคต

ห้า ให้ทำลายตัวอ่อนหลังจากครบกำหนด

เราจะต้องแจ้งให้เค้าทราบว่าเรายินยอมข้อไหนบ้าง

สำหรับผู้เก็บรักษาตัวอ่อน เท่าที่อ่านดู เค้าก็แค่เก็บตัวอ่อนของเราไปเรื่อยๆแค่นั้นเองค่ะ ไม่มีสิทธิทำอะไร และมีข้อความที่บอกไว้ ว่าถ้าเกิดความเสียหายเช่น ไฟไหม้ โจรกรรม นอกเหนือความคาดหมาย พวกนี้เค้าก็ช่วยอะไรไม่ได้

Photobucket

และยังมีรายละเอียดอีกเยอะมาก.... เมืองไทย ก็น่าจะเริ่มมีคนร่างกฏหมายแล้วมั๊ง.. เพราะคนทำไอวีเอฟ เยอะขึ้นทุกวันๆ....



Create Date : 24 กุมภาพันธ์ 2553
Last Update : 24 กุมภาพันธ์ 2553 15:12:30 น. 0 comments
Counter : 966 Pageviews.

peanutbutter ณ ฮอลแลนด์
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




สาว(เหลือ)น้อย พบรักหนุ่มขายาว ชีวิตที่เคยร่อนเร่เป็นนกขมิ้น ก็หยุดลงอยู่ที่เมืองเล็กๆแห่งแดนกังหันลม

บลอกนี้สร้างขึ้นเพื่อเก็บบันทึกเรื่องราวบางส่วน ที่ผ่านมาในชีวิต ถ้าจะบังเอิญเป็นประโยชน์ให้ข้อมูล ข้อคิดกับใครบ้าง ก็คงจะดีค่ะ

สงวนลิขสิทธิ์ตามกฏหมาย
Friends' blogs
[Add peanutbutter ณ ฮอลแลนด์'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.