Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2553
 
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
18 พฤษภาคม 2553
 
All Blogs
 
ออกกำลังกายสบายๆ สไตล์...เบาหวาน



ปลอดภัยได้ถ้าไม่ประมาท




การออกกำลังกายดูเป็นเรื่องที่ง่ายๆ และธรรมดา แต่สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน
กลับไม่ง่ายอย่างที่คิด เพราะต้องคำนึงถึงโรคแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นด้วย
ดังนั้นก่อนจะคิดบริหารร่างกายด้วยวิธีใด
ก็ควรได้รับการประเมินหาภาวะแทรกซ้อนก่อน เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยง
ดังกรณีต่อไปนี้



1.โรคหัวใจและหลอดเลือด สำหรับผู้ป่วยเบาหวานที่มีอายุมากกว่า 35
ปี หรือป่วยเป็นโรคเบาหวานมานาน
หรือมีปัจจัยเสี่ยงต่อหลอดเลือดหัวใจตีบอื่นๆ เช่น สูบบุหรี่
มีกรรมพันธุ์ทางสายเครือญาติที่มีภาวะความดันโลหิตสูง ไขมันสูง
หรืออาจมีโรคแทรกซ้อนอื่นๆ อยู่แล้ว เช่น โรคหัวใจ ก่อนออกกำลังกาย
ควรได้รับการตรวจโดยการวิ่งบนสายพานเพื่อประเมินประสิทธิภาพของร่างกายก่อน



2.โรคหลอดเลือดแดงขาตีบ ผู้ป่วยมีอาการปวดขาเวลาเดิน แต่พอได้พักก็จะหายปวด
กรณีนี้ควรได้รับการประเมินหลอดเลือดแดงที่ขาก่อน
หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่มีอันตรายต่อเท้า และควรสวมเครื่องป้องกันเท้า
สามารถออกกำลังโดยการเดิน ขี่จักรยาน ว่ายน้ำได้



3.โรคแทรกซ้อนทางตา ควรได้ตรวจจอรับภาพก่อน
และงดการออกกำลังกายบางประเภทที่อาจทำให้ตาบอดได้ เช่น การยกน้ำหนัก
การงัดข้อ การวิดพื้น การชกมวย การวิ่ง การเป่าเครื่องดนตรี
โดยเลือกการออกกำลังกายเบาๆ แทน เช่น เดิน ขี่จักรยานอยู่กับที่
และว่ายน้ำ



ก่อนออกกำลังกาย ควรวอร์มร่างกายก่อน 5-10 นาที ตามด้วยการยืดกล้ามเนื้อและเอ็น จากนั้นให้ออกกายบริหารโดยการวิ่ง หรือเดินเร็วๆ 30 นาที หลังจากออกกำลังกายให้พัก 5-10 นาที และยืดกล้ามเนื้ออีก 5-10 นาที การออกกำลังกายขึ้นอยู่กับสภาพความพร้อมของร่างกายผู้ป่วย ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ 3-4 ครั้งต่อสัปดาห์ ระยะเวลาของการออกำลังกายควรอยู่ที่ 30-40 นาที หรืออย่างน้อย 20 นาทีต่อครั้ง ช่วงเวลาที่เหมาะสมคือ 16.00 น. เพราะจะทำให้น้ำตาลตอนเช้าลดลง การออกกำลังกายหลังอาหารจะช่วยลดน้ำตาลในเลือดลงได้



การออกกำลังกายไม่ว่าจะเดิน ขี่จักรยาน วิ่ง วิ่งอยู่กับที่ ว่ายน้ำ แอโรบิค
หรือการยกน้ำหนักเบาๆ ก็ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของผู้ป่วย
ควรเริ่มจากเบาไปหาหนัก เริ่มจากเบาคือให้มีอัตราการเต้นของหัวใจอยู่ระดับ
40%
ของอัตราการเต้นสูงสุด
ซึ่งความหนักของการออกกำลังกายใช้อัตราเต้นสูงสุดของหัวใจเป็นเกณฑ์
โดยทั่วไปแนะนำให้ออกกำลังจนอัตราหัวใจเต้นได้
60-80% ของอัตราการเต้นสูงสุด ซึ่งหลักเกณฑ์ของอัตราการเต้นหัวใจสูงสุด เท่ากับ 220-อายุผู้ป่วย



เพื่อการออกกำลังกายอย่างปลอดภัย ผู้ป่วยควรปรึกษาแพทย์ผู้ทำการรักษาก่อน
โดยเฉพาะผู้ที่ได้รับยาฉีดอินซูลิน
และควรป้องกันแผลอันอาจเกิดขึ้นจากการออกกำลังกาย เช่นตาปลา
หรือการอักเสบที่เท้า
นอกจากนี้การดื่มน้ำให้เพียงพอก่อนออกกำลังกายและหลังจากนั้นก็เป็นสิ่งจำ
เป็น ที่สำคัญควรพกน้ำตาลติดตัวไปด้วย เพื่อป้องกันภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
แม้จะมีเงื่อนไขบ้าง แต่ผู้ป่วยเบาหวานก็สามารถออกกำลังกายแบบสบายๆ
และปลอดภัยได้ถ้าไม่ประมาท!!...






ที่มา:หนังสือพิมพ์แนวหน้า




Free TextEditor


Create Date : 18 พฤษภาคม 2553
Last Update : 18 พฤษภาคม 2553 4:05:38 น. 1 comments
Counter : 180 Pageviews.

 
อรุณสวัสดิ์ค่ะ...แวะมาทักทายค่ะ


โดย: nootikky วันที่: 18 พฤษภาคม 2553 เวลา:4:59:06 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

สมหญิง ณ ทรายทอง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add สมหญิง ณ ทรายทอง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.