Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2551
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
242526272829 
 
4 กุมภาพันธ์ 2551
 
All Blogs
 
วันทหารผ่านศึก---สงครามเวียดนาม--เกาหลี--ลาว

War Pigs.mp3










สงครามเวียดนาม


เหตุใดจึงเกิดสงครามเวียดนาม

สหรัฐเข้าสู่สงครามเวียดนามด้วยนโยบายเรื่องใดและผลที่ได้รับเป็นอย่างไร


สงครามเวียดนาม

สงครามเวียดนามเป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของสงครามตัวแทน เกิดขึ้นสืบเนื่องจากการเรียกร้อง

เอกราชของขบวนการชาตินิยมเวียดมินห์ ต่อต้านอำนาจของจักรวรรดินิยมเดิมคือ ฝรั่งเศส ต่อมาเมื่อฝรั่งเศสถอนตัวสหรัฐอเมริกาเข้ามาแทนที่และสนับสนุนเวียดนามใต้ ความขัดแย้งจึงกลายสงครามตัวแทนในช่วงสงครามเย็น ระหว่างกองกำลังเวียดนามใต้นิยมประชาธิปไตยที่มีสหรัฐสนับสนุนกับกองกำลังนิยมเวียดนามเหนือนิยมลัทธิคอมมิวนิสต์ที่มีสหภาพโซเวียตหนุนหลัง




ภูมิหลังสงครามเวียดนาม

เวียดนามเคยป็นเมืองขึ้นของจีนสมัยโบราณกว่าร้อยปี จึงรับอิทธิพลความเชื่อลัทธิขงจื๊อและวัฒนธรรมจีนมาผสมผสานกับวัฒนธรรมพื้นเมืองของตน ต่อมาในคริสต์สตวรรษที่ 18-19 ฝรั่งเศสขยายอำนาจมายึดครองเวียดนาม กัมพูชาและลาว รวมเรียกว่าอินโดจีนฝรั่งเศส ต่อมาได้มีขบวนการชาตินิยมเรียกร้องเอกราชแต่ถูกฝรั่งเศสปราบปรามอย่างรุนแรง ผู้คนเสียชีวิตจำนวนมาก แต่มีผู้นำคนสำคัญที่สามารถนำความสำเร็จมาให้ขบวนการชาตินิยมเวียดนามหรือเวียดมินห์ คือ โฮชิมินห์



ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง กองกำลังชาตินิยมเวียดมินห์ให้การสนับสนุนฝ่ายสัมพันธมิตร

โดยหวังจะได้เอกราชเป็นการตอบแทน แต่ฝรั่งเศสไม่ยินยอมและกลับมาครอบครองอินโดจีนอีกครั้งหลังสงครามโลก ทำให้เกิดการสู้รบกันตั้งแต่ ค.ศ. 1946 และสิ้นสุดลงในค.ศ 1954 เมื่อฝรั่งเศสแพ้ในสมรภูมิเดียนเบียนฟู มีการทำสัญญาสงบศึกที่ปารีส ฝรั่งเศสถอนตัวจากอินโดจีน มีผลให้ประเทศเวียดนาม ลาว กัมพูชาได้รับเอกราช และกำหนดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปเพื่อรวมเวียดนาม แต่ขณะที่ยังไม่มีการเลือกตั้ง ให้แบ่งเวียดนามเป็นสองส่วนที่เส้นขนานที่ 17 เวียดนามเหนือนำโดยโฮชิมินห์ ศูนย์กลางอยู่ที่ฮานอยและเวียดนามใต้ นำโดยกษัตริย์เบาได๋ ศูนย์กลางอยู่ที่ไซ่ง่อน





สหรัฐอเมริกากับสงครามเวียดนาม

การแทรกแซงของสหรัฐเริ่มต้นต่างจากการเข้าสู่สงครามเกาหลี เนื่องจากปัญหาการเลือกตั้งประธานาธิบดีและรวมชาติเวียดนาม เพราะเกรงว่าชาวเวียดนามจะเลือกโฮชิมินห์ ซึ่งเป็นวีรบุรุษกู้ชาติเวียดนามทั้งสองส่วนมีวิถีชีวิตต่างกันและนิยมความคิดทางการเมืองไม่ตรงกัน เวียดนามเหนือส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรยากจน เสียเปรียบเจ้าของที่ดิน จึงนิยมคอมมิวนิสต์ ทั้งยังได้รับความช่วยเหลือจากสหภาพโซเวียตและจีนคอมมิวนิสต์ ตั้งแต่รบกับฝรั่งเศส สื่งที่สำคัญคือ ความนิยมในตัววีรบุรุษ ผู้นำขบวนการชาตินิยมคือ โฮชิมินห์ หากมีการเลือกตั้งประชาชนทั่วไปมีแนวโน้มจะเลือกโฮชิมินห์ วีรบุรุษของตน โดยไม่สนใจลัทธิการเมือง สหรัฐจึงเข้ามาสนับสนุนเวียดนามใต้แทนฝรั่งเศส เพื่อสกัดกั้นไม่ให้มีการเลือกตั้งทั่วไป เพราะเกรงว่าผู้นิยมคอมมิวนิสต์จะได้ชัยชนะและทำให้เวียดนามเป็นคอมมิวนิสต์




การยกเลิกการเลือกตั้งประธานาธิบดีทำให้เวียดนามเหนือประกาศสงครามกับเวียดนามใต้อีกครั้ง

เพื่อใช้กำลังรวมเวียดนามเป็นประเทศเดียวกัน สหรัฐมีความเชื่อฤษฎีโดมิโน คือ เมื่อชาติหนึ่งเป็นคอมมิวนิสต์ ชาติที่อยู่ใก้ลเคียงจะถูกคุกคามและตกอยู่ในอิทธิพลคอมมิวนิสต์ด้วย เช่นเดียวกับสภาพการณ์ที่เกิดขึ้นในยุโรปตะวันออก จึงเข้ามาปกป้องประเทศในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้มิให้เป็นไปตามนโยบายวาทะทรูแมนและแผนการมาร์แชล

สหรัฐอเมริกาเริ่มส่งที่ปรึกษาทางทหารและส่งอาวุธยุทธปกรณ์ เพื่อพัฒนากองทัพให้กับเวียดนามใต้ ตั้งแต่สมัยประธานาธิบดีไอเซ็นเฮาว์และประธานาธิบดีจอห์น เอฟ เคเนดี ต่อมาเมื่อเคเนดีเสียชีวิตจากการลอบสังหารที่ดัลลัส เท็กซัส รองประธานาธิบดีจอห์นสันได้รับตำแหน่งผู้นำสหรัฐแทน



ได้ส่งกำลังพลนับแสนคนพร้อมอาวุธที่มีประสิทธิภาพสูง เข้ามาสกัดกั้นการคุกคามของคอมมิวนิสต์ในเวียดนาม ทำให้สงครามเวียดนามขยายตัวและรุนแรงมากขึ้น นับแต่ ค.ศ. 1965 เป็นต้นมา

ฝ่ายคอมมิวนิสต์เวียดนามเหนือมีกองทัพเวียดมินห์ สำหรับการรบเต็มรูปแบบและมีขบวนการเวียดกง เป็นประชาชนทั่วไปที่นิยมคอมมิวนิสต์หรือถูกบังคับให้เป็นคอมมิวนิสต์ ปฏิบัติการแทรกซึมและบ่อนทำลายอยู่ทั่วไปในเวียดนามใต้ ทำให้ยากต่อการปราบปราม และทำให้สื่อต่าง ๆเสนอภาพเสมือนทหารสหรัฐรังแกประชาชนเวียดนามที่อ่อนแอกว่า




ในช่วงแรกของสงคราม เวียดนามเหนือได้ใช้ยุทธวิธียกกำลังทำสงครามเต็มรูปแบบกับกองทัพสหรัฐ บุกเข้ามาใต้เส้นขนานที่ 17 และสังหารประชาชนอย่างโหดเหี้ยม แม้จะไม่ได้ชัยชนะแต่ทำให้ชาวเวียดนามใต้เกิดความเกรงกลัวอำนาจของคอมมิวนิสต์เวียดนามเหนืออย่างมาก จึงมักยอมเข้ากับ เวียดนามในฐานะกองกำลังเวียดกง ปฏิบัติการแทรกซึม บ่อนทำลายในเวียดนามใต้

สหรัฐและพันธมิตรในองค์การ SEATO ได้ระดมความร่วมมือทางทหารเข้าไปรบในเวียดนามแต่ไม่ประสบความสำเร็จมากนัก เพราะส่วนใหญ่เวียดนามเหนือและเวียดกงรบแบบกองโจร ลอบวางระเบิดและซุ่มโจมตี ทำให้ทหารเวียดนามใต้และทหารนาวิกโยธินสหรัฐเสียชีวิตจำนวนมาก จึงใช้การปราบปรามอย่างรุนแรง เช่น ยิงทิ้งผู้ที่คาดว่าเป็นเวียดกง การเผาทำลายหมู่บ้าน ตลอกจนการทิ้งระเบิดปูพรมตามจุดยุทธศาสตร์ต่าง ๆ เช่น เมืองท่าและชายแดนเวียดนาม-กัมพูชา เพื่อตัดเส้นทางการลำเลียงทหารและอาวุธจากเวียดนามเหนือสู่เวียดนามใต้ผ่านทางกัมพูชา ทำให้เกิดความเสียหายต่อพลเรือนจำนวนมหาศาล ส่งผลให้ทั่วโลกประนามการกระทำของสหรัฐ





สงครามเวียดนาม

ในปี 2448 โฮจิมินห์และขบวนการเวียดมินท์ ทำสงครามต่อสู้กับฝรั่งเศสเพื่อให้ได้เอกราชคืนมาต้องใช้เวลาถึง 9 ปี เวียดนามจึงเอาชนะฝรั่งเศสได้ เมื่อ 7 พ.ค.2497 ซึ่งเป็นวันเดียวกับทหารเวียดมินท์ยึดเดียนเบียนฟูๆด้ ฝรั่งเศสจึงต้องยอมลงนามในสัญญาสงบศึกเรียกว่า อนุสัญญาเจนีวา เมื่อ 20 ก.ค.2497 สาระสำคัญของสัญญา คือ ต้องแบ่งประเทศออกเป็นสองประเทศ เป็น เวียดนามเหนือ เวียดนามใต้ โดยยึถือเอาเส้นขนานที่ 17 เป็นเส้นแบ่งเขต นี่เองจึงทำให้เกิดอุบัติแห่งสงคราม เมื่อ 2497 เมื่อเวียดตามเหนือกับเวียดนามใต้ทำสงครามเพื่อรวมให้เป็นหนึ่ง


Vietnam Napalm




ประเทศไทยเข้าร่วมสงคราม ในปี 2507-2508 อเมริกา เห็นว่าเวียดนามเหนือได้รับการสนับสนุนอาวุธยุทโธปกรณ์ต่าง ๆ จากโซเวียตและจีน ซึ่งมีกำลัง และอาวุธมากกว่าเวียดนามใต้ ดังนั้นจึงได้ชวนฝ่ายสัมพันธมิตร มี 6 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐ ออสเตียเลีย นิวซีแสนด์ สเปน เกาหลีใต้ และฟิลิปปินส์ สำหรับประเทศไทย รัฐบาลเวียดนามใต้ได้ขอความช่วยเหลือจากรัฐบาลไทยทางด้านเศรษฐกิจ และทหาร เมื่อ 2507 ซึ่งส่งกำลังร่วมรบดังนี้



ทัพอากาศ เมื่อ 2507 ส่งนักบินช่างเครื่อง C -47 จำนวน 2 ลำ และเมื่อ 2509 ส่งไปปฏิบัติประจำเครื่อง C-123 จำนวน 2 ลำ โดยจัดตั้งหน่วยบินลำเลียงโดยใช้รหัส วิคตอรี่ (Victory Winf Unit) โดยมีกำลังพล 45 นาย ผลัดเปลี่ยน 3 ครั้ง

ทัพเรือ ได้ส่งเรือยกพลขึ้นบก คือ เรือหลวงพงัน มีกำลังพล 156 นาย ผลัดเปลี่ยน 9 รุ่น ๆ ละ 80 นาย รวม 756 นาย เรือตรวจการณ์ ต.12 มีกำลังพล 32 นาย ผลัดเปลี่ยน 8 รุ่น ๆ ละ 13-16 นาย รวม 120 นาย โดยใช้รหัสว่า ซีฮอร์ส (Sea Horse)




ทัพบก จัดหน่วยเป็นสองระบบ คือ หน่วยบัญชาการรบ และ หน่วยปฏิบัติการรบ

หน่วยบัญชาการรบ ได้แก่ กองบัญชาการทหารไทย ในเวียดนาม ทำหน้าที่ควบคุม ทหารทั้ง 3 เหล่าทัพ แบ่งออกเป็น 5 ผลัด

หน่วยปฏิบัติการรบ แบ่งออกเป็น 2 ระดับ มี กรมทหารราบ และกองพลทหารราบ





การปฏิบัติการรบที่สำคัญ ที่ ฟุกโถ

เมื่อ 17 ต.ค.10 ร้อย.อวบ.ที่ 1 กรมทหารอาสาสมัคร โดยการนำของ พ.ต.ยุทธนา แย้มพันธุ์ ได้นำกำลังพลเข้าปฏิบัติการ ณ ตำบล ฟุกโถ เพื่อควบคุมถนนสาย สมเกียรติ สาย 319 ซึ่งเป็นถนนยุทธศาสตร์ เพื่อป้องกันเวียดกงใช้เป็นเส้นทางส่งกำลังบำรุงและเข้าไปมีอิทธิพลในหมู่บ้านฟุกโถ

เมื่อ 20 ธ.ค.10 เวลา 2200 น. มีทหารเวียดกงจำนวน 1 กองพัน ร่วมกับกำลังประจำถิ่ม 700 คน เข้าโจมตี่ ร้อย.อวบ.ที่ 1 ซึ่งในขึ้นต้น ข้าศึกใช้ ค.ยิงฐานปืนใหญ่ของเรา เพื่อป้องกันมิให้สนับสนุนฝ่ายเรา และขณะเดียวกันได้ถล่ม ร้อย.อวบ.ที่ 1 และข้าศึกได้ส่งทหารราบเข้าตีรอบฐานอย่างรุนแรง ฝ่ายเราได้ใช้อาวุธทุกชนิดตอบโตฝ่ายข้าศึกที่มีจำนวนมากกว่าหลายเท่า การต่อสู้เริ่มทวีรุนแรงมากขึ้น ถึงขั้นตะลุมบอน และใช้ดาบปลายปืน ขณะนั้นฝ่ายเราได้ร้องของ ป. และ ฮ.ติดกันชิป ยิงสนับสนุน การรบดำเนินถึงวันที่ 21 ในเวลา 0300 น. ข้าศึกไม่สามารถยึดที่มั่นของไทยได้จึงเริ่มถอนตัว การรบยุติลงเมื่อ เวลา 0500 น. ผลการรบสามารถสังหารข้าศึกได้ 185 ศพ บาดเจ็บจำนวนมาก ถูกจับเป็นเชลยได้ 2 คน ยึดอาวุธและยุทโธปกรณ์ได้จำนวนมาก การสูญเสียของฝ่ายเรา เสียชีวิต 6 นาย บาดเจ็บสาหัส 9 นาย บาดเจ็บเล็กน้อยสามารถปฏิบัติการรบต่อไปได้ 48 นาย



นี่คือตัวอย่างการรบที่ห้าวหาญของนักรบไทยซึ่งยังมีอีกมาก

สิ่งที่เสียไปในการปฏิบัติการรบที่เวียดนามทั้งหมด เสียชีวิต 539 นาย บาดเจ็บ 1,114 นาย

ได้อะไรจากเวียดนาม

ประเทศไทยประกาศเจตจำนงในการต่อสู้กับฝ่ายคอมมิวนิสต์ และเผยแพร่ความสามารถของทหารไทย

ทหารได้บทเรียนจากการรบ ทั้ง 3 เหล่าทัพ ทั้งในแบบ และ นอกแบบ ซึ่งเป็นการรบร่วม

ได้รับอาวุธเพิ่มเติมมาใช้ในการป้องกันประเทศ และสามารถจัดตั้งกองพลที่ 9 ได้อีก 1 กองพล

พล.ฯ ที่เข้าร่วมสงครามที่ปลดเป็นกองหนุนไปได้นำความรู้และประสบการณ์มาจัดตั้งหมู่บ้าน ยุทธศาสตร์พัฒนและป้องกันตนเองเมื่อกลับไปภูมิลำเนาเดิม







--------------------------------------------------------------

สงคราม คาบสมุทรเกาหลี


สงครามเกาหลี เป็นสงครามระหว่างประเทศเกาหลีเหนือกับประเทศเกาหลีใต้ เริ่มตั้งแต่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2493 (ค.ศ. 1950) ถึง 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2496 (ค.ศ. 1953) เป็นหนึ่งในสงครามตัวแทนระหว่างช่วงสงครามเย็น





ฝ่ายเกาหลีใต้ประกอบโดยสหรัฐอเมริกา ประเทศแคนาดา สหราชอาณาจักร ประเทศออสเตรเลีย และกองกำลังของประเทศอื่น ๆ โดยคำสั่งของสหประชาชาติ ฝ่ายเกาหลีเหนือมีสาธารณรัฐประชาชนจีน และสหภาพโซเวียตคอยให้ความช่วยเหลือ



ประวัติ
ประเทศเกาหลีโดนยึดครองโดยประเทศญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง หลังจากญี่ปุ่นประกาศยอมแพ้ ฝ่ายพันธมิตรได้แบ่งดินแดนของเกาหลีเป็นสองส่วน โดยส่วนเหนือยอมแพ้ต่อโซเวียต และส่วนใต้ยอมแพ้ต่อสหรัฐอเมริกา มีเส้นแบ่งอยู่ที่เส้นขนานที่ 38 ทางสหประชาชาติมีแผนจะจัดการเลือกตั้งใน พ.ศ. 2491 (ค.ศ. 1948) แต่ได้รับการปฏิเสธจากโซเวียต และตั้งรัฐบาลคอมมิวนิสต์ขึ้นมาเอง





สงครามเริ่มต้น
วันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2493 ทหารฝ่ายเกาหลีเหนืออาศัยอาวุธยุทโธปกรณ์ของโซเวียตบุกข้ามเส้นขนานที่ 38 ลงมา วันที่ 28 มิถุนายน ก็สามารถยึดกรุงโซลได้ สหรัฐอเมริกาภายใต้การนำของประธานาธิบดีแฮร์รี เอส. ทรูแมน ได้สั่งการให้นายพลดักลาส แมกอาร์เทอร์ ผู้บัญชาการภาคพื้นแปซิฟิกในขณะนั้น ให้ทำการตอบโต้





วันที่ 5 กรกฎาคม ปีเดียวกัน กองทัพสหรัฐได้บุกเข้าสู่เกาหลีเหนือ

สหประชาชาติได้ลงมติให้ยกกองกำลังเข้าช่วยเหลือเกาหลีใต้ กองกำลังสหรัฐอเมริกาจึงเข้าร่วมกับกองกำลังของสหประชาชาติ ซึ่งประกอบด้วยกองกำลังของอีก 15 ชาติ (รวมประเทศไทย) ในตอนแรกนั้นดูเหมือนว่าฝ่ายสหประชาชาตินั้นจะเป็นฝ่ายที่ถอยร่นมาโดยตลอดเป็นเพราะทางสหรัฐมีการดำเนินนโยบายยุโรปก่อนจึงให้กำลังพลกับแมคอาเทอร์ไม่เต็มที่ ซึ่งทำให้แมคอาเทอร์โกรธมากจึงออกคำสั่งให้นำกำลังพลอเมริกันในแปซิฟิกมาใช้ก่อน หลังจากที่สหรัฐเริ่มให้ความช่วยเหลืออย่างเต็มที่เกาหลีเหนือก็ได้แต่ถอยร่นจนไปถึงเส้นขนานที่ 38






สีแดงคือฝั่งรัฐคอมมิวนิสต์ สีเขียวคือรัฐฝั่งประชาธิปไตย




การช่วยเหลือของไทย

เลขาธิการสหประชาชาติได้มีโทรเลขถึงรัฐบาลไทย ผ่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ แจ้งมติของคณะมนตรีความมั่นคงฯ เมื่อ ๒๕ มิถุนายน ๒๔๙๓ ต่อมาเมื่อ ๒๙ มิถุนายน ๒๔๙๓ เลขาธิการสหประชาชาติ ได้มีโทรเลขถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทย เตือนว่าตามมติของคณะมนตรีความมั่นคงฯ ขอให้ประเทศสมาชิกของสหประชาชาติ ให้ความช่วยเหลือสาธารณรัฐเกาหลี ต้านทานการโจมตีด้วยอาวุธนั้น รัฐบาลไทยจะให้ความช่วยเหลือประการใด ขอให้แจ้งให้เลขาธิการสหประชาชาติทราบโดยเร็วว่า จะให้ความช่วยเหลือชนิดใด



คณะรัฐมนตรีมีมติว่า ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นประเทศกสิกรรม จึงตกลงให้ความช่วยเหลือทางด้านอาหาร เช่น ส่งข้าวไปช่วยเหลือเป็นต้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจึงได้มีโทรเลขตอบเลขาธิการสหประชาชาติ เมื่อ ๑ กรกฎาคม ๒๔๙๓ มีใจความว่า รัฐบาลในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เฝ้าดูการคลี่คลายของเหตุการณ์ในประเทศเกาหลี ด้วยความห่วงใยที่สุด และประณามการใช้กำลังรุกรานซึ่งได้กระทำต่อ สาธารณรัฐเกาหลีที่เกิดใหม่นี้ ด้วยการทำลายสันติภาพ ซึ่งมิได้นำพาต่อคำสั่งของคณะมนตรีความมั่นคงฯ และโดยละเมิดบทบัญญัติแห่งกฎบัตรสหประชาชาติ เช่นนี้ไม่เป็นสิ่งที่ควรจะผ่อนผันได้เลย ฉะนั้นรัฐบาลไทยในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงสนับสนุนมติความมั่นคงฯ อย่างหนักแน่น และพร้อมที่จะสนับสนุนการกระทำใด ๆ ที่สหประชาชาติเห็นสมควร และพิจารณาให้ความช่วยเหลือเท่าที่สามารถกระทำได้ แก่สาธารณรัฐเกาหลี ในการนี้โดยที่ประเทศไทยเป็นประเทศกสิกรรม จึงยินดีจะช่วยสาธารณรัฐเกาหลีในทางอาหาร เช่นข้าวเป็นต้น หากมีความต้องการ



เลขาธิการสหประชาชาติ ได้มีโทรเลขถึงกระทรวงการต่างประเทศ เมื่อ ๑๔ กรกฎาคม ๒๔๙๓ มีใจความว่า ขอแสดงความขอบคุณในการที่รัฐบาลไทย พร้อมที่จะสนับสนุนการปฏิบัติของสหประชาชาติ และการตกลงใจให้ความช่วยเหลือ เรื่องอาหารเช่น ข้าว และรัฐบาลสหรัฐฯ ภายใต้อาณัติแห่งมติ ลง ๙ กรกฎาคม ๒๔๙๓ ได้มอบภาระความรับผิดชอบทั้งมวลแก่กองทัพสหประชาชาติ ฉะนั้นจึงขอแนะนำว่า ขอให้รัฐบาลไทยได้พิจารณาหาทางช่วยเหลือในเรื่องกำลังรบ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กำลังทางภาคพื้นดินเท่าที่อยู่ในวิสัยสามารถ การช่วยเหลือในกรณีนี้ ในหลักการทั่วไปขอให้ติดต่อไปยังเลขาธิการสหประชาชาติ ส่วนรายละเอียดปลีกย่อย ให้ตกลงกับกองบัญชาการกองทัพสหประชาชาติต่อไป



นายกรัฐมนตรีได้บัญชาให้นำเรื่องนี้เสนอต่อ สถาบันป้องกันราชอาณาจักร ซึ่งได้มีการประชุมปรึกษา เมื่อ ๒๐ กรกฎาคม ๒๔๙๓ มีมติเป็นเอกฉันท์ รับหลักการที่จะให้ความช่วยเหลือทางการทหาร เฉพาะกำลังทหารทางพื้นดินในกรณีสงครามเกาหลีด้วยกำลัง ๑ กรมผสม (๑ Combat Team) และสภาป้องกันราชอาณาจักร ได้เสนอเรื่องนี้ให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาตัดสินตกลงใจเป็นการด่วน คณะรัฐมนตรีได้ประชุมปรึกษา เมื่อ ๒๐ กรกฎาคม ๒๔๙๓ มีมติเป็นเอกฉันท์เห็นชอบตามมติของสภาป้องกันราชอาณาจักร และโดยเหตุที่เรื่องนี้เกี่ยวกับปัญหาราชการแผ่นดินที่สำคัญ สมควรแจ้งให้รัฐสภาอันประกอบด้วยวุฒิสภา และสภาผู้แทนราษฎรทราบ ตามความในมาตรา ๑๓๒ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยในครั้งนั้น



นายกรัฐมนตรีได้นำเรื่องนี้เสนอรัฐสภาเมื่อ ๒๒ กรกฎาคม ๒๔๙๓ ได้รับความเห็นชอบและสนับสนุนจากรัฐสภาด้วยดี ในการนี้ได้นำเสนอโทรเลขที่ได้รับ จากคณะมนตรีความมั่นคง ฉบับที่ ๓ ในการประชุม ครั้งที่ ๔๗๓ เมื่อ ๒๕ มิถุนายน ๒๔๙๓ มีความว่า จากมติของสมัชชาใหญ่สหประชาชาติ เมื่อ ๒๑ ตุลาคม ๒๔๙๒ ซึ่งรับรองว่ารัฐบาลแห่ง สาธารณรัฐเกาหลี เป็นรัฐบาลที่จัดตั้งขึ้นถูกต้องตามกฎหมาย โดยที่ได้มีอำนาจควบคุม และอาณาเขตอย่างแท้จริงเหนือดินแดนส่วนของเกาหลี ที่คณะกรรมการชั่วคราวของสหประชาชาติว่าด้วยเกาหลี สามารถเข้าไปสังเกตการณ์ และปรึกษาหารือด้วยได้ และเป็นที่สำนักของประชาชนส่วนมากเกาหลี ฯลฯ





และความห่วงใยว่าสถานการณ์ตามที่คณะกรรมการแห่งสหประชาชาติ ว่าด้วยเกาหลีได้พรรณามาในรายงาน จะคุกคามต่อความปลอดภัย และความผาสุกของสาธารณรัฐเกาหลี และอาจจะนำมาซึ่งการขัดกันทางทหารอย่างเปิดเผยขึ้น ณ ที่นั้น โดยที่ได้ทราบด้วยความห่วงใยอย่างยิ่งว่า ได้มีการโจมตีสาธารณรัฐเกาหลีด้วยกำลังอาวุธจากกองทัพของฝ่ายเกาหลีเหนือ เห็นว่าการกระทำนี้เป็นการทำลายสันติภาพ จึง
๑. เรียกร้องให้ยุติการศึกโดยทันที และให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายเกาหลีเหนือถอนกำลังทหารกลับไปอยู่ ภายในเส้นขนานที่ ๓๘ โดยพลัน



๒. ขอให้คณะกรรมการแห่งสหประชาชาติว่าด้วยเกาหลี
ก. ส่งข้อแนะนำที่ได้พิเคราะห์แล้วอย่างละเอียดถี่ถ้วนกับสถานการณ์ ไปยังคณะมนตรีฯ โดยไม่ชักช้า
ข. สังเกตการณ์ถอนกำลังทัพของฝ่ายเกาหลีเหนือไปยังเส้นขนานที่ ๓๘ และ
ค. รายงานให้คณะมนตรีความมั่นคงฯ ทราบถึงการปฏิบัติตามมตินี้



๓. ขอให้บรรดาประเทศสมาชิก อำนวยความช่วยเหลือทุกทางแก่สหประชาชาติ ในการปฏิบัติตามมตินี้ และละเว้นการให้ความช่วยเหลือแก่ฝ่ายเกาหลีเหนือ
รัฐบาลได้นำความบังคมทูล เพื่อขอรับพระบรมราชานุวัติจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ เพื่อส่งกำลังไปร่วมรบในประเทศเกาหลีตามคำร้องขอขององค์การสหประชาชาติ เมื่อ ๒๒ กรกฎาคม ๒๔๙๓ และได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ส่งกำลังทหารภาคพื้นดินไปร่วมรบในสงครามเกาหลี เมื่อ ๒๒ กันยายน ๒๔๙๓ ต่อมาเมื่อ ๒๙ กันยายน ๒๔๙๓ ได้มีพระบรมราชโองการให้ส่งกำลังทางเรือ และทางอากาศไปร่วมรบในสงครามเกาหลีด้วย




การเตรียมการส่งกำลังทหารไปร่วมรบ


รัฐบาลไทยตกลงใจที่จะส่งกำลังทหาร ๑ กรมผสม มีกำลังพลประมาณ ๔,๐๐๐ คน ไปร่วมรบกับสหประชาชาติในเกาหลี ตามความเห็นชอบของรัฐสภา เมื่อ ๒๒ กรกฎาคม ๒๔๙๓ โดยได้มอบหมายให้กระทรวงกลาโหมดำเนินการ เสนาธิการกลาโหมได้ออกคำสั่งแต่งตั้งให้ พันเอก บริบูรณ์ จุลละจาริตต์ หัวหน้าแผนกที่ ๓ กรมจเรทหารราบ เป็นผู้บังคับหน่วยทหารที่จะไปปฏิบัติราชการ ณ ประเทศเกาหลี ได้มอบนโยบายในการจัดกำลังของหน่วยเป็นรูปกรมผสม มีส่วนอำนวยการและส่วนกำลังรบ ประกอบด้วยกำลังทหารราบ ๓ กองพัน ทหารปืนใหญ่ ๑ กองพัน พร้อมทั้ง ๑ กองสื่อสาร ๑ กองช่าง และ ๑ กองลาดตระเวณ สำหรับกองพันทหารราบ ให้กองทัพเรือและกองทัพอากาศให้เตรียมกำลังเหล่าทัพละ ๑ กองพัน เพื่อสนธิกำลังกับกองทัพบก ต่อมาได้มีคำสั่งให้กรมผสมนี้ไปขึ้นกองทัพบก



การจัดกรมผสม ยึดถือการจัดหน่วย Regimental Combat Team ของกองทัพบกสหรัฐฯ เป็นหลัก อาวุธใช้ของกองทัพสหรัฐฯ กองบังคับการกรมผสมเปิดทำงาน เมื่อ ๒๒ สิงหาคม ๒๔๙๓ ที่ห้องสมุดกระทรวงกลาโหม (ห้องสุรศักดิ์มนตรี) ต่อมาได้ย้ายไปที่ห้องฉายภาพยนตร์ของโรงเรียนเสนาธิการทหารบก ซึ่งอยู่ที่ระเบียงชั้น ๓ ด้านตะวันออกเฉียงเหนือของศาลาว่าการกระทรวงกลาโหม ต่อมาได้ไปใช้ตึกสร้างใหม่ของกรมทางหลวงถนนพระราม ๖ แล้วย้ายไปอยู่ในบริเวณมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อ ๒๖ กันยายน ๒๔๙๓ ซึ่งเป็นเวลาที่ทางมหาวิทยาลัยปิดภาคการศึกษา จากนั้นได้ย้ายไปอยู่บริเวณกรมทหารราบที่ ๑๑ อยู่ที่สะพานแดง บางซื่อ และสุดท้ายได้ย้ายไปอยู่ที่ค่ายทหารตำบลบางเขน ซึ่งเป็นที่ตั้งของกรมทหารราบที่ ๑๑ รักษาพระองค์ในปัจจุบัน



กระทรวงกลาโหมได้ประกาศรับสมัครทหารอาสาไปราชการช่วยสหประชาชาติ เมื่อ ๒๙ กรกฎาคม ๒๔๙๓ มีผู้มาสมัครทั้งสิ้น ๑๔,๙๙๘ คน
เนื่องจากต้องรับส่งกำลังไปปฏิบัติการให้ทันกับสถานการณ์ กระทรวงกลาโหมจึงสั่งการให้กองทัพบก จัดกำลังกองบังคับการผสม และหน่วยขึ้นตรงกองพันทหารราบ ๑ กองพัน จากอัตราปกติของกองทัพบก จึงได้จัดกำลังจากหน่วยปกติของกองทัพบก โดยจัดจากกรมทหารราบที่ ๒๑ กองพันละ ๑ กองร้อย ส่วนกองร้อยอาวุธหนักได้สนธิกำลังของหน่วยทหารจากกรมจเรทหารราบ และกองพันต่าง ๆ

---------------------------------------------------------------


สงครามลาว



ในสงครามโลกครั้งที่สอง เยอรมันนีมีชัยเหนือประเทศฝรั่งเศสและก่อตั้งคณะรัฐบาลขึ้นที่เมืองวิซี คณะข้าหลวงฝรั่งเศสในอินโดจีนให้การหนุนหลัง รัฐบาลวิซี และตกลงเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่น ครั้นถึงปี พ.ศ.2484 รัฐบาลใต้ภายใต้การนำของพลตรีหลวงพิบูลสงครามก่อเริ่มดำเนินการต่อต้านอำนาจของฝรั่งเศสที่เริ่มเสื่อมถอย ด้วยการยึดแขวงไชยบุรีและจำปาศักดิ์กลับคืนมา ญี่ปุ่นยุให้ลาวประกาศเอกราช แต่กองทัพฝรั่งเศสก็ย้อนกลับคืนมาอีกครั้งหลังสงครามยุติได้ไม่นาน ลาวหันมาปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช โดยมีรัฐธรรมเป็นกฎหมายสูงสุดภายใต้การควบคุมดูแลของฝรั่งเศส พ.ศ. 2492 สหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรฯ ขบวนการลาวอิสระล่มสลาย แนวรักร่วมชาติได้พัฒนาเป็นขบวนการคอมมิวนิสต์ประเทศลาว ในเวลาต่อมาโดยได้รับการสนับสนุนจาโฮจิมินห์และพรรคคอมมิวนิสต์ของเวียตนาม

laos civil war #1



พ.ศ.2495 ลาวในหัวเมืองด้านตะวันออกเฉียงเหนือเริ่มก่อการจลาจลต่อต้านการปกครองของฝรั่งเศสภายใต้การสนับสนุนจากรัฐบาลกรุงฮานอย
เมื่อฝรั่งเศสแพ้สงครามที่ค่ายเดียนเบียนฟู ลาวจึงได้รับเอกราชอย่างสมบูรณ์ ฝรั่งเศสถอนกำลังออกจากประเทศลาว ซึ่งแตกแยกออกเป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายสนับสนุนระบบกษัตริย์ในนครเวียงจันทน์ (ฝ่ายขวา) กับฝ่ายขบวนการประเทศลาว (ฝ่ายซ้าย)
พ.ศ. 2498 ลาวได้รับการยอมรับให้เข้าเป็นสมาชิกขององคืกรสหประชาชาติ
พ.ศ. 2500 เจ้าสุวรรณภูมาขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เป็นผู้นำรัฐบาลผสมในนครเวียงจันทน์
3 ปีต่อมา เวียงจันทน์เริ่มสั่นคลอนเพราะความขัดแย้งระหว่างกลุ่มก่อรัฐประหารและกลุ่มต่อต้านการทำรัฐประหาร ฝ่ายขบวนการประเทศลาวก่อการจลาจลขึ้นในภาคเหนือและภาคตะวันออก
พ.ศ. 2506 รัฐบาลคอมมิวนิสต์เวียตนามหันมาใช้เส้นทางโฮจิมินห์ในภาคตะวันออกของลาว เป็นเส้นทางหลักในการส่งกำลังพลไปปราบปรามพวกต่อต้านคอมมิวนิสต์ในเวียตนามใต้ กองกำลังอเมริกันเริ่มเข้ามาปฏิบัติการลับในลาว พ.ศ. 2516 สหรัฐอเมริการถอนตัวออกจากสงครามเวียตนาม “การทำสงครามหลังฉาก” ในประเทศลาวจึงต้องเลิกราไปด้วย

Laos Civil War #2




พ.ศ. 2518 หลังจากรัฐบาลคอมมิวนิสต์มีชัยเหนือเวียตนามทั้งประเทศได้ไม่นาน โดยยึดกรุงพนมเปญเป็นแห่งแรก ตามมาได้ไซ่ง่อน ขบวนการประเทศลาวยึดอำนาจได้ทั้งหมดในเดือนธันวาคม เจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวัฒนาถูกปลดออกจากราชบัลลังก์ ตามมาด้วยการสถาปนาประเทศใหม่ชื่อว่า “สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว” หรือ สปป.ลาว เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2518



สงครามในลาว

ฝรั่งเศสได้ผนวกลาวเข้าเป็นอาณานิคม เมื่อปี ค.ศ. 1898 ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นเข้ายึดครองลาวและสนับสนุนให้ลาวประกาศเอกราช โดยพระเจ้าศรีสว่างวงศ์ทรงประกาศเอกราชเมื่อวันที่ 8 เมษายน ค.ศ. 1944 เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลงฝรั่งเศสได้กลับเข้ามามีอำนาจในลาวอีก ทำให้พวกชาตินิยมไม่พอใจ เจ้าเพชราช จึงจัดตั้ง “ขบวนการลาวอิสระ” ขึ้นในเดือนกันยายน ค.ศ. 1945 และจัดตั้งรัฐบาลที่กรุงเวียงจันทน์ ในวันที่ 14 กรกฎาคม ค.ศ. 1949 ฝรั่งเศสให้เอกราชแก่ลวแต่ฝรั่งเศสยังควบคุมนโยบายที่สำคัญ ๆ เช่น การทหาร เศรษฐกิจ และด้านต่างประเทศ

Secret Wars 1




จากการที่ฝรั่งเศสให้เอกราชแก่ลาวไม่สมบูรณ์ ทำให้ขบวนการลาวอิสระแตกแยกเป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายเจ้าบุญอุ้ม ณ จัมปาศักดิ์ และเจ้าสุวรรณภูมา ซึ่งยอมรับข้อเสนอของฝรั่งเศสเพื่อประนีประนอม ส่วนเจ้าสุภานุวงศ์ต้องการเอกราชอ่างสมบูรณ์จึงขอความช่วยเหลือจากขบวนการเวียดมินห์ของโฮจิมินห์ และได้ก่อตั้งขบวนการกู้ชาติคือ “ขบวนการประเทดลาว” จัดตั้งรัฐบาลที่แคว้นซำเหนือ เมื่อฝรั่งเศสพ่ายแพ้เวียดนามที่เดียนเบียนฟู (Dienbienphu) ลาวจึงได้รับเอกราชตามข้อตกลงที่เจนีวา ปี ค.ศ. 1954
หลังจากได้รับเอกราช ลาวแบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย คือ ทางเหนือ ได้แก่ แขวงพงศาลีและซำเหนือ อยู่ภายใต้การปกครองของเจ้าสุภานุวงศ์ ส่วนทางใต้อยู่ภายใต้การปกครองของเจ้าสุวรรณภูมา ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1957 ลาวทั้ง 2 ฝ่าย ได้จัดตั้งรัฐบาลผสมโดยมีเจ้าสุวรรณภูมา เป็นนายกรัฐมนตรี แต่ก็ไม่สามารถดำเนินนโยบายร่วมกันได้ ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1960 ร้อยเอกกองแล ทำการปฏิวัติจัดตั้งรัฐบาลโดยมี เจ้าสุวรรณภูมา เป็นนายกรัฐมนตรี แต่บริหารประเทศได้ไม่นานก็ถูกนายพลภูมีหน่อสวัน ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกาทำการปฏิวัติและจัดตั้งรัฐบาลโดยมีเจ้าบุญอุ้ม ณ จัมปาศักดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี
หลังจากนั้น ลาวได้แบ่งออกเป็น 3 ฝ่าย คือ


Secret Wars 2




ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1962 ลาวทั้ง 3 ฝ่ายได้จัดตั้งรัฐบาลผสม โดยมีเจ้าสุวรรณภูมาเป็นนายกรัฐมนตรี แต่รัฐบาลผสมไม่สามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้ทหารต่างชาติ ซึ่งได้แก่รัสเซีย จีน และเวียดนาม รวมทั้งสหรัฐอเมริกา ต่างก็ประจำอยู่ในลาวเพื่อให้การช่วยเหลือลาวฝ่ายที่ตนให้การสนับสนุน สหรัฐอเมริกาได้สนับสนุนให้นายพลวังเปาจัดตั้งกองทัพแม้ว มีฐานปฏิบัติการอยู่ที่ล่องแจ้ง โดยมีศูนย์การฝึกอยู่ที่ จ.อุดรธานี สงครามในลาวจึงได้เกิดขึ้น โดยรัฐบาลของเจ้าสุวรรณภูมาไม่สามารถสลัดกั้นไว้ได้
เมื่อสหรัฐอเมริกาถอนตัวออกจากอินโดจีน ตามวาทะนิกสัน ขบวนการปะเทดลาวจึงยื่นข้อเสนอต่อรัฐบาลให้จัดตั้งรัฐบาลผสมอีกครั้ง โดยมีเจ้าสุวรรณภูมาเป็นนายกรัฐมนตรีในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1975 ขบวนการปะเทดลาวหรือลาวฝ่ายซ้าย ก็สามารถยึดอำนาจการปกครองลาวได้
ลาวดำเนินการปกครองตามแนวสังคมนิยม โดยมีเจ้าสุภานุวงศ์ เป็นประธานาธิบดีและนายไกรสร พรหมวิหาร เป็นนายกรัฐมนตรีคนแรก ปัจจุบันผู้นำประเทศลาวเปลี่ยนชื่อเรียกเป็นประธานประเทศ


Secret Wars 3



สาเหตุที่ไทยเกี่ยวข้องกับสงครามในลาว

ประเทศ โซเวียต และจีน ผู้นำค่ายโลกคอมมิวนิสต์ ต้องการขยายอิทธิพลในแหลมอินโดจีนมากยิ่งขึ้น จึงสนับสนุนเวียดนามเหนือ ทำสงครามตามแผน โดมิโน่ เพื่อยึดครอง ลาว เขมร และไทย อเมริกาต้องเข้าแทรกแซง โดยขอให้ไทยส่งทหารไปช่วยรบในลาวตามข้อตกลง จำนวน 36 กองพัน ทหารเสือพรานไทย ได้ทำหน้าที่ ป้องกันการขยายอิทธิพลของลัทธิคอมมิวนิสต์ได้อย่างสมเกียรติ ในระหว่างการสู้รบ ประมาณ 6 ปี ประเมินตัวเลขของการสูญเสียในการสู้รบทหารเสือพรานไทยพลีชีพไปมากถึง ๒,๕๘๐ คน บาดเจ็บ นับหมื่นนาย ถูกจับเป็นเชลย หรือหายสาบสูญ อีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งมีหลายร้อยศพ ที่ไม่สามารถนำร่าง นักรบนิรนาม กลับมาตุภูมิได้


--------------------------------------------------------------------

ด้วยความเชื่อคล้อยตามทฤษฎีโดมิโนของ จอร์จ เอฟ. เคนแนน (ซึ่งเปรียบประเทศด้อยพัฒนาเป็นเหมือนไพ่โดมิโน หากไพ่ตัวใดตัวหนึ่งล้มก็จะทำให้ตัวอื่นล้มตามไปด้วย) และอาการหวาดกลัวคอมมิวนิสต์ชนิดขึ้นสมองทำให้สหรัฐฯ ก้าวเท้าเข้ามาในอินโดจีน "ยุทธการค้นหาและทำลาย (search and destroy operation) ถูกออกแบบมาใช้ให้เข้ากับสถานการณ์สงครามในเวียดนาม และมันได้สร้างสถิติที่สุดแสนสกปรกในหน้าประวัติศาสตร์สงคราม ชาวเวียดนามผู้บริสุทธิ์ถูกยิงทิ้งเพราะถูกสงสัยว่าเป็นเวียดกง (เช่น เหตุการณ์สังหารโหดที่หมู่บ้านมายไล เมื่อปี พ.ศ. 2512 ซึ่งพระ เด็ก สตรีและคนชราถูกสังหารกว่า 500 คน) 6 เมืองใหญ่ 100 เมืองเล็ก และ 4,000 ชุมชนถูกถล่มยับเยิน ระเบิดร้ายแรงนานาชนิด อาทินาปาล์ม ถูกใช้อย่างไร้ขอบเขต (อิทธิฤทธิ์ของมันถูกพรรณนาให้เห็นใน Apocalypse Now และ We Were Soldiers) โดยรวมแล้ว สหรัฐฯ ขนระเบิดมาถล่มเวียดนามมากกว่า 6.7 ล้านตัน (แถมด้วยอีกมากกว่าครึ่งล้านตันในการถล่มเขมรเพื่อหนุน นายพลลอนนอล ซึ่งเป็นเหตุการณ์สืบเนื่อง) ใช้สารเคมีทำลายป่าและมนุษย์ 19 ล้านแกลลอน ซึ่งมีผลทำให้ป่าอินโดจีนถูกทำลายกว่า 5 ล้านเอเคอร์ (ประมาณ 12.5 ล้านไร่) และที่สำคัญที่สุด มีชาวอินโดจีนเสียชีวิตมากกว่า 1.5 ล้านคน


The Secret War In Laos



และสิ่งที่หลายคนไม่รู้คือ สหรัฐ ยังได้ก่อสงครามในลาว ซึ่งเรียกกันว่าเป็น "สงครามลับ" หรือ "สงครามปกปิด" ในสงคราม สหรัฐอเมริกาได้ปฏิบัติการ "ทิ้งระเบิดแบบลับๆ" ขึ้นทางตอนเหนือของลาว เป้าหมายของปฏิบัติการคือการทำให้ทุกอย่างแหลกเป็นผุยผง เพื่อไม่ให้พวกคอมมิวนิสต์มีที่อาศัย ผลปรากฏว่าพื้นที่ของลาวกลายสภาพเป็นเถ้าถ่าน และคนลาวเกิดอาการ "หวาดผวาต่อท้องฟ้า" เฉพาะสงครามลับและการทิ้งระเบิดอย่างลับๆ ในครั้งนั้นทำให้คนลาวเสียชีวิต ราว 300,000 คน


---------------------------------------------------------------------

















Create Date : 04 กุมภาพันธ์ 2551
Last Update : 4 กุมภาพันธ์ 2551 0:00:16 น. 4 comments
Counter : 2197 Pageviews.

 
ไม่ชอบสงครามเอาเลยค่ะ
อยากให้โลกอยู่กันแบบสงบ
และสันติสุข


โดย: โอน่าจอมซ่าส์ วันที่: 4 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:0:14:27 น.  

 
จะมาบอกว่าไม่ชอบสงครามเลยค่ะ


โดย: pat_pk วันที่: 4 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:16:15:05 น.  

 
ฝู เถาะ (PHu Tho )

น่าสนใจ มากๆ


โดย: โอเอชิ IP: 118.173.242.28 วันที่: 16 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:23:02:55 น.  

 
เกลียดสงครามที่สุดเลย
คนเราไม่ต้องใช้ความรุนแรงก็มานั่งคุยกันดีดีก็ด้ายไม่ต้องข่มว่าจะเกิดสงคราม


โดย: sunny IP: 49.229.28.154 วันที่: 19 กันยายน 2554 เวลา:16:01:59 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

นอกลู่นอกทาง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]








ภาพถ่ายดาวเทียมด้านอุตุนิยมวิทยา
ภาพสดๆจากที่ต่างๆทั่วมุมโลก
Ban Na Song BKK, Thailand
Karon Beach , Phuket , Thailand
Federal Highway, Angkasapuri ,Pantai Valley , Malaysia
Delta Estate , Singapore
Malate ,Manila , Philippines
Bandar Seri Begawan , Brunei
Guangxi Guilin, China
달빛무지개분수(Banpo Bridge Fountain )Sin’gilsa-dong , Seoul , South Korea
Hong Kong skyline from Admiralty, China
Shiomidai , Kanagawa , Japan
Cable Beach, Broome, Western Australia, Australia
Keahua Hawaii , USA
Sacramento California, USA
Washington D.C., USA
Manhattan , New York , USA
McCulloch Kelowna, Canada
Niagara Falls , Ontario , Canada
Panama Canal , Bella Vista , Panama
Santiago de Chile , Región Metropolitana , Chile
Fairbanks, Alaska Forecast Arctic
Mar del Plata Buenos Aires , Argentina
Tasiilaq , Østgrønland , Greenland
London Skyline from the Sheraton Park Tower , Knightsbridge , United Kingdom
Trafalgar Square , London , United Kingdom
Eiffel Tower Paris, France
Harstad Nordland , Norway
Halsum , Svalbarð , Iceland
Amsterdam , Netherlands
Vatican City State, Saint Peter's Basilica Borgo , Italy
Berlin, Germany
Чебоксарский залив, Yakimovo, Chuvashia , Russia
Udaipur Lake Pichola , Rājasthān , India
Mount Everest , Junbesi , Sagarmāthā , Nepal
Cape Town Sanddrift, South Africa
Orpen , Richmond , South Africa
Abū Hayl Dubai , United Arab Emirates
Kairo, Egypt
Medhufushi, Maldives
Mawson station Antarctica

Profile Visitor Map - Click to view visits
หนังทุกเรื่องหรือเพลงทุกเพลงในบล็อกนี้ เป็นเจ้าของ ของลิขสิทธินั้นๆตามเจ้าของเดิม นำมาเพื่อแบ่งปันชมกันในหมู่เพื่อนพ้อง ชาวบล็อกแก้งค์เท่านั้นครับ....
ไม่สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ 2539 หากผู้ใดคิดจะ ลอกเลียน หรือนำส่วนใดส่วนหนื่ง ของข้อความใน Blog แห่งนี้ไปเผยแพร่ ให้นำไปได้เลย โดยไม่ต้องขออนุญาต จขบ. แต่ต้องคัดลอกแจกจ่ายให้ครบ 50 ก็อปปี้ ไม่เช่นนั้น จะมีอันเป็นไป ต่างๆนานา ถึงขั้นชีวิตตกอับ อิอิ หากแต่ว่า..นำชื่อ จขบ. ไปใช้ในทางเสียหายหรือประจาน จะถูกดำเนินคดี ตามที่ กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด นะจ๊ะ
Friends' blogs
[Add นอกลู่นอกทาง's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.