ตุลาคม 2552

 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
15
16
17
18
22
23
24
25
26
27
28
30
31
 
อาหารฤทธิ์ร้อน-อาหารฤทธิ์เย็น
อาหารฤทธิ์ร้อน

กลุ่มคาร์โบไฮเดรต
- ข้าวเหนียว ข้าวแดง ข้าวดำ (ข้าวก่ำ ข้าวนิล) ข้าวอาร์ซี ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์
- เผือก มัน กลอย อาหารหวานจัด ขนมปัง ขนมกรุบกรอบ บะหมี่ซอง


กลุ่มโปรตีน
- เนื้อ นม ไข่
- ถั่วดำ ถั่วแดง ถั่วลิสง ถั่วทอดทุกชนิด
- เห็ดโคน (เห็ดปลวก) เห็ดหอม เห็ดหลินจือ เห็ดก่อ เห็ดไค เห็ดขม เห็ดผึ้ง
- โปรตีนจากพืชและสัตว์ที่หมักดอง เช่น เต้าเจี้ยว มิโสะ โยเกิร์ต ซีอิ้ว แทมเป้ กะปิ น้ำปลา ปลาร้า ปลาจ่อม ปลาเค็ม
- เนื้อเค็ม แหนม ไข่เค็ม ซีอิ้ว เป็นต้น


กลุ่มไขมัน
ควรงดหรือลดการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง
เพราะไขมันมีพลังงานความร้อนมากกว่าอาหารชนิดอื่นๆ เช่น
- น้ำมันพืช น้ำมันสัตว์
- กะทิ เนื้อมะพร้าว
- งา รำข้าว จมูกข้าว
- เมล็ดทานตะวัน เมล็ดฟักทอง เมล็ดอัลมอลล์ เมล็ดมะม่วงหิมพานต์ เมล็ดกระบก
- ลูกก่อ เป็นต้น


กลุ่มผักฤทธิ์ร้อน ผักที่มีรสเผ็ดทุกชนิด เช่น
- กระชาย กระเพรา กุ้ยช่าย (ผักแป้น) กระเทียม
- ขิง ข่า (ข่าแก่จะร้อนมาก) ขมิ้น
- ผักชี ยี่หร่า โหระพา พริก พริกไทย (ร้อนมาก) แมงลัก
- ไพล ตะไคร้ ใบมะกรูด เครื่องเทศ
- ต้นหอม หอมหัวใหญ่ หอมแดง เป็นต้น

นอกจากนี้ยังมีพืชบางชนิดที่ไม่มีรสเผ็ดแต่มีฤทธิ์ร้อน (มีพลังงานความร้อนหรือแคลอรี่ที่มาก) เช่น
- กะหล่ำปลี กระเฉด ใบยอดและเมล็ดกระถิน ผักกาดเขียวปลี
- ผักโขม ผักแขยง
- คะน้า แครอท
- ชะอม
- บีทรูท เม็ดบัว ไหลบัว รากบัว แปะตำปึง ใบปอ ใบยอ
- แพงพวยแดง
- ถั่วฝักยาว ถั่วพู สะตอ ลูกเนียง
- ลูกตำลึง ฟักทองแก่
- โสมจีน โสมเกาหลี (ร้อนเล็กน้อย)
- ไข่น้ำ (ผำ) สาหร่่ายทะเล สาหร่ายน้ำจืด(เทา) ยอดเสาวรส หน่อไม้
- พืชที่มีกลิ่นฉุนทุกชนิด เป็นต้น


กลุ่มผลไม้ฤทธิ์ร้อน
เป็นกลุ่มผลไม้ที่ให้น้ำตาล วิตามินหรือธาตุอาหารที่นำไปสู่ขบวนการเผาผลาญ
เป็นพลังงานความร้อน (แคลอรี่) ที่มาก เ่ช่น
- กล้วยเล็บมือนาง กล้วยไข่ กระเจี๊ยบแดง กระทกรก (เสาวรส)
- สำหรับกล้วยหอมทองและกล้วยหอมเขียวมีรสหวานจัดจึงมักออกฤทธิ์ตีกลับเป็นร้อน)
- ขนุนสุก
- เงาะ
- ฝรั่ง
- ทุเรียน ทับทิมแดง
- น้อยหน่า
- มะตูม มะเฟือง มะไฟ มะแงว มะปราง มะม่วงสุก มะขามสุก (ร้อนเล็กน้อย) มะละกอสุก (ร้อนเล็กน้อย)
- ระกำ (ร้อนเล็กน้อย)
- ลิ้นจี่ ลำไย ลองกอง ละมุด ลูกยอ ลูกลำดวน ลูกยางม่วง ลูกยางเีขียว ลูกยางเหลือง
- สละ ส้มเขียวหวาน สมอพิเภก
- องุ่น
- ผลไม้ทุกชนิดที่ผ่านความร้อน เช่น การอบ นึ่ง ปึ้ง ย่าง ต้ม หรือตากแห้ง เป็นต้น


อาหารที่มีฤทธิ์ร้อนมาก ถ้ากินมากเกินไป จะเป็นอันตรายต่อสุขภาพมาก

- อาหารที่ปรุงเค็มจัด มันจัด หวานจัด เผ็ดจัด เปรี้ยวจัด ฝาดจัดและขมจัด
- อาหาร กลุ่มไขมัน
- เนื้อ นม ไข่ที่มีไขมันมาก รวมถึงสารที่มีสารเร่งสารเคมีมาก
- พืชผักผลไม้ที่มีการสารเคมีมาก
- อาหารที่ปรุงผ่านความร้อนนาน ๆ ผ่านความร้อนหลายครั้ง ใช้ไฟแรง หรือใช้คลื่นความร้อนแรง ๆ
- อาหารใส่สารสังเคราะห์ ใส่สารเคมี
- อาหารใส่ผงชูรส
- สมุนไพร หรือยาที่กระตุ้นการไหลเวียนของเลือดหรือบำรุงเลือด
- วิตามิน แร่ธาตุ และอาหารเสริมที่สกัดเป็นน้ำ ผง หรือเม็ด
- ยกเว้นอาจกินได้เมื่อมีข้อบ่งชี้ชัดเจนว่าขาดสารดังกล่าว
- เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ คาเฟอีน หรือน้ำตาลที่มากเกินไป เช่น เหล้า เบียร์ ไวน์
- ชา กาแฟ น้ำอัดลม เครื่องดื่มชูกำลัง เป็นต้น
- อาหาร ที่มีโซเดียมสูง ได้แก่ อาหารแปรรูปหรือสำเร็จรูปต่าง ๆ เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ขนมอบ
- ขนมกรุบกรอบ ขนมปัง อาหารกระป๋อง ไส้กรอก หมูยอ กุนเชียง น้ำหมัก ข้าวหมาก ปลาเค็ม เนื้อเค็ม
- ไข่เค็ม ของหมักดอง อาหารทะเล (จะมีทั้งไขมันและโซเดียมสูง) เป็นต้น
- น้ำร้อนจัด เย็นจัด และน้ำแข็ง

โดยขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของแต่ละคนว่าจะงดหรือลดอะไร แค่ไหนที่ทำให้เกิดสภาพโปร่งโล่งสบาย เบากายและกำลังเต็มที่สุด




************

อาหารฤทธิ์เย็น

กลุ่มคาร์โบไฮเดรต
- น้ำตาล ข้าวขาว เส้นขาว (เส้นหมี่. เส้นก๋วยเตี๋ยวที่ไม่มีน้ำมัน) วุ้นเส้น ข้าวซ้อมมือ ข้าวกล้องเหลือง
สำหรับ น้ำตาล ข้าวขาว เส้นขาว และวุ้นเส้นกินเพียงเล็กน้อยในช่วงเวลาที่ร่างกายร้อนมากๆ


กลุ่มโปรตีน
- ถั่วขาว ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ถั่วลันเตา ถั่วโชเล่ย์ขาว ลูกเดือย
- เห็ดฟาง เห็ดนางฟ้า เห็ดหูหนู เห็ดขอนขาว เห็ดลม(เห็ดบด) เห็ดตาโล่ เห็ดตีนตุ๊กแก


กลุ่มผักฤทธิ์เย็น
- กระหล่ำดอก ก้านตรง กวางตุ้ง ผักกาดฮ่องเต้ ผักกาดขาว ผักกาดหอม
- หยวกกล้วย ปลีกล้วย ก้านกล้วย กล้วยดิบ หัวไช้เท้า (ผักกาดหัว) ก้างปลา
- ข้าวโพด ขนุนดิบ ดอกสลิด (ดอกขจร) ฝัก/ยอด/ดอกแค
- ใบเตย ผักติ้ว ตังโอ๋ ใบ/ยอดตำลึง
- ถั่วงอก
- บัวบก สายบัว ผักบุ้ง บล๊อกเคอรี่ บวบ
- ปวยเล้ง ผักปลัง
- พญายอ (เสลดพังพอนตัวเมีย)
- ฟักทองอ่อน ยอดหรือดอกฟักทอง ยอดฟักข้าว ยอดฟักแม้ว ฟัก แฟง แตงต่างๆ
- มะละกอดิบ-ห่าม มะเขือเปราะ มะเขือลาย มะเขือยาว มะเขือเทศ มะเดื่อ มะอึก ใบมะยม ใบมะขาม
- มังกรหยก มะรุม ยอดมะม่วงหิมพานต์
- ย่านางเขียว-ขาว
- รางจืด
- ว่านกาบหอย ว่านหางจระเข้ ว่านมหากาฬ ทูน (ตูน) ว่านง็อก (ใบหูลิง) ผักว่าน
- โสมไทย ใบส้มป่อย ส้มเสี้ยว ส้มรม ส้มกบ
- หมอน้อย ผักหวานป่า ผักหวานบ้าน เหงือกปลาหมอ ผักโหบแหบ
- อ่อมแซบ (เบญจรงค์) ยอดอีสึก (ขุนศึก) อีหล่ำ

กลุ่มผลไม้ฤทธิ์เย็น
- กล้วยน้ำว้าห่าม กล้วยหักมุก แก้วมังกร กระท้อน
- แคนตาลูป
- ชมพู่ เชอรี่
- แตงโม แตงไทย
- ทับทิมขาว ลูกท้อ
- มังคุด มะยม มะขวิด มะดัน มะม่วงดิบ มะละกอดิบ-ห่าม มะขามดิบ
- น้ำมะนาว น้ำมะพร้าว
- ลางสาด
- สับปะรด สตรอเบอรี่ สาลี่ ส้มโอ ส้มเช้ง ส้มซ่า ส้มเกลี้ยง สมอไทย
- ลูกหยี หมากเม่า หมากผีผ่วย
- แอปเปิ้ล

เรียบเรียงโดยใช้ข้อมูลจาก ถอดรหัสสุขภาพ เล่ม ๒ "ความลับฟ้า: ถ้าสุขภาพพึ่งตนเกิดไม่ได้ หมอและคนไข้จะพากันป่วยตาย" โดย ใจเพชร มีทรัพย์ (หมอเขียว)



Create Date : 20 ตุลาคม 2552
Last Update : 17 สิงหาคม 2553 11:00:59 น.
Counter : 123978 Pageviews.

48 comments
  
ขอบคุณข้อมูลดีๆ แบบนี้นะคะ
โดย: Genie IP: 125.27.126.67 วันที่: 25 สิงหาคม 2553 เวลา:16:21:15 น.
  
ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆนะคะ
โดย: Sandy IP: 58.9.180.29 วันที่: 30 ตุลาคม 2553 เวลา:10:00:04 น.
  
ขอบคุณมากค่ะ
โดย: เพ็ญ IP: 125.24.60.230 วันที่: 30 ตุลาคม 2553 เวลา:16:05:01 น.
  
เพิ่งเข้ามาพบ ดีใจมาก ผงเคยเข้าอบรม 5 วัน
ยอมรับว่า ดีมาก ๆ ตอนนี้ยังกินน้ำใบยานางทุกวัน
โยคะบ้าง ดีท๊อกบ้าง
โดย: พี่หนุ่ย IP: 118.173.17.149 วันที่: 8 ธันวาคม 2553 เวลา:15:36:33 น.
  
Thank u ka
โดย: Wawa IP: 1.46.243.84 วันที่: 28 มกราคม 2554 เวลา:21:06:09 น.
  
ขอบคุณสำหรับข้อมูลและสาระดีๆ ค่ะ เป็นประโยชน์กับเรามากเลย
โดย: เจ้าย่า IP: 58.181.157.122 วันที่: 21 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา:12:21:42 น.
  
ขอบคุณมากครับ
โดย: บอย IP: 58.8.21.8 วันที่: 29 เมษายน 2554 เวลา:1:11:03 น.
  
ขอบคุณครับ
โดย: dharma วันที่: 5 มิถุนายน 2554 เวลา:15:49:08 น.
  
อาหารฤทธิ์เย็น หาทานยากทำไงดี อยู่ปัตตานีมัวแต่หาอาหารโจรแขกยิ่งตายแน่!
โดย: ผวา IP: 119.31.31.132 วันที่: 8 มิถุนายน 2554 เวลา:20:21:47 น.
  
ขอบคุณค่ะ หมอเขียวช่วยให้แม่ที่เป็นมะเร็งดีขึ้นด้วยอาหารฤทธิ์เย็น

ขอบคุณที่นำข้อมูลดีๆมาบอกต่อด้วยค่ะ
โดย: Pnatto IP: 192.168.50.165, 61.90.68.61 วันที่: 16 มิถุนายน 2554 เวลา:9:00:31 น.
  
อยากทราบที่ซื้อใบย่านางค่ะ กับน้ำมันย่านางใครทราบแจ้งหน่อยค่ะ rujanun@hotmail.co.th ไม่ค่อยได้เข้ามาอ่านค่ะ รบกวนหน่อย
โดย: รุจานันท์ IP: 124.120.71.142 วันที่: 27 มิถุนายน 2554 เวลา:0:24:45 น.
  
ใบย่านางสด น่าจะซื้อได้ตามร้านขายผักในตลาดสดค่ะ ที่ซื้ออยู่ประจำก็ที่ตลาดราชวัตร
โดย: สุนันท์ IP: 182.53.10.246 วันที่: 30 มิถุนายน 2554 เวลา:18:37:16 น.
  
ขอบคุณมาก

โดย: อ๊อด IP: 115.87.49.138 วันที่: 21 สิงหาคม 2554 เวลา:7:15:19 น.
  
ขอบคุณสำหรับข้อมูล พยายามหามาหลายวันแล้ว วันนี้เจอพอดี เพราะอยู่ออสเตรเลีย พอดีมีคนรู้จักให้หนังสือ ถอดรห้สสุขภาพ สมดุลร้อนเย็น น่าจะเป็นหนังสือเล่มที่๑ ของคุณหมอเขียว อ่านแล้วก็พยายามทำโดยเริ่มจากการกินอาหาร แต่มีข้อสงสัยมากมายตามหัวข้อต่อไปนี้
๑ กินผลไม้ ผัก ข้าว แปลว่า ให้กินตามกันได้ทันทีหรือต้องเว้นระยะระหว่าง ผลไม้ ผัก ข้าว คือที่ทำอยู่ก็กินผลไม้เสร็จก็ตามด้วยผักแล้วก็ข้าวกับกับช้าว ก็จะรู้สึกว่าทำถูกต้องหรือเปล่า แค่การกินเปลี่ยนลำดับโดยไม่เว้นช่วงเลย
๒ พยายามทำกัวซา แต่ไม่รู้ว่าทำช่วงไหนของวันดี เช้า สาย บ่าย เย็น และต้องทำทุกวันหรือไม่ ทำครั้งแรกทำก่อนเข้านอน แล้วมาอ่านอีกทีก็เห็นว่าหลังทำเสร็จคือช่วงที่พิษออกจากตัว งั้นก็ต้องไม่ดีแน่คิดว่าตอนนอนมีพิษออกมาเราอยู่ในผ้าห่มก็ไม่ได้ระบายพิษออกอีก เลยไม่ได้ทำอีก ช่วยแนะนำด้วยค่ะ

ยังมีอีกมากข้อสงสัยไว้ค่อยๆ ถามดีกว่า กลัวเจ้าของบล๊อคตกใจ
ขอบคุณมากค่ะ ถ้าจะกรุณาช่วยไขข้อข้องใจ
โดย: คนต่างแดน IP: 123.243.80.137 วันที่: 24 สิงหาคม 2554 เวลา:10:09:46 น.
  
@คุณคนต่างแดน
ยินดีที่ข้อมูลมีประโยชน์ค่ะ

คำถามที่คุณคนต่างแดนถามมามีคำตอบในหัวข้อเทคนิค 9 ข้อ (ยา 9 เม็ด) ในบล๊อกนี้เช่นกันลองอ่านดูนะคะ
เรื่องกัวซา ข้อ 2
เรื่องลำดับการกินอาหารข้อ 7.4

สอบถามเพิ่มเติมที่หลังไมค์มาก็ได้ค่ะ..
โดย: patnaja วันที่: 25 สิงหาคม 2554 เวลา:10:04:42 น.
  
ขอบคุณค่ะที่ช่วยมาตอบ กำลังอ่านตอนอื่นๆ ในบล๊อคคุณอยู่ ศึกษาแล้วลองทำดูว่าร่างกายเราจะดีขึ้นมั้ย ขอบคุณอีกครั้งที่มาลงเรื่องราวดีๆ
โดย: คนต่างแดน IP: 123.243.80.137 วันที่: 26 สิงหาคม 2554 เวลา:7:28:01 น.
  
very good
โดย: somsiri IP: 61.19.224.158 วันที่: 29 พฤศจิกายน 2554 เวลา:14:00:48 น.
  
ขอบคุณมากค่ะ สำหรับข้อมูลดี ดี
โดย: putty IP: 124.122.157.11 วันที่: 4 มกราคม 2555 เวลา:17:18:32 น.
  
ขอบคุณนะคะ มีประโยชน์มากเลยย
โดย: aa IP: 10.0.232.97, 202.28.248.140 วันที่: 23 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา:22:34:10 น.
  
ขอบคุณครับ มีประโยชน์ดี
โดย: srr2555 IP: 115.87.48.46 วันที่: 9 มีนาคม 2555 เวลา:6:53:19 น.
  
ขอบคุณมากีค่ะ ข้อมูลดีมาก กำลังหาพอดีเลย
โดย: ตุ้ม IP: 202.183.170.142 วันที่: 18 เมษายน 2555 เวลา:14:38:54 น.
  
เราจะรู้ได้อย่างไรว่าตัวเราเหมาะจะกินอาหารฤทธิ์ร้อนหรือฤทธิ์เย็น
โดย: เดวิด IP: 110.164.51.50 วันที่: 21 เมษายน 2555 เวลา:11:04:23 น.
  
@ คุณเดวิด

อ่านได้จากหัวข้อ ที่อยู่ทางซ้ายเรื่อง
"การวิเคราะห์อาการ ว่าเกิดจากภาวะไม่สมดุลแบบใด"

ถ้าเรามีภาวะร้อนเกินก็ให้กินอาหารฤทธิ์เย็นแก้
ถ้าเรามีภาวะเย็นเกินก็ให้กินอาหารฤทธิ์ร้อนแก้
ถ้ามีมีทั้งภาวะร้อนและเย็น ให้กินอาหารที่มีฤทธิ์เย็นผ่านไฟแกค่ะ

https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=pat-naja&month=10-2009&date=19&group=11&gblog=3

โดย: patnaja วันที่: 9 พฤษภาคม 2555 เวลา:12:04:15 น.
  
ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆค่ะ ทำ
ให้มีความรู้เพิ่มมากขึ้น
โดย: so da IP: 110.49.227.43 วันที่: 15 มิถุนายน 2555 เวลา:18:40:33 น.
  
กระเจี๊ยบเขียวนี่ร้อนหรือเย็นคะ
โดย: เด็กใหม่ IP: 115.67.160.143 วันที่: 18 มิถุนายน 2555 เวลา:17:51:46 น.
  
@คุณเด็กใหม่

อาหารชนิดใดมีฤทธิ์ร้อน-เย็น พิสูจน์โดยใช้น้ำเป็นตัววัดค่ะ

ถ้ากินแล้วชุ่มปาก ชุ่มคอ ดื่มน้ำตามแล้วรสไม่อร่อย แสดงว่ามีฤทธิ์เย็น

กินแล้วปากแห้ง กระหายน้ำ ดื่มน้ำแล้วสดชื่น แสดงว่ามีฤทธิ์ร้อน
โดย: patnaja วันที่: 19 มิถุนายน 2555 เวลา:12:12:01 น.
  
อยากมีหนังสือจัง
อยากอ่านเต็มๆ

ขอบคุณมากสำหรับเกร็ดจากหนังสือค่ะ ^_^
โดย: มอร์แกน IP: 27.55.6.156 วันที่: 5 สิงหาคม 2555 เวลา:1:25:46 น.
  
ขอขอบคุณนะคะที่ให้ขอมูลดีๆจะนำไปใช้ในชีวิตประจำวันคะ
โดย: kung IP: 115.67.135.99 วันที่: 9 พฤศจิกายน 2555 เวลา:19:05:17 น.
  
ข้อมูลละเอียดดี ขอบคุณมากค่ะ กำลังหาทานอาหารฤทธิ์ร้อนอยู่
โดย: ณัฐ IP: 119.46.122.84 วันที่: 14 มกราคม 2556 เวลา:11:05:44 น.
  
Thankyou na ka
โดย: บเกบา IP: 110.49.243.71 วันที่: 16 มกราคม 2556 เวลา:17:34:44 น.
  
ที่แท้การที่ตัวฉันร้อนมากกว่าคนปรกติทั่วไป เป็นเพราะนิสัยการกินใช่ไหม กินแต่อาหารฤทธิ์ร้อนทั้งหมดเลย
โดย: earn IP: 49.48.17.97 วันที่: 20 มกราคม 2556 เวลา:21:25:17 น.
  
ผมเป็นหลายโรคโรคไตความดันหัวใจพอทานน้ำย่านางรู้สึกดีขึ้นขอบคุณหมอเขียวจากใจผมอยากไปที่ศูนย์มุกดาหารเพื่อไปเรียนรู้การใช้ชีวิตแนวธรรมชาติครับ
โดย: โอ๋ IP: 115.67.98.160 วันที่: 11 มีนาคม 2556 เวลา:15:40:00 น.
  
ดีมากๆค่ะกำลังรู้สึกว่าร่างกายร้อนเกินไปจนขอบปากแห้งแตกเป็นขุยและแสบลอกด้วยค่ะอ้าปากไม่ค่อยได้เลยปากก้อแห้งพอดีอ่านเจอว่าน่าจะมาจากร่างกายร้อนเกินพอมาดูใช่จริงๆค่ะเพราะที่ผ่านมากินแอาหารฤทธิ์ร้อนทั้งนั้นเลยอากาศก้อร้อนเลยร้อนเข้าไปใหญ่ขอบคุณสำหรับสาระดีดีนะคะ
โดย: นุ้ย IP: 49.48.130.172 วันที่: 26 มีนาคม 2556 เวลา:13:02:54 น.
  
มีประโยชน์มากครับ ขอบคุณครับ
โดย: โต้ง IP: 183.89.71.112 วันที่: 1 เมษายน 2556 เวลา:0:35:09 น.
  
ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆที่มีสาระทำมีความรู้เรื่องอาหารการกินเพื่อสุขภาพทีดี...ขอบคุณมากครับ
โดย: ต้นกล้า IP: 110.49.232.184 วันที่: 21 เมษายน 2556 เวลา:23:27:42 น.
  
Thank you for info na ka.
โดย: Ying IP: 171.6.184.218 วันที่: 27 สิงหาคม 2556 เวลา:13:37:14 น.
  
ขอบคุณครับ ขออนุญาติแชร์นะครับ
โดย: ไผ่ IP: 182.53.23.154 วันที่: 2 มกราคม 2557 เวลา:9:19:30 น.
  
ขออนุญาตินำไปพิมพ์ลงหนังสืองานศพได้ไหมคะ
โดย: นัท IP: 171.101.107.161 วันที่: 26 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา:16:16:31 น.
  
ขอบคุณมากๆๆค่ะสำหรับข้อมูล
โดย: นุช IP: 119.46.147.2 วันที่: 27 มีนาคม 2557 เวลา:12:52:14 น.
  
ขอบคุณมากๆคุนหมอเขียวที่ให้ข้อมุลดีๆปฏิบัติตามดีมากๆ
โดย: kamonporn IP: 192.99.14.36 วันที่: 13 พฤษภาคม 2558 เวลา:4:07:17 น.
  
ขอบคุณมากค่ะที่ให้ copy ได้ จะเอาไปให้คนรู้จักที่ไม่ใช้อินเตอร์เน็ตอ่านด้วย สาธุค่ะ
โดย: อรุณรัตน์ IP: 223.206.48.216 วันที่: 11 กรกฎาคม 2558 เวลา:13:10:08 น.
  
ดิฉันไปตรวจเลือดที่โรงพยาบาลพบว่าเป็นไทรอยด์เป็นพิษ มีคนแนะนำให้กินนำ้ย่านาง แต่ดิฉันไม่ทราบวิธีการกินที่ถูกต้อง อยากขอคำแนะนำในการกินที่ถูกต้องด้วยค่ะ มีใครรู้บ้างค่ะ ขอคุณล่วงหน้าค่ะ
โดย: จิรนันท์ โพธิ์ศรี IP: 1.46.171.19 วันที่: 14 กันยายน 2558 เวลา:21:28:17 น.
  
น้ำเหลืองไม่ดีกินอาหารธาตุไหนดีค่ะ ช่วยบอกหน่อยนะค่ะ ID Line loveforyouna
โดย: Minilin IP: 49.229.60.177 วันที่: 14 ธันวาคม 2558 เวลา:22:31:11 น.
  
ขอบคุข้อมูล
มีประโยชน์มากๆค่ะ
โดย: กานต์ IP: 171.96.133.88 วันที่: 13 มีนาคม 2559 เวลา:9:45:07 น.
  
ขอบคุณมากค่ะ
โดย: aew IP: 180.180.7.228 วันที่: 29 ตุลาคม 2559 เวลา:13:49:03 น.
  
ท่านเพื่อสุขภาพกันเถอะ



โดย: ใบเตย IP: 171.6.232.188 วันที่: 22 มิถุนายน 2561 เวลา:16:42:16 น.
  
ดีจิงๆ
โดย: นุ้ย IP: 182.232.62.152 วันที่: 7 ตุลาคม 2561 เวลา:18:58:54 น.
  
ขอบคุณข้อมูลที่ดีมากๆ ตอนนี้ทานเป็นแล้ว สุขภาพดีขึ้นจริงๆค่ะ
โดย: ชณานันท์ IP: 1.46.70.10 วันที่: 11 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา:22:05:15 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

patnaja
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 13 คน [?]




Puangpeth Jang

สร้างลิงค์ของโปรไฟล์ในแบบที่เป็นตัวคุณเอง