Group Blog
 
<<
เมษายน 2552
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
 
25 เมษายน 2552
 
All Blogs
 
เทคนิคการจัดองค์ประกอบภาพ...ให้ภาพออกมาดูดี..









การจัดองค์ประกอบภาพ (Composition)

สำหรับการถ่ายภาพให้ได้ภาพที่ตรงตามความต้องการ มีคุณค่า มีความงามทางด้านศิลปะ นอกจาก จะทำความเข้าใจในเรื่องของการใช้กล้องถ่ายภาพ และเครื่องมือที่มีคุณภาพแล้ว การจัดองค์ประกอบภาพ ก็เป็นสิ่งที่สำคัญ ที่จะทำให้ภาพมีคุณค่าขึ้น ดังนั้นเราจึงมาศึกษาการจัดองค์ประกอบภาพ ซึ่งในบทนี้ จะกล่าวถึงการจัดองค์ประกอบภาพอยู่ 10 ลักษณะ คือ




* รูปทรง เป็น การจัดองค์ประกอบภาพที่ให้ความรู้สึก สง่างาม มั่นคง เหมาะสำหรับการถ่ายภาพ ทางสถาปัตยกรรม การถ่ายภาพวัตถุ หรือถ่ายภาพสิ่งต่างๆ เน้นให้เห็นความกว้าง ความสูง ความลึก โดยให้เห็นทั้งด้านหน้าและด้านข้าง และความลึก หรือที่เรียกว่าให้เห็น Perspective หรือภาพ 3 มิติ







* รูปร่างลักษณะ มี การจัดองค์ประกอบภาพตรงข้ามกับรูปทรง คือเน้นให้เห็นเป็นภาพ 2 มิติ คือ ความกว้างกับความยาว ไม่ให้เห็นรายละเอียดของภาพ หรือที่เรียกว่าภาพเงาดำ ภาพลักษณะนี้ เป็นภาพที่ดูแปลกตา น่าสนใจ ลึกลับ ให้อารมณ์และสร้างจินตนาการ ในการในการดูภาพได้ดีนิยมถ่ายภาพในลักษณะ ย้อนแสง
ข้อควรระวังในการถ่ายภาพลักษณะนี้คือ วัตถุที่ถ่ายต้องมีความเรียบง่าย เด่นชัด สื่อความหมาย ได้ชัดเจน ฉากหลังต้องไม่มารบกวนทำให้ภาพนั้น หมดความงามไป








* ความสมดุลที่เท่ากัน เป็น การจัดองค์ประกอบภาพเพื่อให้ภาพดูนิ่ง สง่างาม น่าศรัทธา คล้ายกับแบบเน้นด้วยรูปทรง แต่จะแสดงออกถึงความสมดุล นิ่ง ปลอดภัย ภาพลักษณะนี้อาจจะดูธรรมดา ไม่สะดุดตาเท่าใดนัก แต่ก็มีเสน่ห์และความงามในตัว

* ความสมดุลที่ไม่เท่ากัน การ จัดภาพแบบนี้ จะให้ความรู้สึกที่สมดุลย์เช่นเดียวกับแบบที่แล้ว แต่จะต่างกันอยู่ที่ วัตถุทั้งสองข้าง มีขนาดและรูปร่างที่แตกต่างกัน แต่จะสมดุลได้ด้วยปัจจัยต่าง ๆ กัน เช่น สี รูปทรง ท่าทาง ฉากหน้า ฉากหลัง ฯลฯ ภาพดูน่าสนในกว่าแบบสมดุลที่เท่ากัน แต่ความรู้สึกที่มั่นคงจะ น้อยกว่า แต่แปลกตาดี








* ฉากหน้า ส่วน ใหญ่จะใช้ในการถ่ายภาพทิวทัศน์ หรือภาพอื่น ๆ ใช้ฉากหน้าเป็นตัวช่วยให้เกิดระยะ ใกล้ กลาง ไกล หรือมีมิติขึ้น ทำให้ภาพน่าสนใจอาจใช้กิ่งไม้ วัตถุ หรือสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่ใกล้กับกล้องเพื่อช่วยเน้นให้จุดสนใจที่ต้องการเน้น มีความเด่นยิ่งขึ้น และไม่ให้ภาพมีช่องว่างเกินไป

ข้อควรระวัง อย่าให้ฉากหน้าเด่นจนแย่งความสนใจจากสิ่งที่ต้องการเน้น จะทำให้ภาพลดความงามลง








* ฉากหลัง พื้นหลังของภาพก็มีความสำคัญ หากเลือกที่น่าสนใจ กลมกลืน หรือช่วยให้สิ่งที่ต้องการ เน้นเด่นขึ้นมา ควรเลือกฉากหลังที่กลมกลืน ไม่ทำให้จุดเด่นของภาพด้อยลง หรือมารบกวนทำให้ภาพนั้นขาดความงามไป








* กฏสามส่วน เป็น การจัดภาพที่นิยมมากที่สุด ภาพดูมีชีวิตชีวา ไม่จืดชืด การจัดภาพโดยใช้เส้นตรง 4 เส้นตัดกันในแนวตั้งและแนวนอน จะเกิดจุดตัด 4 จุด (ดังภาพ) หรือแบ่งเป็น 3 ส่วน ทั้งแนวตั้งและแนวนอน การวางจุดสนใจของภาพจะเลือกวางใกล้ ๆ หรือ ตรงจุด 4 จุดนี้ จุดใดจุด หนึ่ง โดยหันหน้าของวัตถุไปในทิศทางที่มีพื้นที่ว่างมากกว่า ทำให้ภาพดูเด่น ไม่อึดอัด ไม่แน่น หรือหลวมจนเกินไป นักถ่ายภาพทั้งมืออาชีพ และมือสมัครเล่นนิยมจัดภาพแบบนี้มาก








* เส้นนำสายตา เป็นการจัดภาพที่ใช้เส้นที่เกิดจากวัตถุ หรือสิ่ง อื่น ๆ ที่มีรูปร่างลักษณะใกล้เคียงกัน เรียงตัวกันเป็นทิศทางไปสู่จุดสนใจ ช่วยให้วัตถุที่ต้องการเน้นมีความ เด่นชัด และน่าสนใจยิ่งขึ้น










* เน้นด้วยกรอบภาพ แม้ ว่าภาพถ่ายจะสามารถนำมาประดับ ตกแต่งด้วยกรอบภาพอยู่แล้ว แต่การจัดให้ฉากหน้าหรือส่วนประกอบอื่นล้อมกรอบจุดเด่น เพื่อลดพื้นที่ว่าง หรือทำให้สายตาพุ่งสู่จุดสนใจนั้น ทำให้ภาพกระชับ น่าสนใจ









* เน้นรูปแบบซ้ำซ้อน หรือแบบ Pattren เป็นการจัดภาพที่มีรูปร่าง ลักษณะ ที่คล้าย ๆ กันวางเป็นกลุ่มทำให้ภาพดูสนุก สดชื่น และมีเสน่ห์แปลกตา

ที่ได้กล่าวมาทั้ง 10 ลักษณะ เป็นเพียงการจัดองค์ประกอบภาพที่เป็นที่นิยมกัน และเป็นพื้นฐาน ในการฝึกปฏิบัติการถ่ายภาพเท่านั้น ผู้ถ่ายภาพ ควรฝึกการจัดองค์ประกอบภาพในลักษณะ ที่แปลกใหม่ อยู่เสมอ ซึ่งเชื่อแน่ว่าคุณต้องประสบความสำเร็จอย่างแน่นอน




----------------------------------------------------



การจัดองค์ประกอบ
คำแนะนำสำหรับผู้เริ่มต้นถ่ายภาพธรรมชาติ



การสื่อสารด้วยภาพถ่าย
ภาพถ่ายธรรมชาติที่ดีนั้นจะต้องสื่อสาร ถ่ายทอดเนื้อหาได้ดี มีความสมบูรณ์ขององค์ประกอบศิลปะ
การจัดวางส่วนต่างๆ ลงบนภาพถ่ายในฐานะของช่างภาพนั้น เราใช้

เส้น (line)
รูปร่าง (shape)
สี (color)
น้ำหนัก (tone)
ลวดลาย (pattern)
พื้นผิว (texture)
สมดุล (balance)
สมมาตร (symmetry)
ความลึก (depth)
ทัศนียภาพ (perspective)
สัดส่วน (scale)
แสง (lighting)

เพื่อทำให้ภาพถ่ายมีชีวิตชีวา
ในขณะเดียวกัน อีกข้อนึงที่ควรคำนึงถึงก็คือ ความเข้ากันได้ขององค์ประกอบต่างๆภายในภาพนั้นๆ ด้วย
สิ่งที่สำคัญมากๆ ก็คือ หมั่นฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ และเพิ่มความชำนาญในการจัดองค์ประกอบภาพถ่ายธรรมชาติ
ลองมองผ่านช่องมองภาพจากกล้องของคุณดู และลองตั้งคำถามกับตัวเองดูซักสองคำถาม...

1. ภาพนี้สื่อสารถึงเรื่องราวอะไร

2. เราจะสื่อเรื่องราวของภาพนี้ออกไปให้คนดูเข้าใจได้อย่างไร

ภาพถ่ายธรรมชาติจะสมบูรณ์ได้ก็ต่อเมื่อสามารถส่งสารหรือเรื่องราวของภาพถึงผู้ชมได้อย่างกระจ่างชัด
เมื่อ ใดที่ช่างภาพนำเสนอภาพถ่ายที่มีเนื้อหาเรื่องราวสับสน ไม่กระจ่าง กำกวม หรือไม่หนักแน่นพอ ภาพถ่ายนั้นก็จะไม่สามารถดึงดูดผู้ชมได้
ในทางตรงกันข้าม ภาพถ่ายธรรมชาติที่สามารถส่งสารไปยังผู้ชมได้สมบูรณ์ มีพลัง
ก็จะจะสามารถดึงดูดและตรึงผู้ชมให้หยุดชม และซึมซับเนื้อหาของความงาม ความหมายของภาพนั้นๆ ได้เป็นเวลานาน








Keep It Simple : เรียบง่าย








สิ่งที่สำคัญที่สุดที่ควรจำใส่ใจไว้ตลอดเวลาในการจัดองค์ประกอบภาพก็คือ "ความเรียบง่าย"
แทนที่เราจะจัดองค์ประกอบโดยการยัดเอาอะไรต่อมิอะไรหลายๆ อย่างลงไปภายในภาพเดียว
เช่น ยกแกะทั้งฝูงเข้ามาไว้ในภาพ, ทุกดอกไม้ทั้งทุ่ง, ฯลฯ
จงจำไว้เสมอว่า ความเรียบง่ายคือกลยุทธ์ที่ดีและใช้งานได้เสมอในการจัดองค์ประกอบภาพ
น่าสนใจเป็นอย่างยิ่งว่า ช่างภาพธรรมชาติมืออาชีพบางคน มักจัดองค์ประกอบโดยการตัดบางสิ่งบางอย่างออกไปจากภาพ
แทนที่จะเพิ่มอะไรต่อมิอะไรหลายๆ อย่างเข้าไปในภาพภาพเดียว
ตัวอย่างเช่น แทนที่จะคิดว่าจะใส่อะไรเพิ่มเข้าไปในภาพอีกดี เขากลับมองไปที่การตัดบางสิ่งบางอย่างออกจากภาพ
เพื่อให้องค์ประกอบของภาพนั้นๆ ดูมีพลังมากยิ่งขึ้นนั่นเอง


ในอีกหลายๆ กรณี การจัดองค์ประกอบที่ไม่ลงตัว สามารถเปลี่ยนเป็นองค์ประกอบที่ดูเข้าท่ามากขึ้นได้ เพียงแค่ขยับนิดหน่อยเท่านั้น
โดยการมองผ่านช่องมองภาพ แล้วขยับไปในทิศทางต่างๆ เล็กน้อย เพียงเท่านี้ก็สามารถจัดองค์ประกอบแบบเรียบง่ายได้แล้ว


จำไว้เสมอว่า ขั้นแรก ควรเริ่มจากการจัดองค์ประกอบให้ง่ายที่สุด ดูไม่ซับซ้อน วุ่นวาย
พยายามหลีกเลี่ยงวัตถุที่ดูระเกะระกะ ยุ่งเหยิง สิ่งที่รบกวนสายตาต่างๆ
แล้วภาพภาพนั้นจะดูดีได้อย่างน่าอัศจรรย์เลยทีเดียว







BE PATIENT : อดทน อดทน และอดทน





BE PATIENT : อดทน อดทน และอดทน

การจัดวางองค์ประกอบภาพให้ได้ดี บางทีก็ต้องใช้เวลานานพอสมควร
ในการถ่ายภาพธรรมชาติ หากเราจัดองค์ประกอบในเวลาสิบวินาทีหรือน้อยกว่านั้น
ผลลัพธ์ที่ได้ออกมาจะแตกต่างเป็นอย่างมาก หากเทียบกับการจัดองค์ประกอบด้วยเวลาสิบนาทีหรือมากกว่า
ซึ่งแตกต่างกับการถ่ายภาพสัตว์ป่า ที่เราจำเป็นต้องจบทำงานอย่างรวดเร็ว ตั้งแต่การเล็งที่ตัววัตถุ ไปจนถึงการกดชัตเตอร์
ไม่เช่นนั้นแล้วเราอาจจะเสียโอกาสในการเก็บภาพงามๆ ไปก็ได้

แต่ในการถ่ายภาพทิวทัศน์ธรรมชาติ สิ่งที่จะถ่าย หรือ subject จะเปลี่ยนไปอย่างช้ามาก
หากเราเปลี่ยนกระบวนการจัดองค์ประกอบภาพให้ช้าลง และทำอย่างพิถีพิถันแล้ว
ผลลัพธ์ที่ได้ออกมานั้นรับรองได้ว่าจะเป็นรางวัลที่มีค่าและเป็นประสบการณ์ที่ดีมาก
รวมทั้งยังจะเป็นการพัฒนาทักษะการถ่ายภาพของเราอย่างดีทีเดียว
ลองคิดดูเล่นๆ ว่าจะดีแค่ไหนหากคุณจะลองจัดองค์ประกอบภาพอย่างน้อยสิบนาทีต่อหนึ่งภาพในการถ่ายครั้งต่อๆ ไป







BE PATIENT : อดทน อดทน และอดทน







Fill the frame : จัดกรอบภาพ
พยายามใช้ส่วนต่างๆ ของกรอบภาพให้เป็นประโยชน์มากที่สุด
เมื่อเรามองผ่านช่องมองภาพ viewfinder พยายามนึกถึงกรอบสี่เหลี่ยมเอาไว้
เราสามารถจัดองค์ประกอบโดยใช้พื้นที่ว่างทั้งหมดให้มีประโยชน์มากที่สุด
เราสามารถสร้างสรรค์องค์ประกอบที่แปลกตาได้อย่างหลากหลาย และดูมีพลังมากยิ่งขึ้น
โดยการขยับซูมให้เข้าใกล้วัตถุขึ้นอีกนิด หรือเท่าที่เลนส์ของคุณจะสามารถทำได้
และหากเป็นไปได้ ลองพยายามเดินเข้าไปใกล้กับวัตถุที่ต้องการจะถ่ายขึ้นอีกนิด
องค์ประกอบจะดูหลวมและขาดพลังทันที หากสิ่งที่ต้องการจะถ่ายดูมีขนาดเล็กจนเกินไป







Fill the frame : จัดกรอบภาพ









CONSIDER VERTICALS : แนวตั้ง


ขนาดของฟิลม์ 35 มม. มีด้านยาวยาวกว่าด้านกว้างถึง 50% ดังนั้น ภาพถ่ายที่ได้จึงเป็นทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าไม่ใช่สี่เหลี่ยมจตุรัส
คนส่วนใหญ่จะถ่ายภาพออกมาในแนวนอนมากกว่าแนวตั้ง แต่ในขณะเดียวกัน ภาพถ่ายทิวทัศน์ ในหลายๆ สถานการณ์
ภาพถ่ายแนวตั้งก็ดูเหมือนจะมีพลังมากกว่าในแนวนอน ยกตัวอย่างเช่น ต้นไม้, ภูเขา, น้ำตก
และยังรวมไปถึงสิ่งที่มีส่วนประกอบเป็นแนวนอนหลายๆ อย่างด้วย
เช่น หากคุณไปยืนอยู่บนสะพาน มองออกไปที่สายน้ำยังด้านล่าง...ค่อยๆไหลไกลออกไป ลักษณะของสายน้ำนั้นก็เป็นลักษณะในแนวตั้งนั่นเอง
กระทั่งในการถ่ายมาโคร เกสรของดอกไม้ป่า หรือปลายยอดของใบหญ้า หากเราถ่ายสิ่งเหล่านี้ในแนวตั้งก็จะทำให้ภาพนั้นดูดีขึ้นได้

ลองสังเกตให้ดีในระหว่างการถ่ายภาพของคุณว่าควรใช้การถ่ายภาพในแนวตั้งหรือแนวนอน
อย่างไหนจะสร้างความน่าสนใจให้กับภาพถ่ายของคุณได้มากกว่ากัน






CONSIDER VERTICALS : แนวตั้ง









FIND LINES : มองหา "เส้น"



ในความเป็นจริงแล้ว เราสามารถมองเห็น "เส้น" ได้จากเกือบทุกๆ ที่ที่เรามองผ่านกล้องออกไป
เราจะใช้เส้นสายเหล่านี้อย่างไรให้มีประโยชน์ต่อภาพของเรามากที่สุด?
ส่วนประกอบสำคัญ 3 อย่างที่เราควรมองหาในการวางองค์ประกอบคือ เส้นทแยง เส้นนำสายตา และ เส้นโค้ง
การนำเส้นในลักษณะต่างๆ นี้มาใช้อย่างชาญฉลาด จะช่วยยกระดับภาพถ่ายของเราให้ดูดีขึ้นได้อย่างมากเลยทีเดียว

เส้นแนวนอนและแนวตั้ง จะให้ความรู้สึกหยุดนิ่ง สงบ

เส้นทแยงหรือเส้นเฉียง จะให้ความรู้สึกของการเคลื่อนที่ ซึ่งจะช่วยให้ภาพเหล่านั้นดูมีชีวิตชีวาขึ้นได้เป็นอย่างมาก

ตัวอย่างของเส้นแนวเฉียงที่เรารู้จักกันดีอย่างหนึ่งก็คือ "เส้นนำสายตา" นั่นเอง
เส้นนำสายตานี้สามารถพุ่งออกมาจากมุมใดมุมหนึ่งของภาพ พาดผ่านไปยังกลางภาพหรือวัตถุที่เราต้องการนำเสนอในภาพ
เราสามารถมองหาเส้นนำสายตานี้ในภาพถ่ายประเภททิวทัศน์ได้ไม่ยาก
ยกตัวอย่างเช่น ริมตลิ่งของแม่น้ำ เส้นขอบระหว่างทุ่งหญ้าและผืนป่า และอื่นๆ
เส้นนำสายตาจะช่วยทำให้ภาพถ่ายของเราดูน่าสนใจมากยิ่งขึ้น เพราะเป็นการนำสายตาของตัวผู้ชมให้เข้าสู่วัตถุที่เราต้องการนำเสนอ
และยังเป็นการเชื่อมต่อความสัมพันธ์ระหว่างฉากหน้าและฉากหลังได้เป็นอย่างดี เป็นการช่วยทำให้ภาพดูมีมิติมากขึ้นนั่นเอง

เส้นโค้ง จะช่วยเพิ่มความอ่อนช้อยให้กับภาพถ่ายของคุณ
S curve หรือเส้นโค้งในลักษณะที่คล้ายรูปทรงของอักษร "S" เป็นเส้นที่ช่วยกระตุ้นการรับชมความงามต่อผู้ชมได้ดีที่สุด
ยก ตัวอย่างเช่น เส้นโค้งจากคุ้งน้ำที่ไหลทอดตัวยาวออกไป แนวพุ่มไม้ต่างๆ แนวโค้งของกลุ่มเมฆ หรือแม้กระทั่งลักษณะการขดของงูก็ตาม








FIND LINES : มองหา "เส้น"
PLACE SUBJECTS OFF-CENTER : เลี่ยงกลางภาพ






PLACE SUBJECTS OFF-CENTER : เลี่ยงกลางภาพ

หลายต่อหลายคนมักถ่ายภาพโดยการวางวัตถุอยู่กลางภาพเสมอๆ
การจัดองค์ประกอบภาพแบบนี้ จะทำให้ภาพดูค่อนข้างแข็ง หยุดนิ่ง และไม่มีการเคลื่อนไหวภายในภาพ
เราสามารถทำให้ภาพดูน่าสนใจมากยิ่งขึ้นได้โดยการวางวัตถุเลื่อนออกไปทางด้านใดด้านหนึ่งจากกึ่งกลางภาพ
หรือใช้กฏสามส่วน จุดตัด 9 ช่อง เข้ามาช่วย
ลองจินตนาการแบ่งจอภาพของคุณเป็นสามส่วนดู ทั้งแนวนอนและแนวตั้ง และวางจุดเด่นของภาพไว้ที่จุดตัดของเส้นต่างๆ ดู
เท่านี้ก็จะทำให้ภาพดูดีขึ้นมากทีเดียวครับ





-----------------------------------------------------------






องค์ประกอบในการออกแบบ


1. องค์ประกอบในความนึกคิด( conceptual element )

1.1 จุด

ชี้ให้เห็นตำแหน่งที่ว่าง
ให้ความรู้สึกนิ่ง คงที่ ไม่มี ความกว้าง ความยาว ไม่มีทิศทาง
จะอยู่ในบริเวณ ปลายของเส้น หรือจุดเริ่มต้นของเส้น
จุดตัดระหว่างเส้น 2 เส้น
จุดศูนย์กลางของวงกลม
จุดพบกันของเส้น ปริมาตร

จุดอาจมีหลายลักษณะ.. ที่พิจารณาเป็นจุดขึ้นอยู่กับขนาดของพื้นภาพครับ
เมื่อจุดใหญ่ ขึ้น ก็ อาจเป็นระนาบได้เหมือนกัน..















1.2 เส้น
มีความยาว มีตำแหน่งและทิศทาง พร้อมทั้งการเคลื่อนไหว
เส้น เมื่อนำจุดมาต่อกันเป็นเส้น มีขนาด ผอมบาง หนา มีน้ำหนัก มีทิศทาง ความยาว มีลักษณะต่างๆ และให้ความรู้สึกต่างๆ














1.3 ระนาบ
การเคลื่อนไหวของเส้น ที่ไม่ใช่ทิศทางของตัวเส้น ก่อให้เกิดระนาบ เส้นขนาน .. บอกได้ถึงระนาบ ถ้าเส้นขนานถี่ๆ ก็ ดูเป็นผิวระนาบ

ระนาบมีลักษณะต่างๆ.. รูปทรงเรขาคณิต รูปทรงธรรมชาติ ระนาบมี ทิศทาง มีความหมายเช่น สามเหลี่ยม มั่นคง วงกลม..
















1.4 ปริมาณ

มีตำแหน่งในที่ว่าง และ ล้อมรอบ โดยระนาบ ปริมาณ หรือ มวล ลวงตาได้เป็น 3 มิติ












2. องค์ประกอบที่มองเห็นได้ (Visual element)
คือสิ่งที่เรามองเห็นได้โดยทั่วไป.. จำแนกได้อย่างง่ายดาย.. ได้แก่..

2.1 รูปร่าง






2.2 ขนาด






2.3 สี






2.4 ผิวสัมผัส










3. องค์ประกอบที่สัมพันธ์กัน (Relational element)



3.1 ทิศทาง ขึ้นอยู่กับว่ารูปร่างสัมพันธ์กับผู้ดู อย่างไร

















3.2 ตำแหน่ง โดยพิจารณาจากรูปร่างกับกรอบ














3.3 ที่ว่าง
พิจารณาพิจารณาจาก ความสัมพันธ์ของที่ว่าง.. กับตัวแบบและองค์ประกอบโดยรอบ..














3.4 แรงดึงดูด

ความสัมพันธ์ขององค์ประกอบ.. ก่อให้เกดแรงดึงดูด ได้. .ต่างๆ . ตามลักษณะ และ ทิศทาง ของ องค์ประกอบโดยรอบ











------------------------------------------------------






สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการสร้างสรรค์งาน 2 มิติ

กรอบ และ พื้นภาพ ใช้เพื่อพิจารณา.. ที่ว่างและกำหนดตัวภาพ ..










คราวนี้... เรามาพิจารณาความสัมพันธ์ของรูปทรง
ได้แก่..
1. แรงดึงในที่ว่าง ความสัมพันธ์ของรูปทรง และ ที่ว่าง ก่อให้เกิดแรงดึงดูดระหว่างองค์ประกอบโดยรอบ ..









2. มุมสัมผัสมุม
ก่อให้เกิดความ น่าสนใจ ขององค์ประกอบ..ได้











3. ผิวหน้าสัมผัสผิวหน้า หรือ ขอบสัมผัสขอบ









4. การซ้อน
การซ้อนทับกันขององค์ประกอบ













5. การเกี่ยวเนื่อง หรือ สอดประสานกัน
















6. การห้อมล้อม
ก่อให้เกิดความสำคัญของที่ว่างที่ถูก ห้อมล้อม
















ผลกระทบที่เกิดของที่ว่างเมื่อรูปทรงสัมพันธ์กัน

การดึงดูด
การสัมผัส
การซ้อนการสอดแทรก
การเพิ่มรูป
การลดรูป

ซึ่งเราสามารถใช้สิ่งต่างๆ เหล่านี้ในการเพิ่มความน่าสนใจในที่ว่าง.. ดังที่ได้กล่าวไปก่อนหน้านี้..















สุดท้าย ... แนวทางการนำไปสู่ที่ว่าง หรือการทำภาพทำให้เกิด 3 มิติ
1. แสงและเงา
2. ระยะใกล้ไกล
3. ขนาด
4. ทิศทางของเส้น
5. ตำแหน่งในพื่นภาพ
6. การซ้อน
7. การทำภาพโปร่งใส
8. ผิวสัมผัส
9. สี เพิ่มหรือลดโทน เป็นต้น..

















ที่มา

//www.photohutgroup.com/
สมาคมถ่ายภาพแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
//photoinf.com/General/Cub_Kahn/Beginner's_Guide_To_Nature_Photography.html
























Create Date : 25 เมษายน 2552
Last Update : 25 เมษายน 2552 14:00:38 น. 6 comments
Counter : 6934 Pageviews.

 
ขอบคุณสำหรับข้อมูลและคำแนะนำดีๆค่ะ
รูปสวยๆทั้งนั้นเลยค่า


โดย: หนีแม่มาอาร์ซีเอ วันที่: 25 เมษายน 2552 เวลา:0:39:46 น.  

 
ภาพตัวอย่าง ดูงดงามสมบูรณ์ระดับเทพทั้งนั้นครับ ถูกใจมาก

เดี๋ยวจะต้องอ่านทวนอีกสักสองรอบ อุอุ ความสามารถผมมีน้อย..


โดย: yyswim วันที่: 25 เมษายน 2552 เวลา:1:46:49 น.  

 
เดี๋ยวจะนำไปใช้ประโยชน์นะค่ะ


โดย: wayoflife วันที่: 25 เมษายน 2552 เวลา:10:11:42 น.  

 
ถ้ามาอ่านก่อนไปเที่ยวหรือถ่ายรูปงานตัวเอง คงจะดีเนอะ สายไปหน่อย เอาไว้งานหน้าค่ะ แวะไปติด้วยนะเพิ่งอัพงานถ่าย แฟชันครั้งแรกค่ะ มือใหม่ ไม่มีความรู้เรืองกล้อง อ่ะ


โดย: no filling วันที่: 25 เมษายน 2552 เวลา:13:01:11 น.  

 
มีประโยชน์ดีจังค่ะ


โดย: AM NUCH วันที่: 25 เมษายน 2552 เวลา:15:13:22 น.  

 
มาหาความรู้ค่ะ เห็นด้วยกะคนข้างบนว่าภาพประกอบสวยจริงๆค่ะ


โดย: Too Optimistic วันที่: 25 เมษายน 2552 เวลา:18:45:49 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

นอกลู่นอกทาง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]








ภาพถ่ายดาวเทียมด้านอุตุนิยมวิทยา
ภาพสดๆจากที่ต่างๆทั่วมุมโลก
Ban Na Song BKK, Thailand
Karon Beach , Phuket , Thailand
Federal Highway, Angkasapuri ,Pantai Valley , Malaysia
Delta Estate , Singapore
Malate ,Manila , Philippines
Bandar Seri Begawan , Brunei
Guangxi Guilin, China
달빛무지개분수(Banpo Bridge Fountain )Sin’gilsa-dong , Seoul , South Korea
Hong Kong skyline from Admiralty, China
Shiomidai , Kanagawa , Japan
Cable Beach, Broome, Western Australia, Australia
Keahua Hawaii , USA
Sacramento California, USA
Washington D.C., USA
Manhattan , New York , USA
McCulloch Kelowna, Canada
Niagara Falls , Ontario , Canada
Panama Canal , Bella Vista , Panama
Santiago de Chile , Región Metropolitana , Chile
Fairbanks, Alaska Forecast Arctic
Mar del Plata Buenos Aires , Argentina
Tasiilaq , Østgrønland , Greenland
London Skyline from the Sheraton Park Tower , Knightsbridge , United Kingdom
Trafalgar Square , London , United Kingdom
Eiffel Tower Paris, France
Harstad Nordland , Norway
Halsum , Svalbarð , Iceland
Amsterdam , Netherlands
Vatican City State, Saint Peter's Basilica Borgo , Italy
Berlin, Germany
Чебоксарский залив, Yakimovo, Chuvashia , Russia
Udaipur Lake Pichola , Rājasthān , India
Mount Everest , Junbesi , Sagarmāthā , Nepal
Cape Town Sanddrift, South Africa
Orpen , Richmond , South Africa
Abū Hayl Dubai , United Arab Emirates
Kairo, Egypt
Medhufushi, Maldives
Mawson station Antarctica

Profile Visitor Map - Click to view visits
หนังทุกเรื่องหรือเพลงทุกเพลงในบล็อกนี้ เป็นเจ้าของ ของลิขสิทธินั้นๆตามเจ้าของเดิม นำมาเพื่อแบ่งปันชมกันในหมู่เพื่อนพ้อง ชาวบล็อกแก้งค์เท่านั้นครับ....
ไม่สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ 2539 หากผู้ใดคิดจะ ลอกเลียน หรือนำส่วนใดส่วนหนื่ง ของข้อความใน Blog แห่งนี้ไปเผยแพร่ ให้นำไปได้เลย โดยไม่ต้องขออนุญาต จขบ. แต่ต้องคัดลอกแจกจ่ายให้ครบ 50 ก็อปปี้ ไม่เช่นนั้น จะมีอันเป็นไป ต่างๆนานา ถึงขั้นชีวิตตกอับ อิอิ หากแต่ว่า..นำชื่อ จขบ. ไปใช้ในทางเสียหายหรือประจาน จะถูกดำเนินคดี ตามที่ กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด นะจ๊ะ
Friends' blogs
[Add นอกลู่นอกทาง's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.