"ชมรมจริยธรรม โรงพยาบาลพนมสารคาม" ศีล และ ธรรมไม่กลับมา โลกาจะวินาศ
Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2551
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30 
 
30 พฤศจิกายน 2551
 
All Blogs
 

" สังคมประชาธิปไตย ตามแนวทางพุทธ "และ“ อหิงสา มีประวัติความเป็นมาอย่างไร ”

ธรรมะวันอาทิตย์



พระพรหมคุณาภรณ์

เจ้าอาวาส วัดญาณเวศกวัน อ.สามพราน จ.นครปฐม

ท่านผู้ได้รับ รางวัล .......

รางวัล "สังข์เงิน" สาขาเผยแพร่พระพุทธศาสนา

ปี พ.ศ.๒๕๓๓

รางวัล "การศึกษาเพื่อสันติภาพ" จากยูเนสโก

ปี พ.ศ.๒๕๓๗

......................................................………………

ธรรมะวันอาทิตย์ ช่อง ๗ สี เวลา ประมาณ ๖.๐๐ น.

วันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๑

พระพรหมคุณาภรณ์ ได้เทศน์

เรื่อง " สังคมประชาธิปไตย ตามแนวทางพุทธ "

ได้ฟังรายการแล้ว ขอสรุปใจความว่า

สังคมประชาธิปไตย เป็นสังคมที่ทุกคนมีส่วนร่วมในการปกครอง

โดย ทุกคนในสังคมต้องเป็นคนที่คนอื่นพูดด้วยได้ง่าย คือ

ยินดีรับฟังเขาพูด ด้วยความตั้งใจ และ คิดตามโดยไม่มีอคติ

เพื่อพัฒนาสังคมด้วยการเอื้อเฟื้อประโยชน์ร่วมกัน

ประชาธิปไตย ของไทย ยังไม่มีจุดหมายร่วมกัน

ฝ่ายหนึ่งมีจุดหมาย ทุนนิยม หรือ เศรษฐกิจนิยม มีความสุข

โดยต้องแสวงหามีวัตถุ ให้มีมาก ๆ ให้มากกว่าคนอื่น

จึงจะมีความสุข จึงต้องวิ่งไล่หาความเป็นผู้ชนะไปตลอดจึง

สุขยาก ทุกข์ง่าย

อีกฝ่ายหนึ่ง มีจุดหมาย เป็นเศรษฐกิจพอเพียง

ไม่พึ่งพาวัตถุภายนอก ให้มีความสุขด้วยความพอเพียง

ใช้วัตถุเป็นแค่เพียงตัวเชื่อมไปสู่เป้าหมายความสุข จึง

สุขง่าย ทุกข์ยาก

ในสมัยพุทธกาล มีผู้มาถามพระพุทธองค์ ว่า ระหว่าง

กษัตริย์พิมพิสาร ผู้ปกครองแคว้นมคธ กับ พระพุทธเจ้า ใครจะมี

ความสุขมากกว่ากัน

พระองค์ ทรงตอบว่า พระเจ้าพิมพิสาร มีความสุข ที่ต้องพึ่ง

วัตถุ ต้องหามามาก ๆ แสวงหามาด้วยความพยายามแย่งมา

จากผู้อื่น จึงได้ความสุขมาด้วยความทุกข์ เมื่อหามาได้แล้วก็ยัง

ตอบสนองความยากไปอย่างไม่จบสิ้น เมื่อขาดก็เกิดทุกข์

แต่ พระพุทธองค์ทรงมีความสุข โดยไม่พึ่งวัตถุภายนอก

มีความสุขกับความพอเพียง ใช้อย่างประหยัด ใช้

ที่จำเป็นสำหรับการมีชีวิตเท่านั้น ไม่ต้องแสวงหา

ไว้มาก ๆ

เห็นได้ว่า พระพุทธองค์ทรงมีความสุข มากกว่า

เรื่อง " สังคมประชาธิปไตย ตามแนวทางพุทธ "

จึงหมายถึง มีความสุขตามแนวทางความพอเพียง

ใช้การพัฒนาคน ให้มีความสุข เป็นเป้าหมาย ใช้

วัตถุภายนอก เป็น เพียงปัจจัย เมื่อมีปัจจัยเหลือก็

เผื่อแผ่ ให้กับ ผู้อื่น เฉลี่ย ความสุขให้กันทั้งสังคม

ขออนุโมทนา



……………………………………………………………………..



"พระเทพวิสุทธิกวี"

ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดราชาธิวาสวิหาร

และ

เลขาธิการศูนย์พิทักษ์พระพุทธ ศาสนาแห่งประเทศไทย

.........................................................................

มีคำถามจากทางบ้านว่า

“ อหิงสา มีประวัติความเป็นมาอย่างไร ”

ท่านได้เทศน์ว่า เป็นคำบัญญัติใหม่ ในพระธรรมวินัย

ไม่มีคำนี้ คงบัญญัติ ขึ้นในสมัย มหาตมะคานธี ปรัชญาเมธี

ผู้ยิ่งใหญ่ ของชาวอินเดีย ผ็นำคนอินเดีย ขึ้นต่อต้านอังกฤษ



ที่มายึดครองประเทศมายาวนานกว่า ๒๐๐ ปี

แต่ยังคงใช้ความหมายเดิมของคำสอนทางพุทธ คือ คำว่า

“ อวิหิงสา ”

แปลว่า ความไม่เบียดเบียน เป็น ๑ ในอริยมรรค ๘

คือ สัมมาสังกัปปะ ความคิดชอบ

สังกัปปะ เทียบได้กับ คำว่า Concept ของต่างชาติ

เป็นความคิดรวบยอด อวิหิงสา เป็นสัมมาสังกัปปะ

เป็นสัมมาสังกัปปะ หรือ ไม่

มีตัวชี้วัดอยู่ ๓ ตัว คือ

๑.เนกขัมมะสังกัปปะ คิดออกจากกาม หรือ

คิดออกจากบริโภคนิยม ทุนนิยม

๒.อัพยาปาทะสังกัปปะ คิดไม่ผูกอาฆาต หรือ เมตตา

๓.อวิหิงสาสังกัปปะ คิดไม่เบียดเบียน หรือ กรุณา

“ อหิงสา มีประวัติความเป็นมาอย่างไร ”

จึงเป็นไปตามประวัติความเป็นมาข้างต้น

ถ้าจะใช้คำว่าอหิงสา ตามคำสอนพระพุทธศาสนา

จึงต้องประกอบด้วย

เนกขัมมะสังกัปปะ กับ อัพยาปาทะสังกัปปะ ด้วย

จึงจะเป็นอหิงสา ที่เป็นความคิดที่ถูกต้อง สัมมาสังกัปปะ

ขออนุโมทนา



รับฟังเนื้อหาคำเทศน์ทั้งหมดได้ทาง

เวบบ์กระทรวงวัฒนธรรม

เพื่อให้ประชาชนได้เข้าไปร่วมจัดประเภทสื่อ

โดยเข้าเวบบ์ ข้างล่าง แล้วเลือก

ช่อง ๗ วันอาทิตย์ ที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๑

เวลา ๖.๐๐ น.ที่

//www.me.in.th/live/




 

Create Date : 30 พฤศจิกายน 2551
0 comments
Last Update : 4 ธันวาคม 2551 7:47:18 น.
Counter : 777 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


panomsarakham
Location :
ฉะเชิงเทรา Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




นายแพทย์สำเริง ไตรติลานันท์
นายแพทย์เชี่ยวชาญ
หัวหน้ากลุ่มงานเวชกรรมชุมชน
แพทย์ครอบครัว ร.พ.พนมสารคาม และ
ร.พ.สร้างเสริมสุขภาพ ต.เขาหินซ้อน
ประธาน"ชมรมจริยธรรม ร.พ.พนมสารคาม"
..................................................

เธอจงระวังความคิดของเธอเพราะความคิดของเธอจะกลายเป็นความประพฤติของเธอ จงระวังความประพฤติของเธอเพราะความประพฤติของเธอจะกลายเป็นความเคยชินของเธอ จงระวังความเคยชินของเธอเพราะความเคยชินของเธอจะกลายเป็นอุปนิสัยของเธอเธอ จงระวังอุปนิสัยของเธอเพราะอุปนิสัยของเธอจะกำหนดชะตาชีวิตของเธอชั่วชีวิต....หลวงพ่อชา
Friends' blogs
[Add panomsarakham's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.