"ชมรมจริยธรรม โรงพยาบาลพนมสารคาม" ศีล และ ธรรมไม่กลับมา โลกาจะวินาศ
Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2551
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
6 กรกฏาคม 2551
 
All Blogs
 

"สังคมป่วย รับผลแห่งกรรม จะแก้กรรมได้อย่างไร"



พระพรหมคุณาภรณ์
เจ้าอาวาส วัดญาณเวศกวัน อ.สามพราน จ.นครปฐม
รางวัล "สังข์เงิน" สาขาเผยแพร่พระพุทธศาสนา ปี
พ.ศ.๒๕๓๓ รางวัลการศึกษาเพื่อสันติภาพปีพ.ศ.๒๕๓๗ จากยูเนสโก
.........................................................................................

ธรรมะวันอาทิตย์ ช่อง ๗ สี วันที่ ๖ กรกฎาคม ๒๕๕๑

"สังคมป่วย รับผลแห่งกรรม จะแก้กรรมได้อย่างไร"

เทศนาโดย พระพรหมคุณภรณ์
การแก้กรรม ทางพระเรียกว่า การปฏิกรรม
ตัวอย่าง ประเทศที่ก่อให้เกิดสงคราม เมื่อแพ้สงคราม จะถูกศาลโลก ตัดสินลงโทษให้ชดใช้ค่าปฏิกรรมสงคราม หรือ แก้ไขความเสียหายทั้งหมด ที่เกิดจากสงคราม เป็นต้น

ผู้ถามคำถามนี้ เห็นว่า สังคมป่วย รับผลแห่งกรรม จะแก้กรรมได้อย่างไร นั้น
ขอตอบว่า

สังคมป่วย เกิดจาก

๑.ความอ่อนแอ ของสังคม ไม่สามารถควบคุมคนให้อยู่ในกฏระเบียบของสังคมได้ ทำให้เกิดการกระทำผิด เกิดความรุนแรง สังคมจึงป่วย

๒.การไม่พึ่งตนเอง เพราะ เกียจคร้าน ไม่เห็นคุณค่าของการกระทำของตนเอง ชอบสบาย สร้างความหวังจากสิ่งที่เชื่อว่าจะช่วยให้ร่ำรวย ให้มีเงิน โดยไม่ต้องพึ่งตนเอง สังคมจึงป่วย

พุทธศาสนา เป็นกรรมวาที เป็นวิริยะวาที เป็นศาสนาที่มุ่งเน้นให้ปฏิบัติด้วยตนเองไม่หวังพึ่งพาผู้อื่น หรือ พึ่งอำนาจสิ่งที่เชื่อถือว่าจะมาดลบันดาลให้ได้

พระพุทธองค์ประสูติ ที่ประเทศอินเดีย ที่มีความเชื่อในศาสนาฮินดู มีเทพเจ้าให้ขอ ให้ช่วย ให้บันดาลให้สำเร็จ มีความเชื่อเรื่องโชคชะตาฟ้าลิขิต

พระพุทธองค์ ท่านค้นคว้าด้วยการสละราชสมบัติ ออกผนวชแสวงหาตาม สำนักต่าง ๆ ก็ไม่พบว่าจะช่วยให้ค้นพบความสุขได้

จนค้นพบ อริยสัจจ ๔ ด้วยพระองค์เอง เป็นแก่นคำสอนของพระพุทธศาสนา

"สังคมป่วย รับผลแห่งกรรม จะแก้กรรมได้อย่างไร"

พระพรหมคุณาภรณ์ ท่านสอนให้ หาว่า

สังคมป่วยอย่างไร ให้ชัดเจน หรือ ให้หาทุกข์
ให้หาสาเหตุที่ทำให้สังคมป่วย หรือ ให้หาสมุทัย
ให้หาว่าต้องการให้สังคมป่วยหายแค่ไหน หรือ ให้หานิโรธ
ให้หาวิธีปฏิบัติเพื่อแก้สาเหตุให้หมดไป หรือ น้อยลง หรือ ให้หามรรค

ดำเนินตามอริยสัจจ ๔ ก็จะแก้สังคมป่วย แก้กรรมได้นั่นเอง

……......................................................................



"พระเทพวิสุทธิกวี" ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดราชาธิวาสวิหาร และ
เลขาธิการศูนย์พิทักษ์พระพุทธ ศาสนาแห่งประเทศไทย!!!
.......................................................................…

จบเทศนาแล้วมีคำถามจากชาวบ้านถามมาว่า

"การห้ามคนอื่น ทำบุญ จะบาป หรือ ไม่"

พระเทพวิสุทธิกวี ได้เมตตาตอบคำถามว่า

เป็นบาป เพราะ เขาจะได้บุญ ได้ความสุข ตามผลแห่งการทำความดี ไปห้ามเขาไม่ให้ได้รับความสุข จากการทำความดี จึงถือว่าเป็นความผิด เป็นบาป
เมื่อเห็นเขาทำความดี ทำบุญ ควรยินดีกับเขาที่เรียกว่า มุทิตา เป็นหนึ่งใน พรหมวิหาร ๔ นั่นเอง




 

Create Date : 06 กรกฎาคม 2551
2 comments
Last Update : 6 กรกฎาคม 2551 14:09:16 น.
Counter : 542 Pageviews.

 

 

โดย: yosita_yoyo 6 กรกฎาคม 2551 14:06:58 น.  

 

พบคอลัมภ์ แท็งค์ความคิด ข้างล่าง เยอรมัน นำอริยสัจจ ๔ มาใช้แก้ปัญหาการเมือง จากการใช้ ประชาธิปไตย แล้วมีฮิตเลอร์ เป็นหัวหน้าพรรคนาซี คุมเสียงข้างมาก กลายเป็นเผด็จการรัฐสภา นำประเทศเข้าสู่สงคราม ข้างล่าง แล้วแก้ไข โดย อริยสัจจ ๔
การค้นหา ทุกข์ คือ ระบบมีปัญหาอะไร
สมุทัย คือ ปัญหาของระบบคืออะไร
นิโรธ คือ จุดหมายที่จะต้องการไปถึง และ
มรรค คือหนทางที่จะแก้ไข
นำมรรคมาเป็นทางแก้ไข ทำให้เยอรมันสามารถแก้ปัญหาจากการใช้ ประชาธิปไตย ได้ เป็นทางเลือกหนึ่งที่ ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล นำมาเสนอ

น.ส.พ.มติชน วันที่ 06 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 ปีที่ 31 ฉบับที่ 11075

โปรด"ลุกขึ้น"มาอีกครั้ง

คอลัมน์ แท็งค์ความคิด

โดย นฤตย์ เสกธีระ max@matichon.co.th

ในชั่วโมงเรียน ในหลักสูตร ผู้บริหารการสื่อสารมวลชนระดับสูง หรือ บ.ส.ส. รุ่น 1

ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล ถือไมค์ยืนอธิบายเรื่องการถ่วงดุลอำนาจอธิปไตยอยู่เกือบ 3 ชั่วโมง

นักเรียนโข่ง แต่ไฟแรงจำนวนเกือบ 40 คนฟังด้วยความตั้งใจ

ตอนหนึ่งของการบรรยาย อาจารย์ปริญญาที่พวกเราคอการเมืองยังติดภาพสมัยท่านเป็นนิสิตนักศึกษา ได้สรุปบอกเล่าเรื่องน่าสนใจเกี่ยวกับประเทศเยอรมันหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ให้ฟัง

อาจารย์ปริญญาบอกว่า "อดอล์ฟ ฮิตเลอร์" คนจุดชนวนสงครามโลกครั้งที่ 2 และถูกคนทั้งโลกขนานนามว่าเป็น "จอมเผด็จการ" นั้น มาจาก "การเลือกตั้ง"

ฮิตเลอร์ เป็นหัวหน้าพรรคนาซี และเมื่อปี ค.ศ.1932 พรรคนาซีของฮิตเลอร์ชนะการเลือกตั้ง

ปี ค.ศ.1933 ฮิตเลอร์เป็นนายกรัฐมนตรี

"พอมีอำนาจอยู่ในมือ ชายหนวดงามคนนี้ก็ตั้งตนเป็นเผด็จการสมบูรณ์แบบ"

สร้างกองทัพเยอรมันให้แข็งแกร่ง แสวงหาพันธมิตรอย่าง "เบนิโต มุสโลลินี" ผู้นำอิตาลี

ร่วมลงนามเป็นพันธมิตร เรียกชื่อตัวเองว่า "อักษะ"

กระทั่งเยอรมันนำกองทัพบุกโปแลนด์ จุดประกายสงครามโลกครั้งที่ 2 ขึ้น

"ยังผลให้มีคนตายในยุโรปเป็นสิบล้าน เฉพาะคนเยอรมันเองก็ตายเป็นล้าน"

นับเป็นโศกนาฏกรรมครั้งหนึ่งของโลก

ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง คนเยอรมันจึงตั้งคำถามกับตัวเองครับ

เขาถามตัวเองว่า มันเกิดอะไรขึ้นกับระบอบประชาธิปไตยของเยอรมัน

"ทำไมระบอบประชาธิปไตยเยอรมันจึงเลือกเอาคนอย่าง อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ขึ้นมาได้"

ทำไมประชาธิปไตยในเยอรมันจึงล้มเหลวถึงเพียงนี้ ?

เขาตั้งคำถามแล้วค้นคว้าจนได้คำตอบ

คำตอบแรกคือเขาพบว่า ประชาธิปไตยของเขาขาดระบบการถ่วงดุลอำนาจที่ดี

"ผู้นำเลย"บ้าอำนาจ" !"

คำตอบอีกข้อที่เขาพบ คือ พลเมืองเยอรมันในขณะนั้นยังไม่มีจิตวิญญาณเป็นประชาธิปไตยครับ

หลังจากได้ข้อสรุป เยอรมันก็เริ่มอุดจุดอ่อนของตัวเอง

ทางหนึ่งคือสร้างระบบถ่วงดุลอำนาจ เกิดระบบนั่นระบบนี่ เกิดศาลนั่นศาลนี่ รวมกันประมาณสัก 5 ศาลเห็นจะได้

"อีกทางหนึ่งคือการสร้างพลเมืองคนรุ่นใหม่ภายในชาติ"

ปลุกฝังจิตวิญญาณประชาธิปไตยให้กับยุวชนคนเยอรมันครับ

วิธีการฝังจิตวิญญาณสร้างพลเมืองที่ว่านั้นเริ่มตั้งต้นกันตั้งแต่ระดับอนุบาล

เด็กอายุ 1-5 ขวบ ต้องรู้จักความขัดแย้ง

"เด็กต้องรู้ว่า คนเราสามารถมีความเห็นต่างกัน และสามารถทะเลาะกันได้"

"แต่สิ่งหนึ่งที่ห้ามเด็ดขาด ก็คือ อย่าตีกัน"

พออายุ 6-10 ขวบ เด็กๆ เข้าเรียนชั้นประถมศึกษา เขาก็สอนให้เรู้จักเคารพสิทธิผู้อื่น รู้จักทำงานกันเป็นทีม

เข้าใจถึงวิธีการดำรงชีวิตแบบประนีประนอม

เมื่อเข้าสู่ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น เขาจะป้อนความรู้ทางประวัติศาสตร์การเมือง

คือให้เยาวชนเรียนรู้เรื่องราวในอดีต

ตกผลึกข้อดี และข้อเสีย ของระบบการเมืองแบบต่างๆ

จนชีวิตย่างเข้าสู่ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย

"เยาวชนคนเยอรมันก็จะได้เรียนรู้ถึงการปกครองในระบอบประชาธิปไตย"

จากวันนั้นถึงวันนี้ เยอรมันพลิกสถานะจากเผด็จการสมบูรณ์แบบเมื่อสมัย อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ กลายเป็นประเทศประชาธิปไตยอย่างสมภาคภูมิ

ข้อมูลที่อาจารย์ปริญญาถ่ายทอดมา หลายคนคงเคยได้ยินมาแล้ว แต่อีกหลายคนเพิ่งเคยฟัง

เรื่องราวทั้งหมด เป็นตัวอย่างที่ดีของคนที่"ล้ม"แล้ว รู้จักที่จะ"ลุกขึ้น"มาอีกครั้ง

เยอรมันนั้นล้มระเนระนาดไปแล้วครับในตอนนั้น

"แต่พวกเขาก็เรียนรู้ที่จะมีชีวิตอยู่"

เริ่มต้นด้วยการสรุปบทเรียน

ตั้งคำถามกับตัวเองว่า ทำไมเราจึงล้มเหลว

ตั้งคำถามได้แล้วก็อย่าลืมหาคำตอบให้ได้นะครับ

เพราะคำตอบที่ได้มาจะเป็นข้อมูลสำคัญที่ทำให้เราสามารถกำหนดเป้าหมายใหม่ได้อย่างชัดแจ้ง

เมื่อเป้าหมายชัด การจะทำอะไรก็ง่ายขึ้น

"เยอรมันพบว่า ระบบการตรวจสอบที่อ่อนแอ และพลเมืองที่ยังไม่เข้าใจประชาธิปไตย คือสาเหตุของความวิบัติ"

เยอรมันจึงกำหนดเป้าหมายที่จะสร้างระบบการตรวจสอบ และสร้างพลเมือง

ที่เหลือก็คือ "วิธีทำ"

เยอรมันเขาเลือกที่จะแก้ไขความอ่อนแอของระบบการตรวจสอบ ด้วยการจัดวางโครงสร้าง มีองค์กรตรวจสอบอย่างศาลขึ้นมาถ่วงดุลอำนาจบริหาร

และเลือกวิธีการให้การศึกษา ปลูกฝังประชาธิปไตยให้แก่เยาวชนคนรุ่นใหม่

สุดท้าย คือ การมุมานะ ทำให้สิ่งต่างๆ บรรลุเป้าหมาย

"แล้ววันนี้เยอรมันก็ลุกขึ้นมายืนได้อีกครั้ง"

เหมาะสำหรับเป็นตัวอย่างให้แก่คนที่กำลังท้อแท้

คิดว่าการพลาดพลั้งในชีวิต จน"ล้ม"ลงไปแล้ว จะไม่มีวันลุกขึ้นมาได้อีก

ใครที่คิดเช่นนั้น "ขอให้คิดใหม่"

ลองเอาวิธีการของประเทศเยอรมันไปปรับใช้ดูสักนิด

สรุปบทเรียนของความล้มเหลว

ตั้งคำถามกับตัวเอง แล้วหาคำตอบที่เที่ยงตรง

จากนั้นกำหนดวิธีการเพื่อเริ่มต้นชีวิตใหม่

แล้วมุมานะดำเนินชีวิตให้เป็นไปตามเป้าหมาย

วิธีการเช่นนี้ ขนาดเยอรมันที่เกือบวิบัติ ยังยืนหยัดอยู่ได้

"แล้วทำไมพวกเราถึงจะทำไม่ได้"

อย่าลืมนะครับว่า ทุกคนที่พลาดพลั้ง ล้วนมีโอกาสที่จะลุกขึ้นมาได้อีก

ขอให้โอกาสนั้น

"โปรด"ลุกขึ้น"มาอีกครั้งเถอะครับ"

"สวัสดี"

 

โดย: panomsarakham 6 กรกฎาคม 2551 17:56:37 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


panomsarakham
Location :
ฉะเชิงเทรา Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




นายแพทย์สำเริง ไตรติลานันท์
นายแพทย์เชี่ยวชาญ
หัวหน้ากลุ่มงานเวชกรรมชุมชน
แพทย์ครอบครัว ร.พ.พนมสารคาม และ
ร.พ.สร้างเสริมสุขภาพ ต.เขาหินซ้อน
ประธาน"ชมรมจริยธรรม ร.พ.พนมสารคาม"
..................................................

เธอจงระวังความคิดของเธอเพราะความคิดของเธอจะกลายเป็นความประพฤติของเธอ จงระวังความประพฤติของเธอเพราะความประพฤติของเธอจะกลายเป็นความเคยชินของเธอ จงระวังความเคยชินของเธอเพราะความเคยชินของเธอจะกลายเป็นอุปนิสัยของเธอเธอ จงระวังอุปนิสัยของเธอเพราะอุปนิสัยของเธอจะกำหนดชะตาชีวิตของเธอชั่วชีวิต....หลวงพ่อชา
Friends' blogs
[Add panomsarakham's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.